วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาล ๓


ก่อนปิดเทอม โรงเรียนของน้องแชง แจกหนังสือแบบฝึกหัดมาให้ผู้ปกครอง ๒-๓ เล่ม หนึ่งในนั้นคือ หนังสือ คณิตศาสตร์ จากอินเดีย  (As per New syllabus : Mathematics Today Class 2) ของ O.P. Malhotra,  S.K. Gupta และ Anubhuti Gangal)  ปรากฎว่า เมื่อดิฉันเปิดหนังสือแบบฝึกหัดแล้ว  ดิฉันแทบจะตกเก้าอี้ เพราะยากมากๆ

ในชั้นอนุบาล ๒ นี่ หากเด็กๆนับเลขได้ ๑-๒๐  ก็เก่งมากแล้ว  แต่ในหนังสือเล่มนี้ คือ ต้องนับเลขได้ ๑-๑๐๐๐  เป็นต้น  นี่คือ สารบัญของหนังสือเล่มนี้
  1.  Number 1-1000
  2. Addition and Subtraction
  3. Multiplication
  4. Division (Sharing Equally)
  5. Two place and three place multiplication
  6. Division of 2-digit and 3-digit number by a digit number
  7. Even and Odd numbers
  8. Our currency notes
  9. Telling time
  10. THe calendar
  11. Measuring
  12. Fractiions
  13. Geometry
  14. Patterns
  15. Mental Maths
อย่าได้ถามดิฉันเป็นอันขาดว่าอะำไร คืออะไรบ้าง  เพราะดิฉันเองก็ยังดูไม่รู้เรื่องในบางหัวข้อ เด็กสมัยนี้ แค่อนุบาลและประถมต้น เขาเรียนกันยากขนาดนี้  แม้แต่คนเรียนจบปริญญาโท ยังมางงกับตำราของลูก แต่ทำอย่างไรได้  เพราะโลกของเรายุคสมัยเปลี่ยนไป  เด็กๆจำเป็นต้องเรียนเรื่องราวเหล่านี้ เพราะเขาต้องไปตามยุคสมัยของเขา  แต่จะทำอย่างไร ที่จะช่วยเหลือลูกๆ ให้เรียนรู้เรื่องแบบนี้แบบไม่ยากเย็นจนเกินไป  และไม่ต้องกดดัน นี่ต่างหากคือคว่ามท้าทายของครู และพ่อแม่

เนื่องจากหัวข้อในสารบัญดูเหมือนจะเยอะและยากจนเกินไป ดิฉันจึงทำการค้นคว้าเพิ่มเติมว่า เด็กในระดับอนุบาล ๓ นั้น จะต้องเรียนรู้จนถึงแค่ไหน  จึงพบว่า  เด็กในระดับอนุบาลนั้น ต้องเรียนรู้ในเรื่องต่อไปนี้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

  • Fraction (เศษส่วน)
  • Time Telling  (อ่านนาฬิกา บอกเวลาได้)
  • Money (เรื่องเงินตรา และเหรียญ)
  • การนับเลข 1-100
  • การอ่านตัวเลข และตัวหนังสือของตัวเลขนั้น
  • การนับถอยหลัง
  • การนับเดินหน้า
  • ความรู้เรื่องปฎิทิน ชื่อเดือน และจำนวนวันในแต่ละเดือน
  • ความรู้เรื่อง จำนวนวินาที  นาที ชม. และวัน กลางวัน  กลางคืนและ ฤดูกาล
  • การลบ
  • ความรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต  สี
  • ระยะทาง และมาตรวัด เบื้องต้น
  • ความรู้เรื่องแพทเทิร์น เช่น ลายที่ซ้ำๆกัน 
แม้ว่ารายงานเรื่องผลการเรียนของน้องแชงในห้องเรียนนั้น จะเป็นในระดับดีเลิศ  กล่าวคือ เหนือกว่าเด็กในห้องที่เรียนด้วยกัน  แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นเป้าหมายของดิฉัน   สิ่งที่เราพ่อแม่ต้องคำนึง คือการดูว่าลูกมีความรู้ในระดับมาตรฐานหรือไม่   จุดยืนของดิฉันนั้นไม่ได้ต้องการให้ลูกเป็นเลิศ  หรือต้องการให้เก่งที่สุด แต่ต้องการให้ลูกมีความสามารถกลางๆในมาตรฐานที่กำหนดไว้ แบบสากล

ดิฉันจึงทำการทดสอบน้องแชงในส่วนของพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งดูเรื่องการเรียนที่ผ่ามา พบว่า คุณครูมีการสอนเรื่องเวลามาบ้าง  แต่ลูกยังไม่ค่อยเก่งเรื่องนี้  เพราะดิฉันไม่ได้ฝึกฝนลูกที่บ้าน  และการนับเลขก็ยังไม่คล่อง และได้เพียง 1-20 (ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในชั้นอนุบาล ๒)  ดังนั้นดิฉันจึงตั้งเป้าหมายว่า คงต้องเน้นฝึกเรื่องการนับเลขให้ได้ 1-100 ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ  ให้ได้ก่อนเปิดเทอม เพราะการนับเลขนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญของการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ ตารางร้อยช่องที่ได้รับจากแม่ภุชงค์และพ่อธีร์มาเมื่อปีกลายคงต้องนำมาใช้เป็นเรื่องเป็นราว และดิฉันเองก็คงต้องปัดฝุ่นหนังสือ ของแม่ภุชงค์และพ่อธีร์อีกครั้ง

สิ่งที่ต้องสอนลูกในช่วงปิดเทอมนี้ ควบคู่กันไป คงจะเป็นเรื่องของ การดูเวลาให้คล่อง เรื่องของวัน เดือน ปี  จำนวนวันในแต่ละเดือน แต่ละปี  เป็นต้น  และอีกเรื่องที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือ เรื่องเงินตรา  เพราะมาอยู่ที่เวียดนามนี่ ลูกสองคนไม่เคยจับเงินเลย  เงินของเวียดนามนั้นเก่าและสกปรกมาก ทำให้ดิฉันไม่เคยให้ลูกแตะต้อง   แต่เดี๋ยวสามีกลับบ้าน จะให้เขาถือเหรียญต่างๆและธนบัตรของไืทยมาด้วย ลูกจะได้เรียนจากของจริง


ส่วนเรื่องการบวก ลบ หรือ เรื่องเศษส่วนนั้น ดิฉันเองก็เริ่มสอนแล้ว แต่ผ่านการเล่นเกมอีเลินนิ่ง เป็นหลัก ค่อยๆฝึก ค่อยๆให้เขาเรียนรู้จากการเล่น ก็พอจะซึมซับไปได้บ้าง  เท่าที่ดู ดิฉันคิดว่าเราสามารถสอนเรื่องหลายๆเรื่องต่อยอดกันไปได้  ไม่ต้องมุ่งเน้นสอนทีละเรื่อง  เช่น เรื่องการดูมาตรวัด เรื่องเวลา  เราก็สามารถสอนเรื่องการนับเดินหน้า ถอยหลังไปในตัว  ซึ่งดิํฉันเองก็ำกำลังศึกษาเรื่องเทคนิคการสอนเรื่องต่างๆ จากกระทู้เก่าๆของเืพื่อนๆ ที่สะสมไว้  รวมทั้งจากหนังสือ แบบฝึกหัดที่เพื่อนๆแจกมา   แล้วค่อยมาัดัดแปลงประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะอยากยิ่งสิ่งที่คุณ Myson711 ได้กรุณาเขียนเล่าไว้ในเวบบอร์ดโมมี่พีเดียเรื่อง  เทคนิคการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในมุมมองของเด็กๆ  ทำให้ดิฉันเข้าใจสิ่งที่ หนังสิอคณิตศาสตร์ของลูกเขียนไว้  ได้เข้าใจยิ่งขึ้น

ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆหลายๆท่านในเวบบอร์ด โมมี่พีเดีย มามี่เซ็นเตอร์  กานต์ทีวี  และในFB มา ณ ที่นี้ด้วย  ข้อมูลที่สะสมไว้ตลอดสี่ปี ในเวบบอร์ดโมมี่พีเดีย ได้นำมาศึกษาในคราวนี้ เท่าทีดิฉันสังเกตจากการสอนน้องแชงเรื่องการบวก ลบ หรือเศษส่วน แบบเป็นกิจลักษณะ ก็รู้สึกว่า เขาเรียนไม่กี่ครั้งก็เข้าใจ อาจจะเป็นเพราะผลจากการทำโฮมสคูล ในการฝึกการนับด้วยสิ่งของ ทีเคยฝึกไว้ตอนที่มาเวียดนามใหม่ๆ  ทำให้เขามี Logical thinking ที่ดี และจับหลักได้ไว สอนไม่ยาก

ไม่มีความคิดเห็น: