โรงเรียนนี้ก็เหมือนกับโรงเรียนอื่นๆ ที่ย่อมมีลูกศิษย์บางคน มาโรงเรียนสาย หรือ ทำความผิดพลาด แต่โรงเรียนนี้ จะไม่ใช้วิธี ลงโทษเด็ก หรือ ต่อว่า เด็ก ฟ้องผู้ปกครอง แต่คุณครู และผู้บริหารโรงเรียนนี้ จะใช้้อ้อมกอด และความรัก ในการ "เปิดใจ" ของเด็กให้ยอมรับฟัง และการพูดคุยกับผปค. ก็จะใ้ห้ ผปค. ได้เห็นศักยภาพที่ไม่เคยเห็นในตัวลูกของเค้า แทนที่จะแสดงให้ผปค.เห็นจุดอ่อน
ในโลกของคนเป็นพ่อแม่มีความรัก ความห่วงใยลูกมากมาย ผปค.จำนวนมาก จึงมักวิตกกังวลว่า ลูกเรา ดีพอหรือ ยัง มีข้อด้อย ข้อบกพร่องตรงไหน มีอะไรอีกไม๊ ที่เราไม่รู้ พ่อแม่ผปค.จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวบบอร์ดของเรา จึงเข้ามาหาข้อมูล อ่านเคสนั้น กรณีนี้ ของเพื่อนๆผปค.คนอื่น แล้วไปเปรียบเทียบกับลูกของตัวเอง เช่น
" เออ...ลูกเราก็มีพฤติกรรมแบบนี้ มีปัญหาใช่ไม๊ "
" ลูกเรา เรื่องนี้ ยังไม่เป็น เรื่องนั้นก็ยังไม่่รู้ ...เอ๊ะ หรือเราควรพาไปเรียนพิเศษที่เค้าเล่ากันดี"
พ่อแม่ผปค. เป็นห่วงกลัวลูกสู้คนอื่นไม่ได้ กลัวลูกตกขบวน กลัวลูกไม่รู้อะไรเท่าๆกับคนอื่น กล่าวคือ เอาลูกไปเปรียบเทียบกับคนอื่น พยายามหาข้อบกพร่องในตัวลูก แทนที่จะหาข้อดี หรือมองเห็นอัจฉริยภาพที่แตกต่างในตัวของลูกของเรา
และโรงเรียนจำนวนมาก คุณครูก็เป็นพวกช่างติ มองหาว่าเด็กคนนี้ยังบกพร่องเรื่องใดบ้าง เขียนความเห็นมาแต่ละเรื่อง เรื่องนี้ก็อ่อน อันนั้นก็น่าจะปรับปรุง แทนที่จะบอกพ่อแม่ว่า ลูกเราทำอะไรดีๆบ้าง หรือ มีความสามารถเด่นในเรื่องใด เมื่อพ่อแม่ได้รับคำแนะนำ ความเห็นจากครู เรื่องพฤติกรรมต้องปรับปรุง รายงานแต่เรื่องเลวร้าย ก็ยิ่งเครียด กลับมาก็ตำหนิ สั่งสอน ดุด่า หรือลงโทษลุกกันยกใหญ่ ทำให้บรรยากาศในครอบครัวมีปัญหา เด็กๆได้รับความกดดัน
แทนที่จะปรับพฤติกรรมเด็กได้ ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปอีก
ดิฉันเคยเล่าในกระทู้นึง หลายปีก่อน ซึ่งปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ปลุกพลังอัจฉริยภาพของลูก ที่วางตลาดไปเมือ่ปีที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องการฟังของเด็ก
ในด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กนั้น เมื่อทำผิดพลาด เด็กก็รู้สึกตกใจ หวาดกลัวอยู่แล้ว กับผลที่เกิดขึ้น ความตกใจ ความกลัว ทำให้สัญชาตญาณของสัตว์ ต้องปกป้องตัวเอง เด็กหลายๆคน (รวมทั้งสัตว์โลก) จะสร้างความดุร้าย ความก้าวร้าว ขึ้นมาป้องกันตนเอง สิ่งที่เกิดขึ้น คือ อารมณ์จะรุนแรง โมโห โวยวาย บางร้ายอาจจะกร๊ดร้อง ไม่ยอมรับฟัง
การที่ไม่ยอมรับฟังนี่ ก็เป็นเรื่องของประสาทอัตโนมัติ ที่ปกป้องตัวเอง ทำให้หูไม่ได้ยิน ประสาทสัมผัส ไม่ยอมรับรู้ รับฟัง สิ่งที่เกิดขึ้น บางรายก็อาจจะมองไม่เห็น หรือ ประสาท Blank ไปเลย มีบางรายที่เิกิดความเจ็บปวด หวาดกลัวรุนแรง เค้าอาจจะจำรายละเอียดเหตุการณ์ไม่ได้ด้วยซ้ำไป เพราะมันถูกฝังลึุกลงไปในจิตใต้สำนึก แต่ถึงแม้จะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่เนื่องจากมันฝังในจิตใต้สำนึก มันจะส่งผลต่อการกระทำโดยอัตโนมัติ หากเด็กฝังเรื่องความรุนแรงลงในจิตใต้สำนึก แม้จะจำไม่ได้ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง แต่ก็จะเป็นเด็กที่มักแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ จะต้องปลอบประโลมให้เด็กหายกลัว ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้เด็กคลายความป้องกันตนเอง ให้เด็กรับรู้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น สามารถแก้ไขได้ และจะผ่านไปด้วยดี เมื่อเด็กคลายความกลัว ก็จะเปิดใจ รับรู้ รับฟัง เปิดสติ วิเคราะห์ สาเหตุ ที่มาที่ไปของปัญหา และรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผลของมัน เราในฐานะครู ฐานะพ่อแม่ เราก็จะมีโอกาสสอน หรือชี้แนะ ให้เห็นวิธีการป้องกันไม่ให้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อๆไป และวิธีแก้ปัญหาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะที่สำคัญ สำหรับครู และผปค. ที่จะต้องมีและต้องฝึก เพื่อที่จะเป็นจุดยืนในการสร้างเยาวชน ที่มีคุณภาพในอนาคต
จากบทสัมภาษณ์ในวีดีโอคลิป ผปค. ท่านนึงเล่าว่า สมมุติว่า มีเด็กมาโรงเรียนสาย สิ่งที่โรงเรียนทำ ไม่ใช่การแยกเด็กไปลงโทษ ดุด่า ตำหนิ เพราะเด็กที่มาสาย ก็จะสายเหมือนเดิม แต่สิ่งที่ครูทำ คือ การ เอาเด็กมากอดไว้ แสดงความยินดีที่เห็นนักเรียนมาโรงเรียน และบอกเล่าอย่างตื่นเต้น ว่ามีโครงการอะไรสนุกๆ ที่รอคอยเด็กคนนั้น มาทำให้สำเร็จ เรื่องปัญหาเด็กมาโรงเรียนสายนี่ ดิฉันเคยเป็นมาก่อน กล่าวคือ ตื่นเช้ามา ไม่อยากไปโรงเรียน รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่สนุก ทำให้ต้องนอนเลื้อยอยู่กับที่นอน จนสาย แต่หากวันไหน มีโครงการใหม่ๆ มีเรื่องตื่นเต้น รอคอยอยู แม้ไม่ได้นอนก็ไม่รู้ง่วงนอน สามารถมาแต่เช้าได้ ปัญหาเรื่องรถติด มันเป็นแค่ข้ออ้าง หากเราจะมาจริงๆ เราสามารถปลุกพ่อ ปลุกแม่ หรือ หาทางมาโรงเรียนให้เช้ากว่าเดิมได้ ขอแค่อยากมาเท่านั้น แต่เด็กที่มาโรงเรียนสาย หากไปวิเคราะห์ดู เด็กมักจะมีปัญหาไม่กระตือรือร้น เบื่อหน่ายการเรียน หรือมีปัญหาในโรงเรียนในบางเรื่อง ต้องมองหาดูว่า เด็กมีปัญหาอะไร จึงไม่สนุกที่จะเรียน และเลื้อยไม่ยอมลุกจากที่นอน ในโรงเรียนนี้ ให้เด็กแต่ละคน ได้ทำ ได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น มอบหมาย ให้รับผิดชอบ และให้เด็กได้มองเห็นความสำคัญของตัวเองว่า หากตัวเองไม่มา ไม่รับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองเลือก มันจะส่งผลอย่างไร และเมื่อเด็กๆทำงานในหน้าที่ของตน ก็จะได้รับการยกย่องชื่นชม คำขอบคุณจากเพื่อนๆ ว่า ทำหน้าที่อย่างดี และทำให้เพื่อนๆมีความสุขอย่างไร การที่เ้ด็กๆรู้ว่า ตัวเอง มีความหมายกับเพื่อนๆ กับโรงเรียน กับคุณครู อย่างไร ทำให้เด็กรู้สึกมีความสุข สนุกที่จะมาโรงเรียน และทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดี เหมือนเรา หากเพื่อนๆคนใด เป็นผุ็บริหาร เป็นหัวหน้า หรือมีแม่บ้านในบ้าน ลองดูสิคะ หากเราดูแล พูดจาชื่นชม เห็นคุณค่าของเค้า เค้ามีความสุข ก็จะทำงานให้เราดีเป็นพิเศษ เพราะความภาคภูมิใจในหน้าที่ของตนเอง เรื่องเหล่านี้ สำคัญมากค่ะ เทคนิคเหล่านี้ เป็นเทคนิคที่ผู้นำอย่างเรา สามารถเอามาพัฒนาลูกและบุคลกร ในองค์กรได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น