วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ครอบครัวเดียวกัน ตอนบ่มพลังเพื่อลูก (๑)

วีดีโอ รายการครอบครัวเดียวกัน ตอนบ่มพลังให้ลูกตอนที่ ๑

ได้ดูเรื่องราวของผู้ปกครองคนแรกแล้วเจ็บปวดเหลือกเกิน คิดถึงตัวเอง หากลูกโต อาจจะเจอสภาพเดียวกันกับเด็กคนนี้

อยากเล่าเผื่อเื่พื่อนๆ หรือ ผู้บริหารการศึกษาที่เวียนไปเวียนมาตามกระทู้วนเวบบอร์ด แต่ไม่คิดจะเปิดดู ชีวิตของเด็กคนนี้ และพ่อแม่ที่เจอสภาพนนี้ มีไม่น้อย อย่าได้ปล่อยผ่าน เพราะมันเป็นบาปกรรมของท่าน ที่ยังปล่อยให้ระบบการศึกษา เฮงซวย แบบนี้ยังเป็นแบบนี้


เด็กคนนี้เริ่มมีปัญหาตอนชั้น ป.๕ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่และเด็กต้องประสบความเครียดอย่างสูงในการสอบแข่ง ขันเข้าเรียนในชั้นมัธยมปีที่ ๑ เด็กต้องเรียนติวกับครูต่างๆนอกโรงเรียน วิชาละ 2-3 คน ไม่นับการจัดตารางอ่านหนังสือ ทำการบ้านที่แน่้นเอี๊ยด

ความปรารถนาและความกังวลของผู้เป็นแม่และพ่อ เป็นเรื่องน่าเห็นใจ พ่อแม่คิดว่า หากไม่ทำตามระบบ ลูกจะไม่ปลอดภัย เพราะสถาบันการศึกษาที่เรียนนั้น จะมีการสอบแข่งขัน คัดกลุ่มนักเรียน หากนักเรียน เรียนไม่ได้คะแนนที่โรงเรียนตั้งเป้าหมายไว้ เด็กจะไม่สามารถเรียนกับครูบางท่านได้ ซึ่งถือว่าเป็นครูที่เก่งระดับเลิศของโรงเรียน พ่อแม่เกรงว่าลูกจะถูกผลักออกจากสังคมดีๆ หรือ กลายเป็นเด็็กเรียนอ่อน ไปอยู่ในกลุ่มสังคมของเด็กมีปัญหา

จากการทีเด็กคนนี้ ถูกกดดันอย่างหนัก จากระบบการศึกษาที่ "แพ้แล้วคัดออก" ทำให้ เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ จากเด็กที่ร่าเริง ขี้เล่น ช่างพูดต่อล้อต่อเถียง กลายเป็นเด็กเงียบขรึม ไม่ดื้อ หัวอ่อน และยอมตามแม่ทุกอย่าง พยายามทำตารางเรียนที่แม่วางไว้


แต่ในยามค่ำคืน ตอนหลับสนิท น้องคนนี้กลับมีอาการนอนละเมอ ตาค้าง วิ่งไปวิ่งมา ขึ้นลงบันได้ กระโดดบนเตียง แบบไม่รู้สึกตัว สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง พ่อแม่จะปลุกอย่างไรก็ไม่รู้สึกตัว ทั้งตบ ทั้งตี ก็แล้ว สุดท้าย คุณแม่ต้องกอดนานๆ จนกว่าจะสงบและรู้สึกตัว โดยที่น้องไม่รู้เลยว่าทำอะไรลงไป

คุณแม่สังเกตว่า วันไหนที่คุณแม่ ดุลูกหนักๆ ด้วยความกังวลและคาดหวังสูงกับอนาคตการศึกษาของลูก เมื่อสอนไม่เข้าใจ คุณแม่ดุลูกรุนแรง ว่าโง่ เหมือนควาย ลูกจะเป็นอาการแบบนี้

คุณแม่เล่าว่า คุณแม่ดูแลการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทย์ ในขณะที่คุณพ่อมาดูแลเรื่องวิชาสังคม และภาษาไทย คุณพ่อคุณแม่เองก็เหนื่อยไม่น้อยในการติวลูก ในขณะที่น้องคนนี้ เรียนคนเดียว โดนอัดหลายวิชา จากพ่อแม่ และครู รวมทั้งที่โรงเรียน

พูดตามตรง ดิฉันดูถึงตอนนี้แล้วตกใจมาก ไม่คิดว่าระบบการศึกษาของชาติจะเลวร้ายขนาดนี้ ไม่สามารถสร้างประชาชนที่มีคุณภาพได้ทัดเทียมกับต่างประเทศยังไม่พอ หนำซ้ำ ยังทำร้าย ทำลาย เด็กที่มีความสามารถ มีศักยภาพสูง ให้กลายเป็นคนบ้าได้ด้วย

ทุเรศสิ้นดี


เท่าที่อ่านดูเรื่องราวของอีกสองครอบครัว ในรายการ สถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะเด็กสองคนนี้ ยังเล็กนัก คือ ประถมต้น และ อยู่อนุบาล ๓ แม้เด็กจะได้รับความกดดันเรื่องการเรียนจากคุณพ่อ คุณแม่ ที่กังวลเรื่องการแข่งขันทางด้านการศึกษาของชาติ แต่ความกดดันนี้ก็ยังไม่รุนแรง เหมือนเด็กประถมปลาย บุคลิกและพฤติกรรมของน้อง ยังไม่มีปัญหามาก แต่หากยังปล่อยให้น้องอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อเนื่องหลายปี ก็อาจจะมีปัญหาทางพฤติกรรม และจิต ได้เช่นกัน
จากการที่ดิฉันเองก็ติดตาม กระทู้ต่างในเวบบอร์ด โดยเฉพาะในห้องเรียนของลูกมานานกว่า ๕ ปี ได้เห็นเรื่องราวทุกข์ใจ และกังวลใจของเพื่อนๆพ่อแม่จำนวนไม่น้อยในแต่ละปี ดูไม่ต่างไปจากเรื่องราวที่เกิดขึ้น กับสามครอบครัวที่ทางรายการนำมาออกอากาศ หัวอกพ่อแแม่ แสนจะหวั่นไหว มีความกังวลใจอย่างสูงเรื่องอนาคตของลูก


"กลัวลูก ถูกคัดออกจากสังคม"
"กลัวลูกเสียความมั่นใจ และเดินออกจากการเรียน"
"กลัวลูกไม่ยอมรับสิ่งที่ดีที่สุด ที่พ่อแม่หยิบยื่น และเลือกให้"
"กลัวลูกไม่ได้เรียนโรงเรียนดีๆ"
"กลัวลูกไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต"

ยิ่งระบบการศึกษาของชาติ สร้้างกระแส การแข่งขันมากมายเพียงใด ความวิตกกังวลของพ่อแม่ก็มากขึ้นเป็นตามลำดับ ด้วยความวิตกกังวล พ่อแม่ต่างทุ่มเทสรรพกำลัง ทั้งเวลาในการกวดขัน วินัยลูก และการเรียน การทำการบ้าน เพื่อทำคะแนนในโรงเรียน และการติวสารพัด เช้ามืด จรดค่ำ เพื่อให้ลูก สามารถเรียนทันเพื่อน และสอบแข่งขันได้สถาบันดีๆ

ในเรื่องราวของสามครอบครัวนี้ คุณแม่ท่านหนึ่งเล่าว่า ลูกชายต้องเริ่่มจดศัพท์ตั้งแต่ 6.45 น. และเรียนเรื่อยไป จนถึง 1 ทุ่ม เด็กแค่ ป.๒ ป. ๓ เท่านั้น วันนึงเรียนหนังสือกว่า 12 ชม. กดดันกว่าเด็กที่ออกมาทำงาน ยังไม่หนักเท่าเด็กคนนี้

เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับน้องป. ๓ ที่คุณแม่เคี่ยวเข็ญอย่างหนัก นี่ก็เป็นเรื่องน่าเห็นใจทั้งคุณแม่ และลูก เพราะลูกของเธอ ไม่ยอมทำการบ้าน ไม่ยอมส่งงาน เหตุการณ์ นี้เคยเกิดขึ้นกับดิฉันเองในวัยเด็ก เป็นจุดเริ่มต้น แห่งความร้าวฉานของความสัมพันธ์ของดิฉันเอง และคุณพ่อคุณแม่ เป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลวในหลายๆเรื่องในอดีตที่ผ่านมา กว่าจะแก้ไขได้ กว่าจะเยียวยา และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึุ้้นในวัยนั้น คือ เมื่อไม่กี่ปีนี่เอง ความรู้สึกของเด็กคนนี้ จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันเองเข้าใจได้ ความรู้สึกของคุณแม่ท่านนั้ ก็คงคล้ายๆกับคุณพ่อ คุณแม่ในตอนนั้น เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆ

น้องรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนในโรงเรียนที่เน้นหนักด้านวิชาการ ไม่มีเวลาให้เล่นกับเพื่อนตามประสาเด็ก ไม่เปิดโอกาสให้ทำในสิ่งที่ชอบ นอกจากการเรียนต่อเนื่องวิชาแล้ว วิชาเล่า ความเบื่อหน่าย ทำให้ไม่อยากเรียน ประกอบกับพื้นฐานการเรียนไม่ดี ทักษะการฟัง การอ่าน การเขียน ไม่คล่อง ทำให้การเรียนในชั้นเรียน การทำการบ้านเป็นเรื่องที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง

ในปมปัญหาของน้องคนที่สองนี้ มีจุดที่มองเห็นอยู่สองประเด็น คือ บุคลิกภาพ นิสัยใจคอของน้อง อาจจะไม่เหมาะสมกับโรงเรียนแนววิชาการ และน้องมีปัญหากทักษะการเรียนที่ไม่แข็ง ฟังจากที่คุณพ่อของน้องเล่า น้องบอกคุณพ่อว่า น้องอ่านไม่ทัน ทำให้จดบนกระดานช้า และเขียนไม่ทัน แสดงว่า การอ่าน การสะกดคำ รวมทั้งการเขียนของน้องมีปัญหา เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่ประถมหนึ่ง น้องจึงมีปัญหาต่อเนื่องมาจนป. ๒ และ ป. ๓


แต่คุณพ่อ และคุณแม่ ไม่ทราบปัญหานี้ จึงแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุด คุณแม่ เริ่มให้น้องเรียนพิเศษที่โรงเรียนหลังเลิกเรียน เพื่อให้ครูช่วยดูแลลูกเรื่องการทำการงานให้เสร็จตามที่ได้รับมอบหมาย แต่ผลการเรียนของน้องก็ไม่ได้ดีขึ้น ปัญหาการอู้ในห้องเรียน เหม่อลอย ไม่สนใจฟังครู ยังต่อเนื่อง และไม่ดีขึ้น ซึ่งหากดูแล้ว คือ น้องไม่สนุกกับการเรียนในห้องเรียน ยิ่งโดนยัดเยียดต่อเนื่อง ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

สิ่งที่เริ่มเกิดขึ้น คือ เมือ่ผลการ สอบออกมา เด็กๆเอาคะแนนมาอวดกัน น้องเห็นคะแนนตัวเอง ต่ำกว่าเพื่อนๆคนอื่น ก็เสียใจมาก และสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง ถึงขั้นแอบร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด ใต้โต๊ะทำงานของคุณแม่ นี่เป็นจุดหนึ่ง ที่ดิฉันเจ็บปวด และเข้าใจ เด็กตีความว่าตัวเองไม่เอาไหน เป็นเด็กไม่ดี ไม่เรียนหนังสือ สิ่งที่น้องบอกตัวเองในจิตใต้สำนึกนี้ เป็นเรื่องที่น่าห่วง

หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใด เจอลูกอยู่ในสถานการณ์นี้ อย่าได้ซ้ำเติม ตำหนิลูก ขอให้ปล่อยผ่าน และให้กำลังใจลูก อย่าปล่อยให้ลูกตีความตัวเองเช่นนั้นเป็นอันขาด เพราะมันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดด้านลบ และจะส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กไปเรื่อยๆค่ะ

ในปมปัญหาของน้องคนที่สองนี้ มีจุดที่มองเห็นอยู่สองประเด็น คือ บุคลิกภาพ นิสัยใจคอของน้อง อาจจะไม่เหมาะสมกับโรงเรียนแนววิชาการ และน้องมีปัญหากทักษะการเรียนที่ไม่แข็ง ฟังจากที่คุณพ่อของน้องเล่า น้องบอกคุณพ่อว่า น้องอ่านไม่ทัน ทำให้จดบนกระดานช้า และเขียนไม่ทัน แสดงว่า การอ่าน การสะกดคำ รวมทั้งการเขียนของน้องมีปัญหา เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่ประถมหนึ่ง น้องจึงมีปัญหาต่อเนื่องมาจนป. ๒ และ ป. ๓


แต่คุณพ่อ และคุณแม่ ไม่ทราบปัญหานี้ จึงแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุด คุณแม่ เริ่มให้น้องเรียนพิเศษที่โรงเรียนหลังเลิกเรียน เพื่อให้ครูช่วยดูแลลูกเรื่องการทำการงานให้เสร็จตามที่ได้รับมอบหมาย แต่ผลการเรียนของน้องก็ไม่ได้ดีขึ้น ปัญหาการอู้ในห้องเรียน เหม่อลอย ไม่สนใจฟังครู ยังต่อเนื่อง และไม่ดีขึ้น ซึ่งหากดูแล้ว คือ น้องไม่สนุกกับการเรียนในห้องเรียน ยิ่งโดนยัดเยียดต่อเนื่อง ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

สิ่งที่เริ่มเกิดขึ้น คือ เมือ่ผลการ สอบออกมา เด็กๆเอาคะแนนมาอวดกัน น้องเห็นคะแนนตัวเอง ต่ำกว่าเพื่อนๆคนอื่น ก็เสียใจมาก และสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง ถึงขั้นแอบร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด ใต้โต๊ะทำงานของคุณแม่ นี่เป็นจุดหนึ่ง ที่ดิฉันเจ็บปวด และเข้าใจ เด็กตีความว่าตัวเองไม่เอาไหน เป็นเด็กไม่ดี ไม่เรียนหนังสือ สิ่งที่น้องบอกตัวเองในจิตใต้สำนึกนี้ เป็นเรื่องที่น่าห่วง

หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใด เจอลูกอยู่ในสถานการณ์นี้ อย่าได้ซ้ำเติม ตำหนิลูก ขอให้ปล่อยผ่าน และให้กำลังใจลูก อย่าปล่อยให้ลูกตีความตัวเองเช่นนั้นเป็นอันขาด เพราะมันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดด้านลบ และจะส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กไปเรื่อยๆค่ะ








วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หนังสือเล่มสองของ MNSHANG

แอบเอามาโชว์ หนังสือเล่มที่สองของ MNSHANG



เพื่อนๆค่ะ

ทราบมาจากทางสำนักพิมพ์ว่า หนังสือเล่มสองของดิฉันใกล้ออกวางตลาดแล้วค่ะ คาดว่า ประมาณต้นเดือน ตุลาคม 2554   ในหนังสือเล่มนี้  เป็นการเจาะลึก ถึงการพัฒนาลูกน้อย ในวัยตั้งแต่ ปฐมวัย - อนุบาล  และวัยประถม ค่ะ  ซึ่ง เป็นการเรียบเรียง จากกระทู้ยาว ในเวบบอร์ดโมมี่พีเดีย ที่ดิฉันเขียนไว้ เมื่อสามปีก่อน คือ เรื่อง  เล่าเรื่องปลุกมหัจฉริยภาพลูกหลาน   และ ปลุกมหัจฉริยภาพลูกประถม  รวมทั้ง เรื่องเกี่ยวกับ โฮมสคูล ที่เก็บไว้กระจัดกระจายในเวบบล็อก  www.5qkids.blogspot.com   เพื่อนที่หาอ่านไม่ครบ หรือ เพื่อนๆที่มีลูกในวัยนี้ ตามมาหามาอ่านได้นะคะ   รายได้ค่าลิขสิทธิ์ ที่ได้จากการพิมพ์หนังสือ เล่มที่สอง  และหนังสือ  สอนลูกให้ชนะ "โลก" ที่กำลังวางตลาดในตอนนี้  ได้มอบให้รพ.เด็ก ในโครงการ เตียงสายใยแม่ลูกค่ะ   ซึ่งกุศลกรรม แห่งการแบ่งปันครั้งนี้ ขอมอบให้กับเพื่อนๆผู้อ่าน ผู้อุดหนุนหนังสือทุกท่านค่ะ

ขอขอบพระคุณสนพ. Happy Book อีกครั้ง ในการรวบรวม และจัดพิมพ์หนังสือเล่มที่สอง นี้อีกครั้ง และหวังว่าจะมีโอกาสจัดพิมพ์ หนังสือ เล่มที่ ๓ และเล่มที่ ๔  ต่อไป หากเพื่อนๆคิดว่า หนังสือที่นำเสนอมานั้น มีคุณค่า เพียงพอ สำหรับพ่อแม่ในสังคมของเรา



หนังสือเรื่อง ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก ราคาหน้าปก 190 บาทค่ะ