วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ห้องเรียนแห่งอนาคต (ุุึ10)





จะเห็นว่า วิธีคิด และแนวทางปฎิบัติของโรงเรียน ของครู และเด็ก นักเีรียนในโรงเรียนนี้ จะค่อนข้างแตกต่างจากโรงเรียนอื่น เช่นเรื่องการพูดจาชื่นชม แทนที่จะดุด่า ตำหนิเด็ก หรือ การสร้่างภาวะผู้นำ ที่แตกต่างกันให้เด็กแต่ละคน ดังนั้น ในช่วงแรกๆของการเปลี่ยนแปลง แบบ 180 องศานี้ ต้องมีวิธีการสร้างวัฒนธรรม องค์กร วัฒนธรรมแบบใหม่ให้นักเรียน และจะต้องตอกยำ้ กติกา และหลักการปฎิบัตินี้อย่างสมำ่เสมอ และบ่อยๆ ที่โรงเรียนนี้ จะใช้เวลาช่วงเริ่มปีการศึกษาใหม่ ในสัปดาห์แรก ใการทบทวน หรือสร้างวัฒนธรรม หรือกติกาใหม่ๆ ให้กับนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน


"เราใช้เวลาประมาณ ๑ สัปดาห์โดยใช้ผลงานของแฮร์รี่ หว่อง เรื่องความสำคัฯของวันแรกๆสำหรับการมาโรงเรียน เรื่องนี้มีมานานแล้วและการที่มันมีมานานก็เพราะมันมีเหตุผลของการมีอยู่ เพราะใช้ได้ผล ดังนั้นเราจึงใช้เวลาสัปดาห์แรกของการเรียนเื่ื่พื่อสอนนักเรียนเฉพาะเรื่องการเป็นผู้นำในโรงเรียน"

- พอลา เอเวอเรตต์, ครู โรงเรีนนเอ.บี. คอมส์ 
ตลอดสัปดาห์แรก ครูจะไม่สอนเนื้อหาวิชาหลัก แต่จะทบทวน ๗ อุปนิสัย และเขียนคำปณิธาณในห้องเรียน พูดคุยเรื่องความรับผิดชอบ ให้นักเรียนสร้าง สมัคร และเข้ารับการสัมภาษณ์ สำหรับบทบาทการเป็นผู้นำของห้องเรียนและของโรงเรียน เด็กๆตั้งเป้าหมายส่วนตัว และเป้าหมายของห้องเรียน และเริ่มเขียนไว้ในสมุดบันทึุกข้อมูล ครูให้นักเรียนช่วยเขียนหลักแห่งความร่วมมือของชั้นเรียนว่า พฤติกรรมใดที่เป็นที่ยอมรับ และไม่เป็นที่ยอมรับ พวกเขาช่วยกันสร้างงานศิลปะ เพื่อนำไปติดไว้ที่กระดานข่าวในห้องโถงต่างๆ และในห้องเรียน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์แรกด้วยรูปแบบที่สนุกสนานและมีส่วนร่วมของนักเรียน

-หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน"



เท่าที่ดู การทำแบบนี้ ทำให้เด็กๆที่เพิ่งพักปิดเทอม ได้มีโอกาสมาปรับจิตใจ อารมณ์เพื่อเตรียมพร้อม ที่จะรับการเรียนรู้อีกครั้ง การพูดคุยเรื่อง อุปนิสัยทั้ง ๗ และการสร้างกติการ่วมกัน ทำให้เด็กๆได้ทบทวนว่า สิ่งใดที่ทำได้ หรือไม่ได้ในห้องเรียน และเป็นกติกา ที่เด็กๆ เป็นผู้เขียนเอง มีการตกลงกันไว้่ว่าจะทำตามกติกานี้ ดังนั้น ก็จะทำให้เด็กๆทำผิดระเบียบวินัยน้อยลง เพราะได้ตกลงกันไว้แล้ว หากเปรียบเสมือนการปลูกพืช ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมดินให้พร้อม ที่จะรับการหว่านเมล็ดพันธุ์ หากการเตรียมดิน มีการเตรียมอย่างระมัดระวัง ก็จะทำให้เมล็ดที่งอกเป็นต้นที่มีความสวยงาม แข็งแรงต่อไป

อีกวิธีนึง ที่ทางโรงเรียน A.B. Combs Elementary ใช้ในการตอกย้ำวัฒนธรรมองค์กร หรือ วัฒนธรรมการเรียน ที่เน้น เรื่อง ภาวะผู้นำ เป็นหลัก คือ การใช้วัฒนธรรมด้านภาษา

สิ่งแรกที่โรงเรียนนี้ใช้ คือ การแต่งเพลงจูงใจหลายๆเพลง ที่เกี่ยวข้องกับ ๗ อุปนิสัยนี้ และภาวะผู้นำ เป็นเพลง ที่ครู และเด็ก ๆช่้วยกันแต่ง และเปิดเพลงผ่านระบบอินเตอร์คอม ของโรงเรียนทุกวันๆละ 15 นาที

มาดูตัวอย่างเพลงที่เด็กและครู แต่งเพลงเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของโรงเรียนกัน 


ทุกๆเช้า นอกจากจะได้ฟังเสียงคุณครู บอกรักนักเรียน ขอบคุณนักเรียน และชื่นชมนักเีรียนผ่าน อินเตอร์คอม แถมด้วยบทเพลงปลุกเร้าความสนุกตื่นเต้น วัฒนธรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน แล้ว ทางโรงเรียนจะมีนักเรียนที่เป็นผู้นำด้านการพูดในที่สาธารณะ จะประกาศเรื่องราวดีๆ บทความ หรือ ประกาศคุณงามความดี ในอุปนิสัยด้านใด ด้านหนึ่งใน ๗ ด้านของนักเรียนชั้นต่างๆ เป็นเรื่องราวของผู้นำประจำสัปดาห์ และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ได้รางวัลประจำสัปดาห์ มาแบ่งปันเรื่องราว อุปสรรค ความยากลำบากของการเป็นผู้นำ และเคล็ดลับความสำเร็จ

ทั้งหมดนี้ ใช้เวลา ประมาณ 15 นาทีในแต่ละวัน ในการกล่อมเกลา ตอกย้ำวัฒนธรรมของโรงเรียนที่สร้างขึ้นใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องแนวคิด พันธกิจเรื่องการสร้างภาวะผู้นำ นั้นถูกนำไปสอนทุกๆวิชา ในโรงเรียนนี้ ก็เรียนวิชาอื่นๆเหมือนโรงเรียนทั่วๆไป คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ พละศึกษา ศิลปะ แต่ทุกครั้ง บทเรียนวิชาเหล่านี้ จะมีการเชื่อมโยงเรื่องภาวะผู้นำ และอุปนิสัยทั้ง ๗ เข้าไปด้วย เช่น

ในวิชาวรรณคดี ที่เด็กๆเรียน บทกลอน เรื่องโลกในฝันของฉัน ( I Dream a World) ซึ่งเป็นบทกลอนที่ผู้แต่งคือ แลงสตัน ฮิวส์ นำเสนอวิสัยทัศน์ของเขา เกี่ยวกับโลกที่ดีกว่า หลังจากครูอธิบายคำศัพท์ โครงสร้างของบทกวี ครูจะแ่บ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ และให้แต่ละกลุ่มใช้เครื่องมือคุณภาพอย่างใด อย่างหนึ่ง มาอธิบายประเด็นหลักของบทกวี โดยแต่ละกลุ่มจะแบ่งงานให้สมาชิก เพื่อเป็นผู้นำ รับผิดชอบกันคนละด้าน เช่น การเขียน การจับเวลา การนำเสนอผลงาน เด็กๆจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และความรับผิดชอบ ในการทำงานให้สำเร็จ และจบลงด้วยเด็กๆแต่ละคน จะต้องอธิบายและแสดงวิสัยทัศน์ของตน เกี่ยวกับสิ่งที่ตนใฝ่ฝันจะเป็นในอนาคต แบบฝึกหัดนี้ใช้เวลา 30 นาที และสามารถต่อยอด ด้วยทักษะการแต่งกลอน หรือบทกวี หรือทักษะการเขียน หรือแม้แต่เรื่อง วัฒนธรรมประเพณีด้วย (หากเด็กๆมาจากต่างวัฒนธรรม)



จะเห็นว่า การเรียนการสอน แม้ว่าเป็นวิชาใดก็ตาม ครูโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของภาวะผู้นำ อุปนิสัยทั้ง ๗ ความคิดสร้างสรรค์ และการฝึกการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และทักษะการอ่าน การเขียน และอื่นๆ เข้าด้วยกัน ได้ อย่างนุ่มนวล
หรือ อีกตัวอย่างนึง ที่ง่ายๆ

เด็กเรียน อักษร "P" ครูจึงให้เด็กๆ แต่งเรื่องราวจาก "Pizza" เช่น พูดถึง ส่วนต่างๆ (Part) ของพิซซ่า Topping ต่างๆ และแสดงละคอนเรื่องคนโทรศัพท์ (Phone) มาสั่ง Pizza เธอพูดว่า ต้องการสั่งซื้อ (Purchase) Pizza , Please. แล้วครูก็จด คำพูดที่มี "P" เรื่องราวเหล่านี้ บนกระดาน เพื่อให้เด็กๆเห็น อักษร และคำที่ใช้อักษรนี้


ต่อมา เธอสมบุติว่า มีคนสั่งพิซซา 6 ชิ้น เด็กๆถูกแบ่งเป็นกลุ่มละ 4 คนเด็กๆแต่ละคนได้รับหน้าที่ต่างกันเพื่อให้ ทำพิซซ่าให้สำเร็จ เด็กๆต้องเรียงลำดับความสำคัญของงาน และแต่ละคนต้องรับผิดชอบงานของตัวเองอย่างดี และทำงานร่วมกันจนประสบความสำเร็จ

เมื่อสิ้นสุดโครงงานนี้ ครูก็สรุปเรื่องความสำคัญของทัมเวิร์ค การลำดับความสำคัญ และข้อดีของการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น เมื่อสิ้นสุดวิชาในวันนั้น เด็กๆเรีัยนรู้อะไรมากมาย มากกว่า คำที่ขึ้นต้น ด้วย "P" 

ในหนังสือ เรื่อง "ผู้นำในตัวฉัน" ยังมีอีกหลายตัวอย่างในอีกหลายวิชา ถึงวิธีการสอนเด็กๆแบบบูรณาการ และสอดแทรกการตอกย้ำเรื่อง อุปนิสัยทั้ง ๗ และ ภาวะผู้นำค่ะ เพื่อนๆที่สนใจ ตามไปอ่านได้


อ่านแล้วก็มาคิดถึง คำพูดของพ่อแม่หลายๆท่าน ที่มักจะมาบ่นว่า ครูคนเดียว สอนหลายวิชา ทำให้ไม่มีคุณภาพ แต่หากอ่านแล้วจะเข้าใจว่า การเรียนสมัยใหม่นั้น ความรู้นั้น เป็นองค์รวม ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ดังนั้น การใช้ครูคนเดียว สอนหลายๆวิชา จะทำให้การเรียนการสอน เป็นองค์รวม ได้ดีกว่า เป็นแบบบูรณาการ ทำให้เสียเวลาเรียนน้อยกว่า และได้ประโยชน์กว่า



ไม่มีความคิดเห็น: