วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การว่ายน้ำของเด็กๆ


ภาพจากอินเตอร์เนต

เรื่องนี้เป็นการแบ่งปันของคุณ myson711 ที่เวบบอร์ดโมมี่พีเดียค่ะ เธอและเพื่อนๆหลายๆท่านแนะนำเรื่องการฝึกว่ายน้ำของเด็กๆ ซึ่งเป็นการแบ่งปันที่มีค่ามาก อยากเอามาเก็บไว้ เผื่อพ่อแม่รุ่นหลังๆจะค้นหาข้อมูล จะได้ง่ายต่อการค้น

เริ่มเรียนว่ายน้ำอายุเท่าไรดี

จากประสบการณ์ที่เห็นเด็กๆ เรียนว่ายน้ำ
อายุ ยิ่งน้อย กล้ามเนื้อจดจำง่าย แต่เข้าใจคำพูดคุณครูยาก
อายุ ยิ่งมาก เข้าใจคำพูดง่าย แต่ปฏิบัติ อาจจะฝืนๆ บ้าง

ถ้าเริ่มอายุน้อย อาจใช้ระยะเวลานานกว่า แต่เป็นเร็ว (เพราะเริ่มเร็ว)
ค่าใช้จ่ายเยอะกว่า แต่ถ้าน้องไม่พร้อม อาจกลายเป็นต่อต้านได้

ทำให้นึกถึงเวลาน้อง เรียนคณิต วิทย์ ฯลฯ ถ้าพร้อมที่จะรับ
ก็จะเร็วมาก กระตือรือร้น อยากพัฒนาให้เป็นเร็วๆ ประมาณนั้น
สรุปว่า ว่ายเมื่อพร้อม ขอให้น้องรู้สึกว่าสนุก
เราคิดว่า อายุต่ำกว่า 7 ปี เป็นโอกาสทอง

น้องขอเรียนว่ายน้ำตอน 5 ขวบ เพราะเพื่อนๆ เรียนกันค่ะ

คุณครูสอนว่ายน้ำ

ถ้าเด็กเยอะ ครูจะดูไม่ค่อยทั่วถึง
(แม่ควรดูแลด้วย เพื่อไม่ให้เกิดประสบการณ์ฝังใจให้กลัวน้ำ)
จิตวิทยาเด็กสำคัญมาก การให้คำชม
การสอนด้วยคำพูดที่เด็กเข้าใจ
บางครั้ง น้องไม่เข้าใจภาษาครู เราต้องพยายามจูน
ภาษาครู กับความเข้าใจของลูก

คล้ายๆ กับการเรียนในห้องเรียน หรือเรียนเสริม
บางอย่าง น้องเข้าใจง่ายแสนง่าย บางอย่างดูจะเข้าใจยากเหลือเกิน
(จริงๆ น้อง คงคิดตรงกันข้ามกับเราอยู่ในใจเค้าเหมือนกัน)
แม่ ช่วยทบทวนให้นิดนึง ก็จะคืบหน้าเร็ว
และทำให้น้อง พยายามจะเข้าใจคุณครูมากขึ้นด้วยค่ะ

9 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ลำดับของพัฒนาการ

ระยะแรก คือ ช่วงปรับตัวค่ะ คุณแม่อย่าเพิ่งคาดหวังความสามารถ
ทักษะ เทคนิคใดๆ ในระยะแรก
ขอให้น้อง รักและสนุกกับการว่ายน้ำ (เล่นน้ำ)
และรู้สึกดีๆ กับครู ไม่เช่นนั้น ประตูปิดตั้งแต่ด่านแรกค่ะ
กว่าจะมาแงะทีหลัง ก็อาจจะเสียความรู้สึก เสียเวลา เสียน้ำตา ฯลฯ
บางที anti ไปเลยก็มีค่ะ

ระยะเรียนรู้/ค้นหา ช่วงนี้ น้องจะเริ่มเปิดรับเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
พยายามทำตามคำแนะนำ ถ้าทำได้ จะเร็วมาก
ถ้าทำไม่ได้ น้องก็ยังมีพยายามอยู่เรื่อยๆ
การที่มีเพื่อนวัยเดียวกัน ที่ว่ายน้ำเป็นแล้ว
ก็เป็นแรงบันดาลใจที่ดีค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ระยะก้าวกระโดด/ปฏิบัติ ช่วงนี้ พัฒนาการจะเร็วมาก
เช่น จากท่าปลาดาว ปลาเข็ม เป่าลม เตะขา ตีโฟม มาเป็น
บิดหน้าหายใจ 1-2 strokes หรือถ้าทำได้ดีว่ายข้ามฝั่งสั้นได้
น้องจะสนุกมากๆ ค่ะ
ข้อควรระวัง คือ ต้องให้พื้นฐานแน่น
เพราะจะได้ต่อยอดไปว่ายระยะยาว หรือว่ายท่าอื่นๆ
ได้เร็วขึ้น

คล้ายกับการเรียนพื้นฐานคณิต ให้แน่น ยังไงยังงั้นเลยค่ะ

ระยะเบื่อ/ปรับปรุง เป็นระยะที่ต้องประคับประคองค่ะ
เด็กๆ จะมีระยะนี้ทุกคนค่ะ เหมือนเกือบชน curve ตัวเอง
มันไม่คืบหน้าแล้ว (ในความคิดของเค้า)
เราต้องให้กำลังใจในทางที่ถูก บอกให้เข้าใจข้อเท็จจริงว่า
ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ต้องตั้งใจ ปรับปรุงอยู่ตลอด
ขนาด Michael Phelps หรือ Tiger Woods
ก็ยังต้องมีโคช จับสโตรก ปรับวงสวิงอยู่ตลอดเวลา
ถ้าผ่านระยะนี้ได้ น้องจะเริ่มเข้าใจ cycle แล้วก็
ค่อยๆ พัฒนาเทคนิคของตนเอง จินตนาการก็เกิดขึ้นได้
แล้วพัฒนาวนไปเรื่อยๆ ค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ประโยชน์จากการว่ายน้ำ
(นอกจากด้านความปลอดภัย การใช้เวลาว่าง สุขภาพ และสรีระ)

น้องที่เข้าสู่วงการนักกีฬาว่ายน้ำ จะมีอีกสังคมหนึ่ง
ถ้าเราช่วยสอนให้รู้จักน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้อภัยได้ด้วย จะดีมากๆ ค่ะ
เค้าจะมีการแลกเปลี่ยนเทคนิคซึ่งกันและกันด้วย
(เราก็อึ้งเหมือนกัน ว่าเด็กๆ เค้าคุยกันแบบนี้ด้วย)
ให้กำลังใจต่อกัน เชียร์กัน (สุดๆ มาก) เตือนกัน (ท่าไหน เทคนิคไหน)
ที่เห็น ได้ชัดคือ สมาธิ เพราะต้องรู้ตัวตลอดว่าจะว่ายท่าไหน
ต้องฟังสัญญาณเอง ต้องจำรายการ ชุด และลู่ว่าย กติกาต่างๆ
ว่ายเสร็จ ก็จะวิเคราะห์กันเอง (ตามประสาเด็ก)
การฝึกซ้อมเทคนิคต่างๆ บางอย่างก็เกิดจากจินตนาการของเด็กแต่ละคน
ผสมเข้าไปด้วย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เป้าหมายของการแข่งขัน

การแข่งขัน ถ้าไม่มีเป้าหมาย อาจจะหวั่นไหวได้
เพราะ “จะหลงคิดว่า เป้าหมาย คือ ชนะ”
ถ้าทางวิชาการอาจจะยึดติดเกินไปกับผลของการแข่งขัน เป็นต้น

ดังนั้น การตั้งเป้าหมายสำหรับการแข่งขันว่ายน้ำ จึงช่วยให้
น้องสนุกไปพร้อมๆ กับการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ

น้องว่ายน้ำตอนเริ่มโตมานิดนึง (5 ขวบ) ทำให้เป็นเร็วขึ้น
เรียนได้ประมาณ 2 เดือน ครูบอกเห็นแวว ชวนให้น้องลงสนามแข่ง
เราปรึกษากับคุณพ่อของน้อง เอาไงดี
ไม่อยากให้ลูกแข่ง เพราะคิดว่าเพิ่งเริ่ม เกรงว่าจะทำให้ท้อเปล่าๆ
ยกเว้นว่า “มีเป้าหมายของการแข่งขันที่ชัดเจน”
ตอนนั้น สรุปว่า ถามน้อง ให้น้องตัดสินใจเอง
โดยเราอธิบายว่า มีโอกาสอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นได้
น้องบอกว่ายอมรับได้กับการแพ้ (ใจเรายังหวั่นๆ) แต่ก็โอเค
เราย้ำกับน้องว่า “เป้าหมาย คือ เรียนรู้สนาม กติกา บรรยากาศ”
เหมือนไปสอบวิชาการ ลองฝนกระดาษคำตอบ ยังไงยังงั้น

ก่อนแข่ง ก็บอกน้องว่า “ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ขอให้ตั้งใจ
แม่เตรียมเหรียญไว้ให้สำหรับเด็กตั้งใจนะครับ”

หลังจากนั้น มี match มาเป็นระยะๆ
เป็นนักกีฬาเต็มตัว...โอวววว...
เป็นกีฬาที่ใช้เวลาฝึกซ้อมมากๆๆๆๆๆ จริงๆ ค่ะ
หลังๆ แม่เริ่มไม่ทำเหรียญให้น้องแล้ว
แต่น้องติดใจ อยากได้เหรียญแม่...(ซะงั้น)

เป้าหมาย ของการแข่งขัน ครั้งต่อๆ มา เช่น
การเน้นท่ากระโดด, กลับตัว, ม้วนตัวฟรีสไตล์,
กลับตัวกรรเชียง ฯลฯ ก็ปรับไปเรื่อยๆ ค่ะ
(เหรียญเป็นผลพลอยได้) ทำให้น้องผ่อนคลายได้ด้วยค่ะ
เพราะไม่ยึดกับเหรียญมากเกินไป แต่ก็มีบ้างที่เสียใจค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ความสมดุล
ผ่านมา 1 ปี น้องอายุ 6 ขวบ
เริ่มคุยกับคุณพ่อของน้อง ความเห็นไม่ตรงกัน
เราอยากให้ว่ายน้ำน้อยลง เพราะใช้เวลาเยอะมาก
เห็นว่าน้อง load เพราะเกิดปลายปี แข่งรุ่นเดียวกันกับต้นปี
ปรับเวลาซ้อมไม่ลงตัวซักที (ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน)
กว่าจะปรับตัวได้ พยายาม หา ความสมดุล
ฝึกซ้อมมาก ผลคือ ทำเวลาได้ดี โคชชอบ แต่เหนื่อย และหมดเวลาไปกับการว่ายน้ำ
ฝึกซ้อมน้อย ผลคือ สบาย ไม่เหนื่อย แต่ทำเวลาไม่ดี ตอนไปซ้อมจะรู้สึกกดดัน
(ตามกลุ่มไม่ทัน)

นึกถึงเวลาเรียนอะไร อาจไม่อยู่แถวหน้า แต่ขอเกาะกลุ่มไว้เป็นดี

สุดท้าย ก็หาจุดลงตัวได้ ระหว่าง “ลูก โคช พ่อ และแม่”
ซ้อมสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 2-3 ชั่วโมง
(จับสโตรก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง)

ประสบการณ์เกือบ 2 ปี

สิ่งที่คิดว่า สมดุลแล้ว โอเคแล้ว
เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนแปลงได้อีก
เปิดเทอมนี้ ต้องปรับอีกรอบ บอกน้องว่า
match ล่าสุด (เสาร์ที่แล้ว) ที่ ม.มหิดล
เราขอให้เป็น match สุดท้ายของปีนี้
น้องขอร้องว่า ขอไปอีก 1 match เราก็โอเคค่ะ
ก็ยังคงว่ายน้ำต่อไป เพราะทำให้ร่างกายแข็งแรง
และอื่นๆ ว่ายน้ำเหมือนยาวิเศษ
ชวนกันว่ายน้ำทั้งครอบครัวเลยยิ่งดีค่ะ

ประสบการณ์ว่ายน้ำ มีบางจุดคล้ายกับประสบการณ์ด้านอื่นๆ
น้องสามารถปรับใช้กับด้านอื่นๆ ได้อีกด้วยค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

สำหรับเรื่องคุณครูสอนว่ายน้ำ..

สำหรับเรา ไม่มีโอกาสเลือกมากเท่าไร

แต่ถ้าเลือกได้ ก็จะเรียงตามลำดับความสำคัญคือ

1. จิตวิทยาเด็ก (ครูสอนผู้ใหญ่ กับครูสอนเด็ก จะต่างกันพอควร)
สำหรับเด็ก ครูควรพยายาให้เด็กรู้สึกสนุก
เด็กมาเรียนเพราะ "ความสนุก"
(สุขภาพ ทักษะช่วยชีวิตตนเอง หรือเรื่องอื่นๆ มาทีหลัง...)

2. ภาษาสื่อสารที่เข้าใจง่ายสำหรับเด็ก
ครูที่อธิบายสั้นๆ "ให้ปิดปาก กลั้นหายใจ
เป่าลมในน้ำ แล้วบิดหน้าหายใจบนน้ำ"
เด็กไม่รู้เรื่องแน่นอน ก็ยังจะสำลักน้ำ

ยิ่งถ้า ครูไม่มีจิตวิทยาเด็ก (ข้อ 1)
ต่อว่า ดุเด็ก ก็จะทำให้เด็กยิ่งกลัวมากขึ้นค่ะ
ถ้าผู้ปกครองไม่เข้าใจ กดดันเพิ่ม
ก็ยิ่งทำให้ ต่อต้าน มากขึ้นค่ะ

3. ครูสอน กับครูฝึกซ้อม (โคช) อาจจะไม่เหมือนกัน
ครูสอน ช่วยให้สนุก เน้นพื้นฐานให้ถูกต้อง
เพื่อนำไปสู่ การว่ายน้ำระยะทางยาว (ให้เหนื่อยน้อย)
ครูสอน ยังช่วยเน้นเทคนิค ให้ช่วยผ่อนแรง ให้ได้ด้วยค่ะ

4. จำนวนเด็กที่เรียน ต่อ ครั้ง

ถ้าจำนวนเด็กมากไป ผลคือ ไม่คืบหน้า แต่สนุก เปลืองค่าใช้จ่าย
นานๆ เข้า ว่ายไม่เป็นซักที อาจถูกกดดันทางอ้อมทั้งจากครู เพื่อน หรือพ่อแม่

ถ้าจำนวนเด็กน้อยไป ผลคือ เหนื่อย เพราะได้เรียนเต็มๆ
ไม่ทันพัก ต้องใส่แว่น ออกตัวอีกแล้ว แต่ก็จะเป็นเร็วขึ้น
แต่ถ้าเหนื่อยมาก อาจจะอยากอู้เรียน ก็เป็นได้ค่ะ

5. สถานที่เรียน สภาพแวดล้อม ราคา ฯลฯ
รวมถึง ช่วงเวลาที่เรียน บางที จะห่วงว่าร้อนแดด หรือเปล่า
แต่ถือว่าเป็นประเด็น รองๆ ค่ะ ส่วนใหญ่ถ้าคล้ายๆ กัน ก็โอเค

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่อง ครูฝึกซ้อม (เสริมจากครูสอน) ก็มีความสำคัญมากค่ะ
โคชจะช่วยจัดตารางเวลาซ้อมให้ น้องจะมีวินัย เป็น routine ว่าต้องทำอะไรบ้าง
ฝึกความอึด ความถึก (รวมถึงผู้ปกครองด้วย ถึกไม่แพ้กัน)
น้องที่เคยคิดว่า อ่อนท่านี้.. เวลาผ่านไป อาจกลายเป็นท่า ที่ทำเวลาดีกว่า
ไม่มีความแน่นอนเลยค่ะ แต่ละ match ก็เปลี่ยนแปลงตลอด .. ต้องปรับตลอด

ความแน่นอน อยู่ที่ต้องให้สนุก สมดุล
และถ้ามีประเด็นอะไรระหว่างการฝึกซ้อม
ให้รีบคุยกัน ระหว่าง ตัวเด็ก ครู โคช พ่อ และแม่

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ขอขอบคุณmyson711 อีกครั้งสำหรับข้อมูลที่มีค่านี้ค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ตารางแข่งขันว่ายน้ำ และผลการแข่งขันต่างๆ

ติดตาม update ตลอดได้ที่เว็บนี้ค่ะ

http://www.jp.in.th/index.php