วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Housing

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (6)

Special Thanks to

http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786

กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรมส่งเสริมความมั่นคงของร่างกาย ( Body Stability )
  • กิจกรรมไถนา,เดินปู,กิจกรรมผลัก ดัน
  • เล่นของเล่นต่างๆ เช่น ดินน้ำมันอ่อนๆและเล่นปีนป่าย ไต่
กิจกรรมส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Skills )
  • ติดกระดาษวาดเขียนแผ่นใหญ่ไว้บนผนังให้เด็กใช้ปากกา มาร์คเกอร์อันใหญ่เขียนบนกระดาษ ลากเส้นให้เด็กลากตามครู โดยลากเส้นจากซ้ายไปขวาอย่างน้อย 10 ครั้ง ให้เด็กลากตามทีละเส้นหรือลากจากบนลงล่าง
  • เล่นเกมต่อจุดโดยการลากเส้นต่อจุดจากซ้ายไปขวาหรือบนลงล่าง
  • วางแผ่นฉลุบนกระดาษแล้วใช้มือข้างที่ไม่ถนัดกดแผ่นฉลุไว้อย่าให้เลื่อนได้ แล้วเอามือข้างที่ถนัดจับดินสอลากไปตามขอบของแผ่นฉลุ
  • ติดผ้าสักหลาดไว้ที่ผนังหรือเอากระดานสักหลาดหรือกระดานแม่เหล็กติดไว้ที่ผนัง แล้วให้เด็กเอารูปทรงหรือภาพต่างๆไปติดไว้บนกระดาน
  • ให้เด็กเขียนบนกระดานดำโดยใช้ชอล์กแทนปากกา ลากเส้นจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา
  • ระบายสีบนกระดาษที่วางบนขาตั้งภาพ
กิจกรรมส่งเสริมการควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา ( Ocular Motor Control )
  • ใช้ไฟฉายส่องบนเพดาน โดยให้เด็กนอนหงายแล้วมองตามการเคลื่อนไหวของแสงไฟจาก ซ้ายไปขวา บนลงล่างและทิศทางเฉียง
  • หาภาพที่ซ่อนอยู่ในหนังสือ
  • เล่นเกมเขาวงกต
กิจกรรมส่งเสริมสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ( Eye-hand Coordination )
  • โยนลูกบอลหรือของเล่นเข้าไปในห่วงฮูล่าฮูบที่วางอยูบนพื้น เพิ่มความยากโดยการเพิ่มระยะทางในการโยน
  • โยนบอลแล้วรับโดยเริ่มจากการใช้บอลลูกใหญ่แล้วลดขนาดลูกบอลลงเพื่อเพิ่มความยาก
  • โยนโบว์ลิ่งโดยใช้ลูกบอลแทนลูกโบว์ลิ่งแล้วใช้ขวดโซดาแทนพินโบว์ลิ่ง
  • เล่นตีลูกโป่งโดยใช้ลูกโป่งขนาดกลาง

มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (5)

Special Thanks to

http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786


กิจกรรมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
กิจกรรมกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Activities )
  • ม้วนและกลิ้งแป้งโดเป็นบอลโดยใช้ฝ่ามือและงอนิ้วมือเล็กน้อย
  • กลิ้งลูกบอลให้เป็นลูกบอลจิ๋วโดยใช้ปลายนิ้ว
  • ใช้หมุดหรือไม้จิ้มฟันในการเล่นกับแป้งโด เช่น ปั้นแป้งเป็นลูกชิ้นแล้วเอาไม้จิ้มฟันเสียบเป็นไม้ลูกชิ้น
  • ตัดแป้งโดด้วยมีดพลาสติดหรือที่ตัดพิซซ่าโดยจับในท่าจับมีดหั่นเนื้อ
  • ฉีกหนังสือพิมพ์ให้เป็นชิ้นยาวๆและขยำให้เป็นลูกบอล
  • ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์หนึ่งหน้าด้วยมือเดียวซึ่งจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ
  • ใช้สเปรย์ฉีดน้ำผสมสี ฉีดไปบนภาพวาดเพื่อระบายสี
  • ใช้คีมหนีบขนาดใหญ่ หนีบเก็บของ เช่น คีบถั่ว คีบเหรียญ คีบลูกบาศก์
  • ประกบมือสองข้างแล้วเขย่าลูกเต๋าที่อยู่ในมือ
  • กิจกรรมการร้อยและการเย็บ เช่น ร้อยลูกปัด ร้อยมักกะโรนี
  • ใช้ที่หยอดตา ดูดน้ำผสมสีแล้วหยดใส่กระดาษให้เป็นภาพ
  • เล่นพลิกการ์ด,เหรียญ,หมากฮอสหรือกระดุม โดยห้ามลากมาที่ขอบโต๊ะแล้วพลิก
  • เล่นหุ่นนิ้วมือ ใส่ที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง สมมติให้หุ่นเล่าเรื่องคุยกันหรือร้องเพลง
กิจกรรมตัดด้วยกรรไกร ( Scissor Activities )
  • ตัดจดหมายที่ไม่ใช้แล้ว,ตัดกระดาษนิตยสารทำเป็นการ์ด
  • ตัดแป้งโดด้วยกรรไกร
  • ตัดหลอดหรือกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ
กิจกรรมกระตุ้นการรับความรู้สึก ( Sensory Activities )
  • เดินท่าปู (นั่งบนพื้น เอามือวางบนพื้นไว้ข้างหลังแล้วยกก้นขึ้น),เล่นไถนา
  • เล่นเกมตบมือทั้งแบบมีเสียงและไม่มีเสียง หรือตบมือสลับกับตบเข่าด้วย
  • เล่นไล่ตบฟองสบู่โดยใช้มือสองข้างตบเข้าหากัน
  • ดึงดินน้ำมันออกด้วยนิ้วต่างๆกับนิ้วหัวแม่มือ ดึงทีละสองนิ้ว
  • วาดรูปบนทรายเปียก,เกลือ,ข้าวสาร หรือผสมแป้งข้าวโพดกับน้ำให้มีความหนืดคล้ายกับยาสีฟัน ลากมือไปบนแป้งที่ผสมแล้วซึ่งจะเป็นการส่งความรู้สึกกลับไปที่กล้ามเนื้อและ ข้อต่อด้วย
  • หยิบของชิ้นเล็กๆ เช่น หมุด,เหรียญ หรืออื่นๆออกจากถาดเกลือ,ทราย,ข้าวสารหรือดินน้ำมัน หรือหยิบออกขณะปิดตาจะเป็นการช่วยพัฒนาในด้านการรับรู้ที่มือ
กิจกรรมข้ามแนวกลางลำตัว ( Midline Crossing )
  • ส่งเสริมการเอื้อมข้ามแนวกลางลำตัวของมือแต่ละข้าง เช่น หยิบบล็อคจากซ้ายมือไปใส่กล่องทางขวามือ
  • เลิกห้ามเด็กใช้มือซ้ายในการทำกิจกรรมถ้าเด็กถนัดมือซ้าย ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมในแนวกลางลำตัวแล้วให้เด็กเลือกที่จะใช้มือเอง
  • เริ่มสอนเด็กให้รู้จักซ้ายขวาผ่านการเล่น เช่น เตะบอลด้วยขาขวาหรือซ้าย,เลียนแบบท่าทางคล้ายเกมไซม่อมเซย์ บอกคำสั่งให้มีการเคลื่อนไหวข้ามลำตัว
  • ระบายสีภาพที่วางบนขาตั้งภาพ ให้เด็กระบายเป็นเส้นต่อเนื่องข้ามหน้ากระดาษและระบายในแนวเฉียงจากบนลงล่าง

มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (4)

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786

ทักษะที่จำเป็นเมื่อเด็กเริ่มเขียน
  • ทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการ มองเห็นและการควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills and Visual Motor Control ) ...คือ ?
ทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills ) คือ
  • ความสามารถในการลอกรูปทรง,ตัวหนังสือหรือตัวเลขโดยใช้การมองเห็น
  • ความสามารถในการจำแนกตัวหนังสือกับตัวเลข
  • ความสามารถในการเขียนตัวหนังสือหรือตัวเลขให้อยู่ในเส้นบรรทัด
การควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Control ) คือ  ความสามารถด้านสหสัมพันธ์ของตา,แขนและมือ เช่น การลากเส้นหรือระบายสีให้อยู่ในรูปภาพ
  • การรับรู้ทางสายตา ( Visual Perception ) ...คือ ?
การรับรู้ทางสายตา (Visual Perception)
หมายถึง ความสามารถในการแปลผลข้อมูลและรู้ความหมายของสิ่งที่เห็น เด็กจะต้องมีความสามารถในการจดจำตัวหนังสือและแยกแยะตัวหนังสือที่คล้ายกัน เช่น ด กับ ค หรือ ถ กับ ภ
การรับรู้ทางสายตาแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
  • สหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ( Eye-hand coordination ) คือ สหสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อมือและตา เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวเล็ก หรือใหญ่เกินเส้นบรรทัด
  • การแยกภาพออกจากพื้น ( Figure-Ground Discrimination ) คือ ความสามารถในการแยกแยะวัตถุหรือรูปทรงออกจากพื้นของรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำ ที่เขียนได้
  • ความคงที่ของวัตถุ ( Form Constancy ) คือ ความสามารถในการรับรู้รูปทรงที่มีความแตกต่างกันด้าน ขนาด แสงเงา พื้นผิว และทิศทางการจัดวางรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กไม่สามารถจำตัว หนังสือที่เขียนในขนาดหรือสีที่ต่างกัน
  • ตำแหน่งในที่ว่าง ( Position in Space ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่ง ทิศทางของภาพที่เหมือนหรือต่างกัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวหนังสือ กลับด้าน
  • มิติสัมพันธ์ ( Spatial Relations ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายสัมพันธ์กับที่ว่างและสามารถที่จะ รับรู้ตำแหน่งของวัตถุสัมพันธ์กับตนเองหรือสัมพันธ์กับวัตถุอื่น เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะมีปัญหาในการ เรียงลำดับตัวอักษรในคำต่างๆ
  • การเติมเต็มของภาพที่ขาดหายไป ( Visual Closure ) คือ ความสามารถในการบอกว่ารูปทรงหรือรูบภาพนั้นเป็นอะไรเมื่อมองเห็นรูปภาพที่ ไม่สมบูรณ์ของมัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถเติมเต็มตัวอักษร หรือคำที่ขาดหายไปบางส่วนได้
  • ความจำทางสายตา ( Visual Memory ) คือ ความสามารถในการจำลักษณะเด่นของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งๆหรือสามารถจำการเรียง ลำดับของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งที่มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำหรือตัว อักษรได้
  • ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Skills ) ...คือ ?
เด็กที่มีความบกพร่องในด้านการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็กจะมีความยากลำบากใน การติดกระดุมหรือดีดนิ้ว,จับดินสอไม่ถูก(จับในท่ากำทั้งมือ) และขาดความสามารถในการทำงานที่ละเอียด เช่น การร้อยลูกปัดหรือการต่อเลโก้
  • การควบคุมการทรงท่าของลำตัว ( Trunk Control ) ...คือ ?
หมายถึง ความแข็งแรงและความมั่นคงของลำตัว แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
  • Posture and Balance คือ การทรงท่าและการทรงตัว เด็กจะต้องนั่งตัวตรง ศีรษะตั้งตรงบนเก้าอี้ โดยไม่มีการประคองด้วยแขน ถ้าเด็กใช้แขนในการนั่งจะทำให้การจับดินสอไม่มีประสิทธิภาพ
  • Upper Extremity Control คือ การควบคุมการทำงานตั้งแต่ไหล่ถึงนิ้วมือให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำทั้งใน เรื่องของทิศทาง ระยะทางและการกะแรง เช่น การออกแรงในการดึงเชือกลากของ กับการดึงทิชชู่
จะรู้ได้อย่างไรว่า..... เด็กมีปัญหาด้านการควบคุมการทรงท่าของลำตัว
สังเกตได้จากในระหว่างที่เด็กระบายสีหรือเขียน ตัวเด็กหรือแขนจะค่อยๆเอียงหรือเอนพิงโต๊ะ หรือเอาหัวนอนบนมือ
  • ความมั่นคงของข้อไหล่ ( Shoulder Stability ) ...คือ ?
หมายถึง การทำงานพร้อมกันของกล้ามเนื้อต่างๆรอบไหล่ เพื่อพยุงให้ข้อต่อมั่นคง เมื่อมีการเขียนมันจะทำงานอย่างช้าๆเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของไหล่ ถ้าเด็กมีความบกพร่องด้านนี้จะทำให้ไม่สามารถควบคุมข้อต่อให้มั่นคงได้ ถ้าข้อต่อนี้หลวมการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กในการเขียนก็จะเป็นไปได้ยากซึ่ง ย่อมส่งผลกระทบกับทักษะการเขียนอย่างแน่นอน
ถ้าไม่มีทักษะเหล่านี้เด็กก็ไม่พร้อมที่จะเขียน เราควรช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานนี้ได้อย่างไร....

มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (3)

ขอบคุณข้อมูลจาก  

http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786

การเขียนไม่ใช่ว่าแค่สอนให้เด็กจับดินสอเขียนอย่างเดียว แล้วจะเขียนได้เลย การที่เด็กเขียนไม่ได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับทักษะใดทักษะหนึ่งเท่านั้น หากแต่มันมีทักษะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันประกอบกันอยู่ซึ่งแยกออกจากกันไม่ ได้
พัฒนาการด้านการเขียน
อายุ
ความสามารถ
10-12 เดือน ขีดเขียนเส้นขยุกขยิก
1-2 ปี พัฒนาจากเส้นขยุกขยิกเป็นการเลียนแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ให้ดูในขณะวาดแล้วให้วาดตาม)
2-3 ปี ลอกแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ไม่ต้องให้ดูในขณะวาด)
3 ปี ลอกแบบรูปวงกลม
3-4 ปี ลอกแบบเครื่องหมายบวกและกากบาท
4-5 ปี ลอกแบบเส้นเฉียงและสี่เหลี่ยมจัตุรัส
5-6 ปี ลอกแบบรูปสามเหลี่ยม,สี่เหลี่ยมผืนผ้า,สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน,ลอกชื่อตัวเอง(เขียนตัวใหญ่ขนาด 1.5-5 ซม.)
6-7 ปี ลอกแบบตัวอักษร,ตัวเลข (เขียนตัวหนังสือได้ในขนาดปกติ 0.5 ซม.)
ทักษะที่จำเป็นก่อนเด็กเริ่มเขียน
  • ความสามารถในการทำงานข้ามแนวกลางลำตัว ...คือ ?
      ความ สามารถในการข้ามแนวกลางลำตัวของร่างกายเป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานของสมองที่ เป็นการประสานสัมพันธ์กันภายในสมอง และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมองทั้งสองซีก ซึ่งสมองแต่ละซีกจะทำหน้าที่ควบคุมต่างกันแต่จะทำงานร่วมกันเมื่อมีการทำ กิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายในแนวข้ามลำตัว ดังนั้นทักษะนี้จึงจะต้องเกิดขึ้นก่อนเพื่อที่จะพัฒนาสหสัมพันธ์ระหว่างตา กับมือและการรับรู้ทางสายตาซึ่งสำคัญกับการอ่านออกเขียนได้ของเด็ก
  • ความสามารถในการใช้มือทั้งสองข้าง ...คือ?
         ทักษะการทำงานของมือทั้งสองข้างเป็นความสามารถในการใช้มือสองข้างทำงานร่วม กันให้สำเร็จ มือหนึ่งเป็นผู้นำอีกมือหนึ่งเป็นผู้ช่วย การพัฒนาของมือข้างที่ถนัด สังเกตได้จากการที่ชอบใช้มือข้างไหนมากกว่า ตัวอย่างของกิจกรรมที่แสดงถึงการใช้ทักษะนี้ คือ
    • การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับดินสอเขียน
    • การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับกรไกรตัด

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทาง ...คือ?
         การเรียนรู้เรื่องทิศทางเป็นสิ่งสำคัญและมีอยู่ในรูปแบบของการศึกษา ความเข้าใจของคำว่าทิศทางกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนซึ่งไม่ว่าจะขณะอ่าน หรือเขียนเด็กจะต้องเริ่มต้นจากทางซ้ายของกระดาษไปทางขวาของกระดาษ
  • ความสามารถในการจำแนกรูปแบบที่เหมือนและแตกต่าง ...คือ?
        การแยกแยะความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งของหรือรูปภาพ ซึ่งจะสัมพันธ์กับการรับรู้ เกี่ยวกับตำแหน่งและทิศทาง ของวัตถุ (ภาพหรือสิ่งของ)
  • มือข้างที่ถนัด ...คือ?
         นิสัยโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบใช้มือข้างหนึ่งมากกว่ามืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในมือที่จะต้องควบคุม เครื่องมือการเขียนให้เหมาะสม มือข้างที่ถนัดจะพัฒนาทักษะและความแม่นยำในการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในขณะที่มือข้างที่ไม่ถนัดจะคอยประคองและช่วยขณะทำงาน มือข้างที่ถนัดควรจะถูกกำหนดก่อนที่เด็กจะเริ่มเขียน ครูควรจะให้โอกาสเด็กได้สำรวจมือข้างที่ชอบมากกว่า เด็กจะต้องมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อช่วยให้เกิดทักษะการทำงาน ของกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี
  • ความถนัดมือซ้าย      พัฒนาการของมือข้างที่ถนัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการของเด็ก 10% ของประชากรในขณะนี้ถนัดมือซ้าย มีงานวิจัยเสนอแนะว่าครูควรจะแนะนำการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของกล้าม เนื้อมัดเล็กและสังเกตมือข้างที่ถนัดของเด็ก เมื่อเขียนบนพื้นราบหรือตามแนวขวาง เด็กที่ถนัดซ้ายควรจะมีการหมุนกระดาษมุมซ้ายด้านบนขึ้นสูงกว่าและใช้มือข้าง ที่ไม่ถนัดจับกระดาษไว้แทน การทำแบบนี้จะช่วยให้คนที่เขียนข้างซ้ายรักษาท่าทางของข้อมือให้อยู่ในแนว ตรงซึ่งจะเป็นการยับยั้งการเขียนในท่างอข้อมือ
  • ท่าทางการจับดินสอ ...คือ?
ก่อนที่เด็กจะสามารถจับและควบคุมเครื่องเขียนได้นั้น เด็กจะต้องมีสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดีและมีการควบคุมกล้ามเนื้อมัด เล็กภายในมือที่ดี
การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ

  • ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง ...คือ?
          ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง    เมื่อเด็กเริ่มมีการพัฒนาของสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและการจับดินสอ พวกเขาจะเริ่มใช้ทักษะนี้ในการเขียนแบบขีดไปขีดมา จนในที่สุดการขีดไปมาของเด็กจะรวมอยู่ในเส้นพื้นฐานที่ประกอบกันเป็นรูปทรง และรูปภาพ ก่อนที่จะได้รับการสอนตามรูปแบบเด็กจะต้องลากเส้นพื้นฐานได้ป็นอย่างดี มีทิศทางที่เหมาะสม ตัวอย่างของเส้นพื้นฐาน คือ
    • เส้นแนวตั้ง
    • เส้นแนวนอน
    • เส้นเฉียง
    • วงกลม
    • เส้นโค้ง

มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (2)

ตามท้องตลาดจะมีผู้ช่วยคุณพ่อคุณแม่  คือ  ยางฝึกจับดินสอ
วิธีจับดินสอจะมี 2 แบบคะ  คือ แบบที่ 1
แบบวิธีที่ 1 จับแบบสามเหลี่ยม  จับดินสอแบบทั้งสามนิ้ว  เหมาะกับเด็กโตมากกว่า  แบบต้องเกร็งนิ้วมือทั้ง 3 พอสมควร


แบบที่ 2   จับ แบบวงกลม คือ ใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับดินสอ  กลางรองรับน้ำหนักด้านล่าง  แบบนี้ฝึกได้ทุกวัย   สำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาเจ็บนิ้ว  อาจเกิดจากน้องกดหรือเกร็งกับการเขียนมากเกินไป 



สำหรับน้องเล็กคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแบบที่ 2 คะ
การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย

  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้

  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้

  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ 

  •   

    การจับในลักษณะนี้มีประสิทธิภาพเพราะ ใช้แรงในการเขียนน้อยซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่ายและทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก 

    มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (1)

    ทำไมลูกยังเขียนไม่ได้  
      
    โดย จิราวรรณ   พุ่มศรีอินทร์  (ครูเจน)
    http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786


    ท่าทางการจับดินสอ
    ก่อนที่เด็กจะสามารถจับและควบคุมเครื่องเขียนได้ นั้น เด็กจะต้องมีสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดีและมีการควบคุมกล้ามเนื้อมัด เล็กภายในมือที่ดี
    เด็กจะเริ่มต้นการจับดินสอแบบกำทั้งมือ ซึ่งจะช่วยให้มีกำลังมาก เมื่อใช้การกำเด็กจะใช้ไหล่ในการเคลื่อนไหว การจับดินสอที่ผิดจะทำให้การเขียนไม่มีประสิทธิภาพเพราะเด็กจะใช้แรงมากใน การจับเป็นเหตุให้มือและแขนจะล้าง่าย
    เมื่ออายุ 4 ปี เด็กจะเริ่มวางนิ้วมือบนดินสอในทิศทางที่แตกต่างกัน จนกระทั่งมีการพัฒนาไปสู่การจับดินสอที่ดีขึ้น การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
    • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
    • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
    • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ
    การจับในลักษณะนี้มีประสิทธิภาพเพราะ ใช้แรงในการเขียนน้อยซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่ายและทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก
    รูปแบบของการจับดินสอ

    Supinate grasp (Fist grasp )   คือ การกำดินสอไว้ทั้งมือ การกำในลักษณะนี้จะพบในเด็กที่ยังไม่เข้าโรงเรียน

    Pronate grasp (Digital pronate )   คือ แบบฉบับที่ต่อมาจาก supinate grasp เป็นการคว่ำฝ่ามือลงซึ่งนิ้วจะงออยู่รอบดินสอและนิ้วชี้ ชี้ไปข้างหน้า

    Dynamic tripod (Digital tripod )   คือ การจับในลักษณะสามนิ้ว การจับในลักษณะนี้ตามปกติสัณนิษฐานว่าจะพบตอนอายุ 7 ขวบ ซึ่งอายุประมาณนี้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ได้เจริญเติบโตเต็มที่แล้วที่จะจับแบบสามนิ้วได้
     
    ท่าทางในการจับดินสอที่ผิด

    English Version
    Smart kids All right reserved.
    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.iamsmartkids.com      


    วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

    คุณกำลังเลี้ยงลูก...ไม่ได้เลี้ยงนก

                               Thank you photo from Internet (Corbis)

    เมื่อวันก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสไปรับประทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่ง และเผอิญได้ นั่งโต๊ะ ติดกับครอบครัว  หนึ่ง ที่พ่อแม่ลูกมาด้วยกันสามคม ในขณะที่กำลังรออาหารอยู่นั้น ผู้เขียนก็ได้เห็นเหตุการณ์อย่างที่เกิดขึ้นกับ ครอบครัวคือ แม่หนูน้อยเอื้อม  มือไปตักกับข้าว บังเอิญมือเล็กๆ ของเธอปัดถูกจานอาหาร ทำให้จานตกลงมาแตก คุณแม่ดุว่าแม่หนูน้อย ที่นั่งหน้าซีดด้วยความตกใจ แม่หนูน้อยเริ่มร้องไห้ คุณแม่ก็ยิ่งมีโทสะ และดุว่าลูกให้หยุดร้อง แต่แม่หนูก็  ไม่หยุด จนผู้เป็นพ่อต้องอุ้มลูกออกไปนอกร้านจนเด็กหยุดร้องไห้ จึงนำลูกกลับมานั่งรับประทานต่อ      ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่เห็นนี้มักเกิดขึ้นอยู่เสมอในครอบครัว หลายครั้งที่เด็ก ทำเรื่องที่เป็น ความผิดพลาดและ เกิดการเสียหายโดยไม่ตั้งใจ และเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ใหญ่มักจะลงโทษเด็ก แต่จะมีใครสักคนที่รู้บ้างว่า การลงโทษนั้นได้ส่งผลถึงความรู้สึกมีคุณค่าในตัวของเด็กโดยตรง เด็กจะรู้  สึกผิดละอาย เกลียดชัง และหากความรู้สึกนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เด็กก็จะเติบโตเป็นบุคคล ที่ไม่เห็นคุณค่าของ ตัวเอง ขาดความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง
    ผู้เขียนเคยอ่านเรื่องราว ที่เขาไปสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ของโลกท่านหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในด้านความคิด  สร้างสรรค์ เมื่อนักข่าวถามว่าทำไมท่านจึงมีความคิดกว้างไกลเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้เล่าให้ฟังว่า เรื่องมันเกิดเมื่อสมัยท่านมีอายุได้ราวสองขวบท่านได้ไปเปิดตู้เย็นเพื่อ จะดื่มนม แต่เนื่องจากมือท่านเล็กเกินไป ขวดนมที่ใหญ่ จึงร่วงหล่นบนพื้นนมกระจายเต็มห้อง      ขณะนั้นเองที่แม่ของท่านได้เดินเข้ามาในห้องพอดี และแทนการลงโทษ หรืออบรมสั่ง สอน ร่ายยาวเรื่อง ความซุ่มซ่ามของท่าน แม่ของท่านกลับพูดว่า" โอ้โฮ แม่ไม่เคยเห็นทะเลสีขาวอย่างนี้มาก่อนเลย แต่เอาละ ลูกทำมันหกแล้ว ลูกอยากจะลองเล่น  กับมันดูไหม ก่อนที่เราจะทำความสะอาดบ้านกัน"
    เด็ก ชายซึ่งต่อมาคือนักวิทยาศาสตร์ลือนามได้ทดลองสัมผัสกับน้ำนมที่เลอะเทอะอยู่ นั้น อย่างสนุกสนาน  หลังจากนั้นสักพักแม่ก็ได้นั่งลงข้างๆ เขา พร้อมกับพูดกับเขาว่า

    " ลูกรู้ไหมจ๊ะ เวลาลูกทำของหกเช่นนี้ ลูกต้องทำความสะอาดมัน เราจะช่วยกันทำนะลูกนะ ลูกอยาก  ใช้ผ้าเช็ดหรือกวาดมันก่อนหรือจะใช้ม้อบจ๊ะ"
    เด็กชายเลือกม้อบ และทั้งแม่และลูกก็ใช้เวลาล้างถูทำความสะอาดด้วยกันอย่างมีความสุข   หลังจากนั้น แม่ของท่านได้พูดว่า " เมื่อกี้ สิ่งที่ลูกทำหกนั้น เป็นเพราะลูก พยายามทดลอง จับขวดที่ใหญ่ และลูกจับตรงกลางขวดมันทำให้ลูกจับไม่ถนัด ขวดจึงตกลงมา แม่จะพาลูกไปหลังบ้านเอาขวดใบเดิมที่ ลูกทำตกนี้แหละ เราจะใส่น้ำ และให้ลูกลองหัดถือดูใหม่ เพื่อลูกจะได้ค้นหาวิธีที่จะถือขวดนี้โดยไม่    ตกลงมาอีก"
    ทั้งแม่และลูกชวนกันไปที่หลังบ้าน แม่ได้กรอกน้ำใส่ขวดใบเดิมจนเต็มและให้เด็กชายทดลอง หาวิธีการ  ถือขวด เด็กชายค้นพบว่า ถ้าเขาถือขวดในลักษณะที่ใช้สองมือจับตรงคอขวดแล้ว จะทำให้เขาสามารถ  ถือขวดได้โดยขวดไม่ตกลงมา เด็กชายรู้สึกดีใจและภูมิใจในสิ่งที่เขาค้นพบนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่า ณ วินาทีนั้นเอง เขาค้นพบว่า เขาไม่จำเป็นต้องกลัวความผิดพลาด แทน  การถูกลงโทษในสิ่งที่เขาทำไปเพราะไม่รู้ เขากลับได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นและสามารถนำ   ความผิดพลาดมาใช้เป็นบทเรียนแห่งการค้นคว้าได้ในที่สุด และนี่เองเป็นสาเหตุให้เขา ได้กลายเป็นนัก วิทยาศาสตร์เลื่องชื่อ เพราะการค้นพบทุกอย่างทางวิทยาศาสตร์จะต้องเกิดจาก การลองผิดลองถูกไป  ก่อนเสมอ

    เมื่อได้อ่านเรื่องนี้ ผู้เขียนรู้สึกประทับใจที่นักวิทยาศาสตร์มีแม่ที่เข้าใจในตัวลูก ทำให้อยากฝันเห็นพ่อแม่ ของเด็กไทยทุกคนให้โอกาสลูก ให้ลูกเรียนรู้จากความผิดพลาดได้บ้าง โดยมีพ่อหรือแม่คอยให้กำลังใจ  ทุกขั้นตอน เด็กๆ ของเราจะมีความสุขเพียงใด

    แต่ใช่ว่าพ่อแม่ จะไม่เข้าใจลูกเสมอไป มีพ่อแม่บางคนที่มองเห็นถึงความสำคัญ ของการประคับประคอง มองความผิดพลาดให้เป็นบทเรียนและไม่ซ้ำเติมลูก ดังครอบครัวของ "สกุลประทีป"

    ในครอบครัวนี้ พ่อเป็นคนที่รักนกเป็นชีวิตจิตใจ จะมีนกเขาเสียงดีอยู่หลายตัวที่พ่อเลี้ยงดูอย่างดี เมื่อมี  การประกวดนก พ่อจะคัดเลือดตัวที่เสียงดีที่สุดไปแข่งขัน ทุกคนในบ้านต่างก็รักนก โดยเฉพาะเด็กชาย  อุดม จะมีหน้าที่ช่วยพ่อดูแลให้อาหารนก อยู่มาวันหนึ่ง ขณะกำลังให้อาหารนก เด็กชายก็ได้ทำนกหลุดออกจากกรงไปโดยบังเอิญ เด็กชายเต็มไป  ด้วยความกลัวพ่อลงโทษ ไม่กล้าบอกพ่อ จนกระทั่งเดินไปหลังบ้าน เมื่อมองไม่เห็นนก ก็เดาเรื่องออก  และเดินกลับมาที่ห้องด้วยความโกรธจัด เรียกหาเด็กชายที่เข้ามายืนตัวสั่นอยู่ข้างๆ    แต่ก่อนที่พ่อจะแสดงความโกรธเป็นคำพูดหรือการกระทำที่ก้าวร้าวกับลูกนั่นเอง ผู้เป็นแม่ก็เข้าไปจับแขน พ่อ และพูดด้วยเสียงนุ่มนวลให้ผู้เป็นพ่อได้คิดว่า

    " พ่อจ๊ะ ฉันรู้ว่าพ่อโกรธลูกมาก เพราะลูกเราเลินเล่อไม่ระวัง แต่พ่อคิดไหมว่านกมันหลุดไปแล้ว เรา เสียมันไปแล้วก็จริง แต่เรายังมีลูกอยู่ พ่ออย่าทำให้เราต้องสูญเสียลูกไปอีก ชีวิตหนึ่งเลย เราเลี้ยงลูก  น่ะพ่อ เราไม่ได้เลี้ยงนก "                                                                         
    คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ ว่า เด็กๆ ที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความภาคภูมิใจในตนเองทุกคน ต้องการ  พ่อแม่ที่ให้กำลังใจเขา ประคับประคองเขา

    โปรดระลึก ไว้เสมอว่า พ่อแม่ไม่ควรให้วัตถุใดๆ ในโลกมามีความสำคัญยิ่งไปกว่า ความรู้สึกของลูก ว่า   ตัวเองมีคุณค่าในสายตาของพ่อแม่ของเขา

    หาก คุณพ่อคุณแม่จัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง เด็กๆ จะมีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความรู้สึกภาคภูมิ  ใจในตนเอง เขาจะมีดวงใจที่เปี่ยมด้วยความรัก ทั้งกับตัวเขาเอง และบุคคลใกล้ตัว เขาทุกคน 

                                                                                          ที่มา... หนังสือก่อนจะถึงวันนั้น โดย รศ.ดร.นวลศิริ เปาโรหิตย์

    วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

    สร้างบทเรียนการเงินให้ลูก "จะใช้อย่างไร" สู่ "จะบริหารอย่างไร"

                              ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต


    เรื่อง ฝึกเด็กให้เข้าใจและรู้จักการ จัดการการเงินเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร โรงเรียนบางแห่งถึงกับจัดการเรียนการสอนเป็นเรื่องเป็นราว แต่ผู้รู้กล่าวว่า..ห้องเรียนที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านการ เงินของเด็ก คือที่ "บ้าน" ค่ะ

    สอนโดยพ่อแม่ สอนโดยสภาพแวดล้อม

    อย่าง ไรก็ดี การสอนให้ลูกบริหารเงินเป็นกลับกลายเป็นต้นเหตุที่ทำให้ "บางครอบครัว" ต้องทุ่มเถียงกัน เนื่องจากความเห็นของพ่อแม่นั้นไปคนละทาง คุณพ่อสอนทาง คุณแม่กลับเห็นไปอีกทาง เมื่อการสอนไม่ไปในทิศทางเดียวกัน สุดท้ายจึงเป็นการใช้อารมณ์เข้าต่อสู้กัน และจบลงด้วยความเบื่อหน่าย ส่วนเด็กก็ไม่ได้อะไรจากการโต้เถียงครั้งนั้นที่ไม่ได้รับการปูพื้นฐานที่ ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน
    เด็กกลุ่มนี้จึงมีเพียงบทเรียนบทเดียวเกี่ยวกับเงิน ก็คือ "จะใช้มันอย่างไร"

    Anne Ziff นักบำบัดปัญหาครอบครัวกล่าวว่า " การพูดเรื่องเงินในบางครอบครัวเป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งได้มาก สิ่งที่ควรจะพูดด้วยความสงบ กลับกลายเป็นการใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง พ่อแม่มักจะยืนกันคนละฟาก ให้ข้อมูลในฟากของตัวเอง แทนที่เด็กจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารเงินอย่างเต็มที่ จึงกลายเป็นว่า เด็กต้องคอยเป็นผู้ผสมแนวคิดของพ่อกับแม่เข้าด้วยกันแทน"

    บทเรียนด้านการบริหารการเงินสำหรับเด็ก ๆ จึงควรเริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ด้วยการเรียนรู้พื้นฐาน 4 ประการดังต่อไปนี้ค่ะ ได้แก่ การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน, การออมเงิน และเมื่อลูกต้องขอยืมเงิน

    การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน

    เริ่ม แรกที่การได้มาซึ่งเงิน พ่อแม่ผู้ปกครองอาจจ่ายเงินค่าขนมเป็นรายสัปดาห์ให้เด็กฝึกบริหารเงินก้อน เล็ก ๆ นั้นด้วยตัวเอง เขาจะเริ่มเรียนรู้การบริหารเงิน การใช้จ่าย และการเก็บออม และเริ่มเข้าใจถึงขีดจำกัดเมื่อเขาไม่อาจได้ทุกอย่างที่ต้องการอีกต่อไป

    จาก นี้ หากเขาอยากได้ของขวัญสักชิ้น จะไม่ใช่หน้าที่ของพ่อแม่อีกต่อไปที่จะจ่ายเงินค่าของขวัญชิ้นนั้น (คุณพ่อคุณแม่หลายอาจแอบยิ้มดีใจ) หากแต่ต้องเป็นเด็กที่จะนำเงินที่เขาเก็บออมมาใช้ด้วยตนเอง เด็กจะได้ฝึกถ่วงน้ำหนักระหว่างความอยากได้กับความจำเป็นในการใช้จ่ายเงิน ของเขามากขึ้น

    สำหรับคำถามที่ว่าควรจะให้เงินเท่าไร ถึงจะเหมาะสม อาจพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุของเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็ก (อยู่ในโรงเรียนแบบไหน เดินทางไปโรงเรียนอย่างไร ฯลฯ) ตลอดจนเพื่อน ๆ ของเขา

    เมื่อสอนให้เขารู้จักพิจารณาก่อนใช้จ่ายแล้ว ก็ควรมีการฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วย

    ลอง นึกภาพลูกน้อยวัย 4 - 6 ขวบที่อยากได้ของเล่นสักชิ้น แทนที่จะบอกเด็กไปว่า คุณซื้อให้ไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นประโยคที่ว่า เราต้องมีการวางแผนกเก็บเงินซื้อกันแล้วล่ะ อาจหากระปุกออมสินสักใบ วางภาพของ ๆ เล่นที่อยากได้แปะสก็อตเทปติดไว้บนกระปุก และให้ลูกนำเงินเหรียญมาหยอดสะสมไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งเมื่อมันมีมากพอ ก็ได้ฤกษ์ทุบกระปุก นำเงินในกระปุกไปซื้อของเล่นที่ต้องการ ประสบการณ์ครั้งนี้จะสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของการเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินมากขึ้น

    สร้างสมดุลระหว่างการออมและการใช้จ่ายเงิน

    นอก จากจะกระตุ้นให้เด็กรู้จักออมเงินแล้ว การสอนให้เด็กรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างรู้คุณค่าก็เป็นสิ่งจำเป็น แผนในการใช้จ่ายเงินจะทำให้เด็กเข้าใจว่า ที่ออมเงินมาตลอดนี้ก็เพื่อจะได้มีใช้จ่ายในอนาคต และจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    เมื่อต้องเอ่ยปากขอยืม

    เมื่อ พูดถึงการขอยืม ทีมงาน Life & Family ได้มีการกล่าวถึงว่าควรทำอย่างไรเมื่อญาติ - เพื่อนเอ่ยปากขอยืมเงินไปหยก ๆ แล้วสำหรับเด็ก การสอนเรื่องการขอยืมเงินจะเหมาะสมหรือเปล่า ประเด็นนี้อาจตอบได้ไม่ยาก แต่ การสอนให้เด็กรู้จักการขอยืม ไม่ใช่เพื่อให้เด็กเตรียมตัวไปขอยืมเงินคนอื่น แต่เขาจะได้รู้เท่าทันเกี่ยวกับดอกเบี้ย และการจ่ายเงินคืน ไปในตัว เขาจะได้รู้ว่า ต่อให้จ่ายดอกเบี้ยเท่าไร หากไม่ยอมจ่ายส่วนของเงินต้นด้วย ยอดหนี้ของเขาก็จะไม่มีวันลดลง และเขาก็หมดโอกาสที่จะเก็บเงินไปซื้อของเล่นดี ๆ อย่างอื่นที่ต้องการ

    เรียบเรียงจาก kidsmoney.org

    แหล่งที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

    วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

    เทคนิคเด็ดติวเข้มก่อนสอบ

    เดือน หน้าน้องฮักจะมีสอบเก็บคะแนนทั้งสัปดาห์เลยค่ะ น้องฮักเรียนอยู่ ป.2 แล้วค่ะ ก็ต้องมีเตรียมตัวอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบบ้างเป็นธรรมดา แต่คุณแม่อยากได้เทคนิคการติวเข้มให้ลูกว่าควรเริ่มอย่างไร ช่วงเวลาไหนเหมาะที่สุด ทบทวนครั้งละกี่ชั่วโมง หรือจะมีเทคนิคอื่นๆ อีกไหมคะ



    คุณแม่น้องฮัก / นนทบุรี



    จาก คำถามข้างต้นรู้สึกได้ว่าคุณแม่มีเวลาเอาใจใส่การเรียนของลูกและพร้อมที่จะ ช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ คราวนี้เรามาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรกันต่อดีกว่าค่ะ



    คุณ แม่คงเห็นด้วยนะคะว่าความสำเร็จในการเรียนระยะยาวนั้น ลูกต้องมีความสุขกับการเรียน รู้สึกว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ และหากเขาได้ประสบความสำเร็จไปทีละขั้นตอน เขาจะมีแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อไปอย่างไม่รู้จบ

    ดัง นั้น มาเปลี่ยน ‘ติวเข้มแบบเดิมๆ’ สู่การติวเข้มแบบใหม่ไฉไลกว่าเดิมกันดีกว่าค่ะ หากเราเอาใจใส่กับการเรียนของลูกบนทัศนคติและท่าทีที่ดี ผลที่ตามมาคือแม่ลูกจะเบิกบานและสนุกไปด้วยกันกับการเรียนของลูก แทนที่จะเป็นการติวเข้มแบบเชิงลบ ที่ลูกจะรับรู้ถึงความเข้มงวดกวดขันที่อาจส่งผลให้ลูกเบื่อหน่าย เป็นไม้เบื่อไม้เมากับคุณแม่ แล้วก็ไม่ได้รับประกันว่าการเรียนจะดีขึ้นในระยะยาว แม้บางครอบครัวอาจได้ลูกที่เรียนเก่ง แต่ผลข้างเคียงคือความกังวลกับการสอบและผลสอบ ควบคู่กับบรรยากาศในบ้านที่เคร่งเครียดค่ะ



    แนว ทางที่คุยกันต่อไปนี้จะส่งผลระยะยาวต่อการรับผิดชอบและการสร้างแรงจูงใจใน การเรียนรู้ด้วยตนเองของลูก โดยมีคุณแม่อยู่เคียงข้างความสำเร็จและเป็นผู้ส่งเสริมให้เขามีแนวทางการ จัดการกับการเรียนด้วยตนเองค่ะ



    1. แสดงความใส่ใจและสนุกไปกับสิ่งที่ลูกเรียนรู้มา ความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่ลูกเรียนจะทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นอยากบอกเล่าให้ เราฟัง คุณแม่ก็มีหน้าที่ต่อยอดจากสิ่งที่ลูกเรียนในห้องเรียนสู่โลกและสังคมรอบตัว ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น พาไปดูของจริง ช่วยกันค้นคว้าเพิ่มเติม ลองเอาความรู้มาทดลองใช้ เป็นต้น ลูกจะรู้สึกว่าการเรียนของเขาสร้างสัมพันธภาพที่ดี มีเรื่องคุยมีเรื่องทำร่วมกันกับคุณแม่ค่ะ



    2. กำหนด ‘เวลาเรียนรู้ด้วยตนเอง’ กำหนดเวลาและสถานที่ที่แน่นอนทุกวัน สำหรับการทำการบ้าน และทบทวนบทเรียน เป็นการสร้างวินัยและความรับผิดชอบของลูกไปพร้อมๆ กันค่ะ แรกๆ ต้องฝึกและกำกับลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เขาเกิดความเคยชิน รู้เวลารู้หน้าที่ ในที่สุดเขาจะทำโดยอัตโนมัติค่ะ

    ส่วน ระยะเวลาขึ้นกับการเรียนในแต่ละโรงเรียน ถ้าโรงเรียนไหนให้การบ้านมากแล้ว ก็อาจเหลือเวลาทบทวนเรื่องอื่นประมาณ 15 นาทีก็พอ ระหว่างที่ลูกทำงานคุณแม่ควรแวะเวียนมาให้กำลังใจและชื่นชมความตั้งใจในการ ทำงานของเขาบ่อยๆ จะได้สังเกตว่าลูกติดขัดหรือต้องการความช่วยเหลือหรือไม่



    3. ฝึกลูกวางเป้าหมาย และจัดการกับเวลา ลองถามเขาดูว่าวันนี้ สัปดาห์นี้เขาต้องทำอะไรบ้าง ฝึกให้เขาทำรายการสิ่งที่ต้องทำพร้อมกับลงตารางเวลาและติดไว้บนบอร์ด ให้เขาเช็กสิ่งที่ทำแล้ว คุณแม่ก็มีบทบาทคอยชมเชยการวางแผนงานของเขา ขอดูผลงานที่ทำสำเร็จแล้ว และให้กำลังใจในสิ่งที่เขายังทำไม่สำเร็จ อาจสอบถามหรือชี้แนะแนวทางเพื่อให้เขาประสบความสำเร็จกับงานตามที่วางแผนไว้



    4. ช่วงใกล้สอบ ทำให้การติวเข้มเป็นเกมที่สนุกสนาน ลูกวัยนี้ชอบความท้าทาย เรามาชวนลูกเล่นเกมถามตอบ เกมต่อคำศัพท์ แข่งคิดเลขเร็ว เป็นต้น ลูกจะได้ความรู้และความสนุกไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ในชีวิตประจำวัน เวลานั่งรถไปไหนด้วยกันคุณแม่อาจชวนลูกเล่นเกมเหล่านี้ก็จะทำให้เวลาในรถ ทั้งสนุกทั้งได้ฝึกคิดไปด้วยค่ะ

    เทคนิคง่ายๆ แค่ 4 ข้อ ก็จะช่วยให้น้องติวข้อสอบอย่างสนุก และได้ความรู้ค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณแม่ และขอให้น้องสอบผ่านฉลุยนะคะ



    โดย: อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข

    วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    การประเมินอัจฉริยภาพของน้องแชง

    ในฐานะแม่ ดิฉันเองก็ได้เฝ้าสังเกต และดูพัฒนาการของลูก เพื่อค้นหาอัจฉริยภาพในตัวลูกทั้งสองเช่นกัน โดยเราจะสังเกตได้ด้วยตนเอง เมื่อเราได้ใกล้ชิด พูดคุย และสอนลูกด้วยตนเอง รวมทั้งจากการพูดคุยกับคุณครู เพื่อน และคนที่อยู่รอบๆตัวของลูก น้องแชงและน้องเชียร์นั้น มีบุคลิก นิสัย และความชอบ หลายๆเรื่องไม่เหมือนกัน แม้ว่าเราจะเลี้ยงดูมาด้วยกัน พ่อแม่เดียวกัน วัยก็ไม่ได้ต่างกันมาก เรียนโรงเรียนเดียวกัน แต่ลูกทั้งสองก็มีความเป็นปัจเจกบุคคล ที่แตกต่างกัน ในฐานะแม่ เราก็ต้องยอมรับและปรับวิธีการสอน วิธีการเลี้ยงดู เพื่อช่วยส่งเสริมลูกให้มากที่สุด แบบที่เขาเป็น

    อัจฉริยภาพทั้ง 8 ด้าน หากเรียงลำดับนั้น แชงมีครบทุกด้าน แต่มากน้อยต่างกัน เรียงลำดับจากมากไป หาน้อยดังนี้ คือ

    1. ด้านมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
    2. ด้านภาษาและการสื่อสาร
    3. ด้านดนตรีและการจับจังหวะ
    4. ด้านภาพและมิติสัมพันธ์
    5. ด้านธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์
    6. ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
    7. ด้านการเรียนรู้ตนเอง
    8. ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์

    ในคนเราทุกคนนั้น ควรได้รับการพัฒนาทักษะทุกด้าน อย่างสมดุล อย่างน้อยให้ได้ตามมาตรฐาน เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและสมดุล แต่ในทักษะด้านที่เป็นจุดเด่น อาจจะมีการสนับสนุนต่อยอด ให้เป็นจุดแกร่งได้ ในขณะเดียวกัน จุดแกร่งในบางเรื่อง ก็อาจจะเป็นจุดที่ด้อยในบางครั้ง เช่น คนที่มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นดีมาก รู้จักแบ่งปัน เืือื้อเฟื้อ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากมีมากเกินพอดี ก็อาจจะกลายเป็นความทุกข์ เป็นช่องทางให้ถูกเรียกร้อง เอารัดเอาเปรียบ จึงเป็นความท้าทาย ที่พ่อแม่และครูจะสามารถหาวิธีชี้แนะให้เด็กๆรู้จักการพัฒนาที่พอดี ไม่โน้มเอียงมากเกินไป จนเกิดทุกข์ หรือละเลยทักษะที่จำเป็นด้านอื่นๆ

    หลายๆครั้ง ดิฉันพบว่าทักษะที่ด้อยกว่า ทักษะด้านอื่นนั้น อาจจะไม่ได้มาจากการที่เด็กไม่มีอัจฉริยภาพในด้านนั้น เพียงแต่ทักษะด้านนั้น ยังไม่ได้ัรับการสนับสนุน หรือ พัฒนาอย่างจริงจัง ทำให้เด็กๆไม่มีโอกาสพัฒนาทักษะด้านนั้น เช่นทักษะด้านคณิตศาสตร์ และตรรกะ เป็นทักษะด้านที่ดิัฉันไม่ได้เริ่มสนับสนุนลูกอย่างจริงจัง เมื่อมีการเริ่มพัฒนา ก็ดูเหมือนลูกจะทำได้ไม่เลวทีเดียว แต่ืัืัทักษะด้านทืี่ลูกทำได้ดี 3 ด้าน นั้น คือ เรื่อง มนุษยสัมพันธ์ ด้านภาษา และดนตรี เป็นด้านที่ดิฉันส่งเสริมลูกมาตั้งแต่เล็ก ทำให้เขามีการพัฒนาทักษะด้านนั้นได้ดีมากกว่าด้านอื่นๆ ที่่ได้ัรับการพัฒนามาทีหลัง

    หากมาดูน้องเชียร์ลูกคนเล็ก โดยพื้นฐานแล้วน้องเชียร์ มีการพัฒนาทักษะด้าน ดนตรี และมิติสัมพันธ์ได้ดีกว่าน้องแชง ซึ่งเป็นมาจากนิสัยพื้นฐานที่ชอบและสนใจด้านนี้เป็นพิเศษ แต่น้องแชงจะมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารดีกว่าน้องเชียร์ จากนิสัยและความสนใจที่ต่างกันแต่เด็ก

    แต่โดยรวม ทักษะเด่นของลูกทั้งสอง ในการเรียงลำดับการพัฒนา ก็จะประมาณนี้ไม่ต่างกัน

    วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence)

    เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง

    - เป็นคนชอบสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์
    - สนใจสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติรอบตัว
    - สนใจความเป็นไปในสังคมรอบตัว ชอบศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ การดำรงชีวิต
    จิตวิทยา
    - คิดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม
    - เข้าใจธรรมชาติของพืชและสัตว์ได้เป็นอย่างดี รู้จักชื่อต้นไม้ ดอกไม้หลายชนิด
    - ไวต่อความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ
    - สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
    - มีความรู้เรื่องดวงดาว จักรวาล สนใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

    สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

    บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้ มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม

    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง

    - มีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมและมีขอบเขต
    - แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกในเรื่องต่างๆ อย่างพอเหมาะ
    - มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่แน่นอนและในรูปแบบที่ถูกต้อง
    - ทำงานได้ด้วยตนเอง
    - มีพัฒนาการในด้านการเรียนรู้และบุคลิกภาพ
    - สามารถทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
    - เข้าใจถึงความสำคัญของตัวเองที่มีอิทธิพลหรือมีบทบาทและความสัมพันธ์ต่อบุคคลอื่น

    ในข้อนี้ ลูกทั้งสองคนยังต้องได้รับการพัฒนา และคนส่วนมากก็ละเลยเรื่องนี้มาก

    สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)

    เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
    - มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    - สร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นในสังคม
    - พยายามใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อเข้าไปมีส่วนสัมพันธ์กับผู้อื่น
    - รับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด แรงจูงใจ พฤติกรรม และวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้อื่น
    - เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานกับผู้อื่น และสามารถรับบทบาทหลายอย่างที่เหมาะสมตั้งแต่ผู้นำจนถึงผู้ตามกลุ่ม
    - มีความสามารถโน้มน้าว ชักจูง ในการแสดงความคิดเห็น หรือการกระทำของผู้อื่น
    - มีความเข้าใจและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้วยวาจาและไม่ใช้วาจา
    - ปรับพฤติกรรมเข้ากับสภาพแวดล้อมหรือกลุ่มคนที่แตกต่าง หรือจากข้อมูลย้อนกลับที่ได้จากผู้อื่นได้
    - รับรู้ความคิดที่หลากหลายในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคม หรือการเมืองต่างๆ ได้
    - สนใจพัฒนากระบวนการหรือรูปแบบต่างๆ ทางสังคม
    - ชอบการปรึกษาหารือในปัญหาต่างๆ กับผู้อื่น มากกว่าที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง
    - มีเพื่อนมาก โดยเฉพาะที่สนิทสนมมากๆ อย่างน้อยที่สุด 3 คน
    - ชอบคุย สนุกกับการได้เข้าสังคม พบปะผู้คน
    - ชอบการเล่นเกม กีฬา ที่มีลักษณะการเล่นเป็นกลุ่ม
    - อาสาสมัครที่จะร่วมทำงานกับผู้อื่นในเรื่องใหม่ๆ เสมอ
    - แสดงความสามารถในการเป็นผู้นำ หาเพื่อนๆ ร่วมปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา
    - เป็นสมาชิกของชมรม องค์กร หรือคณะกรรมการต่างๆ ที่มีความคล่องแคล่วและกระตือรือร้น
    - มักเป็นผู้ที่มีผู้ขอคำปรึกษาหรือขอคำแนะนำต่างๆ
    - แสดงความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น นักการ เมือง ผู้นำทางศาสนา ครู นักแนะแนว นักประชาสัมพันธ์ พิธีกร นักนิเทศศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

    น้องแชงและน้องเชียร์ มีทักษะด้านนี้มาก แต่น้องแชงจะอ่อนโยนและพัฒนาได้ดีกว่า

    สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

    เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้ แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น

    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านดนตรี

    - เป็นผู้มีความสุข สนุกสนานกับการฟังเพลงจากวิทยุ เทป ซีดี
    - ชอบเคาะมือ เคาะเท้า เป็นจังหวะหรือ ผิวปาก ฮัมเพลง ในขณะทำงาน
    - รู้จักท่วงทำนอง จังหวะ ลีลาของเพลงต่างๆ มากมาย
    - ร้องเพลงได้ไพเราะหรือเล่นดนตรีต่างๆ เก่ง
    - มีท่วงที จังหวะ และลีลาในการพูดหรือเคลื่อนไหว ที่แสดงออกทานดนตรีได้อย่างเด่นชัด
    - ชอบร้องเพลงคลอตามขณะเปิดเพลง ชอบการแสดงดนตรี (Concert) ชอบเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ
    - ชอบสะสมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับดนตรี เช่น เทปเพลง เนื้อเพลง ซีดี วีดีโอเพลง เครื่องดนตรีต่างๆ เป็นต้น
    - สนใจฟังเสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ รอบๆ ตัว และพยายามหาโอกาสในการฟัง สามารถคิดประกอบกับเสียงดนตรี หรือเสียงธรรมชาติอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
    - สามารถฟังและตอบรับกับเสียงต่างๆ รอบตัว แล้วเรียบเรียงเสียงประสานให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายได้
    - สามารถพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีได้ดี ทั้งการร้องเดี่ยว หรือกับคนอื่นๆ ได้
    - มีความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวกับดนตรี เช่น นักร้อง นักดนตรี ครูสอนดนตรี คนทำเครื่องดนตรี นักแต่งเพลง ผู้อำนวยเพลง เป็นต้น

    น้องเชียร์ดูเหมือนจะมีอัจฉริยภาพด้านนี้ ดีว่าน้องแชง

    สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence)

    เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น

    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์

    - ชอบมองและสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นได้ดี ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ลักษณะ สี
    - บอกตำแหน่งและทิศทางของวัตถุสิ่งของต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้อง
    - สามารถอธิบายรายละเอียดของภาพหรือแผนผังต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
    - ชอบการเขียนภาพ วาดภาพ ประดิษฐ์วัตถุสิ่งของ ทั้งงานปั้นและงานฝีมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์
    - ชอบเล่นเกมที่เกี่ยวกับการสร้างภาพหรือจินตนาการในใจ เช่น หมากรุก หมากฮอส อักษรไขว้ ภาพต่อ (Jigsaw) เป็นต้น
    - เขียนแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
    - มีความสนใจในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับศิลปะ เช่น นักถ่ายรูป วิศวกร นักออกแบบ จิตรกร รวมทั้งนักบิน สถาปนิก
    - สร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่เกี่ยวกับงานศิลป์เสมอ
    - มีมุมมองในสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างไปจากคนอื่น (New perspective) รวมทั้งมองเห็นในสิ่งที่ซ่อนหรือแฝงอยู่โดยที่คนอื่นอาจไม่เห็นหรือไม่เข้าใจ เช่น การมองภาพศิลปะ

    ดูเหมิอนว่าน้องแชง จะมีอัจฉริยภาพด้านนี้ดีกว่าน้องเชียร์

    สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily – Kinesthetic Intelligence)

    สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา) คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก

    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ

    - ชอบสำรวจสภาพแวดล้อม วัตถุต่างๆ โดยการสัมผัส จับต้อง เคลื่อนไหวในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
    - เรียนรู้ได้ดีเมื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง จดจำได้ดีในสิ่งที่ลงมือปฏิบัติมากกว่าฟัง หรือสังเกตเพียงอย่างเดียว
    - ชอบเรียนในสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทัศนศึกษา แบบจำลองสิ่งต่างๆ เล่นบทบาทสมมติ เกม การออกกำลังกาย
    - แสดงทักษะในการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว มีความ สามารถด้านกีฬา เป็นนักกีฬา
    - รับรู้และตอบรับกับสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยระบบทางกายภาพ
    - มีทักษะทางการแสดง กีฬา เต้นรำ เย็บปักถักร้อย แกะสลัก ดนตรี เช่น keyboard
    - ประดิษฐ์คิดค้นวิธีใหม่ๆ ที่ใช้ทักษะทางร่างกาย เช่น ออกแบบท่าทาง การเต้นรำ คิดกีฬาใหม่ๆ หรือกิจกรรมทางกายภาพด้านอื่นๆ
    - มีลักษณะที่เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหว คล่องแคล่ว และสนุกกับการอยู่กลางแจ้งมากกว่าในร่ม ไม่ชอบนั่งนิ่งเป็นเวลานานๆ
    - ชอบทำงานต่างๆ ที่ใช้มือ ชอบสิ่งของที่จะนำมาสร้างหรือประดิษฐ์เป็นสิ่งต่างๆ ได้
    - ชอบแยกแยะสิ่งต่างๆ เพื่อสำรวจส่วนประกอบต่างๆ และสามารถประกอบเข้ารูปเหมือนเดิมได้
    - สนใจในวิชาชีพที่เกี่ยวกับการกีฬา เต้นรำ ศัลยแพทย์ ช่างก่อสร้าง นักประดิษฐ์ เป็นต้น

    อันนี้ดูเหมือนว่าน้องเชียร์จะมีอัจฉริยภาพด้านนี้มากกว่าน้องแชง

    สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)

    สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์ มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ

    1. ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (mathmatics)
    2. ด้านวิทยาศาสตร์ (Science)
    3. ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic)

    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์

    - เข้าใจสิ่งต่างๆ และบทบาทของสิ่งเหล่านั้นตามสภาพที่เป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อม
    - เข้าใจในเรื่องจำนวน ตัวเลข และมีทักษะในการคิดคำนวณ เช่น การประมาณค่า การทำนายค่าทางสถิติ การแสดงผลข้อมูลโดยกราฟแบบต่างๆ รวมทั้งรู้จักใช้เทคนิคในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
    - มีทักษะในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาเหตุและผล (Critical Thinking)
    - เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยรู้จักใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อแสดงในสิ่งที่เป็นนามธรรม สามารถอธิบายเรื่องมโนมติในเรื่องต่างๆ ได้
    - มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) รู้จักรวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบสมมติฐาน และลงข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาที่พบได้
    - ชอบศึกษาหรือเรียนในวิชาที่ซับซ้อน เช่น แคลคูลัส วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
    - ชอบในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ การใช้เหตุผล และวิทยาศาสตร์ เช่น นักบัญชี นักวิทยาศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์ นักกฎหมาย และวิศวกร
    - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ชอบศึกษากลไกการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ

    อันนี้ดูเหมือนในกรณีลูกสองคน จะยังไม่ค่อยชัด

    สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

    สติปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วน Brocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจได้อยู่

    ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านภาษา

    - เป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของหนังสือ ชอบอ่านหนังสือแล้วพูดหรือเล่าในสิ่งที่อ่าน
    - มีความจำดีในชื่อต่างๆ สถานที่ วัน เดือน ปี หรือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่พบ
    - สามารถนึกคิดถ้อยคำต่างๆ ในใจได้ก่อนที่จะพูดหรืออ่านสิ่งเหล่านั้น
    - สื่อสารกับผู้อื่นโดยใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี
    - สนุกสนานกับการเล่นเกมที่เกี่ยวกับการใช้คำ (อักษรไขว้ ต่อคำ) การพูดคำสัมผัส (การแต่งคำประพันธ์/กลอนสด) การเล่นคำผวน
    - เป็นผู้มีความสามารถด้านการเขียน สะกดคำได้อย่างถูกต้อง ใช้คำศัพท์ต่างๆ ได้อย่างดี
    - มีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอื่นได้อย่างดี
    - มีความพยายามที่จะพัฒนาการใช้ภาษาของตนเอง จะสามารถสร้างคำทั้งในการพูดและการเขียนในรูปแบบใหม่ได้อย่างสม่ำเสมอ
    - เป็นคนรักการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่อง แต่งคำประพันธ์ โต้วาที เล่าขำขัน ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่างๆ
    - ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
    - มีความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เช่น กวี นักพูด นักเขียน นักกฎหมาย เป็นต้น
    - มีทักษะทางภาษาที่มีประสิทธิภาพทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน

    ทฤษฎิพหุปัญญา (Multiple Intelligences)

    Dr. Howard Gardner ผู้ค้นคว้าเรื่องทฤษฎีพหุปัญญา เชื่อว่า เราสามารถแบ่งความถนัดหรืออัจฉริยภาพของมนุษย์ได้ถึง 8 ด้าน เขาเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีัอัจฉริยภาพอยู่ในตัว  แต่อาจจะถูกซ่อนไว้ เพราะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะสังคมส่วนมากจะชื่นชมยอมรับคนที่มีอัจฉริยภาพด้านตรรกะ  คำนวณ  ภาษาต่างประเทศ  หรือวิทยาศาสตร์  มากกว่าด้านอื่นๆ และมุ่งเน้นพัฒนาเด็กไปในด้านเหล่านั้น มากกว่าด้านอื่นๆ  ทำให้อัจฉริยภาพด้านอื่นที่หลบซ่อนอยู่ อาจจะไม่ได้รับการพัฒนา  หากการศึกษาเด็ก ไ้ด้มีโอกาสให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพด้านการเีรียนรู้ทั้ง 8 ด้าน ก็จะทำให้เด็กๆมีโอกาสค้นพบ  และพัฒนาอัจฉริยภาพที่มีอยู่ในแต่ละคนมาอย่างสมบูรณ์มากที่สุด

    อัจฉริยภาพทั้ง 8 ด้าน คือ

    1. ด้านภาพและมิติสัมพันธ์
    2. ด้านภาษาและการสื่อสาร
    3. ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
    4. ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
    5. ด้านดนตรีและการจับจังหวะ
    6. ด้านมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
    7. ด้านการเรียนรู้ตนเอง
    8. ด้านธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์
    ในฐานะพ่อแม่  หรือผู้ืั้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก  ต้องคอยสังเกตเด็กๆว่ามีจุดเด่น หรือด้อยในด้านใด  เนื่องจากเด็กๆแต่ละคน  มีความเป็นปัจเจกบุคคล  ไม่เหมือนกัน  และอาจจะไม่เหมือนพ่อแม่พี่น้องของตน ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องพัฒนาเด็กๆให้เหมือนใคร   ขอแต่มองให้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของเขา  และเปิดโอกาสให้เขาได้พัฒนาสิ่งที่เขาเป็น  ให้ดีที่สุด

    วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    เตรียมสร้างคุณลูกเป็นโปรกอล์ฟ


    ภาพจากอินเตอร์เนต
    กอล์ฟ ไม่เป็นเพียงกีฬาที่เรียกเหงื่อจากการออกรอบและยังสร้างสมาธิให้กับผู้เล่น สถานภาพของกอล์ฟในปัจจุบันยังกลายเป็นเวทีทางธุรกิจและรายได้มหาศาลที่อาจจะ มาจากการพัฒนาฝีมือของผู้เล่นอีกด้วย


                    แต่การจะสร้างโปรกอล์ฟหนึ่งคนนั้น ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก


                    โดยเฉพาะกับบรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ต้องการเห็นลูกๆ ขึ้นแท่นที-ออ ฟ ออกรอบได้นั้น อาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ เนื่องจากองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งในเรื่องความพร้อม เรื่องเวลา รวมทั้งเรื่องการสนับสนุนต่างๆ


                    อย่าง ไรก็ตาม ในปัจจุบันก็มีโรงเรียนสอนหัดเล่นกอล์ฟมากมายที่เปิดขึ้นมาเพื่อรองรับความ ต้องการดังกล่าว ซึ่งอาจจะจะเรียกได้ว่า ยุคทองของธุรกิจกอล์ฟ ไม่เคยตกแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร





    ไทเกอร์ วูด


    Idolในใจเด็กไทยฝันเป็นโปร


                    ความ สำเร็จของเด็กไทยหลายคนที่ไปสร้างชื่อคว้าแชมป์รายการกอล์ฟจากต่างประเทศ กลายเป็นประเด็นที่ทำให้สำนักข่าวต่างประเทศอย่างซีเอ็นเอ็นให้ความสนใจว่า เหตุใดเมืองไทยซึ่งมีสัดส่วนคนเล่นกอล์ฟไม่มาก แต่ทำไมเด็กไทยจึงให้ความสนใจมากขนาดนั้น


                    ในที่สุดก็ได้คำตอบว่า เป็นเพราะไทเกอร์ วูด โปรกอล์ฟซูเปอร์สตาร์นั่นเอง ซึ่งศาริณี เล็กสุวรรณ โปรเปิ้ลโปรหญิงคนแรกของประเทศไทยกล่าวให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า เป็นความจริง


                    โดยเฉพาะปัจจุบัน หากจะวัดความสนใจของเด็กที่มาเล่นกอล์ฟนั้น ส่วนใหญ่จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากเป็นเหมือนไทเกอร์ วูด


     “เมื่อ ก่อนพ่อแม่อาจจะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่วันนี้ใครก็เล่นได้ เพราะราคา ค่าเรียน อุปกรณ์ ถูกลงมาก ประกอบกับปัจจุบัน ก็มีโรงเรียนสอนกอล์ฟมากขึ้นการเรียนการสอนก็มีมาตรฐานมากขึ้น


    โป รเปิ้ลกล่าวอีกว่า นอกจากความสนใจของเด็กแล้ว ความนิยมของกีฬากอล์ฟยังมีเหตุผลมาจากกอล์ฟเป็นกีฬาที่มีบรรยากาศที่ครอบ ครัวสามารถเล่นกีฬาร่วมกันได้


    มีตัวอย่างให้เห็นในรายของครอบครัวเจริญพร้อมนุกุล ที่พาน้องออฟ ณรงค์ฤทธิ์ เจริญพร้อมนุกูล ลูกชายวัยเกือบ 6 ปี มาหัดเล่นกอล์ฟ พร้อมกับครอบครัว


    ศุภธิดา พรมพยัคฆ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย โรงเรียน Heartland Golf school กล่าว ว่า ความสนใจของเด็กในกีฬากอล์ฟ ทำให้โรงเรียนต้องจัดหลักสูตรกอล์ฟสำหรับเด็กและเยาวชนขึ้นมารองรับความต้อง การอีกหลักสูตรหนึ่ง นอกเหนือจากหลักสูตรกอล์ฟสำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นหลักสูตรที่โปรโทนี่ มีชัย เป็นผู้นำมาจากโรงเรียนสอนกอล์ฟ อาร์ทแลนด์จากประเทศสหรัฐอเมริกา


    สำหรับโครงสร้างของสูตรสำหรับเด็กนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ  ระดับ ไวท์สตาร์ บลูสตาร์ กรีนสตาร์ ซิลเวอร์สตาร์ และโกลด์สตาร์


    นัก เรียนที่เริ่มต้นเล่นกอล์ฟ จะเริ่มที่ระดับไวท์สตาร์เป็นอันดับแรก ส่วนนักเรียนที่มีประสบการณ์มาบ้าง ก็จะทดสอบก่อนว่า จะจัดระดับการเรียนในคลาสไหน ซึ่งเราจะจัดให้เรียน นักเรียน 4 คนต่อโปร 1 ราย


    การเรียนเป็นกลุ่มนั้น โปรเปิ้ลอธิบายว่า จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการไปพร้อมๆ กันและยังเป็นการช่วยให้เด็กมีความตื่นตัวที่จะเรียนกอล์ฟ


    เด็กส่วนใหญ่จะสมาธิสั้น การเรียนเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กสนุกสนานโปรเปิ้ลระบุ


     “เรา จะสอนให้เด็กรู้ว่า กอล์ฟไม่ใช่แค่เป็นการออกกำลังกายเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของสมาธิอีกด้วย เพราะถ้าสมาธิหลุด วงสวิงวันนั้นก็จะเป๋ไปเลย ซึ่งนี่คือประโยชน์อย่างหนึ่งที่เด็กจะได้จากการเล่นกอล์ฟ เป็นการฝึกการจำและสั่งกล้ามเนื้อให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ


    นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างที่โรงเรียนจะเน้นคือ เรื่องทัศนคติที่มีต่อกีฬากอล์ฟ


    แพ้ ชนะ เป็นเรื่องธรรมดาในเกม แต่สิ่งสำคัญคือ เราพยายามสอนให้เด็กยอมรับหรือแพ้ให้เป็นให้ได้”  



    ากความฮิตสู่ความบูม



    โรงเรียนสอนกอล์ฟเฟื่อง



                    วินท์ นิลรังษี ผู้อำนวยการ ROYAL SUITE GOLF ACADEMY ซึ่ง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เปิดคอร์สสอนกอล์ฟสำหรับเด็ก กล่าวยอมรับในเรื่องกระแสการเรียนกอล์ฟที่ปัจจุบันมีเด็กมาเรียนกันมากว่า ถ้าเทียบกับในอดีตแล้ว เรียกได้ว่ามีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นอย่างมาก


                    เขายกตัวอย่าง 15 ปีก่อนที่เขาเพิ่งหัดจับไม้กอล์ฟนั้น แทบจะเรียกได้ว่ามีเด็กที่เรียนและเล่นกอล์ฟน้อยมาก


                    “สมัยก่อน ลูกๆ อาจจะเป็นลูกเล่นกอล์ฟตามพ่อแม่ แต่สมัยนี้น่าจะเป็นเพราะลูกชอบไทเกอร์ ที่กลายเป็น idol ของเด็กทำให้เด็กอยากเรียนเอง และกลายเป็นว่า พ่อแม่ต้องเล่นตามลูกแล้ว ทั้งที่พ่อแม่บางคนไม่เคยเล่นกอล์ฟมาก่อน


                    ด้านหลักสูตรของ ROYAL SUITE GOLF ACADEMY นั้น แบ่งออกเป็นคอร์สพื้นฐาน 10 ชั่วโมง คอร์สพัฒนาพื้นฐาน 8 ชั่วโมง


    ถาม ว่าจำเป็นหรือเปล่าที่ต้องมีหลักสูตร ผมอยากแบ่งเป็นสองส่วนคือ ถ้าสำหรับบิกินเนอรส์ หลักสูตรคงมีความจำเป็น เพราะจะได้เป็นพื้นฐานที่ดีต่อไป


    ที่ สำคัญคือ ครูต้องประยุกต์สิ่งที่รู้มาให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคนให้ได้ เพราะการหัดเล่นกอล์ฟไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่า ทุกคนต้องออกมาบล็อกเดียวกันหมด


    วินท์บอกอีกว่า การเรียนที่ ROYAL SUITE GOLF ACADEMY จะให้พิจารณาจากเรื่องต่อไปนี้คือ 1.ความสนใจของเด็กกับกีฬากอล์ฟ และ 2.เรื่องสรีระของเด็กว่า มีความพร้อมแค่ไหน เพราะอายุเฉลี่ยของเด็กที่เหมาะสมในการเล่นกอล์ฟคือ 5 ขวบขึ้นไป


                    เขา อธิบายว่า การที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องความสนใจของเด็ก เนื่องจาก หากเด็กไม่มีความสนใจในเรื่องนี้ การเรียนอาจไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร


                    “เด็ก อาจจะรู้สึกว่า เหมือนกับถูกบังคับ เพราะมีเหมือนกันที่พ่อแม่บางรายอยากจะเซอร์ไพรซ์ลูก อยากให้เรียน แต่เด็กไม่สนใจ ทำให้กระบวนการเรียนไม่ได้ผลเท่าที่ควร


                    ด้านการเรียนการสอนของ ROYAL SUITE GOLF ACADEMY นั้น เน้นในเรื่องของการเรียนแบบตัวตัวต่อ โดยในคอร์สพื้นฐาน จะเรียนเรื่องทฤษฎี 2 ชั่วโมง และปฏิบัติ 8 ชั่วโมง


    นอกจากนี้ ในการเรียน ยังมีกล้องถ่ายวิดีโอ สำหรับวิเคราะห์วงสวิงของนักเรียนว่า ควรจะมีจุดที่ต้องปรับปรุงหรือแก้ไขอย่างไร


    หลัก สูตรที่ใช้ เราคิดขึ้นเอง คือมาจากประสบการณ์ของผมที่ได้ไปเรียนที่กอล์ฟ อะคาเดมี ออฟ เดอะ เซาท์ ที่ฟลอริด้า แล้วก็นำมาประยุกต์ใช้ในเมืองไทย ว่า ถ้าคนเริ่มจากศูนย์ จะต้องเริ่มจากอะไร เช่นเริ่มจากชอร์ตเกมไปลองเกม เริ่มจากสวิงสั้นๆ ก่อน แล้วค่อยขึ้นไปเรื่อยๆ


    วินท์ กล่าวว่า ในภาคทฤษฎี จะสอนเรื่องภาพรวมของกอล์ฟ เช่น กฎ กติกา มารยาทในกีฬากอล์ฟ ส่วนในภาคปฏิบัติ จะเน้นเรื่องเบสิก สวิง เนื่องจากเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นกอล์ฟ


    การเรียนในสเต็ปต์นี้ เหมือนกับเราสร้างตุ๊กตาตัวหนึ่ง คือให้เด็กเล่นกอล์ฟได้  ถ้าเป็นคอร์สต่อไปคือ คอร์สพัฒนาพื้นฐาน เรียกว่าเป็นเรื่องของการเติมหน้าตาตุ๊กตาให้ดูดีขึ้น เช่นเรื่องของการปรับวงสวิง


                    ผู้อำนวยการ ROYAL SUITE GOLF ACADEMY กล่าวอีกว่า การเรียนกอล์ฟสำหรับเด็กนั้นจะเรียนใน 2 คอร์สนี้เป็นหลัก ซึ่งหากเด็กต้องการจะพัฒนาการเล่นให้ดีขึ้น ก็อาจจะกลับมาเรียนใหม่ได้


                    ตัวอย่างในเรื่องนี้ได้แก่ กรณีของเด็กชายพรภูเบศ เมตตาประเสริฐนักเรียนของ ROYAL SUITE GOLF ACADEMY ที่ไปคว้าแชมป์เยาวชนโลกที่ สหรัฐอเมริกา ก็เรียนซ้ำในคลาสพื้นฐานหลายครั้ง


                    อย่างไรก็ตาม การเล่นกอล์ฟที่จะประสบผลสำเร็จได้ดีนั้น นอกจากความสนใจแล้ว ส่วนหนึ่งคือ เรื่องของการให้การสนับสนุนจากครอบครัว


                    ใน เรื่องราคาค่าเรียนรวมทั้งอุปกรณ์ที่ถูกมองว่า เป็นตัวแปรที่พ่อแม่ไม่กล้าพาลูกหัดเล่นกอล์ฟนั้น วินท์บอกว่า ปัจจุบันในส่วนค่าเรียนนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละแห่งจะอยู่ในราคาเรทที่ใกล้เคียงกันคือ คอร์สพื้นฐาน 10 ชั่วโมง ราคา 8,000-9,000 บาท คอร์สพัฒนาพื้นฐาน 8 ชั่วโมง ราคา 8,000 บาท     


                    ส่วนเรื่องอุปกรณ์เช่นไม้กอล์ฟนั้น โรงเรียนส่วนใหญ่ก็จะมีให้นักเรียนได้ใช้ตลอดหลักสูตร


    ราคา ค่าเรียน ถ้าเป็นสมัยก่อน คนอาจจะคิดว่าแพง แต่สมัยนี้ ผมว่ายังพอรับได้ อาจจะมีบ้างในช่วงแรก โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ให้ยืมอยู่แล้ว ซึ่งพอเรียนไปได้สักพัก ก็อยู่ที่พ่อแม่แล้วว่า จะลงทุนในเรื่องนี้แค่ไหน เพราะอุปกรณ์ก็มีหลายเกรด อาจจะใช้มือสองไปก่อน ราคาไม่กี่พันบาท


    ของ เรา นอกจากอุปกรณ์แล้ว ส่วนที่เป็นสนามซ้อมก็ใช้ฟรี ไม่มีการเก็บเพิ่ม คือถ้าเรียนจบแล้ว อยากจะมาซ้อมก็มาได้เลย เพราะของเราไม่ได้เป็นสนามกอล์ฟฟูลไซส์ ระยะประมาณ 30 หลา


                    วินท์ กล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว คำถามยอดฮิตที่พ่อแม่ผู้ปกครองคาดหวังว่าจะเห็นลูกเล่นกอล์ฟได้คือ ต้องใช้เวลานานเท่าใด


    ในเรื่องนี้ เขาให้ความเห็นว่า  การเล่นกอล์ฟให้สนุก นักเรียนต้องเรียนอย่างน้อยครึ่ง- 1 ปี


    ท่าทางการเล่นกอล์ฟก็มีท่าทางเฉพาะ เหมือนกับหัดเดินใหม่ ก็ค่อนข้างหนักหนาสาหัสสำหรับเด็กๆ หรือแม้แต่คนที่หัดเริ่มเล่น  เพราะฉะนั้นคนหัดเล่นกอล์ฟ จะมี 2 ประเภทคือ เลิกไปเลย ไม่จับอีกแล้ว กับอีกประเภทคือ  ชอบกอล์ฟเป็นชีวิตจิตใจ คือช่วงแรกเป็นช่วงที่ต้องอดทนหน่อย ถ้าผ่านตรงนั้น ผมก็ไม่เคยเห็นใครวางไม้


    โปรกอล์ฟเตือน



    อย่าคาดหวังลูกสูง


                    อย่า ไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่โปรกอล์ฟหลายคนมองเหมือนกันคือ การคาดหวังของพ่อแม่ที่มักต้องการจะให้ลูกประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับนัก กอล์ฟมืออาชีพนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ไกลเกินไปและกลายเป็นแรงกดดันที่กลับมาสู่เด็กได้


    ผม ว่า พ่อแม่ควรเข้าใจเรื่องนี้ด้วย เพราะการที่เด็กจะยึดกอล์ฟเป็นอาชีพนั้นเป็นเรื่องอนาคต ไกลเกินไปที่จะตอบได้ เพราะถ้าเด็กมีความสนใจต่อเนื่องและสามารถจะไปถึงตรงนั้นได้ พ่อแม่ทุกคนจะสนับสนุนวินท์กล่าว


    เช่น เดียวกับความเห็นของโปรเปิ้ลที่ให้ทัศนะในเรื่องนี้ว่า ความสนใจของเด็กเกี่ยวกับกอล์ฟนั้น เป็นตัวแปรสำคัญที่จะชี้ว่า เด็กคนใดจะไปได้ไกลกว่ากันบนเส้นทางการเป็นนักกอล์ฟมืออาชีพ


    โปรเปิ้ลยกตัวอย่าง น้องนิคเด็กชายอริญชย์  ศุภวรางกูล วัย 3 ขวบที่หัดเล่นกอล์ฟว่า เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเด็กที่มีความสนใจกอล์ฟจากตัวเด็กเอง ซึ่งในกรณีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จก็มีมาก


    ความ สนใจจากตัวเด็กเองนั้นถือว่าสำคัญที่สุด แต่ที่รองลงมาคือการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งครอบครัวก็ต้องเข้าใจว่า แค่ไหนถึงจะไม่เป็นการกดดันเด็ก


    โรงเรียนสอนกอล์ฟสำหรับเด็ก



    สถาบัน                                     หลักสูตร                                    ราคา/บาท                โทรศัพท์


    ……………………………………………………………………………………………………..


    Royal Suite Golf Acadamy คอร์สพื้นฐาน 10 ..       9,000                       02-953-5310-11


                                    คอร์สพัฒนาพื้นฐาน 8 ..         8,000                       02-719-7620-4


    Heartland Golf school              คอร์สพื้นฐาน 20 ชั่วโมง              15,000                     02-953-5310-11


    ขอบคุณ
    http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=776

    พอดีลูกคนโตกำลังสนใจ  เลยหาข้อมูลไว้ค่ะ เผื่อจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เมืองไทยได้

    วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    การเรียนดนตรีของเด็กเล็กในเมืองไทย

    หลักสูตร JMC (Junior Music Course)

     คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของ ระบบการศึกษาดนตรีของยามาฮ่า (Yamaha Music Education System)

     เราเน้นการฝึกประสาทด้านการรับฟังที่มีพัฒนาการสูงสุด ในวัย 4 ปีรวมถึงทักษะด้านการอ่านและเขียนตัวโน้ตโดยไม่ลืม

    ผนวกเอาความสนุกสนานของการร้องและเล่นเป็นกลุ่มเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการไว้อย่างลงตัว   

     รูปแบบการเรียนหลักสูตร JMC (Junior Music Course) คือหลักสูตรดนตรีพื้นฐานแบบบูรณาการ

    จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของระบบการศึกษาดนตรีของ Yamaha เสมือนวิตามินรวมครบครันด้วยอาหารเสริมทางสมอง ร่างกาย และจิตใจ

     เราเน้นการสอนโดยเริ่มต้นกับเด็กในวัย 4 – 5 ปี

    เป็นหลักสูตร 2 ปี โดยเด็ก ๆ จะเรียนในระบบกลุ่ม (Group Lesson) กลุ่มละประมาณ 10 คน

    โดยแบ่งออกเป็นสัปดาห์ละ 1 คาบ คาบละ 60 นาทีคุณพ่อคุณแม่เข้าร่วมเรียนในชั้นกับลูก ๆ เพื่อคอยสังเกตพัฒนาการและคอยส่งเสริม

    พัฒนาการทางดนตรีของลูกอย่างละเอียด มีการวัดผล Fundamental Skill Survey เมื่อเรียนจบ JMC เล่ม 4

    และพิเศษสุดด้วยการจัดแสดง Claaa Concert ของนักเรียนทุก 6 เดือน หรือหลังจากจบในแต่ละเล่ม

    เพื่อให้เด็กได้ภาคภูมิใจและได้แสดงฝีมือได้อย่างเต็มที่

    คอร์ส ละ 3 เดือน ครั้งละ 375 บาท  รวมประมาณ 4500 บาท(คิดตามจำนวนครั้งที่เรียน) ทั้งหมด 8 คอร์ส (ถ้าไม่จบก็อาจมีเพิ่มได้อีก)

    วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    จากรร.อินเตอร์เล็กๆ..สู่รั้ว ISB (Summer)...ลูกได้อะไรบ้าง (๓)


    ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต

    ดิฉันไม่มีโอกาสได้เข้าไปนั่ง sit in ในวิชาคณิตศาสตร์ช่วงที่ลูกไปซัมเมอร์ เพราะวิชานี้ เด็กๆจะเรียนกันตอนสายๆของทุกวัน...ซึ่งดิฉันไม่สามารถอยู่ได้ถึง แต่เห็นลูกกลับมาเล่าเกือบทุกวันว่า ชอบคุณครูที่สอนเลขมาก...เป็นชาวอเมริกัน (คนละคนกับครูปจช.) สอนสนุก มีอารมณ์ขัน และแต่ละวัน สอนไม่ซ้ำกัน

    เท่าที่เห็นจากชีทที่เด็กๆทำกันในห้อง แล้วคุณครูส่งกลับมาให้ตอนสิ้นอาทิตย์ เป็นบฝห.ที่ให้เด็กเรียนรู้ทั้งค่าของจำนวน และการฝึกเขียนโจทย์โดยตัวเลขสัญลักษณ์ ไปพร้อมๆกัน คือ

    - แต่ละหน้าจะมีรูปตึก (tower) อยู่ 5 หลัง

    - แต่ละตึก มีวงกลมเปล่า เรียงตามแนวตั้งอยู่ 10 ช่อง (ดูเหมือนกำลังสอนเรื่องการบวกที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน ๑๐)

    - ครูจะบอกให้เด็ก ระบายสีวงกลมของแต่ละตึกไปตามโจทย์แต่ละข้อ เช่น ข้อ ๑. ระบายสีดำ 6 ช่อง สีชมพู 4 ช่อง แล้วให้เด้กเขียนสมการ (equation) ของโจทย์ออกมา คือ 6+4 = 10,
    ข้อ ๒. ระบายสีดำ 5 ช่อง สีชมพู 4 ช่อง และให้เขียนสมการออกมา คือ 5+4 = 9 เป็นต้น

    - ส่วนอื่นๆ ลูกเล่าว่า มีสอนเรื่องรูปทรง, mental math (ไม่ทราบคืออะไรเหมือนกัน) และเล่นเกมส์ที่เกี่ยวกับตัวเลข โดยการแบ่งกลุ่ม น่าจะมีพวกเกมส์ Simon says.....

    ส่วนตัวคิดว่า หากเทียบกับรร.ไทย เด็กป.๑น่าจะเรียนไปไกลกว่านี้ค่อนข้างเยอะแล้ว...ของเจ้าลูกชาย เนื่องจากเขาเรียนคุมองอยู่ในระดับถึงการบวกเลขแนวตั้ง ๓ หลักแล้ว จึงไม่แปลกใจที่เขาคิดว่าเลขที่นี่ค่อนข้างง่าย ครูเขียนรายงานมาว่า ลูกสามารถบวก-ลบได้อย่าง independant...

    ดิฉันชอบ part ที่ครูให้เด็กฝึกเขียนค่าของตัวเลขออกมาเป็นโจทย์ ดูเหมือนจะเน้นเรื่องความเข้าใจให้แม่นยำ รู้จักที่มาที่ไป...แบบค่อยเป็นค่อยไป

    ขอบคุณ คุณ BeeV จากเวบบอร์ดโมมี่พีเดียค่ะ

    จากรร.อินเตอร์เล็กๆ..สู่รั้ว ISB (Summer)...ลูกได้อะไรบ้าง (๒)


    ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต
    ด้านการเขียน -มาแนวเข้มแบบทีเล่นทีจริงเช่นเดิมค่ะ อาทิ

    ครูจะมี assignment ให้เด็กเขียน journal แบบสั้นๆ ประมาณ 4-5 บรรทัดทุกวัน เป็นโครงการที่ในห้องเรียนที่เรียกว่า My Small Moments เด็กๆ จะมีเวอร์คชีทของตัวเอง ครึ่งหน้าบนให้วาดภาพประกอบ ส่วนครึ่งหน้าล่าง เป็นบรรทัดให้เขียนเรื่อง (ลูกชายแอบบ่นช่วงแรกๆว่า ทำไมเขียนเยอะจัง)

    ตัวอย่างงานที่ลูกเขียน และครูส่งกลับมาให้ดูภายหลัง...อ่านไปขำไปค่ะ

    "On Sunday I playd tenist (tennis). I was vere hape (happy) to see my fress (friends). I was so xsitti (excited) how it was. It was a lot fo (of) fun".

    หรืออีกชิ้น...

    "I wate (went) to a resttsrong (restaurant). There wer loss fo food (lots of food). I tast soop (soup). It was a lot to eat. I flet verre (very) hape to eat that".

    ไม่ได้มีการตรวจให้คะแนนแต่อย่างใด...แต่คุณครูเขียนในรายงานมา แปลเป็นไทยว่า ลูกมีความสามารถในการแสดงความคิดต่างๆเห็นผ่านการเขียนได้ดี สามารถเขียนเล่าเรื่องและสร้างประโยคต่างๆได้อย่างอิสระ แต่ควรฝึกฝนเรื่องการเว้นวรรคและการสะกดคำศัพท์ที่ใช้ในการเขียนให้มากขึ้น

    ส่วนด้านการอ่าน สามารถอ่านได้อย่างมั่นใจ และได้เรียนรู้วิธีการต่่างๆ ที่จะนำไปใช้อ่านคำศัพท์ที่เป็น tricky words ให้คล่องมากยิ่งขึ้น

    มีเทคนิคการสอนเรื่องการเขียนคำศัพท์อีกอย่างหนึ่ง ที่ ISB ใช้กับเด็กเล็ก และคิดว่าน่าสนใจนำมาแบ่งปันกันค่ะ

    คุณครูแจกไวท์บอร์ดขนาดย่อมให้เด็กๆคนละหนึ่งอัน พร้อมปากกา เด็กจะนั่งล้อมวงกันเหมือนเดิม จากนั้น ครูจะอ่านคำศัพท์ต่างๆที่เคยสอนไปแล้วเมื่อวันก่อน ซึ่งครูเขียนไว้บนกระดาษแผ่นใหญ่ในมือ (แบบให้เด็กเห็น)...ทีละคำ...

    พอครูอ่านแต่ละคำแล้วก็เอากระดาษหลบ ถามนร.ว่า... How do you spell "under"? (ตัวอย่าง) เด็กๆก็จะช่วยกันพูดสะกดปากเปล่า บางคนยังสะกดไม่คล่อง ก็ดำน้ำไปตามเพื่อนบ้าง เห็นแล้วขำดี เด็กฝรั่งเองก็ใช่ว่า จะสะกดคล่องนะคะ เห็นเด็กเอเซียบางคน คล่องกว่าก็มี

    จากนั้น ครูจะให้เด็กใช้มือเขียนคำที่สะกดออกเสียง...ในอากาศ โดยบอกว่า...Now, pls write the word "under" in the air. Close your eyes and picture you're writing it. ซึ่งเด็กบางคนก็ออกเสียงตามอีกที บางคนก็ไม่ แอบเห็นเจ้าลูกชายหลับตา ยกนิ้วมือเขียนในอากาศแล้วตลกดี หากมีโอกาส จะมาแปะรูปให้ดูค่ะ

    ถ้าเด็กคนไหนทำไม่ได้ หรือไม่พร้อมกันในบางขั้นตอน ครูจะให้ทั้งชั้นสะกดปากเปล่าใหม่ หรือเขียนในอากาศอีกครั้ง ซึ่งคิดว่าดี เพราะฝึกให้เด็กคล่องและมั่นใจก่อนเขียนลงกระดาน...จากนั้น จะให้เด็กเขียนคำศัพท์ลงบนกระดานของใครของมัน...การเขียนคำศัพท์ทั้งหมด มีประมาณ ๑๐ คำ แต่ละคำ ครูจะใช้ขั้นตอนการสอนเดียวกันหมด

    ดิฉันไม่เคยเห็นการสอนด้วยเทคนิคแบบนี้มาก่อน...ที่แปลกใจคือ ทำไมครูถึงฝึกให้เด็กเขียน"ในอากาศ"ก่อนจะเขียนลงบนกระดาน...กลับไปนั่งคิด เอาเองว่า น่าจะเป็นเทคนิคที่ช่วยให้สมอง สามารถจำ"คำ"เป็น"ภาพได้ก่อน และมีประสาทหูช่วยบันทึกการอ่านออกเสียงด้วยอีกขั้นหนึ่ง...การเขียนในอากาศ น่าจะช่วยเสริมให้สมองจำการเขียนตัวสะกดตัว alphabet ของคำๆนั้นให้ดียิ่งขึ้น

    คุณครูที่นี่ เวลาสอนเรื่อง language arts ดูเหมือนจะเน้นเรื่องการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆเข้ามาช่วยจำเยอะ..หลายด้าน... ครูปจช.ที่สอนลูกเป็นชาวเอเซียแต่มาจากแคนาดา (พูดไทยไม่ได้) มีคนเล่าว่า เก่งมาก จบด้านนี้มาโดยเฉพาะ (ครูที่นี่ดูเหมือนจะรับเฉพาะที่ certified เฉพาะด้านทุกคน) และสอนที่นี่มาหลายปีแล้ว

    บรรยากาศในห้องวันนั้น ก็เหมือนเดิมค่ะ ดูเหมือนการเล่นเกมส์...แทนที่จะเป็นการแข่งขัน แอบเห็นเด็กบางคน เขียนไม่คล่อง เหลือบไปดูของเพื่อนข้างๆก็มี..ลูกชายเขียนได้ทุกคำ (วันนั้น) แต่ชนิดเขียนบางคำไว้ข้างบนบ้าง กลางหน้ากระดานบ้าง...เทียบกับเด็กผู้หญิงข้างๆ ซึ่งเขียนเรียงกันบรรทัดละคำ ดูเป็นระเบียบกว่าเยอะ Blush 
    ขอบคุณคุณ Beev จากเวบบอร์ด โมมี่พีเดียมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ที่กรุณาแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ที่มีค่า

    จากรร.อินเตอร์เล็กๆ..สู่รั้ว ISB (Summer)...ลูกได้อะไรบ้าง (๑)

    ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต


    เรื่องราวในกระทู้นี้ เป็นงานเขียนของคุณ Beev จากกระทู้ที่เธอเขียนในเวบโมมี่พีเดีย  (เดือนสค. ๒๐๑๐) เห็นว่าเรื่องราวมีประโยชน์ มีเทคนิคดีในการสอนลูกในวัยอนุบาล ๓ ได้ จึงขออนุญาตเอามาเก็บไว้ในเวบบล็อกนี่  เผื่อใครนำไปใช้ได้

    มีโอกาสส่งเจ้าลูกชายวัยใกล้ ๖ ขวบ ซึ่งกำลังจะขึ้นป.๑ กลางเดือนหน้า (สิงหา)นี้ เข้าไปเรียนซัมเมอร์ที่ รร.นานาชาติกรุงเทพฯ (ISBlack Eye  ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา...จุดประสงค์แรกๆที่ส่งไปคือ เพื่อให้ลูกได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ช่วงที่พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน (และรร.อยู่ใกล้บ้าน)...อีกประการหนึ่งคือ อยากรู้ว่า รร.นานาชาติระดับท็อปนั้น เขาสอนกันอย่างไร...ต่างกับรร.อินเตอร์ขนาดเล็กที่ลูกเรียนอยู่แค่ไหน

    ค่าใช้จ่ายช่วง summer นับว่าไม่น้อยค่ะ คิดเป็นรายสัปดาห์ ตกสัปดาห์ละ ๑ หมื่นกว่าบาท ซึ่งไปเรียนแค่ชวงสั้นๆไม่กี่สัปดาห์ ก็ยังพอจ่ายไหว แต่ถ้าให้เรียนจริง คงไม่สามารถ เพราะเกินฐานะทางบ้านไปมาก...

    เปิดกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดปสก.ที่ลูก+แม่ได้มา เอามาเล่าสู่กันฟัง....ถือว่า อ่านเพลินๆ เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆนะคะ คงจะไม่ได้ภาพที่ละเอียดมากมายอะไร เพราะลูกไปเรียนแค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น

    1. ด้านวิชาการ - ถ้านับว่า นี่คือการเรียนแค่ช่วงซัมเมอร์ ส่วนตัวเห็นว่าที่ ISB สอนได้เข้มข้น เป็นเรื่องเป็นราวเกินความคาดหมายไปมาก การจัดตารางเรียน สลับกับกิจกรรมของเด็กที่กำลังจะก้าวขึ้นชั้นประถม ทำได้อย่างสมดุลย์ คือ

    0730-0840 Language Arts (รร.เข้าค่อนข้างเช้า ลูกดิฉันปรับตัวอยู่ทั้งสัปดาห์ทีเดียวค่ะ)

    0840-0910 Snack time

    0910-1000 Math

    1000-1040 Lunch (ทานข้าวเที่ยงเร็วมากๆ)

    1040-1150 Reading/Writing/Math

    1200-1250 ว่ายน้ำ

    เลิกเรียนตอนบ่ายโมง และตารางเหมือนกันทุกวัน

    ลองเปรียบเทียบกับซัมเมอร์ในรร.อินเตอร์ปกติของลูก (ไปเรียนมา ๓ สัปดาห์ก่อนหน้านี้) แม้จะมีตารางสอนที่ไม่ต่างกันมาก แต่การเรียนการสอน (ช่วงซัมเมอร์) ดูเหมือนจะต่างกันลิบค่ะ...ที่รร.ลูกจะสบายๆ ยังคงเรียนผ่านกิจกรรมอยู่มาก...ส่วนที่นี่ ดูเหมือนครูจะมีเทคนิคการสอนพิเศษที่แม่อย่างดิฉันเองยังทึ่ง อาทิ

    สอนให้เด็กอ่านหนังสือ...ครูจะใช้ Big Book เรื่อง Mrs. Wishy-Washy วางบนไวท์บอร์ดขนาดใหญ่ เด็กๆจะนั่งล้อมวงกับพื้น (ปกติ รร.นานาชาติในระดับอนุบาล-ประถมต้น ครูจะให้นั่งแบบนี้อยู่แล้ว) ครูจะอ่านให้ฟังไปทีละประโยค แต่ละหน้าจะมีคำที่เอา post-it มาแปะไว้ พอถึงคำนั้นๆ ครูจะค่อยๆเปิดอักษรตัวแรกก่อน แล้วให้เด็กเดา ว่า คือคำว่าอะไร แล้วจะบอกเทคนิคในการ"เดา"คำว่า

    เทคนิคสำคัญ ๓ ข้อในการอ่านหนังสือคือ

    Does it look right (from the picture)?
    Does it sound right (from sounding it out)?
    Does it make sense?
    If you make the wrong guess, just fix it.

    เด็กๆดูจะสนุกสนานกับการเดา ผิดบ้างถูกบ้าง (เด็กในห้องที่เรียนมีทั้งฝรั่ง ต่างชาติ เช่นญี่ปุ่น และเด็กไทย ซึ่งพอมีพื้นฐานด้านการอ่านมาบ้าง) แต่ครูจะใช้เทคนิคเดียวกันในกาอ่านนิทานเรื่องดังกล่าวให้เด็กฟัง...ทุกหน้า

    ช่วงที่ผ่านมา ลูกชายอ่านหนังสือได้คล่องขึ้น และกล้าเดาคำศัพท์ใหม่ๆมากขึ้น โดยเฉพาะศัพท์แปลกๆยากๆ...อาจจะมีผลมาจากตรงนั้นบ้าง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อลูก

    ไว้มาต่อเรื่องเทคนิคการสอนเขียนในเด็กเล็กนะคะ คิดว่า ครูมีเทคนิคที่น่าสนใจทีเดียว

    วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

    แนวโน้มทั่วโลกไปทิศโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา



    ภาพจากอินเตอร์เนต


    ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
    นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
    ---------

    แนวโน้มทั่วโลกไปทิศโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา

    ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยมุ่งมั่นพัฒนาภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้เด็กไทย เพื่อเป็นทักษะสำคัญในการก้าวความเป็นสากล แต่ดูเหมือนว่าไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ดังจะเห็นได้ว่า เด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษนับสิบปี กลับไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้ดีเท่าที่ควร ยิ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องติดต่อสื่อสารกับหลายประเทศ ซึ่งการใช้ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เด็กไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา และการสร้างความสัมพันธ์อันดีด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ

    กรุงเทพฯ เป็นเหมือนประตูบานแรกของประเทศไทย ที่เปิดต้อนรับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจ เข้ามาท่องเที่ยว และเข้ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ ดังนั้น การเตรียมคนกรุงเทพฯ ให้มีความรู้ภาษาต่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ซึ่งต้องเริ่มที่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ โดยพัฒนาเป็นโรงเรียน 2 ภาษา หรือ 3 ภาษา ยกระดับคุณภาพเด็กกรุงเทพฯ ให้มีทักษะการพูด อ่าน และเขียนภาษาต่างประเทศ ไม่เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ และการประกอบอาชีพ

    หลายประเทศได้เล็งเห็นความสำคัญและมีโครงการพัฒนาโรงเรียน 2 ภาษา และ 3 ภาษามานานแล้ว ซึ่งเป็นการดีที่กรุงเทพฯ จะเรียนรู้และนำมาปรับใช้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ จึงขอยกตัวอย่างประเทศในแถบยุโรป ที่หลายประเทศประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา

    ประเทศเยอรมัน: 2 ภาษา ภาษาเยอรมันและอังกฤษ


    เยอรมัน ปกครองระบบสหพันธรัฐ ประกอบไปด้วย 16 รัฐ แต่ละมลรัฐมีระบบการศึกษาเป็นของตัวเอง โดยปกติ การวางพื้นฐานภาษาต่างประเทศในเยอรมันเริ่มต้นที่เกรด 5 และ 6 (อายุ 10 และ 11 ปี) ผู้เรียนเกรด 5 ต้องเรียนภาษาอังกฤษ 5 บทหลัก ๆ และเพิ่มเติมพิเศษอีก 1 บทเรียน แต่ในเกรด 6 จะลดลงเหลือเพียง 4 บทเรียน โดยการเรียน 2 ภาษาเต็มรูปแบบ (Mainstream Bilingual Education: MBE) จะเริ่มต้นที่เกรด 7 หรือระดับมัธยมศึกษา โดยวิชาที่โรงเรียนต่าง ๆ นำมาสอน 2 ภาษา ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เทคโนโลยี การเมือง ชีววิทยา ศิลปะ หรือกีฬา โดยครูที่สอน MBE ต้องมีความรู้ความสามารถทั้ง 2 ภาษา พร้อมกับมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน

    ตัวอย่างโรงเรียน 2 ภาษาในเยอรมัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ โรงเรียนมัธยม Karolina-Burger-Realschule เมืองลุดวิกส์ฮาเฟ่น (Ludwigshafen)


    การเรียน 2 ภาษาในโรงเรียนแห่งนี้ เริ่มต้นตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น ในวิชาภูมิศาสตร์และสังคมศึกษา โดยสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด สาเหตุที่เลือกวิชาภูมิศาสตร์ เพราะเนื้อหาและคำศัพท์ มีความเหมาะสมและเป็นรูปธรรมเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ และเหตุที่เลือกวิชาสังคมศึกษา เพราะเนื้อหาและคำศัพท์ก่อให้เกิดความชำนาญในการใช้ภาษาและทักษะการสื่อสาร ซึ่งผู้เรียนที่ได้รับเลือกให้เข้าเรียน 2 ภาษาได้นั้น ต้องมีทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานในระดับดี มีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับที่ดี และผลการเรียนวิชาภูมิศาสตร์และสังคมศึกษาต้องไม่น้อยกว่า 3

    ในเกรด 7 เรียนวิชาภูมิศาสตร์ 2 บทเรียนต่อสัปดาห์ โดยจะสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ในครึ่งปีแรกของเกรด 8 ตารางการเรียนยังเป็นเหมือนเกรด 7 และจะแทนที่ด้วยวิชาสังคมศึกษาในครึ่งปีหลัง ซึ่งสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเช่นกัน โดยสอน 2 บทเรียนต่อสัปดาห์ ในเกรด 9 ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งระหว่างวิชาภูมิศาสตร์และสังคม ศึกษา หรือเลือกเรียนทั้ง 2 วิชาก็ได้ โดยเรียน 4 บทเรียนต่อสัปดาห์ ผู้เรียนที่ใกล้จบระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือเข้าสู่มัธยมปลาย ผู้เรียนจะเรียนเพียง 1 บทเรียนต่อสัปดาห์ เช่น การสอน 2 ภาษาในครึ่งปีแรกของเกรด 10 เรียนวิชาภูมิศาสตร์ 1 บทเรียน และวิชาสังคมศึกษา 2 บทเรียนต่อสัปดาห์ และในครึ่งปีหลังจะเรียนวิชาโคลง ฉัน กาพย์ กลอน เป็นต้น

    ประเทศลักเซมเบิร์ก: 3 ภาษา ภาษาลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และเยอรมัน

    ลัก เซมเบิร์ก (Luxembourg) มีพรมแดนติดประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน ภาษาราชการมี 3 ภาษาคือ ภาษาลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และเยอรมัน ซึ่งออกกฎหมายตั้งแต่ ค.ศ.1984 สาเหตุที่นโยบายการสอน 3 ภาษาในลักเซมเบิร์กประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากผู้เรียนอยู่ในบริบทการพูด 3 ภาษา ทั้งที่โรงเรียนและบ้าน

    การเรียนการสอน 3 ภาษา ในระดับอนุบาลจะสอนเป็นภาษาลักเซมเบิร์กเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ระดับประถมศึกษา ผู้เรียนเกรด 1 จะเริ่มเรียนเป็นภาษาเยอรมันพร้อมกับภาษาลักเซมเบิร์ก ส่วนภาษาฝรั่งเศสจะเริ่มเรียนในเกรด 3 ไปจนถึงเกรด 6 ในระดับมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญและอาชีวศึกษา ใน 3 ปีแรก (อายุ 12-15 ปี) หรือมัธยมต้นจะเรียนเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด และเรียนเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อเข้าสู่ปีที่ 4 เป็นต้นไป (อายุ 15-19 ปี) หรือมัธยมปลาย แต่บางโรงเรียนยังสอนเป็นภาษาเยอรมัน สำหรับผู้เรียนต่างชาติที่ย้ายถิ่นเข้ามาเรียนในลักเซมเบิร์ก กระทรวงศึกษาธิการของลักเซมเบิร์ก ให้โรงเรียนจัดห้องเรียนพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อสอนภาษาเยอรมันและฝรั่งเศส หลังจากนั้น 1 ปี จึงเรียนในหลักสูตรปกติ

    เยอรมันเป็นตัวอย่างการสอน 2 ภาษา ที่เลือกบางวิชามาสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งประเมินแล้วว่าวิชาภูมิศาสตร์และสังคมศึกษาสามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังเข้มงวดกับการคัดเลือกผู้เรียนที่สามารถเรียนหลักสูตร 2 ภาษาได้จริง ๆ ส่วนลักเซมเบิร์ก เป็นตัวอย่างการสอน 3 ภาษาที่ประสบความสำเร็จได้ โดยที่ผู้เรียนอยู่ภายใต้บริบทการพูดภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันจริง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การสอน 2 ภาษา หรือ 3 ภาษาอาจประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน อย่างในเยอรมัน ครูสอน 2 ภาษาขาดแคลน เนื่องจากรัฐต่าง ๆ ยังขาดหลักสูตรฝึกอบรมครูสอน 2 ภาษา

    การสอน 2 ภาษา และ 3 ภาษาในประเทศไทย

    ประเด็น แนวคิดเรื่องโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา ผมได้นำเสนอในเวทีวิชาการมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2539 ก่อนการปฏิรูปการศึกษาว่า ควรให้โรงเรียนในไทยเป็นโรงเรียน 2 ภาษา และค่อย ๆ ปรับให้เป็นโรงเรียนสองภาษาจนครบทุกแห่ง แต่เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อโลกเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีที่สะดวก รวดเร็วและต้นทุนการเชื่อมต่อกันไม่สูงนัก จำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีโรงเรียนสามภาษา เน้นภาษาหลักเพิ่มอีก 1 ภาษาโดยเฉพาะภาษาจีน อันเป็นการเพิ่มศักยภาพความสามารถของบุคคลและการแข่งขันในระดับประเทศ

    ต่อ มาช่วงปฏิรูปการศึกษาในปี พ.ศ.2540 กระทรวงศึกษาธิการเริ่มเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงเรียนสองภาษา ดังที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว โดยเริ่มมีนโยบายส่งเสริมการเรียนหลักสูตร 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ยกเว้นภาษาไทยและสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย

    อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการเรียน 2 ภาษาในประเทศไทย ยังประสบปัญหา โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนครูที่เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศและวิชาที่สอน อาทิ ครูต่างชาติบางคนไม่มีวุฒิทางการศึกษา หรือแม้มีวุฒิหรือความรู้วิชาการด้านที่ต้องการ แต่ไม่จบด้านการสอน ทำให้ไม่มีคุณภาพในการถ่ายทอดความรู้และทักษะในการสื่อความหมาย ครูต่างชาติจึงสอนเนื้อหาง่าย ๆ ให้เกรดเด็กในระดับดี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ปกครอง ทั้งยังมีปัญหาการขาดความต่อเนื่องในการสอน เนื่องจากครูต่างชาติมักเป็นนักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาเพิ่งจบ ต้องการหาประสบการณ์ชีวิต นอกจากนี้ การสอน 2 ภาษายังมีปัญหาการคัดเลือกผู้เรียน ที่ไม่คำนึงถึงพื้นฐานและความพร้อม แม้โรงเรียนสองภาษาจะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เข้มงวดมากนัก

    ดังนั้น ปัจจัยที่จะทำให้การพัฒนาโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา ประสบความสำเร็จได้นั้น คือ ปัจจัยด้านครูที่มีคุณภาพ โดยจำเป็นต้องจัดหาครูที่เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ ปัจจัยเตรียมความพร้อมผู้เรียน โดยมีระบบวางพื้นฐานภาษาต่างประเทศให้เด็ก เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเรียนหลักสูตร 2 ภาษา หรือ 3 ภาษา และปัจจัยด้านการคัดเลือกผู้เรียนที่สามารถเรียนหลักสูตร 2 ภาษาได้จริง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาออกกลางคัน

    การพัฒนาโรงเรียน 2 และ 3 ภาษานั้น ผมว่า โรงเรียนในกรุงเทพฯ ค่อนข้างมีศักยภาพความพร้อมกว่าโรงเรียนในพื้นที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาหลักสูตร การหาครูต่างชาติที่มีคุณภาพ การเตรียมและพัฒนาความพร้อมของผู้เรียน ฯลฯ ผมเสนอให้โรงเรียน กทม. พัฒนาเป็นโรงเรียน 2 ภาษาทุกโรง เพื่อเป็นตัวแบบสู่โรงเรียนอื่นทั่วประเทศ และค่อยพัฒนาสู่ขยายเป็นโรงเรียน 3 ภาษา เพื่อเตรียมพร้อมรับกับสภาพโลกาภิวัตน์ และเตรียมพร้อมการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะอย่างไรไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงโลกาภิวัตน์ได้ ต้องติดต่อสื่อสารและทำงานกับคนทั่วโลกที่ใช้ภาษาสากล ประเด็นโรงเรียนสองภาษานี้ ผมนำเสนอไว้ 12 ปีที่แล้ว และเมื่อ พ.ศ.2548 ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้นำนโยบายนี้ไปใช้พัฒนาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ นำร่องสอน 2 ภาษา ในหลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรภาษาจีนในบางโรงเรียนบางแห่ง แต่ไม่เพียงพอ ผมเสนอว่าต้องให้โรงเรียน กทม. ทุกแห่งเป็นโรงเรียนสองภาษาที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ในการพัฒนาเป็นโรงเรียนสองภาษาที่ได้มาตรฐาน