วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือเทอมละ 40 เล่ม ลูกก็ทำได้ (จบ)

ขอจบกระทู้นี้ แต่เพียงเท่านี้นะคะ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตาม

อย่างที่บอกตั้งแต่ต้น กระทู้นี้ มีความตั้งใจ เพียงแบ่งปันไอเดีย ในการช่วยเหลือเด็กๆ ในการทำภารกิจนี้ให้สำเร็จด้วยตัวเอง โดยที่เพื่อนๆพ่อแม่ ให้ความเชื่อเหลือตามความเหมาะสมกับวัย ความรักและความห่วงใยของพ่อแม่เป็นเรื่องที่ดีค่ะ แต่ควรจะดูแลลูกตามความเหมาะสม อย่าได้ทำหน้าที "ดีเกินไป" จนลูกไม่มีโอกาสฝึกฝนทักษะที่สำคัญเหล่านี้ เพราะอนาคตข้างหน้า ลูกๆจำเป็นต้องมีทักษะเหล่านี้ในการทำมาหากิน หาใช่ใบคะแนน เกียรติบัตรใดๆไม่ เพราะมันเป็นแค่กระดาษใบหนึ่งเท่านั้น

อยากฝากบทความหนึ่งปิดท้ายกระทู้นี้
 
ไม่มีแม่คนไหนที่ไม่รักลูก

แต่..ก็ไม่สามารถวัดได้ว่าแม่คนไหนรักลูกมากน้อยกว่ากัน เพราะความรักไม่สามารถใช้มาตรวัดใด ๆ ได้ว่ารักแค่ไหนมาก แค่ไหนน้อย แล้วแค่ไหนจะพอดี

จะมีก็เพียงรักลูกถูกวิธีหรือไม่ถูกวิธีเท่านั้น ที่พอจะมองเห็นผลลัพธ์จากตัวลูก เพราะถ้าใช้ความรักไม่ถูกวิธี สุดท้ายก็อาจนำไปสู่การเลี้ยงดูที่ผิดพลาดได้

ฉะนั้น เรื่องความรัก นอกจากต้องใช้สัญชาตญาณของความเป็นแม่ในการเลี้ยงดู ที่สำคัญต้องมีความรู้ควบคู่ด้วย เพราะต้องเป็นความรักที่ถูกวิธี มิเช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นว่าแม่ทำร้ายลูก

แม่แบบไหนบ้างที่ทำร้ายลูก

แม่ประเภทแรก ทำทุกอย่างให้ลูก แม่ประเภทนี้กลัวว่าลูกจะลำบาก กลัวลูกอด กลัวลูกเจ็บ กลัวไปซะทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นก็จะไม่ค่อยปล่อยให้ลูกไปเผชิญสิ่งต่างๆ โดยลำพัง ถ้าเป็นลูกเล็กแม่ก็จะคอยอุ้มอยู่ตลอดเวลา ไม่ค่อยยอมปล่อยให้ไปคลุกดินคลุกทราย หรือเดินโดยลำพัง จะมีคนคอยเดินตาม และเมื่อเด็กพลาดล้มก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปทันที ถ้าเป็นเด็กโตก็จะคอยห้ามโน่นนี่นั่นไปซะทุกอย่าง เพราะกลัวลูกไม่ปลอดภัย

แม่ประเภทที่สอง ต้องการให้ลูกทดแทนบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไปของพ่อแม่เมื่อวัยเด็ก อะไรที่ไม่เคยมี ก็อยากให้ลูกได้มี อะไรที่ไม่เคยทำ ก็อยากให้ลูกได้ทำ หรือเมื่อวัยเด็กแม่อาจมีฐานะไม่ดี มีปมด้อย หรือลำบากมาก่อน ฉะนั้นเมื่อตัวเองประสบความสำเร็จก็พยายามชดเชยอะไรบางอย่างให้กับลูกตลอด เวลา

แม่ประเภทที่สาม ขีดเส้นทางขีวิตให้ลูกเดิน เพราะเชื่อว่าเส้นทางที่เลือกไว้ให้ลูกคือเส้นทางที่ดีที่สุด เช่น อยากให้ลูกเป็นหมอ ก็วางเส้นทางเพื่อให้ลูกเป็นหมอ โดยไม่ได้ดูความถนัดหรือความชอบของลูก แต่เชื่อว่าตัวเองได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก โดยที่จะพูดย้ำกับลูกอยู่เสมอว่าเพราะแม่รักลูกถึงเลือกเส้นทางชีวิตเช่นนี้ ให้ลูก โดยไม่ฟังเสียงของลูก

แม่ประเภทที่สี่ แม่ประเภทนี้จะไม่ค่อยทันลูก พร้อมจะเชื่อลูกทุกอย่าง ลูกบอกอะไรก็เชื่อ โดยไม่ได้สนใจหรือตรวจสอบเลยว่าลูกทำอะไร หรือเหมาะสมหรือเปล่า แม่ประเภทนี้มักขาดความรู้ เช่น ลูกขอซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้หาความรู้ แต่ในความเป็นจริงลูกอาจนำมาเล่นเกมหรือใช้อย่างไม่เหมาะสม โดยที่แม่ไม่รู้หรือไม่ตรวจสอบ หรือไม่ได้สนใจด้วยซ้ำไป


แม่ประเภทที่ห้า ลูกไม่เคยผิด เป็นแม่ที่ปกป้องลูกตลอด ไม่ว่าลูกจะมีปัญหาอะไรกับใคร หรือกับพ่อแม่เอง ลูกฉันก็ไม่เคยผิด แม้ลูกจะทำผิดก็โทษผู้อื่นเสมอ เวลาลูกมีปัญหากับใครแม่ก็มักออกโรงปกป้องเต็มที่ ซึ่งหารู้ไม่ว่าลูกประเภทนี้มักจะมีปัญหาเมื่อเขาเติบโตขึ้นเสมอ

แม่ทั้งห้าประเภทนี้ ล้วนแล้วต่างก็รักลูกทั้งสิ้น และก็ไม่ใช่เพราะรักลูกมากเกินไปด้วย แต่เป็นเพราะรักลูกไม่ถูกวิธี

ในความเป็นจริงแล้ว นอกจากความรักที่ต้องคู่กับความรู้แล้ว การเลี้ยงดู การสร้างสภาพแวดล้อม สภาพสังคม ล้วนแล้วมีผลต่อลูกของเราทั้งสิ้น

ในอดีตรุ่นปู่ย่าตายายต่างก็มีสภาพสังคมโดยรวม ที่ทำให้เมื่อสมัยวัยเด็กต้องช่วยเหลือตัวเองซะส่วนใหญ่ เมื่อเผชิญปัญหาแต่ละครั้ง ก็ย่อมทำให้ต้องเผชิญปัญหาโดยปริยาย และจากการประสบพบปัญหาบ่อยครั้ง ก็ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดี

และนั่นจึงเป็นที่มาและทำให้เด็กในยุคก่อนมีวัคซีนใจ หรือภูมิต้านทานชีวิตสูงกว่าเด็กยุคนี้

ในขณะที่เด็กรุ่นใหม่ มักได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี โดยเฉพาะครอบครัวที่มีฐานะดี ที่ไม่อยากให้ลูกลำบากตรากตรำ ก็คอยพัดวีให้ทุกอย่าง เมื่อมีปัญหาใด ๆ ก็มักจะยื่นมือไปช่วยเหลือในทันที แทบจะไม่ปล่อยให้ลูกเผชิญกับปัญหาหรือความลำบากเลย หรือมีปัญหาถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวแบบทั้งห้าประเภทที่กล่าวมา ก็ย่อมทำให้ลูกขาดภูมิต้านทานชีวิต หรือมีภูมิต้านทานชีวิตต่ำไปโดยปริยายเช่นกัน

ฉะนั้น ถ้าไม่อยากให้ความรักของแม่ทำร้ายลูก ต้องเริ่มจากการปรับทัศนคติของตัวเองกันก่อนว่า ชีวิตของลูกเป็นของเขาเอง วันหนึ่งเมื่อเขาหรือเธอเติบโตขึ้นไปก็ต้องมีชีวิตเป็นของตัวเอง พ่อแม่ไม่สามารถอยู่กับลูกไปได้ตลอดชีวิต แล้วเราควรจะทำอย่างไรเพื่อให้เขาสามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้ แม้ไม่มีพ่อแม่

คำตอบก็คือการสร้างภูมิต้านทานชีวิตที่ดีให้กับลูก

ความรักของแม่แบบผิดๆ ที่ทำร้ายลูกก็มีให้เห็นมากมาย แล้วไยเราจะเดินซ้ำรอยอุทาหรณ์เหล่านั้นทำไมล่ะ

สิ่งที่ต้องเริ่มต้นคือการใช้ความรักของแม่ที่ถูกวิธี

เพราะเราคงไม่อยากเป็นแม่ที่ใช้ความรักทำร้ายลูกมิใช่หรือ…!!

คุณเป็นแม่ที่ทำร้ายลูกด้วยความรักหรือเปล่า..?/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 สิงหาคม 2554
ภาคผนวก

50 วรรณกรรมต่างประเทศ ที่เยาวชนควรได้อ่าน

(ควรมิควรแล้วแต่จะพิจารณาค่ะ)



50 วรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศ ที่ คณะผู้วิจัยภายใต้การสนับสนุนของ สกว.

ได้คัดเลือกว่าเป็นหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

ผลงานระดับคลาสสิกเหล่านี้ ล้วนเป็นหนังสือดีที่เด็กไทยควรจะมีโอกาสได้อ่านสักครั้ง

ส่วนใหญ่มีฉบับแปลภาษาไทยแล้ว โดยผู้แปลหลายท่าน บ้างก็ตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง

หลายๆเล่มเป็นเรื่องโปรดในดวงใจของเราหลายคน



1. The Adventures of Huckleberry Finn : การผจญภัยของฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์

2. Alice's Adventures in Wonderland : อลิสในแดนมหัศจรรย์

3. Around the World in Eighty Days : 80 วันรอบโลก

4. Black Beauty : ม้าแสนรู้

5. The Call of the Wild : เสียงเพรียกจากพงพี

6. The Catcher in the Rye : ทุ่งฝัน

7. Charlie and the Chocolate Factory : ชาลีกับโรงงานช็อกโกแล็ต

8. Charlotte's Web : แมงมุมเพื่อนรัก

9. Cheaper by the Dozen : เหมาโหลถูกกว่า

10. Chitty Chitty Bang Bang : รถวิเศษ

11. A Christmas Carol : กำนัลแห่งคริสต์มาส

12. Daddy Long Legs : ขวัญใจของคุณพ่อ

13. Don Quixote : The Picture Readers Edition : ดอน กีโฮเต้ ฉบับอนุบาล

14. Emil and the Detectives : เอมิล ยอดนักสืบ

15. The Fairy Tales of Grimm's Brothers : เทพนิยายของกริมม์

16. The Fairy Tales of Hans Christian Andersen : เทพนิยายของแอนเดอร์สัน

17. The Fairy Tales of Oscar Wilde : เทพนิยายของออสคาร์ ไวลด์

18. The Fairy Tales of Lev Tolstoy : นิทานตอลสตอย

19. Gulliver's Travels : กัลลิเวอร์ผจญภัย

20. Harry Potter and the Philosopher's Stone : แฮรี่ พ็อตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์

21. Heidi : ไฮดี้

22. The Hobbit : เดอะ ฮอบบิท

23. The Human Comedy : ความสุขแห่งชีวิต

24. The Jungle Book : เมาคลีลูกหมาป่า

25. King Arthur and His Knights : อัศวินแห่งกษัตริย์อาเธอร์

26. The Lion, The Witch and the Wardrobe : เมืองในตู้เสื้อผ้า และ ตู้พิศวง

27. Little House in the Big Woods : บ้านเล็กในป่าใหญ่

28. Little Lord Fauntleroy ชายเล็ก, มาแต่กระยาหงัน และ ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย

29. Le Petit Nicola : หนูน้อยนิโคลา

30. Le Petit Prince : เจ้าชายน้อย

31. Mary Poppins : แมรี่ ป๊อปปินส์

32. Les Misrables : เหยื่ออธรรม

33. My Sweet Orange Tree : ต้นส้มแสนรัก

34. The Neverending Story : จินตนาการไม่รู้จบ

35. Peter Pan : ปีเตอร์ แพน

36. Pinocchio : ตุ๊กตาเนรมิต

37. Pippi Long Stocking : ปิ๊ปปี้ ถุงเท้ายาว

38. Platero and I : แพลทเทอโร และ ฉันกับลา ปลาเตอโร่

39. The Railway Children : รอพ่อยามยาก

40. Robinson Crusoe : โรบินสัน ครูโซ

41. The Secret Garden : ในสวนศรี

42. The Tale of Peter Rabbit : กระต่ายน้อยปีเตอร์

43. Tarzan : ทาร์ซาน

44. The Thousand and One Nights : อาหรับราตรี

45. The Three Musketeers : ทแกล้วทหารสามเกลอ

46. Uncle Arthur's Bedtime Stories : ชั่วโมงของเด็ก และ เรื่องเล่าของลุงอาร์เธอร์

47. Watership Down : ทุ่งวอเตอร์ชิพ

48. The Wind in the Willow : สายลมในดงหลิว

49. Winnie-the-Pooh : วินนี่ เดอะพูห์ และ หมีปุ๊กลุกผจญภัย

50. The Wonderful Wizard of Oz : พ่อมดแห่งเมืองมรกต และ พ่อมดมหัศจรรย์แห่งอ๊อซ






ข้อมูลจาก : ฝ่ายงานสื่อสารสังคม (สกว.)





*********************



หนังสือทุกเล่มใน 50 รายชื่อนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วทุกเล่ม

บางเล่มก็อาจหายากหน่อยเพราะพิมพ์นานแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังหาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป





***50 เล่มนี้ไม่ได้ถูกคัดเลือกโดย สกว. ค่ะ ที่เป็นการคัดเลือกของ สกว. จริงๆคือ หนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน (http://www.eppo.go.th/tank/100-kids.html) ส่วน 50 เล่มนี้เป็นบทวิเคราะห์ของหน้าบันเทิงเซคชั่น TASTE หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ 360 องศา ที่กล่าวอ้างว่าควรอ่าน (โดยบอกไว้ตอนต้นว่า บรรณาธิการแต่ละสำนักการันตีว่าดีจริงๆ ตอนท้ายของข่าว พอยก 50 วรรณกรรมต่างประเทศมา ก็กล่าวถึงหนังสือดี 100 เล่ม ที่ สกว. เคยทำเป็นสารานุกรมไว้เมื่อประมาณปี 2544 ก่อน ทำให้เข้าใจได้ว่า 50 เรื่องนี้ ต่อเนื่องกันมา จริงๆแล้วไม่ใช่

ขอบคุณข้อมูลจากเครือข่ายผู้ปกครองค่ะ


หนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)



หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน เด็กและเยาวชนไทยยังอ่านหนังสือน้อยกว่าเด็ก และเยาวชนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ค่อนข้างมาก (สถิติยูเนสโก้ คนไทย 1,000 คน ใช้กระดาษพิมพ์และเขียน 13.1 เมตริกตัน เมื่อเทียบกับคนฮ่องกง, สิงคโปร์ ที่ใช้กระดาษ 1,000 คนต่อ 98 เมตริกตัน) ส่วนหนึ่งอาจเพราะคนไทยจนกว่า แต่ส่วนหนึ่งเพราะคนไทยยังมีนิสัยรักการอ่านน้อยกว่า

โครงการคัดเลือกหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจากโครงการวิจัยคัดเลือกหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายการกระตุ้นให้เด็ก และเยาวชนไทยรักการอ่านหนังสือมากขึ้น และมีคู่มือในการอ่านหนังสือดี การรักการอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองที่สำคัญ ผู้ที่สนใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาน่าจะถือว่า การส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น เป็นกิจกรรมส่วนสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา การรักการอ่านนี้ จะมีผลถึงการปฏิรูปทางความคิด ความอ่านที่จะมีผลต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจสังคมได้ต่อไป

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก

เป็นหนังสือเล่ม ประเภทบันเทิงคดี (นิทาน นิยาย เรื่องสั้น บทกวี) ที่เขียนขึ้นเอง โดยไม่จำกัดยุคสมัย
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเนื้อหาสาระที่ส่งเสริมความเข้าใจชีวิตและสังคม เสริมสร้างภูมิปัญญา จินตนาการ และค่านิยมที่ดี มีศิลปะในการเขียนที่ดี มีความงาม ความไพเราะ ความสะเทือนอารมณ์ อ่านได้สนุกเพลิดเพลิน
มีเนื้อหา ท่วงทำนอง ภาพประกอบที่สามารถสนองความสนใจของนักอ่านกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะ สมกับวัย กระตุ้นจินตนาการและการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและโลกที่ผู้อ่านรู้สึกเชื่อม โยงด้วย
เป็นการวางพื้นฐานในการอ่านวรรณคดีที่เป็นแบบฉบับ (คลาสสิก) ของไทย หรือช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตและสังคมวัฒนธรรมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้น

ประกาศวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยเรียงลำดับตามกลุ่มวัย, ประเภทหนังสือ และลำดับตัวอักษรของชื่อหนังสือในแต่ละกลุ่ม

1.) กลุ่มเด็กวัย 3-6 ปี

กระต่ายน้อยกับหินวิเศษ - สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์
ขอแม่ให้ลูกนก - บุญสม เอรวารพ
ดอกสร้อยสุภาษิตประกอบภาพ - กรมศิลปากร
ต้นไม้ในสวน - ชีวัน วิสาสะ
ปลาบู่ทอง - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ผีเสื้อกับผึ้งน้อย - อำนาจ เย็นสบาย
ฟ้าจ๋าอย่าร้อง - ส.พุ่มสุวรรณ
ยายกะตา - บุญสม เอรวารพ
รถไม้ของขวัญ - อิทธิพล วาทะวัฒนะ
เสือโค - หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, รัตนา อัตถากร
สำนึกของปลาทอง - วิรุณ ตั้งเจริญ
หนูมากับหนูมี - สมใจ ทิพย์ชัยเมธา
หนูอ้อกวาดบ้าน - อุไร ฟ้าคุ้ม
เอื้องแซะสีทอง นิยายการ์ตูนชาวเขา - วิชา พรหมจันทน์
อำเภออึกทึก - ดำรงศักดิ์ บุญสู่

2.) กลุ่มเด็กวัย 7-12 ปี (แบ่งตามประเภท เป็นนิทานภาพ กับนิยายเรื่อง)

2.1 กลุ่มนิทานภาพ

16. การ์ตูนประวัติบุคคลสำคัญ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ - พรชมภู ราชทา, รุ่งโรจน์ แสงพันธุ์
ข้าวเขียวผู้เสียสละ - วิริยะ สิริสิงห
เด็กชายผู้ไม่ยอมเปิดหน้าต่าง - กานติ ณ ศรัทธา
ต้นไม้ - จารุพงษ์ จันทรเพชร
ตาอินกับตานา - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
นโมแห่งบ้านไม้ - อรุณ วัชระสวัสดิ์
นางในวรรณคดี - มาลัย
นิทานชาวเขา - สมศักดิ์ ศรีมาโนชน์, สุนทร สุนันท์ชัย
นิยายภาพ 4 เรื่อง 4 รส - เตรียม ชาชุมพร
นิทานภาพพุทธรักษา - ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และคณะ
เปลือกหอยกับความสุข - มานิต ประภาษานนท์, สุธีรา สาธิตภัทร
ผึ้งน้อยในสวน - สิรินทร์ ช่วงโชติ
พระเวสสันดร - ปัณยา ไชยะคำ
ไม่อยากเป็นควาย - สายสุรีย์ จุติกุล, แสงอรุณ รัตกสิกร
"เรณู-ปัญญา" เที่ยวรถไฟ - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ลูกหงส์กตัญญู - พรจันทร์ จันทวิมล
เล่นกลางแจ้ง - ปรีดา ปัญญาจันทร์
สิงหโตเจ้าปัญญา - ถวัลย์ มาศจรัส
สุดสาคร และวีรชนในประวัติศาสตร์ไทย - ประยุต เงากระจ่าง
โสนน้อยเรือนงาม - มล.มณีรัตน์ บุนนาค
หนังสือชุดภาพประกอบคำบรรยาย และหนังสือชุดภาพและการ์ตูน - เหม เวชกร
หนังสือชุดภาพและการ์ตูน - สมควร สกุลทอง และประเทือง มุทิตาเจริญ
หนังสือภาพชุด ภาพวิจิตรวรรณคดี - นายตำรา ณ เมืองใต้
หนังสือภาพประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ - กาญจนาคพันธุ์

2.2) กลุ่มนิทาน/นิยายเรื่อง

เขาชื่อเดช - กาญจนา นาคนันท์
ครูไหวใจร้าย - ผกาวดี
เชียงเหมี้ยง - คำหมาน คนไค
นกกางเขน - หลวงกีรติวิทย์โอฬาร และอร่าม สิทธิสารีบุตร
นิทานคติธรรม - แปลก สนธิรักษ์
นิทานชาดก ระดับประถม ฉบับกรมวิชาการ
นิทานไทย-พระยาอุปกิตศิลปสาร และหลวงศรีอมรญาณ
นิทานพื้นบ้าน - เต็มสิริ บุญยสิงห์
นิทานร้อยบรรทัด-กรมวิชาการ
นิทานสุภาษิต - สามัคยาจารย์สมาคม
นิทานอีสป - พระยาเมธาบดี
นิยายดาว - สิงโต ปุกหุต
พระพุทธเจ้าของฉัน - สันติสุข โสภณศิริ
พ่อแม่รังแกฉัน - พระยาอุปกิตศิลปสาร
เรื่องของม่าเหมี่ยว - สุมาลี
ลูกสัตว์ต่าง ๆ - ขุนสรรคเวทย์, นายกี่ กิรติวิทโยสาร ขุนศึกษากิจพิสัณห์
โลกของหนูแหวน - ศราวก
หนังสือชุดนิทาน - ส.พลายน้อย
หนังสือผจญภัยชุดค้นพบตนเอง (6 เล่ม) - นิคม รายยวา
หนังสือชุด เล่าเรื่องวรรณคดีไทย - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
อาณาจักรปลาทอง - ถนัดกิจ ปิณินทรีย์
อุดมเด็กดี - กีฬา พรรธนะแพทย์

3.) กลุ่มเด็กและเยาวชนวัย 13-18 ปี (แบ่งตามประเภทเป็น กวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, นวนิยาย)

3.1) กวีนิพนธ์

ก็พอใจอยากจะรักให้นักหนา - ศักดิ์สิริ มีสมสืบ
คำหยาด - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
นักฝันข้างถนน - วารี วายุ
ใบไม้ที่หายไป - จิระนันท์ พิตรปรีชา
ม้าก้านกล้วย - ไพวรินทร์ ขาวงาม
มีรังไว้รักอุ่น - ศุ บุญเลี้ยง

3.2) เรื่องสั้น

100 ปี เรื่องสั้นไทย - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
คือหญิงอย่างยิ่งนี้ รวมเรื่องสั้นบทกวีเกี่ยวกับผู้หญิง - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว - ท. เลียงพิบูลย์
รวมเรื่องสั้น - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
เรื่องสั้นคัดสรร - เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน - วินทร์ เลียววาริณ
เสาหินแห่งกาลเวลา รวมเรื่องสั้นศิลปินแห่งชาติ - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

3.3) นวนิยาย

ข้าวนอกนา - สีฟ้า
เขี้ยวเสือไฟ - มาลา คำจันทร์
คนข้ามฝัน - ประชาคม ลุนาชัย
คือรักและหวัง - วัฒน์ วรรลยาง...ร
คุณชาย - ว. วินิจฉัยกุล
คำอ้าย - ยงค์ ยโสธร
เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง - อาจินต์ ปัญจพรรค์
ชีวิตของฉันลูกกระทิง - บุญส่ง เลขะกุล
เชิงผาหิมพานต์ - สุชีพ ปุญญานุภาพ
ดอกไม้บนภูเขา - สองขา
เด็กชายจากดาวอื่น - วาวแพร
เด็กชายชาวเล - พนม นันทพฤกษ์
บึงหญ้าป่าใหญ่ - เทพศิริ สุขโสภา
บูโนคนกลิ่นหญ้า - ภาคภูมิ ศิริอาชาวัฒนา
ปูนปิดทอง - กฤษณา อโศกสิน
ผีเสื้อและดอกไม้ - นิพพาน
พระจันทร์สีน้ำเงิน - สุวรรณี สุคนธา
มหกรรมในท้องทุ่ง - อัศศิริ ธรรมโชติ
เมืองนิมิต - เรียมเอง
ไม้ดัด - โบตั๋น
เรือกับรั้ว - เทพศิริ สุขโสภา
เรื่องเล่าจากดาวดวงหนึ่ง - พิษณุ ศุภ
ลำเนาป่า - ศิเรมอร อุณหธูป
เวลาในขวดแก้ว - ประภัสสร เสวิกุล
องคุลิมาล - สมัคร บุราวาศ
อมตะ - วิมล ไทรนิ่มนวล

แหล่งข้อมูล : วิทยากร เชียง...ล และคณะ, สารานุกรมแนะนำหนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน. -- กรุงเทพฯ : สายธาร, 2544. 360 หน้า

ไม่มีความคิดเห็น: