วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

สร้างบทเรียนการเงินให้ลูก "จะใช้อย่างไร" สู่ "จะบริหารอย่างไร"

                          ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต


เรื่อง ฝึกเด็กให้เข้าใจและรู้จักการ จัดการการเงินเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร โรงเรียนบางแห่งถึงกับจัดการเรียนการสอนเป็นเรื่องเป็นราว แต่ผู้รู้กล่าวว่า..ห้องเรียนที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านการ เงินของเด็ก คือที่ "บ้าน" ค่ะ

สอนโดยพ่อแม่ สอนโดยสภาพแวดล้อม

อย่าง ไรก็ดี การสอนให้ลูกบริหารเงินเป็นกลับกลายเป็นต้นเหตุที่ทำให้ "บางครอบครัว" ต้องทุ่มเถียงกัน เนื่องจากความเห็นของพ่อแม่นั้นไปคนละทาง คุณพ่อสอนทาง คุณแม่กลับเห็นไปอีกทาง เมื่อการสอนไม่ไปในทิศทางเดียวกัน สุดท้ายจึงเป็นการใช้อารมณ์เข้าต่อสู้กัน และจบลงด้วยความเบื่อหน่าย ส่วนเด็กก็ไม่ได้อะไรจากการโต้เถียงครั้งนั้นที่ไม่ได้รับการปูพื้นฐานที่ ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน
เด็กกลุ่มนี้จึงมีเพียงบทเรียนบทเดียวเกี่ยวกับเงิน ก็คือ "จะใช้มันอย่างไร"

Anne Ziff นักบำบัดปัญหาครอบครัวกล่าวว่า " การพูดเรื่องเงินในบางครอบครัวเป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งได้มาก สิ่งที่ควรจะพูดด้วยความสงบ กลับกลายเป็นการใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง พ่อแม่มักจะยืนกันคนละฟาก ให้ข้อมูลในฟากของตัวเอง แทนที่เด็กจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารเงินอย่างเต็มที่ จึงกลายเป็นว่า เด็กต้องคอยเป็นผู้ผสมแนวคิดของพ่อกับแม่เข้าด้วยกันแทน"

บทเรียนด้านการบริหารการเงินสำหรับเด็ก ๆ จึงควรเริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ด้วยการเรียนรู้พื้นฐาน 4 ประการดังต่อไปนี้ค่ะ ได้แก่ การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน, การออมเงิน และเมื่อลูกต้องขอยืมเงิน

การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน

เริ่ม แรกที่การได้มาซึ่งเงิน พ่อแม่ผู้ปกครองอาจจ่ายเงินค่าขนมเป็นรายสัปดาห์ให้เด็กฝึกบริหารเงินก้อน เล็ก ๆ นั้นด้วยตัวเอง เขาจะเริ่มเรียนรู้การบริหารเงิน การใช้จ่าย และการเก็บออม และเริ่มเข้าใจถึงขีดจำกัดเมื่อเขาไม่อาจได้ทุกอย่างที่ต้องการอีกต่อไป

จาก นี้ หากเขาอยากได้ของขวัญสักชิ้น จะไม่ใช่หน้าที่ของพ่อแม่อีกต่อไปที่จะจ่ายเงินค่าของขวัญชิ้นนั้น (คุณพ่อคุณแม่หลายอาจแอบยิ้มดีใจ) หากแต่ต้องเป็นเด็กที่จะนำเงินที่เขาเก็บออมมาใช้ด้วยตนเอง เด็กจะได้ฝึกถ่วงน้ำหนักระหว่างความอยากได้กับความจำเป็นในการใช้จ่ายเงิน ของเขามากขึ้น

สำหรับคำถามที่ว่าควรจะให้เงินเท่าไร ถึงจะเหมาะสม อาจพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุของเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็ก (อยู่ในโรงเรียนแบบไหน เดินทางไปโรงเรียนอย่างไร ฯลฯ) ตลอดจนเพื่อน ๆ ของเขา

เมื่อสอนให้เขารู้จักพิจารณาก่อนใช้จ่ายแล้ว ก็ควรมีการฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วย

ลอง นึกภาพลูกน้อยวัย 4 - 6 ขวบที่อยากได้ของเล่นสักชิ้น แทนที่จะบอกเด็กไปว่า คุณซื้อให้ไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นประโยคที่ว่า เราต้องมีการวางแผนกเก็บเงินซื้อกันแล้วล่ะ อาจหากระปุกออมสินสักใบ วางภาพของ ๆ เล่นที่อยากได้แปะสก็อตเทปติดไว้บนกระปุก และให้ลูกนำเงินเหรียญมาหยอดสะสมไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งเมื่อมันมีมากพอ ก็ได้ฤกษ์ทุบกระปุก นำเงินในกระปุกไปซื้อของเล่นที่ต้องการ ประสบการณ์ครั้งนี้จะสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของการเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินมากขึ้น

สร้างสมดุลระหว่างการออมและการใช้จ่ายเงิน

นอก จากจะกระตุ้นให้เด็กรู้จักออมเงินแล้ว การสอนให้เด็กรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างรู้คุณค่าก็เป็นสิ่งจำเป็น แผนในการใช้จ่ายเงินจะทำให้เด็กเข้าใจว่า ที่ออมเงินมาตลอดนี้ก็เพื่อจะได้มีใช้จ่ายในอนาคต และจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อต้องเอ่ยปากขอยืม

เมื่อ พูดถึงการขอยืม ทีมงาน Life & Family ได้มีการกล่าวถึงว่าควรทำอย่างไรเมื่อญาติ - เพื่อนเอ่ยปากขอยืมเงินไปหยก ๆ แล้วสำหรับเด็ก การสอนเรื่องการขอยืมเงินจะเหมาะสมหรือเปล่า ประเด็นนี้อาจตอบได้ไม่ยาก แต่ การสอนให้เด็กรู้จักการขอยืม ไม่ใช่เพื่อให้เด็กเตรียมตัวไปขอยืมเงินคนอื่น แต่เขาจะได้รู้เท่าทันเกี่ยวกับดอกเบี้ย และการจ่ายเงินคืน ไปในตัว เขาจะได้รู้ว่า ต่อให้จ่ายดอกเบี้ยเท่าไร หากไม่ยอมจ่ายส่วนของเงินต้นด้วย ยอดหนี้ของเขาก็จะไม่มีวันลดลง และเขาก็หมดโอกาสที่จะเก็บเงินไปซื้อของเล่นดี ๆ อย่างอื่นที่ต้องการ

เรียบเรียงจาก kidsmoney.org

แหล่งที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น: