วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การเรียนการสอนระบบมอนเตสซอรี่

ข้อมูลในหัวข้อนี้ ได้รับความกรุณาจากเพื่อนๆหลายๆท่านในเวบไซด์รักลูก เป็นผู้แบ่งปัน และถ่ายทอดข้อมูลให้ ดิฉันเห็นว่า เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากที่จะนำมาใช้พัฒนาลูกได้ จึงขอนำมารวบรวมไว้ ให้เพื่อนๆที่มาอ่านภายหลังค่ะ ขอขอบคุณเพื่อนๆมา ณ ที่นี้ด้วย อันมี แม่นางฟ้า คุณเก่ง Icyrose คุณรดา PS325 คุณอุ๊ babyploy และเพื่อนๆท่านอื่นๆด้วยค่ะ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้สนใจการศึกษาระบบนี้

9 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ข้อมูลในหัวข้อนี้ได้มาจากคุณ รดา PS325 ค่ะ

แนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการสอนแบบมอนเตสซอรี่


ความเป็นมา


ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ (ค.ศ.1870-1952) ผู้ริเริ่มการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นผู้หญิงชาวอิตาลีคนแรกที่ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจาก University of Rome เมื่อจบการศึกษาได้มีโอกาสทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและทาง จิตที่คลินิกจิตแพทย์ของมหาวิทยาลัย จากการทำงานกับเด็กเหล่านี้ มอนเตสซอรี่เกิดแนวคิดและเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าเด็กได้มีบางสิ่งบางอย่างที่ จะจับต้องและบิดด้วยมือ สมองย่อมทำหน้าที่ตอบสนองได้มอนเตสซอรี่จึงได้คิดวิธีการสอนขึ้นมาจากความ เชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในวัยระยะเริ่มต้นว่า


"จุดม่งหมายในการให้การศึกษาระยะแรกนั้นไม่ใช้การเอาความรู้ไปบอกให้กับเด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝั่งให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรมชาติของ เขา"


มอนเตสซอรี่ได้ศึกษางานของ Edward Seguin ผู้ที่ริเริ่มในการพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และงานของ Jean Itard ที่พัฒนาระบบการศึกษาสำหรับคนหูหนวกผนวกกับการที่ได้มีประสบการณ์ตรงในการทำ งานกับเด็ก และพบว่าการที่จะให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้นควรจะ ต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็กที่ต้องการจะเป็น อิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์และพิถีพิถัน


ดังนั้น การสอนแบบมอนเตสซอรี่ จึงได้มาจากการสังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็กไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้อง การให้เด็กเป็นจากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้โดยได้เริ่มต้นนำวิธีการสอนไปใช้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติ ปัญญา ต่อมาได้พัฒนาและทดลองทฤษฎีการสอนกับเด็กปกติที่ Casa Dei Bambini หรือ Children's House ในปี ค.ศ..907 เมื่อการสอนประสบความสำเร็จจึงได้เผยแพร่วิธีการสอนทั้งด้วยการบรรยาย เขียนหนังสือและบทความ การฝึกอบรมจากศูนย์ฝึกอบรม มีโรงงานจัดทำอุปกรณ์การสอนตลอดจนได้มีการจัดตั้งสมาคมมอนเตสซอรี่ขึ้นทั้ง ในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการเผยแพร่การสอนตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อันนี้ก็ได้มาจากคุณ รดา เหมือนกัน

หลักการ


Morrison (998 : 96 - 1 0 ) และบุคคลต่างๆ ได้สังเคราะห์แนวคิดและแนวปฏิบัติของมอนเตสซอรี่ สรุปเป็นหลักการของการสอนได้ 5 ประเด็น ดังนี้


1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ (Respect for the child)
เพราะเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของเขา ดังนั้นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรจะเหมาะกับเด็กแต่ละคน มอนเตสซอรี่ยืนยันในความเชื่อของตนเองที่ว่า ชีวิตของเด็กต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ไม่จัดการศึกษาให้แก่ เด็กตามที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เป็น โดยนักการศึกษาและผู้ปกครองจะแสดงความเคารพนับถือเด็กได้หลายวิถี ทางช่วยให้เด็กทำงานได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมความเป็นอิสระให้แก่เด็กและเคารพความต้องการของเด็กแต่ละคน


2. เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้ (The Absorbent Mind)
มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กแต่ละคนไม่ได้รับการศึกษามาจากคนอื่น แต่เด็กคือผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง เราใช้จิตในการแสวงหาความรู้เด็กซึมซาบข้อมูลต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ กระบวนนี้เห็นได้ชัดจากการที่เด็กเรียนภาษาแม่ได้เอง

พัฒนาการของจิตที่ซึมซาบได้มี 2 ระดับคือ


อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปีเป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยไม่รู้สึกตัว (Unconscious absorbent mind) เป็นการพัฒนาประสาทสัมผัสของการมองเห็น (seeing) การได้ยิน (hearing) การชิมรส (tasting) การดมกลิ่น (smelling) และการสัมผัส (touching) เด็กจะซึมซาบทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว

อายุ 3-6 ปี เป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยรู้สึกตัว (conscious absorbent mind) โดยเลือกสิ่งที่ประทับใจจากสิ่งแวดล้อม และพัฒนาประสาทสัมผัสต่างๆ การเลือกสรรมีความละเอียดลออเพิ่มขึ้น ในช่วงที่จิตซึมซาบโดยไม่รู้สึกตัว เด็กจะเห็นและซึมซาบสีโดยไม่ได้แยกแยะความแตกต่างของสีเหล่านี้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถในการที่จะแยกแยะ จับคู่ และเรียงลำดับสีได้

มอนเตสซอรี่ ได้ท้าทายให้ครูคิดเกี่ยวกับเรื่องจิตที่ซึมซาบได้ของเด็ก ว่าสิ่งที่เด็กเรียนรู้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับคนที่อยู่รอบตัว สิ่งที่คนเหล่านั้นพูดและทำ และปฏิกิริยาของคนเหล่านั้น


3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต (Sensitive Periods)
วัย 3-6 ปีช่วงเวลานี้เด็กจะรับรู้ได้ไวและเรียนรู้ทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูจึงต้องสังเกตเด็ก เพื่อจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงแม้เด็กจะอยู่ในช่วงเวลาหลักเหมือนกัน แต่ขั้นตอนและจังหวะเวลาของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน ดังนั้นครูของมอนเตสซอรี ่หรือผู้ปกครองจําเป็นจะต้องหาช่วงเวลาของเด็กจัดให้เด็กประสบความสําเร็จ ได้สูงสุด การสังเกตจึงสําคัญสําหรับครูและผู้ปกครอง นักการศึกษาหลายคนเชื่อว่าข้อมูลที่ได้จากการสังเกตถูกต้องมากกว่าการใช้แบบ สอบ

4. การตระเตรียมสิ่งแวดล้อม (The Prepared Environment)
เด็กจะเรียนรู้ได้ดี ในสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ในสถานที่ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องที่บ้าน ห้องเด็กเล็ก หรือสนามเด็กเล่น จุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้เด็กมีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่เป็นสถานที่ที่ เด็กจะได้ทําสิ่งต่างๆ เพื่อตนเอง ห้องเรียนในอุดมคติของมอนเตสซอรี่ คือเด็กเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วมในการเรียน

ในสิ่งแวดล้อมที่ตระเตรียมไว้ เด็กจะเรียนได้ตามความต้องการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ที่ต้องทํา มอนเตสซอรี่จะจัดโต๊ะ เก้าอี้ขนาดเด็กให้เด็กได้ทํางานเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มในห้องเรียน มีการทํางานบนพื้น มอนเตสซอรี่เห็นว่าโต๊ะครูไม่จําเป็น เพราะครูต้องไปทํางานกับเด็กอยู่แล้ว เธอได้เสนอแนะให้จัดเฟอร์นิเจอร์ทุกอย่างเป็นขนาดเด็ก กระดานดําขนาดต่ำพอที่เด็กจะใช้ พื้นที่ภายนอกซึ่งเด็กสามารถทําสวนหรือทํากิจกรรมกลางแจ้งได้

โดยเฉพาะห้องเรียน ต้องเป็นที่ที่เด็กสามารถทําสิ่งต่างๆ ได้ เล่นอุปกรณ์ที่วางไว้อย่างมีจุดมุ่งหมายและให้การศึกษาแก่ตน อิสระเป็นลักษณะที่สําคัญของการตระเตรียมสิ่งแวดล้อม เมื่อเด็กมีอิสระภายในสิ่งแวดล้อม เลือกทําอุปกรณ์ด้วยตนเอง เขาจะซึมซาบสิ่งต่างๆจากตรงนั้น

ผู้ใหญ่มักจะกลัวว่าเด็กจะใช้อิสระไม่เป็น เด็กจะมีอิสระในการใช้อุปกรณ์ที่จัดไว้ ภายใต้กรอบในการเลือกที่ครูได้จัดให้การเลือก (Choice) คือผลผลิตของวินัยและการควบคุมตนเองที่จะได้รู้จากสิ่งแวดล้อม


5. การศึกษาด้วยตนเอง (Self-or Auto Education)
มอนเตสซอรี่เน้นความสนใจไปที่ความสามารถของมนุษย์ ศิลปะของการสอนรวมถึงการตระเตรียมสิ่งแวดล้อม เพื่อเด็กจะได้เข้าไปทํางานและเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการที ่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างสมบูรณ์การมีอิสระนี้มอนเต สซอรี่กล่าวว่า ไม่ใช่สัญลักษณืของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต ได้มีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ครูในระบบมอนเตสซอรี่

จุดสําคัญในความสําเร็จของการสอนแบบมอนเตสซอรี่ คือ ครูจะต้องได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะให้รู้แนวทางในการที่จะจัดห้องเรียน การจัดการเรียนการสอนและจัดหลักสูตรให้เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการตาม ธรรมชาติในแต่ละขั้นตอนของพัฒนาการตามวัย ครูทำงานกับเด็กภายใต้ความเชื่อที่ว่า เด็กสามารถกระตุ้นให้เรียนรู้ได้อย่างธรรมชาติ เมื่อเด็กสนใจสิ่งที่เขากําลังเรียนอยู่ เขาจะทํางานของเขาเอง วินัยในตนเองและสมาธิก็จะเกิดขึ้น การให้รางวัลเพื่อเป็นการกระตุ้นนั้นไม่จําเป็นครูทําเพียงการสร้างความมั่น ใจ สร้างความมั่นคง ปลอดภัยทางจิตให้เกิดขึ้นแก่เด็ก

ครูที่จะสอนแบบมอนเตสซอรี่ จะต้องได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากสถาบันฝึกหัด ครูที่ได้รับการรับรองจากสมาคมระดับชาติหรือระดับนานาชาติ การเรียนโดยทั่วไปประมาณ 2 ปี ช่วงเวลาเรียนสถาบันเป็นผู้กําหนด การฝึกปฏิบัติงานการสอนกับเด็กในโรงเรียนและจัดทําคู่มือการสอนด้วยตนเอง ก็เป็นส่วนสําคัญอย่างหนึ่งในการเรียน

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

การทําหน้าที่ครูปฐมวัยในระบบมอนเตสซอรี่

ครูมอนเตสซอรี่ทํางานมากกว่าที่กําหนดไว้ในหลักสูตร สิ่งสําคัญคือช่วยให้เด็กได้ไปถึงในสิ่งที่เขาต้องการและพร้อมที่จะเรียน ไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กได้เกรดดีๆ แต่เป็นการทํางานกับเด็กเพื่อให้เด็กมีพื้นฐานในการรักการเรียนรู้ ครูจะต้องทําความเข้าใจเด็กแต่ละคนว่ามีลักษณะเฉพาะตัวในการเรียนรู้และพื้น ฐานทางอารมณ์อย่างไร

ดร. มอนเตสซอรี่ เชื่อว่าครูควรให้ความสนใจเด็กเป็นรายบุคคล ดูแลให้เด็กได้รู้จักการคิด สํารวจ ตรวจสอบ และแสวงหาคําตอบด้วยการค้นคว้าด้วยตนเอง จุดประสงค์หลักของการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ที่ครูจะต้องใส่ใจ คือ ช่วยเด็กให้เรียนอย่างอิสระ ให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ ได้พัฒนาสติปัญญา ดังนั้นครูของมอนเตสซอรี่จะต้องเป็นผู้อํานวยความสะดวก เป็นพี่เลี้ยงดูแล เป็นผู้ให้คําแนะนําแก่เด็ก ซึ่ง ดร. มอนเตสซอรี่ใช้คําว่า "ผู้อํานวยการ"(director or directress) แทนคําว่าครู (teacher) โดยหมายถึง บทบาทของผู้ประสานงาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนมอนเตสซอรี่พอใจจะเรียกครูว่า "ผู้แนะนํา" (guide) แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตามการเรียนการสอนต้องให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการ เรียน

บทบาทของครู จะไม่ใช้การทํางานกับเด็กทั้งชั้น บทบาทแรกคือการเตรียมและดูแลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม ของเด็กที่จะเข้าไปทํางาน โดยจัดโอกาสที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กแต่ละคนในชั้นได้พบกับสิ่งที่ต้องการและ สนใจ การดูแลเด็กในการเรียนด้วยตนเอง ต้องให้ความชัดเจนแก่เด็ก และให้ข้อมูลที่จําเป็น เช่น ชื่อของอุปกรณ์ สถานที่วางบนชั้นวางของ วิธีการใช้อุปกรณ์

ครูจะต้องสังเกตเด็กเพื่อจะได้ทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของเด็ก รู้จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อช่วยจัดหลักสูตรและจัดทางเลือกต่าง ๆ ให้เด็กได้พบกับความสําเร็จ

นอกจากนี้ ดร. มอนเตสซอรี่ ยังได้กล่าวถึงลักษณะของครูปฐมวัย โดยเน้นยํ้าถึงความสําคัญของครูในระบบมอนเตสซอรี่ ดังนี้

1. ครูจะต้องมีความรักต่อเด็ก มีเจตคติที่ดีต่อการทํางานกับเด็ก

2. ความสามารถในการสังเกต มีความสําคัญต่อการทํางานของครูอย่างมาก เพราะจากการสังเกตเด็ก ครูจะสามารถรู้ถึงความต้องการของเด็ก ทราบว่าเด็กต้องการเรียนรู้เรื่องใด ทําอะไรได้บ้าง มีปัญหา
อะไร และครูจะเข้าไปช่วยได้อย่างไร มอนเตสซอรี่ได้กล่าวว่า บุคคลใดที่ไม่มีความสามารถในการสังเกตย้อมจะเป็นครูที่ดีไม่ได้

3. ครูต้องให้อิสระแก่เด็กในการตัดสินใจ ให้โอกาสในการเลือก ให้เด็กได้เสี่ยงในการทํางานและได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่จะเป็นสิ่งที่ช่วยทําให้เด็กค้นพบผลของการทํางานของตน เอง

4. ครูจะต้องมีความสามารถในการจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม มีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยพัฒนาทักษะ กลไก ประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว และวิชาการ เด็กจะได้เลือกและทํางานด้วยตนเอง มอนเตสซอรี่พบว่าเด็กจะมีสมาธิและนั่งทํางานได้เป็นเวลานานในสิ่งที่เด็ก สนใจ เมื่อเด็กทํางานใด มักจะทําซํ้ า ๆ จนกระทั่งมีความมั่นใจและชํานาญในการกระทําสิ่งนั้น

5. ครูต้องจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก เด็กจะมีแรงจูงใจภายในที่จะทํางานให้สําเร็จด้วยตนเอง เมื่อทํางานสําเร็จนั่นคือ รางวัลที่เกิดขึ้นภายในจิตของเด็ก ดังนั้นการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเน้นแรงจูงใจภายใน มิใช่แรงจูงใจภายนอก เช่น การให้รางวัล เหมือนที่ทํากันโดยทั่วไป

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

บทบาทและความรับผิดชอบของครูในระบบมอนเตสซอรี่

1. เป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างเด็กและสิ่งแวดล้อมที่เตรียมไว้
2. เป็นผู้สังเกตและแปลความหมายสิ่งที่เด็กต้องการ
3. เป็นผู้ทําการทดลอง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับความสนใจและความต้องการของเด็ก
4. เป็นผู้จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
5. ประเมินการทํางานของตนเอง และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคนทุกด้าน
6. เป็นบุคคลที่ให้ความเคารพและปกป้องดูแลเด็กได้
7. เป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้ความรัก และดูแลเอาใจใส่เด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกัน
8. เป็นผู้รายงานผลความก้าวหน้าของเด็กให้ผู้ปกครองทราบ
9. เป็นผู้ชักชวนให้เด็กรู้สึกชอบ และอยากทําอุปกรณ์ที่ครูสาธิตให้ดู โดยไม้ต้องกระตุ้น
10. เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมให้กับเด็ก
11. เป็นผู้ที่รู้จักประนีประนอม สร้างสันติให้เกิดขึ้น มีความสุภาพอ่อนโยน
12. รู้จักวินัย ไม่ตัดสินเด็กแต่ละคนจากความรู้สึกของตนเอง

From: www.thaikids.org

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ข้อมูลต่อไปนี้เป็นของแม่นางฟ้าค่ะ

จะแนะนำว่า มีหนังสือคู่มืออยู่เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือที่เขียนโดยอ.คำแก้ว และอ.จีระพันธ์ จะอธิบายขั้นตอนเป็นลำดับของอุปกรณ์แต่ละอย่าง วิธีการสอนเป็นลำดับ 1..2..3...4... เป็นขั้นเป็นตอน บอกถึงท่าทางครู (สบตา เฝ้ามอง) มีขายเล่มละ 250 (มั้ง) แยกเป็นแต่ละหมวด เช่นหมวดคณิตศาสตร์ หมวดทักษะชีวิตประจำวัน ฯลฯ อุปกรณ์ตัวนี้เสร็จแล้ว ต่อจากนั้น จะต่อยอดเป็นตัวไหนต่อ เล่มนี้เท่าที่ดูก็ห็นว่าได้เยอะทีเดียวนะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ข้อมูลต่อไปนี้เป็นของคุณเก่ง Icyrose ค่ะ

สื่อการสอนของมอนเตสเซอรี่มักทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ และเลี่ยงการใช้พลาสติก ทั้งนี้เพื่อเด็กจะได้สัมผัสพื้นผิวธรรมชาติ อันนี้เรียบ อันนี้ขรุขระ จับแล้วเย็นหรืออุ่น ทั้งนี้ทั้งนั้นเชื่อว่าทำให้เด็กมีสมาธิจรดจ่ออยู่ที่ชิ้นงานก่อนจะเริ่มทำ งานแต่ละชิ้น ให้ประสาทสัมผัสตื่นตัวพร้อมจะเรียนรู้ เช่นเดิมค่ะก่อนทำงานแต่ละชิ้น เราจะปูผ้า ใช้มือรีดผ้าให้เรียบ (ฝึกสัมผัสครั้งที่ 1) จากนั้นก็นำอุปกรณ์วางข้างผืนผ้า เริ่มจากเราก็จะสาธิตวิธีการใช้สื่อการสอนให้เด็กดูอย่างเป็นขั้นตอน อย่าลืมเรื่องโทนเสียงว่าจะต้องราบเรียบสงบ

ตามหลักของมอนเตสเซอรี่เราจะสอนเด็กเรื่องประสาทสัมผัสก่อน แล้วจึงมาถึงเรื่องของคณิตศาสตร์นะคะ ทีนี้ก็มาถึงไฮไลท์ของวันนี้คือ การสาธิตการใช้สื่อมอนเตสเซอรี่ เพื่อให้เราได้สัมผัสและเข้าใจคอนเส็บของมอนเตสเซอรี่มากขึ้นค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อันนี้ก็ข้อมูลของคุณเก่ง Icyrose เหมือนกันค่ะ

วันนี้เห็นพ่อๆแม่ๆหลายคนเอากล้องวีดีโอ กล้องถ่ายรูปไปถ่ายภาพอุปกรณ์กันใหญ่ เลยอยากจะบอกว่าไม่อยากให้ยึดติดกับอุปกรณ์มากเกินไป หลายสิ่งหลายอย่างเราสามารถประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม เพราะเราสอนลูกของเราซึ่งเขาเป็นหนึ่งเดียวในโลกไม่มีความเหมือนกับเด็กคน ไหน อยากให้มองที่จุดประสงค์ของแต่ละอุปกรณ์ สอนลูกให้บรรลุถึงเป้าหมายได้เป็นโอเค สำคัญคือวิธีการกระตุ้นให้ลูกอยากรู้ อยากทำตาม ให้ลูกมีกำลังใจในการเรียนรู้ ถึงจะไปตามซื้ออุปกรณ์ราคาชุดละเป็นพันแต่ถ้าพ่อแม่ไม่ใส่ใจในวิธีการสอน และติดตามผลก็ไม่เกิดผลดีกับลูกเต็มที่ เห็นแม่บางคนให้ลูกลองทำงาน ลองหยิบจับอุปกรณ์แต่วิธีการพูดการให้กำลังใจยังขาดหาย หลายครั้งได้ยินคำว่า "อันนี้ไม่ถูก อันนี้ผิด" ซึ่งเป็นคำพูดที่ทำให้ลูกชะงัก และหยุดที่จะทำต่อ พ่อแม่ควรหาวิธีการพูดและมีจิตวิทยาในการชี้นำลูก ถ้าลูกใส่ไม้ผิดช่องก็บอกว่า ไม้กลับบ้านถูกหรือยังคะ แล้วไม้อันนี้(หยิบอันที่ควรจะต้องลงช่องนั้น)จะอยู่บ้านไหนหนอ กระตุ้นให้เด็กได้ลองถูกลองผิด ให้ลูกเป็นผู้ค้นพบ เราเป็นเพียงคนชี้นำและให้กำลังใจ ให้เวลากับลูกในแต่ละกิจกรรม เค้าทำไม่ได้ในครัั้งแรกแต่มั่นใจเถอะค่ะว่าเค้าจะเรียนรู้จากความผิดพลาด แล้วเค้าจะพยายามหาวิธีทำให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์ของงานแต่ละชิ้น

"แพนด้าคลับ" ประชาสัมพันธ์ให้ครูบัวหน่อยละกันนะคะ เพราะไหนๆครูบัวก็อบรมฟรี อาหารฟรี ฟรีตลอดงานมา 2 ครั้งแล้ว วันจันทร์ที่ 6 ครูบัวจะเริ่มเปิด"แพนด้าคลับ" รับเด็กน้อยตั้งแต่วัยเตาะแตะเริ่มเดินได้มาร่วมกิจกรรมโดยแบ่งเป็นฐาน เวลาเรียนตั้งแต่ 9.00-15.30 ตั้งแต่วันที่ 6-24 โดยจะแบ่งกิจกรรมเป็น 4 ฐานแต่ละวัน เช่น ศิลปะ สำรวจธรรมชาติ ความพร้อมคณิตศาสตร์ อังกฤษ ภาษาไทย cooking ดนตรี เชาวน์ หมุนเวียนกันไป ค่าใช้จ่าย 5,500 บาท รวมทุกอย่างถึงทํศนซึกษาที่พิพิธภัณฑ์เด็กฯ ด้วย ใครสนใจกริ๊งถามครูบัว แล้ววันจันทร์เจอกันนะคะ จองครูบัวไว้แล้วจะเอาบันบันไปร่วมเป็นแพนด้าน้อย อิ อิ อ้อ งานนี้คุณพ่อคุณแม่อยู่ร่วมกิจกรรมกับคุณลูกได้ตามอัธยาศัย อันนี้เป็นอะไรที่ชอบที่สุดเพราะบันบันเพิ่ง 1 ขวบ 4 เดือนเลยยังไม่อยากเอาไปทิ้งไว้แล้วกลับเหมือนเอาลูกไปฝาก nursary แต่ให้แม่ร่วมได้เนี่ยชอบเลยค่ะ หุ หุ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ขอขอบพระคุณเพื่อนๆอีกครั้งที่เอื้อเฟื้อ ช่วยกันแบ่งปันข้อมูลนะคะ ขอให้ลูกๆของทุกท่าน เก่งๆ และแข็งแรง เป็นเยาวชนคุณภาพของชาติ