ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก สอนลูกให้ชนะโลก ให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้อย่างสนุกสนาน ในแบบที่ลูกเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราต้องการให้ลูกเป็น ด้วยพลังแห่งความรักความอบอุ่นของครอบครัว
วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเลือกโรงเรียนของลูกตามแบบMNSHANG (๔)
ภาพจากอินเตอร์เนต
มาดูเรื่องระบบการเรียนการสอนของสารสาร์สเอกตราบ้าง เท่าที่อ่านดูพบว่า การเรียนการสอนของสารสาร์สเอกตราในช่วงอนุบาลถึงประถมสองนั้น จะเน้นภาษาอังกฤษมากว่าภาษาไทย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เกือบจะใกล้เคียงกับโรงเรียนอินเตอร์กันเลยทีเดียว และในประถมหนึ่งและสองก็ยังมีสัดส่วนการเรียนภาษาไทยมากขึ้นเรื่อยๆ จนในชั้นประถมปลายจะเรียนแบบ Bi-lingual คือเรียนแบบครึ่งต่อครึ่ง เมื่อมาถึงชั้นมัธยมก็จะเน้นภาษาอังกฤษมากขึ้นอีกครั้ง คือสัดส่วน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นมัธยมสามและหก ที่เด็กๆต้องเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน ก็จะเรียนเน้นภาษาไทยต่อไป คือ ครึ่งต่อครึ่ง
หากดูจากการออกแบบสารสาร์สเอกตราแล้ว ดิฉันเองก็ยังไม่ถูกใจนัก เพราะดูเหมือนว่าจะยังโดนบังคับเรื่องการแข่งขันของระบบการศึกษาไทยอยู่ดี แต่ก็เข้าใจได้ เพราะผู้ปกครองมีหลายแบบ หลายๆคนก็ต้องการที่จะส่งลูกไปเรียนต่อโรงเรียนชั้นนำของประเทศ ในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะผู้ที่เน้นสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม แพทย์ ก็มักจะย้ายลูกไปสอบเข้าโรงเรียนของรัฐในระดับนี้ เพื่อมีโอกาสในการสอบเข้าสถาบันดีๆในอนาคต สารสาร์สก็คงจำเป็นต้องปรับหลักสูตรเพื่อรองรับความต้องการของผปค.ในกลุ่มนั้น แต่ในกลุ่มผปค.ที่คาดหวังเรื่องภาษา จะ่ส่งลูกไปเรียนตปท. ก็คงต้องปรับตัว พบกันครึ่งทาง
สิ่งที่ดิฉันไม่ชอบมากที่สุด เกี่ยวกับสารสาร์สเอกตรา คือ เรื่องของสถานที่ทีคับแคบ เพราะอยู่ในเมือง เท่าที่ดูแผนกเด็ก แทบจะไม่มีสนามเด็กเล่น หรือเครื่องเล่นเด็กเลย ไม่ทราบว่าเด็กๆจะได้ออกกำลังกายกันบ้างหรือเปล่า และดิฉันก็ไม่ค่อยประทับใจกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน ในเวียดนามนี่ ถือว่าบริการแย่มากๆ เมืองไทยของเราเป็นสวรรค์ของการบริการ ที่ประทับใจระดับโลก แต่ ทำไมบริการของเจ้าหน้าที่โรงเรียนนี้ และเวียดนามจึงกลับตารปัตก็ไม่ทราบ ต้องปรับปรุงอย่างแรง อีกประการหนึ่ง คือ ไม่มีการพาชมโรงเรียน ไม่อนุญาตให้ดูการเรียนการสอน อันนี้ก็ไม่เวิร์ค ที่เวียดนามเราสามารถดูได้ทุกเวลา ทะลุปรุโปร่ง มีเจ้าหน้าที่พาชม สิ่งที่ดิฉันคิดคือ คงต้องดูผู้บริหารโรงเรียน ครูใหญ่ และครูว่า เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองหารือ เข้าพบหรือไม่ การพัฒนาเด็กแต่ละคน การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร พบปะหารือกันแบบไม่เป็นทางการ จะสามารถช่วยพัฒนาเด็กๆได้มาก
ส่วนสารสาร์ทพิทยานั้น เท่าที่อ่านดู คาดว่าคงจะคล้ายๆกับสารสาร์ทวิเทศ คือเีรียนไทย และอังกฤษในสัดส่วนที่เท่ากัน และเน้นทางด้านวิชาการ โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนแรกในกลุ่มโรงเรียนสารสาร์ท และเป็นต้นแบบของหลักสูตร สองภาษาในประเทศไทย ซึงนำมาใช้ในหลักสูตร สารสาร์ทเอกตราในเวลาต่อมา เท่าที่เคยอ่านจากความเห็นของผู้ปกครองท่านอื่น จะพูดกันว่า หลักสูตรสองภาษาของสารสาร์ทพิทยาจะดีกว่า สารสาร์ืทเอกตรา ดิฉันเชื่อว่าเป็นไปได้ เพราะในการเรียนระดับประถมสาม ถึงหก ของสารสาร์ทเอกตรานั้น จะเรียนภาษาไทย เท่าๆกับภาษาอังกฤษ เหมือนกับสารสาร์ทพิทยา แต่ หลักสูตรด้านวิชาการของสารสาร์ทจะเข้มข้นกว่า เพราะสารสาร์ทพิทยาเป็นโรงเรียนที่เน้นวิชาการ ในขณะที่เอกตรานั้น มีจุดเด่นเรื่องภาษา และการเรียนที่ยืดหยุ่นกว่า แบบกึ่งๆอินเตอร์
หากเทียบแล้ว ดิฉันคิดว่าหลักสูตร Bi-lingual ของสารสาร์ทพิทยาคงคล้ายๆเครือแคธอลิคคือ เน้นวิชาการ และเรียนแบบไทย และอังกฤษ คงหนักประมาณนั้น ดิฉันเองก็ยังสงสัยว่าหลักสูตร EP หรือ พวก Bi-lingual นี่ใช่ทางเลือกของดิฉันหรือเปล่า เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ค่าใช้จ่ายพอไหว แต่สงสัยเรื่องการเรียนการสอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น