วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โภชนาการเด็ก

เห็นคุณแม่หลายคนกังวลและไม่เข้าใจเรื่องโภชนาการเด็ก พอดีคุณหมอของน้องแชงที่เวียดนามนี้ส่งมาให้ค่ะ จึงอดสรุปมาฝากไม่ได้ ลองเอาไปศึกษาดูนะคะ


- ต้องมั่นใจว่าลูกๆทานอาหารได้ดีเต็มที่ อย่างน้อยวันละ 5 มื้อ และเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละมื้อด้วย
- ควรแนะนำให้ลูกๆทานอาหารหลากหลายให้มากที่สุด เพื่อให้เด็กๆได้รับสารอาหารครบถ้วนตามร่างกายต้องการ
- ควรพยายามให้ลูกดื่มนมวันละ 1-2 แก้วทุกวัน เป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่เด็กๆต้องได้รับในแต่ละวัน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน
- อาหารของเด็กๆในวัยนี้ ควรเป็นอาหารที่อ่อนนุ่มและให้พลังงานสูง
- อย่าให้เด็กๆรับประทานของจุกจิก หรือรับประทานตลอดเวลา เพื่อป้องกันฟันผุและการไม่มีวินัยในการกิน
- อย่าให้อาหารจานโปรดของเด็กในปริมาณมากๆ เพราะสารอาหารอาจจะไม่ครบในอาหารจานใดจานหนึ่ง ควรให้อาหารในปริมาณไม่มากในแต่ละคราว แต่ให้หลากหลาย

ประเภทของสารอาหาร และปริมาณแคลอรี่ที่ได้

- คาร์โบไฮเดรต คือ อาหารพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ขนมปัง ธัญพืช และพวกของหวานๆ ให้ปริมาณแคลอรี่ 4 แคลอรี่ต่อหนึ่งกรัม
- โปรตีน เช่น พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ ปลา นม ไข่ ให้ปริมาณแคลอรี่ 4 แคลอรี่ต่อกรัม
- ไขมัน มีใน น้ำมัน และเนยต่างๆ ให้ปริมาณแคลอรี่ 9 แคลอรี่ต่อกรัม
- วิตามิน มีใน ผัก ผลไม้
- เกลือแร่ มีใน เนื้อสัตย์ ปลา นม ไข่ เป็นค้น
- เส้นใย มีมากในผลไม้ ผัก

ในอาหารของเด็กๆในแต่ละมื้อ ควรประกอบด้วยอาหารให้ครบ 6 หมู่ ในสัดส่วนของแคลอรี่ที่ให้พลังงานดังต่อไปนี้เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กได้รับสารอาหารเพียงพอกับการเจริญเติบโต ทั้งทางด้านน้ำหนักและส่วนสูง รวมทั้งมีพัฒนาการที่ดี

50% ของพลังงานที่ได้รับควรมาจากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
25% จากโปรตีน
25% จากไขมัน

หากในมื้ออาหารของเด็กๆมีความสมดุลดังที่กล่าวมาข้างต้น หมายความว่าเด็กคนนั้นได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอแล้ว

พลังงานที่เด็กต้องการในแต่ละวัน

เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน ต้องการพลังงาน 120-150 แคลอรี่ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน

เด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี ต้องการพลังงาน 100-110 แคลอรี่ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน
เช่น เด็ก 6 เดือน นำหนัก 6 กิโลกรัม ต้องการพลังงาน 800-900 แคลอรี่ต่อวัน
เด็กอายุ 2 ปี นำหนัก 11 กิโลกรัม ต้องการพลังงาน 1,000 -1,200 แคลอรี่ต่อวัน


การตรวจสอบว่าเด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตดีหรือไม่

การตรวจง่ายๆที่ทำให้ครอบครัวและพ่อแม่สามารถดูได้ว่าลูกมีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ จะช่วยให้ทราบปัญหาก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนยากแก่การแก้ไข


เด็กสุขภาพดี

- ดูดี ไม่อ้วน หรือผอม จนเกินไป
- มีการเจริญอาหารดี
- ดวงตาและผมแวววาว สดใส
- ผิวพรรณนุ่มเนียน เปล่งปลั่ง
- สูงและน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์

เด็กที่มีปัญหาด้านการโภชนาการ

- ดูน้ำหนักไม่ขึ้น ไม่สูงขึ้น หรือขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- ไม่สนใจเด็กอื่น หรือ ไม่สนใจเล่น
- ดวงตาและผมไม่แวววาว สดใส
- ผิวพรรณไม่สดชื่น อาจจะมีการลอก แตก หรือดูซูบซีด ไม่สดใส
- ดูอ่อนแอ ผอมขี้โรค

สรุปมาจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และ Chiclinic ประเทศเวียดนาม



5 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องนมกระป๋องและนม UHT ต่างกันอย่างไร

นม UHT ที่ทำจากนมผงนั้น คือแบบที่เอานมผงมาละลายนำ้ให้ใช้สะดวกขึ้นค่ะ ส่วนมากเป็นนมนำเข้า เพราะนำเข้ามาเป็นรูปนำ้นมดิบไม่ได้ ในขั้นตอนการเปลี่ยนนมเป็นนมผง ทำให้คุณค่าทางอาหารของนมเสียไปเป็นจำนวนมาก แต่ที่ต้องทำ เพื่อการเก็บรักษา และทำโปรตีนให้เล็กลง เพื่อให้เด็กทารกทานได้ ดังนั้นการเสริมธาตุสารอาหารต่างๆ ก็เพื่อทดแทนสารที่เสียหายไป และเพื่อผลทางการตลาดให้ผลิตภัณฑ์มีลูกเล่นในการขายมากกว่า ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงกว่า จึงแพงกว่านมโค 100% ประมาณ 20-30%

เด็กที่อายุเกิน 1 ปี หากไม่แพ้นมธรรมดา ให้ดื่มนมสดดีกว่า นมโค 100% ไม่ผ่านขั้นตอนมาก ต้นทุนไม่สูง เหมือนนมผงละลายนำ้

แต่คุณภาพนมในเมืองไทย ไม่ค่อยจะดีเพราะ การเลี้ยงไม่ค่อยถูกต้อง ทำให้นำนมดูใสๆ ไม่เข้มข้น เหมือนนมจากต่างประเทศ เท่าที่ทาน นมจิตรลดานี่ดีมากแล้วก็ว่าได้ นอกนั้นดิฉันไม่ชอบเพราะเหมือนนำ้

ลองพิจารณาดูนะคะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ลูกไม่ทานข้าว

เห็นแม่หลายๆท่านค่ะ เมือ่สองเดือนก่อน ลูกก็มีปัญหานี้ค่ะ กว่าจะคลำทางเจอก็เป็นเดือนเหมือนกัน

1) ลองสังเกตอุจาระของลูกว่า อึออกมามีเศษอาหารออกมาหรือไม่ เช่นทานผัก ก็มีเศษผักออกมาปน หรือ ทานผลไม้สีแดงเช่น แตงโม ก็มีสีแดงปนออกมา หากมีแบบนี้ แปลว่าการทำงานของระบบย่อยของลูกยังไม่ดีพอ วิธีแก้ ก็คือ อาหารของลูก ต้องนุ่มเละมากหน่อย หรือบดหยาบๆ อย่าให้ทานเหมือนเรา เพราะเด็กๆ บางทีระบบย่อยก็ยังทำงานไม่สมบูรณ์ค่ะ

พอย่อยไม่ดี ก็ท้องอืด รู้สึกอิ่ม ไม่อยากทาน

และควรจะแบ่งอาหารลูกเป็นมื้อย่อยๆ 4-6 มื้อ อย่าให้มื้อใหญ่ เพราะกระเพาะจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก และอาจหารือคุณหมอได้ เพราะมียาที่ช่วยสร้าง นำ้ย่อน เสริมระบบการทำงานของระบบย่อยอาหารได้ค่ะ

2) ลูกมีออกกำลังกาย เล่นสนุกหรือเปล่า หมายถึง วิ่งเล่น กระโดดโลดเต้น ปีนป่าย เด็กๆวัยนี้ เขาต้องการปลดปล่อยใช้พลังงาน หากไม่ให้เขาเล่นหนักๆ บางทีก็ทานไม่ลงค่ะ

3) คืิอเหมือนเพื่อนๆบอก เรื่องต้องมีวินัยในการกิน หากไม่กิน ก็ปล่อยให้หิว อย่าหาอย่างอื่นให้ทาน ไม่มีตัวเลือก เด็กบางคนเห็นของกินเต็มบ้าน ทำให้รู้สึกเซ็ง ไม่น่าลอง ลองเก็บของกินหมดสิคะ เอามาให้เขาเห็น ก็ตอนจะให้เขากิน เขาจะไ้ด้อยากกิน เพราะเป็นของใหม่ ไม่เคยเห็น ไม่เคยลอง

4) อย่าลืมเลือกอาหารที่มี แคลอรี่สูงให้ลูกทานนะคะ ต้องคำนวณให้ได้อย่างน้อย 1,000 แคลอรี่ อาหารทุกมื้อ ต้องเสริมไขมัน 1 ช้อนชา ไม่ว่าจะในรูปเนย ชีส นำ้มัน หรือ ครีมสด เพื่อเพิ่มพลังงาน ต้องมีคาร์โบไฮเดรตรูปใดก็ได้ 50% และ โปรตีน 25% คาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีนจะให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ว่วนไขมันจะให้ประมาณ 8 แคลอรี่ต่อหนึ่งกรัม

(สูตรนี้ใช้เฉพาะเด็กที่มีปัญหานำ้หนักน้อยนะคะ หากลูกมีนำ้หนักในเกณฑ์อย่าใช้ เพราะจะเป็นโรคอ้วนได้)

ดิฉันลองมาหมดแล้วค่ะ โดยเฉพาะเรื่องพีดีเอชัวร์เนี่ย ลูกเลิกทานข้าวไปเลย เพราะติดพีดีเอชัวร์ มันสบาย อิ่มนาน ไม่หิว กว่าจะแก้ได้ เป็นเดือนเหมือนกัน แก้วิธีการที่บอกข้างบนค่ะ ตอนนี้ ดีขึ้นมาก เป็นปกติแล้ว

ให้กำลังใจนะคะ เรื่องปรับพฤติกรรมเสียๆของลูกนี่ หน้าที่เราค่ะ ไม่อยากก็ต้องทำ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

การมีโภชนาการที่ดีเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในวัยนี้ จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง


โภชนาการที่เหมาะสม นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกน้อย เพราะในช่วงขวบปีแรก เด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางร่างกายและสมอง โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง ยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนถึงอายุ 2 ขวบ อาหารสำหรับเด็กวัยก่อนวัยเรียน จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็ก ทั้งในขณะที่อยู่ในวัยนี้ และระยะต่อไป

การขาดอาหารในระยะนี้ จะส่งผลให้เด็กมีสติปัญญาการเรียนรู้ด้อยลง การเจริญเติบโตชะงัก ทำให้ร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และติดเชื้อง่าย มีอัตราการเสียชีวิตสูง พ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารอย่างถูกต้อง และเพียงพอกับความต้องการตามวัยด้วย

อาหารที่เด็กวัยก่อนเรียน (อายุ 4-5 ปี) ควรได้รับในแต่ละวัน

หมวดข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว และแป้ง เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญซึ่งร่างกายควรได้รับวันละ 6 ทัพพี เด็กก่อนวัยเรียนเริ่มอยากกินอาหารของผู้ใหญ่ ชอบข้าวสวยนิ่ม ๆ มากกว่าข้าวต้ม คุณแม่เสริ์ฟพร้อมแกงจืดเล็กน้อย เพื่อช่วยให้เด็กกลืนง่ายขึ้น

ผักใบเขียว และผักอื่น ๆ เด็กมักจะชอบผักที่มีสีสรรดึงดูดสายตา เช่น แครอท เมล็ดถั่วลันเตา หรือผักบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาดขาว ซึ่งเมื่อต้มสุกจะนิ่มและมีรสหวาน ในปริมาณวันละ 3 ทัพพี หรืออาจจะเป็น 1 ทัพพีในแต่ละมื้อ

ผลไม้ คุณแม่ควรให้ลูกได้เลือกรับประทานผลไม้สดตามฤดูกาล ในปริมาณ 2 ส่วน (1 ส่วนของผลไม้แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาด เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล ส้มเขียวหวาน 1 ผลกลาง มะม่วงสุกครึ่งผลเล็ก มะละกอสุก 6 ชิ้นพอคำ) เพื่อช่วยให้เด็กได้รับวิตามินซี วิตามินเอ ใยอาหาร น้ำผลไม้ควรจำกัดปริมาณ เมื่อดื่มให้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ร้อยเปอร์เซ็นต์ (120 มิลลิลิตร คิดเท่ากับผลไม้ 1 ส่วน)

นม เด็กควรดื่มนมเป็นประจำวันละ 2-3 แก้ว ควรเลือกนมชนิดจืด เพื่อฝึกเด็กให้คุ้นเคยกับรสธรรมชาติ ถ้าเด็กปฏิเสธการดื่มนม อาจลองอาหารธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต ซีเรียล ซึ่งต้องกินกับนม หรืออาจเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น โยเกิร์ต ชีส เป็นต้น นม 1 แก้วของเด็กก่อนวัยเรียน ขนาด 180 มิลลิลิตร หรือชีสขนาด 50-60 กรัม หรือโยเกิร์ต 3/4 ถ้วยตวง และหลังจากที่เด็กอายุ 2 ขวบไปแล้ว อาจเลือกผลิตภัณฑ์พร่องมันเนย

ไขมัน ใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร ลดปริมาณของทอด หรือของมัน ให้ใช้เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และผลิตภัณฑ์นมพร่องไขมัน หรือถ้าเป็นขนมที่มีไขมันมาก ของว่างที่ผลิตจากโรงงานอาหารควรอ่านฉลากอาหารประกอบ

การจัดอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน

อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนคือ ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ย่อยง่าย และนม โดยจัดให้เด็กกินหลากหลายในแต่ละหมวด และการประกอบอาหารก็ควรคำนึงถึงความสะอาด และต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่ายด้วย ถ้าอาหารแข็ง หรือเหนียวเคี้ยวยาก ก็ควรจะสับ หรือต้มให้เปื่อย ที่สำคัญต้องครบหมวดหมู่ เด็กวัยนี้ควรรับประทานอาหาร 3 มื้อ พร้อมทั้งเสริมด้วยอาหารว่างระหว่างมื้อ เพราะเด็กในวัยนี้มีความต้องการพลังงาน และสารอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ (เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักกิโลกรัมต่อกิโลกรัม) แต่กระเพาะอาหารของเด็กเล็กกว่าผู้ใหญ่ อาหารว่างจึงมีความจำเป็นสำหรับเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กได้รับพลังงาน และสารอาหารเพียงพอกับการเจริญเติบโต

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีความอยากกินอาหารคือ บรรยากาศที่รื่นรมย์ ยิ้มแย้มแจ่มใส จัดอาหารให้ดูน่ารับประทาน การขัดแย้งภายในครอบครัวที่โต๊ะอาหาร เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง สภาพแวดล้อมทางสังคมที่อบอุ่นในครอบครัว จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความสุขกับการกินอาหารมากขึ้น

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ความรู้เรื่อง ชีส (Cheese)

เมื่อเอ่ยถึง ชีส (cheese) หลายท่านคงเข้าใจว่า ชีส ก็คือ เนย แต่ที่จริงแล้ว เนย คือไขมันล้วน ๆ ที่ถูกแยกออกมาจากไขมันนมสด สำหรับ ชีส คือผลิตภัณฑ์นม ซึ่งเปลี่ยนลักษณะไปเป็นของแข็งด้วยกระบวนการทางอุตสาหกรรมอาหาร โดยการเติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไปในนม ให้นมจับกันเป็นลิ่ม และแยกตัวเป็นชั้นของแข็งเรียกว่า ?เคิร์ด? ซึ่งในส่วนนี้จะถูกนำมาทำเป็น ชีส และในชั้นของเหลวเรียกว่า ?เวย์? ที่มีคุณค่าทางอาหารจะถูกนำไปเลี้ยงสัตว์ บางครั้งยังสามารถนำไปทำยา หรือเครื่องบำรุงผิว

เมื่อทราบว่า ชีส คืออะไรแล้ว ต่อไปจะเล่าว่า ชีส มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างไรบ้าง ชีส เป็นแหล่งอาหาร ที่ประกอบไปด้วยโปรตีน แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส สังกะสี สูงไม่แพ้นม และวิตามินบี 12 ของอาหารประเภทมังสะวิรัตน์อีกด้วย ขณะที่มีน้ำตาลแลคโตสในอัตราที่ต่ำกว่านม ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนม

สำหรับท่านที่มีปัญหาในการดื่มนม อธิบายเพิ่มเติมดังนี้ บางคนร่างกายขาด ?น้ำย่อยแลคโตส? หรือมีน้อย ทำให้เมื่อดื่มนมแล้ว ร่างกายไม่สามารถที่จะย่อย ?น้ำตาลแลคโตส? ที่มีอยู่ในนมได้ ส่งผลให้น้ำตาลแลคโตสที่เหลืออยู่ในร่างกายผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ และถูกย่อยโดยแบคทีเรีย จนเกิดการหมักหมมเป็นก๊าซ และกรด ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือปวดท้อง

ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนม จึงหันมารับประทาน ชีส แทนโดยไม่เกิดอาการแพ้เหมือนการดื่มนม

เนื่องจาก ชีส เป็นอาหารที่มีสารอาหารเข้มข้น ชีส จึงเหมาะสมสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งต้องการอาหารที่มีพลังงาน และสารอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีน และแคลเซี่ยมซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อกระดูก ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง และสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ (การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแกร่งควรจะเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก จนเป็นผู้ใหญ่ และเข้าสู่วัยสูงอายุ) นอกจากนี้ ชีส ยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน เพราะมีน้ำตาลในปริมาณต่ำ แต่มีโปรตีนในรูปของแคลเซี่ยมที่ช่วยเคลือบผิวฟัน และป้องกันฟันผุ

การรับประทาน ชีส อาจจะได้รับไขมันมากกว่าการดื่มนมเล็กน้อย แต่จะให้คุณประโยชน์มากกว่า การรับประทานเค้ก คุกกี้ หรือช็อกโกแลต ซึ่งให้แต่พลังงาน และไขมันเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ ชีส ให้สารอาหารที่มีประโยชน์มากมายเหมือนนม สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก อาจเลือกรับประทาน ชีส ที่ทำจากไขมันต่ำ เพราะจะมี คลอเรสเตอรอล ต่ำด้วยเช่นกัน ดังนั้น ชีส จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

วิตามิน บี

วิตามิน บี เป็นหนึ่งในวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ โดยจะมีวิตามินบีหนึ่ง บีสอง บีหก ไนอาซิน กรดแพนโทเธนิก ไบโอติน โฟลาซิน และบีสิบสอง บางทีเรียกรวมกันว่า วิตามิน บีรวม มีความสำคัญในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายคำเนินไปได้

วิตามิน บีหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรต การขาดจะทำให้เกิดโรคเหน็บชา อาการเริ่มแรกอาจอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และ ชาตามปลายมือปลายเท้า วิตามินบีหนึ่งมีมากในเนื้อหมู และถั่ว

วิตามิน บีสอง มีหน้าที่สำคัญในกระบวนทำให้เกิดพลังงานในร่างกาย การขาดจะทำให้โรคปากนกกระจอก มีแผลที่มุมปาก ริมฝีปากแตกและลิ้นอักเสบได้ วิตามิน บีสอง มีมากในตับ หัวใจ ไข่ นม และผักใบเขียว

วิตามิน บีหก มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย การขาดจะทำให้เกิดชา และซีดได้

ไนอาซิน มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาผลาญทำให้เกิดพลัง และการสร้างไขมันในร่างกาย การขาดจะทำให้ผิวหนังอักเสบบริเวณที่ถูกแดด ท้องเดิน ประสาทเสื่อม และความจำเป็นเลอะเลือน ไนอาซิน มีมากในเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ นอกจากนี้ร่างกายยังสร้างได้เองบางส่วนด้วย

วิตามินบีสิบสอง มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะไขกระดูก ระบบประสาทและทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สัมพันธ์กับโพลาซิน การขาดวิตามินบีสิบสอง จะมีอาการซีด ชนิดเม็ดเลือดแดงโต และมีความผิดปกติของระบบประสาท วิตามินบีสิบสองพบมากในอาหารจากสัตว์ เช่น ตับ ไต และน้ำปลา

โดยสรุป สำหรับวิตามิน บี จะเห็นได้ว่ามีทั้งในสัตว์และพืช ดังนั้น ถ้าท่านรับประทานอาหารให้ครบหมู่ ภาวะการขาดวิตามิน บี คงจะไม่เกิดขึ้น