ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก สอนลูกให้ชนะโลก ให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้อย่างสนุกสนาน ในแบบที่ลูกเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราต้องการให้ลูกเป็น ด้วยพลังแห่งความรักความอบอุ่นของครอบครัว
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
แนวโน้มทั่วโลกไปทิศโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา
ภาพจากอินเตอร์เนต
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
---------
แนวโน้มทั่วโลกไปทิศโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยมุ่งมั่นพัฒนาภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้เด็กไทย เพื่อเป็นทักษะสำคัญในการก้าวความเป็นสากล แต่ดูเหมือนว่าไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ดังจะเห็นได้ว่า เด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษนับสิบปี กลับไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้ดีเท่าที่ควร ยิ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องติดต่อสื่อสารกับหลายประเทศ ซึ่งการใช้ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เด็กไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา และการสร้างความสัมพันธ์อันดีด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ
กรุงเทพฯ เป็นเหมือนประตูบานแรกของประเทศไทย ที่เปิดต้อนรับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจ เข้ามาท่องเที่ยว และเข้ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ ดังนั้น การเตรียมคนกรุงเทพฯ ให้มีความรู้ภาษาต่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ซึ่งต้องเริ่มที่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ โดยพัฒนาเป็นโรงเรียน 2 ภาษา หรือ 3 ภาษา ยกระดับคุณภาพเด็กกรุงเทพฯ ให้มีทักษะการพูด อ่าน และเขียนภาษาต่างประเทศ ไม่เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ และการประกอบอาชีพ
หลายประเทศได้เล็งเห็นความสำคัญและมีโครงการพัฒนาโรงเรียน 2 ภาษา และ 3 ภาษามานานแล้ว ซึ่งเป็นการดีที่กรุงเทพฯ จะเรียนรู้และนำมาปรับใช้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ จึงขอยกตัวอย่างประเทศในแถบยุโรป ที่หลายประเทศประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา
ประเทศเยอรมัน: 2 ภาษา ภาษาเยอรมันและอังกฤษ
เยอรมัน ปกครองระบบสหพันธรัฐ ประกอบไปด้วย 16 รัฐ แต่ละมลรัฐมีระบบการศึกษาเป็นของตัวเอง โดยปกติ การวางพื้นฐานภาษาต่างประเทศในเยอรมันเริ่มต้นที่เกรด 5 และ 6 (อายุ 10 และ 11 ปี) ผู้เรียนเกรด 5 ต้องเรียนภาษาอังกฤษ 5 บทหลัก ๆ และเพิ่มเติมพิเศษอีก 1 บทเรียน แต่ในเกรด 6 จะลดลงเหลือเพียง 4 บทเรียน โดยการเรียน 2 ภาษาเต็มรูปแบบ (Mainstream Bilingual Education: MBE) จะเริ่มต้นที่เกรด 7 หรือระดับมัธยมศึกษา โดยวิชาที่โรงเรียนต่าง ๆ นำมาสอน 2 ภาษา ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เทคโนโลยี การเมือง ชีววิทยา ศิลปะ หรือกีฬา โดยครูที่สอน MBE ต้องมีความรู้ความสามารถทั้ง 2 ภาษา พร้อมกับมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน
ตัวอย่างโรงเรียน 2 ภาษาในเยอรมัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ โรงเรียนมัธยม Karolina-Burger-Realschule เมืองลุดวิกส์ฮาเฟ่น (Ludwigshafen)
การเรียน 2 ภาษาในโรงเรียนแห่งนี้ เริ่มต้นตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น ในวิชาภูมิศาสตร์และสังคมศึกษา โดยสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด สาเหตุที่เลือกวิชาภูมิศาสตร์ เพราะเนื้อหาและคำศัพท์ มีความเหมาะสมและเป็นรูปธรรมเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ และเหตุที่เลือกวิชาสังคมศึกษา เพราะเนื้อหาและคำศัพท์ก่อให้เกิดความชำนาญในการใช้ภาษาและทักษะการสื่อสาร ซึ่งผู้เรียนที่ได้รับเลือกให้เข้าเรียน 2 ภาษาได้นั้น ต้องมีทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานในระดับดี มีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับที่ดี และผลการเรียนวิชาภูมิศาสตร์และสังคมศึกษาต้องไม่น้อยกว่า 3
ในเกรด 7 เรียนวิชาภูมิศาสตร์ 2 บทเรียนต่อสัปดาห์ โดยจะสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ในครึ่งปีแรกของเกรด 8 ตารางการเรียนยังเป็นเหมือนเกรด 7 และจะแทนที่ด้วยวิชาสังคมศึกษาในครึ่งปีหลัง ซึ่งสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเช่นกัน โดยสอน 2 บทเรียนต่อสัปดาห์ ในเกรด 9 ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งระหว่างวิชาภูมิศาสตร์และสังคม ศึกษา หรือเลือกเรียนทั้ง 2 วิชาก็ได้ โดยเรียน 4 บทเรียนต่อสัปดาห์ ผู้เรียนที่ใกล้จบระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือเข้าสู่มัธยมปลาย ผู้เรียนจะเรียนเพียง 1 บทเรียนต่อสัปดาห์ เช่น การสอน 2 ภาษาในครึ่งปีแรกของเกรด 10 เรียนวิชาภูมิศาสตร์ 1 บทเรียน และวิชาสังคมศึกษา 2 บทเรียนต่อสัปดาห์ และในครึ่งปีหลังจะเรียนวิชาโคลง ฉัน กาพย์ กลอน เป็นต้น
ประเทศลักเซมเบิร์ก: 3 ภาษา ภาษาลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และเยอรมัน
ลัก เซมเบิร์ก (Luxembourg) มีพรมแดนติดประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน ภาษาราชการมี 3 ภาษาคือ ภาษาลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และเยอรมัน ซึ่งออกกฎหมายตั้งแต่ ค.ศ.1984 สาเหตุที่นโยบายการสอน 3 ภาษาในลักเซมเบิร์กประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากผู้เรียนอยู่ในบริบทการพูด 3 ภาษา ทั้งที่โรงเรียนและบ้าน
การเรียนการสอน 3 ภาษา ในระดับอนุบาลจะสอนเป็นภาษาลักเซมเบิร์กเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ระดับประถมศึกษา ผู้เรียนเกรด 1 จะเริ่มเรียนเป็นภาษาเยอรมันพร้อมกับภาษาลักเซมเบิร์ก ส่วนภาษาฝรั่งเศสจะเริ่มเรียนในเกรด 3 ไปจนถึงเกรด 6 ในระดับมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญและอาชีวศึกษา ใน 3 ปีแรก (อายุ 12-15 ปี) หรือมัธยมต้นจะเรียนเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด และเรียนเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อเข้าสู่ปีที่ 4 เป็นต้นไป (อายุ 15-19 ปี) หรือมัธยมปลาย แต่บางโรงเรียนยังสอนเป็นภาษาเยอรมัน สำหรับผู้เรียนต่างชาติที่ย้ายถิ่นเข้ามาเรียนในลักเซมเบิร์ก กระทรวงศึกษาธิการของลักเซมเบิร์ก ให้โรงเรียนจัดห้องเรียนพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อสอนภาษาเยอรมันและฝรั่งเศส หลังจากนั้น 1 ปี จึงเรียนในหลักสูตรปกติ
เยอรมันเป็นตัวอย่างการสอน 2 ภาษา ที่เลือกบางวิชามาสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งประเมินแล้วว่าวิชาภูมิศาสตร์และสังคมศึกษาสามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังเข้มงวดกับการคัดเลือกผู้เรียนที่สามารถเรียนหลักสูตร 2 ภาษาได้จริง ๆ ส่วนลักเซมเบิร์ก เป็นตัวอย่างการสอน 3 ภาษาที่ประสบความสำเร็จได้ โดยที่ผู้เรียนอยู่ภายใต้บริบทการพูดภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันจริง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การสอน 2 ภาษา หรือ 3 ภาษาอาจประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน อย่างในเยอรมัน ครูสอน 2 ภาษาขาดแคลน เนื่องจากรัฐต่าง ๆ ยังขาดหลักสูตรฝึกอบรมครูสอน 2 ภาษา
การสอน 2 ภาษา และ 3 ภาษาในประเทศไทย
ประเด็น แนวคิดเรื่องโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา ผมได้นำเสนอในเวทีวิชาการมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2539 ก่อนการปฏิรูปการศึกษาว่า ควรให้โรงเรียนในไทยเป็นโรงเรียน 2 ภาษา และค่อย ๆ ปรับให้เป็นโรงเรียนสองภาษาจนครบทุกแห่ง แต่เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อโลกเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีที่สะดวก รวดเร็วและต้นทุนการเชื่อมต่อกันไม่สูงนัก จำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีโรงเรียนสามภาษา เน้นภาษาหลักเพิ่มอีก 1 ภาษาโดยเฉพาะภาษาจีน อันเป็นการเพิ่มศักยภาพความสามารถของบุคคลและการแข่งขันในระดับประเทศ
ต่อ มาช่วงปฏิรูปการศึกษาในปี พ.ศ.2540 กระทรวงศึกษาธิการเริ่มเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงเรียนสองภาษา ดังที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว โดยเริ่มมีนโยบายส่งเสริมการเรียนหลักสูตร 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ยกเว้นภาษาไทยและสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการเรียน 2 ภาษาในประเทศไทย ยังประสบปัญหา โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนครูที่เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศและวิชาที่สอน อาทิ ครูต่างชาติบางคนไม่มีวุฒิทางการศึกษา หรือแม้มีวุฒิหรือความรู้วิชาการด้านที่ต้องการ แต่ไม่จบด้านการสอน ทำให้ไม่มีคุณภาพในการถ่ายทอดความรู้และทักษะในการสื่อความหมาย ครูต่างชาติจึงสอนเนื้อหาง่าย ๆ ให้เกรดเด็กในระดับดี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ปกครอง ทั้งยังมีปัญหาการขาดความต่อเนื่องในการสอน เนื่องจากครูต่างชาติมักเป็นนักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาเพิ่งจบ ต้องการหาประสบการณ์ชีวิต นอกจากนี้ การสอน 2 ภาษายังมีปัญหาการคัดเลือกผู้เรียน ที่ไม่คำนึงถึงพื้นฐานและความพร้อม แม้โรงเรียนสองภาษาจะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เข้มงวดมากนัก
ดังนั้น ปัจจัยที่จะทำให้การพัฒนาโรงเรียน 2 และ 3 ภาษา ประสบความสำเร็จได้นั้น คือ ปัจจัยด้านครูที่มีคุณภาพ โดยจำเป็นต้องจัดหาครูที่เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ ปัจจัยเตรียมความพร้อมผู้เรียน โดยมีระบบวางพื้นฐานภาษาต่างประเทศให้เด็ก เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเรียนหลักสูตร 2 ภาษา หรือ 3 ภาษา และปัจจัยด้านการคัดเลือกผู้เรียนที่สามารถเรียนหลักสูตร 2 ภาษาได้จริง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาออกกลางคัน
การพัฒนาโรงเรียน 2 และ 3 ภาษานั้น ผมว่า โรงเรียนในกรุงเทพฯ ค่อนข้างมีศักยภาพความพร้อมกว่าโรงเรียนในพื้นที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาหลักสูตร การหาครูต่างชาติที่มีคุณภาพ การเตรียมและพัฒนาความพร้อมของผู้เรียน ฯลฯ ผมเสนอให้โรงเรียน กทม. พัฒนาเป็นโรงเรียน 2 ภาษาทุกโรง เพื่อเป็นตัวแบบสู่โรงเรียนอื่นทั่วประเทศ และค่อยพัฒนาสู่ขยายเป็นโรงเรียน 3 ภาษา เพื่อเตรียมพร้อมรับกับสภาพโลกาภิวัตน์ และเตรียมพร้อมการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะอย่างไรไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงโลกาภิวัตน์ได้ ต้องติดต่อสื่อสารและทำงานกับคนทั่วโลกที่ใช้ภาษาสากล ประเด็นโรงเรียนสองภาษานี้ ผมนำเสนอไว้ 12 ปีที่แล้ว และเมื่อ พ.ศ.2548 ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้นำนโยบายนี้ไปใช้พัฒนาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ นำร่องสอน 2 ภาษา ในหลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรภาษาจีนในบางโรงเรียนบางแห่ง แต่ไม่เพียงพอ ผมเสนอว่าต้องให้โรงเรียน กทม. ทุกแห่งเป็นโรงเรียนสองภาษาที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ในการพัฒนาเป็นโรงเรียนสองภาษาที่ได้มาตรฐาน
วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเรียนรู้ด้านภาษาไทยของเด็กชั้นอนุบาล ๓
ภาพจากอินเตอร์เนต
เรื่องการสอนภาษาไทยให้กับน้องแชงในตอนนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ดิฉันต้องทำอย่างเร่งด่วน เพราะน้องแชงนั้น ยังอ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้เลย แม้ว่าลูกจะมีความคุ้นเคยกับอักษร ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก เพราะดิฉันให้เล่นการ์ดอักษรตั้งแต่เล็กๆ แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้เน้น เรื่องการสอนตัวหนังสือ และการอ่านไทย ดังนั้นน้องแชงจึงเก่งภาษาอังกฤษ มากกว่า ภาษาอื่นๆ จนได้ัรับความเห็นจากคุณครูว่า "ดูเหมือนภาษาอังกฤษ จะเป็น First Language ของน้องแชง เพราะอ่านออก เขียนได้ ฟังคล่อง พูดคล่อง"
เป็นความโชคดีที่ในบ้านของเรา ในครอบครัวของเรา เราใช้ภาษาไืทยโดยตลอด ทำให้แม้ว่าจะมาเติบโตในต่างแดน ลูกสองคนพูดและฟังภาษาไทยเก่งมาก ไม่แพ้เด็กที่โตในเมืองไทยเลย จึงทำให้สบายใจว่า ลูกคงปรับตัวไม่ยากหนัก หากจะต้องกลับมาเรียนในบ้านของเรา เพราะสื่อสารกับครูและเพื่อนๆได้คล่อง เหลือแต่สิ่งที่ดิฉันต้องทำอย่างเร่งด่วน คือการเพิ่มพูนทักษะ การอ่าน และการเขียนของลูก
ในการฝึกเรื่องทักษะเรื่องการฟังภาษาของลูก ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรืออังกฤษ ดิฉันใช้ตัวช่วยที่สำคัญ คือ การอ่านนิทาน และการดูดีวีดี โดยดิฉันเริ่มต้นจากการให้ลูกชม ดีวีดี สำหรับเด็ก แต่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Baby Genius, Leap Frog และ Barney ทุกตอนที่เราซื้อมาให้ลูกดู เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยเฉพาะบาร์นี่ นั้นสอนลูกหลายเรื่องมาก และทำให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ เด็กๆใน Barney นั้น สุภาพ และใช้ภาษา สำเนียงอังกฤษที่ไพเราะมาก น้องแชงได้ภาษาอังกฤษ มาจากแหล่งนี้เต็มๆ
ในการฝึกลูกเรื่องภาษาไืทย ตอนนี้น้องแชงกำัลังติดใจ Magic School Bus เป็นอย่างมาก แม้ว่าจะดูยังไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะเนื้อหาจะซับซ้อนสักนิด เหมาะกับเด็กประถม แต่ดิฉันก็ซื้อให้ดู แต่จะใช้ที่เป็นภาษาไทย เพื่อให้ลูกฝึกทักษะการฟัง เวลาลูกดู ก็จะดูตอนซ้ำๆเพราะไม่เข้าใจ แต่ก็ดีค่ะ ฝึกภาษาไทย และซึมซับความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ เวลาเขาสนใจมากๆ ลูกจะมารือ้หนังสือสารานุกรมเด็ก ที่ดิฉันเก็บไว้ให้ มาดู แล้วสอบถาม เป็นการเรียนรู้เรื่องอื่นไปในตัวด้วย ไม่ใช่มาเน้นแต่ภาษาไทยอย่างเดียว แต่แน่นอนค่ะ การจะใช้สื่อพวกนี้ในการเรียนการสอน พ่อแม่ต้องระมัดระวัง อย่าให้ลูกดูนานเกินไป หรือมากเกินไป กล่าวคือ ไม่ควรดูเกิน ๓๐ นาที หรือ ๑ ชม. แล้วแต่วัย และควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย เพราะหากยากเกินไป เด็กบางคนอาจจะเบื่อ แต่ในกรณีน้องแชง แม้ว่า Magic School Bus จะยากเกินไป แต่เขาชอบ จึงเลือกให้ดู นี่ก็ยังซื้อไม่ครบ ยังขาดอีกหลายสิบตอน เหมือนกันค่อยๆซื้อ
ดูจากหนังสือแบบฝึกหัด และหนังสือเรียนภาษาไทยของเด็กเล็ก ดูเหมือนจะต้องฝึกเด็กดังนี้
- อ่านเขียนอักษร ก-ฮ ให้ได้
- รู้จัก สระ และวรรณยุกต์ อ่านออกเสียงได้ถูกต้อง
- สามารถผสมคำง่ายๆได้ เช่น กิน กา พ่อ แม่ ปู่ น้ำ ฯลฯ ประเภทคำในชีวิตประจำวัน การเขียนชื่อของตัวเอง ชื่อของพ่อ แม่ เป็นต้น
- การเข้าใจคำสั่ง และสามารถปฎิบัติได้ถูกต้อง
- ความสามารถในการสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ได้
- ฟังและจับใจความได้ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
- ในโรงเีรียนที่เน้นแบบวิชาการ หรือ เตรียมเด็กเข้าเรียนในแนววิชาการระดับประถม อาจจะสอนไปถึงการเขียนประโยค หรือ การอ่านประโยคง่ายๆ
การเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ๓
ดิฉันศึกษาดูจากหนังสือที่โรงเรียนส่งมาให้ ซึงเป็นหนังสือที่ใช้ในการเรียนการสอนของน้องแชงในเทอมที่ผ่านมา และเตรียมพร้อมเพื่อการเรียนในชั้นอนุบาล ๓ แล้ว ดิฉันไม่มีความห่วงมากนัก เพราะน้องแชงสามารถเขียน และจำอักษรอังกฤษได้ทุกตัว ทั้งอักษรตัวใหญ่ และตัวเล็ก รวมทั้งการอ่านออกเสียง หรือ โฟนิคของอักษรนั้นๆด้วย
เท่าที่ดูจากหนังสือ สิ่งที่ต้องฝึกให้มากขึ้น ก็คือ เรื่องการสะกดคำง่ายๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้น้องแชงสะกดภาษาอังกฤษได้มากพอสมควร สามารถ Search Internet หรือ youtube ได้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ เช่น Animal Song และอื่นๆ รวมทั้งสามารถอ่านหนังสือนิทานเองได้หลายเรื่อง เข้าใจทั้งเนื้อเรื่อง และความหมายของเรื่องนั้นๆได้ดี
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของน้องแชงด้านภาษาอังกฤษนั้น ดิฉันไม่กังวลเลย ขอแต่ให้ลูกได้มีโอกาสอ่านหนังสือทุกๆวัน ฝึกอ่านออกเสียงดังๆ และอ่านมากๆ เพื่อที่จะได้คุ้นหู คุ้นตากับคำศัพท์ใหม่ๆ เมื่อฝึกเช่นนี้ เรื่องทักษะเรื่องการอ่าน ความเข้าใจภาษาอังกฤษของลูกก็จะก้าวหน้าขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติ ลูกจะคุ้นกับการใช้รูปประโยคง่ายๆ ซึ่งเมื่อลูกรับรู้เรื่องคำศัพท์มากพอ ก็สามารถนำมาฝึกเขียนแต่งประโยคง่ายๆ ต่อไป เรื่องการเข้าใจ Grammar ต่างๆ ดิฉันเข้าใจว่าคงจะเริ่มเรียนในชั้นประถมหนึ่ง จึงยังไม่มีความจำเป็นที่ดิฉันจะต้องมาเร่งด่วนในเรื่องนี้ จะได้เอาเวลาไปสอนด้านอื่นที่ลูกยังขาดอยู่
การเรียนภาษาอังกฤษในชั้นอนุบาล ๓ ก่อนขึ้นประถม นี่ ผู้ปกครองต้องสำรวจให้ดี หัวข้อต่อไปนี้คือสิ่งที่เด็กๆต้องทำให้ได้ดี
ซึ่งทักษะทั้งหมดนี้ในกรณีของน้องแชง ทำได้หมดแล้วและอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ต้องฝึกฝนเพื่อเพิ่มความชำนาญและความเข้าใจคำศัพท์ให้มากขึ้น
เท่าที่ดูจากหนังสือ สิ่งที่ต้องฝึกให้มากขึ้น ก็คือ เรื่องการสะกดคำง่ายๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้น้องแชงสะกดภาษาอังกฤษได้มากพอสมควร สามารถ Search Internet หรือ youtube ได้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ เช่น Animal Song และอื่นๆ รวมทั้งสามารถอ่านหนังสือนิทานเองได้หลายเรื่อง เข้าใจทั้งเนื้อเรื่อง และความหมายของเรื่องนั้นๆได้ดี
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของน้องแชงด้านภาษาอังกฤษนั้น ดิฉันไม่กังวลเลย ขอแต่ให้ลูกได้มีโอกาสอ่านหนังสือทุกๆวัน ฝึกอ่านออกเสียงดังๆ และอ่านมากๆ เพื่อที่จะได้คุ้นหู คุ้นตากับคำศัพท์ใหม่ๆ เมื่อฝึกเช่นนี้ เรื่องทักษะเรื่องการอ่าน ความเข้าใจภาษาอังกฤษของลูกก็จะก้าวหน้าขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติ ลูกจะคุ้นกับการใช้รูปประโยคง่ายๆ ซึ่งเมื่อลูกรับรู้เรื่องคำศัพท์มากพอ ก็สามารถนำมาฝึกเขียนแต่งประโยคง่ายๆ ต่อไป เรื่องการเข้าใจ Grammar ต่างๆ ดิฉันเข้าใจว่าคงจะเริ่มเรียนในชั้นประถมหนึ่ง จึงยังไม่มีความจำเป็นที่ดิฉันจะต้องมาเร่งด่วนในเรื่องนี้ จะได้เอาเวลาไปสอนด้านอื่นที่ลูกยังขาดอยู่
การเรียนภาษาอังกฤษในชั้นอนุบาล ๓ ก่อนขึ้นประถม นี่ ผู้ปกครองต้องสำรวจให้ดี หัวข้อต่อไปนี้คือสิ่งที่เด็กๆต้องทำให้ได้ดี
- ตัวอักษรภาษาัอังกฤษ ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ สามารถจับคู่ตัวอักษรได้
- การอ่านออกเสียงโฟนิค ของแต่ละตัว (ซึ่งหากไม่รู้จะสอนอย่างไร ดิฉันแนะนำให้ใช้การ์ตูน Leap Frog ช่วย) เพราะเด็กจะสนุกและจำง่าย
- การเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ ควรให้เด็กหัดคัดลายมือด้วยค่ะ
- เข้าใจเรื่องตัวสระ และตัวสะกด (อันนี้ในการ์ตูน Leap Frog ก็มีตอนหนึ่งทีช่วยได้)
- การฝึกเด็กเรื่องความเข้าใจ และจับใจความ ทั้งจากการอ่านและการฟัง โดยหลังจากทีอ่านหรือฟัง ให้ถามคำถามให้เด็กๆตอบ เพื่อให้เด็กๆเล่าอธิบาย
- การให้เด็กเล่าเหตุการณ์ลำดับก่อนหลัง เช่น ขั้นตอนการแปรงฟัน ขั้นตอนของการอาบนำ้แต่งตัวก่อนมาโรงเรียน การเล่าเหตุการณ์อาจจะมาจากการดูหนังสือแล้วเล่าลำดับสิ่งที่อ่าน หรือจากความทรงจำการทำกิจวัตรประจำวันก็ได้
- ในระหว่างการเล่า ก็อาจจะมีการให้เด็กๆหัดเขียนประโยคง่ายๆ หรือแก้ไขประโยคที่เด็กๆพูดผิด เพราะความไม่คุ้นชินกับภาษา
ขอบคุณภาพจาก King kids Learning Center
ซึ่งทักษะทั้งหมดนี้ในกรณีของน้องแชง ทำได้หมดแล้วและอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ต้องฝึกฝนเพื่อเพิ่มความชำนาญและความเข้าใจคำศัพท์ให้มากขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาล ๓
ก่อนปิดเทอม โรงเรียนของน้องแชง แจกหนังสือแบบฝึกหัดมาให้ผู้ปกครอง ๒-๓ เล่ม หนึ่งในนั้นคือ หนังสือ คณิตศาสตร์ จากอินเดีย (As per New syllabus : Mathematics Today Class 2) ของ O.P. Malhotra, S.K. Gupta และ Anubhuti Gangal) ปรากฎว่า เมื่อดิฉันเปิดหนังสือแบบฝึกหัดแล้ว ดิฉันแทบจะตกเก้าอี้ เพราะยากมากๆ
ในชั้นอนุบาล ๒ นี่ หากเด็กๆนับเลขได้ ๑-๒๐ ก็เก่งมากแล้ว แต่ในหนังสือเล่มนี้ คือ ต้องนับเลขได้ ๑-๑๐๐๐ เป็นต้น นี่คือ สารบัญของหนังสือเล่มนี้
- Number 1-1000
- Addition and Subtraction
- Multiplication
- Division (Sharing Equally)
- Two place and three place multiplication
- Division of 2-digit and 3-digit number by a digit number
- Even and Odd numbers
- Our currency notes
- Telling time
- THe calendar
- Measuring
- Fractiions
- Geometry
- Patterns
- Mental Maths
เนื่องจากหัวข้อในสารบัญดูเหมือนจะเยอะและยากจนเกินไป ดิฉันจึงทำการค้นคว้าเพิ่มเติมว่า เด็กในระดับอนุบาล ๓ นั้น จะต้องเรียนรู้จนถึงแค่ไหน จึงพบว่า เด็กในระดับอนุบาลนั้น ต้องเรียนรู้ในเรื่องต่อไปนี้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- Fraction (เศษส่วน)
- Time Telling (อ่านนาฬิกา บอกเวลาได้)
- Money (เรื่องเงินตรา และเหรียญ)
- การนับเลข 1-100
- การอ่านตัวเลข และตัวหนังสือของตัวเลขนั้น
- การนับถอยหลัง
- การนับเดินหน้า
- ความรู้เรื่องปฎิทิน ชื่อเดือน และจำนวนวันในแต่ละเดือน
- ความรู้เรื่อง จำนวนวินาที นาที ชม. และวัน กลางวัน กลางคืนและ ฤดูกาล
- การลบ
- ความรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต สี
- ระยะทาง และมาตรวัด เบื้องต้น
- ความรู้เรื่องแพทเทิร์น เช่น ลายที่ซ้ำๆกัน
ดิฉันจึงทำการทดสอบน้องแชงในส่วนของพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งดูเรื่องการเรียนที่ผ่ามา พบว่า คุณครูมีการสอนเรื่องเวลามาบ้าง แต่ลูกยังไม่ค่อยเก่งเรื่องนี้ เพราะดิฉันไม่ได้ฝึกฝนลูกที่บ้าน และการนับเลขก็ยังไม่คล่อง และได้เพียง 1-20 (ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในชั้นอนุบาล ๒) ดังนั้นดิฉันจึงตั้งเป้าหมายว่า คงต้องเน้นฝึกเรื่องการนับเลขให้ได้ 1-100 ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ ให้ได้ก่อนเปิดเทอม เพราะการนับเลขนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญของการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ ตารางร้อยช่องที่ได้รับจากแม่ภุชงค์และพ่อธีร์มาเมื่อปีกลายคงต้องนำมาใช้เป็นเรื่องเป็นราว และดิฉันเองก็คงต้องปัดฝุ่นหนังสือ ของแม่ภุชงค์และพ่อธีร์อีกครั้ง
สิ่งที่ต้องสอนลูกในช่วงปิดเทอมนี้ ควบคู่กันไป คงจะเป็นเรื่องของ การดูเวลาให้คล่อง เรื่องของวัน เดือน ปี จำนวนวันในแต่ละเดือน แต่ละปี เป็นต้น และอีกเรื่องที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือ เรื่องเงินตรา เพราะมาอยู่ที่เวียดนามนี่ ลูกสองคนไม่เคยจับเงินเลย เงินของเวียดนามนั้นเก่าและสกปรกมาก ทำให้ดิฉันไม่เคยให้ลูกแตะต้อง แต่เดี๋ยวสามีกลับบ้าน จะให้เขาถือเหรียญต่างๆและธนบัตรของไืทยมาด้วย ลูกจะได้เรียนจากของจริง
ส่วนเรื่องการบวก ลบ หรือ เรื่องเศษส่วนนั้น ดิฉันเองก็เริ่มสอนแล้ว แต่ผ่านการเล่นเกมอีเลินนิ่ง เป็นหลัก ค่อยๆฝึก ค่อยๆให้เขาเรียนรู้จากการเล่น ก็พอจะซึมซับไปได้บ้าง เท่าที่ดู ดิฉันคิดว่าเราสามารถสอนเรื่องหลายๆเรื่องต่อยอดกันไปได้ ไม่ต้องมุ่งเน้นสอนทีละเรื่อง เช่น เรื่องการดูมาตรวัด เรื่องเวลา เราก็สามารถสอนเรื่องการนับเดินหน้า ถอยหลังไปในตัว ซึ่งดิํฉันเองก็ำกำลังศึกษาเรื่องเทคนิคการสอนเรื่องต่างๆ จากกระทู้เก่าๆของเืพื่อนๆ ที่สะสมไว้ รวมทั้งจากหนังสือ แบบฝึกหัดที่เพื่อนๆแจกมา แล้วค่อยมาัดัดแปลงประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะอยากยิ่งสิ่งที่คุณ Myson711 ได้กรุณาเขียนเล่าไว้ในเวบบอร์ดโมมี่พีเดียเรื่อง เทคนิคการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในมุมมองของเด็กๆ ทำให้ดิฉันเข้าใจสิ่งที่ หนังสิอคณิตศาสตร์ของลูกเขียนไว้ ได้เข้าใจยิ่งขึ้น
ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆหลายๆท่านในเวบบอร์ด โมมี่พีเดีย มามี่เซ็นเตอร์ กานต์ทีวี และในFB มา ณ ที่นี้ด้วย ข้อมูลที่สะสมไว้ตลอดสี่ปี ในเวบบอร์ดโมมี่พีเดีย ได้นำมาศึกษาในคราวนี้ เท่าทีดิฉันสังเกตจากการสอนน้องแชงเรื่องการบวก ลบ หรือเศษส่วน แบบเป็นกิจลักษณะ ก็รู้สึกว่า เขาเรียนไม่กี่ครั้งก็เข้าใจ อาจจะเป็นเพราะผลจากการทำโฮมสคูล ในการฝึกการนับด้วยสิ่งของ ทีเคยฝึกไว้ตอนที่มาเวียดนามใหม่ๆ ทำให้เขามี Logical thinking ที่ดี และจับหลักได้ไว สอนไม่ยาก
การเรียนของเด็กชั้นอนุบาล ๓ (เตรียมประถม) -๑
ไม่ใช่รูปน้องแชงนะคะ เป็นรูปเด็กอนุบาลที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองไทย กำลังเรียนบวกเลข เห็นน่ารักดี เอามาแปะไว้
เนื่องจากเทอมหน้า น้องแชงลูกชายคนโต จะเข้าเรียนในชั้นอนุบาล ๓ แล้ว ดิฉันจึงต้องเริ่มกลับมาทบทวนการเรียนสำหรับเด็กในชั้นอนุบาล ๓ อีกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมของน้องแชง ก่อนที่จะเข้าเรียนในชั้นเรียนใหม่
ก่อนปิดเทอมที่แล้ว ทางโรงเรียนของน้องแชง เชิญผู้ปกครองของเด็กชั้นอนุบาล ๒ (K2) ทั้งหมดเพื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนของเด็กในชั้นอนุบาล ๓ ว่ามีการแตกต่างจากชั้นอนุบาล ๑ และ ๒ อย่างมาก ในต่างประเทศนี้ ไม่ได้ใช้คำว่า K3 (Kindergarten 3) แต่จะใช้คำว่า "Prep Class" หรือ "Reception Class " เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กในการเรียนวิชาการในชั้น ประถมต่อไป
ในการเรียนชั้นอนุบาล ๑ และ ๒ นั้น การเรียนของเด็ก จะเน้นเรื่องการเล่น การปฎิบัติเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ให้เด็กได้เห็น ได้สัมผัส ลิ้มรส ดมกลิ่น แล้วรับรู้เรื่องราวต่างๆ ตลอดจนฝึกกล้ามเนื้อมือ นิ้ว แขน ขา การเคลื่อนไหว ดังนั้นการเรียนในชั้นอนุบาลนั้น จึงเป็นการเล่น ซะเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเล่นปั้นแป้งโดว์ การระบายสี การวาดรูป การทำงานประดิษฐ์ การวิ่งเล่นออกกำลังกาย ปีนป่าย การเต้น ร้องรำ ทำเพลง ดนตรี
แต่ในการเรียนชั้นอนุบาล ๓ นั้น เป็นการเริ่มสอนเด็กให้เรียนรู้อย่างเป็นระบบ และจะต้องเริ่มมีการท่องจำ กฎต่างๆของธรรมชาติ เช่น เรื่องของเวลา วัน เดือน ปี เงินตรา ฤดูกาล และอื่นๆที่จะเล่าให้ฟังต่อไป ซึ่งหากเราไม่ได้ค่อยๆสอนลูกมาแต่เล็กแต่น้อย จเริ่มตอนนี้ก็ไม่สาย แต่หากไปรอให้เด็กมาจดจำในชั้นประถม เด็กอาจจะมีภาระในการจำที่หนักเกินไป เพราะในชั้นประถม จะมีเรื่องสูตรคูณต่างๆ และกฎของภาษาอะไรอีกมากมาย มาเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลานั้น หากเราปล่อยให้ทุกอย่างเป็นดินพอกหางหมู เด็กๆอาจจะมีปัญหาการเหนื่อยล้า และปรับตัวยากกับวิธีการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป และมีทัศนคติที่ไม่ดีกับโรงเรียนได้
ดิฉันเคยอ่านเรื่องราวหลายๆกระทู้ของคุณแม่หลายๆท่าน ที่ลูกเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่หนึ่ง ซึ่งประสบกับปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน ลูกไม่อยากทำการบ้าน ลูกมีปัญหาเรื่องการเรียนไม่ทันเพื่อน โดยเฉพาะเด็กๆที่เข้าไปในโรงเรียนแบบวิชาการเข้มแข็ง ก็อาจจะมาจากสาเหตุนี้ กล่าวคือ พ่อแม่ไม่ได้รับรู้ว่าการเรียนในขั้นต่อไปของเด็ก เด็กจะต้องเผชิญอะไรบ้าง และไม่ได้เตรียมเด็กให้รับมือกับมันก่อน ดังนั้น การที่ทางโรงเรียนของน้องแชง เชิญพ่อแม่มาพูดคุย เพื่อบอกเล่าถึงสิ่งที่ลูกจะเผชิญในปีการศึกษาหน้า ดิฉันถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก และโรงเรียนควรทำ แต่น่าเสียดาย ที่พ่อแม่ของเพื่อนๆน้องแชงหลายๆคนไม่ได้ให้ความสนใจ และไม่ได้มาร่วมรับฟัง ซึ่งอาจจะเสียโอกาสที่จะเตรียมความพร้อมของเด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการฝึกวินัย และการทำความเข้าใจกับเรื่องธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้น พ่อแม่หลายๆท่าน ไม่ต้องการให้ลูกเรียนในชั้นอนุบาล ๓ แต่ให้ข้ามเพื่อเข้าเรียนในชั้นประถม ๑ ของโรงเรียนชั้นนำไปเลย เพื่อลดเวลาเรียนของลูกให้สั้นลง ดิฉันสังเกตว่า มีหลายกระทู้ที่มาหารือ เรื่องของการขออนุญาตโรงเรียนเพื่อให้เด็กไปสอบก่อนเำกณฑ์อายุ ที่โรงเรียนกำหนด เนื่องจากพ่อแม่เหล่านั้น ไม่เข้าใจว่า การเรียนชั้นอนุบาล ๓ นั้น มีส่วนช่วยลูกเรื่องการปรับตัวเรื่องการเรียนในชั้นประถมได้มาก
ดังนั้นในเรื่องที่จะเขียนต่อไป ก็จะมาเล่าเรื่องสิ่งที่เด็กๆจะเรียนในชั้นอนุบาล ๓ เพื่อที่พ่อแม่หลายๆท่าน อาจจะใช้เป็นข้อมูลในการดูแลลูกๆที่อยู่ในวัยของน้องแชงต่อไป
เนื่องจากเทอมหน้า น้องแชงลูกชายคนโต จะเข้าเรียนในชั้นอนุบาล ๓ แล้ว ดิฉันจึงต้องเริ่มกลับมาทบทวนการเรียนสำหรับเด็กในชั้นอนุบาล ๓ อีกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมของน้องแชง ก่อนที่จะเข้าเรียนในชั้นเรียนใหม่
ก่อนปิดเทอมที่แล้ว ทางโรงเรียนของน้องแชง เชิญผู้ปกครองของเด็กชั้นอนุบาล ๒ (K2) ทั้งหมดเพื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนของเด็กในชั้นอนุบาล ๓ ว่ามีการแตกต่างจากชั้นอนุบาล ๑ และ ๒ อย่างมาก ในต่างประเทศนี้ ไม่ได้ใช้คำว่า K3 (Kindergarten 3) แต่จะใช้คำว่า "Prep Class" หรือ "Reception Class " เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กในการเรียนวิชาการในชั้น ประถมต่อไป
ในการเรียนชั้นอนุบาล ๑ และ ๒ นั้น การเรียนของเด็ก จะเน้นเรื่องการเล่น การปฎิบัติเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ให้เด็กได้เห็น ได้สัมผัส ลิ้มรส ดมกลิ่น แล้วรับรู้เรื่องราวต่างๆ ตลอดจนฝึกกล้ามเนื้อมือ นิ้ว แขน ขา การเคลื่อนไหว ดังนั้นการเรียนในชั้นอนุบาลนั้น จึงเป็นการเล่น ซะเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเล่นปั้นแป้งโดว์ การระบายสี การวาดรูป การทำงานประดิษฐ์ การวิ่งเล่นออกกำลังกาย ปีนป่าย การเต้น ร้องรำ ทำเพลง ดนตรี
แต่ในการเรียนชั้นอนุบาล ๓ นั้น เป็นการเริ่มสอนเด็กให้เรียนรู้อย่างเป็นระบบ และจะต้องเริ่มมีการท่องจำ กฎต่างๆของธรรมชาติ เช่น เรื่องของเวลา วัน เดือน ปี เงินตรา ฤดูกาล และอื่นๆที่จะเล่าให้ฟังต่อไป ซึ่งหากเราไม่ได้ค่อยๆสอนลูกมาแต่เล็กแต่น้อย จเริ่มตอนนี้ก็ไม่สาย แต่หากไปรอให้เด็กมาจดจำในชั้นประถม เด็กอาจจะมีภาระในการจำที่หนักเกินไป เพราะในชั้นประถม จะมีเรื่องสูตรคูณต่างๆ และกฎของภาษาอะไรอีกมากมาย มาเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลานั้น หากเราปล่อยให้ทุกอย่างเป็นดินพอกหางหมู เด็กๆอาจจะมีปัญหาการเหนื่อยล้า และปรับตัวยากกับวิธีการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป และมีทัศนคติที่ไม่ดีกับโรงเรียนได้
ดิฉันเคยอ่านเรื่องราวหลายๆกระทู้ของคุณแม่หลายๆท่าน ที่ลูกเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่หนึ่ง ซึ่งประสบกับปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน ลูกไม่อยากทำการบ้าน ลูกมีปัญหาเรื่องการเรียนไม่ทันเพื่อน โดยเฉพาะเด็กๆที่เข้าไปในโรงเรียนแบบวิชาการเข้มแข็ง ก็อาจจะมาจากสาเหตุนี้ กล่าวคือ พ่อแม่ไม่ได้รับรู้ว่าการเรียนในขั้นต่อไปของเด็ก เด็กจะต้องเผชิญอะไรบ้าง และไม่ได้เตรียมเด็กให้รับมือกับมันก่อน ดังนั้น การที่ทางโรงเรียนของน้องแชง เชิญพ่อแม่มาพูดคุย เพื่อบอกเล่าถึงสิ่งที่ลูกจะเผชิญในปีการศึกษาหน้า ดิฉันถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก และโรงเรียนควรทำ แต่น่าเสียดาย ที่พ่อแม่ของเพื่อนๆน้องแชงหลายๆคนไม่ได้ให้ความสนใจ และไม่ได้มาร่วมรับฟัง ซึ่งอาจจะเสียโอกาสที่จะเตรียมความพร้อมของเด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการฝึกวินัย และการทำความเข้าใจกับเรื่องธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้น พ่อแม่หลายๆท่าน ไม่ต้องการให้ลูกเรียนในชั้นอนุบาล ๓ แต่ให้ข้ามเพื่อเข้าเรียนในชั้นประถม ๑ ของโรงเรียนชั้นนำไปเลย เพื่อลดเวลาเรียนของลูกให้สั้นลง ดิฉันสังเกตว่า มีหลายกระทู้ที่มาหารือ เรื่องของการขออนุญาตโรงเรียนเพื่อให้เด็กไปสอบก่อนเำกณฑ์อายุ ที่โรงเรียนกำหนด เนื่องจากพ่อแม่เหล่านั้น ไม่เข้าใจว่า การเรียนชั้นอนุบาล ๓ นั้น มีส่วนช่วยลูกเรื่องการปรับตัวเรื่องการเรียนในชั้นประถมได้มาก
ดังนั้นในเรื่องที่จะเขียนต่อไป ก็จะมาเล่าเรื่องสิ่งที่เด็กๆจะเรียนในชั้นอนุบาล ๓ เพื่อที่พ่อแม่หลายๆท่าน อาจจะใช้เป็นข้อมูลในการดูแลลูกๆที่อยู่ในวัยของน้องแชงต่อไป
ภาษาอังกฤษ เริ่มเรียนไว มีชัียไปกว่าครึ่ง
ภาพจากอินเตอร์เนต
อยากให้ลูกพูดภาษาอังกฤษเก่งๆ แต่ไม่รู้จะเริ่มให้เรียนอายุเท่าใดดี?”
“ตอนนี้ลูกเรียนอนุบาล เขาชอบพูดภาษาอังกฤษมาก จะส่งให้เรียนโรงเรียนนานาชาติเลยดีไหม?”
หรือกระทั่ง
“ครูอนุบาลพูดภาษาอังกฤษเพี้ยน ไม่อยากให้เขาติดสำเนียง จะให้เริ่มเรียนตอนอยู่ชั้นประถมจะทันไหม?”
ปัญหา เหล่านี้ไม่เพียงรบกวนจิตใจพ่อแม่ผู้ปรารถนาจะเห็นเจ้าตัวน้อยสื่อสารภาษา อังกฤษคล่องดั่งเจ้าของภาษาเท่านั้น หากทว่ายังมีนัยสำคัญเชิงนโยบายในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใน ฐานะภาษาที่สองของนานาประเทศ รวมถึงเมืองไทยที่นับวันภาษาอังกฤษจะทวีความสำคัญมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ วัยไม่กี่ขวบ
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของ ‘‘การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง’’ ทางบริติช เคานซิล ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจึงจัดประชุมเชิงนโยบายเพื่อร่างยุทธศาสตร์การ ศึกษาภาษาอังกฤษของไทยให้ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเรียนการสอนภาษา อังกฤษในนานาประเทศ โดยรศ.ศรีภูมิ อัครมาศ ผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อและฝึกอบรมบุคลากรด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้ไขข้อข้องใจของผู้ปกครองและคุณครูจำนวนไม่น้อยว่า ช่วงวัยเหมาะสมจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษควรอยู่ระหว่าง 2-11 ขวบ เนื่องจากการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองพบว่าสมองของเด็กๆ วัยนี้จะรับข้อมูลที่ใส่เข้าไปได้ไวมากที่สุด
ก่อน วัยเข้าเรียนอนุบาล ทักษะความสามารถทางภาษาแม่ในเด็กแต่ละคนจะต่างกัน อันเนื่องมาจากสมองของพวกเขาจะได้รับการกระตุ้นจากการรับข้อมูลและปฏิ สัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น การพูดคุยหรือเล่านิทานของพ่อแม่ ครั้นถึงวัยเข้าโรงเรียน พัฒนาการทางการเรียนภาษาแม่ของเด็กๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันตามไปด้วย
“ทักษะการสื่อสารในภาษาแม่จะเป็นปัจจัยอันสำคัญยิ่งในการสนับสนุนกระบวนการ เรียนรู้ภาษาอื่นๆ ตามมา จากเดิมที่เราเชื่อกันมานานว่าการเรียนสองภาษาในเวลาเดียวกันจะทำลาย พัฒนาการของเด็ก แต่การวิจัยล่าสุดกลับแสดงให้เห็นว่าการเรียนสองภาษาพร้อมกันเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อพวกเขา” รศ.ศรีภูมิ เผย พลางอธิบายว่าเด็กที่เรียนสองภาษาจะมีทักษะความสามารถในการสร้างแนวคิด การให้เหตุผลเชิงเปรียบเทียบ การจินตนาการออกมาเป็นภาพ และความคิดสร้างสรรค์
“การ เรียนภาษาของเด็กจึงต้องให้ความสำคัญกับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาแม่ควบคู่กับ ภาษาอังกฤษ ยิ่งเรียนในช่วงวัยน้อยๆ ยิ่งได้ผลดีกว่า อย่างไรก็ตาม ช่วงอายุเริ่มเรียนภาษาอังกฤษไม่สำคัญเท่ากับการได้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษ อย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะแม้ว่าจะเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่วัยอนุบาลไม่กี่ขวบ หากครูไร้ความรู้ สอนไม่สนุก ทำให้เด็กเบื่อ ก็ได้ผลน้อยกว่าเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษตอนโต แล้วแต่ได้ครูมีความสามารถ สอนสนุก เด็กมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ ก็จะเก่งได้ในที่สุด”
กระนั้น มาตรฐานครูภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น Native หรือ Non Native Speaker ในรั้วโรงเรียนยังเป็นคำถามค้างคาใจผู้ปกครองจำนวนมาก ยิ่งผนวกรวมความอ่อนด้อยของการปฏิรูปการศึกษาแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง ยิ่งฉายชัดศักยภาพการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กๆ ว่าต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ดังที่ รศ.ศรีภูมิเน้นว่า แม้ปัจจุบันแนวทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะมุ่งทักษะการสื่อสารเป็นสำคัญ หากทว่าจำนวนเด็กที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน จริงๆ กลับยังน้อยมาก
อันเนื่องด้วยอุปสรรคด้านศักยภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของครูภาษา อังกฤษที่ยังอ่อนด้อยและไม่ถูกต้อง ครูหลายคนกางหนังสือสอน ซ้ำร้ายยังสอนเฉพาะในส่วนที่ตัวเองรู้เรื่อง ขณะที่ส่วนที่ไม่รู้เรื่องก็ไม่ยอมสอน ทั้งๆ ที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ สอดคล้องกับสถิติที่พบว่ากว่าร้อยละ 80 ของครูภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษ และร้อยละ 51.91 ยอมรับว่าตัวเองมีความรู้ภาษาอังกฤษแค่ระดับเริ่มต้นเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นเทคนิคการสอนที่พวกเขาใช้มักจะไม่จุดประกายให้เด็กๆ หันมาสนใจเรียนภาษาอังกฤษ
“วิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กในฐานะภาษาที่สองไม่ควรต่างจากภาษา ไทยมากนัก และต้องไม่เหมือนผู้ใหญ่ ต้องสนุก เน้นกิจกรรม สร้างแรงจูงใจให้เขารักที่จะเรียนรู้ เพราะถ้าเขามีทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ดีตั้งแต่เด็ก ผล GPA หรือ GAT ในอนาคตก็จะสูงต่างจากเด็กทั่วไปในปัจจุบัน”
ด้วย ปีการศึกษา 2547 พบว่าคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกระดับชั้นเมื่อเทียบกับวิชา อื่นๆ ‘‘ต่ำที่สุด’’ โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษา 6 ได้ร้อยละ 37.34 ขณะที่นักเรียนมัธยมศึกษา 3 และ 6 ได้คะแนนร้อยละ 32.38 และ 32.45 ตามลำดับ รวมทั้งการประเมินล่าสุดยังพบว่านักเรียนเพียง 10.43% เท่านั้นที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ ครู 32.54% ใช้แนวทางการเรียนการสอนแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง เฉกเช่นเดียวกับผู้บริหารแค่ 37.72% เท่านั้นที่ใช้แนวทางเดียวกันนี้บริหารโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม การเปิดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่ขยายตัวมากขึ้นในโรงเรียนทั่ว ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น EP ที่จะสอนภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือ Mini EP ที่สอนภาษาอังกฤษระหว่าง 8-14ชั่วโมง/สัปดาห์ อาจคลี่คลายความกังวลใจของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่อยากส่งลูกหลานไปเรียนภาษา อังกฤษตามสถาบันภาษาต่างๆ ที่ผุดราวกับดอกเห็ดหน้าฝนในขณะนี้ เพราะยิ่งหากเขาเด็กมากด้วยแล้ว ยิ่งน่าเป็นห่วงว่านอกจากเขาจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษผิดเพี้ยนจากครูในสถาบัน ภาษาที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว ยังอาจจะซึมซับวัฒนธรรมไม่ดี จนเพิกเฉยคุณค่าความเป็นไทยที่งดงามลงไปในท้ายที่สุด
"การเรียนการสอนภาษาอังกฤษจึงต้องสอดแทรกความเป็นไทยลงไปในลักษณะการ บูรณาการเนื้อหาเข้ากับภาษา เด็กจะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้จริงโดยไม่หลงลืมขนบ ธรรมเนียมวัฒนธรรมดีงามของไทย” รศ.ศรีภูมิย้ำ พลางมองทิ้งท้ายว่าความคาดหวังที่จะเห็นเด็กนักเรียนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียม กันในการเรียนภาษาอังกฤษ และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มีทักษะความสามารถในการใช้ภาษานี้ อย่างน้อยรัฐบาลต้องเพิ่มจำนวนโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนสองภาษา จัดหาตำราเรียนและระบบ E-Learning พร้อมกับมอบทุนการศึกษาภาษาอังกฤษแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง
‘‘เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษไว ประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่ง’’ จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินเลย ด้วยก้าวที่มั่นคงบนถนนสายภาษาอังกฤษ ยามผสานความเป็นไทยในหัวใจที่เอื้ออาทรต่อผู้อื่น ท้ายสุดย่อมนำชัยชนะทางการเรียน และการเจรจาต่อรองทางธุรกิจที่สัมฤทธิผลมาให้ไม่ยาก
myfirstbrain.com
อยากให้ลูกพูดภาษาอังกฤษเก่งๆ แต่ไม่รู้จะเริ่มให้เรียนอายุเท่าใดดี?”
“ตอนนี้ลูกเรียนอนุบาล เขาชอบพูดภาษาอังกฤษมาก จะส่งให้เรียนโรงเรียนนานาชาติเลยดีไหม?”
หรือกระทั่ง
“ครูอนุบาลพูดภาษาอังกฤษเพี้ยน ไม่อยากให้เขาติดสำเนียง จะให้เริ่มเรียนตอนอยู่ชั้นประถมจะทันไหม?”
ปัญหา เหล่านี้ไม่เพียงรบกวนจิตใจพ่อแม่ผู้ปรารถนาจะเห็นเจ้าตัวน้อยสื่อสารภาษา อังกฤษคล่องดั่งเจ้าของภาษาเท่านั้น หากทว่ายังมีนัยสำคัญเชิงนโยบายในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใน ฐานะภาษาที่สองของนานาประเทศ รวมถึงเมืองไทยที่นับวันภาษาอังกฤษจะทวีความสำคัญมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ วัยไม่กี่ขวบ
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของ ‘‘การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง’’ ทางบริติช เคานซิล ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจึงจัดประชุมเชิงนโยบายเพื่อร่างยุทธศาสตร์การ ศึกษาภาษาอังกฤษของไทยให้ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเรียนการสอนภาษา อังกฤษในนานาประเทศ โดยรศ.ศรีภูมิ อัครมาศ ผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อและฝึกอบรมบุคลากรด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้ไขข้อข้องใจของผู้ปกครองและคุณครูจำนวนไม่น้อยว่า ช่วงวัยเหมาะสมจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษควรอยู่ระหว่าง 2-11 ขวบ เนื่องจากการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองพบว่าสมองของเด็กๆ วัยนี้จะรับข้อมูลที่ใส่เข้าไปได้ไวมากที่สุด
ก่อน วัยเข้าเรียนอนุบาล ทักษะความสามารถทางภาษาแม่ในเด็กแต่ละคนจะต่างกัน อันเนื่องมาจากสมองของพวกเขาจะได้รับการกระตุ้นจากการรับข้อมูลและปฏิ สัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น การพูดคุยหรือเล่านิทานของพ่อแม่ ครั้นถึงวัยเข้าโรงเรียน พัฒนาการทางการเรียนภาษาแม่ของเด็กๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันตามไปด้วย
“ทักษะการสื่อสารในภาษาแม่จะเป็นปัจจัยอันสำคัญยิ่งในการสนับสนุนกระบวนการ เรียนรู้ภาษาอื่นๆ ตามมา จากเดิมที่เราเชื่อกันมานานว่าการเรียนสองภาษาในเวลาเดียวกันจะทำลาย พัฒนาการของเด็ก แต่การวิจัยล่าสุดกลับแสดงให้เห็นว่าการเรียนสองภาษาพร้อมกันเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อพวกเขา” รศ.ศรีภูมิ เผย พลางอธิบายว่าเด็กที่เรียนสองภาษาจะมีทักษะความสามารถในการสร้างแนวคิด การให้เหตุผลเชิงเปรียบเทียบ การจินตนาการออกมาเป็นภาพ และความคิดสร้างสรรค์
“การ เรียนภาษาของเด็กจึงต้องให้ความสำคัญกับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาแม่ควบคู่กับ ภาษาอังกฤษ ยิ่งเรียนในช่วงวัยน้อยๆ ยิ่งได้ผลดีกว่า อย่างไรก็ตาม ช่วงอายุเริ่มเรียนภาษาอังกฤษไม่สำคัญเท่ากับการได้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษ อย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะแม้ว่าจะเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่วัยอนุบาลไม่กี่ขวบ หากครูไร้ความรู้ สอนไม่สนุก ทำให้เด็กเบื่อ ก็ได้ผลน้อยกว่าเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษตอนโต แล้วแต่ได้ครูมีความสามารถ สอนสนุก เด็กมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ ก็จะเก่งได้ในที่สุด”
กระนั้น มาตรฐานครูภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น Native หรือ Non Native Speaker ในรั้วโรงเรียนยังเป็นคำถามค้างคาใจผู้ปกครองจำนวนมาก ยิ่งผนวกรวมความอ่อนด้อยของการปฏิรูปการศึกษาแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง ยิ่งฉายชัดศักยภาพการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กๆ ว่าต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ดังที่ รศ.ศรีภูมิเน้นว่า แม้ปัจจุบันแนวทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะมุ่งทักษะการสื่อสารเป็นสำคัญ หากทว่าจำนวนเด็กที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน จริงๆ กลับยังน้อยมาก
อันเนื่องด้วยอุปสรรคด้านศักยภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของครูภาษา อังกฤษที่ยังอ่อนด้อยและไม่ถูกต้อง ครูหลายคนกางหนังสือสอน ซ้ำร้ายยังสอนเฉพาะในส่วนที่ตัวเองรู้เรื่อง ขณะที่ส่วนที่ไม่รู้เรื่องก็ไม่ยอมสอน ทั้งๆ ที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ สอดคล้องกับสถิติที่พบว่ากว่าร้อยละ 80 ของครูภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษ และร้อยละ 51.91 ยอมรับว่าตัวเองมีความรู้ภาษาอังกฤษแค่ระดับเริ่มต้นเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นเทคนิคการสอนที่พวกเขาใช้มักจะไม่จุดประกายให้เด็กๆ หันมาสนใจเรียนภาษาอังกฤษ
“วิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กในฐานะภาษาที่สองไม่ควรต่างจากภาษา ไทยมากนัก และต้องไม่เหมือนผู้ใหญ่ ต้องสนุก เน้นกิจกรรม สร้างแรงจูงใจให้เขารักที่จะเรียนรู้ เพราะถ้าเขามีทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ดีตั้งแต่เด็ก ผล GPA หรือ GAT ในอนาคตก็จะสูงต่างจากเด็กทั่วไปในปัจจุบัน”
ด้วย ปีการศึกษา 2547 พบว่าคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกระดับชั้นเมื่อเทียบกับวิชา อื่นๆ ‘‘ต่ำที่สุด’’ โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษา 6 ได้ร้อยละ 37.34 ขณะที่นักเรียนมัธยมศึกษา 3 และ 6 ได้คะแนนร้อยละ 32.38 และ 32.45 ตามลำดับ รวมทั้งการประเมินล่าสุดยังพบว่านักเรียนเพียง 10.43% เท่านั้นที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ ครู 32.54% ใช้แนวทางการเรียนการสอนแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง เฉกเช่นเดียวกับผู้บริหารแค่ 37.72% เท่านั้นที่ใช้แนวทางเดียวกันนี้บริหารโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม การเปิดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่ขยายตัวมากขึ้นในโรงเรียนทั่ว ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น EP ที่จะสอนภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือ Mini EP ที่สอนภาษาอังกฤษระหว่าง 8-14ชั่วโมง/สัปดาห์ อาจคลี่คลายความกังวลใจของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่อยากส่งลูกหลานไปเรียนภาษา อังกฤษตามสถาบันภาษาต่างๆ ที่ผุดราวกับดอกเห็ดหน้าฝนในขณะนี้ เพราะยิ่งหากเขาเด็กมากด้วยแล้ว ยิ่งน่าเป็นห่วงว่านอกจากเขาจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษผิดเพี้ยนจากครูในสถาบัน ภาษาที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว ยังอาจจะซึมซับวัฒนธรรมไม่ดี จนเพิกเฉยคุณค่าความเป็นไทยที่งดงามลงไปในท้ายที่สุด
"การเรียนการสอนภาษาอังกฤษจึงต้องสอดแทรกความเป็นไทยลงไปในลักษณะการ บูรณาการเนื้อหาเข้ากับภาษา เด็กจะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้จริงโดยไม่หลงลืมขนบ ธรรมเนียมวัฒนธรรมดีงามของไทย” รศ.ศรีภูมิย้ำ พลางมองทิ้งท้ายว่าความคาดหวังที่จะเห็นเด็กนักเรียนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียม กันในการเรียนภาษาอังกฤษ และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มีทักษะความสามารถในการใช้ภาษานี้ อย่างน้อยรัฐบาลต้องเพิ่มจำนวนโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนสองภาษา จัดหาตำราเรียนและระบบ E-Learning พร้อมกับมอบทุนการศึกษาภาษาอังกฤษแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง
‘‘เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษไว ประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่ง’’ จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินเลย ด้วยก้าวที่มั่นคงบนถนนสายภาษาอังกฤษ ยามผสานความเป็นไทยในหัวใจที่เอื้ออาทรต่อผู้อื่น ท้ายสุดย่อมนำชัยชนะทางการเรียน และการเจรจาต่อรองทางธุรกิจที่สัมฤทธิผลมาให้ไม่ยาก
myfirstbrain.com
นิทานสอนใจ : ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละจะยิ่งช้านิทานสอนใจ
"ยิ่ง ให้เร็ว นั่นแหละจะยิ่งช้า" นิทานเรื่องนี้จะมีประโยชน์มากสำหรับครูบาอาจารย์ สำหรับเรื่องนี้ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้เรียกตัวเองว่าครูก็ตาม ก็ควรจะสนใจฟังในฐานะที่ว่าจะเป็นปัจจัย เกื้อกูลแก่ความเข้าใจธรรม และปฏิบัติธรรม เรื่องเล่านี้มีอยู่ว่ามีชายคนหนึ่ง เขาอยากเป็นนักฟันดาบที่เก่งกาจ เขาไปหาอาจารย์สอนฟันดาบเพื่อให้ช่วยสอนเขาให้เป็นนักฟันดาบ
เขาถามอาจารย์ว่า "จะใช้เวลานานสักกี่ปี" อาจารย์ตอบว่า "ประมาณ 7 ปี" เขา สักจะรวนเร เพราะว่า 7 ปีนี้มันเป็นเวลาที่นานเกินไป ฉะนั้นเขาจึงขอร้องใหม่ว่า เขาจะพยายามให้สุดฝีมือ สุดความสามารถในการฝึกฝน ทั้งกำลังกายและกำลังใจทั้งหมด ถ้าเป็นเช่นนี้จะใช้เวลาสักกี่ปี อาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นจะต้องใช้เวลาสัก 14 ปี" (แทนที่จะเป็น 7 ปี ก็ดันกลายมาเป็น 14 ปี)
ชายหนุ่มคนนั้นก็อวดครวนขึ้นมาว่า บิดา ของเขาแก่มากแล้ว อาจจจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานนัก เขาจะพยายามอย่างยิ่ง ให้บิดาของเขาได้ทันเห็นฝีมือฟันดาบของเขาก่อนตาย เขาจะแสดงฝีมือฟันดาบของเขาให้บิดาของเขาชม ให้เป็นที่ชื่นใจแก่บิดาเขาจะพยายามอย่างยิ่งที่จะแสดงความสามารถ ให้ได้ทันตอบแทนพระคุณของบิดา จะต้องใช้เวลาสักเท่าไร ขอให้อาจารย์คิดดูให้ดีๆ อีกครั้ง
ท่านอาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นต้อง 21 ปี" นี่มันเป็นอย่างไรขอให้คิดดู ว่าแทนที่จะลดลงมา มันกลายเป็นเพิ่มขึ้นเป็น 21 ปี ชายหนุ่มคนนั้นจะเล่นงานอาจารย์อย่างไรก็ไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นอาจารย์จะทำอย่างอื่นก็ไม่ถูกไม่ควร นึกไม่ออกว่าต้องทำอย่างไรดี เพราะว่าไม่ใครที่จะสอนฟันดาบได้ดีกว่านี้ ซึ่งเป็นอาจารย์ระดับประเทศเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเขาจึงอดทนอยู่กับอาจารย์คนนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี
หลายวันต่อมา อาจารย์ก็สั่งให้ชายคนนี้ไปทำงานในครัว ให้ตักน้ำ ผ่าฟืน และงานทุกอย่างที่อยู่ในครัว แทนการสอนให้จับดาบ ฟันดาบ
เมื่อเวลาผ่านมานานพอสมควร วันหนึ่งอาจารย์ผลุนผลันเข้าไปในครัว ด้วยดาบทั้งสองมือ ฟันชายหนุ่มคนนั้นทั้งๆ ที่เขาไม่รู้ตัว เกิดเหตุการณ์อลหม่านขึ้นครั้งใหญ่ เขาจึงต่อสู้ตามเรื่องตามราวของเขา ตามที่กำลังของเขาจะสู้ได้ โดยที่เขาใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ ตัวที่พอจะหาได้และจับได้ทันมาใช้แทนดาบ ไม่นานนักการต่อสู้ก็ยุติลง อาจารย์ก็เดินจากไป
หลายวันต่อมาเขาก็ถูกอาจารย์ทดสอบด้วยวิธีนี้อีก โดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว จนกระทั่งอาจารย์บอกว่ากลับบ้านได้ นั่นหมายความว่าเขา เรียนฟันดาบจบหลักสูตรแล้ว และปรากฏว่า ต่อมาชายหนุ่มคนนี้ก็กลายเป็นนักฟันดาบที่โด่งดังมีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่น
นิทานเรื่องนี้ก็จบลง ท่านลองคิดดูว่า นิทานเรื่องนี้สอนว่าอย่างไร? ตอบสั้นๆ ที่สุดก็คือ การทำอะไรด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นว่าตัวตนของตัวเองนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดผลที่ดีได้ คือถ้าชายหนุ่มคนนี้ยังคิดว่ากูจะดี กูจะเด่นละก็ มีตัวกูเข้ามาฝึก เป็นตัวกูที่ใหญ่เอาการอยู่เหมือนกัน ที่นี้ยิ่งจะทำให้ดีที่สุด ก็จะทำให้ดีที่สุดและให้เร็วที่สุดอย่างนี้ด้วยแล้ว ไอ้ตัวกูมันยิ่งขยายออกไปอีก ถ้ายิ่งจะทันให้บิดาได้เห็น บิดาก็แก่มากแล้ว ตัวกูมันยิ่งพองมากออกไปอีก มันยิ่งเร่งร้อนออกไปอีก อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้จิตไม่มีสมาธิ จิตเต็มอัดไปด้วยตัวกูที่กลัดกลุ้มไปด้วยตัวกูของกู ไม่เป็นจิตที่ว่างเปล่า ไม่มีสติปัญญาที่อยู่ในจิต และไม่สามารถมีสมรรถภาพเดิมๆ แท้จริงของจิตออกมาได้ เพราะมันกลัดกลุ้มอยู่ด้วยอุปาทาน ว่าด้วยตัวกูของกู หรือเป็นความเห็นแก่ตัวนี่เองมันเลยไม่เฉียบแหลม ไม่ว่องไว ไม่ active ฉะนั้นถ้าขืนทำไปอย่างนั้นจริงๆ แล้วจะต้องใช้เวลา 7 ปี หรือว่า 14 ปี หรือไม่ก็ 21 ปีจริงๆ
ขณะที่เขาอยู่ในครัวนั้น เขาไม่มีความรู้สึกว่าตัวกู ของกู กูจะต้องฝึกฟันดาบในเก่งให้ได้ในเวลา 7 ปี หรือให้บิดาทันได้เห็นถึงความสามารถของลูกชายให้ได้ ความรู้สึกแบบนี้มันเลยไม่มีในตอนนั้น ซึ่งทำให้จิตเขาว่างเปล่า ถึงแม้ว่าอาจารย์จะผลุนผลันเข้าไปในลักษณะอย่างไร ปฎิภาณของจิตว่าง หรือจิตที่แท้จริงนี้ ก็มีมากพอที่จะต่อสู้ออกไปอย่างถูกต้องได้ มันเป็นการเรียกร้องขึ้นมา หรือปลุกขึ้นมาจากการหลับตามวิธีของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ให้กลายมาเป็นจิตที่เบิกบานเต็มที่ ซึ่งสามารถเอาไปใช้ได้เลย เขาจึงเป็นผู้ที่สำเร็จหลักสูตรโดยวิธีอันประหลาดนั้น ภายในเวลาอันสั้น ไม่ต้องใช้เวลานานถึง 7 ปีอย่างนี้เป็นต้น
เกี่ยวกับข้อนี้ อยากจะให้ท่านครูบาอาจารย์สนใจที่จะนึกดูว่าความรู้สึกที่เป็นตัวตน หรือเป็นของตนนั้น อยู่ที่ตรงไหน? เหมือนอย่างที่ว่า เรา จะยิงปืนหรือยิงธนู หรือว่าขว้างแม่นในการกีฬาขว้างแม่น ถ้าจิตของผู้ขว้างมีความรู้สึกเป็นตัวกูของกู เป็นชื่อเสียงของกู ชื่อเสียงของโรงเรียนกู หรือของมหาวิทยาลัยของกูมันรัวอยู่ในใจแล้วจะไม่มีวันที่จะขว้างแม่นหรือ ขว้างถูกได้เลย เพราะว่ามันสั่นระรัวอยู่ด้วยตัวกูหรือของกูนี้
ทั้งนั้น ที่ถูกที่ควรต้องมีความตั้งใจ ที่จะทำเพื่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของโรงเรียนหรืออะไรก็ตาม แล้วจะต้องลืมให้หมด ลืมแม้แต่ตัวกู โรงเรียนกู มหาวิทยาลัยกู ให้เหลือแต่สติปัญญาและสติสัมปชัญญะที่ขว้างด้วยอำนาจของสมาธิเท่านั้น คือพูดตรงๆ ว่า ขณะนั้นมีแต่จิตที่มีสมาธิกับสติปัญญาเท่านั้น ตัวกู ของกูไม่มีเลย มันจึงเป็นจิตแท้ เป็นจิตตามสภาพของจิต มือไม้ไม่สั่น ใจไม่สั่น ประสาทไม่สั่น อะไรๆ ก็ไม่สั่น ปกติเป็น active ถึงที่สุดแล้วเขาจะขว้างแม่น เหมือนดั่งปาฏิหาริย์
หรือว่าในการจัดดอกไม้ในแจกัน คน จัดจะต้องทำจิตให้ว่างจากความเห็นแก่ตัวกู หรือชื่อเสียงของกู ตลอดจนถึงโรงเรียนของกู หมู่คณะของกูเสียก่อนแล้วเสียบดอกไม้ด้วยจิตที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์ นั่นแหละคือสติปัญญาล้วนๆ ไม่มีตัวกู ไม่มีของกูเจือปนอยู่ ก็จะได้แจกันที่สวยที่สุดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน นี่เขาถือว่าเป็นหลักของนิกายเซ็น
ฉะนั้นขอให้สนใจในการที่จะทำอะไรหรือมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่มีตัวกู ของกู มันยิ่งจำเป็นมากสำหรับครูบาอาจารย์ ที่จะสอนเด็กให้ทำงานฝีมือดีด้วยจิตใจที่ปกติ ไม่สั่นในระบบประสาท ไม่สั่นในระบบความนึกคิด หรือว่าเมื่อเด็กๆ จะสอบไล่ เมื่อเขารู้สึกตัวอยู่แล้วว่า จะต้องสอบได้แล้วจะไปมัวห่วงกลัวจะสอบตก จะเสียชื่อ จะเสียเวลา ถ้าสอบไม่ได้จะไปกระโดดน้ำตาย เป็นต้น จะไปนึกทำไมว่านั่นเป็นเรื่องตัวกู ของกู เด็กคนนั้นจะต้องลืมสิ่งเหล่านั้นให้หมด แต่ถ้าเป็นการลืมแม้กระทั่งตัวเอง กับคำว่า "ลืมตัวเอง"คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก
เด็กๆ ในขณะที่สอบไล่นั้นจะต้องลืมหมดแม้กระทั่งตัวเอง เหลืออยู่ในใจแต่ว่า โจทย์ปัญหาว่าอย่างไร มีใจความว่าอย่างไร แล้วคำตอบควรจะเป็นอย่างไร ถ้าจิตใจว่างจากตัวกู ว่างจากของกูแล้ว วิชาความรู้ต่างๆ ที่เคยสะสมมาตั้งแต่แรกเรียนนั้น จะกลับมาหาเราเอง ให้พวกเขาได้พบกับคำตอบอย่างถูกต้อง แต่ถ้าเขากลัดกลุ้มอยู่ด้วยตัวกูของกูแล้ว แม้เขาจะเรียนมามากอย่างไร มันก็จะไม่กลับมาหา มันมีอาการเหมือนกับการลืมหรือนึกไม่ออกนั่นแหละ แล้วมันจะระส่ำระส่ายรวนเรไปหมด ทำให้ไม่สามารถตอบคำถามได้
ถ้าเด็กๆ สอบไล่ด้วยจิตที่ว่างเปล่า ผลการสอบออกมาจะได้ยิ่งกว่าการเป็นที่หนึ่งเสียอีก ฉะนั้นเขาจึงมีการสอนในเรื่องที่อย่าทำอะไรด้วยจิตที่สั่นระรัวด้วยตัวกู ของกู เพราะว่าการทำอย่างนั้น ยิ่งจะทำให้เร็วมันก็จะยิ่งช้าที่สุด ตามชื่อของนิทานเรื่องนี้ที่ว่า "ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละจะยิ่งช้า" หรือไม่มันจะยิ่งทำไม่ได้เลย
เขาถามอาจารย์ว่า "จะใช้เวลานานสักกี่ปี" อาจารย์ตอบว่า "ประมาณ 7 ปี" เขา สักจะรวนเร เพราะว่า 7 ปีนี้มันเป็นเวลาที่นานเกินไป ฉะนั้นเขาจึงขอร้องใหม่ว่า เขาจะพยายามให้สุดฝีมือ สุดความสามารถในการฝึกฝน ทั้งกำลังกายและกำลังใจทั้งหมด ถ้าเป็นเช่นนี้จะใช้เวลาสักกี่ปี อาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นจะต้องใช้เวลาสัก 14 ปี" (แทนที่จะเป็น 7 ปี ก็ดันกลายมาเป็น 14 ปี)
ชายหนุ่มคนนั้นก็อวดครวนขึ้นมาว่า บิดา ของเขาแก่มากแล้ว อาจจจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานนัก เขาจะพยายามอย่างยิ่ง ให้บิดาของเขาได้ทันเห็นฝีมือฟันดาบของเขาก่อนตาย เขาจะแสดงฝีมือฟันดาบของเขาให้บิดาของเขาชม ให้เป็นที่ชื่นใจแก่บิดาเขาจะพยายามอย่างยิ่งที่จะแสดงความสามารถ ให้ได้ทันตอบแทนพระคุณของบิดา จะต้องใช้เวลาสักเท่าไร ขอให้อาจารย์คิดดูให้ดีๆ อีกครั้ง
ท่านอาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นต้อง 21 ปี" นี่มันเป็นอย่างไรขอให้คิดดู ว่าแทนที่จะลดลงมา มันกลายเป็นเพิ่มขึ้นเป็น 21 ปี ชายหนุ่มคนนั้นจะเล่นงานอาจารย์อย่างไรก็ไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นอาจารย์จะทำอย่างอื่นก็ไม่ถูกไม่ควร นึกไม่ออกว่าต้องทำอย่างไรดี เพราะว่าไม่ใครที่จะสอนฟันดาบได้ดีกว่านี้ ซึ่งเป็นอาจารย์ระดับประเทศเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเขาจึงอดทนอยู่กับอาจารย์คนนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี
หลายวันต่อมา อาจารย์ก็สั่งให้ชายคนนี้ไปทำงานในครัว ให้ตักน้ำ ผ่าฟืน และงานทุกอย่างที่อยู่ในครัว แทนการสอนให้จับดาบ ฟันดาบ
เมื่อเวลาผ่านมานานพอสมควร วันหนึ่งอาจารย์ผลุนผลันเข้าไปในครัว ด้วยดาบทั้งสองมือ ฟันชายหนุ่มคนนั้นทั้งๆ ที่เขาไม่รู้ตัว เกิดเหตุการณ์อลหม่านขึ้นครั้งใหญ่ เขาจึงต่อสู้ตามเรื่องตามราวของเขา ตามที่กำลังของเขาจะสู้ได้ โดยที่เขาใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ ตัวที่พอจะหาได้และจับได้ทันมาใช้แทนดาบ ไม่นานนักการต่อสู้ก็ยุติลง อาจารย์ก็เดินจากไป
หลายวันต่อมาเขาก็ถูกอาจารย์ทดสอบด้วยวิธีนี้อีก โดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว จนกระทั่งอาจารย์บอกว่ากลับบ้านได้ นั่นหมายความว่าเขา เรียนฟันดาบจบหลักสูตรแล้ว และปรากฏว่า ต่อมาชายหนุ่มคนนี้ก็กลายเป็นนักฟันดาบที่โด่งดังมีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่น
นิทานเรื่องนี้ก็จบลง ท่านลองคิดดูว่า นิทานเรื่องนี้สอนว่าอย่างไร? ตอบสั้นๆ ที่สุดก็คือ การทำอะไรด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นว่าตัวตนของตัวเองนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดผลที่ดีได้ คือถ้าชายหนุ่มคนนี้ยังคิดว่ากูจะดี กูจะเด่นละก็ มีตัวกูเข้ามาฝึก เป็นตัวกูที่ใหญ่เอาการอยู่เหมือนกัน ที่นี้ยิ่งจะทำให้ดีที่สุด ก็จะทำให้ดีที่สุดและให้เร็วที่สุดอย่างนี้ด้วยแล้ว ไอ้ตัวกูมันยิ่งขยายออกไปอีก ถ้ายิ่งจะทันให้บิดาได้เห็น บิดาก็แก่มากแล้ว ตัวกูมันยิ่งพองมากออกไปอีก มันยิ่งเร่งร้อนออกไปอีก อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้จิตไม่มีสมาธิ จิตเต็มอัดไปด้วยตัวกูที่กลัดกลุ้มไปด้วยตัวกูของกู ไม่เป็นจิตที่ว่างเปล่า ไม่มีสติปัญญาที่อยู่ในจิต และไม่สามารถมีสมรรถภาพเดิมๆ แท้จริงของจิตออกมาได้ เพราะมันกลัดกลุ้มอยู่ด้วยอุปาทาน ว่าด้วยตัวกูของกู หรือเป็นความเห็นแก่ตัวนี่เองมันเลยไม่เฉียบแหลม ไม่ว่องไว ไม่ active ฉะนั้นถ้าขืนทำไปอย่างนั้นจริงๆ แล้วจะต้องใช้เวลา 7 ปี หรือว่า 14 ปี หรือไม่ก็ 21 ปีจริงๆ
| ||
เกี่ยวกับข้อนี้ อยากจะให้ท่านครูบาอาจารย์สนใจที่จะนึกดูว่าความรู้สึกที่เป็นตัวตน หรือเป็นของตนนั้น อยู่ที่ตรงไหน? เหมือนอย่างที่ว่า เรา จะยิงปืนหรือยิงธนู หรือว่าขว้างแม่นในการกีฬาขว้างแม่น ถ้าจิตของผู้ขว้างมีความรู้สึกเป็นตัวกูของกู เป็นชื่อเสียงของกู ชื่อเสียงของโรงเรียนกู หรือของมหาวิทยาลัยของกูมันรัวอยู่ในใจแล้วจะไม่มีวันที่จะขว้างแม่นหรือ ขว้างถูกได้เลย เพราะว่ามันสั่นระรัวอยู่ด้วยตัวกูหรือของกูนี้
ทั้งนั้น ที่ถูกที่ควรต้องมีความตั้งใจ ที่จะทำเพื่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของโรงเรียนหรืออะไรก็ตาม แล้วจะต้องลืมให้หมด ลืมแม้แต่ตัวกู โรงเรียนกู มหาวิทยาลัยกู ให้เหลือแต่สติปัญญาและสติสัมปชัญญะที่ขว้างด้วยอำนาจของสมาธิเท่านั้น คือพูดตรงๆ ว่า ขณะนั้นมีแต่จิตที่มีสมาธิกับสติปัญญาเท่านั้น ตัวกู ของกูไม่มีเลย มันจึงเป็นจิตแท้ เป็นจิตตามสภาพของจิต มือไม้ไม่สั่น ใจไม่สั่น ประสาทไม่สั่น อะไรๆ ก็ไม่สั่น ปกติเป็น active ถึงที่สุดแล้วเขาจะขว้างแม่น เหมือนดั่งปาฏิหาริย์
หรือว่าในการจัดดอกไม้ในแจกัน คน จัดจะต้องทำจิตให้ว่างจากความเห็นแก่ตัวกู หรือชื่อเสียงของกู ตลอดจนถึงโรงเรียนของกู หมู่คณะของกูเสียก่อนแล้วเสียบดอกไม้ด้วยจิตที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์ นั่นแหละคือสติปัญญาล้วนๆ ไม่มีตัวกู ไม่มีของกูเจือปนอยู่ ก็จะได้แจกันที่สวยที่สุดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน นี่เขาถือว่าเป็นหลักของนิกายเซ็น
ฉะนั้นขอให้สนใจในการที่จะทำอะไรหรือมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่มีตัวกู ของกู มันยิ่งจำเป็นมากสำหรับครูบาอาจารย์ ที่จะสอนเด็กให้ทำงานฝีมือดีด้วยจิตใจที่ปกติ ไม่สั่นในระบบประสาท ไม่สั่นในระบบความนึกคิด หรือว่าเมื่อเด็กๆ จะสอบไล่ เมื่อเขารู้สึกตัวอยู่แล้วว่า จะต้องสอบได้แล้วจะไปมัวห่วงกลัวจะสอบตก จะเสียชื่อ จะเสียเวลา ถ้าสอบไม่ได้จะไปกระโดดน้ำตาย เป็นต้น จะไปนึกทำไมว่านั่นเป็นเรื่องตัวกู ของกู เด็กคนนั้นจะต้องลืมสิ่งเหล่านั้นให้หมด แต่ถ้าเป็นการลืมแม้กระทั่งตัวเอง กับคำว่า "ลืมตัวเอง"คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก
เด็กๆ ในขณะที่สอบไล่นั้นจะต้องลืมหมดแม้กระทั่งตัวเอง เหลืออยู่ในใจแต่ว่า โจทย์ปัญหาว่าอย่างไร มีใจความว่าอย่างไร แล้วคำตอบควรจะเป็นอย่างไร ถ้าจิตใจว่างจากตัวกู ว่างจากของกูแล้ว วิชาความรู้ต่างๆ ที่เคยสะสมมาตั้งแต่แรกเรียนนั้น จะกลับมาหาเราเอง ให้พวกเขาได้พบกับคำตอบอย่างถูกต้อง แต่ถ้าเขากลัดกลุ้มอยู่ด้วยตัวกูของกูแล้ว แม้เขาจะเรียนมามากอย่างไร มันก็จะไม่กลับมาหา มันมีอาการเหมือนกับการลืมหรือนึกไม่ออกนั่นแหละ แล้วมันจะระส่ำระส่ายรวนเรไปหมด ทำให้ไม่สามารถตอบคำถามได้
ถ้าเด็กๆ สอบไล่ด้วยจิตที่ว่างเปล่า ผลการสอบออกมาจะได้ยิ่งกว่าการเป็นที่หนึ่งเสียอีก ฉะนั้นเขาจึงมีการสอนในเรื่องที่อย่าทำอะไรด้วยจิตที่สั่นระรัวด้วยตัวกู ของกู เพราะว่าการทำอย่างนั้น ยิ่งจะทำให้เร็วมันก็จะยิ่งช้าที่สุด ตามชื่อของนิทานเรื่องนี้ที่ว่า "ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละจะยิ่งช้า" หรือไม่มันจะยิ่งทำไม่ได้เลย
วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
มองชีวิต..คิดขำ ๆ
มองชีวิต..คิดขำ ๆ
1. คู่ต่อสู้ ศัตรูที่เราแสนเกลียด บางครั้งเราต้องกอดมันไว้
ไม่ใช่เพราะรัก
ก็แค่..หนีบหมัด ไม่ให้มันต่อยเราถนัดเท่านั้นเอง
2. ไม่มีอะไรบังคับให้มนุษย์อ้าปากค้าง ได้นานเท่ากับหมอฟัน
3. ผู้หญิงดีๆ หาง่าย ขึ้นอยู่กับว่า
เรามีความดีพอที่จะดึงดูดเขามารึเปล่า
4. ถ้าเราสับสนในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ว่าเราควรจะทำอะไรต่อไป
ให้ถามตัวเองว่า...สิ่งที่เราทำอยู่มันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นรึเปล่า
5. เมื่อเราโกรธ เกลียดใครสักคนมากๆ ให้บอกตัวเราเองว่า
อายุเราสั้นเกินกว่าจะอยู่ด้วยความเกลียดชัง
6. ทุกครั้งที่ดูหนังในต่างประเทศ จะรู้สึกเหมือนขาดทุน
เพราะเราไม่ได้ยืนถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ และ
เพลงสรรเสริญพระบารมี
7. วิธีเดียวที่จะแก้แค้นพวกอิจฉาริษยาได้คือ ทำงานดีๆ
ประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป
ไฟอิจฉาจะยิ่งเพิ่มในใจเขา จนก่อสารมะเร็งขึ้นมาฆ่าเขาเอง
8. เอดส์ป้องกันได้ ถ้าไม่ไปตรวจ
9. ประโยชน์ของการอกหัก ทำให้ฟังเพลงเพราะขึ้น
ประโยชน์ของความโกรธ ทำให้เคี้ยวมะม่วงได้ละเอียดขึ้น
10. อย่าเชื่อ...ใครบอกว่าเขาไม่เคยลืมตัว
ถ้าคนๆ นั้นยังเคยลืมกินยาหลังอาหาร
11. ชีวิตคู่ คือการยอมรับความเฮงซวยของฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด
ขอบคุณทีมา
1. คู่ต่อสู้ ศัตรูที่เราแสนเกลียด บางครั้งเราต้องกอดมันไว้
ไม่ใช่เพราะรัก
ก็แค่..หนีบหมัด ไม่ให้มันต่อยเราถนัดเท่านั้นเอง
2. ไม่มีอะไรบังคับให้มนุษย์อ้าปากค้าง ได้นานเท่ากับหมอฟัน
3. ผู้หญิงดีๆ หาง่าย ขึ้นอยู่กับว่า
เรามีความดีพอที่จะดึงดูดเขามารึเปล่า
4. ถ้าเราสับสนในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ว่าเราควรจะทำอะไรต่อไป
ให้ถามตัวเองว่า...สิ่งที่เราทำอยู่มันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นรึเปล่า
5. เมื่อเราโกรธ เกลียดใครสักคนมากๆ ให้บอกตัวเราเองว่า
อายุเราสั้นเกินกว่าจะอยู่ด้วยความเกลียดชัง
6. ทุกครั้งที่ดูหนังในต่างประเทศ จะรู้สึกเหมือนขาดทุน
เพราะเราไม่ได้ยืนถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ และ
เพลงสรรเสริญพระบารมี
7. วิธีเดียวที่จะแก้แค้นพวกอิจฉาริษยาได้คือ ทำงานดีๆ
ประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป
ไฟอิจฉาจะยิ่งเพิ่มในใจเขา จนก่อสารมะเร็งขึ้นมาฆ่าเขาเอง
8. เอดส์ป้องกันได้ ถ้าไม่ไปตรวจ
9. ประโยชน์ของการอกหัก ทำให้ฟังเพลงเพราะขึ้น
ประโยชน์ของความโกรธ ทำให้เคี้ยวมะม่วงได้ละเอียดขึ้น
10. อย่าเชื่อ...ใครบอกว่าเขาไม่เคยลืมตัว
ถ้าคนๆ นั้นยังเคยลืมกินยาหลังอาหาร
11. ชีวิตคู่ คือการยอมรับความเฮงซวยของฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด
ขอบคุณทีมา
วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ความเห็นจากประสบการณ์ MNSHANG เรื่องโรงเรียนแคธอลิค (๒)
เรื่องความประพฤติที่เน้นกันมากในโรงเรียน คือ เรื่องของความเมตตา ความเอื้อเฟื้อ และการแบ่งปัน มีน้ำใจ อันนี้เป็นสิ่งที่เขาปลูกฝังกันในโรงเรียนนี้ แทบจะเป็นพื้นฐานเลย ที่โรงเรียนจะมีการขอบริจาคเงินบ่อยๆ ทั้งจากพ่อแม่ และจะมีกล่องให้บริจาคเงินกัน ทุกๆสัปดาห์ (ตอนนี้ก็อาจจะมีอยู่) โรงเรียนจะส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมการแสดง การจัดสถานที่ การดูแลสถานที่ และอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกฝนเด็ก เรื่องจิตอาสา การช่วยเหลือสังคม หากใครๆได้ใกล้ชิด มิสและซิสเตอร์ บราเดอร์แต่ละท่าน จะทราบว่าท่านทั้งหลายก็ดำรงชีวิตของท่านมาเช่นนี้ เรียบง่าย เมตตา ช่วยเหลือสังคม มีน้ำใจ มีจิตอาสา ท่านถ่ายทอดพฤติกรรมเหล่านี้ สู่ลูกศิษย์ของท่าน จะเห็นว่า เด็กแคธอลิค จะมีพื้นฐานเรื่องเหล่านี้สูงมาก
อีกเรื่องที่ดิฉันสังเกต คือ เรื่องการกินง่าย อยู่ง่าย จำได้ว่า โรงเรียนทำอาหารกลางวันแบบเรียบง่าย และปริมาณไม่มาก อาหารไม่ค่อยอร่อย แต่เด็กๆก็ต้องกิน เพราะไม่ค่อยมีทางเลือก ผลก็คือ แม้อยู่บ้านจะเป็นคุณหนู คุณชาย แต่ก็ติดดินค่ะ บางโรงเรียน ให้นักเรียนล้างจานเอง น้ำล้างชามคราบมันลอยละล่อง ดูน่ารังเกียจ แต่ท่านอธิการิณี สอนว่า มือเราสกปรก เหม็นหรือเลอะ เราก็ล้างออกได้ แต่ใจที่สกปรก ล้างเท่าไหร่ ก็อาจจะไม่หมด หัดล้างถ้วยชามล้างห้องน้ำให้ส่วนรวม มันช่วยล้างใจของเราได้
เท่า ที่ดิฉันเรียนมา และเคยได้ยินมา มิสและผู้บริหารจะไม่ค่อยเน้นเรื่องการเรียน ยกเว้นเด็กคนนั้นจะการเรียนบกพร่องมากๆ ก็จะเรียกมาคุย เพื่อให้เรียนให้ทันเพื่อนๆ แต่คนที่ได้คะแนนกลางๆ หรือพ้นมาตรฐาน ก็จะไม่มีปัญหา ท่านไม่มาเร่งให้เรียน หรือ เน้นติวอะไรมากมาย กลัีบส่งเสริมให้ทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อฝึกทักษะอื่นๆแทน (แน่นอนค่ะ บนความเรียบง่าย มัธยัสต์ ติดดิน) แต่เรื่องการบ้านนี่เยอะจริงค่ะ สมัยก่อน ดิฉันก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง โดนไปหลายดอกเหมือนกัน แต่ด้วยความที่พฤติกรรมดีเด่น น้ำใจเป็นเลิศ ครูก็ปล่อยๆ แกมเป็นห่วง กลัีวไม่มีที่เรียนต่อเหมือนกัน
หากได้เรียนโรงเรียนแคธอลิค แม้เด็กจะเรียนแย่แค่ไหน ก็ไม่ต้องกลัวไม่มีที่เรียน เพราะโรงเรียนไม่ค่อยทิ้งลูกศิษย์และรักลูกศิษย์มาก มีแต่จะพยายามหาจุดเด่น และส่งเสริมเด็กให้ดีที่สุด เท่าที่เด็กคนนั้นจะทำได้ ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมมากมาย เช่นอบายมุข เกเร หรือ ติดยาเสพติด โดดเรียน หรือผิดระเบียบหนักๆ หรือบ่อยๆ โรงเรียนก็อาจจะเรียกพ่อแม่มาคุย เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยลูก หากพ่อแม่ไม่ให้ความร่วมมือ ปล่อยปละละเลยลูก โรงเรียนก็อาจจะพิจารณา ไม่ให้เด็กเรียนต่อไปค่ะ อันนี้ไม่ใช่ความผิดของเด็ก แต่เป็นเพราะทัศนคติของพ่อแม่ที่ไม่สามารถร่วมมือกับทางโรงเรียนได้
สรุป แล้ว จากประสบการณ์ พ่อแม่ที่คาดหวังเรื่องการเรียนเป็นเลิศ หรือดูแลลูกให้สุขสบาย มาตรฐานฝรั่ง โรงเรียนแคธอลิค อาจจะไม่ได้เป็นแบบที่หวัง แต่หากหวังเรื่องความประพฤติ ความมีน้ำใจ เมตตา ก็เป็นไปไ้ด้ค่ะ ที่นี่
อีกเรื่องที่ดิฉันสังเกต คือ เรื่องการกินง่าย อยู่ง่าย จำได้ว่า โรงเรียนทำอาหารกลางวันแบบเรียบง่าย และปริมาณไม่มาก อาหารไม่ค่อยอร่อย แต่เด็กๆก็ต้องกิน เพราะไม่ค่อยมีทางเลือก ผลก็คือ แม้อยู่บ้านจะเป็นคุณหนู คุณชาย แต่ก็ติดดินค่ะ บางโรงเรียน ให้นักเรียนล้างจานเอง น้ำล้างชามคราบมันลอยละล่อง ดูน่ารังเกียจ แต่ท่านอธิการิณี สอนว่า มือเราสกปรก เหม็นหรือเลอะ เราก็ล้างออกได้ แต่ใจที่สกปรก ล้างเท่าไหร่ ก็อาจจะไม่หมด หัดล้างถ้วยชามล้างห้องน้ำให้ส่วนรวม มันช่วยล้างใจของเราได้
เท่า ที่ดิฉันเรียนมา และเคยได้ยินมา มิสและผู้บริหารจะไม่ค่อยเน้นเรื่องการเรียน ยกเว้นเด็กคนนั้นจะการเรียนบกพร่องมากๆ ก็จะเรียกมาคุย เพื่อให้เรียนให้ทันเพื่อนๆ แต่คนที่ได้คะแนนกลางๆ หรือพ้นมาตรฐาน ก็จะไม่มีปัญหา ท่านไม่มาเร่งให้เรียน หรือ เน้นติวอะไรมากมาย กลัีบส่งเสริมให้ทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อฝึกทักษะอื่นๆแทน (แน่นอนค่ะ บนความเรียบง่าย มัธยัสต์ ติดดิน) แต่เรื่องการบ้านนี่เยอะจริงค่ะ สมัยก่อน ดิฉันก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง โดนไปหลายดอกเหมือนกัน แต่ด้วยความที่พฤติกรรมดีเด่น น้ำใจเป็นเลิศ ครูก็ปล่อยๆ แกมเป็นห่วง กลัีวไม่มีที่เรียนต่อเหมือนกัน
หากได้เรียนโรงเรียนแคธอลิค แม้เด็กจะเรียนแย่แค่ไหน ก็ไม่ต้องกลัวไม่มีที่เรียน เพราะโรงเรียนไม่ค่อยทิ้งลูกศิษย์และรักลูกศิษย์มาก มีแต่จะพยายามหาจุดเด่น และส่งเสริมเด็กให้ดีที่สุด เท่าที่เด็กคนนั้นจะทำได้ ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมมากมาย เช่นอบายมุข เกเร หรือ ติดยาเสพติด โดดเรียน หรือผิดระเบียบหนักๆ หรือบ่อยๆ โรงเรียนก็อาจจะเรียกพ่อแม่มาคุย เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยลูก หากพ่อแม่ไม่ให้ความร่วมมือ ปล่อยปละละเลยลูก โรงเรียนก็อาจจะพิจารณา ไม่ให้เด็กเรียนต่อไปค่ะ อันนี้ไม่ใช่ความผิดของเด็ก แต่เป็นเพราะทัศนคติของพ่อแม่ที่ไม่สามารถร่วมมือกับทางโรงเรียนได้
สรุป แล้ว จากประสบการณ์ พ่อแม่ที่คาดหวังเรื่องการเรียนเป็นเลิศ หรือดูแลลูกให้สุขสบาย มาตรฐานฝรั่ง โรงเรียนแคธอลิค อาจจะไม่ได้เป็นแบบที่หวัง แต่หากหวังเรื่องความประพฤติ ความมีน้ำใจ เมตตา ก็เป็นไปไ้ด้ค่ะ ที่นี่
วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ความเห็นจากประสบการณ์ MNSHANG เรื่องโรงเรียนแคธอลิค (๑)
ภาพจากอินเตอร์เนต
เท่าที่อ่านคำถามในเวบบอร์ดเป็นระยะ มีเพื่อนๆจำนวนมาก ก็อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับสังคม ระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนในเครือแคธอลิค แม้ว่าจะมีเพื่อนมาให้ข้อมูลจำนวนหนึ่ง แต่ดิฉันก็ยังคิดว่า "บอกไม่หมด" ทำให้ความชัดเจน เรื่องการเรียนการสอนของโรงเรียนแคธอลิค ยังคลาดเคลื่อนไม่ชัดเจน และก็คงเหมือนๆกับข้อมูลโรงเรียนสาธิต หรือ โรงเีรียนอื่นๆในเวบบอร์ด ที่ก็บอกไม่หมด ซึ่งทำให้ผู้ปกครองไขว้เขว บางคนคาดหวังมากเกินไป ก็จะผิดหวังว่า ไม่สมที่กับทุ่มเทไป ที่แท้จริงแล้วก็ไม่เชิง แต่เป็นเพราะว่า จินตนาการของมนุษย์มันมักจะคาดหวังอะไรที่เกินพอดี
จากการที่ิดิฉันเติบโตในโรงเรียนแคธอลิค และมีญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงที่ส่งลูกหลาน เข้าเรียนโรงเรียนในเครือแคธอลิคไม่ขาดสาย จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ดิฉันได้รับทราบเรื่องราว วิธีการเรียน การอบรมของโรงเรียนในเครือแคธอลิคมาเป็นระยะ ไม่เคยว่างเว้น แทบจะยืนยันได้ว่า ระบบการบริหารที่แข็งแกร่งของบราเดอร์ หรือ คณะแม่ชี ของโรงเรียนแคธอลิคนั้น ไม่เคยหย่อนยานลงเลย โรงเรียนในเครือแคธอลิค มีความเข้มงวดกับพฤติกรรม ความประพฤติของนักเรียนชนิดเป็นเลิศมาโดยตลอด การอบรมกุลบุตร กุลสตรีที่เป็นศิษย์นั้น ถือว่ามาเป็นอันดับหนึ่ง สำคัญกว่า การเรียนตำรา
พ่อแม่ที่ส่งลูกไปเรียนโรงเรียนแคธอลิคที่ มีค่าเล่าเรียนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ อาจจะคาดหวังเรื่องของ ความเป็นอยู่ที่สุขสบายของลูกหลาน แต่ที่แท้จริงแล้ว เท่าที่สัมผัสมา นโยบายของโรงเรียนในเครือแคธอลิค ทั้งหญิงและชาย จะสอนเด็กๆให้ประหยัด มัธยัสต์มาก ในโรงเรียนมีภารโรงไม่กี่คน อุปกรณ์ ห้องน้ำ สนามกีฬา เครื่องกีฬา จำนวนจะจำกัดมาก ต้องแบ่งปันกัน ผลัดกันเล่น มีหลายคนย้ายลูกออก เพราะโรงเรียนแออัด และห้องน้ำไม่พอใช้ และมีกลิ่นไม่สะอาด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากเทียบกัน ก็ยังถือว่า ไม่ได้เลวร้ายหากเทียบกับโรงเรียนรัฐบาลหลายๆแห่ง แต่เป็นเพราะครอบครัวที่มาเรียน มักจะมีอันจะกิน เด็กๆจึงไม่เคยชินกับความไม่สะดวก
ผู้บริหารในเครือแคธอลิค ต้องมีการโยกย้ายเป็นประจำ เกือบทุกๆสาม ถึงสี่ปี โดยย้ายเวียนไปทุกโรงเรียนในเครือทั้งใน และต่างจังหวัด แม้ว่าจะย้ายอย่างไร การเรียนการสอน และระเบียบวินัยก็ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หากจะเปลี่ยนก็น้อยมาก ทำให้มีความคงที่เรื่องคุณภาพการเรียนการสอนเสมอต้นเสมอปลาย ที่สำคัญ คือ ผู้บริหารของโรงเรียนจะไม่ค่อยหวั่นไหวต่ออารมณ์ และความคิดเห็นของผู้ปกครอง โรงเรียนแคธอลิคจะมีความมั่นคงเรื่องนโยบาย และหลักสูตร วิธีการสอน ที่ค่อนข้างจะมั่นคง ดิฉันเคยได้รับฟังจากหลายๆคนที่ไม่พอใจระบบการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่การบ้านมากมาย หรือ เข้มงวดเรื่องระเบียบมาก ก็จะไปหารือ หรือต่อว่า ร้องเรียนผู้บริหาร แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และสุดท้ายเมื่อเด็ก และผู้ปกครองปรับตัวเข้ากับนโยบายโรงเรียนไม่ได้ ก็ต้องพาลูกย้ายโรงเรียนไป
เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องทีไ่ม่ดี เพราะการที่โรงเีรียนในกลุ่มแคธอลิค รักษาชื่อเสียง เป็นอันดับต้นๆของประเทศมาเป็นเวลายาวนาน ก็เพราะการแข็งแกร่งของคณะบราเดอร์ และคณะแม่ชีมาเป็นเช่นนี้ และทำให้มาตรฐานของโรงเรียนในเครือทั้งหมด จะไม่ค่อยต่างกันมากนัก แม้ว่าจะมีโรงเรียนในเครือที่ดังๆ อยู่ไม่กี่โรงเรียน อาจจะเป็นเพราะโรงเรียนดังๆในเมือง เป็นที่ๆพ่อแม่ที่มีชื่อเสียง ส่งลูกหลานมาเรียนต่อๆกันมา หลายยุคก็เป็นได้
เดี๋ยวมาต่อ
การเลือกโรงเรียนของลูกตามแบบMNSHANG (๖)
รูปจากอินเตอร์เนต
ดรุณสิกขาลัย เป็นหนึ่งสองโรงเรียนที่ดิฉันชื่นชอบมานาน ยิ่งมีลูกชายสองคน ดิฉันยิ่งรู้สึกว่าโรงเรียนนี้เหมาะกับเด็กผู้ชาย เป็นอย่างยิ่ง เด็กๆถูกฝึกให้คิดค้นคว้าแบบวิทยาศาสตร์ เรียนตามความสนใจ และเรียนกันเป็นทีม ซึ่งแนวทางนี้ ค่อนข้างจะตรงกับความชอบส่วนตัว จากการที่ดิฉันได้ศึกษาและเขียนกระทู้ เืรื่อง "แค่เก่ง...ไม่พอ Talent is Never Enough " ดิฉันมีความเชื่อเรื่องการฝึกเด็กให้ทำงานเป็นทีม รู้จักทักษะของการสื่อสาร การแสดงความคิดเห็นให้เป็นรูปธรรม การทำMindmapping ร่วมทั้งเรียนรู้สิ่งที่ตนเองสนใจให้ถ่องแท้ ดิฉันจึงพิจารณาว่า การศึกษาแบบดรุณสิกขาลัย เท่าที่อ่านเท่าที่ฟัง น่าจะตอบโจทย์ได้หลายๆเรื่อง การเรียนการสอนที่สอนเด็กค้นคว้า การใช้ภาษาอังกฤษ การใช้ไอที เป็นต้น แต่เท่าที่พูดคุยกับพ่อแม่หลายๆท่าน ประเด็นหลักๆที่ไม่ส่งลูกเข้าที่นี่ มาจากความไม่มั่นใจหลายๆอย่าง กล่าวคือ โรงเรียนยังไม่มีเด็กที่เรียนจบให้เ็ห็นชัดๆ ว่าสามารถเรียนต่อขั้นมหาวิทยาลัยดังๆ หรือประสบความสำเร็จในอาชีพการงานหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ ก็เห็นใจโรงเรียน เพราะการสร้างนักเรียนแต่ละรุ่นต้องใช้เวลาหลายปี กาลเวลาและผลงานการศึกษาของนักเรียนจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพของหลักสูตร และการบริหารโรงเรียน
อีกประการหนึ่ง คือ เรื่องค่าเล่าเรียนที่สูงมาก คือ หลักสูตรแพงระดับการเรียนแบบอินเตอร์ ระดับกลางๆ คือ เฉลี่ยปีละกว่า ๓ แสนในระดับประถม หากผู้ปกครองยอมจ่ายค่าเล่าเรียนกันขนาดนี้ ก็มักจะพาไปเลือกเรียนอินเตอร์กันมากกว่า แต่ดิฉันก็เห็นใจ เพราะระบบการเรียนแบบนี้ ต้องมีต้นทุนสูง จำนวนนักเรียนต่อห้องน้อยๆ เรื่องไอที เรื่องของห้องสมุด รวมทั้งคุณภาพครู ที่ต้องมีความสามารถสูงมาก สามารถชี้แนะเด็กๆได้ อันนี้เป็นประเด็นที่ดิฉันยังไม่มั่นใจ เมืองไทยของเรา มีปัญหาเรื่องคุณภาพครู ไม่ว่าจะเป็นครูไทย หรือต่างประเทศ จะเขียนหลักสูตรให้เลิศหรู ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ทำได้ตามที่ประกาศหรือไม่ อันนี้สำคัญ เท่าที่ทราบ โรงเรียนนี้มีจำนวนนักเรียนไม่มาก และมีผู้ปกครองที่มีศักยภาพ ทั้งทางด้านการเงิน และการใส่ใจลูกเรื่องการเรียนรู้ เป็นโรงเรียนที่น่าสนใจ จากการศึกษา คิดว่า เด็กๆที่เรียนโรงเรียนนี้ มีไม่มีคนที่จะต่อจนถึงระดับสูง ส่วนมากจะย้ายไปเรียนที่ต่างประเทศ ในระดับมัธยม เพราะครอบครัวมีศักยภาพ และเมื่อเด็กโตพอที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้ปกครองก็มักจะส่งไปเรียนที่ต่างประเทศ เพื่อฝึกฝนการดูแลตัวเอง
สรุปแล้ว การที่จะทำโรงเรียนดีๆ สมบูรณ์แบบที่จะฝึกเด็กๆได้รอบด้านนั้น มีต้นทุนสูง และมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น เรื่องบุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์การเรียนการสอน การเีรียนโรงเรียนที่สมบูรณ์แบบมีค่าใช้จ่ายสูง และหลายๆครั้งก็สูงเกินความจำเป็น หากยอมเสียเงินกันหนักขนาดนี้ ก็อาจจะต้องแลกมาซึ่งความไม่สมดุลของครอบครัว เช่น พ่อแม่อาจจะต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินจำนวนมากมาส่งลูกจนจบ เรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องยาวไกล ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี หากวางแผนไม่ดี อาจจะมีปัญหากับครอบครัวได้ อีกทั้งโรงเรียนดีๆ อาจอยู่ไกลบ้าน ต้องเดินทางฝ่ารถติด เสียเวลา เสียสุขภาพจิต เด็กๆและพ่อแม่หลายๆคนไม่ได้มีโอกาสรับประทานอาหารเช้า เพราะต้องออกเดินทางแต่เช้ามืดเพื่อให้ทันโรงเรียน ทันไปทำงาน อาหารเช้า มีความสำคัญกับการพัฒนาสมองเด็ก และผู้ใหญ่ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญตลอดวันของมนุษย์เรา การอดอาหารเช้า ไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อการศึกษาและสุขภาพ
แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันก็ยังมีทางเลือกทีเ่ป็นไปได้อีกทางหนึ่ง คือ การเรียนแบบโฮมสคูล ออกแบบตามใจดิฉัน และออกแบบตามแบบที่เหมาะกับลูกแต่ละคน แทนที่เราจะเสียค่าเล่าเรียนที่แพงมหาโหด เราเอาเงินเหล่านี้ มาซื้อคอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือพาลูกไปท่องเที่ยวดูของจริง ทั้งในและต่างประเทศ เราสอนลูกด้วยตัวเอง จัดเวลาให้สมดุล ให้ลูกมีเวลาออกกำลังกาย ให้ลูกมีเวลาเล่นดนตรี ทำงานศิลปะ หรือ เรียนหมากล้อม อ่านหนังสือ ฝึก Mindmap เขียนรายงาน เขียนไดอารี่ ทั้งไทยและอังกฤษ และฝึกเรื่องทักษะรอบตัว การช่วยเหลือตัวเอง และทำงานสังคม ช่วยเหลือคนอื่น
ที่จริงแล้วมีไม่กี่ครอบครัวที่ทำได้ เพราะการทำโฮมสคูลต้องอาศัยความพร้อมหลายอย่าง เช่น พ่อแม่ต้องมีความรู้ มีความสามารถพอที่จะสอน และนำลูกๆได้ และต้องมีเวลาพอ ไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้หรืองานประจำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้พ่อแม่หลายๆคนก็ต้องคิดหนักๆ หน้าที่การงาน รายได้ การแข่งขันของธุรกิจ ทำให้หลายๆคนปล่อยวางได้ยาก
ที่จริงแล้วเรื่องการเรียนโฮมสคูลก็มีจุดอ่อนเช่นกัน สำหรับดิฉัน กล่าวคือ ดิฉันอยากให้ลูกได้ฝึกพูดหน้าชั้น การทำ Presentation รู้จักการโต้วาที เพราะหน้าที่การงานของดิฉัน และสามี ล้วนแต่ต้องใช้ทักษะเหล่านี้ การเรียนโฮมสคูล ทำให้เด็กๆไม่มีโอกาสพูดต่อหน้าคนหมู่มาก ขาดโอกาสที่จะฝึกเรื่องนี้ และไม่มีโอกาสที่จะรับรู้ความรู้สึกที่ถูกต่อต้าน ความเ็ห็นต่าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตมนุษย์ เราต้องฝึกเด็กให้รู้จักรับฟัง และมีความสามารถในการโน้มน้าว โต้แย้ง แก้ข้อกล่าวหา หรือการยอมรับความเห็นต่าง
เรื่องการสอบเทียบ การยอมรับของผลการเรียนของโฮมสคูล ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะในอเมริกา ออสเตรเลีย มีการเรียนในระบบนี้จำนวนมาก มีหลักสูตรออนไลน์ มีการสอบวัดระดับ เราอาจจะพาลูกไปสอบปีละครั้ง หรือสอบออนไลน์ ก็ได้ ผลก็เป็นที่ยอมรับในสถาบันต่างๆ แต่เด็กๆก็อาจจะขาดโอกาสที่จะเรียนมหาวิทยาลัย Top 10 Top 100 เพราะไม่แน่ใจว่าผลจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ แต่ปกติมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ดูส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ผลการสอบ SAT ที่เราไปสอบได้ รวมทั้งจดหมาย หรือรายงานที่ต้องเขียนเพื่อการสมัคร แม้แต่เด็กเรียนระบบปกติ ก็เข้ายากเช่นกัน
ดิฉันจึงตั้งใจว่า คงจะต้องยอมรับโรงเรียนใด โรงเรียนหนึ่งในกรุงเทพ ที่ค่าใช้จ่ายพอประมาณ อยู่ใกล้บ้านมากๆ และไม่เข้มงวดกวดขันเรื่องการเรียน ดิฉันจะได้มีโอกาสทำโฮมสคูลให้ลูกในส่วนที่ขาดไป หากเรียนไปสักระยะหนึ่ง ดูหน่วยก้านของลูก หากไม่เหมาะสม ก็จะทำโฮมสคูลในระดับประถมไปเลย เก็บเงินส่งลูกเรียนต่างประเทศ หรือโรงเรียนดีๆ ในระดับมัธยม หรือมหาวิทยาลัยจะดีกว่า
การเลือกโรงเรียนของลูกตามแบบMNSHANG (๕)
รูปจากอินเตอร์เนต
ทางเลือกอีกทางหนึ่งของดิฉันคือ โรงเรียนแนวทางเลือก ซึ่งมีให้เลือกหลากหลาย ยิ่งลูกยังเล็กทางเลือกจะยิ่งมาก มีหลายโรงเรียนที่เรียกว่าโรงเรียนแนวบูรณาการ มีหลายระบบ หลากทฤษฎี เช่น
วอลดอร์ฟ เช่น ปัญโญทัย รุ่งอรุณ หรือ แสนสนุกไตรทักษะ
มอนเตสเซอรี่
วิถีพุุทธ เช่น โรงเรียนทอสี หรือสยามสามไตร วรรณสว่างจิต
พหุปัญญา เช่น เพลินพัฒนา
Project Approach : เช่น ดรุณสิกขาลัย
เรกจิโอ เอมิเลีย
นีโอฮิวแมนนิสต์ เช่น สัตยาไส โรงเรียนอมาตยกุล
แต่สำหรับดิฉันนั้น มีข้อจำกัดคือเรื่องการเดินทาง และโรงเรียนที่ดิฉันสนใจ จะต้องเป็นแนวที่ลูกๆสามารถเรียนต่อเนื่องได้จนจบชั้นประถมปลาย เป็นอย่างน้อย ดังนั้นโรงเรียนที่เป็นบูรณาการแค่ระดับอนุบาล หรือ มีเส้นทางเดินทางที่ำไกล หรือรถติดจึงไม่ใช่ทางเลือกของดิฉัน
โรงเรียนในกลุ่มทางเลือกที่ดิฉันสนใจ ก็คือ เพลินพัฒนา ปัญโญทัย แสนสนุกไตรทักษะ หรือแม้แต่สัตยาไส อมาตยกุล แต่ไกลเกินฝัน เพราะไกลเหลือเกิน ทางเลือกของดิฉันจึงเหลือเพียงไม่กี่โรงเรียน คือ รุ่งอรุณ วรรณสว่างจิต ดรุณสิกขาลัย และพระแม่มารีสาทร ซึ่งมีหลักสูตรมอนเตสเซอรี่ เป็นหลักสูตรเสริม
ในโรงเรียนพระแม่มารีสาทรนั้น ดูเหมือนจะเป็นแนวผสมผสาน เพราะต้องจ่ายค่าเรียนมอนเตสเซอรี่ต่างหาก หากต้องการจะเรียน ในพระแม่มารีสาทรนั้นมีหลักสูตร EP ด้วย โรงเรียนใหญ่ มีสระว่ายน้ำ และมีสนามกีฬา สถานที่กว้างขวางมาก แถมมีหอพักรับนักเรียนประจำ ตั้งแต่ ประถมหนึ่ง ถึงมัธยมหก มีหลักสูตรธรรมดา EP และมีแบบเสริมมอนเตสเซอรี่ ที่สำคัญคือ อยู่ในเมือง คือตั้งอยู่ที่ถนนจันทน์สะพานสาม ไม่ไกลจากสาทร สีลม และค่าเล่าเรียนไม่แพง กล่างคือหลักสูตร EP เพียงเทอมละ สามหมื่นต้นๆ
ดิฉันได้มีโอกาสไปชมโรงเรียน เมื่อไม่นานมานี้ โรงเรียนใหญ่มากค่ะ และการเดินทางสะดวก มีทางเข้าออกทั้งทางสาธุประดิษฐ์และถนนจันทน์ เด็กๆมีทั้งเด็กเล็กอนุบาล ถึงมัธยมหก แม้โรงเรียน ตึกต่างๆจะดูเก่า เพราะไม่ได้ทาสีใหม่ แต่ก็ดูแข็งแรง โรงเรียนสะอาดสะอ้าน ดูมีระเบียบ แสดงให้เห็นถึงความเข้มงวดของระเบียบวินัยได้ดี และแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนที่มีความเรียบง่าย ประหยัดมัธยัสต์ เน้นคุณภาพ มากกว่าความสวยงามภายนอก เท่าที่ศึกษาจากความเห็นในเวบบอร์ด ถือว่า เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ และค่าเทอมไม่แพง เพราะเป็นโรงเรียนของศาสนาคริสต์ ที่ไม่แสวงผลกำไร เน้นหนักเรื่องการสร้างเด็กมากกว่า อันนี้เชียร์ตรงๆเลย
แต่ดิฉันก็ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกโรงเรียนนี้หรือไม่ แม้จะค่อนข้างตรงความต้องการหลายอย่าง เช่น ค่าเทอมที่เหมาะสม มีการเรียน EP มีการเรียนแบบมอนเตสเซอรี่ เดินทางไม่ไกล ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ดิฉันต้องการสังเกต เช่นตัวของเด็กนักเรียน สังคมครอบครัวของเด็กๆ การให้ความร่วมมือของครู และผู้บริหารและผู้ปกครอง รวมทั้งจำนวนนักเรียนต่อห้อง เพราะการเรียนในแนวทางเลือกนี้ จำนวนนักเรียนต่อห้องต้องน้อยค่ะ และต้องมีการร่วมมือระหว่างครู ผู้บริหารและผู้ปกครองสูง หากเป็นโรงเรียนแนววิชาการ เน้นสอนตามตำรา ท่องจำ จำนวนนักเรียนต่อห้อง จะมาก เพราะสอนแบบเหมาโหล เรืองโรงเรียนของลูกนี่ ต้องดูกันลึกซึ้ง ลูกเป็นของรักของเรา จะปลูกฝังลูกในที่ใด ต้องแน่ใจว่า ที่นั้นเหมาะสมที่สุด
อันที่จริงแล้ว โรงเรียนในย่านนี้มีโรงเรียนดีๆ และประวัติยาวนานหลายแห่ง เช่น พระแม่มารีสาธุประดิษฐ์ เปรมฤดีศึกษา แม้กระทั่งโรงเรียนของรัฐหรือสังกัดกทม. ก็ไม่เลวเลย เช่น โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ดิฉันมีคนที่ใกล้ชิด ทำงานตำแหน่งสูงในแวดวงการเงิน การแพทย์ ก็ส่งลูกเรียนที่นี่จนจบชั้นประถมหก ปัจจุบันเด็กๆเรียนจนจบปริญญาโทจากต่างประเทศ ได้ทุนไปด้วย เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมดี และมีความสามารถ เพราะโรงเรียนในวัยเด็กนั้น อบรมเด็กมาดีมาก และพ่อแม่ก็มีเวลาให้ลูกๆ ไม่ต้องทำงานหนัก ค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาลูกไม่สูงมาก ทำให้พ่อแม่ไม่ต้องเหนื่อยเกินเหตุ มีเพื่อนๆหลายคน ตอนนี้ทำงานทำการทำแหน่งสูงในองค์กรหลายแห่ง พื้นฐานวัยเด็ก ก็จบเปรมฤดีศึกษา พระแม่มารีมาเช่นกัน เรียกว่าไม่แพ้เด็กที่จบมาจากโรงเรียนดังๆ
จากการสรรหาศึกษาข้อมูลโรงเรียนในกรุงเทพให้ลูกๆ พบว่าแต่ละเขตก็มีโรงเรียนดีๆนะคะ ไม่ใช่แต่ในเมือง แถวชานเมือง โรงเรียนดีๆก็มาก เช่น ย่านพระโขนง พัฒนาการ อุดมสุข ศรีนครินทร์ มีทั้งโรงเรียนอินเตอร์ โรงเรียนแนวทางเลือก โรงเรียนแนววิชาการไม่น้อย ดิฉันคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไปที่เราจะต้องมาแข่งขันกันสอบเข้าโรงเรียนดีๆ ไม่กี่แห่งกลางกรุง แบบสมับโบราณ การจราจรที่ติดขัด การแข่งขันที่เกินความจำเป็น ทำให้เด็กๆเสียเวลาไปกับการเรียนที่เกินความจำเป็น เสียเวลากับการเดินทาง แทนที่จะมีเวลาไปออกกำลังกาย ฝึกทักษะด้านอื่นๆ ฝึกหัดทำงานบ้าน ช่วยเหลือพ่อแม่ในด้านอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นวิถีการเรียนรู้ที่สำคัญไม่แพ้ การศึกษาในโรงเรียน
วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเลือกโรงเรียนของลูกตามแบบMNSHANG (๔)
ภาพจากอินเตอร์เนต
มาดูเรื่องระบบการเรียนการสอนของสารสาร์สเอกตราบ้าง เท่าที่อ่านดูพบว่า การเรียนการสอนของสารสาร์สเอกตราในช่วงอนุบาลถึงประถมสองนั้น จะเน้นภาษาอังกฤษมากว่าภาษาไทย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เกือบจะใกล้เคียงกับโรงเรียนอินเตอร์กันเลยทีเดียว และในประถมหนึ่งและสองก็ยังมีสัดส่วนการเรียนภาษาไทยมากขึ้นเรื่อยๆ จนในชั้นประถมปลายจะเรียนแบบ Bi-lingual คือเรียนแบบครึ่งต่อครึ่ง เมื่อมาถึงชั้นมัธยมก็จะเน้นภาษาอังกฤษมากขึ้นอีกครั้ง คือสัดส่วน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นมัธยมสามและหก ที่เด็กๆต้องเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน ก็จะเรียนเน้นภาษาไทยต่อไป คือ ครึ่งต่อครึ่ง
หากดูจากการออกแบบสารสาร์สเอกตราแล้ว ดิฉันเองก็ยังไม่ถูกใจนัก เพราะดูเหมือนว่าจะยังโดนบังคับเรื่องการแข่งขันของระบบการศึกษาไทยอยู่ดี แต่ก็เข้าใจได้ เพราะผู้ปกครองมีหลายแบบ หลายๆคนก็ต้องการที่จะส่งลูกไปเรียนต่อโรงเรียนชั้นนำของประเทศ ในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะผู้ที่เน้นสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม แพทย์ ก็มักจะย้ายลูกไปสอบเข้าโรงเรียนของรัฐในระดับนี้ เพื่อมีโอกาสในการสอบเข้าสถาบันดีๆในอนาคต สารสาร์สก็คงจำเป็นต้องปรับหลักสูตรเพื่อรองรับความต้องการของผปค.ในกลุ่มนั้น แต่ในกลุ่มผปค.ที่คาดหวังเรื่องภาษา จะ่ส่งลูกไปเรียนตปท. ก็คงต้องปรับตัว พบกันครึ่งทาง
สิ่งที่ดิฉันไม่ชอบมากที่สุด เกี่ยวกับสารสาร์สเอกตรา คือ เรื่องของสถานที่ทีคับแคบ เพราะอยู่ในเมือง เท่าที่ดูแผนกเด็ก แทบจะไม่มีสนามเด็กเล่น หรือเครื่องเล่นเด็กเลย ไม่ทราบว่าเด็กๆจะได้ออกกำลังกายกันบ้างหรือเปล่า และดิฉันก็ไม่ค่อยประทับใจกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน ในเวียดนามนี่ ถือว่าบริการแย่มากๆ เมืองไทยของเราเป็นสวรรค์ของการบริการ ที่ประทับใจระดับโลก แต่ ทำไมบริการของเจ้าหน้าที่โรงเรียนนี้ และเวียดนามจึงกลับตารปัตก็ไม่ทราบ ต้องปรับปรุงอย่างแรง อีกประการหนึ่ง คือ ไม่มีการพาชมโรงเรียน ไม่อนุญาตให้ดูการเรียนการสอน อันนี้ก็ไม่เวิร์ค ที่เวียดนามเราสามารถดูได้ทุกเวลา ทะลุปรุโปร่ง มีเจ้าหน้าที่พาชม สิ่งที่ดิฉันคิดคือ คงต้องดูผู้บริหารโรงเรียน ครูใหญ่ และครูว่า เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองหารือ เข้าพบหรือไม่ การพัฒนาเด็กแต่ละคน การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร พบปะหารือกันแบบไม่เป็นทางการ จะสามารถช่วยพัฒนาเด็กๆได้มาก
ส่วนสารสาร์ทพิทยานั้น เท่าที่อ่านดู คาดว่าคงจะคล้ายๆกับสารสาร์ทวิเทศ คือเีรียนไทย และอังกฤษในสัดส่วนที่เท่ากัน และเน้นทางด้านวิชาการ โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนแรกในกลุ่มโรงเรียนสารสาร์ท และเป็นต้นแบบของหลักสูตร สองภาษาในประเทศไทย ซึงนำมาใช้ในหลักสูตร สารสาร์ทเอกตราในเวลาต่อมา เท่าที่เคยอ่านจากความเห็นของผู้ปกครองท่านอื่น จะพูดกันว่า หลักสูตรสองภาษาของสารสาร์ทพิทยาจะดีกว่า สารสาร์ืทเอกตรา ดิฉันเชื่อว่าเป็นไปได้ เพราะในการเรียนระดับประถมสาม ถึงหก ของสารสาร์ทเอกตรานั้น จะเรียนภาษาไทย เท่าๆกับภาษาอังกฤษ เหมือนกับสารสาร์ทพิทยา แต่ หลักสูตรด้านวิชาการของสารสาร์ทจะเข้มข้นกว่า เพราะสารสาร์ทพิทยาเป็นโรงเรียนที่เน้นวิชาการ ในขณะที่เอกตรานั้น มีจุดเด่นเรื่องภาษา และการเรียนที่ยืดหยุ่นกว่า แบบกึ่งๆอินเตอร์
หากเทียบแล้ว ดิฉันคิดว่าหลักสูตร Bi-lingual ของสารสาร์ทพิทยาคงคล้ายๆเครือแคธอลิคคือ เน้นวิชาการ และเรียนแบบไทย และอังกฤษ คงหนักประมาณนั้น ดิฉันเองก็ยังสงสัยว่าหลักสูตร EP หรือ พวก Bi-lingual นี่ใช่ทางเลือกของดิฉันหรือเปล่า เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ค่าใช้จ่ายพอไหว แต่สงสัยเรื่องการเรียนการสอน
การเลือกโรงเรียนของลูกตามแบบMNSHANG (๓)
ทางเลือกที่สามที่มี คือ โรงเรียนแบบ EP หรือ พวก Bi-lingual
เนื่องจากลูกสองคนเรียนมาแบบนานาชาติ การเีรียนแบบ EP หรือ Bi-lingual จะช่วยลูกได้มากกว่า เพราะลูกได้ภาษาอังกฤษมาก่อน แต่ด้วยการที่ครอบครัวใช้ภาษาไทยมาตลอดที่อยู่ในเวียดนาม ทำให้ลูกฟังและพูดภาษาไทยได้คล่อง
แต่ดิฉันก็กังวลเรื่องการเีรียนระบบ EP ในประเทศไทย เพราะเท่าที่ติดตามดูปัญหาที่เพื่อนๆพ่อแม่คุยกันในหน้าเวบบอร์ดมาหลายปี การเรียนระบบ EP ของไทยมีปัญหาหลายอย่าง โรงเรียนชื่อดัง เช่น อัสสัมชัญ เซ็นต์โยเซฟ กรุงเทพคริสเตียน ล้วนแต่มี EP ด้วยกันทั้งสิ้น แต่การเรียนในระบบ EP ของโรงเรียนเหล่านี้จะค่อนข้างหนัก เพราะโรงเรียนในเครือแคธอลิค หรือคริสเตียน มีชื่อเสียงด้านวิชาการแข็งแกร่ง จึงผสมความแข็งแกร่งด้านวิชาการ เรียนทั้งแบบไทย และอังกฤษ การเรียนนั้นหนักมากเป็นสองเ่ท่า ดิฉันเคยเจอคนรู้จักหลายคนที่ส่งลูกเรียน EP โรงเรียนดังๆเหล่านี้ หลายๆคนสุดท้าย ต้องโบกมือลา พาลูกไปเรียนอินเตอร์แท้ๆไปเลย เพราะ การบ้านเยอะมาก งานเยอะ ท่องเยอะ และเข้มงวดมาก เด็กๆประสบปัญหา โดนกรอบการเรียนการสอน แบบท่องจำของกระทรวงด้วย เพราะต้องสอบ O-net, NT เช่นกัน จึงต้องรักษามาตรฐานชื่อเสียงของโรงเรียนไว้ ประกอบกับ ต้องเรียนเป็นอังกฤษแบบ English Program เด็กๆจึงเจองานหนักมาก
ปัจจุบันมีโรงเรียนจำนวนมาก หันมาเปิด EP เพราะเรียกค่าเล่าเรียนได้สูง แม้แต่โรงเรียนในเครือสาธิตก็มี EP เช่นกัน แต่โรงเรียน EP ใหม่ๆก็ล้วนแต่ประสบปัญหาเรื่องการบริหารบุคลากรและหลักสูตร เช่นกัน ค่าเล่าเรียนแบบ EP ถือว่าแพงรองลงมาจาก โรงเรียนนานาชาติ ระดับล่างๆ แต่โรงเรียนดีๆ ก็จะหาบุคลากรที่ดีได้ไม่ยาก ยิ่งโรงเรียนที่มีประสบการณ์เรื่อง EP มานาน ผ่านร้อนผ่านหนาว ก็พอจะแก้ปัญหาได้ ณ ระดับหนึ่ง ดิฉันจึงต้องมาศึกษาหลายละเอียดเรื่องโรงเรียน EP ที่เข้าข่ายนี้ เพื่่อเฟ้นหาโรงเรียนที่เหมาะสม และใกล้บ้านให้ลูกๆ กลุ่มสารสาร์ส และโรงเรียนในกลุ่มพระแม่มารี ก็เป็นทางเลือกในกลุ่มนี้ที่ดิฉันสนใจ เพราะใกล้บ้าน และประวัติของโรงเรียนที่ยาวนาน พอเห็นผลงานของเด็กๆที่เรียนจบออกมาแล้ว
โรงเรียนในกลุ่มสารสาร์สนั้น มีหลายโรงเรียน ซึ่งออกจะสับสนว่าต่างกันอย่างไร เช่น สารสาร์สพิทยา สารสาร์สเอกตรา สารสาร์สนวิเทศ พอศึกษาดู เข้าใจว่า สารสาร์สนวิเทศ นั้นเป็นสารสาร์สที่ออกนอกเมือง มีพื้นที่ในการเรียนการสอนกว้างขวาง เท่าที่ดู จะขยายไปสี่มุมเมืองและในเมืองใหญ่ๆ มีสระว่ายน้ำ มีสนามกีฬา ค่อนข้างครบครัน สอนแบบ Bi-Lingual เคยคุยกับพ่อแม่หลายคน และอ่านจากกระทู้ต่างๆ พบว่า ภาษาก็ใช้ได้ แต่ไม่แข็งแกร่งมากนัก ไม่เหมือนการเรียนแบบเอกตรา เพราะเน้นไทย เท่าๆกับอังกฤษ แต่เด็กๆก็น่าจะได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย และการศึกษาไปพร้อมกัน เพราะสถานที่พร้อม การที่สารสาร์สขยายโรงเรียนออกไปนอกเมือง ก็ทำให้มีปัญหาเรื่องครูต่างชาติเช่นกัน เพราะจะหาคนต่างชาติที่พร้อมไปอยู่ที่ไกลเมืองก็ไม่ใช่ง่าย อ่านๆดู ดูเหมือนจะมีปัญหาถูกบ่นเรื่องครูต่างชาติ และภาษาที่ไม่เก่งไปกว่า โรงเรียนแคธอลิคธรรมดาสักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม สารสาร์สนวิเทศ ก็ไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉัน เพราะบ้านของดิฉันอยู่ในเมือง
การเลือกโรงเรียนของลูกตามแบบMNSHANG (๒)
ภาพจากอินเตอร์เนต
ทางเลือกที่ดิฉันมีคือ โรงเรียนนานาชาติ ซึงก็ต้องเลือกอย่างระมัดระวังเช่นกัน เพราะในการเรียนการสอนแบบโรงเีรียนนานาชาตินั้น มีหลายระบบ หลายราคา และหลากคุณภาพ ที่สำคัญคือเืรื่องของสังคมของเด็กๆ ในโรงเรียนนานาชาติ ที่อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกๆได้ เรื่องแบบนี้ ดิฉันไม่สามารถเขียนอย่างตรงไปตรงมาได้บนหน้าเวบบอร์ด เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของพ่อแม่หลายๆท่าน แต่เขียนในเวบบล็อกส่วนตัว เป็นความเห็นส่วนตัว เขียนได้ง่ายกว่า
ตอนที่อยู่ในเวียดนาม ดิฉันก็เผชิญกับการตัดสินใจที่คล้ายๆกัน โรงเรียนนานาชาติ ที่สอนในระบบ IB (International Baccalaureate) นั้น เป็นหลักสูตรที่เขาว่ากันว่าดีที่สุดในตอนนี้ แต่ค่าเล่าเรียนก็แพงที่สุดเช่นกัน คือปีละ 4-5 แสนบาท เพราะเท่าที่ดู โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรนี้ ต้องมีมาตรฐานเรื่องบุคลากร และสถานที่หลายๆอย่างที่ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ แน่นอน เด็กๆที่เรียนในโรงเรียนนี้ จะเป็นเด็กมาจากยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น หรือ ประเทศที่มีรายได้ รวมทั้งเด็กไทยที่มาจากครอบครัวฐานะดี เด็กๆที่มาเรียนในระบบนี้ ก็จะมีบุคลิกนิสัยแบบนานาชาติ หากครอบครัวยังคิดจะให้เด็กๆเติบโตแบบเอเชีย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ ระบบนี้อาจจะไม่เหมาะ ดิฉันเคยคิดที่จะส่งน้องแชงเรียนโรงเรียนแบบนี้ที่เวียดนาม แต่พิจารณาจากนิสัย พฤติกรรมของเด็กๆในโรงเรียนที่เฝ้าดู รู้สึกไม่ถูกใจ แม้การเรียนการสอนจะดีเลิศ อุปกรณ์จะดีเด่น เรียนสนุก แต่เด็กๆมีความเป็นฝรั่งมากเกินไป แต่หากเราคิดว่า อนาคตของลูกไม่ต้องอยู่เอเชีย และจะ Go Inter โรงเรียนแนวนี้ก็ถือว่า เหมาะสม เพราะเด็กที่เรียนแนวนี้ มักจะได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยดังๆทั่วโลก เพราะผลการเรียนถือว่าไ้ด้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับให้เรียนต่อได้ โดยไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะเรียนมาจาก IB ที่ใดๆในโลกนี้
โรงเรียนนานาชาติระดับกลางๆ ของเมืองไทย เท่าที่ศึกษาดู ก็จะราคาประมาณ ปีละ เกือบ 3 แสนบาท ไปจนถึงเกือบ 4 แสน แล้วแต่ว่าจะเป็นระบบใด เช่นอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ที่ต่างกัน ก็คือ เขาไม่ได้ใช้หลักสูตรแบบ IB แต่ใช้หลักสูตรของประเทศของเขาเอง ซึ่งหากไปเรียนต่อก็จะไม่ยาก แต่ที่จริงแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร หากเรียนหลักสูตรอังกฤษ ก็ไปเทียบวุฒิแบบอเมริกา หรืออาจจะมีการสอบ SAT เสริม ประมาณนี้ แค่ยุ่งยากเรื่องการสอบเทียบวุฒิเท่านั้น ซึ่งเป็นแบบโบราณเขาก็ทำกันแบบนี้ หากโรงเรียนที่ค่าเทอมแพง ก็ใช้ครูวุฒิดีๆ แต่หากโรงเรียนถูกๆ ก็อาจจะได้คนไม่มีมาตรฐานมาสอน แต่โรงเรียนในเกรดนี้ ปัญหาแบบนี้จะไม่มาก
โรงเรียนนานาชาติในระดับล่างๆ คล้าย ๆ Bi-lingual จะ แพงกว่า EP ไม่มาก แต่เื่ท่าที่ศึกษาดู คือระบบการเรียนการสอนจะไม่ค่อยนิ่ง บางปีดี บางปีไม่ดี เพราะคุณภาพของครูไม่ค่อยนิ่ง เนื่องจากค่าเล่าเรียนถูก ทำให้สรรหาคุณภาพบุคลากรได้ยาก ครูที่ได้มักเป็นครูต่างชาติในเอเชีย หรือครูฝรั่งที่อาจจะไม่มีประสบการณ์ หลายๆแห่งอาจจะต้องเปิดในทำเลที่ห่างไกลในเมือง ซึ่งคนอยู่เมืองแบบดิฉันจะไม่มีความเพียรที่จะไปไกลกว่าปากซอยบ้าน แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่เีทียบค่าเล่าเรียนโรงเรียนนานาชาติแบบไทยๆ กับ EP ราคาอาจจะแพงกว่ากัน ปีละ ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์ คือ ประมาณ แสนกว่าบาท ถึงสองแสนกว่าบาท ซึ่งสำหรับดิฉัน ก็ยังถือว่า แพงเกินไป ไม่คุ้มค่า เท่าไหร่
ดังนั้น การส่งลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทย จึงไม่ใช่ทางเลือกของดิฉันในเวลานี้ แต่หากต่อไป ก็ไม่แน่
การเลือกโรงเรียนของลูกตามแบบMNSHANG (๑)
ภาพจากอินเตอร์เนต
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ปวดหัวอีกครั้ง ที่จะต้องมาทบทวนเรื่องการเรียนของลูกทั้งสองคน เพราะใกล้ครบวาระที่จะกลับบ้าน การโยกย้ายเด็กสองคนที่ใช้ชีวิตค่อนชีวิตของเขาที่ผ่านมาที่ต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง แม้ว้า เมืองไทยจะเป็นบ้านเมืองของเราเอง แต่วัยของเด็กที่โตขึ้น ทำให้เด็กๆ ก็เริ่มยึดมั่นถือมั่น และเคยชินกับสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา ตอนที่ลูกยังเล็กกว่า สองขวบนั้นง่ายค่ะ ยิ่งเล็กยิ่งง่าย เพราะในช่วงเวลานั้นเด็กยังไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้มากนัก สิ่่งที่สำคัญที่สุดในตอนนั้น คือพ่อและแม่เท่านั้น ดิฉันจำได้ว่า ตอนที่ย้ายมาเวียดนามใหม่ๆ น้องแชงอายุเล็กกว่าน้องเชียร์ตอนนี้ คือแค่สองขวบ เขายัง Home Sick กินไม่ได้นอนไม่หลับหลายเดือน จนตอนนี้มีผลกับพฤติกรรมการกินอาหารของน้องแชง คือ ทานน้อย ทานยาก ทั้งๆที่ตอนที่อยู่เมืองไทยตอนนั้น ลูกทานได้ทุกอย่าง และทานเก่งมาก หวังว่าการโยกย้ายเที่ยวนี้ ลูกๆสองคนคงไม่มีปัญหาใดมากนัก
เท่าที่ติดตามเรื่องปัญหาการศึกษาของไทย และติดตามการสนทนาปรับทุกข์ของเพื่อนๆพ่อแม่หลายๆท่านในเมืองไทยทางหน้าเวบบอร์ด ทำให้ดิฉันต้องคิดหนักๆเรื่องการศึกษาของลูกที่เมืองไทย สิ่งที่เป็นข้อจำกัดของดิฉัน คือ เรื่องปัญหาด้านภาษาของลูก และเรื่องการเดินทาง และค่าใช้จ่ายเรื่องการเรียน
หากติดตามดิฉันหลายๆกระทู้ที่ดิฉันแบ่งปันในหน้าเวบบอร์ด ดิฉํนไม่มีความสนใจที่จะให้ลูกเรียนในแนววิชาการของไทย เนื่องจาก เป็นการเรียนที่ใช้เวลามากเกินไป เด็กๆต้องทุ่มเทเวลาเกือบทั้งหมดให้กับการท่องจำ การทำการบ้าน การติวกวดวิชา และความกดดันจากการสอบ O-net และ พวก National Test รวมทั้งการสอบแข่งขันประกวดต่างๆมากมาย ยิ่งลูกๆเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากๆ ยิ่งต้องเข้าสู่แวดวงการแข่งขันที่ไร้สาระพวกนี้ ตามสิ่งแวดล้อมที่พาไป การสอบพวกนี้ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน เป็นการแข่งขันของแต่ละโรงเรียนที่ต้องสร้างชื่อเสียง อันดับต้นๆ ด้วยผลการการสอบแข่งขันของนักเรียน ผลก็คือ ลูกศิษย์ของโรงเรียนต่างๆ ถูกส่งชื่อและติวเพื่อเข้าแข่งขันเพื่อสร้างชื่อเสียงของโรงเรียนและของชาติ โดยไม่คำนึงว่า เด็กๆมีเวลามากพอที่จะฝึกฝนทักษะได้รอบด้านหรือไม่ ทักษะชีวิต งานอดิเรก และสิ่งที่เป็นความต้องการที่แท้จริงของตน นอกจากความต้องการที่โรงเรียน และระบบการศึกษาของชาติที่ยัดเยียดให้ แต่เด็กโดยไม่รู้ตัว
แต่ดิฉันเองก็เห็นใจเพื่อนๆพ่อแม่หลายๆท่าน ที่คงเจ็บช้ำน้ำใจไม่แพ้ดิฉัน ในเรื่องระบบการเรียนการสอนแนววิชาการของไืทย ที่ถูกควบคุมโดยคนที่ไม่มีวิสัยทัศน์เรื่องการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นมาเฟียในด้านการศึกษา มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากระบบการศึกษาที่พิกลพิการของชาติ เนื่องจาก ปัญหาสังคมหลายๆด้านที่เรื้อรังหมักหมม ทำให้พ่อแม่หลายๆคน จำเป็นต้องผลักดันลูกๆเข้าโรงเรียนดังๆ เนื่องจากเกรงเรื่องสังคมของเพื่อนๆของลูก ในโรงเรียนชั้นนำนั้น กลุ่มเด็กๆที่สอบเข้าได้ เข้าไปเรียนได้ มักจะเป็นเด็กรักเรียน หรือสังคมของเด็กที่มีพ่อแม่ดูแล สนับสนุนผลักดันด้านการศึกษาของลูกอย่างใกล้ชิด ดังนั้น เด็กๆในโรงเรียนมักมาจากครอบครัวที่พ่อแม่มีทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลลูกไม่ต่างกัน แต่ในโรงเรียนอื่นๆ ที่ไม่มีชื่อเสียง เด็กๆมาจากครอบครัวหลายๆแบบ ซึ่งเด็กๆอาจจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมอันมาจากปัญหาครอบครัว เช่น ครอบครัวที่พ่อแม่ทอดทิ้งไม่ใส่ใจลูก กระทำการรุนแรงต่อลูก หรือหาเช้ากินค่ำ ไม่มีเวลาสนใจลูก เด็กๆที่น่าสงสารเหล่านั้น ก็มักจะมีปัญหาพฤติกรรม เช่น เรื่องพูดจาไม่สุภาพ กระทำการรุนแรง หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องลักเล็กขโมยน้อย ยาเสพติด ซึ่งทำให้เพื่อนๆที่ห่วงใยสวัสดิภาพ และพฤติกรรมของลูกเป็นกังวล
สรุปแล้ว การโรงเรียนด้านวิชาการนั้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะค่อนข้างถูก แต่ไม่ใช่ทางเลือกที่ดิฉันสนใจ เพราะดิฉันให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อน ครอบครัวของเพื่อนๆของลูก แต่ดิฉันก็ไม่อยากให้ลูกทุ่มเทกับการเรียนจนไม่มีเวลาพัฒนาทักษะด้านอื่นๆใ้ห้รอบด้าน และดิฉันก็ไม่ต้องการที่จะกดดันลูกเพื่อสอบเข้าโรงเรียนยอดนิยม อย่างโีรงเรียนสาธิต เพราะเท่าที่ดู ปลายทางของเด็กๆเหล่านี้ ก็ก้าวเข้าสู่เส้นทางการสอบแข่งขันเพื่อสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนอยู่ดี มันเป็นการจ่ายหนี้โรงเรียนดีๆ ราคาถูก ด้วยการทำความเสียหายแก่พรสวรรค์ และอัจฉริยภาพของเด็ก ที่ไม่คุ้มค่าเลย
1 วันของเด็กในดรณสิกขาลัย
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=34692
บ้าน 'น้องดา' เด็กหญิงศุภธิดา เจียมสวัสดิ์ นักเรียนชั้นบ้านล่างของโรงเรียนดรุณสิกขาลัยอยู่ย่านบางแค เธอเดินทางถึงโรงเรียน ซึ่งเป็นอาคารเรียนอยู่ในบริเวณเดียวกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถนนประชาอุทิศ ในเวลา 7.00 น.
8.00 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ และนั่งสมาธิก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ 15 นาที เพื่อตั้งสติและรวบรวมสมาธิ
8.30 น. น้องดากับเพื่อนในกลุ่มอีก 3 คนคือ ป๊อปโป้อายุ 10 ขวบ น้องเฟิร์นอายุ 9 ขวบ และน้องอายอายุ 9 ขวบ ต้องเริ่มโปรเจ็กต์ในเรื่องพยาธิ โดยมีครูแวะและครูแจ็คเป็นครูที่ปรึกษา เป็นการเรียนโครงงานวันที่ 4 ของเทอมการศึกษาแรก ปี 2548
น้องดาเรียนที่นี่เป็นปีที่ 2 เธอจบชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนตรีมิตร ในขณะที่เพื่อนในกลุ่มของเธอมาเรียนที่นี่เป็นปีแรก ป๊อปโป้มาจากชั้น ป.4 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา น้องอายมาจากชั้น ป.3 โรงเรียนสารสาสน์วิทยาศึกษา ส่วนน้องเฟิร์นมาจากชั้น ป.3 โรงเรียนสารสาสน์วิทยาศึกษา เช่นเดียวกัน
"ก่อนปิดเทอมครูแวะให้การบ้านว่า โปรเจ็กต์หน้าที่เราจะเรียนเรื่องพยาธินั้น ให้ไปแพลนมาว่าวันไหนเราจะเรียนเรื่องอะไรกันบ้าง แล้วหนูก็ต้องไปเตรียมหาข้อมูลมา พอเริ่มเปิดโปรเจ็กต์หนูต้องเรียนเรื่องพยาธิว่ามีกี่ชนิด ส่วนวันนี้เราแพลนไว้ว่าจะเรียนรู้เรื่อง microscope"
น้องดาหันมาตอบคำถาม หลังจากขะมักเขม้นส่องกล้องจุลทรรศน์ดูพยาธิแบบต่างๆ ดูแล้วก็ต้องวาดภาพ จดบันทึกลักษณะที่เห็นในกระดาษ การพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กทุกคนที่นี่
วันนี้เด็กๆ ทั้ง 4 คน เรียนรู้วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ รู้จักในเรื่องของการใช้กำลังขยาย โดยมีครู 2 คนช่วยชี้แนะ เพราะสัปดาห์ต่อไปต้องไปเรียนรู้นอกสถานที่ที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งที่นั่นมีการเตรียมแล็บไว้ให้ หากใช้เครื่องมือเป็นแล้ว การใช้ห้องแล็บจะได้ประโยชน์เต็มที่ขึ้น
การไปเรียนรู้เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์จริง คือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบนี้
10.45 น. น้องดาวิ่งลงมาข้างล่าง เธอบอกเสียงใสว่าชั่วโมงต่อไปเป็นช่วงสรุปความรู้จากที่ได้เรียนมาทั้ง สัปดาห์ เป็น mind map เด็กๆ ทั้ง 4 คนวิ่งเข้าหาคอมพิวเตอร์ เพื่อบันทึกความรู้ที่ได้เป็น mind map ลงในคอมพิวเตอร์
ทั้ง 4 คนใช้โปรแกรมต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ได้คล่องแคล่วพอสมควร รวมทั้งสามารถพิมพ์งานได้ดี แม้ไม่เร็วนัก
11.30 น. ได้เวลารับประทานอาหารกลางวันแล้ว แต่น้องดากับเพื่อนบางคน ยังทำ mind map ไม่เสร็จ ครูแวะย้ำว่า น้องดาต้องหาเวลาว่างมาสรุปให้เสร็จ เพื่อจะได้มีงานไป show & share ในวันรุ่งขึ้น
"เด็กๆ ต้องรู้จักบริหารเวลาให้เป็น ไม่เช่นนั้นแล้วงานเขาเสร็จแค่ไหนก็แค่นั้น การนำงานไปเสนอวันรุ่งขึ้นก็อาจจะถูกวิจารณ์ว่าไม่ดีนัก" ครูแวะอธิบาย
12.30 น. ในห้องเรียนคณิตศาสตร์น้องดาแยกจากกลุ่มเดิมที่เรียนโครงงานเมื่อเช้า ไปเข้าเรียนกับเพื่อนกลุ่มใหม่ประมาณ 6 คน ในชั่วโมงนี้มีครู 2 คน นักเรียนทำแบบฝึกหัดด้วยกัน แต่หนังสือเรียนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็กแต่ละคนว่าควรจะเรียนเล่มที่มีเนื้อหายากง่าย แค่ไหน
13.30 น. ชั่วโมงนี้น้องดาไม่มีเรียน มานั่งเขียนหนังสืออยู่คนเดียวที่มุมหนึ่งของห้องที่เรียนโครงงาน เธอบอกว่า
"ชั่วโมงนี้หนูว่างแต่ต้องมาเขียน joural เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่หนูได้เรียนมา แล้วหนูจะเขียนว่าวันนี้ได้แกล้งครูแวะด้วย" เธอเล่าแล้วหันไปหัวเราะอย่างร่าเริงกับครูแวะ ที่นั่งอยู่ข้างๆ การเขียนบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยให้ใช้ภาษาไทยได้ดีขึ้น ที่สำคัญครูประจำโครงงานทุกคนจะเป็นคนที่ช่วยดูการเขียนบันทึกของเด็กๆ และสอนภาษาไทยด้วย
14.00 น. น้องดาได้เบรกครึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะเปลี่ยนชุดไปเรียนแบดมินตัน ซึ่งเป็นวิชาสุดท้ายของวันนี้
โรงเรียนปัญโญทัย
มาชมวิดิโอคลิปเกี่ยวสัมภาษณ์ โรงเรียนปัญโญทัยได้ที่นี่ค่ะ โรงเรียนปัญโญทัยเป็นหนึ่งในต้นแบบโรงเรียนแนววอล์ดอร์ฟของประเทศไทย ซึ่งเท่าที่ทราบก็เริ่มมีหลายแห่ง เช่น โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ โรงเรียนรุ่งอรุณ ด้วยค่ะ ไว้จะเอาข้อมูลละเอียดเกี่ยวกับแนวทางสอนมาฝาก
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
“ห้องสมุดการเรียนรู้” โฉมใหม่ไฉไลชวนค้นหา
“จากผลสำรวจของสำนัก งานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ในเด็กระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา พบว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเพียงปีละ 2 เล่ม ลดลงถึง 60% หากเปรียบเทียบกับปี 2548 ที่เด็กไทยอ่านหนังสือ ปีละ 5 เล่มต่อคน ต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ที่มีการอ่านหนังสือ 60 เล่มต่อคนต่อปี”
เห็นแบบนี้แล้วก็ตกใจ หากเป็นในสมัยก่อนการจะได้เรียนหนังสือมีความรู้อ่านออกเขียนได้แม้จะเป็น ความใฝ่ฝันของหลายคน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายเหมือนปัจจุบัน ยิ่งในต่างจังหวัดในชนบทด้วยแล้วกว่าจะได้หนังสือมาหัดอ่านมาหาความรู้แต่ละ เล่มมันช่างยากลำบาก แต่ในปัจจุบันโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ด้วยแล้ว การจะได้อ่านหนังสือเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปากเสียอีก แต่อาจจะเป็นเพราะในยุคนี้พ.ศ.นี้โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนเข้าสู่ ยุคดิจิตอล หนังสือจึงเป็นสิ่งที่ดูล้าสมัย ถูกมองข้าม และถูกลืม
ทางกองนันทนาการ สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนโยบายส่งเสริมเด็ก เยาวชน และประชาชนให้รักการอ่าน จึงได้ทำการปรับปรุงห้องสมุดเดิมให้มีรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัย สวยงาม สะดวกเข้าถึงง่าย น่าเข้าใช้บริการ เช่นห้องสมุดที่ฉันได้ไปลองใช้ลองสัมผัสมาแล้วนั้นก็คือ “ห้องสมุด เพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง”
สำหรับห้องสมุดฯ แห่งนี้ เป็นที่ดินที่กรุงเทพมหานครเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารเดิมและก่อสร้างอาคารห้องสมุดใหม่เพิ่มอีก 1 หลัง เชื่อมต่อกับอาคารเดิมออกแบบตกแต่งให้เป็นห้องสมุดภาพลักษณ์ใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกวัย มีเทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่ที่ครบวงจร สะดวก รวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้และข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ โดยเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. 2550 ที่ผ่านมา
ส่วนบรรยากาศภายในห้องสมุดก็จะเป็นแบบที่ผ่อนคลาย สภาพแวดล้อมสดชื่น สวยงาม สร้างแรงจูงใจโดยการออกแบบภายในและนอกอาคารที่เหมาะสมสวยงาม บริการสืบค้นด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบอินเทอร์เน็ต บริการยืม-คืนแบบ One Stop Service ที่ทันสมัย
ภายในอาคารทั้ง 2 หลังที่เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทางเดินระหว่างอาคารนั้นมีพื้นที่ 3 ชั้น ในทุกๆชั้นจะมีเคาน์เตอร์บริการคอยให้คำแนะนำเพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ บริการ โดยในชั้นแรกแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 โซนด้วยกัน เมื่อเข้าไปภายใน “โถง ต้อนรับ” ฉันเจอกับเคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ที่มีพนักงานของห้องสมุดคอยให้คำแนะนำ และในโซนนี้ยังจัดเป็นมุมอ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร ที่มีให้เลือกหยิบอ่านได้ทุกเรื่องทุกแนว ทั้งยังมีบริการสืบค้นข้อมูล และอินเทอร์เน็ตไว้บริการกันด้วย
โซนถัดไปใครที่อายุเกิน 8 ปี เป็นต้องหลีกทางให้กับหนูน้อย เพราะโซน “Kids Room“ หรือ ห้องสมุดสำหรับน้องๆวัยซนนี้เขาสงวนสิทธิ์ให้เด็กๆที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปีเข้ามาใช้บริการเท่านั้น น้องๆจะได้สนุกสนานไปกับสื่อการสอนที่ทันสมัย ทั้งยังได้เพลิดเพลินกับนิทาน การ์ตูน สำหรับเด็กๆทุกเพศทุกคน
จากนั้นฉันขึ้นไปยังชั้นที่ 2 โซนแรกของชั้นนี้คือ “บริการ หนังสือยอดนิยม หนังสืออ้างอิง และหนังสือวิชาการต่างๆ” ที่น่าสืบ ค้น โดยแบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ ได้แก่ ความรู้ทั่วไป, ปรัชญา, ศาสนา, สังคมศาสตร์, ภาษาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หากเดินต่อไปข้ามระเบียงทางเดินเชื่อมจะเป็นก็จะเป็นโซนของหนังสือวิชาการ ต่ออันได้แก่ หมวดเทคโนโลยี, ศิลปะและนันทนาการ, วรรณคดี และประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีที่นั่งสบายๆไว้ให้นั่งทำการบ้านอีกด้วย
ต่อไปเป็นชั้นที่ 3 จัดเป็นโซน “หนังสือเพื่อความบันเทิง” อันได้แก่ นวนิยาย นวนิยายจีน วรรณกรรมเยาวชน เรื่องสั้น และเรื่องแปลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีมุมที่รวบรวมหนังสือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และมุมหนังสือของสมเด็จพระเทพฯ ไว้ให้ผู้ใช้บริการได้ศึกษาหาความรู้และทราบถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญต่างๆ
โซนสุดท้ายคือ “ห้องมินิเธียเตอร์” ที่ในทุกๆวันเสาร์และอาทิตย์จะมีภาพยนตร์ที่น่าสนใจต่างๆมาฉายให้ได้รับชม กันอย่างเพลิดเพลิน เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลในส่วนนี้บอกกับฉันว่าหนังบางเรื่องมีเยาวชนและผู้คนให้ ความสนใจมากขนาดมารับชมกันจนเต็มห้องเลยทีเดียว ส่วนจะมีเรื่องอะไรฉายบ้างนั้นต้องติดตามดูกำหนดการของทางห้องมินิเธียเตอร์ ได้ตลอดเวลาทำการ สำหรับห้องมินิเธียเตอร์นี้ภายในจะมีเบาะที่นั่งนุ่มๆให้เราได้นั่งชม ภาพยนตร์กันอย่างสบายๆ และจุได้หลายสิบคน แอร์ก็เย็นฉ่ำ เรียกได้ว่าเป็นโรงหนังขนาดเล็กดีๆเลยเชียว หรือผู้ใช้บริการคนใดอยากจะยืมเพลงหรือหนัง ในรูปแบบ CD VCD และ DVD ก็สามารถมาค้นหาเรื่องที่สนใจกันได้ที่นี่
สำหรับฉันขอบอกเลยว่าจะให้อยู่ที่นี่ทั้งวันก็ย่อมได้ไม่มีเบื่อ เหมือนกับผู้ใช้บริการหลายคนที่มีทั้งขาประจำ และขาจร กลุ่มนักเรียนที่มาทำรายงาน วัยรุ่นที่มานั่งอ่านนวนิยาย หรือผู้ใหญ่ที่แวะมานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ก็มีให้เห็นตลอดทั้งวัน จากที่เห็นด้วยตาฉันถือว่าเป็นห้องสมุดที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีที เดียว
นอกจากนั้นในบริเวณห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง แห่งนี้ยังตั้งอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิศูนย์กลางแห่งการเดินทางทั้ง รถไฟฟ้า รถประจำทาง รถตู้โดยสาร มีให้บริการอย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังมีแหล่งช้อปปิ้งที่พอตกเย็นย่ำใกล้ค่ำมืดทางเท้าที่เคยว่างๆจะ เปลี่ยนสภาพเป็นร้านค้าที่ครบครันทั้งเสื้อผ้า หน้า ผม ไปจนถึงรองเท้า เครื่องประดับ มีให้เลือกซื้อหากันอย่างจุใจ และถ้าห้างเซ็นเตอร์วันไม่ถูกเผาโดยกลุ่มผู้ไม่หวังดีคิดแต่จะทำลายบ้าน เมืองเพื่อผลประโยชน์ของใครบางคนล่ะก็ จะยิ่งมีแหล่งซื้อหาสินค้าให้ช้อปกระจายกันจนฉุดไม่อยู่เลยเชียวหละ..ไม่ เชื่อลองมาซิ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ห้องสมุดเพื่อการ เรียนรู้ ซอยพระนาง ตั้งอยู่ที่ปากซ.พระนาง (ซ.ราชวิถี 4) ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เปิดให้บริการฟรีทุกวันอังคาร-เสาร์ เวลา 08.30-20.00 น. สำหรับวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-17.00 น. สำหรับผู้ที่ต้องการยืมหนังสือต้องสมัครสมาชิก โดยเสียค่าสมัครสมาชิกในผู้อายุไม่เกิน 15 ปี 20 บาท/คน/ปี และค่าประกันหนังสือ 20 บาท, ผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป 40 บาท/คน/ปี และค่าประกันหนังสือ 40 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-2246-3517
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เรื่องโรงเรียนสัตยาไส
ท่าม กลางวิกฤติทางสังคมและวิกฤติโลกร้อน หลายสถานศึกษาอาจยังไม่ตระหนักว่าการศึกษาเป็นอีกแนวทางในการข้ามพ้นวิกฤติ เหล่านี้ได้ ขณะเดียวกันอาจกลายเป็นเงื่อนไขให้วิกฤติยิ่งเลวร้ายขึ้น สำหรับ "สัตยาไส" ที่นี่พร้อมเป็นอีกทางเลือกสู่ทางรอดของสังคม
ขณะ ที่ทีวีมีข่าวนักเรียนหญิง ม.ต้น ตบกันเพื่อแย่งผู้ชาย และนักเรียนชาย ม.ปลายต่อยกันแค่ข้อหาถูกมองหน้า แต่ โรงเรียนแห่งนี้เด็กนักเรียนรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง และเพื่อนฝูงดูแลซึ่งกัน ขณะที่เด็กอนุบาลบางโรงเรียนเริ่มพูดจาหยาบคายมีกิริยาก้าวร้าว แต่ที่นี่เด็กทุกชั้นเรียนยกมือไหว้ผู้ใหญ่ทุกคนอย่างนอบน้อมแม้ไม่เคย รู้จัก
ขณะ ที่วัยรุ่นรอซื้อบัตรคอนเสิร์ตนักร้องเกาหลีตั้งแต่ตี 3 แต่ทุกคนที่โรงเรียน นี้ลุกขึ้นมาสวดมนต์นั่งสมาธิตั้งแต่ตี 5 ขณะที่เด็กสยามต่อแถวแย่งซื้อ iPhone 3G แต่นักเรียนที่นี่ไม่พกมือถือและเงินตามกฎโรงเรียน ขณะที่นักเรียน ม.ปลายกรุงเทพฯ ต้องติวเข้มเพื่อเตรียมเอ็นทรานซ์ เมื่อผิดหวังก็ฆ่าตัวตาย แต่เด็ก ม.6 ที่นี่เรียนไปเล่นไปอย่างมีความสุขแล้วเอ็นติดทุกคน
...ยัง มีอีกหลายความดีงามที่หาได้จากสังคมนักเรียนที่นี่ แต่อาจหาได้ยากหรือหาไม่เจอในโรงเรียนและสังคมทั่วไป โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่
ด้วย เสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงแง่มุมที่สวยงามของชีวิตเด็กนักเรียนที่ นี่ เป็นส่วนสำคัญทำให้พ่อแม่และผู้ปกครองยุคใหม่ที่กำลังมองหาโรงเรียนทางเลือก ให้ลูกหลานอันเป็นที่รัก อยากพาลูกหลานของตนเข้ามาเรียน ณ โรงเรียน "สัต ยาไส" แห่งนี้
อ่านต่อที่ความคิดเห็น
ขณะ ที่ทีวีมีข่าวนักเรียนหญิง ม.ต้น ตบกันเพื่อแย่งผู้ชาย และนักเรียนชาย ม.ปลายต่อยกันแค่ข้อหาถูกมองหน้า แต่ โรงเรียนแห่งนี้เด็กนักเรียนรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง และเพื่อนฝูงดูแลซึ่งกัน ขณะที่เด็กอนุบาลบางโรงเรียนเริ่มพูดจาหยาบคายมีกิริยาก้าวร้าว แต่ที่นี่เด็กทุกชั้นเรียนยกมือไหว้ผู้ใหญ่ทุกคนอย่างนอบน้อมแม้ไม่เคย รู้จัก
ขณะ ที่วัยรุ่นรอซื้อบัตรคอนเสิร์ตนักร้องเกาหลีตั้งแต่ตี 3 แต่ทุกคนที่โรงเรียน นี้ลุกขึ้นมาสวดมนต์นั่งสมาธิตั้งแต่ตี 5 ขณะที่เด็กสยามต่อแถวแย่งซื้อ iPhone 3G แต่นักเรียนที่นี่ไม่พกมือถือและเงินตามกฎโรงเรียน ขณะที่นักเรียน ม.ปลายกรุงเทพฯ ต้องติวเข้มเพื่อเตรียมเอ็นทรานซ์ เมื่อผิดหวังก็ฆ่าตัวตาย แต่เด็ก ม.6 ที่นี่เรียนไปเล่นไปอย่างมีความสุขแล้วเอ็นติดทุกคน
...ยัง มีอีกหลายความดีงามที่หาได้จากสังคมนักเรียนที่นี่ แต่อาจหาได้ยากหรือหาไม่เจอในโรงเรียนและสังคมทั่วไป โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่
ด้วย เสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงแง่มุมที่สวยงามของชีวิตเด็กนักเรียนที่ นี่ เป็นส่วนสำคัญทำให้พ่อแม่และผู้ปกครองยุคใหม่ที่กำลังมองหาโรงเรียนทางเลือก ให้ลูกหลานอันเป็นที่รัก อยากพาลูกหลานของตนเข้ามาเรียน ณ โรงเรียน "สัต ยาไส" แห่งนี้
อ่านต่อที่ความคิดเห็น
คู่มือหาโรงเรียนให้ลูก (ฉบับย่อ) กับ 12 โรงเรียนทางเลือก
อ่่านเจอที่นี่ค่ะhttp://www.wiseknow.com/blog/2009/01/01/1584/ น่าสนใจดี เอามาเก็บไว้
แม้ในตลาดการศึกษาจะมีทางเลือกให้กับผู้ปกครองมากมาย หากถึงเวลาต้องส่งลูกเข้าโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสาธิต โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติ หรือจะส่งไปเรียนต่างประเทศ แต่ละแบบ ก็มีจุดเด่นที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่หากพ่อแม่อยากจะหาโรงเรียนดีๆ ให้ลูกเรียน สักแห่ง คงไม่ใช่แค่ว่าเพราะโรงเรียนนั้นมี ชื่อเสียง มากกว่านั้นโรงเรียนที่เลือกจะต้องสร้างให้เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุขทั้งในวันนี้และอนาคต
โรงเรียนทางเลือกจึงกลายเป็นเป้าหมายใหม่สำหรับผู้ปกครองที่ได้รับความ นิยมต่อเนื่องถึงวันนี้ก็ยังต้องไปจองเรียนกันแบบข้ามปี
ด้วยวิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนทางเลือกที่ต่างจากโรงเรียนปกติที่ทำ ให้เด็กเข้าใจเรื่องของความเป็นธรรมชาติ และโรงเรียนก็คือสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่อยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตที่ทำให้เด็ก รู้จักตนเองและรู้หน้าที่ในการค้นหาความจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่จะปรับพื้นฐานจิตใจให้อยู่ได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นวัฏจักร ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนทางเลือก 12 โรงเรียนที่แม้จะมีบุคลิกแตกต่างกันแต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ “ความเป็นธรรมชาติ”ที่ผู้ปกครองสามารถเลือกได้
4 โรงเรียนทางเลือกคนกรุง
สำหรับคนกรุงเทพฯโรงเรียนทางเลือกกระจุกตัวอยู่ในย่านสุขุมวิทมีแนวคิด ต่างกันไป คลองตันเหนือเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนทอสี โดยเริ่มแรกผู้ก่อตั้งได้นำนวัตกรรมจากทั้งในและต่างประเทศเข้ามาใช้อย่าง หลากหลาย แต่สุดท้ายก็ค้นพบว่า หลักไตรสิกขาของพระพุทธศาสนาเป็นทางที่การศึกษาไทยต้องเดิน จึงนำการศึกษาวิถีพุทธมาเป็นหลักในการสอนและมีกิจกรรมร่วมกันระหว่าง โรงเรียน นักเรียนและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับโรงเรียนสยามสามไตร ย่านพระโขนงที่ใช้วิถีพุทธมาเป็นหลักในการเรียนการสอน โดยให้เด็กรู้จักใช้ปัญญาอย่างไทยและมีมาตรฐานทางวินัย ฝึกให้อดทนพร้อม ปลูกฝังให้มีคุณธรรม
ไม่ไกลกันนักที่ซอยสุขุมวิท 40 โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่อบอุ่น มีบรรยากาศเสมือนบ้านและให้ความอิสระกับ “ความเป็นเด็ก” ที่ไม่รีบเร่งให้โตเกินวัยตามแนวทางการศึกษาแบบมนุษยปรัชญา และสามารถเข้าใจธรรมชาติในตัวเอง เข้าใจความเป็นมนุษย์อันจะนำไปสู่ความสุขของเด็กได้
นอกจากนี้คนฝั่งกรุงเทพฯยังมีอีกทางเลือกที่ โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก โรงเรียนที่ชาวบึงกุ่มรู้จักกันเพราะเกิดขึ้นจากศรัทธาของชุมชนที่ให้ เรียนฟรี กินฟรี อยู่ฟรี และต้องไม่มีห้องเรียนหรือมุ่งเน้นวิชาการแต่ฝึกให้เด็กทำงานเป็น เอาตัวรอด และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกกับผู้ที่มีความเก่งในการทำงานเพื่อให้ค้นพบ ตัวเองว่าชอบและสนใจอะไร
เรียนวิชาการบวกวิชาคนที่ฝั่งธนฯ
ย่านชานเมืองมีโรงเรียนทางเลือกตั้งอยู่รวมๆ กันในแถบตลิ่งชันและพระรามที่ 2 โรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย) ตั้งอยู่ย่านตลิ่งชัน ที่ทางโรงเรียนเลือกใช้ศิลปะและดนตรีมาพัฒนาเด็ก เพราะสามารถเปิดใจรับรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนจึงมีลักษณะที่บูรณาการทั้งนวัตกรรม สื่อ ศาสตร์ และเทคนิค โดยยึดมั่นเป้าหมายในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในขณะที่ โรงเรียนเพลินพัฒนา ในเขตทวีวัฒนาเน้นเรื่องของการเปลี่ยนสภาวะของชีวิต และการเรียนรู้ที่ฝังลึกลงไปในกายและจิตของเด็กบนวิถีชีวิตจริง โดยใช้ “ดนตรี” ช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์และสังคมให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันและยอม รับซึ่งกันและกัน
ย่านพระรามที่ 2 โรงเรียนรุ่งอรุณ ใช้ความหลากหลายของนักเรียนเป็นโจทย์สำคัญทางการศึกษา ใช้การเรียนแบบ project based learning ที่ครูต้องมีสายตาที่จะจินตนาการเห็นภาพของการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นที่ตัว ผู้เรียนในทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา นอกจากนี้ยังได้ใช้ดนตรี ศิลปะ และศิลปะการป้องกันตัวแบบไทยเป็นเครื่องกล่อมเกลาและขัดเกลาจิตใจ ในละแวกไม่ไกลกันนัก โรงเรียนวรรณสว่างจิต มีวิธีสอนให้เด็กเป็นผู้นำทางความคิดและจิตวิญญาณ โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขและการเรียนรู้ที่จะดำรงตนให้ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น ฤดูกาล สภาพท้องถิ่น และวัฒนธรรมประเพณี ขณะที่ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ย่านบางมดเน้นให้ผู้เรียน “สร้างองค์ความรู้” ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติโดยการทำโครงงานบูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ตลอดจน คุณธรรม จริยธรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กจะมีความสุขในการเรียนทุกๆ วัน เพราะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบผ่านการลงมือปฏิบัติและการทดลองที่สอด คล้องกับวิธีการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก
ออกนอกเมืองเรียนรู้ธรรมชาติมนุษย์
ที่จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มีรูปแบบของการศึกษาเพื่อค้นหา เป้าหมายให้ชีวิตโดยมีแนวคิดที่ผสมผสานจากปรัชญาการศึกษาของเอ เอส นีล นักการศึกษาชาวสกอตแลนด์กับปรัชญาทางพุทธศาสนาที่อยู่บนพื้นฐานของสังคมไทย และเพราะเด็กที่มาอยู่โรงเรียนนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กด้อยโอกาสจึงต้องแก้ไข ด้วยความรัก ความไว้ใจ และค่อยๆ ให้เด็กพัฒนาตนเองด้วยกิจกรรมเสริมต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ค้นพบความสามารถของตนเอง
ใจกลางเมืองนครปฐม โรงเรียนนานาชาติเมธา มีแนวคิดที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นผู้นำแบบภาคพลเมือง (civic leader) โดยพัฒนาตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ให้อิสรภาพทางการเรียนรู้ โดยการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกจากอุปกรณ์ที่มี อยู่ตามธรรมชาติ บูรณาการความรู้เป็นองค์รวมทั้งโรงเรียน บ้าน ชุมชน และสังคมและเข้าใจวัฒนธรรมมิติตะวันตกและตะวันออก และมีการใช้ภาษาอังกฤษ ไทย จีน เป็นสื่อการเรียนการสอน และโรงเรียนสุดท้าย โรงเรียนสัตยาไส จังหวัดลพบุรี ที่จัดการเรียนการสอนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้บริหาร ครู และนักเรียน เพื่อยกระดับคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ทุกเช้าเด็กจะถูกขัดเกลาจิตใจโดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา และสอนให้เด็กเป็นทั้งคนเก่ง ดี มีสุข สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ครั้งหนึ่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ผู้บุกเบิกแนวคิดการศึกษาทางเลือกมากว่า 30 ปี เคยบอกว่า “การเรียนรู้โดยเอาตำราเป็นตัวตั้ง โดยไม่เอาสถานการณ์ของชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่มีพลังพอที่จะทำให้มนุษย์เข้าใจสถานการณ์ความเป็นจริงที่ซับซ้อนและ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถเผชิญกับสถานการณ์ความเป็นจริงได้ นำไปสู่วิกฤตการณ์ทั้งในตัวมนุษย์เอง ในสังคมและในสิ่งแวดล้อม อันเป็นวิกฤตการณ์แห่งยุคสมัย”
นี่อาจเป็นทางเลือกของการเรียนรู้ที่ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นทิศทาง น่าสนใจ ว่าสุดท้ายแล้วจุดสูงสุดของการเรียนรู้ก็คือการเรียนรู้แบบเดิมที่อยู่กับ ธรรมชาติให้มากที่สุดหรือไม่
ข้อมูลจาก – หนังสือหลอมรวมการเรียนรู้เพื่อความเป็นไทเล่ม 1เครือข่ายโรงเรียนไทยไท กลุ่มการศึกษาขั้นพื้นฐานแนวใหม่
7 คำถาม ทำไมต้องโรงเรียนทางเลือก
โรงเรียนทางเลือกเป็นการศึกษาแนวใหม่ที่ได้ลุกขึ้นสลัดความเป็นโรงเรียน ในระบบ (de-schooling) และเรียนรู้ใหม่ (re-learning) อย่างมีชีวิตชีวาและตื่นตัวไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนให้นักเรียนที่คุณครูสามารถสั่งซ้ายหันขวาหันเสมือน “หุ่นยนต์กระป๋อง” มาเป็น “มนุษย์” รู้จักคิดและสนุกไปกับการสร้างสรรค์ พร้อมกับคุณครูเพื่อนๆ และนี่เป็นคำตอบว่า ทำไมถึงต้องเลือกเรียนในโรงเรียนทางเลือก
1.แนวการสอนอย่างไรที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ?
- ต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักตนเองก่อน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ต่างๆ ที่มีความหมายต่อตนเองสู่ภายนอกและเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ ต่อตนเอง เพราะฉะนั้นหากไม่รู้จักตนเองความรู้ที่เรียนไปมากมายก็ไม่มีประโยชน์
2.ไม่มีระบบโรงเรียน มนุษย์ยังเรียนรู้อยู่หรือไม่ ?
- จริงๆ แล้วการเรียนรู้ของมนุษย์เริ่มต้นจากสิ่งที่ตนเองสนใจ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่โรงเรียนมีความจำกัดในการเปิดการรับรู้ของเด็ก การเรียนรู้จึงสมควรจะเกิดขึ้นในทุกๆ ที่
3.เมื่อไหร่คือเวลาที่เหมะสมกับการเรียนรู้
- ตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสในการตัดสินใจว่าสิ่งที่ใดที่เขาสนใจหรืออะไรที่เขา อยากเรียนรู้มากที่สุด เคยไหมที่เห็นเด็ก 2 คนใช้เวลาในการรับรู้เรื่องราวที่ต่างกัน นั่นเพราะผู้เรียนจะเรียนในสิ่งที่ตนไม่ได้รักหรือสนใจได้ไม่ดี
4.เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร ?
- จริงๆ แล้วเด็กทุกคนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากภายใน และพร้อมจะถ่ายทอดออกมาโดยไม่ใช่แค่ต้องรอการถ่ายทอดจากผู้อื่น การให้ความรู้ทางวิชาการที่ไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริง เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เด็กในโรงเรียนสูญเสียความเป็นมนุษย์ไปทุกที
5.อะไรคือ “ความรู้” อะไรที่ “มิใช่ความรู้” ดังนั้นควรเรียนอะไร ?
- ที่ผ่านมาการเรียนรู้เป็นการถ่ายทอดตำราจากประสบการ์ของคนอื่น แต่การเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นต้องนำตนเองเข้าไปมีประสบการณ์กับเรื่องต่างๆ และสร้างองค์ความรู้และความหมายใหม่ด้วยตนเอง ซึ่งการเรียนรู้แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการตีความ
6.เมื่อความรู้ที่มีอยู่ในโลกและวิธีการแก้ปัญหาล้วนเชื่อมโยงถึงกันหมด แต่ทำไมการเรียนการสอนจึงแบ่งแยกออกเป็นวิชาตายตัว ?
- นั่นเพราะการสอนส่วนใหญ่เอาวิชาเป็นตัวตั้งซึ่งขาดความเชื่อมโยงกับชีวิต เพราะเป็นการศึกษาอยู่บนพื้นฐานของความคิดหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ แบ่งคนตามความชำนาญเฉพาะด้าน การเรียนแบบนี้จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโลกที่เชื่อมโยงถึงกันหมดได้
7.ใครควรเป็นผู้ประเมินผลการเรียนรู้ ?
- การวัดผลด้วยระบบการสอบนั้น เป็นเพียงการตอบคำถามว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ครูต้องการหรือไม่ แต่ในการดำเนินชีวิตการประเมินผลเกิดขึ้นในทุกขณะและเป็นเรื่องจำเป็นต่อการ เรียนรู้และเติบโต เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเติบโตได้ต้องรู้จักประเมินได้ด้วยตนเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)