วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

เรื่องของเทคนิคการเรียนเก่ง (5)

ในตอนนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลในกระทู้ เรียนเก่ง ที่เขียนไว้ในเวบบอร์ดห้องเรียนของลูก เหมือนกันค่ะ แต่จะเป็นบทที่เขียนสรุปและวิเคราะห์หนังสือ กำลังความคิด ของ หลวงวิจิตรวาทการ

15 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ดิฉันคิดอยู่หลายวัน กว่าจะตกผลึกว่าหนังสือเล่มอื่นๆที่ควรจะเล่าต่อไป คือเล่มใดดี เพราะแต่ละเล่มมีประเด็นที่เสริมกันและกัน และซำ้กันในบางประเด็น เกรงว่าจะน่าเบื่อ เพราะข้อมูลซำ้ ประเด็นซำ้ มีหนังสือโบราณเล่มหนึ่ง ที่พ่อธีร์กล่าวถึง ในเวบบล็อคของท่าน คือเรื่อง กำลังความคิด ของหลวงวิจิตรวาทการ ดิฉันคิดว่า น่าจะนำมาเล่า

หนังสือเล่มนี้ ดิฉันเห็นผ่านตามาหลายสิบปี ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ดิฉันไม่เคยคิดจะซื้อมาอ่านเลยค่ะ เพราะคนแต่งเป็น "หลวง" โห...โบราณมาก สมัยวัยรุ่น แม้จะเรียนห่วย ไม่ชอบเรียนหนังสือ แต่ดิฉันเป็นคนบ้าการอ่านมาก อ่านหมด เชื่อไม๊คะ ดิฉันอ่านมาหมดแล้ว หนังสือของ เดล คาร์เนกี้ เรื่อง วิธีชนะมิตรและจูงใจคน ภาวะผู้นำ วิธีชนะทุกข์และสร้างสุข อะไรแบบนี้ แต่ไม่คิดจะซื้อหนังสือของหลวงวิจิตรวาทการเลย

แต่เมื่อมาคิดดูเรื่องการศึกษา การเรียนเก่ง ดิฉันมองในฐานะที่เคยเป็นนักอุตสาหกรรมคนหนึ่ง ดิฉันคิดว่า หนังสือเล่มนี้ เป็นการเพื่มประสิทธิภาพของประสาทสัมผัสทั้ง 5 รวมทั้งสมองด้วย ในภาษาอุตสาหกรรม เขาเรียกว่า Efficiency หากเรามีอวัยวะ ที่มี Efficiency ดี เราก็ย่อมเรียนเก่งได้ ได้เปรียบทางการศึกษา และเรียนรู้

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

จำได้ไม๊คะ ที่ดิฉันเล่าว่า เรามีพลังมหาศาลที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา กว่า 95% ที่ไม่ได้ดึงออกมาใช้ เพราะไม่รู้วิธีดึงออกมาใช้ หรือ ไม่รู้จะใช้มันอย่างไร เพราะอวัยวะด้อยประสิทธิภาพ

อ้างอิงจาก:
และ หากใครได้ลองศึกษาถึงเรื่องพลังจิตใต้สำนึก ที่แฝงเร้นในตัวของเราทุกๆคน คุณจะยิ่งทึ่ง ลองทายเล่นๆสิคะ ว่า ในชีวิตของมนุษย์เรา ที่เราใช้ชีวิตอยู่ทุกๆวันนี้ เราใช้ความสามารถ เราใช้ศักยภาพของสมองและพลังของเราจริงๆไปสักกี่ %

บางคนอาจจะตอบว่า 50% บางคนอาจจะตอบว่า 80% หรือ 20%

ซึ่งไม่ใช่ค่ะ ทุกวันนี้ คนเราใช้ความสามารถ พลังสมอง ศักยภาพที่เรามี ไม่เกิน คนละ 5% เท่านั้น อีก 95% ไม่ได้ใช้ และไม่สามารถดึงมันออกมาใช้ได้ นอกจากเวลาฉุกเฉิน ร่างกายและสมอง จะทำงานอัตโนมัติ มันจะมาเอง โดยที่เราควบคุมไม่ได้ หากเราไม่มีวิธีควบคุมมัน


การทำให้อวัยวะที่มี ประสาทสัมผัสมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต้องมาจากการฝึกฝน ฝึกใช้มันบ่อยๆ มันก็จะมีประสิทธิภาพสูง และเมื่อมันมีประสิทธิภาพสูง เราก็จะสามารถมีพลังที่เหนือกว่าคนปกติ ที่ใช้ชีวิตจำเจ ไม่ฝึกฝน อันนี้เป็นอีกหนทางหนึ่งที่เพื่ม Efficiency ได้ ทำให้เราดึงพลังที่แฝงเร้นไว้ ออกมาใช้ไ้ด้มากขึ้น

ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่สามารถดึงพลังที่แฝงเร้นนี้ได้ ก็เช่น การนั่งสมาธิ การฝึกพลังจิต การเจริญสติ หรืออะไรประมาณนี้ รวมทั้งเทคโนโลยี ที่ อดัม คูเขียนไว้ เรื่องการเปลี่ยนทัศนคติ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หากเปรียบเทียบเรื่องการส่งเสริูมลูกให้เรียนเก่ง หรือ การทำให้ตัวเองเรียนเก่ง ที่คนเราทำกันเสมอ เช่น การกวดวิชา การเรียนติว ก็เหมือนกัน"ยัดความรู้" ให้เต็มๆไว้ ให้แน่นๆ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ พวกเทคนิค เช่น การทำ Mind Map การอ่านเร็ว หรือ เทคนิคช่วยจำ ต่างๆ มันเหมือนกับการ "บีบอัด" ทำให้สมองมีที่ว่าง เวลามีมากขึ้น สามารถหาความรู้อื่นๆได้มากขึ้น เพราะเทคนิคเหล่านี้ ตอนเริ่มฝึก อาจจะไม่ชิน แต่ถ้าใช้จนชำนาญ มันลดเวลาในการศึกษาได้ ทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น ที่จะทำอย่างอื่น

แต่การเพิ่มประสิทธิภาพของประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือ การค้นหาพลังจิตใต้สำนึก เป็นคล้ายๆกับการเพิ่มขนาด ความจุ ของเรา คนอื่นใช้ได้ไม่เกิน 5% แต่เราอาจจะใช้ได้ เพิ่มอีก 2-3% ก็เรื่องใหญ่แล้ว จริงไม๊

หากคิดเล่นๆ ประชากรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มากกว่าประเทศอื่น เกือบเท่าตัว นี่ ประเทศเราคงเหมือนติดจรวดนิวเคลียร์ !!!


คิดอย่างนี้แล้ว แม้จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด ดิฉันจะต้องปั้น กระทู้นี้ต่อไป เพื่อชาติ!!!

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ขอเอา ประโยคเด็ดๆ จากหนังสือ "เดอะ ซีเคร็ต" ของ Rhonda Byrne มาให้อ่าน เอาเฉพาะที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องกระทู้เรานะคะ

อ้างอิงจาก:
เมื่อ เฮนรี ฟอร์ด กำลังพยายามนำวิสัยทัศน์ของเขาเรื่องรถยนต์ออกมาให้ปรากฎต่อสายตาชาวโลก ผู้คนรอบข้างพากันหัวเราะเย้ยหยันเขา คิดว่าเขาบ้าที่พยายามวิ่งตามภาพฝันอัน "หลุดโลก" แบบนั้น แต่เฮนรี่ ฟอร์ด รู้ดีกว่าคนที่หัวเราะเยาะเขามากมายนัก เขารู้ความลับนี้ และเขารู้จักกฎแห่งจักรวาล

"ไม่ว่าคุณจะคิดว่าคุณทำได้ หรือ คิดว่า คุณทำไม่ได้ คุณก็คิดถูกต้องทั้งนั้น"

คุณคิดว่า คุณทำได้หรือเปล่า ด้วยความรู้นี้ คุณทำอะำไรทุกอย่างที่คุณต้องการได้ แต่ก่อนคุณอาจจะประเมินความฉลาดปราดเปรื่องของตัวเองตำ่เกินไป แต่เดี๋ยวนี้คุณรู้แล้วว่าตัวคุณนั่นแหละ คือดวงจิตสูงสุด และคุณดึงเอาทุกสิ่งที่คุณต้องการมาจากจิตสูงสุดหนึ่งเดียวนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์คิดค้น แรงบันดาลใจ การหาคำตอบหรือสิ่งใดก็ตาม คุณทำอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ คุณคือยอดอัจฉริยะเหนือคำบรรยาย เพราะฉะนั้นจงเริ่มบอกตัวเองอย่างนี้ และเ
อ้างอิงจาก:
ริ่มรู้ตัวว่าที่แท้แล้ว คุณคือใคร

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ใครไม่เคยอ่าน ลองไปหามาอ่านได้ มีของคนไทยเขียนด้วย คล้ายๆกัน คือของ ทันตแพทย์สม สุจีรา เพราะท่านได้แรงบันดาลใจมาจากการอ่านเล่มนี้ เป็นหนังสืำอที่มีประเด็นไม่ธรรมดาค่ะ คนเขียนเรื่องนี้ ไปค้นคว้าความลับแห่งความสำเร็จ ของบุคคลสำคัญของโลก หลายๆๆๆคนมากตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์คนที่มีชีวิต หรือจากหนังสือต่างๆ ที่ท่านเหล่านั้น ได้พูดถึงผลงานความสำเร็จ แล้วนักเขียนนี้ ก็พบความลับที่คล้ายคลึงกัน ของทุกๆท่านว่า การที่ท่านเหล่านั้น สร้างสามารถสร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอก ให้แก่โลก หรือ ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นจริง ก็คือ "ความเชื่อว่า ทุกสิ่งเป็นไปได้ และ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เป็นไปได้ ก็คือความสามารถและพลังอันยิ่งใหญ่ที่หลบซ่อน แฝงเร้นในตัวของเรานี้เอง

หนังสือนี้อาจจะอ่านยากหน่อย แต่ไม่ธรรมดาเลย จริงๆ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

วันนี้วันอาทิตย์ ก่อนที่ลูกตื่น ดิฉันจะมาลุยหนังสือของ หลวงวิจิตรวาทการ เรื่องกำลังความคิด สักเล็กน้อย หลวงวิจิตร ท่านได้กล่าวในหนังสือของท่านตอนหนี่งว่า

ท่านเชื่อว่ามันสมองและกำลังความคิดสามารถทำให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน เราสามารถสร้างขึ้นได้อย่างเดียวกัลกำลังใจ การ ฝึกฝนมันสมอง ก็เหมือนกับการฝึกฝนร่างกายหรือฝึกฝนวิชาการต่างๆ คือ ต้องมีแบบฝึกหัด และผู้ฝึกฝนต้องทำตามแบบฝึกหัด ต้องไม่ทำด้วยความใจเร็วด่วนได้ ไม่ควรก้าวขั้นตอนต่อไปโดยที่ยังไม่เห็นผลเป็นที่พอใจจากขั้นที่กำลังฝึกฝน อยู่

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อ้างอิงจาก:
วิธี การฝึกฝนบางอย่างอาจจะให้ผลหลายประการ เช่น การฝึกประสาทอย่างเดียว อาจจะสร้างสมรรถภาพในการเห็นรูป รู้ขนาด คาดคะเนนำ้หนัก และสร้างความสามารถในทางเสียง ซึ่งเป็นเหตุให้เราเ้รียนภาษาต่างประเทศได้เก่งด้วย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องแรกที่ หลวงวิจตรวาทการ( ต่อไปจะเรียกท่านว่า คุณหลวง นะคะเพราะชื่อยาว ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าคือท่าน) เขียนไว้คือการฝึกประสาทค่ะ หรือ อายตนะ 6 คือ

- ประสาททางตา
- ประสาททางหู
-ประสาททางจมูก
- ประสาททางลิ้น
- ประสาททางกาย
- ประสาททางใจ

ในประเด็นนี้ ทำให้ดิฉันคิดถึงแนวการเรียนรู้ของวอล็ดอร์ฟ มอนเตสเซอรี่ และอื่นๆที่ไม่ใช่แนววิชาการ ที่มักจะมุ่งเน้นให้สอนเด็กเล็ก เรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 หากเป็นโรงเรียนแนวนี้ จะเข้มงวดเรื่อง การดูทีวี การดื่ม การกินอาหาร ของเด็กๆมากๆ เขาจะพยายามให้เด็ก ได้มีโอกาสสัมผัสสิ่งแปลกปลอมที่ทำลายระบบประสาทของเด็กให้มากที่สุด ในขณะเีดียวกัน วิธีการเรียนการสอนเด็กในระยะปฐมวัย จะไม่เน้นในการให้วิชาการ ท่องจำ แต่จะมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะ ประสาทสัมผัสของเด็ก ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนที่จะเริ่มบรรจุข้อมูลลงไป เรียนกว่า "ขยายขนาดของภาชนะให้ใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเริ่มบรรจุของ จะได้บรรจุได้มากๆ" เพราะหากไม่ได้ใช้ตั้งแต่ต้น มันจะขึ้นสนิมค่ะ และทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพสูงๆ เหมือนรถซื้อมาใหม่ ต้องไปลองเครื่องขับให้เร็วๆในระยะใหม่ๆ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานไ้ด้เต็มสมรรถนะ หากใช้อืดๆแต่แรก ต่อไปก็เร่งไม่ขึ้น เพราะไม่ได้พัฒนาสมรรถนะแต่แรก แก่ๆอย่างดิฉันนี่ คงไม่พัฒนามาก แต่อาจจะเขย่าสนิมออกได้บ้าง สมองก็จะทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือไม่โทรมไปตามวัย

เราจะเห็นแนวการเรียนการสอนของโรงเรียนในประเทศที่เจริญและพัฒนาสูงๆ จะเน้นการศึกษาของเด็กปฐมวัยในแบบนี้ แม้แต่เรื่องโฮมสคูล ของ Charlotte Mason ที่คุณ Babyploy เคยแนะนำให้พวกเรา ก็เป็นแบบนี้ค่ะ เพื่อนคนไหนมีลูกเล็ก สนใจหาข้อมูล ไปอ่านได้ที่เวบบล็อค 5Qkids ของดิฉันค่ะ เขียนไว้แยะเลย เอาไปใช้ได้

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องการฝึกประสาทตานั้น ดิฉันไปขอยืมลอกจะเวบพ่อธีร์มา อยู่หน้าที่แล้วค่ะ ไปหาอ่านได้ ในหนังสือหลวงวิจิตร บอกว่า หากให้เด็กฝึกประสาทตาแบบนี้ตั้งแต่เด็กๆ และทำไปโดยสมำ่เสมอ จะทำให้เป็นตาแข็งคม จะช่วยเพิ่มอำนาจจิตที่ใช้ทางดวงตาได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก:
บุคคล ที่มีเสน่ห์มีอำนาจ เขาย่อมจะไม่เหลียวหลุกหลิก อะไรที่อยู่ในระยะซึ่งดวงตาสามารถเหลือบดูได้ เขาก็จะใช้ดวงตาเหลือบไป เว้นแต่จะอยู่ในระยะที่ดวงตาเหลือบไปไม่ถึง เขาจึงจะเบือนหน้า การที่ต้องเหลียวมาก เบือนมาก เป็นอาการหลุกหลิก ไม่ใช่วิธีการของความเข้มแข็ง


เรื่องอำนาจจิตที่ใช้ทางดวงตานี่ อ่านเผินๆ คิดว่าไม่สำคัญนะคะ แต่ที่จริงแล้วมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ หากเราเรียนเก่งและมีอนาคตได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นผู้บริหาร การปราม การสั่งการบางอย่าง บางครั้งใช้ดวงตาสั่ง จะเข้มขลังกว่า พูดออกมา

ดวงตา เป็นหน้าต่างของดวงใจ มันบอกเรื่องราวซับซ้อน ของจิตใจลึกซึ้งกว่าคพพูดมากมายนัก ดิฉันอยากเล่าว่า ตอนที่เรียนหลักสูตร Advance Course ของ Landmark Forum เรามีแบบฝึกหัดหนึ่ง ที่ให้ผู้เข้าอบรม จับคู่แล้วจ้องตากัน ประมาณ 10-15 นาที ห้ามหลบตา คุณเชื่อหรือไม่คะ ว่าคนส่วนมาก ไม่สามารถทนได้ ที่ต้องถูกจ้องตานานเกิน 2-3 นาที แต่เราก็ต้องปล่อยวางสบายๆ และจ้องไปเรื่อยๆ ให้ได้ตามเวลา

ในห้องที่เงียบสงบ ดิฉันมองเห็นเรื่องราวมากมายของคนที่ดิฉันจ้องตา คนที่เรื่องราวเจ็บปวด บาดเจ็บ ดวงตาของเธอจะเศร้าหมอง บางคนถึงขั้นรวดร้าว บางคนที่มีชีวิตสบายๆ นิสัยเหมือนเด็ก ก็จะมีแววตาเป็นมิตรซื่อสัตย์ ขี้เล่น ดวงตาของคนแต่ละคน บอกว่าคนๆนั้น ตัวตนที่แท้จริงเป็นคนอย่างไร

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ทักษะอีกอย่างหนึ่งที่ดิฉัน เคยฝึกฝนเกี่ยวกับการใช้พลังของดวงตา คือ การฟังเสียงที่ไม่ได้ยิน และการโน้มน้าวใจ คนฟัง ในหลักสูตร Communication Course ของ Landmark Forum เขาได้บอกว่า บางทีคนเรา ก็ไม่ได้พูดในสิ่งที่คิด บางทีเขาเองก็ไม่รู้ด้วยซำ้ ว่า เขาคิดอะไร เช่น บางทีเราเสนอขายให้ลูกค้า โน้มน้าวมา ลูกค้าก็อยากได้ แต่ไม่ตัดสินใจซื้อ เราโน้มน้าวอย่างไร ก็ดูเหมือนจะไม่สามารถ เคลียร์สิ่งที่อยู่ในใจของลูกค้าได้

แต่หากเราใช้ทักษะการสบตา และจ้องลงไปในตาของเขา เราจะมองเห็นสิ่งที่เป็นประเด็นอยู่ในใจของเขา และสามารถตอบโจทย์ได้ โดยที่เขาไม่ได้ถาม และเราสามารถใช้อำนาจทางดวงตาของเขา เชื้อเชิญให้เขา เข้ามาอยู่ในโลกของเรา และมองเห็นสิ่งที่เรานำเสนอได้อย่างง่ายดาย ประเด็นคือ การสื่อสารนั้น ไม่ใช่แต่การพูด หรือ การได้ยิน แต่คือการที่สามารถเข้าไปอยู่ในโลกของกันและกันได้ ได้ยิน ได้ลิ้มรส สัมผัส ความรู้สึกนึกคิดของกันและกัน และสามารถทำให้คนพูดและคนฟัง สามารถเห็นพ้องต้องกัน และได้ขอสรุปที่พึงพอใจด้วยกัน จะทำเช่นนี้ได้ ต้องใช้ทักษะของดวงตาทั้งสิ้น

ตั้งแต่ดิฉันได้รู้พลังอำนาจของดวงตา ดิฉันรู้สึกได้ถึงพลังที่ดิฉันมีได้เปลี่ยนไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การเขียน แม้แต่การอ่าน ดิฉันไม่เหมือนเดิมอีกเลยค่ะ เพราะดิฉันรู้ว่าคนอื่นเป็นใคร และคิดอะไร เพราะอะไร เล่าแค่นี้แหละ เดี๋ยวจะรู้ความลับมากไปกว่านี้

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

มาต่อเรื่องการฝึกประสาทตา เราสามารถฝึกได้ดังนี้

- ฝึกดูขนาด ลองกะขนาดของสิ่งของต่างๆ แล้ววัดดูว่าที่เรากะไว้ตรงไม๊ ฝึกไปเรื่อยๆบ่อยๆ การกะขนาดของเราจะแม่นขึ้น โดยไม่ต้องวัด

- ฝึกดูระยะ ลองกะระยะห่างของสิ่งของ แล้ววัดดู ว่าที่เราประมาณการไว้ ใกล้เคียงหรือไม่ ฝึกไปเรื่อยๆ ก็จะแม่น

- ฝึกดูความเที่ยงตรง ว่าตรงหรือไม่ ลายเอียง หรือเบี้ยวขึ้นหรือลง เอียงขวา ซ้ายหรือไม่ ฝึกทำให้ตรงๆไว้ อาจจะให้ฝึกลากเส้นตรง แนวนอน แนวดิ่งบ่อยๆ ทำไปตลอด

- ฝึกดูจำนวน เอาของมาวาง แล้วลองกะดูว่า มีกี่อัน หรือ กี่เม็ด หากใครใช้ทักษะที่พ่อธีร์บอกไว้ในกระทู้ อนุบาลก็สายเสียแล้ว เรื่องลูกปัด จะเป็นการฝึกแบบนี้ค่ะ
จะนับอะไรก็ได้ที่พบเห็น เช่นดอกไม้ ซี่กรงของระเบียง หรือ แท่งไม้ อะไรก็ได้ ประมาณแล้วนับดูว่าที่กะไว้นั้น ตรงหรือไม่

- การฝึกดูประเภท เช่นดูของที่อยู่รวมๆกัน แล้วแยกดูว่า มีกี่สี กี่ลาย หรือ มีของรวมกันกี่ชนิด

การฝึกดูจำนวน และ การฝึกดูประเภทนี้ คุณหลวงกล่าวไว้ว่า เป็นการฝึกความจำที่ดีมาก หากใครมีปัญหาความจำไม่ดี หรือปัญญาทึบ การฝึกแบบนี้จะแก้ได้

วิธีการฝึกก็ให้ฝึกบ่อยๆ อย่าโลภมาก เหนื่อยก็พัก เบื่อก็หยุด แต่ให้ทำเป็นประจำเลยค่ะ ส่วนการฝึกดูขนาด ระยะ และจำนวน ช่วยให้ปัญญาแหลมคม เป็นการลับสมองอย่างหนึ่ง

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ต่อมาคือ การฝึกประสาทหู

เรื่องนี้คุณ Babyploy จะชำนาญมาก เพราะการฝึกประสาทหูนั้น ดีที่สุดคือการใช้เครืองดนตรี จะเห็นว่า การศึกษาแบบแนวทางเลือกต่างๆเช่น Home School ของ Charotte Mason ที่ดิฉันเขียนไว้ในเวบบล็อคจะเน้นเรื่องการฟังดนตรีมาก เขากำหนดไว้เลยว่า แต่ละสัปดาห์เด็กต้องฟังเพลงของศิลปินเอกท่านใด เป็นยุคๆไปเลย รวมทั้งการให้เด็กฝึกฟังเสียงโน๊ดต่างๆ และบอกมาว่าคือเสียงของโน๊ดตัวใด จะทำให้เด็กสามารถแยกแยะเสียงได้ดี เป็นพื้นฐานที่ดีของการเรียนภาษาต่างๆด้วย

ดิฉันเคยอ่านในหนังสือเล่มหนึ่ง แต่จำไม่ได้ว่าหนังสือใด บอกว่าการฝึกประสาทหูของเด็กให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือก่อน 3 ปี หากก่อนสามปี เด็กได้ฟังเพลงบ่อยๆ เพลงที่มีท่วงทำนองดนตรีที่ซับซ้อน เช่นเพลงของโมสาร์ท จะทำให้ประสาทหูได้ทำงานเต็มที่ และจะทำให้ประสิทธิภาพดีสูงสุด แต่หากไม่ได้ให้เด็กฟังแต่เล็ก หรือฟังแบบทั่วไป ประสาทหูก็จะทำงานไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด เท่าที่ควร ในหนังสือ รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว ก็กล่าวถึงประเด็นการเปิดดนตรีดีๆ ให้เด็กฟังตั้งแต่วัยทารก ก็เพราะแบบนี้เหมือนกัน

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ประเด็นต่อมาคือ การฝึกประสาทกาย

หลวงวิจิตรฯท่านได้กล่าวไว้ว่า การฝึกประสาทกายนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นการเพิ่มสัญชาตญาณ หรือ Instinct จนถึงกับสามารถทำให้ร่างกายสามารถทำอะไรได้ โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากใจ ทำให้มีประสาทไว เช่น เวลาขับรถอยู่เพลินๆ มีสิ่งมาตัดหน้า ทำให้เรามีสัญชาตญาณไวในการหักหลบ หรือ เหยียบเบรค เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ ท่านได้เล่าไว้น่าสนใจว่า โดยปกติธรรมชาตืได้ให้กลไกบางอย่างให้มนุษย์ไว้ป้องกันตัว สิ่งนี้คือสัญชาตญาณ เช่น เมื่อมีอะไร มาโฉบใกล้ตาของเรา เราจะหลับตาทันที เป็นต้น การฝึกประสาทกาย เป็นการฝึกสัญชาตญาณให้ดีขึ้น

การฝึกประสาทกาย เช่น การปิดตา แล้วคลำลูกกลมที่มีขนาดต่างๆกัน แล้วทายว่า ลูกใดใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด การปิดตาแล้วคลำสิ่งของว่า สิ่งนั้นคืออะไร หรือ การปิดตาแล้วคลำของที่มีพื้นผิวต่างกัน แล้วทายว่า ของที่คลำอยู่คืออะไร หรือ เอาขวดใ่ส่นำ้ปริมาตร ไม่เท่ากัน แล้วเรียงดูว่า ขวดใดหนักสุด เบาสุด เป็นต้น ดิฉันสังเกตจากการศึกษาของแนวทางเลือก เช่น วอล์ดอร์ฟ หรือ มอนเตสเซอรี่ ก็เน้นการฝึกฝนแบบนี้เช่นกัน

ดิฉันจำได้ว่า ได้คุยกับพี่ท่านหนึ่งที่เป็นเหมือนหัวหน้าเก่า สมัยที่ดิฉันทำงานบริษัทที่ปรึกษาข้ามชาติ ท่านแนะนำดิฉันว่า เวลาพาลูกไปร้านอาหาร หรือไปเที่ยว โดยเฉพาะลูกเล็ก ให้ไปที่ซำ้ๆ ให้นั่งที่เดิม โต๊ะเดิม มุมเดิม และเวลาเดิมให้บ่อยๆ จะเป็นการพัฒนาเด็กเรื่องสัญชาตญาณ เพราะที่เดิม มุมเดิม บรรยากาศเดิมๆ ทำให้เด็กได้ศึกษาลึกซึ้งขึ้น สังเกตมากขึ้น ถึงรายละเอียด เขาจะได้กลิ่นของสิ่งแวดล้อมนั้นๆ จะเห็นรายละเอียด จะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศ และพลังงานที่อยู่ในบริเวณนั้น เมื่อเขาสังเกต และเกิดกระบวนการเรียนรู้ตามสัญชาตญาณ สังเกตรายละเอียด และความรู้สึกของสถานที่และสิ่งแวดล้อมได้ ต่อไป เขาไปที่ใด เขาก็จะสังเกต และเรียนรู้แบบเดียวกัน

และพี่บอกว่าให้พาเขาไปที่ๆดีๆ มีสิ่งแวดล้อม ที่มีพลังงานดี เช่นไปสวน ไปวัดที่ปฎิบัติธรรม หรือ ที่ๆแวดล้อมด้วยคนดีๆ เขาจะรู้ว่า สิ่งแวดล้อม ทีมีพลังงานดีเป็นอย่างไร เมื่อเขาไปอยู่ในที่ใหม่ๆที่ไม่รู้จัก และไม่ปลอดภัย ระบบเตือนภัยของเขา คือสัญชาตญาณจะบอกเขาเองว่า ที่นี่ไม่ปลอดภัย ไม่ใช่ที่ๆเขาควรอยู่ค่ะ

ลึกซึ้งไม๊คะ แปลกแต่จริง

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ประเด็นสุดท้ายของการฝึกประสาท คือ การฝึกประสาทใจ เป็นการฝึกความคาดคะเน ซึ่งหลวงวิจิตรท่านว่า มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของสัตว์ เช่น ก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติต่างๆ ก็มักจะมีเหตุการณ์ หรือ สิ่งแวดล้อมบางอย่าง ที่เปลี่ยนแปลง หากเรามีทักษะการคาดคะเนที่ดี เราจะรู้ก่อนว่า จะเกิดภัย หรือ สิ่งอันตราย ทำให้เราสามารถวางแผน แก้ปัญหา เอาตัวรอดได้ ซึ่งอาจจะสังเกตจาก เสียง กลิ่น ขนาดของลม หรือ การเปลี่ยนแปลงของการกระทำ หรือสิ่งแวดล้อม ดิฉันอยากเรียกว่า ลางสังหรณ์ น่าจะตรงกว่า

ดิฉันเองก็ไ้ด้มีการใช้ลางสังหรณ์ และสัญชาตญาณในการทำงานมาก เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน มีเหตุการณ์บางอย่าง ในบริษัทของสามีค่ะ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ตลอดจนลางสังหรณ์ ที่ไม่ค่อยพลาดมาหลายปี ทำให้ดิฉันและสามี ได้เตรียมการไว้พร้อมในการป้องกันปัญหา ซึ่งก็เป็นจริงตามที่คาดคะเนไว้ กล่าวคือ บรรยากาศในการทำงานของบริษัท เปลี่ยนไป รู้สึกมีความตึงเครียดบางอย่าง และเมื่อสืบหาสาเหตุ ก็พบต้นเหตุของปัญหา คือพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไปของลูกน้อง ซึ่งหากปล่อยไว้จะมีปัญหา เราจึงวางแผนการทดสอบบางอย่าง ซึ่งทำให้เราพิสูจน์ถึงทัศนคติ และวิธีคิด ที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของเขาได้ ตอนนี้ก็ไ้ด้สะสางไปแล้ว กำลังรอดูผลกระทบว่า ได้มรรคผลเพียงใด

เรื่องของสัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ เป็นพลังมหัศจรรย์ที่หลบซ่อนอยู่ในเราทุกคน แต่บางคนไม่สามารถดึงมันออกมาได้ หากไม่ได้ฝึกฝน ประสาททั้ง 5 อีกทั้งอวิชชาบางอย่าง ทำให้เราละเลยที่จะฟังเสียงเตือนจากร่างกาย และจิตใจเรา เพราะเราเชื่อหนังสือ หรือเชื่อเครื่องมือมากกว่า และเราตีค่าของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวเลข เป็นรูปธรรม มากกว่าตัวเราเอง

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

วิธีการฝึกประสาทใจ คือ การคาดคะเน มี 3 อย่างคือ

- ฝึกคาดคะเนเรื่องเวลา ว่า ตอนนี้กี่โมง กี่ทุ่ม

- ฝึกคาดคะเนว่า เราใช้เวลาทำอะไรตอนนี้ไปแล้ว ประมาณ กี่นาที กี่ชั่วโมง

- ฝึกกำหนดจดจำสิ่งที่มีเวลาแน่นอน เช่น ทั่วๆไปเทปที่เปิดจะมีเวลา ประมาณ 30 นาที และสิ่งที่เรากำลังฟังอยู่ นี้ เป็นเวลาประมาณ กี่นาทีแล้ว

หรือเราอาจจะฝึกคาดคะเนว่า เราเริ่มเดินทางตอนนี้ เราจะถึงจุดหมายประมาณกี่โมง เป็นต้น โดยคาดคะเนจากระยะทาง และความเร็วรถที่เรานั่ง เป็นต้น

จบเรื่องการฝึกประสาทค่ะ

มีบทต่อไป ที่ช่วยในการพัฒนากำลังความคิด คือ สมาธิ แต่ดิฉันจะข้าม เพราะเรื่องนี้มีข้อมูลมากมาย หาไม่ยาก ไม่อยากพูดซำ้ กลัวเกิน อิ อิ

จะข้ามไปพูดเรื่อง ปฎิภาณ ซึ่งไม่ใช่ น้องมอส ปฎิภาณนะคะ