วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เรื่องของดนตรีศึกษาของ Charotte Mason

ตามเรียกร้องของแม่ภุชงค์ค่ะ

(ไปดูในหน้าความเห็นนะคะ)

6 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ในทฤษฎีการศึกษาของ Charotte Mason เธอได้แนะนำให้พ่แม่ผู้ปกครอง เปิดเพลงดนตรีคลาสสิกให้ลูกฟัง โดยมีหลักดังนี้

- เปิดในระหว่างทานข้าว หรือ ขับรถ หรือ ตอนที่ทำอะไรเพลินๆ เช่น วาดรูป ทำงานศิลปะ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ดิฉันเห็นว่ามันดีนะคะ เพราะทำให้อารมณ์สุนทรีย์ จิตนาการไหลลื่น แต่อย่าเปิดตอนกำลังเรียนวิชาต่างๆ อันทำให้เด็กต้องถูกรบกวน ประสาททำงานแบ่งแยกหลายส่วนมากไป

- ในหนึ่งสัปดาห์ เปิดแต่ของคีตกวีเอกเพียวคนเดียว เปิดไปเรื่อยๆ เช่น เราเปิดของโมสาร์ืท ก็เปิดแต่เพลงของโมสาร์ท ทั้งสัปดาห์ เมื่อจบสัปดาห์ ค่อยเปิดของคีตกวีเอกท่านอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

- ในเด็กอายุ 3-4-5 ขวบจะฟังแบบนี้ไปเรื่อยๆ วนๆไป และเราควรเล่าถึงชื่อ ประวัติ ชื่อเพลง หรือ ยุคสมัยไปด้วย แต่ดิฉันคิดว่า เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถในการรับรู้ หรือสนใจไม่เหมือนกัน ในรอบแรกๆ คือวัย 3 ขวบ อาจจะพูดแค่ชื่อนักประพันธ์ เมื่อโตหน่อยก็พูดชื่อเพลงที่ดังๆ เป็นผลงานชิ้นเอก พอโตมากขึ้นก็อาจจะเล่าประวัติ ยุคสมัย เป็นต้น เมื่อยิ่งโต เด็กก็มีพื้นฐานเกี่ยวกับดนตรีมากขึ้น ก็จะต่อยอดค้นคว้าได้เอง รวมทั้งศึกษาประวัติศาสตร์ยุโรป จารีต ประเพณี หรือ การเล่นดนตรีขั้นสูงไปเอง ตามแต่ที่เด็กจะสนใจ แต่ในระดับเด็กเล็ก เป็นการปลูกฝังรสนิยม และปูพื้นความสนใจให้ไปก่อน

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

Charotte Mason ได้แบ่งศิลปินเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คนดังนี้

กลุ่มที่ 1 : ฺBach, Mozart, Chopin Strauss, Tchaikovski, Stavinsky

กลุ่มที่ 2 : Purcell, Beethoven, Rossini,Wagner, Dvorak, Ravel
กลุ่มที่ 3 : Vivaldi, Haydn, Mendelssohn, Grieg, Rachmaninoff, Bartok

กลุ่มที่ 4 :Scarlatti, Handel, Paganini, Schumann, Liszt, Gilbert & Sullivan

กลุ่มที่ 5 : Sibelius, Schubert, Verdi, Brahms, Debussy, Shostakovich

กลุ่มที่ 6 : Telemann, Joplin, Sousa, Gershwin, Coplan, Forster

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

สารภาพตามตรง ที่เขียนมานี่รู้จักไม่ถึง 10% แต่ก็ดีเหมือนกัน หากคิดเสียว่าเป็นการเรียนรู้ของชีวิต เข้าใจว่า กลุ่ม 5-6 อาจจะเป็นยุคใหม่ขึ้น ไม่ค่อยรู้จัก และไม่รู้ว่าจะหาแผ่นได้ง่ายหรือไม่

เมื่อเปิดครบที่ละคน จนครบ 6 กลุ่มก็ย้อนมาฟังใหม่ และเพิ่มข้อมูลใหม่ๆได้ แต่สำหรับดิฉัน ซึ่่งเป็นคนไทย ก็คิดว่า หากเราหาผลงานของคีตกวีของชาติมาใ้ห้ฟัง ก็ดีเหมือนกัน เช่น ในหนังเรื่องโหมโรง เพลงก็เพราะดี ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ เราสามารถนำประวัติของท่านมาเล่าได้ หรือ เอาหนังให้ดูได้ เมื่อเขาโตหน่อย หาเพลงของวงฟองนำ้ หรือหาของดั้งเดิมผลงานของหลายๆท่าน เช่น กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

หากเราเปิดให้เด็กฟังแต่เล็กๆ เด็กก็ซึมซับและฟังได้ค่ะ เมื่อโตขึ้น และได้ศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีด้วย พวกนิทาน เราก็สามารถสอดแทรกวรรณกรรมสนุกๆ เช่น รามเกียรติ์ หรือ สังข์ทอง ไปด้วย โตขึ้น เขาก็จะมีพื้นฐานความสนใจ และศึกษาด้วยตนเองได้ เป็นการรักษามรดกชาติ และ วรรณกรรมทั้งหลาย ดนตรีทั้งหลาย มันมีอรรถรส และสอนใจลึกซึ้งตึงใจเด็กมากมาย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

พอดีวันนี้ได้ดูการ์ตูนเรื่อง Charlie Brown ในทีวี เวียดนาม ดิฉันฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไ้ด้ไอเดีย ดิฉันจำได้ว่า คนที่ฟังดนตรีคลาสสิก จะมีจินตนาการดี หากฟังไปเรื่อยๆ จะดื่มดำ่ เพราะเห็นภาพตามท่วงธรรมนองที่บรรเลง เช่นในการ์ตูน มีเพลงคลาสสิค แต่จำไม่ได้ว่าของใคร อาจจะเป็นโชแปง และเขาก็วาดภาพว่าตัวการ์ตูนฟังเพลง แล้วเห็นภาพดอกไม้บาน เห็นภาำพวัด หรือ อะไรต่ออะไร ซึ่งหากเราเปิดเพลงตอนที่เด็กวาดรูป เด็กก็จะมีจินตนาการที่กว้างไกลได้ ดิฉันเคยอ่านเจอผลงานของศิลปินเอก เขาเล่าว่า ตอนที่เขาวาดรูป เขาได้แรงบันดาลใจจากเพลงอะไร ของใคร ซึ่งดิฉันคิดว่า กิจกรรมแบบนี้ไปด้วยกันได้ค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องระบบการศึกษาของ Charotte Mason นี่ ต้องขอบคุณ คุณ babyploy เพื่อนผู้ทุ่มเทในเวบรักลูก เธอเป็นคนแนะนำและจุดประกายระบบการศึกษาของ Charotte Mason ในกระทู้ของเธอ ดิฉันเองก็สนับสนุนให้เธอเขียนตำรานะคะ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์มากๆ ที่ดิฉันแปล หรือ เล่านี่ก็แค่ตัวเองพอใช้ ยังมีอีกมากมายที่น่าสนใจ ไว้จะมาค่อยๆเล่า

คนสวยไม่ต้องมีชื่อ กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ มนแชง ขอบคุณมากค่ะ สละเวลาให้ความรู้เพื่อนๆ