วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือเทอมละ 40 เล่ม ลูกก็ทำได้ (ุ6)

ในหนังสือ 10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า สร้างลูกรักการอ่าน มีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ และพ่อแม่ใช้เป้นจุดเริ่มต้นในการจูงใจลูกได้ เช่น

- ทำบันทึกการอ่าน (ซึ่งจะมาลงรายละเอียดให้ค่ะ สำหรับเด็กๆที่ต้องทำแบบฝึกหัด บันทึกการอ่านเทอมละ 40 เล่ม จะได้ใช้เป็นแนวทางในการทำแบบฝึกหัดนี้)

- กำหนดเงื่่อนไขหนังสือที่ดี

- ให้ลูกร่ำรวยหนังสือ

- ไปร้านหนังสือกับลูก (เรื่องนี้เขียนไปแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา)

- พิจารณาหนังสือที่มียอดขายปกติ

- อย่าด่วนสรุปว่า "ลูกเรารักการอ่าน" (เรื่องนี้ก็เล่าไปแล้วเช่นกัน)

- อ่านหนังสือให้เห็นเป็นตัวอย่าง (เรื่องนี้ก็เล่าไปแล้วค่ะ)

- อ่านหนังสือให้ลูกฟังเื่พือ่สร้างสมาธิ (เรื่องนี้พ่อแม่ที่มีลูกเล็กหลายๆท่าน ก็ปฎิบัติกันอยู่ ขอชื่นชมค่ะ)

- รับฟังความทุกข์ในใจลูก

- กำหนดเวลาอ่านหนังสือของครอบครัว

- สร้างห้องสมุดภายในบ้าน

- จัดปาร์ตี้หนังสือ 
 
ในหลายๆเทคนิคที่กล่าวมา เป็นเทคนิคการเลือก และการฝึกเด็กเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านที่ดีค่ะ

ในหัวข้อเรื่องการกำหนดเงื่อนไขหนังสือที่ดีนั้น มีเทคนิคที่น่าสนใจ ในการเลือกหนังสือเหมือนกันค่ะ ไม่ใช่ว่า จะสามารถให้ลูกเลือกอ่านเองได้เต็มที่ โดยที่เราไม่ตรวจสอบ เพราะเดี๋ยวนี้หนังสือในท้องตลาดมีมากมาย ที่ไม่มีคุณภาพ ผู้เขียน เป็นเพียง ผู้ที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง แต่ไม่ได้เป็นผู้มีความรู้ หรือ มีการใช้ชีวิตที่ควรเป็นแบบอย่าง ดังนั้น เราควรมีวิธีการเลือกหนังสือของลูก ทางอ้อม เช่น

หาก ลูกเป็นเด็กที่อ่านมาก เราก็ต้องดูว่า มีหนังสือใดที่ลูกไม่ควรอ่านบ้างหรือไม่ หากไม่มี ก็ยอมใ้ห้ลูกมีสิทธิ์ในการเลือกหนังสือเองได้มากขึ้น

หากลูกเป็นเด็กไม่อ่านหนังสือ ก็เริ่มด้วยหนังสือภาพก่อน พอได้ลองอ่านเรื่องราวในภาพดู เด็กก็จะเกิดความสนใจในการอ่านหนังสือมากขึ้นเอง

เด็กที่่อ่านหนังสือแนวเดียว ก็อาจจะลองเลือกหนังสือแนวอื่นๆที่ดีและสนุกๆ ให้อ่านดู เช่นดิฉันในสมัยเด็กๆ ดิฉันชอบอ่านแต่ การ์ตูนขายหัวเราะ มีพี่ชาย แนะนำให้อ่าน พล นิกร กิมหงวน ซึ่งฮาขนาดหนัก ดิฉันอ่านไป เกือบครบทุกตอนเท่าที่จำได้ และเป็นจุดเริ่มต้นของการอ่านหนังสือนิยายเล่มโตๆ วันหยุดปิดเทอม และเสาร์อาทิตย์ เวลาว่างจากงานต่างๆ ก็หมดไปกับหนังสือนี่แหละค่ะ

เด็กที่อ่านทุกอย่าง ถ้าเป็นเด็ที่เกินชั้นประถมปีที่ ๕ ไปแล้ว เราก็อาจจะดูความสนใจของเด็กได้ ว่า เด็กสนใจในแนวใดเป็นพิเศษ ก็ค่อยๆพัฒนาให้อ่านเป็นแนวๆไป เช่น แนววิทยาศาสตร์ แนวประวัติศาสตร์ แนววรรณกรรม เป็นต้น


เด็กที่อ่านแบบลวกๆ อาจจะให้อ่านนิยายแนวสืบสวนดู หรือ ฝึกให้จิตใจสงบและมีสมาธิ ด้วยการฟังเพลงเบาๆ


เป็นต้น

เทคนิคการเลือกหนังสือที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง คือ การรับฟังความทุกข์ใจของลูกค่ะ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดิฉันเอง ก็ใช้ในการเลือกอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก ตอนเด็กๆดิฉันเป็นเด็กที่รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง เรื่องบุคลิกภาพ เรื่องความสัมพันธ์ รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ ในชั้นมัธยมต้น ดิฉันจึงเริ่มอ่านนหนังสือของ เดล คาร์เนกี้ เรื่อง วิธีชนะมิตรและจูงใจคน และเริ่มฝึกใช้เทคนิคเหล่านั้น แม้ว่าจะไม่ได้ทำทุกอย่าง แต่ก็ดูเหมือนว่า ความมั่นใจของตัวเองจะกลับมาก

และตอนมัธยม ดิฉันได้ฝึกเป็นนักพูดของโรงเรียน ดิฉันจึงหาหนังสือที่ดิฉันสามารถพัฒนาเรื่องทักษะการพูดได้ จำได้ว่าตอนนั้น ดิฉันได้ซื้อหนังสือเรื่อง การพูดในที่ชุมนุม เป็นคู่มือในการพัฒนาตัวเอง

หรือ แม้แต่ตอนที่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว หรือ ความเข้าใจตัวเอง ดิฉันเองก็ได้อ่านหนังสือหลายเล่มของ คุณหมด วิทยา นาควัชระ ดิฉันอ่านพ็อกเก็ตบุ๊คของอาจารย์เกือบทุกเล่มในสมัยนั้น ทำให้เข้าใจตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น และแก้ปัญหาชีวิตได้ดีขึ้นด้วย


การอ่านหนัังสือที่ช่วยคลายความกังวลใจ ความทุกข์ใจ จะทำให้เด็กมีความสนใจ และพยายามอ่านและทำความเข้าใจกับหนังสือ ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาความไม่สบายใจของตัวเองได้ด้วย

ในการอ่านหนังสือที่มากมาย และเล่มโตเหล่านั้น ดิฉันเองก็ไม่ได้เชื่อหรือลองทำทุกอย่าง เท่าที่เขียนในหนังสือนะคะ ลองทำในสิ่งที่ืทำได้ สิ่งที่ำทำไม่ได้ หรือใช้ไม่ได้ผลกับเรา ก็ตัดทิ้งไป ไม่มีปัญหาอะไร คิดเสียว่าเป็นการเพิ่มปัญญา และประสบการณ์ ที่ในบางเรื่องเราก็ไม่ได้ประสบกับตัวเอง เรือ่งการอ่านหนังสือจิตวิทยาจำนวนมากในวัยเด็ก ทำให้ดิฉันสามารถทำงานเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้ไม่ยาก แม้ว่าจะไม่ได้เรียนมาในสายจิตวืทยาโดยตรง แต่จำนวนหนังสือด้านจิตวิทยา ที่ดิฉันอ่านมาตั้งแต่เด็ก และศึกษาเองอย่างต่อเนื่องนี่ อาจจะเข้าขั้นปริญญาเอก ก็ว่าได้


การทำบันทึกการอ่าน

ดิฉันเองก็ไม่แน่ใจว่า ทางโรงเรียน มีกำหนดไว้หรือเปล่าว่า การทำบันทึกการอ่าน เทอมละ 40 เล่มนี้ คุณครูต้องการรายละเอียดประมาณไหน

แต่ในหนังสือ 10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า สร้างลูกรักการอ่าน นั้น มีกล่าวถึงวิธีการเอาไว้ค่ะ ว่า


วิธัทำบันทึกประวัติการอ่าน

- ให้ลูกเขียนชื่อหนังสือทั้งหมดที่เคยอ่านลงบนกระดาษ
- ให้เขียนชื่อตัวละครเอก ถัดจากชื่อเรื่องในแต่ละเรื่อง
- ให้เขียนเรื่องย่อของแต่ละเรื่อง สักย่อหน้าเล็กๆ ในลำดับถัดมา

ควรให้เด็กๆเขียนบันทึกประวัติการอ่านในวันว่างๆ สบายๆ และให้เขาทำเอง อย่าให้ใครไปดูเขาเขียน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ หรือ พี่น้อง เพราะอาจทำให้ไขว้เขวได้


ถ้าเป็นดิฉันเอง ดิฉันก็จะเพิ่มชื่อผู้แต่ง ไปด้วยค่ะ และอาจจะเขียนเกี่ยวกับความเห็นของตัวเองว่าประทับใจอะไร ชอบไม่ชอบอย่างไร หรือ อยากให้เป้นอย่างไร อันนี้เป็นการฝึกความคิดเชิงวิเคราะห์ไปด้วย

จะเห็นว่าการบันทึกการอ่านในแต่ละเรื่อง ก็ไม่ได้ต้องการข้อมูลละเอียดมากมาย และยิ่งหากลูกเลือกเรื่องที่เนื้อหาไม่ซับซ้อนในการเริ่มต้นอ่าน อาจจะเขียนไม่กี่ประโยคก็จบแล้ว

วิเคราะห์บันทึกการอ่าน
เมื่อเด็กๆเขียนบันทึกการอ่านแล้ว เราสามารถดูได้ค่ะ ว่าลูกมีความสนใจด้านใดเป็นพิเศษ อ่านหนังสือหลากหลายหรือเปล่า หรือ อ่านจับใจความได้ไม๊ จำรายละเอียดได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเรานำ้ข้อมูลมาวิเคราะห์ เราก็จะสามารถหาวิธีแ้ก้ไขจุดอ่อนในการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะการเรียนในระดับสูงต่อไป เช่น หากลูกจำเนื้อเรื่องไม่ได้ จำรายละเอียดสำคัญไม่ได้ ก็อาจจะต้องมาฝึกจุดนั้นเพิ่มเติม หรือ หากอ่านหนังสือไม่หลากหลาย ก็ชี้ชวนหนังสือสนุกๆ แนวอื่นๆให้ลูกอ่านด้วย เพื่อให้มีความรู้ และข้อมูลรอบด้านค่ะ

ข้อมูลทีี่ให้มานี้ อาจจะนำมาใช้ได้ทั้งเด็กเล็ก ผู้เริ่มต้นการอ่าน และเด็กโตนะคะ เป็นวิธีการที่ไม่ยาก และข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ ดิฉันก็คงจะไม่ลงรายละเอียดปลีกย่อย ที่มีอีกมากมาย หากเพื่อนๆมีปัญหาอื่นๆ ที่ติดขัดเรื่องการอ่าน อาจจะลองศึกษาเพิ่มเติมดูเอง โดยส่วนตัว ดิฉันชอบค่ะ หนังสือเล่มนี้ อ่านง่ายดี และวิธีการปฎิบัติก็เป็นไปได้ และยังมีส่วนที่โรงเรียนสามารถศึกษา และไปสร้างโครงการส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนได้ด้วยค่ะ

เมื่อเด็กเรียนในชั้นสูงขึ้นทักษะการอ่านของเด็กๆควรมีการพัฒนาก้าวหน้า ให้พร้อมที่จะอ่านหนังสือเรียนที่มีเนื้อหามากขึ้น สลับซับซ้อนมากขึ้น มีจำนวนหน้ามากขึ้น ปัญหาหนึ่งที่มีการพูดถึง ก็คือ ปัญหาการไม่เข้าใจคำศัพท์ ยิ่งเด็กๆที่ไม่ขอบอ่านหนังสือ จะมีข้อมูลเรื่องคำศัพท์ในสมองน้อยเกินไป ยิ่งทำให้การอ่านหนังสือ เป็นเรื่องยาก เพราะอ่านไม่เข้าใจ ดังนั้น จึงควรฝึกฝนเด็กๆ เรื่องการเปิดพจนานุกรม การท่องคำศัพท์ รวมทั้งการ การ"เดา" ความหมายของคำศัพท์ในประโยคนั้นๆ ซึ่งจะทำให้การอ่านของเด็กๆเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่สะดุด

หากเด็กๆอ่านไม่เข้าใจ ต้องหยุดชะงักมาเปิดคำศัพท์บ่อยๆ การอ่านก็จะช้าและไม่ราบรื่น ดิฉันจำได้ ถึงเทคนิคการอ่านนี้ได้ในวัยเด็ก เราจะอ่านเร็วๆ รอบนึงก่อน และระหว่างนั้นก็กวาดสายตา หาคำแปลกๆ คำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย แล้วขีดเส้นไว้ เพื่อจะกลับเปิดหาคำศัพท์ทีละคำ เมื่อหาคำศัพท์ครบแล้ว ก็อ่านรอบสอง เพื่อจับใจความ และประเด็นที่อ่าน จากนั้นจึงมาตอบคำถามในประเด็นที่สำคัญ

ในบางครั้งแม้เป็นคำที่ไม่คุ้นเคย แต่รูปแบบของประโยค และเนื้อหาที่ผ่านมา ทำให้สามารถเดาความหมายของประโยคได้ไม่ยากค่ะ ต้องลองฝึกเด็กๆใ้ห้ใช้สัญชาตญาณดู

ในระดับเด็กที่โตขึ้นนั้น

เมื่อมีการปรับเรื่องความเข้าใจเนื้อเรื่อง และอ่านจับใจความสำคัญได้แล้ว สิ่งที่เราอาจจะช่วยแนะนำลูก ก็คือ เทคนิคการอ่านเร็ว ซึ่งอยากแนะำนำให้ลองหาหนังสือเรื่อง "ใช้หัวอ่านเร็ว"

ในหนังสือเล่มนี้“หมอประเวศ วะสี” กล่าวไว้ในหนังสือ “ใช้หัวอ่านเร็ว” เขียนโดย “โทนี บูซาน” แปลโดย “พัลลภา อิงบุญมีสกุล” และ “ธัญญา ผลอนันต์”

มนุษย์ มีศักยภาพในการเรียนรู้ที่สูงมาก สามารถให้เรียนรู้ให้บรรลุอะไรก็ได้ รวมทั้งบรรลุความสุขและอิสรภาพ การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดของมนุษย์ ทุกคนควรแสวงหาที่ดีที่สุด และช่วยให้เพื่อนมนุษย์พบการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

ซึ่งจะว่าไปแล้ว การใช้ “หัวอ่านเร็ว” มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์ไม่น้อย

Read more: ใช้หัวอ่านเร็ว | บล็อกความรู้ | WiseKnow | Knowledge Blog
ซึ่งอยากแนะนำว่า เมื่อลูกๆโตขึ้น เข้าสู่ระัดับมัธยม หนังสือเล่มนี้ และอีกหลายๆเล่ม ของสนพ.ขวัญข้าว เช่น เรียนเก่งเรื่องกล้วยๆ คัมภร์ Mind Map เป็นต้น เป็นหนังสือที่ควรให้ลูกๆอ่านค่ะ ถึงเวลานั้น ลูกก็โตพอ ที่จะศึกษาเทคนิคใหม่ๆ How to ที่จะมาปรับปรุงทักษะด้านการเรียนของตัวเอง ตามศักยภาพที่ลูกมีอยู่ เราแค่เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นพบ และศึกษาวิธีการดีๆ แล้วให้ลูกพิจารณา นำไปฝึกฝนดูเอง

ในการเรียนของเด็กโต เมื่อฝึกทักษะพื้นฐานได้แล้ว เข้าใจประโยค อ่านประโยค และจับใจความได้แล้ว ต่อไป ครูก็จะสอนเรื่องรูปแบบของเรียงความ ซึ่งจะมีประโยคหลัก หรือข้อมูลหลักอยู่ต้นย่อหน้า และเรื่องราวต่อไปในย่อหน้า จะเป็น Supporting idea เพืื่อสนับสนุนประโยคหลัก

เมื่อเด็กๆเข้าใจโครงสร้างของย่อหน้า และ โครงสร้างของบท ก็จะฝึกเรื่องการอ่านเร็วได้ไม่ยาก บางประโยคที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่สำคัญก็ข้ามได้ รายละเอียดที่สำคัญ เป็นข้อมูลอธิบาย ก็จะอ่านละเอียด ก็จะทำให้อ่านเร็วได้มากขึ้นค่ะ

เทคนิคพวกนี้ เดี๋ยวนี้มีหนังสือออกมามากค่ะ เกี่ยวกับเทคนิคโน่นนี่ การจำ การอ่าน การบันทึกข้อมูลช่วยจำ เป็นต้น ต้องอ่านหลายๆเล่ม แล้วลองทำดู หากอ่านดูแล้วอันไหนดู "Work" ก็อาจะลองสมัครเรียนดูก็ได้ จะได้ ฝึกปฎิบัติ


ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ ถึงเวลานั้น ก็ตัวใครตัวมัน อยู่ที่การฝึกฝนของเด็กแต่ละคนเท่านั้น แต่อยากสรุปว่า พอลูกๆโตขึ้น ชั้นมัธยมต้น เราต้องเสริมพวกเทคนิคให้ลูกอ่านและฝึกนำไปใช้ จะช่วยให้เรียนได้ง่ายขึ้น จดจำได้ดีขึ้น และทำงานได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพค่ะ












ไม่มีความคิดเห็น: