วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เอาชีวิตรอดเมื่อเครื่องบินตก (3)



Ninety Seconds to Save Your Life – The Wrong (and Right) Thing to do in a Plane Crash. (ตอนที่ 2)

หน้าที่ของพนง.ต้อนรับคือทำให้คุณประทับใจกับการบริการของสายการบิน ?

ทุกครั้งที่เราเดินเข้าไปในเครื่องบิน พนง.ต้อนรับจะยืนยิ้ม ยกมือไหว้และถามว่าคุณอยู่ที่นั่งเบอร์อะไรเพื่อชี้ทางให้คุณ ดูดีนะแต่ที่จริงแล้วนอกจากความพยายามที่จะต้อนรับคุณให้เกิดความประทับใจ งานที่ซ่อนไว้เบื้องหลังของพนง.เหล่านี้คือการดูว่าผู้โดยสารแต่ละคนมีลักษณะ ท่าทีอย่างไร คุณมีความพร้อมที่จะขึ้นเครื่องหรือไม่ คุณดูท่าทางเป็นผู้ก่อการร้ายหรือไม่ หรือคุณดูเป็นนักกีฬาที่พอจะพึ่งพาได้ยามเกิดเหตุสุดวิสัยหรือไม่ พวกแอร์ทั้งหลายจะคอยดูลักษณะท่าทางของผู้โดยสารแต่ละคน ว่าใครจะเป็นผู้ที่ก่อปัญหาหรือใครจะเป็นผู้ที่พึ่งได้ยามคับขัน เพราะฉะนั้น งานหลักของพวกเธอเหล่านั้นไม่ใช่งานที่คอยเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม งานที่แท้จริงของพวกเธอก็คือการดูแลเรื่องความปลอดภัยของพวกเรานั่นเอง!

ปัญหาใหญ่สุดของความปลอดภัยในเครื่องบินคือผู้โดยสารที่ไม่เข้าใจถึงขั้นตอนการอพยพออกจากเครื่องในยามคับขัน หลายคนคิดว่าตัวเองจะมีชีวิตรอดเป็นชั่วโมงโดยไม่ต้องใส่หน้ากากหายใจเมื่อเครื่องมีปัญหาเรื่องอากาศและความดันภายในเครื่อง อันที่จริงแล้วเรามีเวลาแค่เสี้ยววินาที บางคนคิดว่า มีเวลาเกือบชั่วโมงในการหนีออกจากเครื่องที่เกิดอุบัติเหตุ อันที่จริงแล้ว เรามีเวลาแค่ 90 วินาทีเท่านั้น




90 วินาทีแห่งการเอาชีวิตรอด

สิ่งแรกที่เราจะสังเกตุได้คือมันง่ายมากที่เราจะหลงอยู่ภายในเครื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราจะไม่สามาถมองเห็นได้อย่างชัดเจนหรือจำได้ว่าเราเคยอยู่บริเวณไหนในตัวเครื่อง ควันไฟจะลอยคละคลุ้งอยู่ทั่วบริเวณจนเรามองไม่เห็นอะไรอยู่ตรงหน้า กฏแห่งการเอาชีวิตรอดในเครื่องบินที่ตกเริ่มจากความจริงที่ว่า เรามีเวลาเพียง 90 วินาทีในการออกจากเครื่องบินให้ได้ นานไปกว่านั้น ไฟอาจจะลามทั้งตัวเครื่องและอุณหภูมิจะสูงมากถึง 2000 องศา

หลักการอีกอันหนึ่งที่ควรจะต้องรู้คือ “ช่วงเวลาบวกสามลบแปด”

บวกสาม หมายถึง สามนาทีแรกเมื่อเครื่องเริ่มทะยานขึ้น และ ลบแปด หมายถึง แปดนาที ก่อนเครื่องจะลงจอดสนิท ในทางการบินถือว่าช่วง “บวกสามลบแปด” สิบเอ็ดนาทีนี้คือเป็นช่วงที่สำคัญและอันตรายที่สุดและ 80% ของการเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินมักจะเกิดในช่วงเวลาดังกล่าว นี่คือสาเหตุที่พนง.ต้องเข้มงวดให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัด (กันไม่ให้ผู้โดยสารกระเด็นจากที่นั่ง) เก็บโต๊ะหน้าที่นั่ง (หน้าจะได้ไม่กระแทกกับถาดที่เปิดอยู่ข้างหน้า) ไม่วางของบนพื้นกีดขวางทาง (เคลียร์ทุกอย่างเพื่อให้ทางโล่งจะได้เตรียมอพยพได้ง่าย) และปิดอุปกรณ์สื่อสาร (เพื่อให้กัปตันสามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ภาคสนามได้โดยไม่มีคลื่นรบกวน) นี่คือสาเหตุที่ว่า เราไม่ควรเมาก่อนขึ้นเครื่องหรือก่อนเครื่องร่อนลงแตะพื้น ไม่ควรหลับหรือใส่หูฟังโดยไม่สนใจอะไรเลยในขณะที่เครื่องกำลังขึ้นหรือลง ในช่วง 11 นาทีที่ว่า เป็นช่วงเวลาที่เราต้องเตรียมพร้อมทุกวินาทีที่จะวิ่งเพื่อเอาชีวิตรอดโดยไม่ต้องมีใครสั่งเลย

เมื่อเราก้าวขึ้นเครื่อง เราควรจะมีสติในการวางแผนในใจเพื่อเตรียมพร้อมในทุกสถานการณ์ อย่างแรกคือ จำว่าประตูทางออกฉุกเฉินอยู่ตรงไหนแล้วนับว่ามันอยู่ห่างจากเก้าอี้ตัวที่เรานั่งกี่ตัว เพราะอย่างที่บอก เราจะมองไม่เห็นข้างหน้าเมื่อเกิดเหตุ ดังนั้นวิธีเดียวที่จะไปถึงประตูทางออกที่ใกล้ที่สุดคือการใช้มือคลำและนับเก้าอี้ไปหาทางออก แต่การดูทางออกทางดียวอาจจะไม่พอ เราควรจะมองหาประตูที่สองไว้ด้วยเผื่อประตูแรกมีอุปสรรคทำให้เราไม่สามารถไปถึงได้

ถ้าคุณเดินทางไปกับญาติที่มีความสำคัญกับคุณ อย่าลืมพวกเขาด้วยล่ะ ไม่ว่าจะเป็นแฟน ลูก พ่อแม่ ถ้าบินกับลูก ถือโอกาสอนพวกเด็กๆให้เข้าใจถึงแผนอพยพถ้าเกิดเหตุ ในบางครั้ง เราอาจจะไม่สามารถหาพวกเขาเจอตอนเครื่องเกิดอุบัติเหตุก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: