เมื่อเอ่ยถึงวิชาคณิตศาสตร์ ต้องยอมรับว่าพ่อแม่ชาวไทยหลายคนเคยมีอดีตอันขมขื่นกับวิชานี้ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ นอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อีกหลายแขนง | ||||
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ ว่าแต่ว่า คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่าในแต่ละช่วงวัยของลูก เด็ก ๆ ควรมีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์ในระดับใดบ้าง ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้กำหนดคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ว่าควรมีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด | ||||
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม 5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย ส่วนเทคนิคจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ ให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรม และเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปนั่นเอง ซึ่งหากไม่มีในหนังสือที่โรงเรียนจัดหามาให้ ก็อาจไปหาซื้อเองได้ตามร้านหนังสือทั่วไปค่ะ ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสดีของพ่อแม่ในยุคนี้ที่ (เคยไม่ชอบคณิตศาตร์เอาเสียเลย) จะได้ลองเรียนรู้ และหากิจกรรมสนุก ๆ มาเล่นกับลูกไปพร้อม ๆ กับการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ ทีมงานเชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่ที่ขยาดกับการเรียนคณิตศาสตร์ยุคก่อนมา (แบบที่มีการบ้านเป็นตั้ง ให้นั่งทำกันหัวฟู) คงมีความสุข และมีทัศนคติที่ดีในการสอนคณิตศาสตร์ลูก ๆ กันมากขึ้นค่ะ อ้างอิงข้อมูลจาก สสวท. หมายเหตุ : ทาง สสวท. ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่นางนงลักษณ์ ศรีสุวรรณ เลขานุการคณะกรรมการกำหนดแนวทางการจัดทำคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ฯ สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. โทร. 0-2390-4021 ต่อ 2501 อีเมล์ nsris@ipst.ac.th ที่มา http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152510 |
ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก สอนลูกให้ชนะโลก ให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้อย่างสนุกสนาน ในแบบที่ลูกเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราต้องการให้ลูกเป็น ด้วยพลังแห่งความรักความอบอุ่นของครอบครัว
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูก ๆ เรียนอะไรกัน
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ห้องเรียนแห่งอนาคต (ุุึ10)
จะเห็นว่า วิธีคิด และแนวทางปฎิบัติของโรงเรียน ของครู และเด็ก นักเีรียนในโรงเรียนนี้ จะค่อนข้างแตกต่างจากโรงเรียนอื่น เช่นเรื่องการพูดจาชื่นชม แทนที่จะดุด่า ตำหนิเด็ก หรือ การสร้่างภาวะผู้นำ ที่แตกต่างกันให้เด็กแต่ละคน ดังนั้น ในช่วงแรกๆของการเปลี่ยนแปลง แบบ 180 องศานี้ ต้องมีวิธีการสร้างวัฒนธรรม องค์กร วัฒนธรรมแบบใหม่ให้นักเรียน และจะต้องตอกยำ้ กติกา และหลักการปฎิบัตินี้อย่างสมำ่เสมอ และบ่อยๆ ที่โรงเรียนนี้ จะใช้เวลาช่วงเริ่มปีการศึกษาใหม่ ในสัปดาห์แรก ใการทบทวน หรือสร้างวัฒนธรรม หรือกติกาใหม่ๆ ให้กับนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน
"เราใช้เวลาประมาณ ๑ สัปดาห์โดยใช้ผลงานของแฮร์รี่ หว่อง เรื่องความสำคัฯของวันแรกๆสำหรับการมาโรงเรียน เรื่องนี้มีมานานแล้วและการที่มันมีมานานก็เพราะมันมีเหตุผลของการมีอยู่ เพราะใช้ได้ผล ดังนั้นเราจึงใช้เวลาสัปดาห์แรกของการเรียนเื่ื่พื่อสอนนักเรียนเฉพาะเรื่องการเป็นผู้นำในโรงเรียน"
- พอลา เอเวอเรตต์, ครู โรงเรีนนเอ.บี. คอมส์
ตลอดสัปดาห์แรก ครูจะไม่สอนเนื้อหาวิชาหลัก แต่จะทบทวน ๗ อุปนิสัย และเขียนคำปณิธาณในห้องเรียน พูดคุยเรื่องความรับผิดชอบ ให้นักเรียนสร้าง สมัคร และเข้ารับการสัมภาษณ์ สำหรับบทบาทการเป็นผู้นำของห้องเรียนและของโรงเรียน เด็กๆตั้งเป้าหมายส่วนตัว และเป้าหมายของห้องเรียน และเริ่มเขียนไว้ในสมุดบันทึุกข้อมูล ครูให้นักเรียนช่วยเขียนหลักแห่งความร่วมมือของชั้นเรียนว่า พฤติกรรมใดที่เป็นที่ยอมรับ และไม่เป็นที่ยอมรับ พวกเขาช่วยกันสร้างงานศิลปะ เพื่อนำไปติดไว้ที่กระดานข่าวในห้องโถงต่างๆ และในห้องเรียน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์แรกด้วยรูปแบบที่สนุกสนานและมีส่วนร่วมของนักเรียน
-หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน"
-หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน"
เท่าที่ดู การทำแบบนี้ ทำให้เด็กๆที่เพิ่งพักปิดเทอม ได้มีโอกาสมาปรับจิตใจ อารมณ์เพื่อเตรียมพร้อม ที่จะรับการเรียนรู้อีกครั้ง การพูดคุยเรื่อง อุปนิสัยทั้ง ๗ และการสร้างกติการ่วมกัน ทำให้เด็กๆได้ทบทวนว่า สิ่งใดที่ทำได้ หรือไม่ได้ในห้องเรียน และเป็นกติกา ที่เด็กๆ เป็นผู้เขียนเอง มีการตกลงกันไว้่ว่าจะทำตามกติกานี้ ดังนั้น ก็จะทำให้เด็กๆทำผิดระเบียบวินัยน้อยลง เพราะได้ตกลงกันไว้แล้ว หากเปรียบเสมือนการปลูกพืช ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมดินให้พร้อม ที่จะรับการหว่านเมล็ดพันธุ์ หากการเตรียมดิน มีการเตรียมอย่างระมัดระวัง ก็จะทำให้เมล็ดที่งอกเป็นต้นที่มีความสวยงาม แข็งแรงต่อไป
อีกวิธีนึง ที่ทางโรงเรียน A.B. Combs Elementary ใช้ในการตอกย้ำวัฒนธรรมองค์กร หรือ วัฒนธรรมการเรียน ที่เน้น เรื่อง ภาวะผู้นำ เป็นหลัก คือ การใช้วัฒนธรรมด้านภาษา
สิ่งแรกที่โรงเรียนนี้ใช้ คือ การแต่งเพลงจูงใจหลายๆเพลง ที่เกี่ยวข้องกับ ๗ อุปนิสัยนี้ และภาวะผู้นำ เป็นเพลง ที่ครู และเด็ก ๆช่้วยกันแต่ง และเปิดเพลงผ่านระบบอินเตอร์คอม ของโรงเรียนทุกวันๆละ 15 นาที
มาดูตัวอย่างเพลงที่เด็กและครู แต่งเพลงเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของโรงเรียนกัน
สิ่งแรกที่โรงเรียนนี้ใช้ คือ การแต่งเพลงจูงใจหลายๆเพลง ที่เกี่ยวข้องกับ ๗ อุปนิสัยนี้ และภาวะผู้นำ เป็นเพลง ที่ครู และเด็ก ๆช่้วยกันแต่ง และเปิดเพลงผ่านระบบอินเตอร์คอม ของโรงเรียนทุกวันๆละ 15 นาที
มาดูตัวอย่างเพลงที่เด็กและครู แต่งเพลงเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของโรงเรียนกัน
ทุกๆเช้า นอกจากจะได้ฟังเสียงคุณครู บอกรักนักเรียน ขอบคุณนักเรียน และชื่นชมนักเีรียนผ่าน อินเตอร์คอม แถมด้วยบทเพลงปลุกเร้าความสนุกตื่นเต้น วัฒนธรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน แล้ว ทางโรงเรียนจะมีนักเรียนที่เป็นผู้นำด้านการพูดในที่สาธารณะ จะประกาศเรื่องราวดีๆ บทความ หรือ ประกาศคุณงามความดี ในอุปนิสัยด้านใด ด้านหนึ่งใน ๗ ด้านของนักเรียนชั้นต่างๆ เป็นเรื่องราวของผู้นำประจำสัปดาห์ และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ได้รางวัลประจำสัปดาห์ มาแบ่งปันเรื่องราว อุปสรรค ความยากลำบากของการเป็นผู้นำ และเคล็ดลับความสำเร็จ
ทั้งหมดนี้ ใช้เวลา ประมาณ 15 นาทีในแต่ละวัน ในการกล่อมเกลา ตอกย้ำวัฒนธรรมของโรงเรียนที่สร้างขึ้นใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดนี้ ใช้เวลา ประมาณ 15 นาทีในแต่ละวัน ในการกล่อมเกลา ตอกย้ำวัฒนธรรมของโรงเรียนที่สร้างขึ้นใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องแนวคิด พันธกิจเรื่องการสร้างภาวะผู้นำ นั้นถูกนำไปสอนทุกๆวิชา ในโรงเรียนนี้ ก็เรียนวิชาอื่นๆเหมือนโรงเรียนทั่วๆไป คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ พละศึกษา ศิลปะ แต่ทุกครั้ง บทเรียนวิชาเหล่านี้ จะมีการเชื่อมโยงเรื่องภาวะผู้นำ และอุปนิสัยทั้ง ๗ เข้าไปด้วย เช่น
ในวิชาวรรณคดี ที่เด็กๆเรียน บทกลอน เรื่องโลกในฝันของฉัน ( I Dream a World) ซึ่งเป็นบทกลอนที่ผู้แต่งคือ แลงสตัน ฮิวส์ นำเสนอวิสัยทัศน์ของเขา เกี่ยวกับโลกที่ดีกว่า หลังจากครูอธิบายคำศัพท์ โครงสร้างของบทกวี ครูจะแ่บ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ และให้แต่ละกลุ่มใช้เครื่องมือคุณภาพอย่างใด อย่างหนึ่ง มาอธิบายประเด็นหลักของบทกวี โดยแต่ละกลุ่มจะแบ่งงานให้สมาชิก เพื่อเป็นผู้นำ รับผิดชอบกันคนละด้าน เช่น การเขียน การจับเวลา การนำเสนอผลงาน เด็กๆจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และความรับผิดชอบ ในการทำงานให้สำเร็จ และจบลงด้วยเด็กๆแต่ละคน จะต้องอธิบายและแสดงวิสัยทัศน์ของตน เกี่ยวกับสิ่งที่ตนใฝ่ฝันจะเป็นในอนาคต แบบฝึกหัดนี้ใช้เวลา 30 นาที และสามารถต่อยอด ด้วยทักษะการแต่งกลอน หรือบทกวี หรือทักษะการเขียน หรือแม้แต่เรื่อง วัฒนธรรมประเพณีด้วย (หากเด็กๆมาจากต่างวัฒนธรรม)
จะเห็นว่า การเรียนการสอน แม้ว่าเป็นวิชาใดก็ตาม ครูโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของภาวะผู้นำ อุปนิสัยทั้ง ๗ ความคิดสร้างสรรค์ และการฝึกการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และทักษะการอ่าน การเขียน และอื่นๆ เข้าด้วยกัน ได้ อย่างนุ่มนวล
ในวิชาวรรณคดี ที่เด็กๆเรียน บทกลอน เรื่องโลกในฝันของฉัน ( I Dream a World) ซึ่งเป็นบทกลอนที่ผู้แต่งคือ แลงสตัน ฮิวส์ นำเสนอวิสัยทัศน์ของเขา เกี่ยวกับโลกที่ดีกว่า หลังจากครูอธิบายคำศัพท์ โครงสร้างของบทกวี ครูจะแ่บ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ และให้แต่ละกลุ่มใช้เครื่องมือคุณภาพอย่างใด อย่างหนึ่ง มาอธิบายประเด็นหลักของบทกวี โดยแต่ละกลุ่มจะแบ่งงานให้สมาชิก เพื่อเป็นผู้นำ รับผิดชอบกันคนละด้าน เช่น การเขียน การจับเวลา การนำเสนอผลงาน เด็กๆจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และความรับผิดชอบ ในการทำงานให้สำเร็จ และจบลงด้วยเด็กๆแต่ละคน จะต้องอธิบายและแสดงวิสัยทัศน์ของตน เกี่ยวกับสิ่งที่ตนใฝ่ฝันจะเป็นในอนาคต แบบฝึกหัดนี้ใช้เวลา 30 นาที และสามารถต่อยอด ด้วยทักษะการแต่งกลอน หรือบทกวี หรือทักษะการเขียน หรือแม้แต่เรื่อง วัฒนธรรมประเพณีด้วย (หากเด็กๆมาจากต่างวัฒนธรรม)
จะเห็นว่า การเรียนการสอน แม้ว่าเป็นวิชาใดก็ตาม ครูโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของภาวะผู้นำ อุปนิสัยทั้ง ๗ ความคิดสร้างสรรค์ และการฝึกการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และทักษะการอ่าน การเขียน และอื่นๆ เข้าด้วยกัน ได้ อย่างนุ่มนวล
หรือ อีกตัวอย่างนึง ที่ง่ายๆ
เด็กเรียน อักษร "P" ครูจึงให้เด็กๆ แต่งเรื่องราวจาก "Pizza" เช่น พูดถึง ส่วนต่างๆ (Part) ของพิซซ่า Topping ต่างๆ และแสดงละคอนเรื่องคนโทรศัพท์ (Phone) มาสั่ง Pizza เธอพูดว่า ต้องการสั่งซื้อ (Purchase) Pizza , Please. แล้วครูก็จด คำพูดที่มี "P" เรื่องราวเหล่านี้ บนกระดาน เพื่อให้เด็กๆเห็น อักษร และคำที่ใช้อักษรนี้
ต่อมา เธอสมบุติว่า มีคนสั่งพิซซา 6 ชิ้น เด็กๆถูกแบ่งเป็นกลุ่มละ 4 คนเด็กๆแต่ละคนได้รับหน้าที่ต่างกันเพื่อให้ ทำพิซซ่าให้สำเร็จ เด็กๆต้องเรียงลำดับความสำคัญของงาน และแต่ละคนต้องรับผิดชอบงานของตัวเองอย่างดี และทำงานร่วมกันจนประสบความสำเร็จ
เมื่อสิ้นสุดโครงงานนี้ ครูก็สรุปเรื่องความสำคัญของทัมเวิร์ค การลำดับความสำคัญ และข้อดีของการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น เมื่อสิ้นสุดวิชาในวันนั้น เด็กๆเรีัยนรู้อะไรมากมาย มากกว่า คำที่ขึ้นต้น ด้วย "P"
เด็กเรียน อักษร "P" ครูจึงให้เด็กๆ แต่งเรื่องราวจาก "Pizza" เช่น พูดถึง ส่วนต่างๆ (Part) ของพิซซ่า Topping ต่างๆ และแสดงละคอนเรื่องคนโทรศัพท์ (Phone) มาสั่ง Pizza เธอพูดว่า ต้องการสั่งซื้อ (Purchase) Pizza , Please. แล้วครูก็จด คำพูดที่มี "P" เรื่องราวเหล่านี้ บนกระดาน เพื่อให้เด็กๆเห็น อักษร และคำที่ใช้อักษรนี้
ต่อมา เธอสมบุติว่า มีคนสั่งพิซซา 6 ชิ้น เด็กๆถูกแบ่งเป็นกลุ่มละ 4 คนเด็กๆแต่ละคนได้รับหน้าที่ต่างกันเพื่อให้ ทำพิซซ่าให้สำเร็จ เด็กๆต้องเรียงลำดับความสำคัญของงาน และแต่ละคนต้องรับผิดชอบงานของตัวเองอย่างดี และทำงานร่วมกันจนประสบความสำเร็จ
เมื่อสิ้นสุดโครงงานนี้ ครูก็สรุปเรื่องความสำคัญของทัมเวิร์ค การลำดับความสำคัญ และข้อดีของการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น เมื่อสิ้นสุดวิชาในวันนั้น เด็กๆเรีัยนรู้อะไรมากมาย มากกว่า คำที่ขึ้นต้น ด้วย "P"
ในหนังสือ เรื่อง "ผู้นำในตัวฉัน" ยังมีอีกหลายตัวอย่างในอีกหลายวิชา ถึงวิธีการสอนเด็กๆแบบบูรณาการ และสอดแทรกการตอกย้ำเรื่อง อุปนิสัยทั้ง ๗ และ ภาวะผู้นำค่ะ เพื่อนๆที่สนใจ ตามไปอ่านได้
อ่านแล้วก็มาคิดถึง คำพูดของพ่อแม่หลายๆท่าน ที่มักจะมาบ่นว่า ครูคนเดียว สอนหลายวิชา ทำให้ไม่มีคุณภาพ แต่หากอ่านแล้วจะเข้าใจว่า การเรียนสมัยใหม่นั้น ความรู้นั้น เป็นองค์รวม ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ดังนั้น การใช้ครูคนเดียว สอนหลายๆวิชา จะทำให้การเรียนการสอน เป็นองค์รวม ได้ดีกว่า เป็นแบบบูรณาการ ทำให้เสียเวลาเรียนน้อยกว่า และได้ประโยชน์กว่า
อ่านแล้วก็มาคิดถึง คำพูดของพ่อแม่หลายๆท่าน ที่มักจะมาบ่นว่า ครูคนเดียว สอนหลายวิชา ทำให้ไม่มีคุณภาพ แต่หากอ่านแล้วจะเข้าใจว่า การเรียนสมัยใหม่นั้น ความรู้นั้น เป็นองค์รวม ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ดังนั้น การใช้ครูคนเดียว สอนหลายๆวิชา จะทำให้การเรียนการสอน เป็นองค์รวม ได้ดีกว่า เป็นแบบบูรณาการ ทำให้เสียเวลาเรียนน้อยกว่า และได้ประโยชน์กว่า
วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ห้องเรียนแห่งอนาคต (ุุึ9)
"มีรางวัลมากมายที่มอบให้เด็กในแต่ละสัปดาห์ ทั้งในห้องเรียน ในห้องประชุม และการประกาศข่าวในตอนเช้า รางวัลเหล่านี้เน้นเรื่องการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และทักษะการเป็นผู้นำ ไม่ใช่แค่เพียงคะแนนสอบอย่างเดียว"
หนังสือเรื่อง "ผู้นำในตัวฉัน"
หนังสือเรื่อง "ผู้นำในตัวฉัน"
ในเรื่องการให้รางวัลมากมายนั้น เป็นความคิดที่น่าสนใจอีกสิ่งหนึ่ง ในประเทศไทย หรือ ในเอเชียนั้น "รางวัล" เป็นของมีค่า "คำชื่นชม" เป็นของมีค่า กว่าที่เด็กจะได้รับคำชื่นชมเล็กๆน้อยๆ เด็กต้องเพียรพยายาม ในการทำสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ทำจนเป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ การจะได้รางวัลต้องมีเงื่อนไข
ดังนั้น เด็กๆและผู้คน จึงใหัความสำคัญกับการแข่งขัน และรางวัลจนเกินพอดี รางวัล คำชื่นชม กลายเป็นอัตตา ที่ปล่อยวางได้ยาก เมื่อผิดหวัง หรือ เมื่อสูญเสียไป ก็ยากที่ทำใจรับได้
แต่การให้รางวัลมากมายนั้น ทำให้เด็กๆมีกำลังใจ เห็นความก้าวหน้าของตัวเอง แม้รางวัลเล็กๆน้อยๆ สติ๊กเกอร์ ก็พอใจ และรางวัลที่มีมากมาย ทำให้เด็กก็ไม่ยึดติดกับรางวัล มากเกินไป ได้มาหรือไม่ก็ไม่ต้องไปเครียด จะเป็นจะตายไปกับมัน แทนที่จะมุ่งพัฒนาตนเองเพื่อรางวัล คำชื่นชม เด็กจะมุ่งพัฒนาตนเอง ในสิ่งที่ตนสนใจ และเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเหมือนใคร เด็กๆจะได้เห็นเองว่า แม้เราไม่เก่งในเรื่องนั้น แต่เราก็มีดีในเรื่องอื่น ไม่ต้องเสียใจ และไม่ต้องเหิมเกริม เพราะคนอื่น เค้าก็มีดีในแบบของเค้า ที่มีคุณค่า ไม่ต่างจากตนเอง
ทำให้เด็กเริ่มมองคนอื่นด้วยสายตาให้เกียรติ เห็นคุณค่าของคนอื่นเช่นกัน
ดังนั้น เด็กๆและผู้คน จึงใหัความสำคัญกับการแข่งขัน และรางวัลจนเกินพอดี รางวัล คำชื่นชม กลายเป็นอัตตา ที่ปล่อยวางได้ยาก เมื่อผิดหวัง หรือ เมื่อสูญเสียไป ก็ยากที่ทำใจรับได้
แต่การให้รางวัลมากมายนั้น ทำให้เด็กๆมีกำลังใจ เห็นความก้าวหน้าของตัวเอง แม้รางวัลเล็กๆน้อยๆ สติ๊กเกอร์ ก็พอใจ และรางวัลที่มีมากมาย ทำให้เด็กก็ไม่ยึดติดกับรางวัล มากเกินไป ได้มาหรือไม่ก็ไม่ต้องไปเครียด จะเป็นจะตายไปกับมัน แทนที่จะมุ่งพัฒนาตนเองเพื่อรางวัล คำชื่นชม เด็กจะมุ่งพัฒนาตนเอง ในสิ่งที่ตนสนใจ และเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเหมือนใคร เด็กๆจะได้เห็นเองว่า แม้เราไม่เก่งในเรื่องนั้น แต่เราก็มีดีในเรื่องอื่น ไม่ต้องเสียใจ และไม่ต้องเหิมเกริม เพราะคนอื่น เค้าก็มีดีในแบบของเค้า ที่มีคุณค่า ไม่ต่างจากตนเอง
ทำให้เด็กเริ่มมองคนอื่นด้วยสายตาให้เกียรติ เห็นคุณค่าของคนอื่นเช่นกัน
ห้องเรียนแห่งอนาคต (ุุึ8)
ยิ่งไปกว่านั้น คือเรื่องการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน หรือ ครูใหม่ๆนั้น ทางโรงเรียนนี้ ให้นักเรียนเป็นผู้ทำการสัมภาษณ์และคัดเลือกเอง
"เมื่อรายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลิอกเหลือจำนวนไม่มากนัก บรรดาผู้นำนักเรียนจะได้รับโอกาสให้สัมภาษณ์ผู้สมัครด้วย ผู้นำนักเรียนบางคนมีชื่อเสียงว่า เป็นผู้สัมภาษณ์ที่โหดที่สุด และบางคนมีสัญชาตญาณพิเศษ พวกเขามีเคล็ดลับการเลือกครูที่รักเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ใหญ่ที่จะประเมินได้ ผู้สมัครคนหนึ่งถูกนักเรียนคัดชื่อออกอย่างรวดเร็ว พวกเขาอธิบายด้วยความรู้สึกไม่ชอบว่า "ครูคนนี้ไม่รู้เลยว่าโรงเรียนของเราสอน 7 อุปนิสัย เธอไม่ได้ทำการบ้านมาเลย"
จำได้ว่า โรงเรียนแห่งหนึ่งในประเทศไทย คือ สัตยาไส ก็ให้นักเรียน เป็นผู้คัดเลือกบุคลากรค่ะ เคยฟังอจ. อาจอง ชุมสาย ท่านเล่าในรายการ "พ่อแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย" เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน ว่า ทางโรงเรียนนั้น ให้ครูที่สมัครมาทำงาน มาเข้าค่ายที่โรงเรียน สามวัน ในวันแรก เป็นการฝึุกอบรม เรื่องหลักการ Mission และ Vision ของโรงเรียน การปฎิบัติตัว และคุณสมบัติ งานของผู้เป็นครูของโรงเรียน หลังจากวันแรก ก็จะมีึผู้สมัครจำนวนหนึ่ง พิจารณา และเลิอกที่จะไม่ทำงานที่นั่น เพราะหลักการ หรือวิธีการไม่ตรงกัน
ในวันที่สอง เป็นวันที่ให้คุณครูได้ อยู่และลองใช้ชีวิตจริงๆ และได้ลองทำงานเป็นครูที่โรงเรียน ในวันที่สองนี้ ก็จะมีครูอีกกลุ่มหนึ่งที่ปรับตัวไม่ได้ และอาจจะพบว่าตัวเองไม่ชอบ ก็เลือกที่จะเดินออกจากโรงเรียนไป
ในวันที่สาม เป็นวันที่ให้นักเรียนของโรงเรียนได้เลือก และแสดงความเห็นเกี่ยวกับครู ครูที่นักเรียนเลือก ก็จะได้รับเชิญให้สอนต่อไป
ในวันที่สอง เป็นวันที่ให้คุณครูได้ อยู่และลองใช้ชีวิตจริงๆ และได้ลองทำงานเป็นครูที่โรงเรียน ในวันที่สองนี้ ก็จะมีครูอีกกลุ่มหนึ่งที่ปรับตัวไม่ได้ และอาจจะพบว่าตัวเองไม่ชอบ ก็เลือกที่จะเดินออกจากโรงเรียนไป
ในวันที่สาม เป็นวันที่ให้นักเรียนของโรงเรียนได้เลือก และแสดงความเห็นเกี่ยวกับครู ครูที่นักเรียนเลือก ก็จะได้รับเชิญให้สอนต่อไป
มาเล่าเรื่องโรงเรียน A.B.Combs. Elementary ต่อ
ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งในโรงเรียนนี้ คือ ในแผนผังองค์กรของโรงเรียนนี้ นั้น ทุกคนที่มีชื่อปรากฎอยู่ในผังขององค์กร ต่างมีคำนำหน้าว่า "ผู้นำ" นำหน้าตำแหน่งรวมทั้งหน้าที่รับผิดชอบ เช่น
ด้านธุรการ จะมี ผู้ที่เป็น "ผู้ำนำด้านให้คำปรึกษกับนัำกเรียน" และ "ผู้ำนำเกี่ยวกับสื่อ"
ภารโรง จะมีฐานะ "ผู้นำด้านการรักษาความสะอาดของอาคารเรียน"
พนักงานในครัว เป็น "ผู้นำด้านการโภชนาการ"
แม้แต่ในองค์กรของนักเรียนเอง ทุกๆต้นปีการศึกษาใหม่ นักเรียนแต่ละคน จะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้นำในด้านการพูดในที่สาธารณะ บางคนเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ บางคนเป็นผู้นำด้านดนตรี ผู้นำด้านความพร้อมของร่างกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ให้นักเรียนเลือกเอง ว่า ใครอยากจะพัฒนาตนเองในด้านไหน หรือ ใครมีความสามารถหรือทักษะพิเศษในด้านใด ก็จะได้รับตำแหน่ง ผู้นำ ในด้านนั้นๆ
ในแต่ละชั้นเรียน นักเรียนเองก็จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆ บทบาทเหล่านั้น เช่น ผู้นำกล่าวคำสวัสดีในห้องเรียน ผู้นำด้านการรักษาเวลา ผู้นำกลุ่ม ผู้นำด้านความสะอาด และผู้นำด้านบรรณรักษ์
บางครั้งเด็กๆ ก็จะได้รับการแต่งตั้ง หรือ รับเลือกบทบาทผู้นำที่ครูแต่งตั้งให้ทำ เช่น เด็กชายคนหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ช่วยเด็กปฐมวัยคนหนึ่ง เรียนรู้การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในโรงเรียน ต่อมาเด็กคนนั้น ก็ขอให้เด็กคนนี้ช่วยสอนคณิตศาสตร์และการอ่านให้เขา เด็กชายผู้ที่ช่วยเหลือน้อง จึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้นำที่เป็นเพื่อน"
ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งในโรงเรียนนี้ คือ ในแผนผังองค์กรของโรงเรียนนี้ นั้น ทุกคนที่มีชื่อปรากฎอยู่ในผังขององค์กร ต่างมีคำนำหน้าว่า "ผู้นำ" นำหน้าตำแหน่งรวมทั้งหน้าที่รับผิดชอบ เช่น
ด้านธุรการ จะมี ผู้ที่เป็น "ผู้ำนำด้านให้คำปรึกษกับนัำกเรียน" และ "ผู้ำนำเกี่ยวกับสื่อ"
ภารโรง จะมีฐานะ "ผู้นำด้านการรักษาความสะอาดของอาคารเรียน"
พนักงานในครัว เป็น "ผู้นำด้านการโภชนาการ"
แม้แต่ในองค์กรของนักเรียนเอง ทุกๆต้นปีการศึกษาใหม่ นักเรียนแต่ละคน จะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้นำในด้านการพูดในที่สาธารณะ บางคนเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ บางคนเป็นผู้นำด้านดนตรี ผู้นำด้านความพร้อมของร่างกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ให้นักเรียนเลือกเอง ว่า ใครอยากจะพัฒนาตนเองในด้านไหน หรือ ใครมีความสามารถหรือทักษะพิเศษในด้านใด ก็จะได้รับตำแหน่ง ผู้นำ ในด้านนั้นๆ
ในแต่ละชั้นเรียน นักเรียนเองก็จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆ บทบาทเหล่านั้น เช่น ผู้นำกล่าวคำสวัสดีในห้องเรียน ผู้นำด้านการรักษาเวลา ผู้นำกลุ่ม ผู้นำด้านความสะอาด และผู้นำด้านบรรณรักษ์
บางครั้งเด็กๆ ก็จะได้รับการแต่งตั้ง หรือ รับเลือกบทบาทผู้นำที่ครูแต่งตั้งให้ทำ เช่น เด็กชายคนหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ช่วยเด็กปฐมวัยคนหนึ่ง เรียนรู้การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในโรงเรียน ต่อมาเด็กคนนั้น ก็ขอให้เด็กคนนี้ช่วยสอนคณิตศาสตร์และการอ่านให้เขา เด็กชายผู้ที่ช่วยเหลือน้อง จึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้นำที่เป็นเพื่อน"
ในการคัดเลือกนักเรียนที่จะเข้าแข่งขันด้านต่างๆในนามของโรงเรียนนี่ ก็น่าสนใจค่ะ โรงเรียนนี้จะไม่เลือกเด็กที่เก่งด้านนั้นเท่านั้น แต่จะเลือกนักเรียนเป็นแบบอย่างของอุปนิสัยที่ดีด้วย เช่น
นักกีฬาที่สนใจจะแข่งขันในนามโรงเรียน คนที่แข่งชนะ เก่งกว่าทุกๆคน หากเป็นเด็กที่ควบคุมอารมณ์ไม่ดี มีอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่มีน้ำใจนักกีฬา ก็จะไม่ได้รับการรับเลือก เด็กที่จะเป็นตัวแทนโรงเรียน ต้องเป็นเด็กที่ Pro Active ด้วยการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ต้องเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจด้วยการตั้งเป้่าหมาย และทำสิ่งที่สำคัญก่อน ด้วยการฝึกฝน และพักผ่อนให้เพียงพอ
หลักเกณฑ์นี้ เป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่า ทางโรงเรียนให้ความสำคัญกับความประพฤติ และพัฒนา 7 อุปนิสัย มากกว่าความเก่งของเด็ก
"คุณจะได้ยินเราชมเด็กๆตลอดเวลา คุณจะได้ยินเราขอบคุณพวกเขา เราบอกเขาว่า เรารักพวกเขาทุกวัน และเราชื่นชมพวกเขามากเพียงใด เรามีนักเรียนทั้งหมด 900 คน นั่นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่ต้องสานสัมพันธฺกับเด็กแต่ละคนในทุกๆวัน แม้ว่าจะเป็นแค่การพูดผ่านคลื่นวืทยุในช่วงตอนเช้า นี่คือส่วนหนึ่งของระบบค่านิยมหลักที่นี่ เราบอกให้นักเรียนรู้ว่าเราเชื่อมั่นในตัวพวกเขา"
ครูใหญ่โรงเรียน A.B.Combs Elementary หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน"
ครูใหญ่โรงเรียน A.B.Combs Elementary หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน"
อ่านมาถึงตอนนี้ ดิฉันคิดถึงหลายๆโรงเรียน ที่ครู อาจารย์ที่ให้โอวาทยามเช้า เฝ้าแต่ย้ำกฎระเบียบ ทั้งเรื่องทรงผม การเดิน การซื้อขนมหน้าโรงเรียน การพูดจา อะไรต่างๆ ในฐานะคนนอกที่ได้ยินการให้โอวาทเหล่านี้ เราอดรู้สึกไม่ได้ ว่า เด็กนักเรียนโรงเรียนนี้คงมีปัญหาด้านพฤติกรรมเอามากๆ ทุกวันจึงโดนให้โอวาท ด้านลบแบบนี้ หากโรงเรียนหันมาใช้วิธีนี้ ชื่นชม ขอบคุณนักเรียนที่ทำอะไรดีๆ นักเรียนได้เริ่มต้นวันด้วยคำพูดดีๆ คงเป็นเรื่องดีไม่น้อย
เรื่องเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม ไม่ใช่ไม่มี แต่เราสามารถเรียกมาคุยภายหลังในห้องได้ ใครทำไม่ดี ก็เรียกมาคุยเป็นการส่่วนตัว ให้กำลังใจเด็ก ตั้งใจฟังปัญหาของเด็ก และ ตั้งเป้าหมายให้แก้ไข พัฒนาตนเอง ไม่จำเป็นก็ไม่ควรตำหนิหน้าห้อง หรือ หน้าเสาธง ให้เป็นที่อับอาย หรือ ทำให้คนภายนอก มองโรงเรียนว่า เต็มไปด้วยเด็กๆที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม มันเสียหายมากค่ะ กับชื่อเสียงของโรงเรียนด้วย
เรื่องเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม ไม่ใช่ไม่มี แต่เราสามารถเรียกมาคุยภายหลังในห้องได้ ใครทำไม่ดี ก็เรียกมาคุยเป็นการส่่วนตัว ให้กำลังใจเด็ก ตั้งใจฟังปัญหาของเด็ก และ ตั้งเป้าหมายให้แก้ไข พัฒนาตนเอง ไม่จำเป็นก็ไม่ควรตำหนิหน้าห้อง หรือ หน้าเสาธง ให้เป็นที่อับอาย หรือ ทำให้คนภายนอก มองโรงเรียนว่า เต็มไปด้วยเด็กๆที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม มันเสียหายมากค่ะ กับชื่อเสียงของโรงเรียนด้วย
ห้องเรียนแห่งอนาคต (ุุึ7)
การที่จัดการเรียนการสอนแบบนี้ได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ บุคลากร ครู ตอนที่เริ่มทำ โครงการนี้ไหม่ๆ ในเทอมแรกๆ นั้น โครงการนี้ ก็ไดรับการต่อต้านจากครู กลุ่มหนึ่งที่เคยชินกับการทำงานแบบเก่าๆ มีตอนหนึ่งที่ ครูใหญ่ของโรงเรียน A.B. Combs Elementary ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Leadership in me ว่า
"สิ่งที่น่าท้าทายและต้องระมัดระวังยิ่งกว่าคื ครูส่วนน้อยต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพราะความแตกต่างทางความคิด แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่ยินดีที่จะใช้ความพยายาม พวกเขาทำงานแบบเดิมมานานหลายปี "ทำไมต้องเปลี่ยนตอนนี้" ...การต่อต้านจากครูกลุ่มเล็กๆนี้จะบ่อนทำลายความพยายามตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มลงมิอทำ ดังนั้นพวกเขาจึงเรื่มต้นด้วยความระมัดระวัง โดยกำหนดให้ปีแรกเป็นโครงการนำร่อง มีครูเพียงคนเดียวต่อหนึ่งชั้นเรียนเริ่มสอนแนวความคิดเรื่องภาวะผู้นำ โชคดีที่การสอนในปีแรกคืบหน้าไปด้วยดี บรรดาครูสังเกตเห็นว่านักเรียนในโครงการนำร่องนั้นมั่นใจในตนเองมากขึ้น มีปัญหาเรื่องระเบียบวินัยลดลง และมีคะแนนสอบดีขึ้ย ครูที่คัดค้านเสียงแข็งในตอนต้นค่อยๆเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทีละคนๆ"
นอกจากจะเรื่มต้นเปลี่ยนแปลงโรงเรียนจากโครงการนำร่องแล้วแล้ว การฝึกอบรมบุคลากรในหลักสูตร 7 อุปนิสัย ซึ่งหลังการฝึกอบรมแล้ว คุณครูเหล่านี้ ได้เห็นเองว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นกับชีวิตของท่าน ทั้งด้านหน้าที่การงาน และส่วนตัว รู้สึกว่าตนเองทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีระเบียบมากขึ้น มีความผูกพัน เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น จึงรู้สึกผลอันยิ่งใหญ่ของการใช้หลักการนี้ในการดำรงชีวิต จึงมีความเต็มใจที่จะถ่ายทอด และปลูกฝังอุปนิสัยเหล่านี้ให้แก่นักเรียน นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โครงการมีความสำเร็จ
ในการที่จะถ่ายทอดลักษณะนิสัย หรือความสามารถให้กับเด็กๆ ผู้สอน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ผปค. หรือครูบาอาจารย์ ต้องเป็น ต้นแบบ เป็นแม่พิมพ์ที่ดี ให้กับเด็กๆ คงยากที่จะสอนให้เป็นคนดีสมบูรณ์แบบที่เราต้องการ
ในการที่จะถ่ายทอดลักษณะนิสัย หรือความสามารถให้กับเด็กๆ ผู้สอน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ผปค. หรือครูบาอาจารย์ ต้องเป็น ต้นแบบ เป็นแม่พิมพ์ที่ดี ให้กับเด็กๆ คงยากที่จะสอนให้เป็นคนดีสมบูรณ์แบบที่เราต้องการ
ปัจจัยที่สามที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ คือ ตัวผปค.เอง ทางโรงเรียนได้เชิญผปค.มาหารือ แล้ว รับรู้ัรับทราบในแนวทางการเรียนการสอนแบบใหม่ของโรงเรียน ผปค.ได้รับความรู้เรื่องภาวะผู้นำ และผปค.ก็มีความตื่นเต้น กับ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ บทสนทนาของผปค.แบบปากต่อปาก ทำให้คนในสังคมนั้น ได้รับรู้และตื่นตัวให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ๆ ของโรงเรียน จนแม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐยังต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผลในเทอมแรกๆ ปีแรกๆ ออกมานั้นผลการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียนดีขึ้น ย่อมเป็นที่สนใจของเหล่าพ่อแม่ผปค. ที่อยากส่งบุตรหลานมาเรียนในโรงเรียนที่ีมีวิสัยทัศน์ดีเช่นนี้
อีกทั้งผปค.ที่มีลูกๆเรียนที่นี่ เมื่อมีความเข้าใจถึงเรื่องภาวะผู้นำ และวิธีการดูแลลูกๆ ให้เป็นอิสระ ก็จะปรับวิธีการสอน อบรมลูกที่บ้านเช่นกัน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของโรงเรียนด้วย จึงยิ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ยิ่งเร็วขึ้น
อีกทั้งผปค.ที่มีลูกๆเรียนที่นี่ เมื่อมีความเข้าใจถึงเรื่องภาวะผู้นำ และวิธีการดูแลลูกๆ ให้เป็นอิสระ ก็จะปรับวิธีการสอน อบรมลูกที่บ้านเช่นกัน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของโรงเรียนด้วย จึงยิ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ยิ่งเร็วขึ้น
ห้องเรียนแห่งอนาคต (ุุ6)
โรงเรียนนี้ก็เหมือนกับโรงเรียนอื่นๆ ที่ย่อมมีลูกศิษย์บางคน มาโรงเรียนสาย หรือ ทำความผิดพลาด แต่โรงเรียนนี้ จะไม่ใช้วิธี ลงโทษเด็ก หรือ ต่อว่า เด็ก ฟ้องผู้ปกครอง แต่คุณครู และผู้บริหารโรงเรียนนี้ จะใช้้อ้อมกอด และความรัก ในการ "เปิดใจ" ของเด็กให้ยอมรับฟัง และการพูดคุยกับผปค. ก็จะใ้ห้ ผปค. ได้เห็นศักยภาพที่ไม่เคยเห็นในตัวลูกของเค้า แทนที่จะแสดงให้ผปค.เห็นจุดอ่อน
ในโลกของคนเป็นพ่อแม่มีความรัก ความห่วงใยลูกมากมาย ผปค.จำนวนมาก จึงมักวิตกกังวลว่า ลูกเรา ดีพอหรือ ยัง มีข้อด้อย ข้อบกพร่องตรงไหน มีอะไรอีกไม๊ ที่เราไม่รู้ พ่อแม่ผปค.จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวบบอร์ดของเรา จึงเข้ามาหาข้อมูล อ่านเคสนั้น กรณีนี้ ของเพื่อนๆผปค.คนอื่น แล้วไปเปรียบเทียบกับลูกของตัวเอง เช่น
" เออ...ลูกเราก็มีพฤติกรรมแบบนี้ มีปัญหาใช่ไม๊ "
" ลูกเรา เรื่องนี้ ยังไม่เป็น เรื่องนั้นก็ยังไม่่รู้ ...เอ๊ะ หรือเราควรพาไปเรียนพิเศษที่เค้าเล่ากันดี"
พ่อแม่ผปค. เป็นห่วงกลัวลูกสู้คนอื่นไม่ได้ กลัวลูกตกขบวน กลัวลูกไม่รู้อะไรเท่าๆกับคนอื่น กล่าวคือ เอาลูกไปเปรียบเทียบกับคนอื่น พยายามหาข้อบกพร่องในตัวลูก แทนที่จะหาข้อดี หรือมองเห็นอัจฉริยภาพที่แตกต่างในตัวของลูกของเรา
และโรงเรียนจำนวนมาก คุณครูก็เป็นพวกช่างติ มองหาว่าเด็กคนนี้ยังบกพร่องเรื่องใดบ้าง เขียนความเห็นมาแต่ละเรื่อง เรื่องนี้ก็อ่อน อันนั้นก็น่าจะปรับปรุง แทนที่จะบอกพ่อแม่ว่า ลูกเราทำอะไรดีๆบ้าง หรือ มีความสามารถเด่นในเรื่องใด เมื่อพ่อแม่ได้รับคำแนะนำ ความเห็นจากครู เรื่องพฤติกรรมต้องปรับปรุง รายงานแต่เรื่องเลวร้าย ก็ยิ่งเครียด กลับมาก็ตำหนิ สั่งสอน ดุด่า หรือลงโทษลุกกันยกใหญ่ ทำให้บรรยากาศในครอบครัวมีปัญหา เด็กๆได้รับความกดดัน
แทนที่จะปรับพฤติกรรมเด็กได้ ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปอีก
ในโลกของคนเป็นพ่อแม่มีความรัก ความห่วงใยลูกมากมาย ผปค.จำนวนมาก จึงมักวิตกกังวลว่า ลูกเรา ดีพอหรือ ยัง มีข้อด้อย ข้อบกพร่องตรงไหน มีอะไรอีกไม๊ ที่เราไม่รู้ พ่อแม่ผปค.จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวบบอร์ดของเรา จึงเข้ามาหาข้อมูล อ่านเคสนั้น กรณีนี้ ของเพื่อนๆผปค.คนอื่น แล้วไปเปรียบเทียบกับลูกของตัวเอง เช่น
" เออ...ลูกเราก็มีพฤติกรรมแบบนี้ มีปัญหาใช่ไม๊ "
" ลูกเรา เรื่องนี้ ยังไม่เป็น เรื่องนั้นก็ยังไม่่รู้ ...เอ๊ะ หรือเราควรพาไปเรียนพิเศษที่เค้าเล่ากันดี"
พ่อแม่ผปค. เป็นห่วงกลัวลูกสู้คนอื่นไม่ได้ กลัวลูกตกขบวน กลัวลูกไม่รู้อะไรเท่าๆกับคนอื่น กล่าวคือ เอาลูกไปเปรียบเทียบกับคนอื่น พยายามหาข้อบกพร่องในตัวลูก แทนที่จะหาข้อดี หรือมองเห็นอัจฉริยภาพที่แตกต่างในตัวของลูกของเรา
และโรงเรียนจำนวนมาก คุณครูก็เป็นพวกช่างติ มองหาว่าเด็กคนนี้ยังบกพร่องเรื่องใดบ้าง เขียนความเห็นมาแต่ละเรื่อง เรื่องนี้ก็อ่อน อันนั้นก็น่าจะปรับปรุง แทนที่จะบอกพ่อแม่ว่า ลูกเราทำอะไรดีๆบ้าง หรือ มีความสามารถเด่นในเรื่องใด เมื่อพ่อแม่ได้รับคำแนะนำ ความเห็นจากครู เรื่องพฤติกรรมต้องปรับปรุง รายงานแต่เรื่องเลวร้าย ก็ยิ่งเครียด กลับมาก็ตำหนิ สั่งสอน ดุด่า หรือลงโทษลุกกันยกใหญ่ ทำให้บรรยากาศในครอบครัวมีปัญหา เด็กๆได้รับความกดดัน
แทนที่จะปรับพฤติกรรมเด็กได้ ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปอีก
ดิฉันเคยเล่าในกระทู้นึง หลายปีก่อน ซึ่งปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ปลุกพลังอัจฉริยภาพของลูก ที่วางตลาดไปเมือ่ปีที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องการฟังของเด็ก
ในด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กนั้น เมื่อทำผิดพลาด เด็กก็รู้สึกตกใจ หวาดกลัวอยู่แล้ว กับผลที่เกิดขึ้น ความตกใจ ความกลัว ทำให้สัญชาตญาณของสัตว์ ต้องปกป้องตัวเอง เด็กหลายๆคน (รวมทั้งสัตว์โลก) จะสร้างความดุร้าย ความก้าวร้าว ขึ้นมาป้องกันตนเอง สิ่งที่เกิดขึ้น คือ อารมณ์จะรุนแรง โมโห โวยวาย บางร้ายอาจจะกร๊ดร้อง ไม่ยอมรับฟัง
การที่ไม่ยอมรับฟังนี่ ก็เป็นเรื่องของประสาทอัตโนมัติ ที่ปกป้องตัวเอง ทำให้หูไม่ได้ยิน ประสาทสัมผัส ไม่ยอมรับรู้ รับฟัง สิ่งที่เกิดขึ้น บางรายก็อาจจะมองไม่เห็น หรือ ประสาท Blank ไปเลย มีบางรายที่เิกิดความเจ็บปวด หวาดกลัวรุนแรง เค้าอาจจะจำรายละเอียดเหตุการณ์ไม่ได้ด้วยซ้ำไป เพราะมันถูกฝังลึุกลงไปในจิตใต้สำนึก แต่ถึงแม้จะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่เนื่องจากมันฝังในจิตใต้สำนึก มันจะส่งผลต่อการกระทำโดยอัตโนมัติ หากเด็กฝังเรื่องความรุนแรงลงในจิตใต้สำนึก แม้จะจำไม่ได้ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง แต่ก็จะเป็นเด็กที่มักแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ จะต้องปลอบประโลมให้เด็กหายกลัว ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้เด็กคลายความป้องกันตนเอง ให้เด็กรับรู้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น สามารถแก้ไขได้ และจะผ่านไปด้วยดี เมื่อเด็กคลายความกลัว ก็จะเปิดใจ รับรู้ รับฟัง เปิดสติ วิเคราะห์ สาเหตุ ที่มาที่ไปของปัญหา และรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผลของมัน เราในฐานะครู ฐานะพ่อแม่ เราก็จะมีโอกาสสอน หรือชี้แนะ ให้เห็นวิธีการป้องกันไม่ให้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อๆไป และวิธีแก้ปัญหาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะที่สำคัญ สำหรับครู และผปค. ที่จะต้องมีและต้องฝึก เพื่อที่จะเป็นจุดยืนในการสร้างเยาวชน ที่มีคุณภาพในอนาคต
ในด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กนั้น เมื่อทำผิดพลาด เด็กก็รู้สึกตกใจ หวาดกลัวอยู่แล้ว กับผลที่เกิดขึ้น ความตกใจ ความกลัว ทำให้สัญชาตญาณของสัตว์ ต้องปกป้องตัวเอง เด็กหลายๆคน (รวมทั้งสัตว์โลก) จะสร้างความดุร้าย ความก้าวร้าว ขึ้นมาป้องกันตนเอง สิ่งที่เกิดขึ้น คือ อารมณ์จะรุนแรง โมโห โวยวาย บางร้ายอาจจะกร๊ดร้อง ไม่ยอมรับฟัง
การที่ไม่ยอมรับฟังนี่ ก็เป็นเรื่องของประสาทอัตโนมัติ ที่ปกป้องตัวเอง ทำให้หูไม่ได้ยิน ประสาทสัมผัส ไม่ยอมรับรู้ รับฟัง สิ่งที่เกิดขึ้น บางรายก็อาจจะมองไม่เห็น หรือ ประสาท Blank ไปเลย มีบางรายที่เิกิดความเจ็บปวด หวาดกลัวรุนแรง เค้าอาจจะจำรายละเอียดเหตุการณ์ไม่ได้ด้วยซ้ำไป เพราะมันถูกฝังลึุกลงไปในจิตใต้สำนึก แต่ถึงแม้จะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่เนื่องจากมันฝังในจิตใต้สำนึก มันจะส่งผลต่อการกระทำโดยอัตโนมัติ หากเด็กฝังเรื่องความรุนแรงลงในจิตใต้สำนึก แม้จะจำไม่ได้ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง แต่ก็จะเป็นเด็กที่มักแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ จะต้องปลอบประโลมให้เด็กหายกลัว ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้เด็กคลายความป้องกันตนเอง ให้เด็กรับรู้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น สามารถแก้ไขได้ และจะผ่านไปด้วยดี เมื่อเด็กคลายความกลัว ก็จะเปิดใจ รับรู้ รับฟัง เปิดสติ วิเคราะห์ สาเหตุ ที่มาที่ไปของปัญหา และรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผลของมัน เราในฐานะครู ฐานะพ่อแม่ เราก็จะมีโอกาสสอน หรือชี้แนะ ให้เห็นวิธีการป้องกันไม่ให้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อๆไป และวิธีแก้ปัญหาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะที่สำคัญ สำหรับครู และผปค. ที่จะต้องมีและต้องฝึก เพื่อที่จะเป็นจุดยืนในการสร้างเยาวชน ที่มีคุณภาพในอนาคต
จากบทสัมภาษณ์ในวีดีโอคลิป ผปค. ท่านนึงเล่าว่า สมมุติว่า มีเด็กมาโรงเรียนสาย สิ่งที่โรงเรียนทำ ไม่ใช่การแยกเด็กไปลงโทษ ดุด่า ตำหนิ เพราะเด็กที่มาสาย ก็จะสายเหมือนเดิม แต่สิ่งที่ครูทำ คือ การ เอาเด็กมากอดไว้ แสดงความยินดีที่เห็นนักเรียนมาโรงเรียน และบอกเล่าอย่างตื่นเต้น ว่ามีโครงการอะไรสนุกๆ ที่รอคอยเด็กคนนั้น มาทำให้สำเร็จ
เรื่องปัญหาเด็กมาโรงเรียนสายนี่ ดิฉันเคยเป็นมาก่อน กล่าวคือ ตื่นเช้ามา ไม่อยากไปโรงเรียน รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่สนุก ทำให้ต้องนอนเลื้อยอยู่กับที่นอน จนสาย แต่หากวันไหน มีโครงการใหม่ๆ มีเรื่องตื่นเต้น รอคอยอยู แม้ไม่ได้นอนก็ไม่รู้ง่วงนอน สามารถมาแต่เช้าได้ ปัญหาเรื่องรถติด มันเป็นแค่ข้ออ้าง หากเราจะมาจริงๆ เราสามารถปลุกพ่อ ปลุกแม่ หรือ หาทางมาโรงเรียนให้เช้ากว่าเดิมได้ ขอแค่อยากมาเท่านั้น แต่เด็กที่มาโรงเรียนสาย หากไปวิเคราะห์ดู เด็กมักจะมีปัญหาไม่กระตือรือร้น เบื่อหน่ายการเรียน หรือมีปัญหาในโรงเรียนในบางเรื่อง ต้องมองหาดูว่า เด็กมีปัญหาอะไร จึงไม่สนุกที่จะเรียน และเลื้อยไม่ยอมลุกจากที่นอน
ในโรงเรียนนี้ ให้เด็กแต่ละคน ได้ทำ ได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น มอบหมาย ให้รับผิดชอบ และให้เด็กได้มองเห็นความสำคัญของตัวเองว่า หากตัวเองไม่มา ไม่รับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองเลือก มันจะส่งผลอย่างไร และเมื่อเด็กๆทำงานในหน้าที่ของตน ก็จะได้รับการยกย่องชื่นชม คำขอบคุณจากเพื่อนๆ ว่า ทำหน้าที่อย่างดี และทำให้เพื่อนๆมีความสุขอย่างไร
การที่เ้ด็กๆรู้ว่า ตัวเอง มีความหมายกับเพื่อนๆ กับโรงเรียน กับคุณครู อย่างไร ทำให้เด็กรู้สึกมีความสุข สนุกที่จะมาโรงเรียน และทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดี เหมือนเรา หากเพื่อนๆคนใด เป็นผุ็บริหาร เป็นหัวหน้า หรือมีแม่บ้านในบ้าน ลองดูสิคะ หากเราดูแล พูดจาชื่นชม เห็นคุณค่าของเค้า เค้ามีความสุข ก็จะทำงานให้เราดีเป็นพิเศษ เพราะความภาคภูมิใจในหน้าที่ของตนเอง
เรื่องเหล่านี้ สำคัญมากค่ะ เทคนิคเหล่านี้ เป็นเทคนิคที่ผู้นำอย่างเรา สามารถเอามาพัฒนาลูกและบุคลกร ในองค์กรได้
ห้องเรียนแห่งอนาคต (5)
เล่าข้ามขั้นตอนที่สำคัญไปตอนหนึ่ง ก่อนหน้าที่ทางโรงเรียนจะได้มาซึ่งบทสรุปของพันธกิจและวิสัยทัศน์ของเป้าหมาย ครูใหญ่ท่านได้นำเอา ผลสำรวจทั้งหมด มาพูดคุยปรึกษาหารือกับเหล่าคุณครู ผู้เป็นทีมงาน แล้วทำบทสรุปทิศทางของการพัฒนาการเรียนการสอน ของโรงเรียน โดยยึดเป้าหมาย ตามจากที่ได้รับในรายงาย
คุณครูใหญ่ สนับสนุนให้ครู และบุคคลากรของโรงเรียนได้ศึกษา The 7 habits of highly effective people ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ผู้ที่ มีประสิืทธิภาพควรมี อุปนิสัย ๗ ข้อ ที่ผู้มีประสิทธืภาพสูง ควรมี คือ
- Be Proactive หากจะสรุปคือ เป็นคนที่รับผิดชอบกับการกระทำของตน ไม่กล่าวโทษผู้อื่นเมื่อทำงานผิดพลาด ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ว่าจะต่อหน้า หรือลับหลังคนอื่น
- เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ มีการวาวแผนล่วงหน้า กำหนดเป้าหมาัยชัดเจน และสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ต้องตนเอง และส่วนรวม
- ทำสื่งที่สำคัญก่อน รู้จักปฎิเสธสิ่งที่ไม่สำคัญ เรียงลำดับความสำคัญถูกต้อง จัดตารางเวลา และทำตามแผนที่กำหนด มีระเบียบวินัย
- คิดแบบชนะ ชนะ ปรับสมดุลระหว่างความอยากได้ของเรา และ ความต้องการของคนอื่น หาทางออกที่ ทำให้ทุกๆฝ่ายพอใจ ลดความขัดแย้ง
- เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และเข้าใจกรอบคิดของเขา ไม่ขัดจังหวะผู้พูด และตั้งใจฟังด้วยหูตา และใจ และกล้าพูดกล้าแสดงออกในสิ่งที่เราคิด
-ผนึกพลังประสานความต่าง เห็นความสำคัญของจุดแข็งของผู้อื่น และเรียนรู้จากเขา ยอมรับความแตกต่าง สามารถทำงานกลุ่ม ประสานงานกับผู้อื่นได้ดี
- ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ ดูแลสุขภาพด้วยการกินอาหารที่ประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ และเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ไม่ใช่แต่จากห้องเรียนเท่านั้น ใช้กิจกรรมร่วมกับครอบครัว เพื่อนฝูง แบ่งเวลาช่วยเหลิอผู้อื่น
และเมื่อทุกคน ได้เรียนรู้ในเรือ่งเดียวกัน พูดภาษาเดียวกันแล้ว ทุกๆคนก็มีความเห็นว่า คุณสมบัติพื้นฐานที่ควรปลูกฝังในตัวเด็กนักเรียนของโรงเรียน คือ อุปนิสัยเหล่านี้ ซึ่งถือว่า เป็นภาวะผู้นำที่สำคัญ จึงเป็นที่มาของ พันธกิจ และวิสัยทัศน์ใหม่ ของโรงเรียน A.B. Coms Elementary School ในตอนแรก แม้ว่าคุณครูทุกคน จะรู้ว่า การสร้างอุปนิสัย ๗ ข้อ ที่ผู้มีประสิทธืภาพสูงนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องทำ และเป็นพันธกิจของโรงเรียน แต่มีครูจำนวนมากมองไม่เห็นวิธีว่าจะจัดการอย่างไร และไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้สำเร็จ จึงมีการเริ่มต้นที่ครูและนักเรียนกลุ่มเล็กๆก่อนในเทอมแรกๆ แต่เมื่อเกืดผลสัมฤทธิ์ที่ดี ก็เริ่มมีการขยายวงกว้างขึ้น กว้างขึ้น จนครอบคลุมทั้งโรงเรียน ในเวลาต่อมา
เนื่องจากจุดเริ่มต้นของการคิดเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนในโรงเรียนนี้ มาจากปัญหา ที่เยาวชนของสหรัฐอเมริกา เด็กมัธยม กลายเป็นพวกใช้กำลัง ทำร้าย และฆ่า เพื่อนร่วมชั้น และปัญหาที่ประเทศชาติ มีปัญหาเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ในการทำงาน จุดที่เน้นมากจุดนึงของโรงเรียนนี้ ในการสร้างภาวะผู้นำในเด็กๆคือ เรื่อง "คุณธรรม จริยธรรม" จากการสำรวจของทางโรงเรียนในกลุ่มผปค. กลุ่มสังคม ธุรกิจ ก็พบว่า คนเก่งที่มาจากการแข่งขันนั้น ก็มีปัญหาด้านคุณธรรม และจริยธรรมมาก ความเก่ง ไม่ได้ช่วยให้มีคุณธรรมดีขึ้นเลย จุดมุ่งหมายแรกของโรงเรียน ก็คือ การเน้นด้านคุณธรรฒ การยกย่องให้เกียรติผู้อื่น การยอมรับในความแตกต่าง
โดยเฉพาะ อย่างยิ่งด้านความแตกต่างนี้ หมายถึงว่า ทั้งครู และเพื่อนนักเรียน ยอมรับว่า เด็กแต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกัน มีอัจฉรืยภาพกันคนละด้าน และต้องช่วยกัน หาอัจฉริยภาพเหล่านี้ให้เจอ เปิดโอกาสให้เด็กๆได้ทำงานร่วมกัน และรับผิดชอบกันคนละอย่าง ตามความถนัดและอัจฉรืิยภาพเหล่านั้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้พัฒนาศักยภาพเหล่านั้นให้มากที่สุด
ลองฟังบทสัมภาษณ์ ความเห็นของผปค. ที่แบ่งปันประสบการณ์และความรู้สึกที่ลูกๆเรียนที่โรงเรียนนี้ดูนะคะ รวมทั้งบทสัมภาษณ์ของครูใหญ่ด้วย เกี่ยวกับจุดยืนของครู ที่มีต่อศิษย์
http://www.youtube.com/watch?v=5DM8HQxsMVU
ห้องเรียนแห่งอนาคต (4)
เมื่อ คุณครู มิวเรียล ครูใหญ่ของโรงเรียน ได้ข้อสรุปจากการสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง ภาคธุรกิจและสังคม ของนักเรียน และของครู สิ่งแรกที่เธอทำ คือการตั้งเป้าหมายใหม่ ของโรงเรียน พันธกิจ (Mission) ของโรงเรียนนี้ ถูกทำเป็นป้ายขนาดใหญ่ คิดอยู่ที่ทางเดิิน และทั่วโรงเรียน เพื่อให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน บุคลากร รับรู้และซึมซับว่า พันธกิจของโรงเรียนนี้ คือ
Our Mission
To Develop Leaders
One Child at a Time
เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ ที่แตกต่างกันในแต่ละคน
"ทุกวันนี้ เยาวชนถูกกดดันจากสื่อและเพื่อนให้เป็นในแบบที่เขาไม่ได้ต้องการจากส่วนลึกในใจ เขาเท่ได้ก็ต่อเมื่อทำบางสิ่งที่ถูกบอกให้ทำ เขาได้รับคำชมก็ต่อเมื่อใส่เสื้อผ้าตามกระแสหรือสังสรรค์กับคนบางประเภท บางคนได้รับการยอมรับจากคะแนนสอบที่สูง เรื่องเหล่านี้ ถือเป็นการสื่อข้อความที่น่าเศร้าไปสู่เยาวชนของเรา ผมคิดว่า การปล้นความรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง และลักษณะเฉพาะตัวเป็นการปล้นอัตลักษณ์ที่เลวร้ายที่สุด"
หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน
หนังสือ "ผู้นำในตัวฉัน
หลังจากกำหนด พันธกิจหลักของโรงเรียนใหม่ โดยยึดหลักการพัฒนาภาวะผู้นำในตัวเด็ก ทีมงานของโรงเรียน ได้ช่วยกันกำหนดกรอบการพัฒนา ภาวะผู้นำให้เหมาะกับเด็ก ๕ ขวบได้ จึงกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่เด็กนักเรียนเข้าใจได้ เปรียบเสมือนเป้าหมายและการกระทำที่เด้กๆจะมุ่งเน้นและยึดถือ ดังนี้
"วิสัยทัศน์ของโรงเรียนของเราคือ เพื่อใช้ชีวิต เพื่อรัก เื่พื่อนเรียนรู้ และเพืื่อสร้างอนุสรณ์ที่เป็นตำนาน
เราใช้ชีวิตด้วยการเป็นคนที่่ดีที่สุด เท่าที่เราจะเป็นได้
เรารักผู้อื่นด้วยการเอาใจใส่
เราเรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียรที่โรงเรียนและทำทุกสิ่งให้ดีที่สุดเสมอ
เราสร้่างอนุสาวรีย์ที่เป็นตำนาน ด้วยการแบ่งปันเรื่องราวโรงเรียนของเราแก้ ผู้อื่น และพยายามสร้่างความแตกต่างในโลกใบนี้"
เราใช้ชีวิตด้วยการเป็นคนที่่ดีที่สุด เท่าที่เราจะเป็นได้
เรารักผู้อื่นด้วยการเอาใจใส่
เราเรียนรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียรที่โรงเรียนและทำทุกสิ่งให้ดีที่สุดเสมอ
เราสร้่างอนุสาวรีย์ที่เป็นตำนาน ด้วยการแบ่งปันเรื่องราวโรงเรียนของเราแก้ ผู้อื่น และพยายามสร้่างความแตกต่างในโลกใบนี้"
สิ่งที่น่าสนใจในการกระทำสองสิ่งแรก เพื่อปฎิวัติการเรียนการสอนในโรงเรียน เป็นเรือ่งน่าสนใจ ความคิดของคนเรานั้น เป็นตัวกำหนด ทิศทาง การกระทำของเรา การที่โรงเรียนนี้ มีความคิดชัดเจน เรื่องการสร้่งความแตกต่างในโลกใบนี้ จึงทำให้โรงเรียนนี้ต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อสร้่างเยาวชนที่มีคุณภาพแตกต่างไปจากเดิม แม้ว่าจะเป็นโรงเรียนเล็กๆ ในชนบทของสหรัฐอเมริกา แต่ในหลายปีต่อมา โรงเรียนนี้ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความแตกต่างให้กับระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเอง และอีกหลายประเทศทั่วโลก
แม้ว่าจะเป็นโรงเรียน โนเนม ตัวเล็กๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลง ระบบได้
การที่โรงเรียนประกาศพันธกิจและวิสัยทัศน์ออกไป ให้คนได้รับรู้ คนในองค์กรได้รับรู้ชัดเจนว่าทิศทางการบริหารของโรงเรียนจะไปในทิศทางไหน ก็จะทำให้คนไม่เปะปะ และรู้ทิศทางที่จะพัฒนาไปด้วยกัน
การที่เราคิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็แล้วแต่ การเก็บไว้ในใจคนเดียว ไม่ประกาศจุดยืน และทิศทางให้ชัด ก็ยากที่จะมีพลัง เรียกร้องกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ การประกาศออกมา จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ห้องเรียนแห่งอนาคต (3)
ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอน ทางโรงเรียนได้ทำการสำรวจความต้องการของผปค. และของสังคม เช่นภาคธุรกิจ ภาครัฐว่า ผปค.และ ภาคสังคม มีความต้องการได้เด็กที่มีคุณสมบัติเช่นไร หรือ มีความคาดหวังอย่างไรกับเด็กๆ ได้ผลมาเป็นที่น่าสนใจ
"ผู้บริหารธุรกิจทุกวันนี้ ไม่พอใจพนักงานที่จบการศึกษาปริญญาโทด้านบริหาร หรือ แม้แต่ปริญญาเอกที่พวกเขาเพิ่งจ้างมาทำงาน เพราะคนเหล่านี้ขาดทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่รู้วิธีนำเสนองานขั้นพื้นฐาน ไม่รู้วิธีปฎิบัติตนบนพื้นฐานจริยธรรม ไม่รู้วิธีบริหารเวลาหรือการเป็นคนสร้างสรรค์ ยิ่งกว่านั้น คือ ไม่รู้วิธีการสร้่างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น มีความคิดสร้างสรรค์"
"กี่ครั้งแล้วที่ผมได้ยินพ่อแม่ที่คร่ำครวญถึงลูกที่จบชั้นมัธยมปลายว่า สอบแข่งขันเข้ามหาวืทยาลัยไ้ด้คะแนนดี แต่เขากลับไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ไม่พูดสื่อความคิดเห็นของตนออกมาหรือ ไม่เคารพผู้อื่น ไม่รู้วิธีวิเคราะห์การตัดสินใจ ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่จัดลำดับความสำคัญ ไม่แก้ไขปัญหาอย่างมีวุฒิภาวะ ตลอดจนไม่วางแผนการทำงาน"
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
"กี่ครั้งแล้วที่ผมได้ยินพ่อแม่ที่คร่ำครวญถึงลูกที่จบชั้นมัธยมปลายว่า สอบแข่งขันเข้ามหาวืทยาลัยไ้ด้คะแนนดี แต่เขากลับไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ไม่พูดสื่อความคิดเห็นของตนออกมาหรือ ไม่เคารพผู้อื่น ไม่รู้วิธีวิเคราะห์การตัดสินใจ ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่จัดลำดับความสำคัญ ไม่แก้ไขปัญหาอย่างมีวุฒิภาวะ ตลอดจนไม่วางแผนการทำงาน"
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
"ไม่ว่าไปที่ไหน ผมมักได้ยินผู้ปกครองพูดถึงปัญหาเดียวกันนี้ว่า "โลกของเรากำลังเปลี่ยนแปลง ฉันต้องการให้ลูกๆของฉัน รู้เท่าทันเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่านี้ มีความสามารถด้านการตัดสินใจมากกว่านี้ และทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่นที่มีภูืมิหลังต่างกันได้ ขณะเดียวกัน ฉันต้องการให้พวกเขาเป็นคนดี ซื่อสัตย์ มีมรรยาท มีความคิดเป็นของตนเอง เคารพผู้อื่น มีวินัย และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อสังคม"
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
แต่ดูเหมือนพ่อแม่ในกทม. หลายๆครอบครัว ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ มีมรรยาทและเคารพผู้อื่น มีวินัยซะแล้ว แม้แต่การเข้าคิวก็ไม่เข้า แถมยังสอนลูกสอนหลาน และตัวเองก็แซงคิวด้วยค่ะ น่าละอายนะคะ ยังคิดล้าหลังอยู่มากทีเดียว
มาดูความคิดเห็นของนายจ้างกันบ้าง
ทักษะ 10 ประการที่นายจ้างต้องการ
- ทักษะการสื่อสาร (ทั้งการพูด และการเขียน)
- ความซื่อสัตย์ค่อตนเองและผู้อื่น
- ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
- ทักษะการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- มีแรงบันดาลใจ และมีทักษะการสร้างนวัตกรรม
- ยึดมั่นจริยธรรมสำหรับการทำงาน
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยี
-ทักษะการจัดระบบงาน
- มีึความคิดสร้างสรรค์
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
- ทักษะการสื่อสาร (ทั้งการพูด และการเขียน)
- ความซื่อสัตย์ค่อตนเองและผู้อื่น
- ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
- ทักษะการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- มีแรงบันดาลใจ และมีทักษะการสร้างนวัตกรรม
- ยึดมั่นจริยธรรมสำหรับการทำงาน
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยี
-ทักษะการจัดระบบงาน
- มีึความคิดสร้างสรรค์
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
"สิ่งแรกที่ผมพิจารณา ถ้าจะต้องจ้างพนักงาน คือ ทักษะต่างๆ ทักษะทำให้ผู้สมัครได้รับการคัดเลือกเพืื่อเข้าสัมภาษณ์ แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาได้รับเลือกเป็นพนักงาน และทำงานที่นี่ได้ตลอดไปคือ คุณลักษณะ"
-ดอนนี เลน, ผู้บริหารระดับสูง บริษัทเอเนอร์ซอลฟ์
-ดอนนี เลน, ผู้บริหารระดับสูง บริษัทเอเนอร์ซอลฟ์
อ่านเรื่องนี้แล้วก็นึกถึง เรื่องราวของสตีฟ จอบส์ ตอนที่เค้าออกจากมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่เรียนไม่จบ สารรูปก็ดูเลอะเทอะ เนื้อตัวมอมแมม สกปรก เพราะไม่อาบน้ำ และความชอบทำตัวเป็นฮิีปปี้ แต่เขาก็ได้รับเลือกใ้ห้ทำงานในบริษัทอาตาริ ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเกม ยักษ์ใหญ่ ในสหรัฐอเมริกา ด้วยทักษะ ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ของเขา เป็นที่ยอมรับ แม้ไม่มีใบปริญญา และถึงแม้เพื่อนร่วมงานจำนวนมาก จะไม่อยากทำงานกับเขา เพราะกลิ่นตัวและนิสัยส่วนตัว แต่เจ้าของบริษัทก็ให้เขาไปทำงานในกะกลางคืน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกระทบกระทั่งกับคนอื่น
จะเห็นว่า ทักษะนั้น มีความสำคัญ และจำเป็นสำหรับองค์กร มากกว่า ใบปริญญาเสียอีก
มามองความต้องการของครูกันบ้าง
แล้วเด็กๆเองก็มีความต้องการเช่นกัน
"ครูเองไม่ต้องการทำหน้าที่เพียงสักแต่ว่าสอนหนังสือ พวกเขาต้องการให้สิ่งที่สอนมีส่วนช่วยให้นักเีรียนประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ครูไม่ได้เพิกเฉยต่อสิ่งที่ผู้ปกครองและผู้นำทางธุรกิจต้องการ พวกเขาเองก็ปรารถนาในสิ่งเดียวกัน"
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
แล้วเด็กๆเองก็มีความต้องการเช่นกัน
"สิ่งที่พวกเขาต้องการจากโรงเรียน คือ การศึกษาที่ดี การได้ใช้ชีวิตกับเพื่อนๆ และสนุกสนานตามประสาเด็ก แต่สิ่งที่ต้องการเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด คือ จิตใจที่สงบ พวกเขารับรู้ได้ไวมาก ถ้าสิ่งเหล่านั้นหายไป"
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
- หนังสือ" ผู้นำในตัวฉัน" โดย Stephen R.Covey
เมื่อทางโรงเรียน A.B.Coms Elementary School ได้ ทำการสำรวจและได้ผลเช่นนี้ จึงจัดการเรียนการสอนใหม่หมด เพื่อให้การเรียนการสอนนั้น สามารถตอบสนองความต้องการของเด็ก ผปค.สังคมได้
เดี๋ยวมาต่อค่ะ แล้วจะเล่าว่า เค้าจัดการเรียนการสอนใหม่อย่างไร ที่จะตอบสนองความต้องการของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 ได้ เป็นไอเดีย เป็นแบบอย่างได้ สำหรับทั้งพ่อแม่ ที่จะนำไปพัฒนาลูก หรือ ครู หรือ รร. แม้จะอยู่ชนบท...งไกล ขาดแคลน ทรัพยากรเพียงใด ก็ไม่ใช่อุปสรรคเลย
เดี๋ยวมาต่อค่ะ แล้วจะเล่าว่า เค้าจัดการเรียนการสอนใหม่อย่างไร ที่จะตอบสนองความต้องการของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 ได้ เป็นไอเดีย เป็นแบบอย่างได้ สำหรับทั้งพ่อแม่ ที่จะนำไปพัฒนาลูก หรือ ครู หรือ รร. แม้จะอยู่ชนบท...งไกล ขาดแคลน ทรัพยากรเพียงใด ก็ไม่ใช่อุปสรรคเลย
ห้องเรียนแห่งอนาคต (2)
ในความเห็นส่วนตัว ดิฉันชอบบทความนี้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันเข้าใจเหมือนกันว่า ด้วยทรัพยากรจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนครูไม่พอ จำนวนโรงเรียน ขนาดของสถานที่ไม่เอื้ออำนวย งบประมาณไม่พร้อม ทำให้ เมืองไทย จะลดจำนวนนักเรียนต่อห้องเป็นไปได้ยาก เมื่อจำนวนนักเรียนมาก สถานที่จำกัด จึงต้องเรียนแบบ Lecture ให้ท่องจำ ทำข้อสอบ เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ต้นทุนต่ำที่สุด แม้ว่าจะได้ผลน้อยที่สุดก็ตาม
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีจัดการการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่านี้ เมื่อไม่นานนี้ ดิฉันได้อ่านหนังสือเรื่อง The Leader in me แปลเป็นภาษาไทยว่า ผู้นำในตัวฉัน ได้เล่าเรื่องของโรงเรียนประถมเล็กๆแห่งหนึ่งใน สหรัฐอเมริกา ชื่อ A.B. Coms Elementary School ที่ได้ปฎิวัติหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน เมื่อประมาณ เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา จนบัดนี้ ผลค่อนข้างชี้ชัดถึงการทรงประสิทธิภาพของระบบการเรียนแบบใหม่ เด็กที่เรียนที่นี่ มีบุคคลิกลักษณะ คุณสมบัติ ตรงความต้องการของพ่อแม่ และขององค์กรธุรกิจ และของสังคม จึงได้รับการขยายผล เป็นต้นแบบของโรงเรียนต่างๆในสหรัฐอเมริกา มาอีกหลายๆๆๆโรงเรียน รวมทั้งแพร่หลายมาในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์อีกด้วย
ก่อนเริ่มต้น ปฎิวัติวิธีการเรียนการสอน โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนเล็กๆ ที่ประสบภาวะคนมาเรียนน้อยลงทุกปี จนถูกตัดงบประมาณจากภาครัฐ และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็เชื่อว่า อาจจะต้องปิดกิจการในที่สุด ผู้บริหารของโรงเรียนจึงเดินทางไปเข้ารับการอบรมเรื่อง The 7 Habits of Highly Effective People และท่านก็มาทบทวนถึงปัญหาคุณภาพของประชากร ในสหรัฐอเมริกา ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
หลายปีก่อน สหรัฐอเมริกา เกิดโศกนาฎกรรมกับกลุ่มนักเรียนหลายครั้ง โดยที่ผู้ก่อเหตุเป็นนักเรียนในโรงเรียน หรืออาจจะเป็นคนภายนอก ได้นำอาวุธเข้าไปกราดยิง ทำร้ายผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก หลังจากการวิเคราะห์ พบว่าปัจจัยนึงทีสำคัญ คือ ระบบการศึกษา ที่เน้นแต่เรื่องการทำคะแนน การแข่งขันมากเกินไป เด็กได้รับความกดดันจากครอบครัว ผปค. เรื่องผลการเรียน หรือ ได้รับความอับอาย กดดันจากสังคม เมื่อมีปัญหาด้านการเรียน ปัญหาเหล่านี้ เป็นที่มาของปัญหาเรื้อรังหลายเรื่องของสังคม เช่น การติดยา ติดเซ็กส์ การทำตัวเกกมะเรก ก้าวร้าว แก็งก์ และอาชญากรรมอื่นๆ
ประกอบกับหลายปีมานี้ เด็กอเมริกัน มีความหลงระเริง กับความเป็นประเทศมหาอำนาจ วัตถุนิยม และค่านิยมของโลกเสรีนิยม ทำใ้ห้เด็กอเมริกัน มีความเห็นแก่ตัว ระบบการแข่งขัน ทำให้เด็กมีนิสัยตัวใครตัวมัน ไม่สามารถทำงานเป็นทีมเวิร์ค การมุ่งหน้าท่องตำรา เพื่อการสอบแข่งขัน การติดเกม ติดเนต ทำให้ทักษะด้านการสื่อสาร การ พรีเซ้นต์ การฟังคนอื่น การพูด มีปัญหา ซึ่งเมื่่ออกมาทำงานในองค์กรธุรกิจ และองค์กรต่างๆ ก็สร้างปัญหาให้องค์กร ค่าแรงที่แพง ในขณะที่ความสามารถต่ำ ทำให้ธุรกิจอเมริกัน สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับทางเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กับญี่ปุ่นและจีน
ประกอบกับหลายปีมานี้ เด็กอเมริกัน มีความหลงระเริง กับความเป็นประเทศมหาอำนาจ วัตถุนิยม และค่านิยมของโลกเสรีนิยม ทำใ้ห้เด็กอเมริกัน มีความเห็นแก่ตัว ระบบการแข่งขัน ทำให้เด็กมีนิสัยตัวใครตัวมัน ไม่สามารถทำงานเป็นทีมเวิร์ค การมุ่งหน้าท่องตำรา เพื่อการสอบแข่งขัน การติดเกม ติดเนต ทำให้ทักษะด้านการสื่อสาร การ พรีเซ้นต์ การฟังคนอื่น การพูด มีปัญหา ซึ่งเมื่่ออกมาทำงานในองค์กรธุรกิจ และองค์กรต่างๆ ก็สร้างปัญหาให้องค์กร ค่าแรงที่แพง ในขณะที่ความสามารถต่ำ ทำให้ธุรกิจอเมริกัน สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับทางเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กับญี่ปุ่นและจีน
ห้องเรียนแห่งอนาคต (1)
เด็กไทย กับ แรงบันดาลใจ
เมื่อตอนที่ผมเป็นเด็กห้าหกขวบ อาชีพในฝันของผมคือ กระเป๋ารถเมล์
ผมอยากเป็น กระเป๋ารถเมล์จริงๆ ครับ
ผมเห็นกระเป๋ารถเมล์ ใส่ชุดเท่ๆ มีอำนาจในการสั่งผู้โดยสารให้เดินหน้า-ถอยหลัง
สั่งให้คนขับจอดรับผู้โดยสาร
และยังมีหน้าที่เก็บเงิน
เวลาผมขึ้นรถเมล์ มีกระเป๋าใจดีบางคนเห็นว่าเราเป็นเด็กก็จะไม่เก็บค่าโดยสาร
ผมเลยตั้งใจว่า โตขึ้นจะเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่ไม่เก็บค่าโดยสารเด็กๆ
ผมว่าเด็กๆ ทุกคนมีความฝัน มีจินตนาการ และมีความคิดสร้างสรรค์ครับ
เด็กหัวเราะง่าย มีความสุขง่าย
ไม่อายไม่เขินที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
เวลาเล่นอะไรก็ดูจริงจังกับเรื่องสมมุติ
เกมส์หนึ่งที่ผมชอบเล่นคือ เล่นเป็นผี
คนที่เป็นผี ก็คือคนที่เอาถุงกระดาษใส่หัว แล้ววิ่งไล่จับคนอื่นๆ
แค่ถุงกระดาษใบเดียว ทำให้เด็กทุกคน วิ่งหนีผีกันสุดชีวิต ไม่กลัวล้ม ไม่กลัวเจ็บ
เรากลัวผีจับเราน่ะครับ
จินตนาการวัยเด็ก นี่สุดยอดจริงๆ
แล้วความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ก็ค่อยๆ หายไป
ผมไปโรงเรียน และเริ่มเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ
ผมชอบโรงเรียนเพราะได้เจอเพื่อนๆ ได้เล่นสนุกกับเพื่อน
แต่ผมเบื่อกับกฏระเบียบมากมายที่โรงเรียนกำหนด
บางอย่างก็ดูมีเหตุผล เช่นการให้มาโรงเรียนตรงเวลา
การต้องรับผิดชอบส่งการบ้านตรงเวลา
แต่บางอย่างดูไร้เหตุผล เช่นการบังคับในเรื่องส่วนตัวผม เช่นการต้องตัดผมสั้น
ห้องเรียนน่าอึดอัดมากสำหรับเด็กแทบทุกคน
เราไม่มีโอกาสได้สนุกในห้องเรียน
อย่าว่าแต่เล่นอะไรๆ ตามจินตนาการของพวกเราเลย แม้แต่พูดคุยกัน เรายังถูกห้าม
ห้ามคุยกันในห้องเรียน
ผมไม่เข้าใจ ทำไมต้องห้ามผมพูด ห้ามลุกเดินไปมา
เราไม่ใช่รูปปั้นหรือต้นไม้ ที่จะได้อยู่นิ่งๆ นั่งเงียบๆ ตลอดเวลา
ธรรมชาติของเด็กๆ เวลาคิดอะไรก็อยากพูด อยากคุย อยากแสดงออก
ห้ามคุยเวลาครูสอนผมพอรับได้ แต่ห้ามตลอดเวลานั่นมันฝืนธรรมชาติครับ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีครูบางท่าน เวลาออกจากห้อง ยังกลัวเด็กจะคุยกัน
ก็จะสั่งให้อ่านหนังสือ หรือทำอะไรสักอย่างนิ่งๆ เงียบๆ (ไม่เคยลืมที่จะให้เด็กอยู่เงียบๆ)
แล้วสั่งให้หัวหน้าห้องคอยจดชื่อคนคุย
หรือแม้แต่คนลุกออกจากที่นั่ง ก็จะโดนจดชื่อ เพื่อครูจะกลับมาลงโทษ
เด็กจะได้พูดก็เมื่อครูให้พูด และพูดได้เฉพาะที่ครูอยากจะฟังเท่านั้น
ส่วนการเรียนการสอน
ก็จะเน้นให้เราท่อง เราจำ
ห้ามตอบคำถามนอกเหนือจากที่ครูเตรียมไว้ด้วย
เวลาที่มีความสุขที่สุดของเด็กๆ คือเวลาเลิกเรียน หรือเวลาพักกลางวัน
วันที่เรามีความสุขที่สุดคือวันหยุด และปิดเทอม
คำพูดครูที่เรามีความสุขที่สุดคือ
วันนี้งดสอน!
ข้อสอบ ที่ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กท่องตำรามาสอบ
เราเห็นได้ทั่วไปจนเป็นเรื่องปกติ เช่น
ภาคใต้ปลูกอะไร (ใจดีมี choice ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่เลือก)
ก. ยางพารา
ข. ข้าว
ค. ถูกทุกข้อ
เด็กทุกคนต้องตอบเอาใจครูว่า ก. ยางพารา เพื่อให้ได้คะแนน
สมมุติบ้านผมอยู่ภาคใต้ แล้วบ้านผมปลูกข้าว ผมก็ตอบข้อ ข.
ผมจะไม่ได้คะแนน และกลายเป็นเด็กไม่เก่ง
เด็กของเรามากมายถูกหาว่าเป็นคนโง่
เพียงแค่เขามีความคิดของตนเอง และตอบไม่ตรงกับเฉลย
เด็กของเรามากมายที่เก่งและฉลาดแต่ถูกหาว่าเป็นเด็กเกเร
เพียงเพราะเขาไม่สนใจในวิชาที่เราบังคับให้เขาเรียน
ผู้ปกครองมากมายที่ห่วงใยว่าเกรดเฉลี่ยลูกจะได้น้อยจะสู้คนอื่นไม่ได้
ทั้งๆ ที่ความจริงเขาอาจเก่งในบางวิชา และเขาก็ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกวิชา
การเรียนเพื่อการแข่งขัน มันคงไม่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จและมีความสุขหรอกครับ
การเรียนการสอนแบบนี้ ยังคงมีอยู่ ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
เราอยากให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์
เราอยากให้บัณฑิตของเรา คิดเป็น และสื่อสารได้
เพราะนั่นคือความจำเป็นในชีวิตและการทำงาน
แต่เรายังทำการเรียนการสอนเป็นเหมือนเครื่องมือวัดความจำ
เราอยากให้เด็กของเรามีวิสัยทัศน์
แต่มันคงเป็นไปไม่ได้
ถ้าต้องเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มเดิม 3-4 รอบแทนที่จะเอาเวลาไปอ่านหนังสือ 3-4 เล่ม
นิสิตนักศึกษาของเรายังต้องท่องหนังสือเพื่อสอบ
ดังนั้น อะไรที่ไม่มีในตำรา ไม่ออกข้อสอบ พวกเราจะมักจะไม่สนใจ
แล้วเขาจะจบมาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในสังคมอนาคตได้อย่างไร
สังคมวันนี้มันต่างไปจากเดิมมาก
ความรู้ ก็เปลี่ยนไปเร็ว
สิ่งที่เราเรียน เราท่อง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็เปลี่ยนแล้วครับ
ความรู้วันนี้มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องยึด แต่เราเรียนเพื่อให้รู้จักคิด
ต้องคิด และฝึกฝนนิสัยที่จะค้นคว้า
การค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพื่อหาสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม
และนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ (Best practice) นั่นคือสิ่งที่สำคัญต่ออาชีพการงานในอนาคต
3 ปีมานี้ ผมได้รับเชิญไปบรรยายในเรื่อง การสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสร้างสรรค์
เพื่อให้ครู อาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการสอน
ทั้งจากหน่วยงานต่างๆ จากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
แต่ความเปลี่ยนแปลงยังมีน้อยมาก
ปัญหาของโรงเรียนคือ การที่โรงเรียนยิ่งดังยิ่งรับนักเรียนเยอะ
หลายโรงเรียน มีนักเรียนห้องละมากกว่า 50 คน
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกให้เด็ก สื่อสาร ฝึกการนำเสนอ และฝึกให้คิด
อาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต้องตรวจข้อสอบ 500 - 600 คน
ข้อสอบที่เหมาะสมก็ต้องเป็นข้อสอบแบบจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
การวัดผลแบบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นไปไม่ได้เลย
ผมคิดว่าสิ่งที่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องรีบทำในวันนี้คือ
การค้นหาศักยภาพของเด็ก เขามีความถนัดทางไหน เขาเหมาะที่จะเรียนทางใด
และการส่งเสริมวิสัยทัศน์ ให้เขาเห็นโลกกว้าง เพื่อให้เขามีแรงบันดาลใจ
ถ้าเขาได้เดินในทางที่เขาถนัด และถ้าเขามีแรงบันดาลใจ
เราแทบไม่ต้องสอนอะไรมากมาย
เพราะการค้นคว้าหาความรู้ทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ห้องเรียนแห่งอนาคต
ห้องเรียนแห่งอนาคต หรือห้องเรียนในฝันของผม
มีเป้าหมาย ให้คน “คิดเป็น” และ “คิดอย่างสร้างสรรค์”
เพื่อที่จะสร้าง "แรงบันดาลใจ” นำไปสู่ "เป้าหมาย”
ห้องเรียนแห่งอนาคตต้องไม่นำเอาหลักสูตร วิชาเรียน หรือ ครู เป็นศูนย์กลาง
แต่จะให้นักเรียน เป็นศูนย์กลาง
ห้องเรียนที่ มีเสียงหัวเราะ สนุก และสร้างแรงบันดาลใจ
จะทำให้เด็กปลดปล่อยพลัง และศักยภาพของเขา
การสอนในขณะที่เขาไม่อยากรู้ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ครับ เสียเวลาเปล่าๆ
เมื่อใดก็ตามที่เขามีคำถาม นั่นคือนาทีทอง
นั่นคือเวลาที่ เราจะสอน
เพราะสมองและจิตใจเขาพร้อม หูตาเขาเปิดที่จะรับมัน
ห้องเรียนนี้ จะใช้เทคโนโลยี มากระตุ้น ความอยากรู้อยากเห็น
เด็กจะได้ค้นคว้า และนำเสนอผลงานอย่างเต็มที่ทุกคน
เพราะเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน
เด็กจะถูกฝึกให้คิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนการใช้เครื่องมือ ไอแพด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
แหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ฯลฯ เพื่อค้นคว้าและเรียนรู้
เขาจะเห็นคุณค่าของการค้นคว้า เพราะสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ในห้องเรียนทุกอย่างนั้นนำมาใช้ได้จริง
เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาจริง
เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ได้คุยกับเพื่อน ได้แสดงออก ได้คิดสร้างสรรค์
เขาจะเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เรียนเพื่อแข่งกับใคร
เพราะเขาจะเข้าใจว่า ความสำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องได้มาจากการชนะ
นอกจากการฝึก คิด ฝึกค้นคว้าและ เพิ่มทักษะการสื่อสาร แล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ๆ เราจะต้องสังเกต ทดสอบ และค้นหา ศักยภาพของเด็ก
ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพ มีพรสวรรค์อยู่ในตัวเอง
ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่เรียนจนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร
ควรจะเรียนต่อทางไหน
เพราะเรายังไม่มีระบบที่จริงจังในการค้นหาและประเมินความถนัด ความสามารถของเด็กเลย
ผมรอห้องเรียนอย่างนี้มานาน
และวันนี้ ห้องเรียนแห่งอนาคต ได้เกิดขึ้นมาแล้วครับ
ผมพัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคตโดยความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักการศึกษา
เช่น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์, รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา, ดร.อานันท์ (โรเจอร์) สีห์พิทักษ์เกียรติ จาก MIT
และอีกหลายท่าน
สิ่งที่ช่วยทำให้ผมมั่นใจในระบบห้องเรียนแห่งอนาคตนี้มากขึ้น
คือ ความพอใจและคำขอบคุณจาก นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้มาเรียน
และการติดต่อขอดูงานจากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หวังว่า ห้องเรียนแห่งอนาคต นี้จะช่วยให้เยาวชนของเรา คิดสร้างสรรค์ สื่อสารได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข
และประสบความสำเร็จในแนวทางของตนเอง
ที่มา
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
เด็กไทย กับ แรงบันดาลใจ
เมื่อตอนที่ผมเป็นเด็กห้าหกขวบ อาชีพในฝันของผมคือ กระเป๋ารถเมล์
ผมอยากเป็น กระเป๋ารถเมล์จริงๆ ครับ
ผมเห็นกระเป๋ารถเมล์ ใส่ชุดเท่ๆ มีอำนาจในการสั่งผู้โดยสารให้เดินหน้า-ถอยหลัง
สั่งให้คนขับจอดรับผู้โดยสาร
และยังมีหน้าที่เก็บเงิน
เวลาผมขึ้นรถเมล์ มีกระเป๋าใจดีบางคนเห็นว่าเราเป็นเด็กก็จะไม่เก็บค่าโดยสาร
ผมเลยตั้งใจว่า โตขึ้นจะเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่ไม่เก็บค่าโดยสารเด็กๆ
ผมว่าเด็กๆ ทุกคนมีความฝัน มีจินตนาการ และมีความคิดสร้างสรรค์ครับ
เด็กหัวเราะง่าย มีความสุขง่าย
ไม่อายไม่เขินที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
เวลาเล่นอะไรก็ดูจริงจังกับเรื่องสมมุติ
เกมส์หนึ่งที่ผมชอบเล่นคือ เล่นเป็นผี
คนที่เป็นผี ก็คือคนที่เอาถุงกระดาษใส่หัว แล้ววิ่งไล่จับคนอื่นๆ
แค่ถุงกระดาษใบเดียว ทำให้เด็กทุกคน วิ่งหนีผีกันสุดชีวิต ไม่กลัวล้ม ไม่กลัวเจ็บ
เรากลัวผีจับเราน่ะครับ
จินตนาการวัยเด็ก นี่สุดยอดจริงๆ
แล้วความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ก็ค่อยๆ หายไป
ผมไปโรงเรียน และเริ่มเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ
ผมชอบโรงเรียนเพราะได้เจอเพื่อนๆ ได้เล่นสนุกกับเพื่อน
แต่ผมเบื่อกับกฏระเบียบมากมายที่โรงเรียนกำหนด
บางอย่างก็ดูมีเหตุผล เช่นการให้มาโรงเรียนตรงเวลา
การต้องรับผิดชอบส่งการบ้านตรงเวลา
แต่บางอย่างดูไร้เหตุผล เช่นการบังคับในเรื่องส่วนตัวผม เช่นการต้องตัดผมสั้น
ห้องเรียนน่าอึดอัดมากสำหรับเด็กแทบทุกคน
เราไม่มีโอกาสได้สนุกในห้องเรียน
อย่าว่าแต่เล่นอะไรๆ ตามจินตนาการของพวกเราเลย แม้แต่พูดคุยกัน เรายังถูกห้าม
ห้ามคุยกันในห้องเรียน
ผมไม่เข้าใจ ทำไมต้องห้ามผมพูด ห้ามลุกเดินไปมา
เราไม่ใช่รูปปั้นหรือต้นไม้ ที่จะได้อยู่นิ่งๆ นั่งเงียบๆ ตลอดเวลา
ธรรมชาติของเด็กๆ เวลาคิดอะไรก็อยากพูด อยากคุย อยากแสดงออก
ห้ามคุยเวลาครูสอนผมพอรับได้ แต่ห้ามตลอดเวลานั่นมันฝืนธรรมชาติครับ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีครูบางท่าน เวลาออกจากห้อง ยังกลัวเด็กจะคุยกัน
ก็จะสั่งให้อ่านหนังสือ หรือทำอะไรสักอย่างนิ่งๆ เงียบๆ (ไม่เคยลืมที่จะให้เด็กอยู่เงียบๆ)
แล้วสั่งให้หัวหน้าห้องคอยจดชื่อคนคุย
หรือแม้แต่คนลุกออกจากที่นั่ง ก็จะโดนจดชื่อ เพื่อครูจะกลับมาลงโทษ
เด็กจะได้พูดก็เมื่อครูให้พูด และพูดได้เฉพาะที่ครูอยากจะฟังเท่านั้น
ส่วนการเรียนการสอน
ก็จะเน้นให้เราท่อง เราจำ
ห้ามตอบคำถามนอกเหนือจากที่ครูเตรียมไว้ด้วย
เวลาที่มีความสุขที่สุดของเด็กๆ คือเวลาเลิกเรียน หรือเวลาพักกลางวัน
วันที่เรามีความสุขที่สุดคือวันหยุด และปิดเทอม
คำพูดครูที่เรามีความสุขที่สุดคือ
วันนี้งดสอน!
ข้อสอบ ที่ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กท่องตำรามาสอบ
เราเห็นได้ทั่วไปจนเป็นเรื่องปกติ เช่น
ภาคใต้ปลูกอะไร (ใจดีมี choice ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่เลือก)
ก. ยางพารา
ข. ข้าว
ค. ถูกทุกข้อ
เด็กทุกคนต้องตอบเอาใจครูว่า ก. ยางพารา เพื่อให้ได้คะแนน
สมมุติบ้านผมอยู่ภาคใต้ แล้วบ้านผมปลูกข้าว ผมก็ตอบข้อ ข.
ผมจะไม่ได้คะแนน และกลายเป็นเด็กไม่เก่ง
เด็กของเรามากมายถูกหาว่าเป็นคนโง่
เพียงแค่เขามีความคิดของตนเอง และตอบไม่ตรงกับเฉลย
เด็กของเรามากมายที่เก่งและฉลาดแต่ถูกหาว่าเป็นเด็กเกเร
เพียงเพราะเขาไม่สนใจในวิชาที่เราบังคับให้เขาเรียน
ผู้ปกครองมากมายที่ห่วงใยว่าเกรดเฉลี่ยลูกจะได้น้อยจะสู้คนอื่นไม่ได้
ทั้งๆ ที่ความจริงเขาอาจเก่งในบางวิชา และเขาก็ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกวิชา
การเรียนเพื่อการแข่งขัน มันคงไม่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จและมีความสุขหรอกครับ
การเรียนการสอนแบบนี้ ยังคงมีอยู่ ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
เราอยากให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์
เราอยากให้บัณฑิตของเรา คิดเป็น และสื่อสารได้
เพราะนั่นคือความจำเป็นในชีวิตและการทำงาน
แต่เรายังทำการเรียนการสอนเป็นเหมือนเครื่องมือวัดความจำ
เราอยากให้เด็กของเรามีวิสัยทัศน์
แต่มันคงเป็นไปไม่ได้
ถ้าต้องเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มเดิม 3-4 รอบแทนที่จะเอาเวลาไปอ่านหนังสือ 3-4 เล่ม
นิสิตนักศึกษาของเรายังต้องท่องหนังสือเพื่อสอบ
ดังนั้น อะไรที่ไม่มีในตำรา ไม่ออกข้อสอบ พวกเราจะมักจะไม่สนใจ
แล้วเขาจะจบมาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในสังคมอนาคตได้อย่างไร
สังคมวันนี้มันต่างไปจากเดิมมาก
ความรู้ ก็เปลี่ยนไปเร็ว
สิ่งที่เราเรียน เราท่อง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็เปลี่ยนแล้วครับ
ความรู้วันนี้มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องยึด แต่เราเรียนเพื่อให้รู้จักคิด
ต้องคิด และฝึกฝนนิสัยที่จะค้นคว้า
การค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพื่อหาสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม
และนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ (Best practice) นั่นคือสิ่งที่สำคัญต่ออาชีพการงานในอนาคต
3 ปีมานี้ ผมได้รับเชิญไปบรรยายในเรื่อง การสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสร้างสรรค์
เพื่อให้ครู อาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการสอน
ทั้งจากหน่วยงานต่างๆ จากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
แต่ความเปลี่ยนแปลงยังมีน้อยมาก
ปัญหาของโรงเรียนคือ การที่โรงเรียนยิ่งดังยิ่งรับนักเรียนเยอะ
หลายโรงเรียน มีนักเรียนห้องละมากกว่า 50 คน
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกให้เด็ก สื่อสาร ฝึกการนำเสนอ และฝึกให้คิด
อาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต้องตรวจข้อสอบ 500 - 600 คน
ข้อสอบที่เหมาะสมก็ต้องเป็นข้อสอบแบบจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
การวัดผลแบบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นไปไม่ได้เลย
ผมคิดว่าสิ่งที่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องรีบทำในวันนี้คือ
การค้นหาศักยภาพของเด็ก เขามีความถนัดทางไหน เขาเหมาะที่จะเรียนทางใด
และการส่งเสริมวิสัยทัศน์ ให้เขาเห็นโลกกว้าง เพื่อให้เขามีแรงบันดาลใจ
ถ้าเขาได้เดินในทางที่เขาถนัด และถ้าเขามีแรงบันดาลใจ
เราแทบไม่ต้องสอนอะไรมากมาย
เพราะการค้นคว้าหาความรู้ทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ห้องเรียนแห่งอนาคต
ห้องเรียนแห่งอนาคต หรือห้องเรียนในฝันของผม
มีเป้าหมาย ให้คน “คิดเป็น” และ “คิดอย่างสร้างสรรค์”
เพื่อที่จะสร้าง "แรงบันดาลใจ” นำไปสู่ "เป้าหมาย”
ห้องเรียนแห่งอนาคตต้องไม่นำเอาหลักสูตร วิชาเรียน หรือ ครู เป็นศูนย์กลาง
แต่จะให้นักเรียน เป็นศูนย์กลาง
ห้องเรียนที่ มีเสียงหัวเราะ สนุก และสร้างแรงบันดาลใจ
จะทำให้เด็กปลดปล่อยพลัง และศักยภาพของเขา
การสอนในขณะที่เขาไม่อยากรู้ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ครับ เสียเวลาเปล่าๆ
เมื่อใดก็ตามที่เขามีคำถาม นั่นคือนาทีทอง
นั่นคือเวลาที่ เราจะสอน
เพราะสมองและจิตใจเขาพร้อม หูตาเขาเปิดที่จะรับมัน
ห้องเรียนนี้ จะใช้เทคโนโลยี มากระตุ้น ความอยากรู้อยากเห็น
เด็กจะได้ค้นคว้า และนำเสนอผลงานอย่างเต็มที่ทุกคน
เพราะเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน
เด็กจะถูกฝึกให้คิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนการใช้เครื่องมือ ไอแพด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
แหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ฯลฯ เพื่อค้นคว้าและเรียนรู้
เขาจะเห็นคุณค่าของการค้นคว้า เพราะสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ในห้องเรียนทุกอย่างนั้นนำมาใช้ได้จริง
เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาจริง
เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ได้คุยกับเพื่อน ได้แสดงออก ได้คิดสร้างสรรค์
เขาจะเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เรียนเพื่อแข่งกับใคร
เพราะเขาจะเข้าใจว่า ความสำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องได้มาจากการชนะ
นอกจากการฝึก คิด ฝึกค้นคว้าและ เพิ่มทักษะการสื่อสาร แล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ๆ เราจะต้องสังเกต ทดสอบ และค้นหา ศักยภาพของเด็ก
ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพ มีพรสวรรค์อยู่ในตัวเอง
ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่เรียนจนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร
ควรจะเรียนต่อทางไหน
เพราะเรายังไม่มีระบบที่จริงจังในการค้นหาและประเมินความถนัด ความสามารถของเด็กเลย
ผมรอห้องเรียนอย่างนี้มานาน
และวันนี้ ห้องเรียนแห่งอนาคต ได้เกิดขึ้นมาแล้วครับ
ผมพัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคตโดยความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักการศึกษา
เช่น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์, รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา, ดร.อานันท์ (โรเจอร์) สีห์พิทักษ์เกียรติ จาก MIT
และอีกหลายท่าน
สิ่งที่ช่วยทำให้ผมมั่นใจในระบบห้องเรียนแห่งอนาคตนี้มากขึ้น
คือ ความพอใจและคำขอบคุณจาก นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้มาเรียน
และการติดต่อขอดูงานจากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หวังว่า ห้องเรียนแห่งอนาคต นี้จะช่วยให้เยาวชนของเรา คิดสร้างสรรค์ สื่อสารได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข
และประสบความสำเร็จในแนวทางของตนเอง
เมื่อตอนที่ผมเป็นเด็กห้าหกขวบ อาชีพในฝันของผมคือ กระเป๋ารถเมล์
ผมอยากเป็น กระเป๋ารถเมล์จริงๆ ครับ
ผมเห็นกระเป๋ารถเมล์ ใส่ชุดเท่ๆ มีอำนาจในการสั่งผู้โดยสารให้เดินหน้า-ถอยหลัง
สั่งให้คนขับจอดรับผู้โดยสาร
และยังมีหน้าที่เก็บเงิน
เวลาผมขึ้นรถเมล์ มีกระเป๋าใจดีบางคนเห็นว่าเราเป็นเด็กก็จะไม่เก็บค่าโดยสาร
ผมเลยตั้งใจว่า โตขึ้นจะเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่ไม่เก็บค่าโดยสารเด็กๆ
ผมว่าเด็กๆ ทุกคนมีความฝัน มีจินตนาการ และมีความคิดสร้างสรรค์ครับ
เด็กหัวเราะง่าย มีความสุขง่าย
ไม่อายไม่เขินที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
เวลาเล่นอะไรก็ดูจริงจังกับเรื่องสมมุติ
เกมส์หนึ่งที่ผมชอบเล่นคือ เล่นเป็นผี
คนที่เป็นผี ก็คือคนที่เอาถุงกระดาษใส่หัว แล้ววิ่งไล่จับคนอื่นๆ
แค่ถุงกระดาษใบเดียว ทำให้เด็กทุกคน วิ่งหนีผีกันสุดชีวิต ไม่กลัวล้ม ไม่กลัวเจ็บ
เรากลัวผีจับเราน่ะครับ
จินตนาการวัยเด็ก นี่สุดยอดจริงๆ
แล้วความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ก็ค่อยๆ หายไป
ผมไปโรงเรียน และเริ่มเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ
ผมชอบโรงเรียนเพราะได้เจอเพื่อนๆ ได้เล่นสนุกกับเพื่อน
แต่ผมเบื่อกับกฏระเบียบมากมายที่โรงเรียนกำหนด
บางอย่างก็ดูมีเหตุผล เช่นการให้มาโรงเรียนตรงเวลา
การต้องรับผิดชอบส่งการบ้านตรงเวลา
แต่บางอย่างดูไร้เหตุผล เช่นการบังคับในเรื่องส่วนตัวผม เช่นการต้องตัดผมสั้น
ห้องเรียนน่าอึดอัดมากสำหรับเด็กแทบทุกคน
เราไม่มีโอกาสได้สนุกในห้องเรียน
อย่าว่าแต่เล่นอะไรๆ ตามจินตนาการของพวกเราเลย แม้แต่พูดคุยกัน เรายังถูกห้าม
ห้ามคุยกันในห้องเรียน
ผมไม่เข้าใจ ทำไมต้องห้ามผมพูด ห้ามลุกเดินไปมา
เราไม่ใช่รูปปั้นหรือต้นไม้ ที่จะได้อยู่นิ่งๆ นั่งเงียบๆ ตลอดเวลา
ธรรมชาติของเด็กๆ เวลาคิดอะไรก็อยากพูด อยากคุย อยากแสดงออก
ห้ามคุยเวลาครูสอนผมพอรับได้ แต่ห้ามตลอดเวลานั่นมันฝืนธรรมชาติครับ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีครูบางท่าน เวลาออกจากห้อง ยังกลัวเด็กจะคุยกัน
ก็จะสั่งให้อ่านหนังสือ หรือทำอะไรสักอย่างนิ่งๆ เงียบๆ (ไม่เคยลืมที่จะให้เด็กอยู่เงียบๆ)
แล้วสั่งให้หัวหน้าห้องคอยจดชื่อคนคุย
หรือแม้แต่คนลุกออกจากที่นั่ง ก็จะโดนจดชื่อ เพื่อครูจะกลับมาลงโทษ
เด็กจะได้พูดก็เมื่อครูให้พูด และพูดได้เฉพาะที่ครูอยากจะฟังเท่านั้น
ส่วนการเรียนการสอน
ก็จะเน้นให้เราท่อง เราจำ
ห้ามตอบคำถามนอกเหนือจากที่ครูเตรียมไว้ด้วย
เวลาที่มีความสุขที่สุดของเด็กๆ คือเวลาเลิกเรียน หรือเวลาพักกลางวัน
วันที่เรามีความสุขที่สุดคือวันหยุด และปิดเทอม
คำพูดครูที่เรามีความสุขที่สุดคือ
วันนี้งดสอน!
ข้อสอบ ที่ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กท่องตำรามาสอบ
เราเห็นได้ทั่วไปจนเป็นเรื่องปกติ เช่น
ภาคใต้ปลูกอะไร (ใจดีมี choice ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่เลือก)
ก. ยางพารา
ข. ข้าว
ค. ถูกทุกข้อ
เด็กทุกคนต้องตอบเอาใจครูว่า ก. ยางพารา เพื่อให้ได้คะแนน
สมมุติบ้านผมอยู่ภาคใต้ แล้วบ้านผมปลูกข้าว ผมก็ตอบข้อ ข.
ผมจะไม่ได้คะแนน และกลายเป็นเด็กไม่เก่ง
เด็กของเรามากมายถูกหาว่าเป็นคนโง่
เพียงแค่เขามีความคิดของตนเอง และตอบไม่ตรงกับเฉลย
เด็กของเรามากมายที่เก่งและฉลาดแต่ถูกหาว่าเป็นเด็กเกเร
เพียงเพราะเขาไม่สนใจในวิชาที่เราบังคับให้เขาเรียน
ผู้ปกครองมากมายที่ห่วงใยว่าเกรดเฉลี่ยลูกจะได้น้อยจะสู้คนอื่นไม่ได้
ทั้งๆ ที่ความจริงเขาอาจเก่งในบางวิชา และเขาก็ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกวิชา
การเรียนเพื่อการแข่งขัน มันคงไม่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จและมีความสุขหรอกครับ
การเรียนการสอนแบบนี้ ยังคงมีอยู่ ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
เราอยากให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์
เราอยากให้บัณฑิตของเรา คิดเป็น และสื่อสารได้
เพราะนั่นคือความจำเป็นในชีวิตและการทำงาน
แต่เรายังทำการเรียนการสอนเป็นเหมือนเครื่องมือวัดความจำ
เราอยากให้เด็กของเรามีวิสัยทัศน์
แต่มันคงเป็นไปไม่ได้
ถ้าต้องเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มเดิม 3-4 รอบแทนที่จะเอาเวลาไปอ่านหนังสือ 3-4 เล่ม
นิสิตนักศึกษาของเรายังต้องท่องหนังสือเพื่อสอบ
ดังนั้น อะไรที่ไม่มีในตำรา ไม่ออกข้อสอบ พวกเราจะมักจะไม่สนใจ
แล้วเขาจะจบมาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในสังคมอนาคตได้อย่างไร
สังคมวันนี้มันต่างไปจากเดิมมาก
ความรู้ ก็เปลี่ยนไปเร็ว
สิ่งที่เราเรียน เราท่อง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็เปลี่ยนแล้วครับ
ความรู้วันนี้มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องยึด แต่เราเรียนเพื่อให้รู้จักคิด
ต้องคิด และฝึกฝนนิสัยที่จะค้นคว้า
การค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพื่อหาสิ่งที่ดี ที่เหมาะสม
และนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ (Best practice) นั่นคือสิ่งที่สำคัญต่ออาชีพการงานในอนาคต
3 ปีมานี้ ผมได้รับเชิญไปบรรยายในเรื่อง การสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสร้างสรรค์
เพื่อให้ครู อาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการสอน
ทั้งจากหน่วยงานต่างๆ จากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
แต่ความเปลี่ยนแปลงยังมีน้อยมาก
ปัญหาของโรงเรียนคือ การที่โรงเรียนยิ่งดังยิ่งรับนักเรียนเยอะ
หลายโรงเรียน มีนักเรียนห้องละมากกว่า 50 คน
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกให้เด็ก สื่อสาร ฝึกการนำเสนอ และฝึกให้คิด
อาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน ต้องตรวจข้อสอบ 500 - 600 คน
ข้อสอบที่เหมาะสมก็ต้องเป็นข้อสอบแบบจงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
การวัดผลแบบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นไปไม่ได้เลย
ผมคิดว่าสิ่งที่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องรีบทำในวันนี้คือ
การค้นหาศักยภาพของเด็ก เขามีความถนัดทางไหน เขาเหมาะที่จะเรียนทางใด
และการส่งเสริมวิสัยทัศน์ ให้เขาเห็นโลกกว้าง เพื่อให้เขามีแรงบันดาลใจ
ถ้าเขาได้เดินในทางที่เขาถนัด และถ้าเขามีแรงบันดาลใจ
เราแทบไม่ต้องสอนอะไรมากมาย
เพราะการค้นคว้าหาความรู้ทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
ห้องเรียนแห่งอนาคต
ห้องเรียนแห่งอนาคต หรือห้องเรียนในฝันของผม
มีเป้าหมาย ให้คน “คิดเป็น” และ “คิดอย่างสร้างสรรค์”
เพื่อที่จะสร้าง "แรงบันดาลใจ” นำไปสู่ "เป้าหมาย”
ห้องเรียนแห่งอนาคตต้องไม่นำเอาหลักสูตร วิชาเรียน หรือ ครู เป็นศูนย์กลาง
แต่จะให้นักเรียน เป็นศูนย์กลาง
ห้องเรียนที่ มีเสียงหัวเราะ สนุก และสร้างแรงบันดาลใจ
จะทำให้เด็กปลดปล่อยพลัง และศักยภาพของเขา
การสอนในขณะที่เขาไม่อยากรู้ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ครับ เสียเวลาเปล่าๆ
เมื่อใดก็ตามที่เขามีคำถาม นั่นคือนาทีทอง
นั่นคือเวลาที่ เราจะสอน
เพราะสมองและจิตใจเขาพร้อม หูตาเขาเปิดที่จะรับมัน
ห้องเรียนนี้ จะใช้เทคโนโลยี มากระตุ้น ความอยากรู้อยากเห็น
เด็กจะได้ค้นคว้า และนำเสนอผลงานอย่างเต็มที่ทุกคน
เพราะเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน
เด็กจะถูกฝึกให้คิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนการใช้เครื่องมือ ไอแพด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
แหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ฯลฯ เพื่อค้นคว้าและเรียนรู้
เขาจะเห็นคุณค่าของการค้นคว้า เพราะสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ในห้องเรียนทุกอย่างนั้นนำมาใช้ได้จริง
เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาจริง
เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ได้คุยกับเพื่อน ได้แสดงออก ได้คิดสร้างสรรค์
เขาจะเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เรียนเพื่อแข่งกับใคร
เพราะเขาจะเข้าใจว่า ความสำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องได้มาจากการชนะ
นอกจากการฝึก คิด ฝึกค้นคว้าและ เพิ่มทักษะการสื่อสาร แล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ๆ เราจะต้องสังเกต ทดสอบ และค้นหา ศักยภาพของเด็ก
ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพ มีพรสวรรค์อยู่ในตัวเอง
ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่เรียนจนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร
ควรจะเรียนต่อทางไหน
เพราะเรายังไม่มีระบบที่จริงจังในการค้นหาและประเมินความถนัด ความสามารถของเด็กเลย
ผมรอห้องเรียนอย่างนี้มานาน
และวันนี้ ห้องเรียนแห่งอนาคต ได้เกิดขึ้นมาแล้วครับ
ผมพัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคตโดยความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักการศึกษา
เช่น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์, รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา, ดร.อานันท์ (โรเจอร์) สีห์พิทักษ์เกียรติ จาก MIT
และอีกหลายท่าน
สิ่งที่ช่วยทำให้ผมมั่นใจในระบบห้องเรียนแห่งอนาคตนี้มากขึ้น
คือ ความพอใจและคำขอบคุณจาก นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้มาเรียน
และการติดต่อขอดูงานจากหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หวังว่า ห้องเรียนแห่งอนาคต นี้จะช่วยให้เยาวชนของเรา คิดสร้างสรรค์ สื่อสารได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข
และประสบความสำเร็จในแนวทางของตนเอง
ที่มา
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)