การวางแผนการเงินเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับทุกคน แม้กระทั่งเด็กตัวเล็กๆ
สุวภา เจริญยิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาต จำกัด (มหาชน) เจ้าของผลงานเขียน “มีลูกกี่คนก็รวยได้ ถ้าใช้ เงินเป็น” ในฐานะผู้รู้ ให้คำแนะนำว่า พ่อแม่ควรเริ่มฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินหรือสอนให้ลูกรู้จักใช้ เงินตั้งแต่ยังอายุยังน้อยเพื่อสร้างนิสัยการใช้เงินอย่างชาญฉลาดแก่ลูกอาจ แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก-12 ขวบ ช่วงที่สอง 13-17 ปี
ปลูกฝังนิสัยการออม
ในขวบปีแรก ถือเป็นวัยที่เริ่มทำความรู้จักกับเงิน ได้แล้ว อาจเริ่มจากสอนให้หยอดกระปุกออมสินต่อจากนั้นฝึกให้ลูกรู้จักเหรียญและ ธนบัตรฉบับละ 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1000 บาทการสอนเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้เขาจดจำและทำความเข้าใจค่าเงิน และ ควรเสริมความรู้เรื่องที่มาของเงิน ด้วยว่ากว่าที่พ่อแม่จะได้เงินมานั้นต้องออกไปทำงาน
“พ่อแม่ต้องปลูกฝังนิสัยให้เด็กรู้และเข้าใจที่มาของเงิน เพราะทุกวันนี้เด็กบางคนยังไม่เข้าใจหรือไม่พยายามที่จะเรียนรู้ว่า คนเราต้องทำงานจึงจะได้เงินมาไม่ใช่นั่งรอให้มีคนช่วยเหลือ”
ขณะเดียวกัน พ่อแม่คือต้นฉบับที่ลูกมักจะจดจำทั้งด้านดีและไม่ดี ไม่ว่าลอกเลียนแบบการกระทำ พฤติกรรม และนิสัยบางอย่างมาไม่เว้นแม้แต่เรื่องการใช้เงินของพ่อแม่ เพราะลูกน้อยเฝ้ามองสิ่งที่คุณทำตลอดเวลา ฉะนั้นพ่อแม่จะต้องทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีในการใช้เงินอย่างคุ้มค่า
เมื่อถึงวัยที่เริ่มไปโรงเรียนครูสอนให้รู้จักนับเลข ถือเป็นโอกาสดีที่พ่อแม่จะสอนให้ลูกรู้จักวางแผนการเงินด้วยตนเอง เริ่มต้นจากให้เงินลูกไปโรงเรียนในจำนวนที่เหมาะสมแล้วคอยตรวจดูว่าหลังกลับ มาจากโรงเรียน เขาเหลือเงินเท่าไร แล้วสอนให้ลูกรู้จักการออมด้วยการหยอดกระปุก หากอยากให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรสอบถามลูกว่าเอาเงินไปทำอะไรบ้าง
จากนั้นฝึกให้เขาตัดสินใจ และบริหารจัดการเงินเอง โดยให้เงินเป็นรายสัปดาห์เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ว่าในแต่ละวันควรใช้เงิน เท่าไร จึงเพียงพอที่ใช้ไปถึงปลายสัปดาห์ และเหลือเก็บ
“ช่วงเวลา นี้เองสอนให้ลูกเห็นข้อดีและข้อเสียของการซื้อของว่า ของอะไรควรซื้ออะไรไม่ควรซื้อ เพราะบางครั้งของราคาถูก ไม่ได้หมายความว่าควรซื้อหากของชิ้นนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ ตรงกันข้ามบางครั้งของชิ้นนั้นอาจมีราคาสูง แต่ถ้าจำเป็นก็ควรซื้อมาใช้”
เลี้ยงลูกแบบคนจน
ครั้นเมื่อลูกย่างเข้าวัยรุ่น (13-17 ปี) พ่อแม่เริ่มให้เงินเป็นรายเดือน แต่ที่ต้องระวังคือ เด็กวัยนี้มักนิยมซื้อของที่มีมูลค่าสูงขึ้นหรือซื้อของตามเพื่อน จึงควรหัดให้เขารู้จักเก็บเงินและเลือกซื้อของด้วยตนเอง ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ไม่ควรซื้อของแพงๆ ให้ เช่น ไอโฟน ราคาเป็นหมื่น หากพ่อแม่ตามใจจะทำให้ลูกไม่รู้คุณค่าของสิ่งที่ได้มา และยังไม่รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง
พ่อแม่ส่วนหนึ่งคิดว่า การที่ลูก “ไม่มี” ของเหมือนกับเพื่อนแล้วจะทำให้รู้สึกตนเอง “ด้อย” กว่าเพื่อน นั้นเป็นความคิดที่ผิด
ผู้ ปกครองหลายราย พอเริ่มร่ำรวยมีฐานะดีขึ้น พวกเขามักจะไม่พร่ำสอนลูกหรือห้ามปรามให้รู้จักกินรู้จักใช้ แต่กลับให้ลูกใช้ชีวิตอย่างสบาย ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย โดยคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือการแสดงความรักกับลูกไม่อยากให้ลูกลำบาก หรือน้อยหน้าคนอื่น
หากพ่อแม่ไม่สอนลูก จะทำให้เขากลายเป็นคนที่ไม่รู้จักคุณค่าของเงิน ไม่มีนิสัยรักการออม สุดท้ายทรัพย์สินที่พ่อแม่หามาจะถูกใช้ไปหมดในชั่วพริบตา เพราะลูกขาดการวางแผนในการใช้เงินอย่างถูกวิธี
ฉะนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินสำหรับลูกให้เขารู้ว่า การ “ไม่มี ”เงินเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน แนะนำว่า การเลี้ยงลูกด้วยการให้สิ่งของ “ไม่ยาก” เท่ากับการเลี้ยงลูกด้วยการ “ไม่ให้” สิ่งของ ซึ่งเป็นเรื่องที่ครอบครัวที่ไม่มีจะให้ลูกกลับโชคดีกว่า ครอบครัวที่มีจะให้เพราะทำให้เด็กที่มีฐานะครอบครัวไม่เข้มแข็งโชคดี ที่เรียนรู้คำว่า “ไม่มี” ได้ง่ายกว่าเด็กที่มีฐานะดี
แต่ก็มีเหมือนกันที่ พ่อแม่ในครอบครัวที่ฐานะยังไม่เข้มแข็ง ไม่กล้าที่จะปฏิเสธลูก ว่า “ไม่มี” ต้องดิ้นรนไปหาข้าวของ เงินทองมาให้ลูก ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะทำให้ลูกยึดติดอยู่กับความสุขเกินจริง ขาดความอดทนและใช้จ่ายเกินตัว
เคล็ดลับง่ายๆ ในการเลี้ยงลูกคือต้องกล้าที่จะเลี้ยงลูกแบบคนจน เพื่อให้ในอนาคตลูกจะกลายเป็นคนรวยเหมือนอย่าง มหาเศรษฐีหลายคน กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ตั้งแต่อายุยังน้อยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ ต้องดูแลและเข้าใจลูกในแต่ละวัยด้วย
ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ดังนั้นหากใครอยากให้ลูกมีนิสัยรักการออม รู้จักเก็บ รู้จักใช้ และรู้จักคุณค่าของเงิน ควรเริ่มต้นปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
โอกาสที่ลูกคุณจะกลายเป็นมหาเศรษฐีอย่างวอร์เรน บัฟเฟต์ ก็อาจเป็นไปได้ใครจะไปรู้
วันที่ 7 ตุลาคม 255
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น