วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การดูแลเมื่อลูกเป็นไข้

มีสรุปไว้ในหลายกระทู้ จะมารวมไว้ในนี้ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหานะคะ ตามไปดูในความเห็นได้เลย

2 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ำถามแรกคือ เมื่อไหร่ควรพาไปหาหมอ


ดิฉันไปเปิดหนังสือของ คุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ เรื่อง โรคฮิตของเด็กก่อนวัยเรียน ท่านได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ เมื่อใดควรพาลูกไปหาหมอ เมื่อลูกเป็นไข้ อยู่ในบทหนึ่ง ดิฉันขอสรุปและแบ่งปันให้เพื่อนๆพ่อแม่และท่านที่ดูแลเด็กๆไว้ จะได้ดูแลเด็กๆได้ทันท่วงทีค่ะ

คุณๆควรพาเด็กไปหาหมอทันทีที่ลูกมีอาการไข้ร่วมกับอาการ (อาการใดอาการหนึ่ง หรือ หลายๆอาการ)ดังนี้

- เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน เพราะเด็กเล็กจะสังเกตอาการยาก
- ไข้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส หรือ 104 องศาฟาเรนไฮด์ เพราะหากไข้สูงเด็กอาจจะชัก หรือเป็นโรคร้ายแรง (เด็กชักบ่อยๆไม่ดีค่ะ อาจจะกระทบกระเทือนกับสมองได้)
- รับประทานอาหารหรือนมได้น้อยกว่าปกติ
- มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเหลว
-มีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมงในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ หรือนานกว่า 72 ชั่วโมงในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ
-ร้องไห้ไม่หยุดต่อเนื่องหลายชั่วโมง เพื่อหมอจะได้หาสาเหตุและช่วยเหลือลูก
- กระสับกระส่าย ซึมมาก ปลุกไม่ตื่น
- มีผื่นสีม่วงหรือแดง เป็นจุดหรือจำเลือดตามตัว
- ริมฝีปาก ลิ้น เล็บเป็นสีคลำ
- กระหม่อมโป่งหรือยุบผิดปกติ
- คอแข็งหรือปวดศีรษะมาก
- ขาอ่อนแรง
- หายใจลำบาก
-ชัก
- ต้องนั่งโน้มตัวไปด้านหน้าและมีนำลายไหลตลอดเวลา

วิธีการลดไข้

- ทานยาลดไข้
- เช็ดตัวอย่าถูแรงเพราะเด็กจะเจ็บ โดยใช้นำธรรมดา หรืออุ่นเล็กน้อย เช็ดในทิศย้อนทางไหลของเลือด เน้นซอกคอ ข้อพับ รักแร้ ใบหน้า หลังเข่า หากเด็กไข้สูงมาก ให้ยาแล้วไข้ไม่ลด ก็ให้พาเด็กอาบนำได้ โดยเปิดฝักบัวเบาๆ นำอุ่นเล็กน้อย รดตัวเด็ก แล้วเช็ดให้แห้งทันที ระหว่างที่เช็ดตัว อย่าเปิดพัดลมหรือแอร์ สวมเสื้อผ้าที่หลวมๆ สบายๆ ให้ความร้อนได้ระบาย
- การใช้เจลลดไข้ หรือผ้าเย็นจะไม่ค่อยช่วยลดไข้ แต่อาจจะช่วยหากเด็กปวดหัวค่ะ

หวังว่าคงได้ประโยชน์นะคะ โดยเฉพาะกับท่านๆที่พ่อแม่สามีไม่ค่อยยอมให้พาลูกไปหาหมอ จะได้ดูว่า รอดูอาการได้หรือไม่ ตอนนี้เชื้อโรคมันร้ายค่ะ หากลูกติดเชื้อแบบแรงๆ ก็ไม่น่ารอให้ภูมิคุ้มกันทำงานเอง เพราะมันอาจจะสายเกินไปค่ะ

ขอให้เด็กๆทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง เลี้ยงง่ายๆ โตวัยๆ เก่งๆนะคะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

้างอิงจาก:
น้ำเย็นดี หรือน้ำอุ่นดี?
> นายแพทย์อภิชัย ตันติเวสส
>
> คุณพ่อคุณแม่แทบทุกคนทราบดีว่า เวลาลูกมีอาการตัวร้อนนั้น การเช็ดตัวด้วยน้ำ จะช่วยทำให้ไข้ลดลงได้
> ส่วนมาก คุณพ่อคุณแม่ จะเอาน้ำเย็นมาเช็ดตัวลูก เพราะว่า โดยความรู้สึกของคนทั่วไปแล้ว ถ้าลูกตัว
> ร้อน ก็น่าเอาความเย็นมาดูดความร้อนไป ยิ่งลดความร้อนได้เร็วเท่าไรยิ่งดี แต่เมื่อเอาน้ำเย็นมาเช็ด
> เข้าจริงๆ ลูกกลับผวา. ร้องไห้ลั่น, ตัวสั่นงั่กๆ และบางคนถึงกับชักเลยก็มี เหตุที่เป็นเช่นนี้มีด้วยกัน
> หลายประการ ดังที่ผมจะได้พยายามอธิบายตามนี้ครับ
>
> เมื่อลูกตัวร้อน ส่งที่เกิดขึ้นคือ ร่างกายของลูกกำลังต่อสู้กับเชื้อที่มารุกราน ภายในร่างกายจะมีการสร้าง
> ความร้อนมากจนระบายออกไม่ทัน ตัวลูกเองนั้น จะพยายามระบายความร้อนออกโดยการสูบฉีดโลหิตให้
> เร็วขึ้น (หัวใจเต้นเร็ว), เส้นเลือดต่างๆขยายตัวเพื่อให้เลือดไหลได้เร็วขึ้น (ตัวแดง), และผิวหนัง
> ของลูก จะมีความร้อนผิดปรกติ เพราะกำลังมีการแผ่กระจายความร้อนออกไป สักพักหนึ่ง เราอาจเห็น
> ลูกมีเหงื่อออก แล้วความร้อนก็จะลดลง
>
> การเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนั้น จะช่วยให้ไข้ลดลงได้ดังนี้คือ น้ำอุ่น จะทำหน้าที่คล้ายเหงื่อ เมื่อเราเอามาเช็ด
> ที่ผิวลูกแล้ว มันจะระเหย พาความร้อนไปกับมัน น้ำอุ่นจะช่วยให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้ดี
> เลือดสามารถไหลจากภายในร่างกาย มาสู่ผิวได้ดี เป็นการนำความร้อนจากภายในร่างกายมาสู่ที่ผิวได้ดี
> ขึ้น น้ำอุ่น ไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าความแตกต่างของอุณหภูมิขณะเช็ดตัวมีมากเกินไป ไม่สะดุ้ง ไม่ผวา ไม่เกิด
> อาการสั่นของกล้ามเนื้อ
>
> การเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นนั้น จะทำให้เกิดสิ่งต่อไปนี้คือ น้ำเย็นจะทำให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิอย่าง
> มาก ลูกจะสะดุ้งผวา และรู้สึกไม่สบายตัวเลย ความแตกต่างของอุณหภูมิที่มีมากนี้ อาจทำให้ลูกถึงกับชัก
> ได้ด้วย นอกจากนี้แล้ว ความเย็นจะทำให้เกิดการสั่นของกล้ามเนื้อซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นอีก
> น้ำเย็น จะทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง ร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดจากภายใน
> มาที่ผิวหนังเพื่อถ่ายเทความร้อนได้ การถ่ายเทความร้อนอาจมีได้เฉพาะในช่วงสั้นๆ เท่านั้น
>
> ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ จะเห็นได้ว่า การเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นนั้น ไม่ได้มีประโยชน์ในการลดไข้อย่างที่เข้าใจ
> กันโดยทั่วไป การใช้น้ำอุ่นนั้นกลับจะให้ผลดีกว่าอย่างมากทีเดียว เอาจริงๆ แล้ว แทบจะไม่มีกรณีไหน
> เลยที่เราควรใช้น้ำเย็นในการเช็ดตัวลูก
>
> นายแพทย์อภิชัย ตันติเวสส
> กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์