วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือเทอมละ 40 เล่ม ลูกก็ทำได้ (4)

ทิศทางการศึกษาในปัจจุบันของหลายๆประเทศก็เน้น เรื่องการอ่าน เป็นอันดับแรกในการศึกษาหาความรู้ของประชาชน ถือเป็นกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพของประชาชนที่สำคัญ การปลูกฝังให้ประชาชน และเยาวชนของชาติรักการอ่าน จะทำให้ประชาชนของชาติ ไม่หยุดยั้งที่จะเรียนรู้แค่ในสถาบันการศึกษา แต่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนถึงวัยทำงาน และัวัยชรา และเป็นการฝึกการวิเคราะห์แยกแยะข่าวสาร ข้อมูลที่มีมากมายในโลกว่า ข้อมูลใดเชื่อถือได้ หรือ ไม่ได้ มีสติปัญญาว่าอะไร ดีหรือไม่อย่างไร

ในการศึกษาของสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก เ่ช่นในมหาวิทยาลัย ฮาร์เวิร์ด ที่สหรัฐอเมริกา ก็มีการเรียนการสอนที่เน้นการอ่านเอกสาร หนังสือ ตำรา จำนวนมากในแต่ละวิชา ดิฉันอ่านจากบทความหนึ่ง ผู้เขียนกล่าวว่า

แต่ ละวิชา เอกสารประกอบการสอนเยอะมากๆๆๆๆๆๆ ถึงมากที่สุด มากเกินว่าที่คนปกติจะอ่านได้หมด (ถ้าอ่านทุกบรรทัดนะ) และเอกสารก็ไม่ใช่power pointด้วย เป็นบทความจากวารสารวิชาการ หรือไม่ก็เป็นบทที่ตัดมาจากหนังสือ บวกกับหนังสือประกอบการเรียนที่ต้องเอามาอ่านอีักไม่รู้ตั้งเท่าไหร่


แต่พอเรียนๆไปถึงได้รู้ว่า จนประสงค์ของการเรียนที่นั่น คือใ้ห้นักศึกษาคิดอะไรขึ้นมาเองได้ ที่ให้เอกสารประกอบการเรียนไปเยอะๆ ก็เพราะให้เราเห็นสังเกต (ว่าข้อมูลไหนน่าสนใจ น่าจะเป็นประโยชน์) วิเคราะห์(ว่าอันไหนเชื่อถือได้มั่ง ข้อมูลไหนสำคัญ) สังเคราะห์(อ่านเรื่องเดียวกันจากหลายๆที่หลายๆคนเขียน ได้อะไรขึ้นมาใหม่ไหม)


ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ท่านได้กล่าวถึงศิษย์เก่าของฮาร์วาร์ด จอห์น เอฟ เคเนดี้ (John Fitzgerald. Kennedy) ว่า

ความ เป็นนักอ่านตัวยง นับเป็นส่วนสนับสนุนความสำเร็จในการเรียนที่ฮาร์วาร์ด นิสัยรักการอ่านของเขาเกิดจากในสมัยเด็กร่างกายอ่อนแอไม่สามารถไปไหนมาไหน ได้ การอ่านจึงเป็นเสมือนเพื่อนที่พาเขาเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ได้พบปะกับ แลกเปลี่ยนความคิดกับนักเขียนผ่านทางตัวหนังสือ

ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกใจว่า เมื่อเขาจบชั้นมัธยมศึกษา เขาได้รับการโหวตจากเพื่อนว่าเป็น"บุคคลที่จะประสบความสำเร็จที่สุด" และในเวลาต่อมาได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และจบด้วยคะแนนเกียรตินิยม
เขียนมาถึงตอนนี้ก็อยากให้เพื่อนๆพ่อแม่เห็น และเข้าใจว่า การเรียนในยุคของลูกๆของเรา ก็อาจจะไม่เหมือนกับยุคสมัยของเรา เพราะโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปมาก และรวดเร็ว เพียงช่วงข้ามคืน การฝึกทักษะการอ่าน และการปลูกฝังให้ลูกรักการอ่าน และรู้จักวิเคราะห์ แยกแยะ ข้อมูลจำนวนมาก เป็นเรือ่งที่สำคัญ ดังบทความตอนหนึ่งข้างบน ที่เล่า่ว่า การเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดนั้น ต้องอ่านเอกสารประกอบการเรียนแต่ละวิชา และหนังสืออีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สามารถแยกแยะข้อมูลได้ว่า ข้อมูลชิ้นใด เชื่อถือได้ ข้อมูลใดสำคัญ

ในหนังสือ 10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้าสร้างลูกรักการอ่าน มีตอนหนึ่งที่ ผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า

"การ อ่านเป็นการศึกษาที่เคารพลักษณะเฉพาะตนของบุคคล และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง อย่างแรกคือ นักเรียนแต่ละคนเลือกอ่านหนังสือต่างกันได้ หรือ แม้แต่จะเป็นหนังสือเล่มเดียวกัน ก็แสดงความคิดเห็นแตกต่างกันได้ จะมีสิ่งใดสนุกไปกว่าการเรียนแบบนี้อีกเล่า การศึกษาตามความถนัดเฉพาะตน การศึกษาตามความต้องการของแต่ละคน และการศึกษาตามระดับความสามารถนี่เอง ที่จะช่วยให้เด็กๆมีความสุขได้"
เรามามองชีวิตการทำงานของพวกเราในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ สภาพเศรษฐกิจโลกผันผวนอย่างหนัก อัตราเงินเฟ้อขึ้นสูงกว่ารายได้ของพวกเรามาก เงินทองที่หาได้ในปัจจุบัน แทบจะไม่พอใช้จ่าย การขับเคลื่อนทางธุรกิจก็ยากลำบาก ต้นทุนสูง การแข่งขันสูง หากเรามีเงินเก็บในธนาคาร อัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนก็ไม่ทันอัตราเงินเฟ้อด้วยซ้ำไป นี่เป็นตัวอย่างที่เราประสบในปัจจุบัน


การที่เราจะสามารถเพิ่มรายได้ให้ทันอัตราเงินเฟ้อนั้น ต้องวางแผนด้านการเงินอย่างเป็นระบบ ต้องมีการลงทุนอย่างระมัดระวัง เผือเพิ่มผลตอบแทนให้สูงกว่าดอกเบี้ย ดังนั้น ต้องศึกษาช่องทางการลงทุนให้ดีๆ ซึ่งมีความเสี่ยง หากพลาดก็เสียหาย สิ่งที่เราต้องทำในทุกวันคือ การติดตามข้อมูลข่าวสารจากหลายๆแหล่ง ติดตามสถานการณ์โลก แต่ละประเทศ ที่มีผลต่อสภาวะการลงทุนของเรา ติดตามอ่านบทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ การเงิน หุ้น รวมทั้งสถานการณ์บ้านเมือง แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ มาแยกแยะ วิเคราะห์ และนำไปสู่การตัดสินใจที่รอบคอบ

การจะทำเช่นนี้ได้ ก็ต้องมาจากการพัฒนาด้าน การอ่าน ขั้น Advance เท่านั้น หากอ่านไม่เก่ง วิเคราะห์ข้อมูลไม่เป็น ต่อให้เป็นวันนี้ จะอยู่แบบพอเพียง แค่ไหน หรืออยู่...งไกลจากประเทศอื่นๆที่มีปัญหาเพียงใด เราก็ได้รับผลกระทบอยู่ดี เพราะโลกเราเดี๋ยวนี้ มันกลายเป็น โลกาภิวํฒน์ไปแล้ว

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในซีกโลกนึง สามารถสื่อสาร รับรู้มาอีกซีกโลกหนึ่ง ด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาที
เล่ามาถึงตอนนี้ อยากสรุปคือ

อย่าได้ต่อต้านการอ่าน หรือ แบบฝึกหัดนี้เลยค่ะ เนื่องจากอย่างไรเสีย เราก็ต้องให้ลูกทำอยู่ดี ไม่ว่าเราและลูกจะชอบหรือไม่

และแบบฝึกหัดนี้ เป็นพื้นฐาน จุดเริ่มต้นในการฝึกทักษะชีวิตที่สำคัญของลูก ที่อาจจะทำให้ลูกมีสติปัญญา และสามารถฝ่ามรสุมชีวิตไปได้ ยิ่งเราเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ลูกก็จะลำบากน้อยลงเท่านั้น เพราะการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก และเด็กโตนั้น จะต่างกัน หนังสือของเด็กโต จะมีความยาก ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องของคำศัพท์ ภาษาการใช้ประโยค รวมทั้ง ความซับซ้อนของเนื้อเรื่อง ซึ่งหากเด็กไม่ได้ฝึกมาตั้งแต่เล็กๆ และปรับให้ยากขึ้นตามวัย ก็จะมีความยากลำบากในการอ่าน และไม่อยากทำในที่สุดค่ะ


อย่าได้ทำงานนี้แทนลูกๆเลยนะคะ เพราะมันทำให้ลูกเสียโอกาสพัฒนาของเขา แต่เราสามารถช่วยลูกได้หลายๆทางค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับฟัง และการให้กำลังใจลูก
 

ไม่มีความคิดเห็น: