เด็กไทย กับ แรงบันดาลใจ
เมื่อตอนที่ผมเป็นเด็กห้าหกขวบ อาชีพในฝันของผมคือ กระเป๋ารถเมล์
ผมอยากเป็น กระเป๋ารถเมล์จริงๆ ครับ
ผมเห็นกระเป๋ารถเมล์ ใส่ชุดเท่ๆ มีอำนาจในการสั่งผู้โดยสารให้เดินหน้า-ถอยหลัง
สั่งให้คนขับจอดรับผู้โดยสาร
และยังมีหน้าที่เก็บเงิน
เวลาผมขึ้นรถเมล์ มีกระเป๋าใจดีบางคนเห็นว่าเราเป็นเด็กก็จะไม่เก็บค่าโดยสาร
ผมเลยตั้งใจว่า โตขึ้นจะเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่ไม่เก็บค่าโดยสารเด็กๆ
ผมว่าเด็กๆ ทุกคนมีความฝัน มีจินตนาการ และมีความคิดสร้างสรรค์ครับ
เด็กหัวเราะง่าย มีความสุขง่าย
ไม่อายไม่เขินที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
เวลาเล่นอะไรก็ดูจริงจังกับเรื่องสมมุติ
เกมส์หนึ่งที่ผมชอบเล่นคือ เล่นเป็นผี
คนที่เป็นผี ก็คือคนที่เอาถุงกระดาษใส่หัว แล้ววิ่งไล่จับคนอื่นๆ
แค่ถุงกระดาษใบเดียว ทำให้เด็กทุกคน วิ่งหนีผีกันสุดชีวิต ไม่กลัวล้ม ไม่กลัวเจ็บ
เรากลัวผีจับเราน่ะครับ
จินตนาการวัยเด็ก นี่สุดยอดจริงๆ
แล้วความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ก็ค่อยๆ หายไป
ผมไปโรงเรียน และเริ่มเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ
ผมชอบโรงเรียนเพราะได้เจอเพื่อนๆ ได้เล่นสนุกกับเพื่อน
แต่ผมเบื่อกับกฏระเบียบมากมายที่โรงเรียนกำหนด
บางอย่างก็ดูมีเหตุผล เช่นการให้มาโรงเรียนตรงเวลา
การต้องรับผิดชอบส่งการบ้านตรงเวลา
แต่บางอย่างดูไร้เหตุผล เช่นการบังคับในเรื่องส่วนตัวผม เช่นการต้องตัดผมสั้น
ห้องเรียนน่าอึดอัดมากสำหรับเด็กแทบทุกคน
เราไม่มีโอกาสได้สนุกในห้องเรียน
อย่าว่าแต่เล่นอะไรๆ ตามจินตนาการของพวกเราเลย แม้แต่พูดคุยกัน เรายังถูกห้าม
ห้ามคุยกันในห้องเรียน
ผมไม่เข้าใจ ทำไมต้องห้ามผมพูด ห้ามลุกเดินไปมา
เราไม่ใช่รูปปั้นหรือต้นไม้ ที่จะได้อยู่นิ่งๆ นั่งเงียบๆ ตลอดเวลา
ธรรมชาติของเด็กๆ เวลาคิดอะไรก็อยากพูด อยากคุย อยากแสดงออก
ห้ามคุยเวลาครูสอนผมพอรับได้ แต่ห้ามตลอดเวลานั่นมันฝืนธรรมชาติครับ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีครูบางท่าน เวลาออกจากห้อง ยังกลัวเด็กจะคุยกัน
ก็จะสั่งให้อ่านหนังสือ หรือทำอะไรสักอย่างนิ่งๆ เงียบๆ (ไม่เคยลืมที่จะให้เด็กอยู่เงียบๆ)
แล้วสั่งให้หัวหน้าห้องคอยจดชื่อคนคุย
หรือแม้แต่คนลุกออกจากที่นั่ง ก็จะโดนจดชื่อ เพื่อครูจะกลับมาลงโทษ
เด็กจะได้พูดก็เมื่อครูให้พูด และพูดได้เฉพาะที่ครูอยากจะฟังเท่านั้น
ส่วนการเรียนการสอน
ก็จะเน้นให้เราท่อง เราจำ
ห้ามตอบคำถามนอกเหนือจากที่ครูเตรียมไว้ด้วย
เวลาที่มีความสุขที่สุดของเด็กๆ คือเวลาเลิกเรียน หรือเวลาพักกลางวัน
วันที่เรามีความสุขที่สุดคือวันหยุด และปิดเทอม
คำพูดครูที่เรามีความสุขที่สุดคือ
วันนี้งดสอน!
ข้อสอบ ที่ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กท่องตำรามาสอบ
เราเห็นได้ทั่วไปจนเป็นเรื่องปกติ เช่น
ภาคใต้ปลูกอะไร (ใจดีมี choice ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่เลือก)
ก. ยางพารา
ข. ข้าว
ค. ถูกทุกข้อ
เด็กทุกคนต้องตอบเอาใจครูว่า ก. ยางพารา เพื่อให้ได้คะแนน
สมมุติบ้านผมอยู่ภาคใต้ แล้วบ้านผมปลูกข้าว ผมก็ตอบข้อ ข.
ผมจะไม่ได้คะแนน และกลายเป็นเด็กไม่เก่ง
เด็กของเรามากมายถูกหาว่าเป็นคนโง่
เพียงแค่เขามีความคิดของตนเอง และตอบไม่ตรงกับเฉลย
เด็กของเรามากมายที่เก่งและฉลาดแต่ถูกหาว่าเป็นเด็กเกเร
เพียงเพราะเขาไม่สนใจในวิชาที่เราบังคับให้เขาเรียน
ผู้ปกครองมากมายที่ห่วงใยว่าเกรดเฉลี่ยลูกจะได้น้อยจะสู้คนอื่นไม่ได้
ทั้งๆ ที่ความจริงเขาอาจเก่งในบางวิชา และเขาก็ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกวิชา
การเรียนเพื่อการแข่งขัน มันคงไม่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จและมีความสุขหรอกครับ
การเรียนการสอนแบบนี้ ยังคงมีอยู่ ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
เราอยากให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์
เราอยากให้บัณฑิตของเรา คิดเป็น และสื่อสารได้
เพราะนั่นคือความจำเป็นในชีวิตและการทำงาน
แต่เรายังทำการเรียนการสอนเป็นเหมือนเครื่องมือวัดความจำ
เราอยากให้เด็กของเรามีวิสัยทัศน์
แต่มันคงเป็นไปไม่ได้
ถ้าต้องเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มเดิม 3-4 รอบแทนที่จะเอาเวลาไปอ่านหนังสือ 3-4 เล่ม
นิสิตนักศึกษาของเรายังต้องท่องหนังสือเพื่อสอบ
ดังนั้น อะไรที่ไม่มีในตำรา ไม่ออกข้อสอบ พวกเราจะมักจะไม่สนใจ
แล้วเขาจะจบมาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในสังคมอนาคตได้อย่างไร
สังคมวันนี้มันต่างไปจากเดิมมาก
ความรู้ ก็เปลี่ยนไปเร็ว
สิ่งที่เราเรียน เราท่อง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็เปลี่ยนแล้วครับ
ความรู้วันนี้มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องยึด แต่เราเรียนเพื่อให้รู้จักคิด
ต้องคิด และฝึกฝนนิสัยที่จะค้นคว้า
การค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพื่อหาสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม
และนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ (Best practice) นั่นคือสิ่งที่สำคัญต่ออาชีพการงานในอนาคต
3 ปีมานี้ ผมได้รับเชิญไปบรรยายในเรื่อง การสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสร้างสรรค์
เพื่อให้ครู อาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการสอน
ทั้งจากหน่วยงานต่างๆ จากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
แต่ความเปลี่ยนแปลงยังมีน้อยมาก
ปัญหาของโรงเรียนคือ การที่โรงเรียนยิ่งดังยิ่งรับนักเรียนเยอะ
หลายโรงเรียน มีนักเรียนห้องละมากกว่า 50 คน
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกให้เด็ก สื่อสาร ฝึกการนำเสนอ และฝึกให้คิด
อาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต้องตรวจข้อสอบ 500 - 600 คน
ข้อสอบที่เหมาะสมก็ต้องเป็นข้อสอบแบบจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
การวัดผลแบบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นไปไม่ได้เลย
ผมคิดว่าสิ่งที่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องรีบทำในวันนี้คือ
การค้นหาศักยภาพของเด็ก เขามีความถนัดทางไหน เขาเหมาะที่จะเรียนทางใด
และการส่งเสริมวิสัยทัศน์ ให้เขาเห็นโลกกว้าง เพื่อให้เขามีแรงบันดาลใจ
ถ้าเขาได้เดินในทางที่เขาถนัด และถ้าเขามีแรงบันดาลใจ
เราแทบไม่ต้องสอนอะไรมากมาย
เพราะการค้นคว้าหาความรู้ทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ห้องเรียนแห่งอนาคต
ห้องเรียนแห่งอนาคต หรือห้องเรียนในฝันของผม
มีเป้าหมาย ให้คน “คิดเป็น” และ “คิดอย่างสร้างสรรค์”
เพื่อที่จะสร้าง "แรงบันดาลใจ” นำไปสู่ "เป้าหมาย”
ห้องเรียนแห่งอนาคตต้องไม่นำเอาหลักสูตร วิชาเรียน หรือ ครู เป็นศูนย์กลาง
แต่จะให้นักเรียน เป็นศูนย์กลาง
ห้องเรียนที่ มีเสียงหัวเราะ สนุก และสร้างแรงบันดาลใจ
จะทำให้เด็กปลดปล่อยพลัง และศักยภาพของเขา
การสอนในขณะที่เขาไม่อยากรู้ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ครับ เสียเวลาเปล่าๆ
เมื่อใดก็ตามที่เขามีคำถาม นั่นคือนาทีทอง
นั่นคือเวลาที่ เราจะสอน
เพราะสมองและจิตใจเขาพร้อม หูตาเขาเปิดที่จะรับมัน
ห้องเรียนนี้ จะใช้เทคโนโลยี มากระตุ้น ความอยากรู้อยากเห็น
เด็กจะได้ค้นคว้า และนำเสนอผลงานอย่างเต็มที่ทุกคน
เพราะเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน
เด็กจะถูกฝึกให้คิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนการใช้เครื่องมือ ไอแพด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
แหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ฯลฯ เพื่อค้นคว้าและเรียนรู้
เขาจะเห็นคุณค่าของการค้นคว้า เพราะสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ในห้องเรียนทุกอย่างนั้นนำมาใช้ได้จริง
เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาจริง
เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ได้คุยกับเพื่อน ได้แสดงออก ได้คิดสร้างสรรค์
เขาจะเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เรียนเพื่อแข่งกับใคร
เพราะเขาจะเข้าใจว่า ความสำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องได้มาจากการชนะ
นอกจากการฝึก คิด ฝึกค้นคว้าและ เพิ่มทักษะการสื่อสาร แล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ๆ เราจะต้องสังเกต ทดสอบ และค้นหา ศักยภาพของเด็ก
ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพ มีพรสวรรค์อยู่ในตัวเอง
ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่เรียนจนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร
ควรจะเรียนต่อทางไหน
เพราะเรายังไม่มีระบบที่จริงจังในการค้นหาและประเมินความถนัด ความสามารถของเด็กเลย
ผมรอห้องเรียนอย่างนี้มานาน
และวันนี้ ห้องเรียนแห่งอนาคต ได้เกิดขึ้นมาแล้วครับ
ผมพัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคตโดยความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักการศึกษา
เช่น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์, รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา, ดร.อานันท์ (โรเจอร์) สีห์พิทักษ์เกียรติ จาก MIT
และอีกหลายท่าน
สิ่งที่ช่วยทำให้ผมมั่นใจในระบบห้องเรียนแห่งอนาคตนี้มากขึ้น
คือ ความพอใจและคำขอบคุณจาก นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้มาเรียน
และการติดต่อขอดูงานจากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หวังว่า ห้องเรียนแห่งอนาคต นี้จะช่วยให้เยาวชนของเรา คิดสร้างสรรค์ สื่อสารได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข
และประสบความสำเร็จในแนวทางของตนเอง
ที่มา
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
เด็กไทย กับ แรงบันดาลใจ
เมื่อตอนที่ผมเป็นเด็กห้าหกขวบ อาชีพในฝันของผมคือ กระเป๋ารถเมล์
ผมอยากเป็น กระเป๋ารถเมล์จริงๆ ครับ
ผมเห็นกระเป๋ารถเมล์ ใส่ชุดเท่ๆ มีอำนาจในการสั่งผู้โดยสารให้เดินหน้า-ถอยหลัง
สั่งให้คนขับจอดรับผู้โดยสาร
และยังมีหน้าที่เก็บเงิน
เวลาผมขึ้นรถเมล์ มีกระเป๋าใจดีบางคนเห็นว่าเราเป็นเด็กก็จะไม่เก็บค่าโดยสาร
ผมเลยตั้งใจว่า โตขึ้นจะเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่ไม่เก็บค่าโดยสารเด็กๆ
ผมว่าเด็กๆ ทุกคนมีความฝัน มีจินตนาการ และมีความคิดสร้างสรรค์ครับ
เด็กหัวเราะง่าย มีความสุขง่าย
ไม่อายไม่เขินที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
เวลาเล่นอะไรก็ดูจริงจังกับเรื่องสมมุติ
เกมส์หนึ่งที่ผมชอบเล่นคือ เล่นเป็นผี
คนที่เป็นผี ก็คือคนที่เอาถุงกระดาษใส่หัว แล้ววิ่งไล่จับคนอื่นๆ
แค่ถุงกระดาษใบเดียว ทำให้เด็กทุกคน วิ่งหนีผีกันสุดชีวิต ไม่กลัวล้ม ไม่กลัวเจ็บ
เรากลัวผีจับเราน่ะครับ
จินตนาการวัยเด็ก นี่สุดยอดจริงๆ
แล้วความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ก็ค่อยๆ หายไป
ผมไปโรงเรียน และเริ่มเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ
ผมชอบโรงเรียนเพราะได้เจอเพื่อนๆ ได้เล่นสนุกกับเพื่อน
แต่ผมเบื่อกับกฏระเบียบมากมายที่โรงเรียนกำหนด
บางอย่างก็ดูมีเหตุผล เช่นการให้มาโรงเรียนตรงเวลา
การต้องรับผิดชอบส่งการบ้านตรงเวลา
แต่บางอย่างดูไร้เหตุผล เช่นการบังคับในเรื่องส่วนตัวผม เช่นการต้องตัดผมสั้น
ห้องเรียนน่าอึดอัดมากสำหรับเด็กแทบทุกคน
เราไม่มีโอกาสได้สนุกในห้องเรียน
อย่าว่าแต่เล่นอะไรๆ ตามจินตนาการของพวกเราเลย แม้แต่พูดคุยกัน เรายังถูกห้าม
ห้ามคุยกันในห้องเรียน
ผมไม่เข้าใจ ทำไมต้องห้ามผมพูด ห้ามลุกเดินไปมา
เราไม่ใช่รูปปั้นหรือต้นไม้ ที่จะได้อยู่นิ่งๆ นั่งเงียบๆ ตลอดเวลา
ธรรมชาติของเด็กๆ เวลาคิดอะไรก็อยากพูด อยากคุย อยากแสดงออก
ห้ามคุยเวลาครูสอนผมพอรับได้ แต่ห้ามตลอดเวลานั่นมันฝืนธรรมชาติครับ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีครูบางท่าน เวลาออกจากห้อง ยังกลัวเด็กจะคุยกัน
ก็จะสั่งให้อ่านหนังสือ หรือทำอะไรสักอย่างนิ่งๆ เงียบๆ (ไม่เคยลืมที่จะให้เด็กอยู่เงียบๆ)
แล้วสั่งให้หัวหน้าห้องคอยจดชื่อคนคุย
หรือแม้แต่คนลุกออกจากที่นั่ง ก็จะโดนจดชื่อ เพื่อครูจะกลับมาลงโทษ
เด็กจะได้พูดก็เมื่อครูให้พูด และพูดได้เฉพาะที่ครูอยากจะฟังเท่านั้น
ส่วนการเรียนการสอน
ก็จะเน้นให้เราท่อง เราจำ
ห้ามตอบคำถามนอกเหนือจากที่ครูเตรียมไว้ด้วย
เวลาที่มีความสุขที่สุดของเด็กๆ คือเวลาเลิกเรียน หรือเวลาพักกลางวัน
วันที่เรามีความสุขที่สุดคือวันหยุด และปิดเทอม
คำพูดครูที่เรามีความสุขที่สุดคือ
วันนี้งดสอน!
ข้อสอบ ที่ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กท่องตำรามาสอบ
เราเห็นได้ทั่วไปจนเป็นเรื่องปกติ เช่น
ภาคใต้ปลูกอะไร (ใจดีมี choice ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่เลือก)
ก. ยางพารา
ข. ข้าว
ค. ถูกทุกข้อ
เด็กทุกคนต้องตอบเอาใจครูว่า ก. ยางพารา เพื่อให้ได้คะแนน
สมมุติบ้านผมอยู่ภาคใต้ แล้วบ้านผมปลูกข้าว ผมก็ตอบข้อ ข.
ผมจะไม่ได้คะแนน และกลายเป็นเด็กไม่เก่ง
เด็กของเรามากมายถูกหาว่าเป็นคนโง่
เพียงแค่เขามีความคิดของตนเอง และตอบไม่ตรงกับเฉลย
เด็กของเรามากมายที่เก่งและฉลาดแต่ถูกหาว่าเป็นเด็กเกเร
เพียงเพราะเขาไม่สนใจในวิชาที่เราบังคับให้เขาเรียน
ผู้ปกครองมากมายที่ห่วงใยว่าเกรดเฉลี่ยลูกจะได้น้อยจะสู้คนอื่นไม่ได้
ทั้งๆ ที่ความจริงเขาอาจเก่งในบางวิชา และเขาก็ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกวิชา
การเรียนเพื่อการแข่งขัน มันคงไม่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จและมีความสุขหรอกครับ
การเรียนการสอนแบบนี้ ยังคงมีอยู่ ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
เราอยากให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์
เราอยากให้บัณฑิตของเรา คิดเป็น และสื่อสารได้
เพราะนั่นคือความจำเป็นในชีวิตและการทำงาน
แต่เรายังทำการเรียนการสอนเป็นเหมือนเครื่องมือวัดความจำ
เราอยากให้เด็กของเรามีวิสัยทัศน์
แต่มันคงเป็นไปไม่ได้
ถ้าต้องเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มเดิม 3-4 รอบแทนที่จะเอาเวลาไปอ่านหนังสือ 3-4 เล่ม
นิสิตนักศึกษาของเรายังต้องท่องหนังสือเพื่อสอบ
ดังนั้น อะไรที่ไม่มีในตำรา ไม่ออกข้อสอบ พวกเราจะมักจะไม่สนใจ
แล้วเขาจะจบมาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในสังคมอนาคตได้อย่างไร
สังคมวันนี้มันต่างไปจากเดิมมาก
ความรู้ ก็เปลี่ยนไปเร็ว
สิ่งที่เราเรียน เราท่อง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็เปลี่ยนแล้วครับ
ความรู้วันนี้มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องยึด แต่เราเรียนเพื่อให้รู้จักคิด
ต้องคิด และฝึกฝนนิสัยที่จะค้นคว้า
การค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพื่อหาสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม
และนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ (Best practice) นั่นคือสิ่งที่สำคัญต่ออาชีพการงานในอนาคต
3 ปีมานี้ ผมได้รับเชิญไปบรรยายในเรื่อง การสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสร้างสรรค์
เพื่อให้ครู อาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการสอน
ทั้งจากหน่วยงานต่างๆ จากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
แต่ความเปลี่ยนแปลงยังมีน้อยมาก
ปัญหาของโรงเรียนคือ การที่โรงเรียนยิ่งดังยิ่งรับนักเรียนเยอะ
หลายโรงเรียน มีนักเรียนห้องละมากกว่า 50 คน
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกให้เด็ก สื่อสาร ฝึกการนำเสนอ และฝึกให้คิด
อาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต้องตรวจข้อสอบ 500 - 600 คน
ข้อสอบที่เหมาะสมก็ต้องเป็นข้อสอบแบบจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
การวัดผลแบบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นไปไม่ได้เลย
ผมคิดว่าสิ่งที่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องรีบทำในวันนี้คือ
การค้นหาศักยภาพของเด็ก เขามีความถนัดทางไหน เขาเหมาะที่จะเรียนทางใด
และการส่งเสริมวิสัยทัศน์ ให้เขาเห็นโลกกว้าง เพื่อให้เขามีแรงบันดาลใจ
ถ้าเขาได้เดินในทางที่เขาถนัด และถ้าเขามีแรงบันดาลใจ
เราแทบไม่ต้องสอนอะไรมากมาย
เพราะการค้นคว้าหาความรู้ทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ห้องเรียนแห่งอนาคต
ห้องเรียนแห่งอนาคต หรือห้องเรียนในฝันของผม
มีเป้าหมาย ให้คน “คิดเป็น” และ “คิดอย่างสร้างสรรค์”
เพื่อที่จะสร้าง "แรงบันดาลใจ” นำไปสู่ "เป้าหมาย”
ห้องเรียนแห่งอนาคตต้องไม่นำเอาหลักสูตร วิชาเรียน หรือ ครู เป็นศูนย์กลาง
แต่จะให้นักเรียน เป็นศูนย์กลาง
ห้องเรียนที่ มีเสียงหัวเราะ สนุก และสร้างแรงบันดาลใจ
จะทำให้เด็กปลดปล่อยพลัง และศักยภาพของเขา
การสอนในขณะที่เขาไม่อยากรู้ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ครับ เสียเวลาเปล่าๆ
เมื่อใดก็ตามที่เขามีคำถาม นั่นคือนาทีทอง
นั่นคือเวลาที่ เราจะสอน
เพราะสมองและจิตใจเขาพร้อม หูตาเขาเปิดที่จะรับมัน
ห้องเรียนนี้ จะใช้เทคโนโลยี มากระตุ้น ความอยากรู้อยากเห็น
เด็กจะได้ค้นคว้า และนำเสนอผลงานอย่างเต็มที่ทุกคน
เพราะเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน
เด็กจะถูกฝึกให้คิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนการใช้เครื่องมือ ไอแพด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
แหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ฯลฯ เพื่อค้นคว้าและเรียนรู้
เขาจะเห็นคุณค่าของการค้นคว้า เพราะสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ในห้องเรียนทุกอย่างนั้นนำมาใช้ได้จริง
เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาจริง
เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ได้คุยกับเพื่อน ได้แสดงออก ได้คิดสร้างสรรค์
เขาจะเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เรียนเพื่อแข่งกับใคร
เพราะเขาจะเข้าใจว่า ความสำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องได้มาจากการชนะ
นอกจากการฝึก คิด ฝึกค้นคว้าและ เพิ่มทักษะการสื่อสาร แล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ๆ เราจะต้องสังเกต ทดสอบ และค้นหา ศักยภาพของเด็ก
ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพ มีพรสวรรค์อยู่ในตัวเอง
ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่เรียนจนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร
ควรจะเรียนต่อทางไหน
เพราะเรายังไม่มีระบบที่จริงจังในการค้นหาและประเมินความถนัด ความสามารถของเด็กเลย
ผมรอห้องเรียนอย่างนี้มานาน
และวันนี้ ห้องเรียนแห่งอนาคต ได้เกิดขึ้นมาแล้วครับ
ผมพัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคตโดยความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักการศึกษา
เช่น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์, รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา, ดร.อานันท์ (โรเจอร์) สีห์พิทักษ์เกียรติ จาก MIT
และอีกหลายท่าน
สิ่งที่ช่วยทำให้ผมมั่นใจในระบบห้องเรียนแห่งอนาคตนี้มากขึ้น
คือ ความพอใจและคำขอบคุณจาก นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้มาเรียน
และการติดต่อขอดูงานจากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หวังว่า ห้องเรียนแห่งอนาคต นี้จะช่วยให้เยาวชนของเรา คิดสร้างสรรค์ สื่อสารได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข
และประสบความสำเร็จในแนวทางของตนเอง
เมื่อตอนที่ผมเป็นเด็กห้าหกขวบ อาชีพในฝันของผมคือ กระเป๋ารถเมล์
ผมอยากเป็น กระเป๋ารถเมล์จริงๆ ครับ
ผมเห็นกระเป๋ารถเมล์ ใส่ชุดเท่ๆ มีอำนาจในการสั่งผู้โดยสารให้เดินหน้า-ถอยหลัง
สั่งให้คนขับจอดรับผู้โดยสาร
และยังมีหน้าที่เก็บเงิน
เวลาผมขึ้นรถเมล์ มีกระเป๋าใจดีบางคนเห็นว่าเราเป็นเด็กก็จะไม่เก็บค่าโดยสาร
ผมเลยตั้งใจว่า โตขึ้นจะเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่ไม่เก็บค่าโดยสารเด็กๆ
ผมว่าเด็กๆ ทุกคนมีความฝัน มีจินตนาการ และมีความคิดสร้างสรรค์ครับ
เด็กหัวเราะง่าย มีความสุขง่าย
ไม่อายไม่เขินที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
เวลาเล่นอะไรก็ดูจริงจังกับเรื่องสมมุติ
เกมส์หนึ่งที่ผมชอบเล่นคือ เล่นเป็นผี
คนที่เป็นผี ก็คือคนที่เอาถุงกระดาษใส่หัว แล้ววิ่งไล่จับคนอื่นๆ
แค่ถุงกระดาษใบเดียว ทำให้เด็กทุกคน วิ่งหนีผีกันสุดชีวิต ไม่กลัวล้ม ไม่กลัวเจ็บ
เรากลัวผีจับเราน่ะครับ
จินตนาการวัยเด็ก นี่สุดยอดจริงๆ
แล้วความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ก็ค่อยๆ หายไป
ผมไปโรงเรียน และเริ่มเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ
ผมชอบโรงเรียนเพราะได้เจอเพื่อนๆ ได้เล่นสนุกกับเพื่อน
แต่ผมเบื่อกับกฏระเบียบมากมายที่โรงเรียนกำหนด
บางอย่างก็ดูมีเหตุผล เช่นการให้มาโรงเรียนตรงเวลา
การต้องรับผิดชอบส่งการบ้านตรงเวลา
แต่บางอย่างดูไร้เหตุผล เช่นการบังคับในเรื่องส่วนตัวผม เช่นการต้องตัดผมสั้น
ห้องเรียนน่าอึดอัดมากสำหรับเด็กแทบทุกคน
เราไม่มีโอกาสได้สนุกในห้องเรียน
อย่าว่าแต่เล่นอะไรๆ ตามจินตนาการของพวกเราเลย แม้แต่พูดคุยกัน เรายังถูกห้าม
ห้ามคุยกันในห้องเรียน
ผมไม่เข้าใจ ทำไมต้องห้ามผมพูด ห้ามลุกเดินไปมา
เราไม่ใช่รูปปั้นหรือต้นไม้ ที่จะได้อยู่นิ่งๆ นั่งเงียบๆ ตลอดเวลา
ธรรมชาติของเด็กๆ เวลาคิดอะไรก็อยากพูด อยากคุย อยากแสดงออก
ห้ามคุยเวลาครูสอนผมพอรับได้ แต่ห้ามตลอดเวลานั่นมันฝืนธรรมชาติครับ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีครูบางท่าน เวลาออกจากห้อง ยังกลัวเด็กจะคุยกัน
ก็จะสั่งให้อ่านหนังสือ หรือทำอะไรสักอย่างนิ่งๆ เงียบๆ (ไม่เคยลืมที่จะให้เด็กอยู่เงียบๆ)
แล้วสั่งให้หัวหน้าห้องคอยจดชื่อคนคุย
หรือแม้แต่คนลุกออกจากที่นั่ง ก็จะโดนจดชื่อ เพื่อครูจะกลับมาลงโทษ
เด็กจะได้พูดก็เมื่อครูให้พูด และพูดได้เฉพาะที่ครูอยากจะฟังเท่านั้น
ส่วนการเรียนการสอน
ก็จะเน้นให้เราท่อง เราจำ
ห้ามตอบคำถามนอกเหนือจากที่ครูเตรียมไว้ด้วย
เวลาที่มีความสุขที่สุดของเด็กๆ คือเวลาเลิกเรียน หรือเวลาพักกลางวัน
วันที่เรามีความสุขที่สุดคือวันหยุด และปิดเทอม
คำพูดครูที่เรามีความสุขที่สุดคือ
วันนี้งดสอน!
ข้อสอบ ที่ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กท่องตำรามาสอบ
เราเห็นได้ทั่วไปจนเป็นเรื่องปกติ เช่น
ภาคใต้ปลูกอะไร (ใจดีมี choice ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่เลือก)
ก. ยางพารา
ข. ข้าว
ค. ถูกทุกข้อ
เด็กทุกคนต้องตอบเอาใจครูว่า ก. ยางพารา เพื่อให้ได้คะแนน
สมมุติบ้านผมอยู่ภาคใต้ แล้วบ้านผมปลูกข้าว ผมก็ตอบข้อ ข.
ผมจะไม่ได้คะแนน และกลายเป็นเด็กไม่เก่ง
เด็กของเรามากมายถูกหาว่าเป็นคนโง่
เพียงแค่เขามีความคิดของตนเอง และตอบไม่ตรงกับเฉลย
เด็กของเรามากมายที่เก่งและฉลาดแต่ถูกหาว่าเป็นเด็กเกเร
เพียงเพราะเขาไม่สนใจในวิชาที่เราบังคับให้เขาเรียน
ผู้ปกครองมากมายที่ห่วงใยว่าเกรดเฉลี่ยลูกจะได้น้อยจะสู้คนอื่นไม่ได้
ทั้งๆ ที่ความจริงเขาอาจเก่งในบางวิชา และเขาก็ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกวิชา
การเรียนเพื่อการแข่งขัน มันคงไม่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จและมีความสุขหรอกครับ
การเรียนการสอนแบบนี้ ยังคงมีอยู่ ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
เราอยากให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์
เราอยากให้บัณฑิตของเรา คิดเป็น และสื่อสารได้
เพราะนั่นคือความจำเป็นในชีวิตและการทำงาน
แต่เรายังทำการเรียนการสอนเป็นเหมือนเครื่องมือวัดความจำ
เราอยากให้เด็กของเรามีวิสัยทัศน์
แต่มันคงเป็นไปไม่ได้
ถ้าต้องเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มเดิม 3-4 รอบแทนที่จะเอาเวลาไปอ่านหนังสือ 3-4 เล่ม
นิสิตนักศึกษาของเรายังต้องท่องหนังสือเพื่อสอบ
ดังนั้น อะไรที่ไม่มีในตำรา ไม่ออกข้อสอบ พวกเราจะมักจะไม่สนใจ
แล้วเขาจะจบมาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในสังคมอนาคตได้อย่างไร
สังคมวันนี้มันต่างไปจากเดิมมาก
ความรู้ ก็เปลี่ยนไปเร็ว
สิ่งที่เราเรียน เราท่อง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็เปลี่ยนแล้วครับ
ความรู้วันนี้มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องยึด แต่เราเรียนเพื่อให้รู้จักคิด
ต้องคิด และฝึกฝนนิสัยที่จะค้นคว้า
การค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพื่อหาสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม
และนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ (Best practice) นั่นคือสิ่งที่สำคัญต่ออาชีพการงานในอนาคต
3 ปีมานี้ ผมได้รับเชิญไปบรรยายในเรื่อง การสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสร้างสรรค์
เพื่อให้ครู อาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการสอน
ทั้งจากหน่วยงานต่างๆ จากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
แต่ความเปลี่ยนแปลงยังมีน้อยมาก
ปัญหาของโรงเรียนคือ การที่โรงเรียนยิ่งดังยิ่งรับนักเรียนเยอะ
หลายโรงเรียน มีนักเรียนห้องละมากกว่า 50 คน
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกให้เด็ก สื่อสาร ฝึกการนำเสนอ และฝึกให้คิด
อาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต้องตรวจข้อสอบ 500 - 600 คน
ข้อสอบที่เหมาะสมก็ต้องเป็นข้อสอบแบบจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
การวัดผลแบบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นไปไม่ได้เลย
ผมคิดว่าสิ่งที่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องรีบทำในวันนี้คือ
การค้นหาศักยภาพของเด็ก เขามีความถนัดทางไหน เขาเหมาะที่จะเรียนทางใด
และการส่งเสริมวิสัยทัศน์ ให้เขาเห็นโลกกว้าง เพื่อให้เขามีแรงบันดาลใจ
ถ้าเขาได้เดินในทางที่เขาถนัด และถ้าเขามีแรงบันดาลใจ
เราแทบไม่ต้องสอนอะไรมากมาย
เพราะการค้นคว้าหาความรู้ทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ห้องเรียนแห่งอนาคต
ห้องเรียนแห่งอนาคต หรือห้องเรียนในฝันของผม
มีเป้าหมาย ให้คน “คิดเป็น” และ “คิดอย่างสร้างสรรค์”
เพื่อที่จะสร้าง "แรงบันดาลใจ” นำไปสู่ "เป้าหมาย”
ห้องเรียนแห่งอนาคตต้องไม่นำเอาหลักสูตร วิชาเรียน หรือ ครู เป็นศูนย์กลาง
แต่จะให้นักเรียน เป็นศูนย์กลาง
ห้องเรียนที่ มีเสียงหัวเราะ สนุก และสร้างแรงบันดาลใจ
จะทำให้เด็กปลดปล่อยพลัง และศักยภาพของเขา
การสอนในขณะที่เขาไม่อยากรู้ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ครับ เสียเวลาเปล่าๆ
เมื่อใดก็ตามที่เขามีคำถาม นั่นคือนาทีทอง
นั่นคือเวลาที่ เราจะสอน
เพราะสมองและจิตใจเขาพร้อม หูตาเขาเปิดที่จะรับมัน
ห้องเรียนนี้ จะใช้เทคโนโลยี มากระตุ้น ความอยากรู้อยากเห็น
เด็กจะได้ค้นคว้า และนำเสนอผลงานอย่างเต็มที่ทุกคน
เพราะเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน
เด็กจะถูกฝึกให้คิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนการใช้เครื่องมือ ไอแพด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
แหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ฯลฯ เพื่อค้นคว้าและเรียนรู้
เขาจะเห็นคุณค่าของการค้นคว้า เพราะสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ในห้องเรียนทุกอย่างนั้นนำมาใช้ได้จริง
เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาจริง
เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ได้คุยกับเพื่อน ได้แสดงออก ได้คิดสร้างสรรค์
เขาจะเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เรียนเพื่อแข่งกับใคร
เพราะเขาจะเข้าใจว่า ความสำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องได้มาจากการชนะ
นอกจากการฝึก คิด ฝึกค้นคว้าและ เพิ่มทักษะการสื่อสาร แล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ๆ เราจะต้องสังเกต ทดสอบ และค้นหา ศักยภาพของเด็ก
ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพ มีพรสวรรค์อยู่ในตัวเอง
ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่เรียนจนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร
ควรจะเรียนต่อทางไหน
เพราะเรายังไม่มีระบบที่จริงจังในการค้นหาและประเมินความถนัด ความสามารถของเด็กเลย
ผมรอห้องเรียนอย่างนี้มานาน
และวันนี้ ห้องเรียนแห่งอนาคต ได้เกิดขึ้นมาแล้วครับ
ผมพัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคตโดยความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักการศึกษา
เช่น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์, รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา, ดร.อานันท์ (โรเจอร์) สีห์พิทักษ์เกียรติ จาก MIT
และอีกหลายท่าน
สิ่งที่ช่วยทำให้ผมมั่นใจในระบบห้องเรียนแห่งอนาคตนี้มากขึ้น
คือ ความพอใจและคำขอบคุณจาก นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้มาเรียน
และการติดต่อขอดูงานจากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หวังว่า ห้องเรียนแห่งอนาคต นี้จะช่วยให้เยาวชนของเรา คิดสร้างสรรค์ สื่อสารได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข
และประสบความสำเร็จในแนวทางของตนเอง
ที่มา
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น