วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือเทอมละ 40 เล่ม ลูกก็ทำได้ (1)



หลายวันก่อน อ่านกระทู้นึงในเวบบอร์ด โมมี่พีเดีย เรื่องก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนดัง ควรรู้ควรเตรียมอะไรบ้าง  อ่านแล้วเข้าใจว่า คงเป็นโรงเรียนในแนวแคธอลิค และคริสเตียน  เพราะการเรียนเข้มข้นมาก และเป็นที่หมายปองของพ่อแม่หลายๆท่าน และข้อมูลที่บรรยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเงินสนับสนุนโรงเรียนก็ดูเหมือนจะพอเดาได้

มีข้อมูลหนึ่งที่คุณแม่เจ้าของกระทู้ ได้เล่าถึงชีวิตการเรียนของเด็กๆ  หลังจากเข้าเรียนที่นั่น คือ การบ้าน "มีการบันทึกการอ่านเทอมละ 40 เล่ม ลูกจะต้องตอบว่าได้อะไรจากการอ่านและได้รับประโยชน์อย่างไร" แม้เป็นสิ่งนึงที่ไม่คาดคิด  แต่ก็ไม่แปลกใจค่ะ  และออกจะชื่นชมว่า เป็นเรื่องที่ดีมาก ที่โรงเรียนมุ่งพัฒนาเด็ก และฝึกให้ได้มาตรฐานการเรียนในต่างประเทศ

การอ่านนี้ เป็นทักษะที่ทุกโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในต่างประเทศ หรือ โรงเรียนในประเทศไทย เน้นพ่อแม่ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ ให้อ่านหนังสือให้ลูกฟัง  เพื่อหวังการพัฒนาเรื่องการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน เปิดโลกทัศน์ของเด็กให้เรียนรู้โลกด้วยหนังสือต่างๆ  และ พัฒนาทักษะด้านการฟัง  เรื่องจินตนการ  และพัฒนาด้านอารมณ์  เป็นต้น   ถือว่าเป็นทักษะที่สามารถส่งผลต่อการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ และปลูกฝังนิสัยที่ดีให้เด็กๆ


แต่การอ่านหนังสือเทอมละ 40 เล่ม อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องยาก  และดูเหมือนกันบังคับเด็กมากเกินไป  คุณแม่เจ้าของกระทู้ จึงรู้สึกอีดอัดใจ เหมือนกับโรงเรียนยัดเยียด จนเด็กๆไม่มีเวลา ไปทำอย่างอื่น เพราะการบ้านมากเกินไป   ดิฉันมานั่งคิดวิเคราะห์ ถึงปัญหาของการเรียนในเมืองไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองนั้น เด็กๆส่วนมาก เรียนสัปดาห์ละ ๖ วัน ๆละ กว่า 10 ชม.  ซึ่ง 20% ในนี้ คือการติว กวดวิชา และเีรียนพิเศษ    ในขณะที่ต่างประเทศนั้น แม้จะใช้หลักสูตร คล้ายๆกับเมืองไทย  แต่เด็กที่นั่น เลิกเรียนเร็ว  บ้านใกล้โรงเรียน เด็กเลิกเรียนตั้งแต่บ่ายสอง  เสาร์อาทิตย์ก็ไม่ค่อยไปเรียนพิเศษ  เด็กๆมีเวลามากมายในการทำการบ้าน อ่านหนังสือ ค้นคว้าตามที่ครูมอบหมาย  และมีเวลาทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากที่บ้าน  (เพราะในต่างประเทศหาคนทำงานบ้านยาก เด็กๆต้องช่วยพ่อแม่ดูแลงานบ้านด้วย) 


เด็กในต่างประเทศนั้น แม้ในตอนเรียนอาจจะมีผลการเรียนไม่ได้เป็นเลิศ   แต่เมื่อออกมาทำงาน มีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่า เพราะมีทักษะที่หลากหลายจากการฝึกฝนให้รับผิดชอบตั้งแต่เล็กๆ  หนำซ้ำหลายๆคน ยังทำงาน Part-time ช่วงปิดเทอม หรือวันหยุด เพื่อหารายได้เสริม ในการเรียนหรือ ใช้จ่ายส่วนตัว   ดิฉันมีเพื่อนท่านหนึ่ง ทำงานบริษัทที่ปรึกษาข้ามชาติ เป็นคนอังกฤษ  ซึ่งจากประวัติของท่าน ท่านไม่ได้จบปริญญาด้วยซ้ำ  แต่ท่านเรียนในสถาบันอาชีพ ที่ฝึกเด็กให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ทำงานด้านภาษีศุลากร  แต่ท่านมีความสามารถมาก จนสามารถก้าวขึ้นในตำแหน่งผู้บริหารได้ ทั้งๆที่อายุน้อย เพราะในโลกของการทำงานนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าใบประกาศ ใบปริญญา คือ ความสามารถในการรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย และสร้างผลกำไรให้ธุรกิจได้




ในขณะที่การศึกษาในประเทศไทยนั้น ประเทศของเรา มีกระแสของการแข่งขันสูงมาก พ่อแม่และเด็กๆ หัวปั่น กับการสอบจัดอันดับ การสอบแข่งขันสารพัดสนาม รวมทั้งการแข่งขันสอบเข้ามหาิวิทยาลัย  ทั้งๆที่ ผลการสำรวจ และความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ก็ไม่ได้ พึงพอใจ กับศักยภาพและคุณภาพของเด็กๆ ที่เรียนจบออกมา   หนำซ้ำ มีการกล่าวกันว่า คุณภาพแย่ลงเรื่อยๆ แทบจะเข้าขั้นวิกฤต  ในสภาพการแข่งขันของโลก และปัญหาเศรษฐกิจที่โหมกระหน่ำ หากเหตุการณ์ยังดำรงสภาพเช่นนี้ ต่อไป เ็ด็กๆคงหางานได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ   การเปลี่ยนแปลงวิธีการพัฒนาเด็ก จึงมีความจำเป็น


โดยส่วนตัว ดิฉันจึงเห็นด้วยกับการผลักดันของทางโรงเรียน เรื่องการมอบหมายให้เด็กๆ อ่านหนังสือมากๆเทอมละ ไม่น้อยกว่า 40 เล่ม รวมทั้งการค้นคว้าต่างๆ การทำงานจิตอาสา เดือนละครั้ง ซึ่งข้อกำหนดต่างๆเหล่านี้   เป็นมาตรฐานที่ทัดเทียมกับหลักสูตรนานาชาติ  พ่อแม่และเด็กๆ ต่อไปอาจะะต้องปรับเวลา และจัดตารางเวลาใหม่  และคิดดีๆ ว่า จะผลักดันลูกไปในทิศทางใด ให้ลูกออกมามีคุณภาพเช่นใด

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาส ไปเดินดูหนังสือต่างๆ ที่มีในท้องตลาด  ก็เห็นหนังสือเล่มที่แปะรูปให้ดูกันค่ะ ลองเปิดอ่านแล้วก็น่าสนใจมากค่ะ  เทคนิคก็ไม่ยาก   "10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า สร้่างลูกรักการอ่าน"   อยากแบ่งปันให้ฟังค่ะ   เผื่อเพื่อนที่ตกอยู่สภาพนี้ จะได้ไม่ตกใจ

อ่านหนังสือเทอมละ 40 เล่ม ลูกก็ทำได้ค่ะ








ไม่มีความคิดเห็น: