วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จ่ายไหวไม๊ เรียนโรงเรียนไทย หรือ อินเตอร์ดีหนอ (2)

หากอ่านเรื่องราว ตัวเลขค่าใช้จ่ายข้างต้น ในฐานะลูกจ้าง มนุษย์เงินเดือนคงมึนไปเหมือนกัน แต่หากวางแผนทางการเงินดีๆ ก็มีเทคนิคหลายๆทางที่พอจะผ่อนหนักเป็นเบาได้

การเรียนในระบบปริญญาตรี และโทนั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่หนักมาก ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทย แต่ในตปท.เอง ก็ถือว่าเป็นภาระที่หนักเช่นกัน ดังนั้น พ่อแม่จึงมักจะให้ลูกช่วยเหลิอตัวเอง เก็บเงินเรียนค่อเอง และเรียนไปทำงานไป

เช่น เคท มิดเดิลตัน ที่กำลังจะกลายเป็นเจ้าหญิงในวันนี้ เธอเคยทำงานที่ประเทศ อาฟริกาใต้ ตอนเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ๑ ปี เพื่อฝึกงาน แล้วจึงเดินทางกลับมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่บ้านเกิด จนพบรักกับเจ้าชายวิลเลี่ยม ว่าที่พระสวามีในเช้าวันนี้

ทอ มลินสัน ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของบริษัทเรือเช่าดังกล่าว เล่าถึงวันที่ เคต ไปทำงานเป็น “เบ๊” ที่นั่น ก่อนจะกลับอังกฤษเพื่อเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย เซนต์ แอนดรูส์ ในเดือนกันยายน ปี 2001

“ประมาณหกโมงครึ่งถึงเจ็ดโมงเช้า เราต้องตื่นมาขัดถูเรือให้พร้อมสำหรับใช้งาน มันเป็นงานสกปรก และใช้แรงมากพอควร” ทอมลินสัน เล่า และเสริมว่า ค่าตอบแทนก็ต่ำต้อยไปตามประเภทงานด้วย

“เป็นคุณหนูหรือเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ เคต ไม่กลัวงานหนักเลย”

“เธอชินกับการทำงานสกปรก เช่น ขัดท่าเรือหรือใต้ท้องเรือ พอเลิกงานก็มักจะมาดื่มกับพวกเรานิดหน่อยเสมอ”

ลูกเรือทุกคนต้องทำงานวันละ 10 ชั่วโมง แลกกับค่าตอบแทน 40 ปอนด์ (1,900 บาท) บนเรือยอตช์ 26 ลำ ที่ให้เช่าสำหรับจัดงานเลี้ยงต้อนรับนอกชายฝั่งตอนใต้ของอังกฤษ ซึ่งหน้าที่ของ เคต ก็คือ เตรียมเรือให้พร้อม และคอยต้อนรับแขกบนเรือ

ทั้งนี้ ตามความนิยมของนักเรียนในอังกฤษ และโลกตะวันตกในปัจจุบัน หลังจบการศึกษาระดับมัธยมปลายแล้ว จะยังไม่เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในทันที แต่จะออกมาทำงานและท่องเที่ยวสัก 1 ปีก่อน สำหรับ เคต นอกจากใช้เวลา 1 ปีดังกล่าวที่แอฟริกาใต้แล้ว เธอยังไปพำนักที่เมืองฟลอเรนซ์ ในอิตาลี และที่ประเทศชิลีด้วย
พ่อแม่ในตปท.ส่วนมาก จะให้ลูกๆทำงานไปเรียนไป เมื่อเรียนชั้นปริญญาตรีและโท ซึ่งดิฉันมีเพื่อนๆหลายคน ที่ไปทำงานร้านค้าต่างๆ หรือบริษัทต่างๆในตำแหน่งที่ไม่สำคัญ และมาเรียนในตอนกลางคืน หรือ ทำงานในวันที่ไม่มีเรียน เืพื่อหาเงินส่งเสียตัวเอง และหลายๆคนก็ขอทุนจากมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงาน ที่ทำงานอยู่ไปด้วย เพื่อช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา

หากพ่อแม่ปูพื้นฐานให้ลูกเป็นคนเก่ง มีความสามารถตั้งแต่ระดับเล็กๆ การเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หรือโท ด้วยการช่วยเหลิอตัวเองไปด้วย ไม่ใช่เรื่องยากเลย และเป็นการฝึกฝนที่ดียิ่ง ที่จะเป็นพื้นฐานให้เด็กประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการทำงาน ยิ่งเรียนไปทำงานไป จะสามารถประยุกต์เอาวิชาความรู้ไปเชื่อมโยงกับการงานได้ และเอาเคสที่เจอ มาหารือกับอจ. จะยิ่งเก่งทั้งการงาน และการเรียนก็ได้คะแนนสูงค่ะ เพราะอจ.ชอบให้แสดงความเห็นในห้อง
 
ญหาหลักๆ น่าจะเป็นเรื่องการเรียนในวัยประถม ถึงมัธยม ที่พ่อแม่คงต้องหาทางรับผิดชอบเอง และส่งเสริมทักษะลูกๆให้รอบด้าน เมือเรียนในระดับปริญญาตรี หากต้องช่วยตัวเอง หางานไป เรียนไป จะได้ไม่ลำบากจนเกินไป เพราะผ่านการฝึกฝนมาแล้ว

ดิฉันมานั่งคิดถึงค่าใช้จ่ายที่คุณธีระประมาณการไว้ ก็อาจจะใกล้เคียง แต่หากพ่อแม่ให้เรียนพิเศษสารพัด เสริมทักษะด้านดนตรี กีฬา ก็อาจจะหนักกว่านี้ หากพ่อแม่ส่งเสริมลูกด้วยตัวเองบ้าง ก็อาจจะพอประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

ตัวอย่างนึงในหนังสือนี้ คือ พ่อท่านนึง ส่งเสริมลูกให้เป็นโปรกอล์ฟ ตั้งแต่ลูกอายุ ๙ ปี เพราะลูกชอบ ท่านเล่าว่า ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมลูกๆ ให้เป็นโปรกอล์ฟนี่ ปีละ ประมาณ ๒ แสนบาท

ตอนนี้ลูกชายท่าน เข้าสู่มืออาชีพ ระดับนานาชาติ เสียค่าใช้จ่ายไปกว่า ๒๐ ล้านบาทแล้ว ขายที่ ขายทรัพย์สินไปเกือบหมดแล้ว แต่ก็คาดหวังที่เงินรางวัลระดับนานาชาติ ได้ครั้งหนึ่งก็เป็นล้านบาท และหากดังก็มีสปอนเซอร์ใหญ่ๆ มาออกค่าใช้จ่ายในการซ้อม การเดินทางที่พักต่างๆด้วย
รืออีกตัวอย่างนึง ในการส่งเสริมลูกๆด้านดนตรี หากส่งเสริมจริงจัง และลูกมีความชอบ แม้จะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมหนักพอสมควรในการเริ่มต้น แต่เมือลูกเก่ง และมีความสามารถ ก็อาจจะได้ทุนเรียนในโรงเรียนดีๆ และ มีงานพิเศษทำ มี่รายไ้ด้ประจำ ตั้งแต่เรียนมัธยมก็เป็นได้

เหมือนน้องคนนึงที่เล่าในหนังสือเล่มนี้ ได้ทุนเรียนในโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ซึ่งค่าใช้จ่าย ๔ แสนบาทต่อปี เพราะเป็นนักดนตรีประจำโรงเรียน และได้รับงานเล่นคอนเสิร์ตร่วมกับซิมโฟนี เยาวชน มีรายได้เดือนละหมื่นกว่าบาท ในชั้นมัธยม ก็ไม่เลวเลย
 
 

ไม่มีความคิดเห็น: