วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคเด็ดติวเข้มก่อนสอบ

เดือน หน้าน้องฮักจะมีสอบเก็บคะแนนทั้งสัปดาห์เลยค่ะ น้องฮักเรียนอยู่ ป.2 แล้วค่ะ ก็ต้องมีเตรียมตัวอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบบ้างเป็นธรรมดา แต่คุณแม่อยากได้เทคนิคการติวเข้มให้ลูกว่าควรเริ่มอย่างไร ช่วงเวลาไหนเหมาะที่สุด ทบทวนครั้งละกี่ชั่วโมง หรือจะมีเทคนิคอื่นๆ อีกไหมคะ



คุณแม่น้องฮัก / นนทบุรี



จาก คำถามข้างต้นรู้สึกได้ว่าคุณแม่มีเวลาเอาใจใส่การเรียนของลูกและพร้อมที่จะ ช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ คราวนี้เรามาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรกันต่อดีกว่าค่ะ



คุณ แม่คงเห็นด้วยนะคะว่าความสำเร็จในการเรียนระยะยาวนั้น ลูกต้องมีความสุขกับการเรียน รู้สึกว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ และหากเขาได้ประสบความสำเร็จไปทีละขั้นตอน เขาจะมีแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อไปอย่างไม่รู้จบ

ดัง นั้น มาเปลี่ยน ‘ติวเข้มแบบเดิมๆ’ สู่การติวเข้มแบบใหม่ไฉไลกว่าเดิมกันดีกว่าค่ะ หากเราเอาใจใส่กับการเรียนของลูกบนทัศนคติและท่าทีที่ดี ผลที่ตามมาคือแม่ลูกจะเบิกบานและสนุกไปด้วยกันกับการเรียนของลูก แทนที่จะเป็นการติวเข้มแบบเชิงลบ ที่ลูกจะรับรู้ถึงความเข้มงวดกวดขันที่อาจส่งผลให้ลูกเบื่อหน่าย เป็นไม้เบื่อไม้เมากับคุณแม่ แล้วก็ไม่ได้รับประกันว่าการเรียนจะดีขึ้นในระยะยาว แม้บางครอบครัวอาจได้ลูกที่เรียนเก่ง แต่ผลข้างเคียงคือความกังวลกับการสอบและผลสอบ ควบคู่กับบรรยากาศในบ้านที่เคร่งเครียดค่ะ



แนว ทางที่คุยกันต่อไปนี้จะส่งผลระยะยาวต่อการรับผิดชอบและการสร้างแรงจูงใจใน การเรียนรู้ด้วยตนเองของลูก โดยมีคุณแม่อยู่เคียงข้างความสำเร็จและเป็นผู้ส่งเสริมให้เขามีแนวทางการ จัดการกับการเรียนด้วยตนเองค่ะ



1. แสดงความใส่ใจและสนุกไปกับสิ่งที่ลูกเรียนรู้มา ความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่ลูกเรียนจะทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นอยากบอกเล่าให้ เราฟัง คุณแม่ก็มีหน้าที่ต่อยอดจากสิ่งที่ลูกเรียนในห้องเรียนสู่โลกและสังคมรอบตัว ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น พาไปดูของจริง ช่วยกันค้นคว้าเพิ่มเติม ลองเอาความรู้มาทดลองใช้ เป็นต้น ลูกจะรู้สึกว่าการเรียนของเขาสร้างสัมพันธภาพที่ดี มีเรื่องคุยมีเรื่องทำร่วมกันกับคุณแม่ค่ะ



2. กำหนด ‘เวลาเรียนรู้ด้วยตนเอง’ กำหนดเวลาและสถานที่ที่แน่นอนทุกวัน สำหรับการทำการบ้าน และทบทวนบทเรียน เป็นการสร้างวินัยและความรับผิดชอบของลูกไปพร้อมๆ กันค่ะ แรกๆ ต้องฝึกและกำกับลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เขาเกิดความเคยชิน รู้เวลารู้หน้าที่ ในที่สุดเขาจะทำโดยอัตโนมัติค่ะ

ส่วน ระยะเวลาขึ้นกับการเรียนในแต่ละโรงเรียน ถ้าโรงเรียนไหนให้การบ้านมากแล้ว ก็อาจเหลือเวลาทบทวนเรื่องอื่นประมาณ 15 นาทีก็พอ ระหว่างที่ลูกทำงานคุณแม่ควรแวะเวียนมาให้กำลังใจและชื่นชมความตั้งใจในการ ทำงานของเขาบ่อยๆ จะได้สังเกตว่าลูกติดขัดหรือต้องการความช่วยเหลือหรือไม่



3. ฝึกลูกวางเป้าหมาย และจัดการกับเวลา ลองถามเขาดูว่าวันนี้ สัปดาห์นี้เขาต้องทำอะไรบ้าง ฝึกให้เขาทำรายการสิ่งที่ต้องทำพร้อมกับลงตารางเวลาและติดไว้บนบอร์ด ให้เขาเช็กสิ่งที่ทำแล้ว คุณแม่ก็มีบทบาทคอยชมเชยการวางแผนงานของเขา ขอดูผลงานที่ทำสำเร็จแล้ว และให้กำลังใจในสิ่งที่เขายังทำไม่สำเร็จ อาจสอบถามหรือชี้แนะแนวทางเพื่อให้เขาประสบความสำเร็จกับงานตามที่วางแผนไว้



4. ช่วงใกล้สอบ ทำให้การติวเข้มเป็นเกมที่สนุกสนาน ลูกวัยนี้ชอบความท้าทาย เรามาชวนลูกเล่นเกมถามตอบ เกมต่อคำศัพท์ แข่งคิดเลขเร็ว เป็นต้น ลูกจะได้ความรู้และความสนุกไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ในชีวิตประจำวัน เวลานั่งรถไปไหนด้วยกันคุณแม่อาจชวนลูกเล่นเกมเหล่านี้ก็จะทำให้เวลาในรถ ทั้งสนุกทั้งได้ฝึกคิดไปด้วยค่ะ

เทคนิคง่ายๆ แค่ 4 ข้อ ก็จะช่วยให้น้องติวข้อสอบอย่างสนุก และได้ความรู้ค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณแม่ และขอให้น้องสอบผ่านฉลุยนะคะ



โดย: อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข

ไม่มีความคิดเห็น: