วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ห้องเรียนแห่งอนาคต (2)










ในความเห็นส่วนตัว ดิฉันชอบบทความนี้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันเข้าใจเหมือนกันว่า ด้วยทรัพยากรจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนครูไม่พอ จำนวนโรงเรียน ขนาดของสถานที่ไม่เอื้ออำนวย งบประมาณไม่พร้อม ทำให้ เมืองไทย จะลดจำนวนนักเรียนต่อห้องเป็นไปได้ยาก เมื่อจำนวนนักเรียนมาก สถานที่จำกัด จึงต้องเรียนแบบ Lecture ให้ท่องจำ ทำข้อสอบ เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ต้นทุนต่ำที่สุด แม้ว่าจะได้ผลน้อยที่สุดก็ตาม 

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีจัดการการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่านี้ เมื่อไม่นานนี้ ดิฉันได้อ่านหนังสือเรื่อง The Leader in me แปลเป็นภาษาไทยว่า ผู้นำในตัวฉัน ได้เล่าเรื่องของโรงเรียนประถมเล็กๆแห่งหนึ่งใน สหรัฐอเมริกา ชื่อ A.B. Coms Elementary School ที่ได้ปฎิวัติหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน เมื่อประมาณ เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา จนบัดนี้ ผลค่อนข้างชี้ชัดถึงการทรงประสิทธิภาพของระบบการเรียนแบบใหม่ เด็กที่เรียนที่นี่ มีบุคคลิกลักษณะ คุณสมบัติ ตรงความต้องการของพ่อแม่ และขององค์กรธุรกิจ และของสังคม จึงได้รับการขยายผล เป็นต้นแบบของโรงเรียนต่างๆในสหรัฐอเมริกา มาอีกหลายๆๆๆโรงเรียน รวมทั้งแพร่หลายมาในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์อีกด้วย 

ก่อนเริ่มต้น ปฎิวัติวิธีการเรียนการสอน โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนเล็กๆ ที่ประสบภาวะคนมาเรียนน้อยลงทุกปี จนถูกตัดงบประมาณจากภาครัฐ และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็เชื่อว่า อาจจะต้องปิดกิจการในที่สุด ผู้บริหารของโรงเรียนจึงเดินทางไปเข้ารับการอบรมเรื่อง The 7 Habits of Highly Effective People และท่านก็มาทบทวนถึงปัญหาคุณภาพของประชากร ในสหรัฐอเมริกา ในรอบหลายปีที่ผ่านมา 





หลายปีก่อน สหรัฐอเมริกา เกิดโศกนาฎกรรมกับกลุ่มนักเรียนหลายครั้ง โดยที่ผู้ก่อเหตุเป็นนักเรียนในโรงเรียน หรืออาจจะเป็นคนภายนอก ได้นำอาวุธเข้าไปกราดยิง ทำร้ายผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก หลังจากการวิเคราะห์ พบว่าปัจจัยนึงทีสำคัญ คือ ระบบการศึกษา ที่เน้นแต่เรื่องการทำคะแนน การแข่งขันมากเกินไป เด็กได้รับความกดดันจากครอบครัว ผปค. เรื่องผลการเรียน หรือ ได้รับความอับอาย กดดันจากสังคม เมื่อมีปัญหาด้านการเรียน ปัญหาเหล่านี้ เป็นที่มาของปัญหาเรื้อรังหลายเรื่องของสังคม เช่น การติดยา ติดเซ็กส์ การทำตัวเกกมะเรก ก้าวร้าว แก็งก์ และอาชญากรรมอื่นๆ 

ประกอบกับหลายปีมานี้ เด็กอเมริกัน มีความหลงระเริง กับความเป็นประเทศมหาอำนาจ วัตถุนิยม และค่านิยมของโลกเสรีนิยม ทำใ้ห้เด็กอเมริกัน มีความเห็นแก่ตัว ระบบการแข่งขัน ทำให้เด็กมีนิสัยตัวใครตัวมัน ไม่สามารถทำงานเป็นทีมเวิร์ค การมุ่งหน้าท่องตำรา เพื่อการสอบแข่งขัน การติดเกม ติดเนต ทำให้ทักษะด้านการสื่อสาร การ พรีเซ้นต์ การฟังคนอื่น การพูด มีปัญหา ซึ่งเมื่่ออกมาทำงานในองค์กรธุรกิจ และองค์กรต่างๆ ก็สร้างปัญหาให้องค์กร ค่าแรงที่แพง ในขณะที่ความสามารถต่ำ ทำให้ธุรกิจอเมริกัน สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับทางเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กับญี่ปุ่นและจีน

ไม่มีความคิดเห็น: