วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มาฝึกลูกเรื่องจิตอาสาให้ถูกวิธีกันเถอะ

มาเล่าเรื่องการฝึกลูกเรื่องจิตอาสากันบ้าง   เรื่องจิตอาสานี่ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ได้ชื่อว่าช่วยคนนะคะ เพราะการทำงานจิตอาสา แบบ "สักแต่ว่าได้ทำ"  ไม่ได้ใช้สติปัญญาตรึกตรอง ว่าสิ่งใดควรทำ หรือ ไม่ควรทำ ไม่คำนึงที่วิธีการ  อาจจะทำให้เหตุการณ์นั้น ยิ่งเลวร้าย หรือก่อความเสียหายเป็นวงกว้าง   เช่นเราพบคนประสบอุบัติเหตุ  หากเรารีบร้อนเข้าไปช่วยเหลือ โดยไม่มีความรู้ในการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาจจะทำให้คนผู้นั้น เสียชีวิต หรือ พิการ จากการเคลื่อนย้าย หรือช่วยเหลือผิดวิธี   ดังนั้น การฝึกลูกเรื่องจิตอาสานั้น นอกจากเราจะต้องฝึกลูกให้เห็นอกเห็นใจ เมตตาต่อผู้อื่น เสียสละ แบ่งปัน และลงมือช่วยเหลือผู้อื่นในรูปแบบต่างๆที่เราถนัด  เรายังต้องฝึกลูกให้เข้าใจถึงวิธีการ ทำงานจิตอาสาที่ถูกต้อง  เพื่อป้องกันตัวของเราเอง ไม่ให้ได้รับอุบัติเหตุ ติดโรค หรือได้รับผลกระทบ หรืออันตราย จากงานจิตอาสาที่เราทำ   รวมทั้ง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตราย หรือ ทุกข์ภัย ดังเจตนารมย์ของการทำงานจิตอาสาด้วย

 คู่มือจิตอาสา  


จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากมายต่อประชาชน และเราก็ได้เห็นคนไทยออกมาเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงน้ำใจต่อคนไทยอย่างชัดเจน แต่การที่จะเป็นจิตอาสาที่ดีนั้น อาจจะไม่รู้จะต้องทำอย่างไร ครั้งนี้ได้นำคู่มือจิตอาสามาฝากกันนะครับ ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็จะทำให้เราออกไปเป็นจิตอาสาอย่างสมบูรณ์แบบ และจะไม่เกิดปัญหาต่างๆตามมา ทำให้งานที่เราได้ไปช่วยสำเร็จสมบูรณ์อย่างที่ต้องการนั่นเองครับ
 
คู่มือจิตอาสา 6 ขั้นตอนที่อาสาต้องรู้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงาน สำหรับทุกหัวใจที่มีจิตอาสา สำหรับทุกงานเพื่อการสร้างสรรค์โลกนี้ให้น่าอยู่และดูแลใจให้มั่นคง ยังประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่น
สำรวจตัวเองเพราะอะไร?
อะไรทำให้เราจะไปทำงานอาสา ? ต้องตอบตัวเองให้ได้ และระลึกถึงสิ่งนี้ไว้ในใจ เพราะมันเป็นพลังเติมใจให้เรามุ่งมั่นทำงานเพื่อสิ่งนี้ประเมินสุขภาพตัวเองวันนี้เราสบายดีใช่ไหม ? ทั้งกายและใจเต็ม 100% หรือไม่? นอกจากจิตใจที่มุ่งมั่น สุขภาพดีทั้งกายและใจ ย่อใมำให้เราดูแลตนเองได้ ไม่แพร่เชื้อ ไม่เป็นภาระแก่ใคร ก็เท่ากับได้ดูแลคนอื่น มีโรคประจำตัวก็ทำงานอาสาได้ แค่เลือกงานให้เหมาะสมมีความถนัด ความเชี่ยวชาญ หรือความสามารถพิเศษอะไรบ้างอาจเป็นทักษะในอาชีพของตนเอง หรืองานอดิเรกของเรา หรือความเชี่ยวชาญทางภาษา ความรู้เฉพาะด้าน ความชำนาญงานช่างฝีมือ รวมทั้งความสามารถเล็ก อย่างเช่นการรับโทรศัพท์ จดบันทึก พิมพ์ดีด ก็เป็นประโยชน์มาก
ศึกษากิจกรรมอาสาที่เหมาะกับเรารู้ข้อมูลล่วงหน้าว่าจะต้องเดินทางอย่างไร มีของอะไรต้องเตรียมไปเองบ้าง ต้องทำงานเวลาไหนนานเท่าไร และประเมินข้อจำกัดเงื่อนไขของตัวเอง จะลดภาระของคนจัดการ ผู้ประสานงาน และทำงานอาสาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เตรียมตัวก่อนมา·         แต่งกายให้เหมาะสมกับงาน·         พกเงินมาให้พอเหมาะสำหรับการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่อาจมี·         ทานข้าวให้เรียบร้อย เตรียมน้ำดื่มไปเอง (ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรฝากท้องไว้ว่าจะไปกินที่งาน)·         วางแผนเดินทาง ต้องไปให้ถึงตรงต่อเวลานัดหมาย·         แจ้งคนที่บ้านว่าจะไปไหน ไปทำอะไร และนัดแนะว่าจะติดต่อกันอย่างไร
เมื่อถึงงานอาสามองหาโต๊ะลงทะเบียน หรือคนจัดการ ผู้ประสานงานเพื่อให้ข้อมูลของเราที่จะเป็นประโยชน์ต่องาน และได้รู้สถานการณ์ว่ามีงานใด สำคัญ เร่งด่วน ต้องการกำลังคนหรือทักษะอะไร และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาฐานข้อมูลอีกด้วย #แต่ละงานมีลักษณะต่างกัน ถ้าเราลงมือลุยทำงานไปเลย อาจไม่ได้ทำประโยชน์ให้ได้เต็มที่ หรือบางทีกลับเป็นอุปสรรคด้วยซ้ำเลือกงานให้เหมาะสม ประเมินกำลัง ทักษะ และเวลาที่เรามีอย่าลืม! ต้องบอกคนจัดการ ผู้ประสานงานให้รู้ไว้ เพราะถ้าได้ใช้ความถนัดของเรา ก็ช่วยงานได้มาก แต่ถ้าหากเป็นงานเฉพาะหน้า ได้ทำสิ่งที่ไม่ถนัด ก็ต้องหัดวางใจ ขอให้นึกถึงเหตุผลที่ทำให้เรามาเป็นอาสาเอาไว้ (แม้ไม่ได้ทำงานก็ไม่เป็นไร สำคัญท่มุ่งมั่นตั้งใจ วันหลังมาใหม่ จิตอาสามีงานทุกที่ทุกเวลาถ้าเรามีใจ)
ขณะทำงานอาสา·         ต้องแน่ใจว่าเราเข้าใจขั้นตอน วิธีการได้ถูกต้องครบถ้วน·         พบปัญหามีข้อสงสัย รีบบอกให้คนจัดการ ผู้ประสานงานรู้ทันที ไม่ควรทึกทักจัดการเอง·         ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง หนักนิดเบาหน่อยก็อภัยให้กัน การมีมิตรไมตรีสามัคคีกันสำคัญเท่ากับงานสำเร็จ·         เมื่อเราได้ลงมือทำจริงๆ อาจจะมีความไม่ถูกใจ ความหงุดหงิด ที่เกิดจากการทำงาน ยิ่งบางงานที่เป็นงานเร่งด่วนหรืองานร้อน ก็อาจกระทบกระทั่งกันได้ ง่าย ขอให้เรามีท่าทีที่ดีเรื่องนี้ เพราะสิ่งสำคัญกว่าคือการได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือคนอื่น และยิ่งกว่านั้น จิตอาสาคือการขัดเกลาตัวเอง และละทิ้งอัตตาตัวตน บรรดาความไม่ถูกใจ ความหงุดหงิด นี่แหละ เป็นสิ่งที่จะพาให้เราได้ลดละตัวกูของกู·         ทำไม่ไหวต้องบอก อย่าฝืนจนเกินกำลังตัวเอง ไม่ใช่แค่ดูแลตัวเองเพื่อตัวเอง แต่เพื่อสามารถไปดูแลคนอื่นต่อได้ และไม่เป็นภาระให้คนอื่น 
ดูแลตัวเอง=ดูแลทุกคน 
หลังจากเสร็จงานหาเวลาทบทวนตัวเอง เราได้ทำสิ่งที่เราตั้งไว้ตั้งแต่แรกใช่ใหม มีอะไรประทับใจบ้าง อาจถามตัวเองว่าได้เรียนรู้อะไร มีหน้าที่อะไรที่ครั้งหน้าจะทำได้ดีกว่านี้อีกไหม หรือแม้กระทั่งข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตต่างๆที่มีต่องานที่ไปทำมา#การทบทวนตัวเองนั้นมีประโยชน์มาต่อการพัฒนาตัวเรา และจิตอาสาของเราทำให้เราไม่หลงทาง ไม่ยึดติดตัวบุคคลหรือผลงานแบ่งปันเรื่องราว ความประทับใจ บทเรียนของเรา รวมถึงข้อเสนอแนะและข้อสังเกตที่เราได้ การแบ่งปันเรื่องเหล่านี้ เป็นการส่งต่อความสุข และยังเป็นการสื่อสารเรื่องจิตอาสาให้สังคมได้รับรู้ จะบอกเล่าปากเปล่า เขียนถึงหน่วยงานผู้จัด เขียนบล๊อก หรือใช้ทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุคก็ได้ ล้วนเป็นประโยชน์ให้ได้พัฒนาจิตอาสาของทั้งสังคมไทยขอให้ทุกคนได้รับใช้เพื่อนมนุษย์ สังคมโลก ด้วยจิตที่เบิกบานนะครับคัดลอกโดย จาก Jittapanya.com  โดย armcreation
Read more: http://www.imarm.com/%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1/#ixzz1eFuq4dQj

ไม่มีความคิดเห็น: