วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ห้องเรียนแห่งอนาคต (ุุึ8)






ยิ่งไปกว่านั้น คือเรื่องการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน หรือ ครูใหม่ๆนั้น ทางโรงเรียนนี้ ให้นักเรียนเป็นผู้ทำการสัมภาษณ์และคัดเลือกเอง 

"เมื่อรายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลิอกเหลือจำนวนไม่มากนัก บรรดาผู้นำนักเรียนจะได้รับโอกาสให้สัมภาษณ์ผู้สมัครด้วย ผู้นำนักเรียนบางคนมีชื่อเสียงว่า เป็นผู้สัมภาษณ์ที่โหดที่สุด และบางคนมีสัญชาตญาณพิเศษ พวกเขามีเคล็ดลับการเลือกครูที่รักเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ใหญ่ที่จะประเมินได้ ผู้สมัครคนหนึ่งถูกนักเรียนคัดชื่อออกอย่างรวดเร็ว พวกเขาอธิบายด้วยความรู้สึกไม่ชอบว่า "ครูคนนี้ไม่รู้เลยว่าโรงเรียนของเราสอน 7 อุปนิสัย เธอไม่ได้ทำการบ้านมาเลย" 



จำได้ว่า โรงเรียนแห่งหนึ่งในประเทศไทย คือ สัตยาไส ก็ให้นักเรียน เป็นผู้คัดเลือกบุคลากรค่ะ เคยฟังอจ. อาจอง ชุมสาย ท่านเล่าในรายการ "พ่อแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย" เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน ว่า ทางโรงเรียนนั้น ให้ครูที่สมัครมาทำงาน มาเข้าค่ายที่โรงเรียน สามวัน ในวันแรก เป็นการฝึุกอบรม เรื่องหลักการ Mission และ Vision ของโรงเรียน การปฎิบัติตัว และคุณสมบัติ งานของผู้เป็นครูของโรงเรียน หลังจากวันแรก ก็จะมีึผู้สมัครจำนวนหนึ่ง พิจารณา และเลิอกที่จะไม่ทำงานที่นั่น เพราะหลักการ หรือวิธีการไม่ตรงกัน


ในวันที่สอง เป็นวันที่ให้คุณครูได้ อยู่และลองใช้ชีวิตจริงๆ และได้ลองทำงานเป็นครูที่โรงเรียน ในวันที่สองนี้ ก็จะมีครูอีกกลุ่มหนึ่งที่ปรับตัวไม่ได้ และอาจจะพบว่าตัวเองไม่ชอบ ก็เลือกที่จะเดินออกจากโรงเรียนไป

ในวันที่สาม เป็นวันที่ให้นักเรียนของโรงเรียนได้เลือก และแสดงความเห็นเกี่ยวกับครู ครูที่นักเรียนเลือก ก็จะได้รับเชิญให้สอนต่อไป



มาเล่าเรื่องโรงเรียน A.B.Combs. Elementary ต่อ

ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งในโรงเรียนนี้ คือ ในแผนผังองค์กรของโรงเรียนนี้ นั้น ทุกคนที่มีชื่อปรากฎอยู่ในผังขององค์กร ต่างมีคำนำหน้าว่า "ผู้นำ" นำหน้าตำแหน่งรวมทั้งหน้าที่รับผิดชอบ เช่น

ด้านธุรการ จะมี ผู้ที่เป็น "ผู้ำนำด้านให้คำปรึกษกับนัำกเรียน" และ "ผู้ำนำเกี่ยวกับสื่อ"

ภารโรง จะมีฐานะ "ผู้นำด้านการรักษาความสะอาดของอาคารเรียน"

พนักงานในครัว เป็น "ผู้นำด้านการโภชนาการ"


แม้แต่ในองค์กรของนักเรียนเอง ทุกๆต้นปีการศึกษาใหม่ นักเรียนแต่ละคน จะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้นำในด้านการพูดในที่สาธารณะ บางคนเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ บางคนเป็นผู้นำด้านดนตรี ผู้นำด้านความพร้อมของร่างกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ให้นักเรียนเลือกเอง ว่า ใครอยากจะพัฒนาตนเองในด้านไหน หรือ ใครมีความสามารถหรือทักษะพิเศษในด้านใด ก็จะได้รับตำแหน่ง ผู้นำ ในด้านนั้นๆ 
ในแต่ละชั้นเรียน นักเรียนเองก็จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆ บทบาทเหล่านั้น เช่น ผู้นำกล่าวคำสวัสดีในห้องเรียน ผู้นำด้านการรักษาเวลา ผู้นำกลุ่ม ผู้นำด้านความสะอาด และผู้นำด้านบรรณรักษ์

บางครั้งเด็กๆ ก็จะได้รับการแต่งตั้ง หรือ รับเลือกบทบาทผู้นำที่ครูแต่งตั้งให้ทำ เช่น เด็กชายคนหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ช่วยเด็กปฐมวัยคนหนึ่ง เรียนรู้การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในโรงเรียน ต่อมาเด็กคนนั้น ก็ขอให้เด็กคนนี้ช่วยสอนคณิตศาสตร์และการอ่านให้เขา เด็กชายผู้ที่ช่วยเหลือน้อง จึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้นำที่เป็นเพื่อน" 



ในการคัดเลือกนักเรียนที่จะเข้าแข่งขันด้านต่างๆในนามของโรงเรียนนี่ ก็น่าสนใจค่ะ โรงเรียนนี้จะไม่เลือกเด็กที่เก่งด้านนั้นเท่านั้น แต่จะเลือกนักเรียนเป็นแบบอย่างของอุปนิสัยที่ดีด้วย เช่น 


นักกีฬาที่สนใจจะแข่งขันในนามโรงเรียน คนที่แข่งชนะ เก่งกว่าทุกๆคน หากเป็นเด็กที่ควบคุมอารมณ์ไม่ดี มีอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่มีน้ำใจนักกีฬา ก็จะไม่ได้รับการรับเลือก เด็กที่จะเป็นตัวแทนโรงเรียน ต้องเป็นเด็กที่ Pro Active ด้วยการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ต้องเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจด้วยการตั้งเป้่าหมาย และทำสิ่งที่สำคัญก่อน ด้วยการฝึกฝน และพักผ่อนให้เพียงพอ 


หลักเกณฑ์นี้ เป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่า ทางโรงเรียนให้ความสำคัญกับความประพฤติ และพัฒนา 7 อุปนิสัย มากกว่าความเก่งของเด็ก



"คุณจะได้ยินเราชมเด็กๆตลอดเวลา คุณจะได้ยินเราขอบคุณพวกเขา เราบอกเขาว่า เรารักพวกเขาทุกวัน และเราชื่นชมพวกเขามากเพียงใด เรามีนักเรียนทั้งหมด 900 คน นั่นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่ต้องสานสัมพันธฺกับเด็กแต่ละคนในทุกๆวัน แม้ว่าจะเป็นแค่การพูดผ่านคลื่นวืทยุในช่วงตอนเช้า นี่คือส่วนหนึ่งของระบบค่านิยมหลักที่นี่ เราบอกให้นักเรียนรู้ว่าเราเชื่อมั่นในตัวพวกเขา"


ครูใหญ่โรงเรียน A.B.Combs Elementary หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน"




อ่านมาถึงตอนนี้ ดิฉันคิดถึงหลายๆโรงเรียน ที่ครู อาจารย์ที่ให้โอวาทยามเช้า เฝ้าแต่ย้ำกฎระเบียบ ทั้งเรื่องทรงผม การเดิน การซื้อขนมหน้าโรงเรียน การพูดจา อะไรต่างๆ ในฐานะคนนอกที่ได้ยินการให้โอวาทเหล่านี้ เราอดรู้สึกไม่ได้ ว่า เด็กนักเรียนโรงเรียนนี้คงมีปัญหาด้านพฤติกรรมเอามากๆ ทุกวันจึงโดนให้โอวาท ด้านลบแบบนี้ หากโรงเรียนหันมาใช้วิธีนี้ ชื่นชม ขอบคุณนักเรียนที่ทำอะไรดีๆ นักเรียนได้เริ่มต้นวันด้วยคำพูดดีๆ คงเป็นเรื่องดีไม่น้อย


เรื่องเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม ไม่ใช่ไม่มี แต่เราสามารถเรียกมาคุยภายหลังในห้องได้ ใครทำไม่ดี ก็เรียกมาคุยเป็นการส่่วนตัว ให้กำลังใจเด็ก ตั้งใจฟังปัญหาของเด็ก และ ตั้งเป้าหมายให้แก้ไข พัฒนาตนเอง ไม่จำเป็นก็ไม่ควรตำหนิหน้าห้อง หรือ หน้าเสาธง ให้เป็นที่อับอาย หรือ ทำให้คนภายนอก มองโรงเรียนว่า เต็มไปด้วยเด็กๆที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม มันเสียหายมากค่ะ กับชื่อเสียงของโรงเรียนด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น: