วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

กว่าจะเป็นหนึ่งในตำนานของสตีฟ จ็อบส์ (4)



อีกสิ่งหนึ่งที่เหมือนๆกันในการหล่อหลอมอัจฉริยภาพด้านอิเล็กทรอนิคส์ในตัวของสตีฟ จ็อบส์ และ สตีเฟน วอซแนก  คือ "สิ่งแวดล้อม"    เด็กสองคน ที่ชื่นชอบและสนุกกับกิจกรรมยามว่างที่ได้ทำกับพ่อ ได้ดูพ่อทำงาน  ได้เรียนรู้ไปกับพ่อ  คงไม่มีโอกาสก้าวหน้าเหนือไปกว่าพ่อของเขาได้  หากเขา ไม่ไ้ด้อยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิคส์    การที่ำพวกเขาได้มีโอกาสพบปะ เพื่อนรุ่นพี่ รุ่นพ่อ รุ่นอา  ที่เป็นคนทำงานในแวดวงคอมพิวเตอร์ ทำให้พวกเขาได้เปิดโลกทัศน์ด้านการทำงาน   ได้ฟังผู้ใหญ่ปรึกษาหารือกัน ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  เด็กทั้งสอง ได้ซึมซับความรู้เหล่านี้ สั่งสมเป็นประสบการณ์ีที่ยาวนาน  แม้ว่าจะมีอายุน้อย เป็นเพียงวัยรุ่น เท่านั้น แต่ก็มีประสบการณ์ความรู้ ความสามารถ ไม่แพ้ผู้ใหญ่บางคน   และที่สำคัญ คือ โอกาสที่พวกเขาได้เข้าใกล้ชิดสิ่งแวดล้อม แวดวงผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้  บ่อยครั้ง เป็นสิ่งที่เด็กทั้งสอง ค้นคว้า ไขว่คว้า หาช่องทางเข้าไปศึกษาด้วยตัวของพวกเขาเอง

บ้านที่สตีฟ จ็อบส์ อาศัยอยู่ในวัยเด็กนั้น อยู่ในเขตจัดสรรแถว เมาเทนวิว  ทางตอนใต้ของ พาโล อัลโต และอยู่ไม่ไกลจาก ซิลิคอน แวลเลย์ ซึ่งอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเกิดใหม่ กำลังเบ่งบานในย่านนั้น เพื่อนบ้านของเขา จึงเต็มไปด้วยคนที่ทำงานในอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์  เป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร ในโรงงานต่างๆ   ในหนังสือประวัติสตีฟ จ็อบส์ ของ วอลเตอร์  ไอแซคสัน ได้พูดเรื่องนี้ว่า

"จ็อบส์ก็เหมือนเด็กอีกหลายคนที่ได้รับอิทธิพลจากผู้ใหญ่ที่อยู่รอบๆตัว "หัวหน้าครอบครัวส่วนใหญ่ที่อยู่แถวบ้าน เป็นคนมีฝีมือทำงานละเอียดมาก ไม่ว่าจะเป็นโซลาเซล แบตเตอรี่ หรือ เรดาร์  ผมโตมากับของพวกนี้  ผมถามผู้ใหญ่อยู่เรื่อยว่า มันคืออะไร"  เพื่อนบ้านคนสำคัญคนหนึ่ง คือ แลรี่ แลงก์  ทีอยู่ถัดจากบ้านจ็อบส์ไป 7 หลัง  เขาเล่าให้ฟังระหว่างเราเดินไปที่บ้านของแลรี่ว่า "แลรี่ เป็นแบบอย่างของผมว่า วิศวกร HP ควรเป็นอย่างไร  เขาเป็นนักวิทยุสมัครเล่นมือเก่า เป็นช่างอิเล็กทรอนิคส์ ระดับฮาร์ดคอร์เลยทีเดียว  เขามักจะมีของติดมือมาให้ผมเล่นเสมอ"

การที่ได้ใกล้ชิด แลรี่ แลงก์ วิศวกรของ HP ในวัยเด็ก และเป็นคนที่เขาโปรดปราน นำพาชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ ให้เข้าใกล้แหล่งความรู้ที่ยิ่งใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ในยุคนั้น คือ Hewlett-Packard หรือ HP  ในตอนช่วงมัธยมต้น แลงก์ ได้พาสตีฟ ไปร่วมกิจกรรม Hewlett-Packard Explorers Club ที่จัดเป็นประำจำทุกค่ำวันอังคารที่ร้านอาหารของบริษัท  จะมีนักเรียนราว 15 คนมาร่วมกิจกรรม

"จ็อบส์เล่าว่า "แต่ละครั้งจะมีวิศวกรจากแล็บมาคุยให้พวกเราฟังว่า เขากำลังทำอะไรกันอยู่  พ่อจะขับรถไปส่ง ผมสนุกมาก HP เป็นผู้บุกเบิกหลอดไดโอดเปล่งแสง (light emitting diodes)  เราคุยกันว่า จะเอามันมาทำอะไรดี...แตสิ่งที่ยังคงประทับใจอยู่จนบัดนี้ คือ การที่เขาได้เห็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ HP กำลังพัฒนา  "ผมเห็น Desk top Computer เครื่องแรกที่นั่น มีชื่อว่า 9100A   เป็นเครื่องคิดเลขที่ยอดมาก  แต่ก็เป็น Desk Top Computer จริงๆ เครื่องแรกด้วย ขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 40 ปอนด์เห็นจะได้ สวยมาก ผมหลงรักมันทันที"

การร่วมกิจกรรม Hewlett-Packard Explorers Club ได้เปิดโอกาสให้เด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำโปรเจค ในขณะที่ทำชิ้นงาน  สตีฟต้องการอะำไหล่บางอย่างในการผลิตชิ้นงาน ซึ่งเป็นอะไหล่ที่ HP ผลิต  เขาจึงเปิดสมุดโทรศัพท์ เพื่อหาเบอร์โทรศัพท์ของ บิล ฮิวเล็ตต์ CEO ของ HP เพื่อขออะไหล่ที่เขาต้องการ สตีฟ จ็อบส์เล่าว่า

"สมััยนั้นสมุดโทรศัพท์พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ทุกเบอร์  ผมเลยหาชื่อบิล ฮิวเล็ตต์ ในพาโล อัลโต  โทรไปหาเขาที่บ้าน  เขารับสาย และคุยกับผมอยู่ตั้ง 20 นาที เขาให้อะไหล่ตามที่ผมต้องการ แถมยังให้งานผมทำในโรงงานผลิตเครื่องวัดความถี่ด้วย จ็อบส์ทำงานที่นั่น ระหว่างปิดภาคฤดูร้อน  หลังจากเรียนจบปีแรก ที่ Homestead High "พ่อจะขับรถไปส่งตอนเช้าและมารับทุกเย็น"

เล่ามาถึงตอนนี้ เราจะเห็นเรื่องราวหลายแง่มุม  ทั้งในแง่ความรักของผู้เป็นพ่อของพอล จ็อบส์  แม้ไม่ใช่พ่อบังเกิดเกล้า  แต่ เขาก็ให้ความรัก ความเอาใจใส่ และเปิดโอกาสให้ลูกชาย ค้นหาสิ่งที่ตนเองต้องการ ตามหาฝันของตน โดยไม่ขัดขวาง แต่กลับให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ นี่เป็นเรื่องที่ซาบซึ้งมากค่ะ

อีกมุมหนึ่ง คือ เห็นนิสัยความกล้าแสวงหาโอกาสของสตีฟ จ็อบส์  มาอ่าเรื่องราวตอนนี้ สตีฟ จ็อบส์เพิ่งเรียนมัธยมปลายเป็นปีแรก คือ ประมาณ ม.ต้น  เกรด 8 ของฝรั่ง ก็นะจะประมาณ ม.๒  หรืออายุ อาจจะแค่เพียง 12 ปีเท่านั้น แต่เขากล้าโทรศัพท์ โทรไปหา CEO ผู้ยิ่งใหญ่ของ HP  เพื่อขอชิ้นส่วนอะไหล่มาทำงานประดิษฐ์ของเขา   ในขณะเรามามองเด็กมัธยมบ้านเรา  ม.ต้น เด็กอาจจะยังไม่สามารถทำการบ้านด้วยตัวเองได้ด้วยซ้ำ หากไม่มีพ่อแม่ ไม่มีติวเตอร์คอยช่วยเหลือ   ในวัย ม.๒  เด็กฝรั่งอย่างสตีฟ จ็อบส์ เขาเริ่มทำงาน Part-time กันแล้ว  แต่เด็กไทยเรา จบมหาวิทยาลัย ก็ยังขอเงินพ่อแม่อยู่เลยค่ะ  อ่านแล้วอึ้งไปเหมือนกัน คิดถึงอนาคตของชาติมันดูมืดมน  หากเราไม่ช่วยกันเปลี่ยนวิธีสอนลูก

หน้าที่ของสตีฟ จ็อบส์ ใน HP นั้น เป็นงานง่ายๆคือ" แค่วางน็อตกับสกรูลงบนของ"   ดังนั้น เ่ท่าที่ดิฉันเดา คือ บิล ฮิวเล็ตต์ คงพึงพอใจความกล้า ความสนใจใคร่รู้และรักในอิเ็ล็กทรอนิคส์ของเขา  จึงมอบโอกาสที่แสนวิเศษให้สตีฟ จ็อบส์ ได้มีโอกาสมาสัมผัส เรียนรู้การทำงานอย่างใกล้ชิด เป็นการต่อยอดความรู้ของเด็ก  และที่นี่ สตีฟ จ็อบส์ได้มีโอกาสได้พบปะคนทำงาน พี่ๆนักวิศวกรของ HP  

"จ็อบส์ผูกมิตรกับวิศวกรที่ทำงานชั้นบนได้ดีกว่า "บนนั้นมีกาแฟกับโดนัทเสิร์ฟทุกวันตอนสิบโมงเช้า ผมเลยชอบขึ้นไปข้างบนคุยเล่นกับพี่ๆวิศวกร"

ในระหว่างที่เรียนมัธยม  สตีฟ จ็อบส์ ได้ทำงานหลายอย่างในเวลาว่าง เขาเคยเป็นคนส่งหนังสือพิมพ์   ตอนที่เรียนในเกรด 11 หรือ ม.5 เขาทำงานช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และปิดเทอมเป็นเสมียนคุมสต็อกสินค้าที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ขนาดมหึมาที่ขื่อ Haltek  เขาสนุกสนานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์พวกนี้มาก ที่นี่จ็อบส์ ได้สะสมความรู้เรื่องชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ ต่อรองราคาแล้วนำมาขายทำกำไร  เขาไปตลาดนัดขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เช่น ที่ซาน โฮเซ่ หาแผงวงจรใช้แล้วที่มีชิปหรือชิ้นส่วนที่มีค่าแล้วนำมาขายให้ผู้จัดการที่ร้าน Haltek

เขียนมาถึงตอนนี้ มาคิดถึง สตีฟ จ็อบส์ ก่อนที่จะมาเป็นผู้มีความรอบรู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ไอที จนมีความสามารถในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับได้ขนาดนี้  เขาได้ผ่านการบ่มเพาะ สร้างสมประสบการณ์จากกูรูผู้เชี่ยวชาญที่เขาได้ใกล้ชิด   การลงมือทำงานจริงๆ ตั้งแต่ในวัยเด็กก็ว่าได้  มามองปัญหาของเด็กสมัยนี้ หรือคนทำงานจำนวนมาก  เรียนจบออกมา อยากได้งานดีๆ ตำแหน่งสูงๆ มีแต่ความรู้ มีแต่ใบปริญญา เหรียญรางวัล  มีแต่ Idea ไม่มี Ido   เมื่อมาทำงาน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว  เพราะไม่มีความสามารถในการทำงานที่แท้จริง  

หากเรายินยอมให้ลูกๆของเรา  หรือเปิดโอกาสให้เด็กๆชั้นมัธยมของเรา ได้มีโอกาสหางานทำในบริษัท ห้างร้านในช่วงปิดเทอม หรือวันหยุด  จะเป็นการเปิดโลกอาชีพให้เด็กๆ ได้ลองค้นหาตัวเองว่า ตัวเองนั้นชอบหรือไม่ชอบทำอะไร  อยากทำงานด้านไหน  และสามารถสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ด้วยการลงมือทำจริงและเรียนรู้จากคนในสายงานนั้น จะเป็นประโยชน์มากกว่า การเอาเด็กไปเรียนพิเศษ  กวดวิชา เช้าจรดเย็นในห้องสี่เหลี่ยม หรือ พาไปสอบในสนามต่างๆ เพราะในชีวิตจริงๆของคนเรานั้น มีเหลี่ยมมีมุม   ไม่ใช่ราบเรียบ เหมือนแผ่นกระดาษแบนๆ ที่นำมาใช้ทดสอบความสามารถของเด็กค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: