วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การประเมินการเีรียนรู้ของเด็กวัยก่อนอ.1






เรื่องที่จะเล่านี้ เพื่อนๆโฮมสคูล และแฟนคลับขาประจำ และขาจรที่มีลูกวัยประมาณ ก่อน ๓ ขวบ หรือก่อนเข้าโรงเรียนเอาไปดูได้ค่ะ ดิฉันได้คุยกะคุณครูของน้องแชง สรุปแล้วชั้นที่น้องแชงเรียน ก็ไม่ถือว่าเป็นอนุบาลหนึงนะคะ เป็นแค่เตรียมอนุบาล น้องแชงจะมีชั้นอนุบาลหนึ่งและสองค่ะ ก่อนเข้าชั้นประถม ดังนั้นแม่ๆที่มีลูกชั้นเตรียมอนุบาล หรือก่อนสามขวบ สามารถใช้เกณฑ์ที่เอามาเล่านี้ เป็นแนวทางในการฝึกสอนลูกได้ค่ะ

7 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

โรงเรียนของน้องแชง ซึ่งเป็นโรงเรียนอืินเตอร์แนวสิงคโปร์ ออสเตรเลีย มีการประเมินศักยภาพเด็กๆ ในวัยนี้ โดยแบ่งเป็น ๗ หมวดค่ะ คือ

หมวดแรกคือ เรื่อง พัฒนาด้านสังคมและอารมณ์ เช่น การแยกจากผู้ปกครอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น ความสามารถในการบอกเล่าถึงอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง ด้วยวาจา การโต้ตอบและการตอบสนองต่อคุณครู การแบ่งปันสิ่งของและสลับสับเปลี่ยนการเล่นกับเพื่อน

โดยหากเด็กทำได้ดี ก็จะเขียนให้ทราบ แต่หากเด็กทำไม่ได้ ก็จะแจ้งให้พ่อแม่ทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาพฤติกรรมของเด็กได้ค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หมวดที่สอง คือ เรื่องการช่วยเหลือตนเอง เช่น การสวมถุงเท้่า การสวมรองเท้า การถอดเสื้อผ้่า การสวมเสื้อผ้่าเอง การแปรงฟัน การแจ้งครูหากต้องการเข้าห้องนำ้ การทานอาหารเอง ในหมวดนี้ น้องแชงทำได้ไม่ดีนัก เพราะดิฉันเอง เคยชินกับการช่วยลูก แย่จัง

หมวดที่สาม คือ เรื่องการเคลื่อนไหวทางร่างกายค่ะ เช่น

การทรงตัวเดินตามเส้น
ความสามารถในการวิ่งโดยควบคุมความเร็วและทิศทางของตัวเองได้
การกระโดดข้ามสิ่งของ และลงนำหนักด้วยเท้าทั้งสองข้าง
การปีนป่ายอุปกรณ์อย่างมั่นใจ
การขว้างบอลหรือถุงถั่วที่มีนำ้หนักอย่างควบคุมนำ้หนักมือและทิศทางได้
การรับบอล หรือถุงถั่วที่มีนำ้หนักได้ด้วยสองมือ
การทรงตัวได้ด้วยขาข้างเดียว (ไม่นาน)
การเตะบอลที่เคลื่อนไหวอย่างช้า

อิ อิ บางอย่างดิฉันก็ทำไม่ได้ เหมือนกัน ลูกเก่งกว่าอีก

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หมวดที่สี่ คือ เรื่องการเคลื่อนไหวของมือ จะมีสิ่งที่ทดสอบคือ

การปั้นแป้งโดว์เป็นรูปต่างๆด้วยมือทั้งสองข้าง
การวาดรูปตามจินตนาการ
การจับกรรไกรและการตัดกระดาษ
การร้อยลูกปัดใส่เชือก
ความถนัดในการใช้มือเขียนหรือวาด (เป็นข้างใด)

หมวดที่ห้า คือ เรื่องการเรียนรู้เรื่องเลข เช่น

การจำตัวเลขที่เขียนไว้ 1,2,3,4,5
การเขียนตามจุดประ
ความเข้าใจความหมายของคำตรงข้าม เช่น ใหญ่ เล็ก หรือ เต็ม และว่างเปล่า หรือ หนัก และเบา หรือ เปิด ปิด หรือ ใน และนอก และ บน หรือ ใต้
การเรียนรู้เรื่อง สี แดง นำ้เงิน เหลือง เขียว ส้ม ชมพู
รูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจตุรัส วงกลม

ซึ่งทั้งหมดนี้ ที่โรงเรียนสอนเป็นภาษาอังกฤษค่ะ แต่ดิฉันสอนเสริมภาษาไทยที่บ้าน ควบคู่ไปด้วย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หมวดการสังเกตและการพัฒนาความคิด เช่น

การปฎิบัติตามขั้นตอนของคำแนะนำง่ายๆที่กำหนดให้
การเริ่มต้นและทำงานจนสำเร็จ
การแก้ปัญหาแบบง่ายๆ
การแก้เกมส์ปริศนาแบบง่ายๆ
การประดิษฐ์สิ่งของง่ายๆ

ทั้งหมดนี้ น้องแชงยังทำไม่ดีเท่าไหร่ค่ะ แต่ที่ดิฉันชอบคือ โรงเรียนมีวิธีที่จะกระตุ้นเด็กให้เล่น หรือ พัฒนาทักษะด้านนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาด้าน AQ SQ ที่สำคัญมาก เด็กไทยขาดเรื่องนี้มากค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หมวดสุดท้ายคือ ทักษะด้านการเรียนรู้ด้านภาษา เช่น

การสื่อสารกับผู้ใหญ่อย่างอิสระ
การสื่อสารกับครูและเพื่อนในชั้นเรียน
การตั้งคำถาม
การฟังผู้อื่น
การสนใจในหนังสือ
การรอบรู้ในคำต่างๆในเพลง และกลอน
การสังเกตและรับรู้ชื่อของตนเอง

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ดิฉันมาเทียบกับใบประเมินการเรียนรู้ของน้องแชง เมื่อเทอมก่อน คือ ประมาณ ครึ่งปีที่แล้ว พบว่ามีส่วยคล้ายกัน ของเก่าเป็นดังนี้ค่ะ

ความพร้อมในการแยกกับพ่อแม่
- การร่วมกิจกรรมกับครูและเพื่อนๆ
- การช่วยเหลือ หรือ ความให้ความร่วมมือกับเพื่อน
- การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน
- การใส่ถุงเท้า
- การใส่รองเท้า
- การถอดเสื้อผ้า
- การสวมเสื้อผ้่า
- การเข้าห้องนำ้
- การทานอาหารเอง
- การเดินขึ้นบันได
- การปีน
- การเตะบอลที่เคลื่อนไหวช้าๆ
- การควบคุมทิศทางและความเร็วในการวิ่ง
- การเล่นบล็อก การต่อเลโก้
- ทำงานศิลปะ
- การระบายสีเทียน
- การบอกรูปทรงได้
- การบอกสีได้
- การนับ 1-10
- การรู้จักขนาดเล็ก ใหญ่ ใกล้ ไกล เป็นต้น
- การทำตามคำสั่ง หรือ คำแนะนำ
- การพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษ
- การร้องเพลง
- การสนใจและสนุกกับหนังสือ

จะเห็นว่า สิ่งที่เราต้องพัฒนาเด็กในวัยนี้ จะเป็นเรื่องประมาณนี้ ยกเว้นเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้อวัยวะของเด็ก ที่จะต้องมีทักษะที่ดีขึ้นเรื่อยๆ การช่วยเหลือตัวเองต้องมากขึ้นตามวัย แต่เรื่องการเีรียน การเขียนนั้น ในวัยเด็กเล็กมากนั้น จะไม่เน้นมาก ที่โรงเรียนของน้องแชง ไม่เน้นให้เขียนเลยค่ะ บอกว่าในชั้นอนุบาลหนึ่งและสอง ต้องฝึกเขียนมากอยู่แล้ว เด็กจะล้าเสียก่อน ดังนั้นให้ฝึกระบายสี การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง จะได้ไม่เมือยมือ ไม่ปวดมือ ส่วนเรื่องการท่องจำ อักษร สี หรือ คำต่างๆนั้น ทางโรงเรียนสอนเพียงเพื่อให้เด็กชินกับกิจวัตรประจำวันในโรงเรียนเท่านั้น จะมาให้ความสำคัญเรื่องเหล่านี้ในชั้นสูงๆขึ้นไปค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ส่วนที่บ้านกิจกรรมที่ดิฉันเล่นกับลูก ก็ยังไม่เน้นเรื่องการท่องจำ หรือ แม้แต่เรื่องการเขียนเช่นกันค่ะ แต่ดิฉันจะเน้น เรื่องการให้ลูกได้สัมผัสกับประสบการณ์จริง เช่น การไปเที่ยวสวนสัตว์ ซึ่งดิฉันและสามีจะพาลูกไปเกือบทุกเดือน ตามคำเรียกร้องของลูก แต่ละครั้งลูกก็จะสนุกจนไม่ยอมกลับ และสังเกตเห็นรายละเอียดมากขึ้น หลังจากกลับมาแล้ว เราก็อาจจะมาเสริมด้วยการชมสารคดี หรือ ดูซีรีย์เกี่ยวกับสัตว์ในบาร์นี่ การอ่านนืทาน หรือ หนังสือต่างๆที่เี่กี่ยวกับสัตว์ค่ะ

อีกกิจกรรมหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การเล่นการแจ้ง ดิฉันจะพาลูกเดินไปเล่นในหมู่บ้าน พร้อมกระป๋อง จอบพลาสติก เพื่อไปเล่นขุดทราย ก่อทรายเป็นรูปต่างๆ และปีนป่ายไม้ลื่นเป็นต้น วันละสอง สาม ชั่วโมง ในช่วงที่แดดไม่จัด ทำให้สุขภาพของลูกทั้งสองแข็งแรงขึ้น และเป็นการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว และเพื่มความมั่นใจให้ลูกด้วยค่ะ เพราะการประเมินเมื่อหกเดือนก่อนนั้น น้องแชงยังขาดทักษะเรื่องการเคลื่อนไหว การปีน และการทรงตัวไม่ดีนัก แต่เมื่อฝึกฝนทุกวัน ก็พัฒนาดีมากค่ะ และร่างกายก็แข็งแรงขึ้น ไม่ป่วยบ่อย น้องเชียร์ก็เช่นกันค่ะ

ส่วนเวลาอยู่บ้าน ดิฉันเองก็มักจะเล่าโน่นนี่ให้ลูกฟัง ชวนคุย แล้วย้อนถามลูก เพื่อดูว่าลูกจำได้ หรือเข้าใจในสิ่งที่เราพูดมากน้อยเพียงใด และสื่อสารทั้งสามภาษาค่ะ แต่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาในบ้าน เพื่อให้ลูกไม่ลืมภาษาของเราเอง บางทีก็แกล้งลูกบ้าง เพื่อให้ลูกฝึกหาวิธีแก้ไขปัญหาเอง

เล่าให้ฟังค่ะ เพื่อนๆหลายๆท่านสนใจอยากรู้ และคิดว่า ดิฉันคงทุ่มเทมาก แต่ที่จริงแล้วไม่เลยค่ะ ดิฉันแค่เปิดโอกาสให้ลูกได้อยู่ในสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและ เอื้อต่อการฝึกฝนทักษะด้านต่างๆด้วยตัวของลูกเองเท่านั้น ซึ่งทุกท่านทำได้ค่ะ

เอาไว้จะมาเล่าใหม่นะคะ

เพื่อนๆลองนำไปประเมินลูกๆดูนะคะ ว่าดีด้านใด อ่อนด้อยด้านใด จะได้ปรับการสอนให้เหมาะสม ครบทุกด้าน เพื่อให้น้องๆทุกคนมีพัฒนาการที่ดี สมเป็นเยาวชนที่ลำ้ค่าของชาติต่อไป