วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การจัดตารางโฮมสกูล

ดิฉันได้ศึกษาข้อมูลโฮมสคูลมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เตรียมข้อมูลไว้ เผื่อสำหรับการศึกษาของลูกสองคน ซึ่งดิฉันไม่ค่อยชื่นชมในแนวการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันเท่าไรนัก นี่เป็นความเห็นส่วนตัว ดิฉันและสามีอยากพาลูกออกนอนระบบเหมือนกัน เพราะมันไม่ตอบโจทย์ของชีวิต ส่วนการศึกษาในโรงเรียนอินเตอร์ในประเทศไทย ก็ราคาสูงมาก ประกอบกับมีข้อจำักัดเรื่องบุคลากรคุณภาพ การให้การศึกษาลูกด้วยตัวเอง จึงเป็นทางเลือกที่เราสามีภรรยา ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยความบังเอิญที่สามีได้รับมอบหมายตำแหน่งในต่างประเทศ น้องแชงและน้องเชียร์ จึงได้มีโอกาสศึกษาในโรงเรียนอินเตอร์ที่นี่ แต่ดิฉันเองก็ยังคงต้องส่งเสริมและเป็นจุดยืนในส่วนของการเรียนที่บ้าน ในภาควิชาภาษาไทย เพื่อให้ลูกสามารถกลับไปเรียน และปรับตัวกับประเทศบ้านเกิดเมืองนอนได้ง่ายในอนาคต

ข้อมูลเรื่องการจัดเตรียมตารางโฮมสคูลที่มาแบ่งปัน นำมาจากข้อมูลในหนังสือ หลักสูตรและกิจกรรม สนุกกับโฮมสคูล สำหรับเด็กปฐมวัย และเด็กประถมต้น
ซึ่งดิฉันได้นำมาประยุกต์ใช้กับน้องแชงและน้องเชียร์ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ และ ช่วงปิดเทอม

22 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ในการจัดตารางโฮมสคูลนั้น สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือ กิจวัตรประจำวันของลูก และหน้าที่ที่เราต้องทำ ซึ่งหากเราจัดได้สอดคล้อง เหมาะสม ก็จะราบรื่น ไม่ติดขัด

เมื่อจัดตารางเวลากันลงตัวแล้ว เราจึงจะมาคำนึงถึงกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ที่จะให้ลูกทำ หรือเล่น เพื่อพัฒนาการของลูก โดยคำนึงจากวัย ศักยภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมถึงความสนใจของลูกด้วย

ยกตัวอย่าง กิจวัตรประจำวันของน้องแชง 2.5 ปี

ุ6:00 ตื่นนอน
ึ7:00 อาบน้ำ แต่งตัว
7:30 ทานอาหารเช้า
8:30 กิจกรรม 1
9:30 กิจกรรม 2
10:30 อาหารว่าง
12:00 ทานอาหารเที่ยง
13:00 นอนกลางวัน
15:00 อาหารว่าง
15:30 ออกกำลังกาย หรือ ไปเที่ยว
17:30 อาบนำ้
18:00 ทานอาหารคำ
19:00 กิจกรรม 3
20:30 เข้านอน่

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เนื่องจากดิฉันมีลูกชายสองคน ดิฉันจึงจัดกิจวัตรประจำวันของน้องเชียร์ ให้ใกล้เคียงเวลาของน้องแชง จะได้ดูแลจัดการง่าย ไม่เสียเวลา

ตารางเวลาของน้องเชียร์ 8 เดือน

6:30 ตื่นนอน
7:00 อาบนำ้ แต่งตัว
ึ7:30 อาหารเช้า
8:30 กิจกรรม 1
9:30 นอนช่วงเช้า
10:30 อาหารว่าง
12:00 ทานอาหารเที่ยง
13:00 นอนกลางวัน
15:00 อาหารว่าง
15:30 ออกกำลังกาย หรือ ไปเที่ยว
17:30 อาบนำ้
18:00 ทานอาหารคำ
19:00 กิจกรรม 3
20:30 เข้านอน่

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

โดยปกตินั้นเด็กเล็ก ในวัยของแชงและเชียร์ จะเล่นแต่ละกิจกรรมได้ไม่นาน แต่เมื่อโตขึ้นก็จะนานขึ้น ดังนั้น ใน 30 นาที ดิฉันอาจจะชวนเล่นประมาณ 2 กิจกรรม และปล่อยให้เล่นอิสระบ้าง หรือ ดูทีวีในรายการที่เหมาะสม เพื่อดิฉันจะได้ไปจัดการงานส่วนตัว เช่นซักผ้า เล่นเนต หรือ ทำอาหาร

เมื่อสังเกตว่าลูกเริ่มเหงา หรือ ทีวีจบ ก็จะมาชวนทำกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่เล่นกับลูกจะต้องขึ้นอยู่กับวัย และพัฒนาการของลูก

ในช่วงนี้ ดิฉันจะเน้นน้องแชง ในเรื่องการเล่นแป้งโดว์ ระบายสี การต่อบล็อกและเลโก้ การวิ่ง การเล่นลูกบอล การเตะบอล การใส่เสือ้ผ้าเอง การถอดเสื้อผ้าเอง การทานข้าวเอง และการใส่ถุงเท้า
เพราะโรงเรียน มีให้รายงานมาในช่วงปิดเทอมว่า ในเทอมที่ผ่านมาลูกทำยังไม่ค่อยได้ ซึ่งเราเองต้องมาช่วยสอนลูกเองด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องตัวอักษร ตัวเลข สี และรูปทรง ขนาด เขาทำพอได้แล้ว แต่ก็ต้องทำกิจกรรมต่อไป ผ่านการเล่นเกมตาราง 100 ช่อง และของเล่นแบบมอนเตสเซอรี่บางอย่าง

แน่นอนการอ่านนิทาน ย่อมต้องทำแน่นอน เพราะเป็นการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ส่วนกิจกรรมของน้องเชียร์นั้น มีหลายๆกิจกรรมที่ดิฉันทำไปพร้อมกันกับน้องแชง เพราะเป็นการเรียนรู้ของเขาได้ เช่น การอ่านนิทาน การท่องตัวเลข ตัวอักษร การร้องเพลง รวมถึงการไปเล่น ออกกำลังกาย ไปเที่ยวก็พาไปทั้งสองคน กิจกรรมเสริมของเชียร์ ก็จะเป็นการคลานเล่นอิสระ การเรียนรู้เรื่องสี เรื่องสัตว์ หรือ พืช เป็นต้น

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ในการเลือกกิจกรรมให้น้องๆในวัยต่างๆ ตั้งแต่เด็กแบเบาะ ไปจนถึงเด็กโตๆ เราสามารถศึกษาได้จากหลายแหล่งค่ะ โดยดิฉันจะดูจาก

- ตารางเรียนของน้องแชง สำหรับเด็ก 1.6-2.5 ปี
- หนังสือคู่มือ ที่แนะนำอยู่นี้ ก็มีข้อมูลสำหรับเด็กทารก ไปจนเด็กประถมต้น
- ในหนังสือ และ เวบไซต์ ของ Home School และ พวก Montessori

ซึ่งเราสามารถเอามาประยุกต์ จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับลูกได้ทั้งสิ้น

ในตารางเรียนของน้องแชงที่เวียดนาม เป็นหลักสูตรที่ใช้การเรียนการสอน แนว Project Approach โดยลูกจะศึกษาใน 5 แขนง
คือ

คณิตศาสตร์
สังคมศึกษาและวิทยาศาสตร์
ศิลปะแเละการดนตรี
ภาษาศาสตร์
การออกกำลัง

ก็จะจัดกิจกรรมตามที่โรงเรียนได้วางแนวทางไว้ แต่ก็จะเพิ่มเติมในส่วนของเกมส์ กิจกรรมตาราง 100 ช่อง เล่นเบี้ย เล่นลูกปัด และ Flash card ด้วย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หากเราตั้งใจจะทำ โฮมสคูลให้ลูกจริงๆจัง เราควรมีแผนแม่บทค่ะ โดยวางแผนระยะยาว โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 4 เดือน โดยระบุกิจกรรมที่เด็กต้องฝึกฝน และแบ่งกิจกรรมในแต่ละช่วงให้พัฒนาลูกทั้ง 5 ด้าน และเสริมกิจกรรมตามชีวิตประจำวัน เช่น กรณีน้องแชง

ภาษาศาสตร์
- ตัวอักษร A-Z
- ตัวอักษร ก-ฮ
- การฟังนิทานตามตัวอักษร A-Z
- ท่องอาขยาน


คณิตศาสตร์
- การนับ 1-20
- สี
- รูปทรง
- วางเบี้ยตาราง 100 ช่อง
- ลูกปัด
- การเขียน 1-20

สังคมและวิทยาศาสตร์
- การรู้จักสิ่งของหรือ สัตว์ หรือ พืช ในชีวิตประจำวันตามตัวอักษร
- รู้จักสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง
- มรรยาท
- การช่วยเหลือตนเอง กินข้าว อาบนำ้ แต่งตัว ถอดเสื้อผ้า ใส่ถุงเท้า

คนตรีและการออกกำลังกาย
- ว่ายน้ำ
- เตะบอล
- ร้องเพลง
- อาหาร

ทั้งหมดนี้เป็นแผนแม่บท 1 ปี หลังจากนั้น ดิฉันก็ต้องมาซอยว่า ในแผนแต่ละช่วง คือทุกๆ 3-4 เดือน เราจะทำอะไร ก่อนหลัง เพื่อให้ลูกสามารถทำได้ตามเป้าหมาย และควรมีการประเมินผลทุกระยะ เพื่อจัดการเรื่องแผนให้เหมาะกับลูก เด็กบางคนหัวไว เรียนจบเร็ว แต่เด็กบางคนอาจจะต้องใช้เวลา เพราะยังสนุกสนานกับการเล่น เรื่องนี้ต้องปรับกิจกรรมให้เหมาะกับลูกด้วย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ดิฉันสังเกตจากโรงเรียนน้องแชง คือ ปีหนึ่งมี 4 เทอม โรงเรียนจะสอนตามอักษร คือ เทอม 1 เรียน A-F เทอม 2 เรียน G-K เป็นต้น ดังนั้นดิฉันก็จะจัดให้สอดคล้องกับโรงเรียน เพื่อไม่ให้ลูกสับสน แต่สำหรับแต่ละบ้านที่ทำโฮมสคูลก็ปรับเอาเอง แต่อย่างไรก็ตาม ในการสอนเด็กเล็กๆ เราไม่ต้องสอนรวดเดียวจบ สอนทีละ 3-5 ตัว สอนซำ้ๆ ไปแต่ละอาทิตย์ เพราะเด็กเล็กสมาธิยังไม่ยาว ไม่นิ่ง เขาจะเรียนรู้จากการทำซำ้ๆค่ะ

ดังนั้น ช่วงปิดเทอม 1 เดือน ดิฉันจะเน้นสอน A-F แต่ ให้ท่อง A-Z โดยใช้วิธีร้องเพลง และเล่นตาราง A-Z

พวกงานศิลปะ ระบายสี ก็จะเน้นไปทางรูปหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับ A-F รวมทั้งคำศัพท์ด้วย เรื่องราวด้วย

การเล่นแป้งโดว์ การตัดแปะก็ต้องทำ เพราะสำคัญกับการพัฒนาเด็กเล็ก

ส่วนน้องเชียร์ก็เรียนด้วยได้ แต่ยังไม่ลงมือทำกิจกรรมศิลปะ เพราะยังเอามากินเข้าปากอยู่ แต่ก็จะได้สัมผัสบ้าง พวกของที่มีพิ่้นผิวต่างๆ เป็นต้น

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ในหนังสือแนะนำให้เราทำตารางแต่ละสัปดาห์ไว้เลยค่ะ ใช้สำหรับ 4 เดือน ซึ่งทำให้เราจัดเตรียมอุปกรณ์ได้ง่าย และมีทิศทางว่า เราและลูกจะทำอะไร เพื่อให้บรรลุจุดหมายในการเรียนรู้ของลูกในปีนั้นๆ ของดิฉัน มี 3 ช่วงเวลา ช่วงเวลาประมาณ 1-1.5 ชม. ดังนั้นจะจัดเป็น 5 กิจกรรมพอดี

กิจกรรมที่ 1 : คณิต
กิจกรรมที่ 2 : ศิลปะ
กิจกรรมที่ 3 : สังคมและวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ 4 : ออกกำลังกายและดนตรี (เพราะใกล้เที่ยง จะได้หิวๆ)
กิจกรรมที่ 6 : ภาษา (เพราะเป็นเวลานอน จะได้ตบท้ายด้วยนิทานก่อนนอน)

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หลังจากนั้นก็มาลงลึกว่าแต่ละวันจะทำอะไรบ้าง เช่น

สัปดาห์ที่ 1 :

วันที่ 1 :คณิต : อ่าน 1-10
หัดเขียน เลข 1
วางเบี้ย ตาราง 100 ช่อง 1-10
เล่นลูกปัด
นับรองเท้าในรูป

วันที่ 2 : คณิต : อ่าน 1-10
หัดเขียน เลข 2
วางเบี้ย ตาราง 100 ช่อง 1-10
เล่นลูกปัด
เล่นบล็อกรูปทรง

เป็นต้น

หลักๆคือการจัดกิจกรรม และการเล่นให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ เช่น ภาพระบายสีเกี่ยวกับอาชีพ ใช้ประกอบการสอน ศิลปะ และเราก็สอนอธิบาย วิชาสังคมไปได้ ว่าแต่ละอาชีพคืออะไร มีหน้าที่อะไร และอาจพาไปทัศนศึกษา ดูของจริงได้ เช่น ตำรวจจราจร พยาบาลและแพทย์ เป็นต้น

หรือ ภาพระบายสี ABC หรือ ตัวเลข ก็นำมาประกอบการสอน ศิลปะ และเลขไปด้วย หรือ ภาษาศาสตร์ไปด้วย บางทีระบายสีเสร็จ ก็นำมาตัด แล้ว ทากาวแปะ บนกระดาษ หรือตกแต่งด้วย เมล็ดพืช กากเพชร จะทำให้สอนเด็กได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งศิลปะ วิทยาศาสตร์ เลข เป็นต้น ต้องคิดให้กว้างๆไว้ค่ะ สอนตรงไหนได้ก็สอนเลย เด็กเล็กๆ สมองเหมือนฟองนำ้ ดูดซับไปหมดค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เนื่องจากดิฉันไม่ได้ทำโฮมสคูลให้ลูก 100% ดิฉันก็จะไม่ได้ทำตามแผน 100% เพราะน้องแชงจะไปโรงเรียนช่วงเช้า แต่ดิฉันก็จะทำแผนคร่าว เป็นแนวทาง เพื่อประเมินลูกและหาวิธีส่งเสริมศักยภาพของลูกไปด้วย ที่สำคัญ คือใช้เป็นแนวทางในการจัดหา หนังสือ อุปกรณ์ ของเล่น ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของลูกทั้งสองคน

ดิฉันสังเกตว่า ในช่วงนี้ น้องแชงและน้องเชียร์นั้น อยากเรียนรู้มาก และอยากให้ดิฉันหรือสามีเล่นด้วย ทำกิจกรรมด้วย ซึ่งเป็นโอกาสทองที่จะปลูกฝังนิสัยรักการเรียน รักการอ่าน ผ่านการเล่น โดยเฉพาะการเรียนและเข้าใจคณิตศาสตร์ ตรรกะศาสตร์ จะเห็นเป็นรูปธรรมที่เด็กเข้าใจ ต้องมาจากการเล่น จึงจะสนุกและจำได้

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

สารภาพตามตรงจากความรู้สึกของแม่ ดิฉันรู้สึกว่า ดิฉันเองยังไม่ควรส่งน้องแชง เข้าโรงเรียน เพราะลูกยังไม่พร้อมหลายอย่าง ตอนนี้โรงเรียนสอนให้เขียนหนังสือ ตามจุด ABC 123 ซึ่งยังไม่สมควร กล้ามเนื่อมัดเล็กของลูกยังไม่แข็งแรง ยังไม่สามารถควบคุมนำ้หนักมือได้ ดิฉันจึงยังไม่เห็นด้วยที่ลูกจะหัดเขียน แต่น้องแชงเขาชอบมากและอยากเขียน อยากให้สอนและจับมือเขียนค่ะ

ปิดเทอมนี้ก็ว่าจะเน้น เรื่องระบายสีเทียน และการปั้นแป้งโดว์ และ การฝึกคีบตะเกียบ จะได้เป็นการฝึกกล้ามเนื้อนิ้วและมือ ส่วนการเขียนก็คงจะให้เขียนทราย หรือ ใช้สีเทียนเขียนเส้นตรง เส้นโค้ง บ้าง

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

คราวนี้ดิฉันจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ประจำวัน ที่เกิดขึ้นจริงในวันนี้ วันที่ 13 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์

ดิฉันได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ แล้วดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ กิจกรรมที่ 1 เริ่มเวลา 8:30-10:30 แต่ดิฉันไม่ได้เริ่มจากการทำกิจกรรมคณิตหรือสังคมวิทยาศาสตร์ เนื่องจาก น้องแชงเลือกเอง ที่จะเล่นแป้งโดว์

ดังนั้นเราจึงเล่นแป้งโดว์ ปั้นเป็นรูปกลมๆ ก็สอนเรื่อง รูปทรงไปด้วย แป้งโดว์ที่เล่น มี 4 สีๆละ 1 ก้อน ดังนั้นก็ถือโอกาสเรียนสี และเรียนนับเลขไปด้วย โดยทั้งหมด พูดเป็น 3 ภาษา คือ ไทย เวียดนามและอังกฤษ ตอนที่ปั้น ก็มีปั้นเป็นรูป แครอท ก็จะพูดเรื่องแครอทไปด้วย เช่น กระต่ายชอบกินแครอท แครอทมีประโยชน์ มีเบต้าแคโรทีน มีวิตามิน A เยอะ หรือ กดพิมพ์ เป็นรูปดาว ก็ชวนร้องเพลง ทำท่า Twinkle Little Star ไปด้วย ปั้นเป็นรูปเค็กวันเกิด ก็ปั้นเทียนวันเกิด เสียบบนขนม แล้วนับเลขไปด้วย



ี่หลังเสร็จกิจกรรมเวลา 10:30 น. ดิฉันก็ปล่อยลูกเล่นอิสระ เพื่อตัวเองจะได้ไปทำการงานอื่นๆ น้องแชงใช้เวลาช่วงนี้ เล่นขี่รถ และคลานไล่จับกับน้องเชียร์

หลังทานอาหารเที่ยง ดิฉันไปนอนพักผ่อนกับน้องเชียร์ แต่แชงไม่นอนตามเวลา สามีของดิฉันจึงพาลูกไปว่ายนำ้ ฝึกตีขา ฝึกลอยตัวถึงเวลาบ่ายสามโมง จึงกลับมาทานอาหารว่าง แล้วนอนกลางวัน ถึง 5 โมงเย็น

หลังทานอาหารเย็น เราพาลูกๆไปเล่นตีแบต ซึ่งเป็นพ่อกะแม่ตีเป็นส่วนใหญ่ เด็กๆเป็นกองเชียร์และคอยวิ่งเก็บลูก

เวลาทุ่มครึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลากิจกรรม ดิฉันจึงรวบยอด ให้น้องแชงหัดเขียนเลข 0-3 ตามจุดเส้นประ และระบายสีรูปภาพประกอบนั้น จำนวน 4 หน้า พร้อมทั้งนับจำนวนของในภาพระบายสีด้วย ฝึกเป็นภาษาไทย และอังกฤษและเวียดนาม และเนื่องจากน้องแชง ยังไม่ยอมเก็บดินสอสี ดิฉันจึงคิดกิจกรรม นับจำนวนดินสอสี แบบบวก และเอาออก คือลบ ไปด้วย จำนวน 1-10
เขาชอบมากค่ะ แม้จะตอบผิดบ้างถูกบ้าง แต่ขอให้เล่นหลายรอบ ต่อด้วยการฝึกจินตนาการเด็ก โดยการเอาดินสอสีมาเรียงต่อเป็นรูปบ้าน รูปรถ รูปเก้าอี้ ตบม้ายสุดด้วยการอ่านนิทานสองภาษาก่อนนอนค่ะ

ส่วนการจับคู่ตัวอักษร และตาราง 100 ช่อง ลูกวางเล่นเองตอนที่รอดิฉันเตรียมตัวมาเล่นรอบคำ่ เดี๋ยวนี้เขาวางเองไม่ค่อยผิด แต่ทำไม่ครบ 100 นะคะ ตอนนีฝึกแค่ 0-10

สรุปเราสามารถผสมผสานการเรียนการสอนของหลากหลายสิ่ง
ภายในกิจกรรมเดียวกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในเวลานั้น อารมณ์นั้น มีสิ่งใดผุดขึ้นมา ก็สอนได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม ควรใช้แผนเป็นหลักในการเตรียมอุปกรณ์ และเตรียมการสอน จะได้ไม่หลงทาง

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

มีคนถามว่า หากตอนที่สอนเด็กเล่นต่างๆ หรือ เรียนอยู่ เมื่อครบเวลาที่กำหนด แต่เด็กยังติดลม สนุกอยู่ควรให้เล่นต่อไม๊ แม้ว่าจะครบเวลาที่ตั้งไว้

พ่อแม่บางคน เห็นลูกกำลัง in the mood ก็รีบอัดต่อไปเลย เลยเวลาก็ทำแบบฝึกหัดต่อ กำหนดไว้ 4 หน้าก็เพิ่มหน้าไปอีก

แต่พ่อแม่บางคนก็ Strict to the rule สำหรับดิฉัน จะใช้วิธียืดหยุ่น คือ หากเป็นการเขียน ก็จะจบเท่าที่กำหนดไว้ ไม่ต่อ แต่ในกรณีระบายสี หรือ แป้งโดว์ ก็อาจจะต่อให้ได้ อีกนิดหน่อย เพราะการจบตรงเวลาตามแผน เป็นการฝึกเด็กให้รู้จักการตรงเวลา และรอคอยวันเวลาที่จะได้มาเล่นอีกหากให้เล่นจนเบื่อ วันหลังจะไม่ยอมเล่นอีก เพราะเบื่อแล้ว

Unknown กล่าวว่า...

ขอแวะมาอ่านหาประสบการณ์นะครับ พอดีว่าลูกชาย (สามขวบ) กำลังอยู่ในช่วงสนใจอยากมีเพื่อนและอยากเข้าโรงเรียน แต่ไม่ไว้ใจระบบการศึกษาบ้านเรา ก็เลยกำลังสนใจ Homeschooling โดยให้การศึกษาในระบบมีบทบาทในแง่ทักษะการเข้าสังคมและการวัดผลตามระบบเท่านั้นครับ

ขอแวะมาอ่านและแชร์เป้นครั้งคราวนะครับ

saifonlittle กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ
ขออ่านเรื่องราวดีดีที่คุณมนแชงทำกับลูกแล้วไปประยุกต์ทำกับลูกสาวบ้างนะคะ พอดีตอนนี้เค้าสองขวบเก้าเดือน
เรามาอยู่ที่อินเดียได้ประมาณสามเดือนแล้ว แต่ดิฉันไม่เก่งภาษาอังกฤษ ลิตเติ้ลไปเพลย์สคูลได้เดือนนึงแล้วค่ะไปวันละสี่ชม. แต่ก็ยังสื่อสารไม่ได้ (ผู้ช่วยครูพูดภาษาฮินดี ส่วนครูพูดภาษาอังกฤษในชม.กิจกรรมซึ่งครูจะมาวันละครึ่งชม.)
อ่านเรื่องคุึณแล้วรู้สึกดีมาก ดิฉันซึ่งพยายามสอนภาษาอังกฤษลูกซึ่งเค้าก็พูดบ้าง ไม่พูดบ้าง ก็ยังหวังว่าวันนึงเค้าจะซึมซับและสามารถสื่อสารกับเพื่อนได้บ้าง

ขอบคุณค่ะ

แม่น้องไอซ์ กล่าวว่า...

ได้รับความรู้มากมายค่ะ จะเอาไปปรับใช้กับน้องไอซ์ดูบ้างค่ะ น้องไอซ์ 2ขวบ4 เดือน ขอบคุณสิ่งดีๆ ที่แบ่งปันนะคะ

tusawan กล่าวว่า...

เข้ามาอ่านแล้วเป็นประโยชน์อย่างมากมาย ลูก 1.6 ขวบ ยังไม่สายใช่ไหมค่ะที่จะเริ่มต้น คุณทำได้ขนาดนี้สุดยอดมาก

Apiradee Irada Anurak กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะคุณแม่ พึ่งเริ่มติดคุณแม่ตามมาสักพัก รู้สึกดีใจ และขอบคุณมากเลยค่ะที่มาแบ่งปันข้อมูลลูกน้อย น้องอาจไม่มีโอกาศได้ทำโฮมสกูลอย่างเต็มตัวนะค่ะ เนื่องจากต้องทำงาน แต่จะพยายามใช้เวลากับลูกให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ ขออนุญาตนำข้อมูลมาปรับใช้กับลูกสาวนะค่ะ ตอนนี้เค้าพึ่งอายุได้ 7 เดือนค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

Wamon Trading Journal กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ เป็นประโยชน์มากๆ เลยค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่มาแบ่งปันนะคะ