ข้อมูลนี้ เป็นข้อมูลที่ภาคภูมิใจมากๆ ชิ้นหนึ่ง คือการตามหา ตามเก็บ บทกลอน และบทอาขยานของชาติ ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว มรดกที่ทรงคุณค่ายิ่งของภูมิปัญญาไทย ได้เขียนกระทู้ในห้องเรียนของลูก แต่ขอนำมาเก็บรักษาไว้ใน Blog ส่วนตัวด้วย
พระราชดำรัส
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
" ...ปัจจุบันไม่นิยมให้เด็กท่องจำเพราะคิดว่าเป็นการให้เด็กท่องจำอย่างนกแก้วนกขุนทอง
โดยไม่มีความหมายและเหตุผล แต่ในความเป็นจริง การอ่านออกเสียงและการท่องจำ
มีประโยชน์หลายประการ เช่น การอ่านออกเสียงดัง ๆ จะทำให้สามารถพูดและออกเสียง
ได้คล่องแคล่วชัดเจน การท่องจำเป็นการสับสมองอยู่เสมอทำให้มีความจำดี การเลือกสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ให้เด็กท่องจำจะเกิดประโยชน์กับเด็กมากกว่าการให้เด็กท่องจำ
ความไร้สาระจากบทโฆษณาต่าง ๆ เพราะธรรมชาติของเด็กจะช่างจดจำอยู่แล้ว ถ้าให้ท่องจำในสิ่งที่เป็นความรู้หรือเป็นประโยชน์ สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
โดยครูอธิบายความหมายให้เข้าใจเสียก่อนก็จะเป็นประโยชน์แก่เด็กเป็นอันมาก
บทท่องจำทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองนั้น จะเป็นตัวอย่างให้เด็กนำไปใช้เพื่อการแต่งหนังสือ
ต่อไป เด็กที่ท่องบทร้อยกรองได้แล้ว ต่อไปสามารถแต่งบทร้อยกรองด้วยตนเองได้
เพราะคุ้นเคยและชินกับคำคล้องจอง นอกจากนี้เด็กจะได้สำนวนภาษาที่ดีจาก
บทท่องจำต่าง ๆ ด้วย ..."
86 ความคิดเห็น:
กลอนสุภาพ
๏ อย่าเกียจคร้านการเรียนเร่งอุส่าห์........มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน
จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน....................ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน
อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว............แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดคงเกิดผล
อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์.........................ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี
เกิดเป็นชายชาวสยามตามวิสัย...............หนังสือไทยก็ไม่รู้ดูบัดสี
ต้องอับอายขายหน้าทั้งตาปี...................ถึงผู้ดีก็คงด้อยถอยตระกูล
จะต่ำเตี้ยเสียชื่อว่าโฉดช้า.....................จะชักพายศลาภให้สาบสูญ
ทั้งขายหน้าญาติวงศ์พงษ์ประยูร..........จะเพิ่มพูนติฉินคำนินทา
หนึ่งหนังสือหรือตำรับฉบับบท.............เป็นของล้วนควรจดจำศึกษา
บิดาปู่สู้เสาะสะสมมา............................หวังให้บุตรนัดดาได้ร่ำเรียน
จะได้ทราบบาปบุญทั้งคุณโทษ..............ปะบุตรโฉดต่ำช้าก็พาเ***ยร
ไม่สมหวังดังบิดาปู่ตาเพียร...................เนิ่นจำเนียรแพลงพลัดกระจัดกระจาย
วิชาเหมือนสินค้า.....................อันมีค่าอยู่เมืองไหล
ต้องยากลำบากไป........................จึงจะได้สินค้ามา
๏ จงตั้งเอากายเจ้า........................เป็นสำเภาอันโสภา
ความเพียรเป็นโยธา.....................แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
๏ นิ้วเป็นสายระยาง.....................สองเท้าต่างสมอใหญ่
ปากเป็นนายงานไป.......................อัชฌาสัยเป็นเสบียง
๏ สติเป็นหางเสือ.........................ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
ถือไว้อย่าให้เอียง...........................ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา
๏ ปัญญาเป็นกล้องแก้ว..................ส่องดูแถวแนวหินผา
เจ้าจงเอาหูตา...............................เป็นล้าต้าฟังดูลม
๏ ขี้เกียจคือปลาร้าย......................จะทำลายให้เรือจม
เอาใจเป็นปืนคม.............................ยิงระดมให้จมไป
๏ จึงจะได้สินค้ามา.......................คือวิชาอันพิสมัย
จงหมั่นมั่นหมายใจ........................อย่าได้คร้านการวิชา ๚๛
กาพย์ยานี 11 (แม่ ก กา)
๏ แม่ไก่อยู่ในตะกร้า..............ไข่ไข่มาสี่ห้าใบ
อีแม่กาก็มาไล่.........................อีแม่ไก่ไล่ตีกา
๏ หมาใหญ่ก็ไล่เ**..............หมูในเล้าแลดูหมา
ปูแสมแลปูนา.........................กะปูม้าปูทะเล
๏ เต่านาและเต่าดำ.................อยู่ในน้ำกะจระเข้
ปลาทูอยู่ทะเล.........................ปลาขี้เหร่ไม่สู้ดี ๚๛
บทดอกสร้อย
๏กาเอ๋ยกาดำ.......................รู้จำรู้จักรักเพื่อน
ได้เหยื่อเผื่อแผ่ไม่แชเชือน.........รีบเตือนพวกพ้องร้องเรียกมา
เกลื่อนกลุ้มรุมล้อมพร้อมพรัก.....น่ารักน้ำใจกระไรหนา
จงเผื่อแผ่แน่ะพ่อหนูจงดูกา........มันโอบอารีรักดีนักเอย๚๛
กาพย์สุรางคนางค์ 28
๏ เกิดมาเป็นคน.....หนังสือเป็นต้น......วิชาหนาเจ้า
ถ้าแม้นไม่รู้......อดสูอายเขา.......เพื่อนฝูงเยาะเย้า....ว่าเง่าว่าโง่
๏ ลางคนเกิดมา......ไม่รู้วิชา.....เคอะอยู่จนโต
ไปเป็นข้าเขา......เพราะเราเง่าโง่......บ้างเป็นคนโซ.....เที่ยวขอก็มี ๚๛
สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน
ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม
อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม
ไม่ดูดดื่มบรเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์
ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย...........
ปากเป็นเอกเหมือนเสกมนต์ให้คนเชื่อ ฉลาดเหลือวาจาปรีชาฉาน
จะกล่าวถ้อยร้อยคำไม่รำคาญ เป็นรากฐานเทิดตนพ้นลำเค็ญ
เลขเป็นโทโบราณท่านสั่งสอน เร่งสังวรเวี่ยไว้ใช่ว่าเล่น
การคำนวณควรชำนาญคูณหารเป็น ช่วยให้เด่นดีนักหนารู้ท่าคน
หนังสือเป็นตรีวิชาปัญญาเลิศ เรียนไปเถิดรู้ไว้ไม่ไร้ผล
ยามยากแสนแค้นคับไม่อับจน ได้เลี้ยงตนด้วยวิชาหาทรัพย์ทวี
ชั่วดีเป็นตราประทับไว้กับโลก ยามวิโยคชีพยับลับร่างหนี
ที่ศูนย์แท้ก็แต่ตัวส่วนชั่วดี คงเป็นที่ลือทั่วชั่วฟ้าดิน
ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
จาก บทประพันธ์อธิบายสุภาษิต
นาฬิกา
จงเทียบเปรียบเอาว่า
เราเป็นนาฬิกาเอง
เข็มบ่งชี้ตรงเผง
พึงเพ่งไว้ให้ทุกวัน
ย่ำรุ่งสะดุ้งตื่น
วางหน้าชื่นลุกขึ้นพลัน
อาบน้ำชำระฟัน
หมดโสมมผมเผ้าหวี
โมงเช้าเฝ้าแต่งตัว
เครื่องเรียนทั่วทุกอย่างมี
เตรียมไปให้ทันที
ที่เพื่อนเราเข้าเรียนกัน
ตอนบ่ายหมายสิบห้า
นาฬิกาเลิกมาพลัน
ถึงเหย้าเราขยัน
หยิบงานทำโดยจำนง
.......................
สักวาดาวจรเข้
สักวาดาวจรเข้ก็เหหก
ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว
น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อยเรื่อยเฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ
ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง
พอแสงทองส่องฟ้าขอลาเอย...
_________________
เด็กน้อย ๏ ๏
(ร้องลำฝรั่งรำเท้า)
เด็กเอ๋ย เด็กน้อย
ความรู้ เรายังด้อย เร่งศึกษา
เมื่อเติบใหญ่ เราจะได้ มีวิชา
เป็นเครื่องหา เลี้ยงชีพ สำหรับตน
ได้ประโยชน์ หลายสถาน เพราะการเรียน
จงพากเพียร ไปเถิด จะเกิดผล
ถึงลำบาก ตรากตรำ ก็จำทน
เกิดเป็นคน ควรหมั่น ขยันเอย...
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าว ขอแกง
ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า
ขอช้าง ขอม้า ให้น้องข้าขี่
ขอเก้าอี้ ให้น้องข้านั่ง
ขอเตียงตั้ง ให้น้องข้านอน
ขอละคร ให้น้องข้าดู
ขอยายชู เลี้ยงน้องข้าเถิด
ขอยายเกิด เลี้ยงตัวข้าเอง
สัตว์สวยป่างาม ๏ ๏
จาก - มูลบทบรรพกิจ -
ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)
เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน.......เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงสำอางข้างเคียง
เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง...........เริงร้องซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟังวังเวง
กลางไพรไก่ขันบรรเลง............ฟังเสียงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง.......เพียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสดารขานเสียง
กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง........พญาลอคลอเคียง
แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง...........เพลินฟังวังเวง
อีเก้งเริงร้องลองเชิง
ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง..........ค่างแข็งแรงเริง
ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง
ป่าสูงยูงยางช้างโขลง...........อึงคะนึงผึงโผง
โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป
สยามานุสติ ๏ ๏
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
๏ ใครรานใครรุกด้าว...............แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ.......................ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล................ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่เสียสิ้น......................ชื่อก้องเกียรติงาม
๏ หากสยามยังอยู่ยั้ง.................ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง......................ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง....................ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย..................หมดสิ้นสกุลไทย
โมกขศักดิ์ ๏ ๏
จากเรื่อง รามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑
บัดนั้น............................................พระยาพิเภกยักษี
เห็นพระองค์ทรงโศกโศกี................อสุรีกราบลงกับบาทา
ทูลว่าพระลักษณ์สุริยวงศ์.................ยังไม่ปลงชีวังสังขาร์
อันโมกขศักดิ์อสุรา..........................พรหมาประสิทธิ์ประสาทไว้
ทรงอานุภาพฤทธิรุทร.....................ต้องใครจะฉุดนั้นไม่ไหว
แต่มียาคู่หอกชัย..............................ให้ไว้สำหรับแก้กัน
แม้นละไว้จนรุ่งราตรี.......................ต้องแสงพระระวีจะอาสัญ
ขอให้ลูกพระพายเทวัญ....................ไปห้ามพระสุริยันในชั้นฟ้า
อย่าเพ่อรีบรถบทจร..........................ข้ามยุคนธรภูผา
แล้วให้ไปเก็บตรีชวา........................ทั้งยาชื่อสังขรณี
ยังเขาสรรพยาบรรพต.....................ปรากฏอยู่ยอดคีรีศรี
กับปัญจมหานที...............................สรรพยาทั้งนี้มาให้ทัน
แม้นว่าได้บดชโลมลง......................องค์พระอนุชาไม่อาสัญ
จะดำรงคงชีพชีวัน..........................หอกนั้นก็จะหลุดขึ้นมา
พวกเราชาวไทย๏ ๏
จากเรื่อง พระร่วง
พวกเราชาวไทยล้วนใจเด็ด
กล้าเหมือนเพชรไม่ยอมใครง่ายง่าย
กล้าเหมือนเพชรไม่ยอมใครง่ายง่าย
ถึงจะมีไพรีมามากมาย
ก็ต่อสู้จนตายไม่อินัง
ก็ต่อสู้จนตายไม่อินัง
ถึงเมียสาวลูกอ่อนนอนผ้าอ้อม
ชายก็ยอมทิ้งได้ไม่เหลียวหลัง
ชายก็ยอมทิ้งได้ไม่เหลียวหลัง
แม้ไม่ทิ้งหญิงคงส่งเสียงดัง
และดันหลังไล่ออกนอกเรือนชาน
และดันหลังไล่ออกนอกเรือนชาน
เพราะทั้งแม่ทั้งเมียล้วนเลิศไซร้
ผู้ชายไทยใจจึ่งล้วนกล้าหาญ
ผู้ชายไทยใจจึ่งล้วนกล้าหาญ
ไม่ห่วงแม่ห่วงเมียจนเสียการ
มีแก่ใจไปราญรบไพรี
มีแก่ใจไปราญรบไพรี
ถึงจะรักลูกและรักผัว
ไม่ยอมให้ชายมั่วอยู่สูสี
ไม่ยอมให้ชายมั่วอยู่สูสี
ยุให้ไปยุทธนารบราวี
และต่อตีเข้มขันป้องกันเมือง
ชั้น ประถมปีที่ ๖
บทไหว้ครู ปฐม ก กา ๏ ๏
• นะโมข้าจะไหว้ วระไตรระตะนา
ใส่ไว้ในเกษา วระบาทะมุนี
• คุณะวระไตร ข้าใส่ไว้ในเกษี
เดชะพระมุนี ขออย่ามีที่โทษา
• ข้าขอยอชุลี ใส่เกษีไหว้บาทา
พระเจ้าผู้กรุณา อยู่เกษาอย่ามีไภย
• ข้าไหว้พระสะธรรม ที่ลึกล้ำคำภีร์ใน
ได้ดูรู้เข้าใจ ขออย่าได้มีโรคา
• ข้าไหว้พระภิกษุ ที่ได้ลุแก่โสดา
ไหว้พระสกิทาคา อะระหาธิบดี
• ข้าไหว้พระบิดา ไหว้บาทาพระชะนะนี
ไหว้พระอาจารีย์ ใส่เกษีไหว้บาทา
• ข้าไหว้พระครูเจ้า ครูผู้เฒ่าใส่เกษา
ให้รู้ที่วิชา ไหว้บาทาที่พระครู
• จะใคร่รู้ที่วิชา ขอเทวามาค้ำชู
ที่ใดข้าไม่รู้ เล่าว่าดูรู้แลนา
• ไชยโยขอเดชะ ชัยชะนะแก่มารา
ระบือให้ลือชา เดชะสามาไชยโย
• ไชยโยขอเดชะ ชัยชนะแก่โลโภ
• กุมาระกุมารี ตะรุณีย์ที่เยาว์ไว
จะฬ่อพอเข้าใจ ให้รู้จำคำวาที
• ว่าไว้ใน ก กา ก ข ขา อา อิ อี
ว่าไว้ในเท่านี้ ที่พอได้ใน ก กา
• แต่พอให้รู้เล่า ที่ผู้เขลาเยาวะพา
ได้ดูรู้แลนา กุมาราตะรุณี
• จะใคร่ได้รู้ธำม์ ที่ลึกล้ำจำไว้ดี
ได้แน่แต่เท่านี้ ดีจำเอาเบาใจครู
• จะว่าแต่ฬ่อๆ ว่าแต่พอฬ่อใจดู
ว่าไว้ได้พอรู้ ดูว่าเล่าเอาใจใส่
จากหนังสือปถม ก กา หัดอ่าน
หนังสือเรียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(ขอบพระคุณ คุณสุคุณ ที่กรุณาแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูล ๑๖ กรกฎ ๔๗)
พระอภัยมณี ๏ ๏
- สุนทรภู่ -
พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม
จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป
ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช
จตุบาทกลางป่าพนาสิน
แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน
ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ
อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญา
จะนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟังแล้ว
หยิบปี่ที่ท่านอาจารย์ให้
เข้าพิงพฤกษาไทรดังใจหวัง
พระเป่าเปิดนิ้วเอกวิเวกดัง
สำเนียงวังเวงแว่วแจ้วจับใจ
ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย
ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย
จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
พระจันทรจรสว่างกลางโพยม
ไม่เทียบโฉมนางงามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย
แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย
ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน
เจ้าพราหมณ์ฟังวังเวงวะแว่วเสียง
สำเนียงเพียงการเวกกังวาลหวาน
หวาดประหวัดสตรีฤดีดาล
ให้ซาบซ่านเสียวสะดับจนหลับไป
ศรีสุวรรณนั้นนั่งอยู่ข้างพี่
ฟังเสียงปี่วาบวับก็หลับไหล
พระแกล้งเป่าแปลงเพลงวังเวงใจ
เป็นความบวงสรวงพระไทรที่เนินทรายฯ
นรางกุโรวาทคำกลอน ๏ ๏
(ตอนปรารถนาดีต่อแดนเกิด)
เราเกิดมา หน้าที่ อารีสมาน
ใจเพื่อนบ้าน เพื่อนนิคม สนมสนิท
บ้านแลแขวง ตำแหน่งตน ทุกคนคิด
ช่วยให้เดิน เจริญผิด กว่าเคยมา
คอยหวังดี ถ้าแม้นมี โอกาสไฉน
ควรจะให้ แขวงนั้น สุขหรรษา
ทำไม่ไหว ให้ถวิล จินตนา
จะช่วยเหลือ เกื้อกว่า จะหมดแรง
เมืองไทยใหญ่อุดม
ดินดีสมเป็นนาสวน
เพื่อนรักเราชักชวน
ร่วมช่วยกันมุ่งหมั่นทำ
วิชาต้องหาไว้
เป็นหลักได้ใช้ช่วยนำ
ให้รู้ลู่ทางจำ
ค้นคว้าไปให้มากมี
ช่วยกันอย่างขันแข็ง
ด้วยลำแข้งและแรงกาย
ทำไปไม่เสียดาย
แม้อาบเหงื่อเมื่อทำงาน
ดั่งนี้มั่งมีแท้
ร่มเย็นแน่หาไหนปาน
โลกเขาคงเล่าขาน
ถิ่นไทยนี้ดีงามเอย
แมวเหมียว แยกเขี้ยวยิงฟัน ๏ ๏ (ร้องลำแขกบรเทศ)
-นายทัด เปรียญ - แต่ง
แมวเอ๋ย แมวเหมียว
รูปร่าง ประเปรียว เป็นหนักหนา
ร้องเรียก เหมียวเหมียว ประเดี๋ยวก็มา
เคล้าแข้ง เคล้าขา น่าเอ็นดู
รู้จัก เอารัก เข้าต่อตั้ง
ค่ำค่ำ ซ้ำนั่ง ระวังหนู
ควรนับว่ามัน กตัญญู
พอดู อย่างไว้ ใส่ใจเอย......
๏ ๏ ตั้งไข่ล้มต้มไข่กิน ๏ ๏ (ร้องลำลมพัดชายเขา)
-สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ- ทรงนิพนธ์
ตั้งเอ๋ยตั้งไข่
จะตั้งใย ไข่กลม ก็ล้มสิ้น
ถึงว่า ไข่ล้ม จะต้มกิน
ถ้าตกดิน เสียก็อด หมดฝีมือ
ตั้งใจ เรานี้ จะดีกว่า
อุตส่าห์ อ่านเขียน เรียนหนังสือ
ทั้งวิชา สารพัด เพียรหัดปรือ
อย่าดึงดื้อ ตั้งไข่ ร่ำไรเอย.......
๏ ๏ จิงโจ้โล้สำเภา ๏ ๏ (ร้องลำมอญรำดาบ)
-หลวงวิจิตรวาทการ- แต่ง
จิงเอ๋ยจิงโจ้
เล่นโล้ ในลำ สำเภาใหญ่
เพื่อออกแรง ออกกำลัง โดยตั้งใจ
ที่จะให้ เข้มแข็ง และอดทน
เรานักเรียน ต้องไม่คร้าน การกีฬา
เรื่อง พลศึกษา ต้องฝึกฝน
ให้แข็งแรง ถ้วนทั่ว ทุกตัวคน
เพื่อเป็นคุณ แก่ตน และชาติเอย
เวนิสวาณิช ๏ ๏ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
๏ อันว่าความกรุณาปราณี
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
เป็นสิ่งดีสองชั้นพลันปลื้มใจ
แห่งผู้ให้และผู้รับสมถวิล
เป็นกำลังเลิศพลังอื่นทั้งสิ้น
เจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระกรุณา
ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์
เรืองจรัสยิ่งมกุฏสุดสง่า
พระแสงทรงดำรงซึ่งอาชญา
เหนือประชาพสกนิกร
ประดับพระวรเดชวิเศษฤทธิ์
ที่สถิตอานุภาพสโมสร
แต่การุณยธรรมสุนทร
งามงอนกว่าพระแสงอันแรงฤทธิ์
เสถียรในหฤทัยพระราชา
เป็นคุณของเทวาผู้มหิทธ์
และราชาเทียมเทพอมฤต
ยามบพิตรเผยแผ่พระกรุณา
ซักเซ้าเอ๋ย มะนาวโตงเตง ขุนนางมาเอง ว่าจะเล่นซักเซ้า
ไก่เอ๋ยไก่ เลี้ยงลูกมาจนใหญ่ ไม่มีนมให้ลูกกิน
ลูกร้องเจี้ยบ ๆ แม่ก็เลียบไปคุยดิน ทำมาหากิน ประสาไก่เอย
แมงมุมเอย ขยุ้มหลังคา
แมวกินปลา หมากัดกระพุ้งก้น
นกเอี้ยงเอ๋ย มาเลี้ยงควายเฒ่า
ควายกินข้าว นกเอี้ยงหัวโต
แม่งูเอย กินน้ำบ่อไหน
กินน้ำบ่อหิน บินไปก็บินมา
กินน้ำบ่อทราย ย้ายไปก็ย้ายมา
กินน้ำบ่อโศก โยกไปก็โยกมา
กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว
จ่ำจี้มะเขือเปราะ กระเทาะหน้าแว่น
พายเรืออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม
สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด
เอากระจกไหนส่อง เยี่ยมเยี่ยม มองมอง นกขุนทองร้องฮู้
๏ ๏ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ๏ ๏ ของ -พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
๏ วังเอ๋ยวังเวง
หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล
ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับ
ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน
ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล
แลทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย.....
๏ ความเอ๋ย ความรู้
เป็นเครื่องชูชี้ทางสว่างไสว
หมดโอกาสที่จะชี้ต่อนี้ไป
ละห่วงใยอยากรู้ลงสู่ดิน
อันความยากหากให้ไร้ศึกษา
ย่นปัญญาความรู้อยู่แค่ถิ่น
หมดทุกข์ขลุกแต่กิจคิดหากิน
กระแสวิญญาณงันเพียงนั้นเอย.......
๏ ห่วงเอ๋ยห่วงอะไร
ไม่ยิ่งใหญ่เท่าห่วงดวงชีวิต
แม้คนลืมสิ่งใดได้สนิท
ก็ยังคิดขึ้นได้เมื่อใกล้ตาย
เคยเป็นทุกข์ห่วงใยเสียได้ง่าย
ใครจะยอมละแดนแสนสบาย
นกเอี้ยงเลี้ยงควายเฒ่า
นกเอ๋ย นกเอี้ยง
คนเข้าใจ ว่าเจ้าเลี้ยง ซึ่งควายเฒ่า
แต่นกเอี้ยง นั้นเลี่ยง ทำงานเบา
แม้อาหาร ก็ไปเอา บนหลังควาย
เปรียบเหมือนคน ทำตน เป็นกาฝาก
รู้มาก เอาเปรียบ คนทั้งหลาย
หนีงานหนัก คอยสมัคร งานสบาย
จึงน่าอาย เพราะเอาเยี่ยง นกเอี้ยง
ร้องลำแขกไซ)
หลวงวิจิตรวาทการแต่ง
กาเหว่า
เจ้านกกาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก
แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อ ไปคาบเอาเหยื่อมาป้อน
ถนอมไว้ในรังนอน ซ่อนเหยื่อมาให้กิน
ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ท้อแท้จะสอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งแลกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา
กินแล้วก็โผมา จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง
ยังมีนายพราน เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง จ้องเอาแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ
กินนางแม่กาดำ ค่ำวันนี้อุแม่นา
จาก บทกลอนกล่อมเด็ก
รวบรวมโดย หอพระสมุดวชิรญาณ
กาพย์เห่เครื่องคาวหวานค่า
มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝ้นหา
ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจารจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
หมูแนมแหลมเลืศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนปั่นโหย
ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย โรยอย่างเทศวิเศษครัน
เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยม้น
น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมณ์
ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม
กลมกล่อมอ่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น
ตั้งไข่ล้มต้มไข่กิน ๏ ๏
(ร้องลำลมพัดชายเขา)
-สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ- ทรงนิพนธ์
ตั้งเอ๋ยตั้งไข่
จะตั้งใย ไข่กลม ก็ล้มสิ้น
ถึงว่า ไข่ล้ม จะต้มกิน
ถ้าตกดิน เสียก็อด หมดฝีมือ
ตั้งใจ เรานี้ จะดีกว่า
อุตส่าห์ อ่านเขียน เรียนหนังสือ
ทั้งวิชา สารพัด เพียรหัดปรือ
อย่าดึงดื้อ ตั้งไข่ ร่ำไรเอย.......
๏ ๏ นกขมิ้นเหลืองอ่อน ๏ ๏
(ร้องลำพัดชา)
-หลวงพลโยธานุโยค(นก) - แต่ง
ปักเอ๋ย ปักษิน
นกขมิ้น เรื่อเรือง เหลืองอ่อน
ถึงเวลา หากิน ก็บินจร
ครั้นสายัณห์ ผันร่อน มานอนรัง
ความเคยคุ้น สกุณา อุตสาหะ
ไม่เลยละ พุ่มไม้ ที่ใจหวัง
เพราะพากเพียร ชอบที่ มีกำลัง
เป็นที่ตั้ง ตนรอด ตลอดเอย.......
๏ ชักซ้าวมะนาวโตงเตง ๏ ๏
(ร้องลำสารถีชักรถ)
ซักเอ๋ย ซักซ้าว
ผลมะนาว ทิ้งทาน ในงานศพ
เข้าแย่งชิง เหมือนสิ่ง ไม่เคยพบ
ไม่น่าคบ เลยหนอ พวกขอทาน
ดูประหนึ่ง ขัดสน จนปัญญา
มีทางหา กินได้ หลายสถาน
ประหลาดใจ เหตุไฉน ไม่ทำงาน
ประกอบการ อาชีพ ที่ดีเอย....
ตุ๊ดตู่ในรูกระบอก ๏ ๏
(ร้องลำวิลันดาโอด)
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ- ทรงนิพนธ์
ตุ๊ดเอ๋ย ตุ๊ดตู่
ในเรี่ยว ในรู ช่างอยู่ได้
ขี้เกียจ นักหนา ระอาใจ
มาเรียกให้ กินหมาก ไม่อยากคบ
ชาติขี้เกียจ เบียดเบียน แต่เพื่อนบ้าน
การงาน สักนิด ก็คิดหลบ
ตื่นเช้า เราจักหมั่น ประชันพลบ
ไม่ขอพบ ขี้เกียจ เกลียดนักเอย....
นกกิ้งโครงเข้าโพรงนกเอี้ยง ๏ ๏
(ร้องลำนกกระจอกทอง)
-พระยาพินิจสารา (ทิม) - แต่ง
นกเอ๋ย นกกิ้งโครง
หลงเข้าโพรง นกเอี้ยง เถียงเจ้าของ
อ๋อยอี๋เอียง อ๋อยอี๋เอียง ส่งเสียงร้อง
เจ้าของ เขาว่า น่าไม่อาย
แต่นก ยังรู้ ว่าผิดรัง
นักปราชญ์ รู้พลั้ง ไม่แม่นหมาย
แต่ผิด รับผิด พอผ่อนร้าย
ภายหลัง จงระวัง อย่าพลั้งเอย.....
เรือเล่นสามเส้นสิบห้าวา ๏ ๏
(ร้องลำตวงพระธาตุ)
นายทัด เปรียญ - แต่ง
เรือเอ๋ย เรือเล่น
สามเส้น เศษวา ไม่น่าล่ม
ฝีพายลง เต็มลำ จ้ำตะบม
ไปขวางน้ำ คว่ำจม ลงกลางวน
ทำขวางขวาง รีรี ไม่ดีหนอ
เที่ยวขัดคอ ขัดใจ ไม่เป็นผล
จะก่อเรื่อง เคืองข้อง หมองกมล
เกิดร้อนรน ร้าวฉาน รำคาญเอย.....
เห่ชมเครื่องหวาน ๏ ๏
๏ สังขยาหน้าไข่คุ้น
แกมกับข้าวเหนียวสี
เป็นนัยนำวาที
แถลงว่าโศกเสมอพ้อม
๏ สังขยาหน้าตั้งไข่
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง
๏ ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำ
วิตกอกแห้งเครือ
๏ ลำเจียกชื่อขนม
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย
๏ มัศกอดกอดอย่างไร
กอดเคล้นจะเห็นความ
๏ ลุดตี่นี้น่าชม
โอชาหน้าไก่แกง
๏ ขนมจีบเจ้าจีบห่อ
นึกน้องนุ่งจีบกราย
๏ รสรักยักลำนำ
คำนึงนิ้วนางเจียน
๏ ทองหยิบทิพย์เทียมทัด
หลงหยิบว่ายาดม
๏ ขนมผิงผิงผ่าวร้อน
ร้อนนักรักแรมไกล
๏ รังไรโรงด้วยแป้ง
โอ้อกนกทั้งปวง
๏ ทองหยอดทอดสนิท
สองปีสองปิดบัง
๏ งามจริงจ่ามงกุฏ
เรียมร่ำคำนึงปอง
๏ บัวลอยเล่ห์บัวงาม
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคล
๏ ช่อม่วงเหมาะมีรส
คิดสีสไลคลุม
๏ ฝอยทองเป็นยองใย
คิดความยามเยาวมาลย์
เคยมี
โศกย้อม
สมรแม่ มาแม่
เพียบแอ้อกอร ๚
ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
แทรกใส่น้ำกะทิเจือ
ได้เสพหริ่มพิมเสนโรย
นึกโฉมฉมหอมชวยโชย
โหยไห้หาบุหงางาม
น่าสงสัยใคร่ขอถาม
ขนมนามนี้ยังแคลง
แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
งามสมส่อประพิมพ์ประพาย
ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
ประดิษฐ์ทำขนมเทียน
เทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
สามหยิบชัดน่าเชยชม
ก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
เพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
เมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง
เหมือนนกแกล้วทำรังรวง
ยังยินดีด้วยมีรัง
ทองม้วนมิดคิดความหลัง
แต่ลำพังสองต่อสอง
ใส่ชื่อดุจมงกุฏทอง
สะอิ้งน้องนั้นเคยยล
คิดบัวกามแก้วกับตน
สถนนุชดุจประทุม
หอมปรากฏกลโกสุม
หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
เย็บชุนใช้ไหมทองจีน ๚
เห่ชมผลไม้ ๏ ๏
๏ ผลชิดแช่อิ่มโอ้
หอมชื่นกลืนหวานใน
รื่นรื่นรสรมย์ใด
หวานเลิศเหลือรู้รู้
๏ ผลชิดแช่อิ่มอบ
รสไหนไม่เปรียบปาน
๏ ตาลเฉาะเหมาะใจจริง
คิดความยามพิสมัย
๏ ผลจากเจ้าลอยแก้ว
จากช้ำน้ำตากระเด็น
๏ หมากปรางนางปอกแล้ว
ยามชื่นรื่นโรยแรง
๏ หวนห่วงม่วงหมอนทอง
คิดความยามนิทรา
๏ ลิ้นจี่มีครุ่นครุ่น
หวนถวิลลิ้นลมงอน
๏ พลับจีนจักด้วยมีด
คิดโอษฐ์อ่อนยิ้มยวน
๏ น้อยหน่านำเมล็ดออก
มือใครไหนจักทัน
๏ ผลเกดพิเศษสด
คำนึงถึงเอวบาง
๏ ทับทิมพริ้มตาตรู
สุกแสงแดงจักย้อย
๏ ทุเรียนเจียนตองปู
เหมือนศรีฉวีกาย
๏ ลางสาดแสวงเนื้อหอม
กลืนพลางทางเพ่งพิศ
๏ ผลเงาะไม่งามแงะ
หวนเห็นเช่นรจนา
๏ สละสำแลงผล
ท่าทิ่มปิ้มปืนกาม เอมใจ
อกชู้
ฤๅดุจ นี้แม่
แต่เนื้อนงพาล ๚
หอมตรลบล้ำเหลือหวาน
หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ
รสเย็นยิ่งยิ่งเย็นใจ
หมายเหมือนจริงยิ่งอยากเห็น
บอกความแล้วจากจำเป็น
เป็นทุกข์ท่าหน้านวลแตง
ใส่โถแก้วแพร้วพรายแสง
ปรางอิ่มอาบซาบนาสา
อีกอกร่องรสโอชา
อุราแนบแอบอกอร
เรียกส้มฉุนใช้นามกร
ชะอ้อนถ้อยร้อยกระบวน
ทำประณีตน้ำตาลกวน
ยลยิ่งพลับยับยับพรรณ
ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรย์
เทียบเทียมที่ฝีมือนาง
โอชารสล้ำเลิศปาง
สางเกศเส้นขนเม่นสอย
ใส่จานดูดุจเม็ดพลอย
อย่างแหวนก้อยแก้วตาชาย
เนื้อดีดูเหลือเรืองพราย
สายสวาทพี่ที่คู่คิด
ผลงอมงอมรสหวานสนิท
คิดยามสารทยาตรามา
มล่อนเมล็ดและเหลือปัญญา
จ๋าเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม
คิดลำต้นแน่นหนาหนาม
นามสละมละเมตตา ๚
โลกนิติคำโคลง ๏ ๏
ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง)
๏ พึงอวยโอวาทไว้......ในตน ก่อนนา
จึงสั่งสอนสาธุชน........ทั่วหล้า
แต่แรกเร่งผจญ..........จิตอาต-มาแฮ
สัตว์อื่นหมื่นแสนอ้า.....อาจแท้ทรมาน
๏ คุณแม่หนาหนักเพี้ยง.....พสุธา
คุณบิดรดุจอา.................กาศกว้าง
คุณพี่พ่างศิขรา................เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อ้าง..........อาจสู้สาคร
๏ เย็นเงาพฤกษ์มิ่งไม้......สุขสบาย
เย็นญาติทุกข์สำราย........กว่าไม้
เย็นครูยิ่งพันฉาย............กษัตริย์ยิ่ง ครูนา
เย็นร่มพระเจ้าให้............ร่มฟ้าดินบน
๏ วิชาควรรักรู้................ฤๅขาด
อย่าหมิ่นศิลปศาสตร์.......ว่าน้อย
รู้จริงสิ่งเดียวอาจ............มีมั่ง
เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย..........ชั่วลื้อเหลนหลาน
นิราศภูเขาทอง
ถึงบางพูด พูดดีเป็นศรีปาก มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
อันมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
เพลงยาวถวายโอวาท
ผู้ประพันธ์ สุนทรภู่
อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนไม่แคลนคลาย เจ็บจนตายก็เพราะเหน็บให้เจ็บใจ
พระอภัยมณี
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักมีสองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้คือกายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
ของท่านพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยาง**ร)
นิติสารสาธก
อันความรู้ รู้กระจ่าง เพียงอย่างเดียว
แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด คงเกิดผล
อาจจะชัก เชิดชู ฟูสกนธ์
ถึงคนจน พงศ์ไพร่ คงได้ดี
ของท่านสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
กฤษณาสอนน้อง
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรี
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ความดีก็ปรากฏ กิติยศฤาชา
ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร
สุภาษิตสอนหญิง
มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท.................อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง.............. อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ..................ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล...................จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
๏ ๏ พระอภัยมณี ๏ ๏
ตอนที่ ๑๙
ของ - สุนทรภู่ -
พระฟังคำอ้ำอึ้งตะลึงคิด
จะเบือนบิดป้องปัดก็ขัดขวาง
สงสารลูกเจ้าลังกาจึงว่าพลาง
เราเหมือนช้างงางอกไม่หลอกลวง
ถึงเลือดเนื้อเมื่อน้องต้องประสงค์
พี่ก็คงยอมให้มิได้หวง
แต่ลูกเต้าเขาไม่เหมือนคนทั้งปวง
จะได้ช่วงชิงไปให้กระนั้น
พี่ว่าเขาเขาก็ว่ามากระนี้
มิใช่พี่นี้จะแกล้งแสร้งเสกสรรค์
เพราะเหตุเขารักใคร่อาลัยกัน
ค่อยผ่อนผันพูดจาอย่าราคี
แล้วตรัสบอกลูกน้อยกลอยสวาท
เจ้าหน่อเนื้อเชื้อชาติดงราชสีห์
อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที
ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน
ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา
เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน
ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล
พระเวทมนต์เสื่อมคลายทำลายยศ
เพราะบิดามาด้วยอุศเรนนี้
คุณเขามีมากล้นพ้นกำหนด
เจ้าทำผิดก็เหมือนพ่อทรยศ
จงออมอดเอ็นดูพ่อแต่พองาม
โคลงดั้นวิวิธมาลี ๏ ๏
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
-พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) -
๏ ลูกเสือควรยึดข้อ.................ภาษิต นี้เทอญ
ควรพึ่งแต่ตัวเรา.................รอบด้าน
บำเพ็ญฝึกฝนกิจ...................การช่วย ตนเทอญ
ทั้งช่วยเพื่อนบ้านด้วย...........ดุษฎี
๏ แม้เราปลงจิตพร้อม...............เพรียงกัน ฉะนี้นา
ต่างฝ่ายต่างกระวี......................กระวาดถ้วน
พยายามฝึกหัดสรร-...................พพิท ยาแฮ
สยามจักหลั่งล้นล้วน...................เลศงาม
๏ ชาติต้องการให้ช่วย.................ฉันใด ก็ดี
อาจช่วยได้ดังความ.....................มุ่งเกื้อ
ชูเทศเทอดไผท...........................เทียมเทศ อารย์พ่อ
สมเกียยรติยศผู้เชื้อ......................ชาติไทย
บทอาขยานภาษาไทย
บทประพันธ์อธิการสุภาษิต
สุภาษิตที่ ๑
รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง
อันนกกาอาศัยซึ่งปีกหาง ไปสู่ทางที่ประสงค์ตรงดังหมาย
รู้หลบหลีกปีกป้องประคองกาย อันตรายมิให้ใกล้ได้อาวรณ์
แม้จะมีพรานไพรใจฉกาจ คอยพิฆาตฆ่าด้วยธนูศร
ใช้ปีกหลบหางหลีกปลีกทางจร ไม่ม้วยมรณ์ร่อนลงระหว่างทาง
ฉันใดคนควรมีคติวิเศษ คือรู้เลศหลบหลีกเหมือนปีกหาง
เอาปัญญาเป็นปีกคอยกั้นกาง สติเป็นหางอีกด้วยช่วยเชิดชู
อันเชิงหนีทีไล่ต้องให้พร้อม อย่าเพิ่งยอมจนปัญญาน่าอดสู
ถึงเสียหลักต้องหลบให้น่าดู ทั้งต้องรู้เชิงหลีกปลีกตนดี
นเป็นที่พึ่งแห่งตน
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิต
เราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึ่ง อย่าหมายพึ่งผู้ใดให้เขาหยัน
ควรคะนึงพึ่งตนทนกัดฟัน คิดบากบั่นตั้งหน้ามานะนำ
กสิกิจพณิชการงานมีเกียรติ อย่าหยามเหยียดพาลหาว่างานต่ำ
หรือจะชอบวิชาอุตสาหกรรม เชิญเลือกทำตามถนัดอย่าผัดวัน
เอาดวงใจเป็นทุนหนุนนำหน้า เอาปัญญาเป็นแรงมุ่งแข่งขัน
เอาความเพียรเป็นยานประสานกัน ผลจะบรรลุสู่ประตูชัย
เงินและทองกองอยู่ประตูหน้า คอยเปิดอ้ายิ้มรับไม่ขับไส
ทรัพย์ในดินสินในน้ำออกคล่ำไป แหลมทองไทยพร้อมจะช่วยอำนวยเอย
ตุ๊กแก
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำสะสม
ตุ๊กเอ๋ยตุ๊กแก
ตับแก่แซ่ร้องกึกก้องบ้าน
เหมือนเตือนหูให้งูรู้อาการ
น่ารำคาญเสียแท้แท้แส่จริงจริง
อันความลับเหมือนกับตับที่ลับแน่
อย่าตีแผ่ให้กระจายทั้งชายหญิง
ที่ควรปิดปิดไว้อย่าไหวติง
ควรจะนิ่งนิ่งไว้ในใจเอย ฯ
กะเกย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงนิพนธ์ ร้องลำตะนาว
กะเอ๋ยกะเกย
อย่าละเลยกุ้งไม้ไว้จนเหม็น
มากินข้าวเถิดนะเจ้าข้าวจะเย็น
ไปมัวเล่นอยู่ทำไมใช่เวลา
ถ้าถึงยามกินนอนผ่อนผัดนัก
ก็ขี้มักเจ็บไข้ไม่แกล้งว่า
จะท้องขึ้นท้องพองร้องระอา
ต้องกินยานํ้าสมอขื่นคอเอย ฯ
แมงมุม
หลวงประชุมบรรณสาร (พิณ) แต่ง ร้องลำมอญร้องไห้
แมงเอ๋ยแมงมุม
ขยุ้มหลังคาที่อาศัย
สั่งสอนลูกรักให้ชักใย
ลูกไถลไม่ทำต้องจำตี
ได้ความเจ็บแค้นแสนสาหัส
เพราะขืนขัดถ้อยคำแล้วซํ้าหนี
เด็กเอ๋ยเจ้าอย่าเป็นดังเช่นนี้
สิ่งไม่ดีคูรว่าอย่าทำเอย ฯ
กาดำ
นายแก้ว แต่ง ร้องลำจีนขิมเล็ก
กาเอ๋ยกาดำ
รู้จำรู้จักรักเพื่อน
ได้เหยื่อเผื่อแผ่ไม่แชเชือน
รีบเตือนพวกพ้องร้องเรียกมา
เกลื่อนกลุ้มรุมล้อมพร้อมพรัก
น่ารักนํ้าใจกระไรหนา
การเผื่อแผ่แน่ะพ่อหนูจงดูกา
มันโอบอารีรักดีนักเอย ฯ
กาดำ
นายแก้ว แต่ง ร้องลำจีนขิมเล็ก
กาเอ๋ยกาดำ
รู้จำรู้จักรักเพื่อน
ได้เหยื่อเผื่อแผ่ไม่แชเชือน
รีบเตือนพวกพ้องร้องเรียกมา
เกลื่อนกลุ้มรุมล้อมพร้อมพรัก
น่ารักนํ้าใจกระไรหนา
การเผื่อแผ่แน่ะพ่อหนูจงดูกา
มันโอบอารีรักดีนักเอย ฯ
มดแดง
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำพัดชา
มดเอ๋ยมดแดง
เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน
ใครกลํ้ากรายทำร้ายถึงรังมัน
ก็วิ่งกรูกันมาทันที
สู้ได้หรือมิได้ใจสาหัส
ปากกัดก้นต่อยไม่ถอยหนี
ถ้ารังเราใครกล้ามาราวี
ต้องต่อตีทรหดเหมือนมดเอย ฯ
จ้ำจี้
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำลิ้นลากระทุ่ม
จํ้าเอ๋ยจํ้าจี้
เพ้อเจ้อเต็มทีไม่มีผล
ดอกเข็มดอกมะเขือเจือระคน
สับสนเรื่องราวยาวสุดใจ
เขาจํ้าแจวจํ้าพายเที่ยวขายของ
เร่ร้องตามลำแม่นํ้าไหล
ชอบรีบแจวรีบจ้ำหากำไร
จํ้าทำไมจํ้าจี้ไม่ดีเอย ฯ
ไก่เอ๋ยไก่แจ้
ถึงยามขันขันแซ่กระชั้นเสียง
โก่งคอเรื่อยร้องซ้องสำเนียง
ฟังเพียงบรรเลงวังเวงดัง
ถ้าตัวเราเหล่านี้หมั่นนึก
ถึงคุณคูรผู้ฝึกสอนสั่ง
ไม่มากนักสักวันละสองครั้ง
คงตั้งแต่สุขทุกวันเอย ฯ
โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร เป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่า เยาวชน นักเรียน และบุคคลทั่วไปควรได้ศึกษาเพื่อนำแนวความคิด ข้อเตือนใจจากภาษิตคำสอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
โคลงโลกนิติ นี้ กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2447 สำหรับใช้เป็นหนังสือแบบเรียน
อัญขยมบรมนเรศร์เรื้อง รามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรง สืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์ โอวาท
หวังประชาชนให้ อ่านแจ้งคำโคลง
ครรโลงโลกนิตินี้ นมนาน
มีแต่โบราณกาล เก่าพร้อง
เป็นสุภสิตสาร สอนจิต
กลดั่งสร้อยสอดคล้อง เวี่ยไว้ในกรรณ
ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์
ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คือคนเสพเสนหา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤๅม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม
ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน ชาดบ้าย
ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
ดุจดั่งคนใจร้าย นอกนั้นดูงาม
ขนุนสุกสล้างแห่ง สาขา
ภายนอกเห็นหนามหนา หนั่นแท้
ภายในย่อมรสา เอมโอช
สาธุชนนั่นแล้ เลิศด้วยดวงใจ
ยางขาวขนเรียบร้อย ดูดี
ภายนอกหมดใสสี เปรียบฝ้าย
กินสัตว์เสพปลามี ชีวิต
เฉกเช่นชนชาติร้าย นอกนั้นนวลงาม
คนพาลผู้ บาปแท้ ทุรจิต
ไปสู่หาบัณฑิต ค่ำเช้า
ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ บ่ซาบ ใจนา
คือจวักตักเข้า ห่อนรู้รสแกง
หมูเห็นสีหราชท้า ชวนรบ
**สี่ตีน**พบ ท่านไซร้
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ หลีจาก กูนา
ท่านสี่ตีนอย่าได้ วากเว้วางหนี
สีหราชร้องว่าโอ้ พาลหมู
ทรชาติครั้นเห็น** เกลียดใกล้
ฤา**ใคร่รบดนู **นาศ เองนา
**เกลียด****ให้ พ่ายแพ้ภัยตัว
กบเกิดในสระใต้ บัวบาน
ฤาห่อรู้รสมาลย์ หนึ่งน้อย
ภุมราอยู่ไกลสถาน นับโยชน์ ก็ดี
บินโบกหักแหลก เกลือกเคล้าเสาวคนธ์
ไม้ค้อนมีลูกน้อม นวยงาม
คือสัปปุรุษสอนตาม ง่ายแท้
ไม้ผุดั่งคนทราม สอนยาก
ดัดก็หักแหลกแล้ ห่อนเรื้อโดยตาม
นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี
ตีนงูงูไซร้หาก เห็นกัน
นมไก่ไก่สำคัญ ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจรหัน เห็นเล่ห์ กันนา
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้ ปราชญ์รู้เชิงกัน
เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง
เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง เกตว่าง เว้นนา
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ ปราชญ์ได้ฤามี
รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำลึกเหลือ
เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์
เสียศักดิ์สู้ประสงค์ สิ่งรู้
เสียรู้เร่งดำรง ความสัตย์ ไว้นา
เสียสัตย์อย่าเสียสู้ ชีพม้วยมรณา
ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้ จัมบก
แปลงปลูกหนามลามรก รอบเรื้อ
ฆ่าหงส์มยุรนก กระเหว่า เสียนา
เลี้ยงหมู่กากินเนื้อ ว่ารู้ลีลา
น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม
ทรายเหลือหางยูงงาม ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ
ลิงว่าหว้าหวังหว้า หว่าดิ้นโดดตาม
พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง
รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง
ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง
นมท่านท่านจักปอง นอบไหว้
รักท่านท่านควรครอง ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน
แม้นมีความรู้ดั่ง สัพพัญญู
ผิบ่มีคนชู ห่อนขึ้น
หัวแหวนค่าเมืองตรู ตาโลก
ทองบ่รองรับพื้น ห่อนแก้วมีศรี
เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม ดนตรี
อักขระห้าวันหนี เนิ่นช้า
สามวันจากนารี เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า อับเศร้าศรีหมอง
ใครจักผูกโลกแม้ รัดรึง
เหล็กเท่าลำตาลตรึง ไป่หมั้น
มนต์ยาผูกนานหึง หายเสื่อม
ผูกเพื่อไมตรีนั้น แน่นเท้าวันตาย
ผจญคนมักโกรธ ไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง หยุดด้วยสัตยา
คนใดคนหนึ่งผู้ ใจฉกรรจ์
เคียดฆ่าคนอนันต์ หนักแท้
ไป่ปานบุรุษอัน ผจญจิต เองนา
เธียรท่านเยินยอแล้ ว่าผู้มีชัย
ความรู้ดูยิ่งล้ำ .............. สินทรัพย์
คิดค่าควรเมืองนับ .............. ยิ่งไซร้
เพราะเหตุจักอยู่กับ .............. กายอาต มานา
โจรจักเบียนบ่ได้ .............. เร่งรู้ เรียนเอา
๒๓. โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง .............. เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา .............. ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา .............. หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น .............. เรื่องร้าย หายสูญ
๒๔. หอมกลิ่นดอกไม้ที่ .............. นับถือ
หอมแต่ตามลมฤา .............. กลับย้อน
หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ .............. ศีลสัตย์ นี้นา
หอมสุดหอมสะท้อน .............. ทั่วใกล้ ไกลถึง
๒๕. ก้านบัวบอกลึกตื้น .............. ชลธาร
มรรยาทส่อสันดาน .............. ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน .............. ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ .............. บอกร้าย แสลงดิน
๒๖. ถึงจนทนกัดก้อน .............. กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ .............. พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ .............. สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง .............. จับเนื้อ กินเอง
๒๗. โคควายวายชีพได้ .............. เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยัง .............. อยู่ไซร้
คนเด็ดดับสูญสัง .............. ขารร่าง
เป็นชื่อเป็นเสียงได้ .............. แต่ร้าย กับดี
๒๘. อ่อนหวานมานมิตรล้น .............. เหลือหลาย
หยาบบ่มีเกลอกราย .............. เกลื่อนใกล้
ดุจดวงศศิฉาย .............. ดาวดาษ ประดับนา
สุริยส่องดาราไร้ .............. เพื่อร้อนแรงแสง
๒๙. เพื่อนกิน ... สิ้นทรัพย์แล้ว .............. แหนงหนี
หาง่าย ... หลายหมื่นมี .............. มากได้
เพื่อนตาย ... ถ่ายหมื่นมี .............. วาอาตม์
หายาก ... ฝากผีฝากไข้ .............. ยากแท้จักหา
กลอนสุภาษิต มงคลชีวิต
อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน
อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา
อย่าเสวนาคนชั่ว อย่ามั่วอบายมุข
อย่าสุกก่อนห่าม อย่าพล่ามก่อนทำ
อย่ารำก่อนเพลง อย่าข่มเหงผู้น้อย
อย่าคอยแต่ประจบ อย่าคบแต่เศรษฐี
อย่าดีแต่ตัว อย่าชั่วแต่คนอื่น
อย่าฝ่าฝืนกฎระเบียบ อย่าเอาเปรียบสังคม
อย่าชมคนผิด อย่าคิดเอาแต่ได้
อย่าใส่ร้ายคนดี อย่ากล่าววจีมุสา
อย่านินทาพระเจ้า อย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์
อย่าสุขจนลืมตัว อย่าเกรงกลัวงานหนัก
อย่าพิทักษ์พาลชน อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี
ผู้ประพันธ์ ท่านพระธรรมโฆษาจารย์ พุทธทาส ภิกฺขุ
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯ
ือ ซ้ายขวาขาดนิ้ว............ฤๅมี
ด้วน เด็ดดูได้ดี...................หนึ่งน้อย
ได้ ทองเท่าต่อมตี...............แหวนประดับ
แหวน จะสอดสวมก้อย......กุดสิ้นใส่ไฉน
ตา มัวมืดคู่เข้า.....................คูหา
บอด บ่ทราบสุริยา..............ย่ำฆ้อง
ได้ สมสิ่งเสริมตา...............จักใส่
แว่น แต่หยิบจ้องจ้อง.........จับแล้วเวียนวาง
หัว หูดูชั่วช้า.......................ไฉไล
ล้าน เลื่อมแลเงาใส............เกือบแก้ว
ได้ ส่องกระจกใจ...............เจียนขาด
หวี แต่จับจ้องแล้ว...............ลูบโอ้อายเอง
รูป ชั่วแต่ชอบแล้ว ............... ใดปาน
รส รักผักว่าหวาน ................... หล่อนต้ม
กลิ่น อบจบดินดาล ................. บ่ดุจ เจ้านา
เสียง ก็จับใจหล้ม ................... โลกล้วนฤามี
ไป่เห็นน้ำ หน้าด่วน ................ ชวนกัน
ตัดกระบอก แบ่งปัน ................ ส่วนไซร์
ไป่เห็นกระรอก อวดขัน ............. มือแม่น
ขึ้นหน้าไม้ ไว้ให้ ........................ หย่อนแท้เสียสาย
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา"ค่ะเป็นบทร้อยกรองประเภทเพลงยาว มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพยากรณ์สถานการณ์ ของประเทศไทยในอนาคตว่าจะประสบวิบัติภัยนานาอย่างไร โดยคาดว่าประพันธ์ขึ้นราวสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ถึง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนผู้ประพันธ์ ยังไม่อาจระบุตัวได้แน่ชัดเนื้อความเต็มๆจะยาวมากกกค่ะ...
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา
เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา มหาดิเรกอันเลิศล้น
เป็นที่ปรากฏรจนา สรรเสริญอยุธยาทุกแห่งหน
ทุกบุรีสีมามณฑล จบสกลลูกค้าวาณิช
ทุกประเทศสิบสองภาษา ย่อมมาพึ่งกรุงศรีอยุธยาเป็นอัครนิตย์
ประชาราษฎร์ปราศจากภัยพิษ ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์
ฝ่ายองค์พระบรมราชา ครองขัณฑสีมาเป็นสุข
ด้วยพระกฤษฎีกาทำนุก จึ่งอยู่เย็นเป็นสุขสวัสดี
เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ในใต้หล้า เป็นที่อาศัยแก่เทวาทุกราศี
ทุกนิกรนรชนมนตรี คหบดีชีพราหมณพฤฒา
ประดุจดั่งศาลาอาศัย ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันสาขา
ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา เป็นที่สิเน่หาเมื่อกันดาน
ด้วยพระเดชเดชาอานุภาพ อาจปราบไพรีทุกทิศาน
ทุกประเทศเขตขัณฑ์บันดาล แต่งเครื่องบรรณาการมานอบนบ
กรุงศรีอยุธยานั้นสมบูรณ์ เพิ่มพูนด้วยพระเกียรติขจรจบ
อุดมบรมสุขทั้งแผ่นพิภพ จนคำรบศักราชได้สองพัน
คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น
ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม์ จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ เกิดนิมิตพิศดารทุกบ้านเมือง
พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี พระกาฬกุลีจะเข้ามาเป็นไส้
พระธรณีจะตีอกไห้ อกพระกาฬจะไหม้อยู่เกรียมกรม
ในลักษณ์ทำนายไว้บ่ห่อนผิด เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสาระพัด เกิดวิบัตินานาทั่วสากล
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
ลูกศิษย์จะสู้ครูพัก จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ เพราะสมัครสมาคมด้วยมารยา
พระมหากระษัตริย์จะเสื่อมสิงหนาท ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา
อาสัตย์จะเลื่องลือชา พระธรรมาจะตกลึกลับ
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ จะสาบสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ สัปบุรุษจะอับซึ่งน้ำใจ
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสัย
ทั้งพืชแผ่นดินจะผ่อนไป ผลหมากรากไม้จะถอยรส
ทั้งแพทยพรรณว่านยาก็อาเพศ เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด
จวงจันทน์พรรณไม้อันหอมรส จะถอยถดไปตามประเพณี
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง สาระพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่
จะบังเกีดทรพิษมิคสัญญี ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน
กรุงประเทศราชธานี จะเกิดการกุลีทุกแห่งหน
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพร่พล จะสาละวนทั่วโลกทั้งหญิงชาย
จะร้อนอกสมณาประชาราช จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก เวียงวังก็จะรกเป็นป่าเสือ
แต่สิงห์สารสัตว์เนื้อเบื้อ นั้นจะหลงหลอเหลือในแผ่นดิน
ทั้งผู้คนสาระพัดสัตว์ทั้งหลาย จะสาบสูญล้มตายเสียหมดสิ้น
ด้วยพระกาฬจะมาผลาญแผ่นดิน จะสูญสิ้นการณรงค์สงคราม
กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว จะลับรัศมีแก้วเจ้าทั้งสาม
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม จนสิ้นนามศักราชห้าพัน
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นแพศยาอาธรรม์ นับวันจะเสื่อมสูญเอยฯ
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา นี้ นำมาจากหนังสือ"อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา" โดยมหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แพนกโบราณคดี พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีทรงบวงสรวงอดีตมหาราชเจ้า ที่พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2469 สันนิษฐานว่าเพลงยาวนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นักวิชาการยังไม่อาจสรุปแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่ง แม้ในตอนท้ายของบทกลอนได้บันทึกกำกับไว้ว่า "พระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนาย..." หากว่าเป็นจริงตามนั้น "พระนารายณ์" ก็หมายถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วน"นพบุรี"คือเมืองลพบุรี สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในคำนำหนังสือดังกล่าว มีความตอนหนึ่งว่า
“……เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา อ้างไว้ข้างท้ายว่าเปนพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพลงยาวนี้มีหลักฐานควรเชื่อแต่ว่าแต่งเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ด้วยในคำให้การของพวกชาวกรุงเก่าที่พม่าจับไปถามคำให้การเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวอ้างถึง แต่ข้อที่ว่าเปนพระราชนิพนธ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นไม่มีหลักฐานอย่างอื่นนอกจากที่มีเขียนอ้างไว้กับเพลงยาว ปลาดอยู่ที่เพลงยาวบทนี้ยังมีผู้ท่องจำกันมาได้แพร่หลายจนในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แต่เรียกกันว่าเพลงยาวพุทธทำนาย ……”
ในหนังสือ “คำให้การชาวกรุงเก่า” ก็มีเรื่องคำพยากรณ์กรุงศรีอยุธยานี้เช่นกัน กล่าวว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระพุทธเจ้าเสือ มีเนื้อความสั้นกว่าและปรากฏความเป็นร้อยแก้ว ซึ่งสันนิษฐานเพิ่มเติมได้อีกว่า อาจถูกแต่งเพื่อใช้ทำลายขวัญ และเป็นเหตุผลทางการเมืองเพราะบทกลอนดังกล่าวมีเนื้อความคล้ายกับร่ายของพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีหรือพระเจ้าเสือ ที่ทรงประพันธ์ขึ้นมาเพื่อเป็นหนึ่งในปฏิบัติการทางด้านจิตวิทยา ทางการเมืองในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งต่อมาผู้นำในสมัยรัตนโกสินทร์ก็สามารถใช้ประโยชน์จากบทกลอนดังกล่าวมาอธิบายเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายในทางการเมืองที่ต่างไปจาก พระเจ้าเสือ
" คำทำนาย ชะตาเมืองไทย ของสมเด็จโต"
จากหนังสือจุลสาร " 1999 โลกพินาศ 2542 แผนอยู่รอด "
รวบรวมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์
ในหนังสือ "ปัญญาไทย 1" ที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับประวัติ ผลงานอภินิหาร และ เกียรติคุณ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ของ มหาอำมาตย์ ตรีพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ซึ่งเป็นฉบับที่ ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ รวบรวมในปี พ.ศ.2493 โดยไม่มีการแก้ไขข้อความเดิม ในหน้า 27 มีการพยากรณ์ ถึงชะตาเมือง ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
หลังจากที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ได้มรณภาพลง เมื่อวันเสาร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415
ตอนเที่ยงคืน เช้าวันรุ่งขึ้น นายอาญาราช ( อิ่ม ) ศิษย์ก้นกุฏิ ของเจ้าประคุณสมเด็จ เข้าไปเก็บกวาด ในกุฏิของท่าน ขณะทำความสะอาดพื้นกุฏิ นายอาญาราชได้พบ เศษกระดาษชิ้นหนึ่งซุก อยู่ใต้เสื่อเป็นลายมือของเจ้าประคุณสมเด็จ เขียนสั้นๆ โดยสังเขป เป็นคำทำนายชะตาเมือง มีความว่า
“มหากาฬ พาลยักษ์ รักมิตร สินทธรรม จำแขนขาด ราษฎร์จน ชนร้องทุกข์ ยุคทมิฬ ถิ่นกาขาว ชาววิไล”
ห ม า ย เ ห ตุ คำทำนายของสมเด็จข้างต้นนี้หาอ่านได้จากหนังสือ " NOSTRADAMUS นอสตราดามุส"
ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน พิมพ์ครั้งที่ 8 เมษายน 2540
หาข้อมูลที่มาที่ไป แล้วยังไม่พบ อาจจะเป็นเพราะว่าท่านได้อ่านจารึกอัษรขอม ในประวัติของวัดราชบุรณราชวรวิหาร ใช่หรือไม่?
ส่วนใหญ่ตีความว่าเป็นปริศนาพยากรณ์ ๑๐ รัชกาล
๑. มหากาฬ ๒.พาลยักษ์ ๓.รักมิตร (รักบัณฑิต) ๔. สนิทธรรม ๕. จำแขนขาด ๖.ราษฎร์โจร (ราชโจร) ๗.ชนร้องทุกข์ ๘.ยุคทมิฬ ๙. ถิ่นตาขาว(ถิ่นกาขาว) ๑๐.ชาวศิวิไลซ์
ที่มา: โบราณคดีไทย
๑. มหากาฬ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปราบดาภิเษก คือปราบกบฎที่ก่อความเดือดร้อนให้บ้านเมือง และสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงถูกพวกกบฎจับกุมคุมขังและยึดอำนาจ ฐานวิกลจริต (กล่าวหาว่าเป็นบ้าเสียสติ)ด้วยการนำไปประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์ และตั้งตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในการนี้ทำให้ผู้ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าตาก และผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมไปถึงผู้ที่เสียผลประโยชน์ เกิดแข็งข้อ ไม่ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี ไม่ยอมรับว่างั้นเถอะ จึงได้มีพระบรมราชโองการปราบพวกไม่เห็นด้วย หรือพวกกบฎต่อแผ่นดินใหม่ให้ราบคาบ มีการสังหารล้าง**กันทีเดียว ถึง ๘๒ ครัวเรือน มีการประกาศใช้กฎปราบกบถ กฎมณเทียรบาล และกฎอัยการศึก ชนิดตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งเป็นเรื่องหวาดเสียว น่ากลัวมาก เพราะบ้านเมืองที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ (คือสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงใหม่) ยังระส่ำระสาย หาความเป็นปึกแผ่นมั่นคงไม่ได้ จึงต้องทำทุกอย่างด้วยความเฉียบขาด จึงเรียกยุคนี้ว่า "ยุคมหากาฬ" หรือ"ยุคดำมืด" เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่า "บ้านเมืองใหม่จะอยู่หรือจะไป" ยิ่งมีสงคราม ๙ ทัพ จากพวกคุณหม่องมาสั่นประสาทชาวบ้านด้วยแล้ว ใครเกิดยุคนี้ล่ะก็ ร้องได้คำเดียวว่า "กลัวแล้วจ้า" (เพราะคนไทยยังไม่หายเข็ดกลัวพม่ายังไม่เชื่อมั่นในตัวผู้นำและขุนนาง เพราะสร้างความเหลวแหลกไว้เยอะในตอนก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา)
๒. พาลยักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นยุคแห่งความวิบัติเคราะห์ร้าย ของผู้คนในแผ่นดิน เนื่องจากเกิดอหิวาตโรค (โรค** โรคท้องร่วง) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ โรค ได้ระบาดไปทั่วเมือง มีผู้คนล้มตายลงวันละมากๆ เพราะการแพทย์ในสมัยนั้นยังไม่เจริญ ตามสุสานวัดสำคัญต่าง ๆ เช่น วัดสระเกศ , วัดบพิตรพิมุข เต็มไปด้วยซากศพผู้เสียชีวิต ในแม่น้ำลำคลองก็ยังมีซากศพลอยขึ้นอืดกันให้เกลื่อน เป็นที่อุจาดตาส่งกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้ง น่าสะอิดสะเอียนเป็นยิ่งนัก ถนนหนทางมีแต่ความเงียบสงัดวังเวง ผู้คนต่างหลบซ่อนอยู่ภายในบ้าน บางครอบครัวก็อพยพหลบหนีโรคร้ายไปอยู่เสียหัวเมือง ในการนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๒ ถึงกับรับสั่งให้ทำพระราชพิธียิงปืนใหญ่รอบกำแพง พระบรมมหาราชวัง ๑ คืน (เป็นความเชื่อที่ว่า โรค** เกิดจากการกระทำของยักษ์มาร ภูติผีปีศาจ จึงต้องมีพิธีการสวดมนต์ ปัดรังควาน ยิงปืนใหญ่ขับไล่ ให้มันตกใจกลัวจะได้หนีไป ทำคล้ายกับพิธีสวดภาณยักษ์ หรือสวดอาฎานาฎิยปริตร นั่นแหละครับ) ทรงให้อัญเชิญพระแก้วมรกตอันศักดิ์สิทธิ์ และพระบรมธาตุออกแห่แหน เป็นการขับไล่และปลอบขวัญพลเมือง ในที่สุดโรคร้ายก็สงบ แต่กว่าจะสงบราบคาบประมาณกันว่ามีผู้เสียชีวิตถึงสามหมื่นคนทีเดียว นับว่าไม่น้อยเลยครับในสมัยนั้น
๓. รักมิตร หรือ รักบัณฑิต ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การค้าขายกับต่างประเทศ (รัชกาลที่ ๒ ทรงสัพยอกท่านว่า"เจ้าสัว") ได้มีการเริ่มต้นเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศอันได้แก่ อังกฤษ, อเมริกา ฯลฯ โดยเริ่มต้นจากการค้านั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นยุคที่ทรงโปรดปรานชุบเลี้ยงคนที่ตั้งใจทำราชการอย่างจริงจัง มากกว่าพวกประจบสอพลอ
๓. รักมิตร หรือ รักบัณฑิต ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การค้าขายกับต่างประเทศ (รัชกาลที่ ๒ ทรงสัพยอกท่านว่า"เจ้าสัว") ได้มีการเริ่มต้นเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศอันได้แก่ อังกฤษ, อเมริกา ฯลฯ โดยเริ่มต้นจากการค้านั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นยุคที่ทรงโปรดปรานชุบเลี้ยงคนที่ตั้งใจทำราชการอย่างจริงจัง มากกว่าพวกประจบสอพลอ
๔. สนิทธรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระองค์ท่านทรงออกผนวชนานถึง ๒๗ พรรษา ตลอดรัชกาลที่ ๓ เลยก็ว่าได้ จะเรียกว่าบวชลี้ภัยการเมืองก็ได้ เพราะขนาดออกบวชแล้ว ยังไม่วายูกใส่ร้ายป้ายสี ว่าจะก่อการกบถเลยครับ(ดีนะครับที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ท่านทรงมีน้ำพระทัยหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หูเบา) ดังนั้นเมื่อพระองค์ท่านลาสิกขาขึ้นครองราชย์ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของข้าราชบริพารจึงทรงฝักใฝ่ใธรรม สนับสนุนการเผยแพร่จริยธรรม ตลอดจนการพระศาสนาต่างๆ พระองค์เองก็ทรงชุดขาวถือศีล ๘ อย่างเคร่งครัด ฟังธรรมทุกวันธรรมสวณะจึงเรียกยุคนี้ว่า"ยุคสนิทธรรม"
๕. จำแขนขาด ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเป็นยุคที่น่าเศร้าใจอีกยุคสมัยหนึ่ง เพราะเป็นสมัยที่พวกตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ และฝรั่งเศส กำลังแข่งขันกรีฑาทัพเข้ายึดประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซีย เป็นเมืองขึ้น หรือที่เรียกกันว่า "ยุคล่าอาณานิคม" เมืองสยามของไทยเรานั้น เป็นเมืองรักสงบ เปรียบเสมือนลูกแกะ ไม่มีเขี้ยวเล็บอะไรที่จะไปต่อกรกับชาติมหาอำนาจอย่างกับอังกฤษและฝรั่งเศส ประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ ไทยเรา ก็โดนเขากวาดเรียบไปหมดแล้ว เหลือพี่ไทยอยู่เจ้าเดียวเท่านั้น ดังนั้นในสมัยนี้ ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส จึงบีบไทยทุกด้าน หาเรื่องทุกอย่าง ที่จะเป็นเหตุยกทัพบุกยึดประเทศให้ได้ แต่ด้วยพระปรีชาญาณแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์ได้ดำเนินวิเทศโยบายอย่างรัดกุม ทรงเสด็จประพาสยุโรป ถึง ๒ หน รวมไปถึงรัสเซียมหามิตรของไทยในสมัยนั้นด้วย นับว่าเป็นผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยมเพราะไทยเราได้เพื่อนเอาไว้เป็นไม้กันหมา ถึงกระนั้นก็เถอะ ไทยเรายังต้องยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่เอาไว้ คือไม่ให้เกิดสงครามจนเราแพ้ต้องเสียเอกราช คือเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ร.ศ ๑๑๒ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๖) แก่ฝรั่งเศส หลังจากที่ในปี พ.ศ๒๔๓๑ ได้เสียแคว้นสิบสองจุไทย ให้มันไปแล้ว (ขออนุญาตใช้คำว่ามัน เพราะพฤติกรรมเยี่ยงอันธพาล)
ต่อมามันก็หาเรื่องอีก ได้ถอนทัพเรือไปยึดจันทบุรีเอาไว้ ไทยต้องยอมมันอีก โดยยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง และเมืองหลวงพระบาง ให้เจ้าเศษฝรั่งไปครอบครอง ให้ไปร้องไห้ไปล่ะครับ ให้จนกว่ามันจะพอใจหรือไม่สามารถหาเรื่องเราได้อีกแล้ว ต้องจำแขนขาดเพื่อรักษาชีวิต หรือผืนดินแผ่นใหญ่เอาไว้ให้ลูกหลานจนทุกวันนี้ (เรื่องของไอ้เศษฝรั่งนี่มันยังทำแสบ โดยวางแผนปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวเสด็จประพาสบ้านเมืองของมันอย่างแยบยล เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามอ่านในตอน "คำพยากรณ์หลวงปู่เอี่ยม กับ ร.๕"
ส่วนอังกฤษนั้น ค่อยยังชั่วน้อยหน่อย ไม่ถึงกับพาลหาเรื่องนัก โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ไทยเรายอมทำสัญญา ยกดินแดนหัวเมืองทางมาลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ เพื่อแลกกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือ อำนาจศาลกงสุล
๖. ราษฏร์โจร (ราชโจร) ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ไทยเรามีการนิยมของนอก มีการฟุ้งเฟ้อ เอาอย่าง เลียนแบบ วัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชบริพาร ขุนน้ำขุนนางในราชสำนัก มีการแต่งตั้งยศถาบรรดาศักดิ์กันมากเกินไป จนแทบจะไม่มีความหมาย เป็นยุคเริ่มต้นแห่งภัยพิบัติในด้านเศรษฐกิจที่จะตามมาในยุคต่อไป การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการปล้นชาติ ปล้นแผ่นดิน ทำลายแผ่นดินทางอ้อม ในสมัยนี้มีผู้คิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเหมือนกัน แต่ทำไม่สำเร็จกลายเป็นกบฎไป (กบฎ รศ.๑๓๐)
๗. ชนร้องทุกข์ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเป็นยุคที่ผู้คนพลเมืองต้องประสบกับภาวะ "ข้าวยากหมากแพง" ผู้คนอดอยาก แร้นแค้นด้วยสภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ และผลสืบเนื่องมาจากการฟุ้งเฟ้อในรัชกาลก่อน มีการปลดข้าราชการออกเพราะไม่มีเงินเบี้ยหวัด เงินปีให้ เป็นสมัยที่เริ่มให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงร้องทุกข์ แสดงความคิดเห็นจนกระทั่งมีการกระทำที่รุนแรงถึงขั้นปฏิวัติยึดอำนาจ ให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ มาเป็นประชาธิปไตย จนในที่สุดพระองค์ต้องทรงสละราชสมบัติ และเสด็จไปสวรรคต ณ ต่างประเทศ
๘. ยุคทมิฬ ในสมัยรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จัดเป็นอีกยุคหนึ่งที่ประวัติศาสตร์ชาติไทยต้องจารึกไว้ไม่มีวันลืม เพราะองค์ในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของเรา ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ ถึงแก่สวรรคต แม้จนกระทั่งปัจจุบันนี้ คดีก็ยังคลุมเครือ เป็นที่วิพากย์วิจารณ์ เป็นที่กินแหนงแคลงใจของคนทั่วไปถึงสาเหตุแห่งการลอบปลงพระชนม์ และผู้บงการ บ้านเมืองในยุคที่เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ จัดเป็นยุคที่มีการแย่งชิงอำนาจ มีการปฏิวัติ รัฐประหาร เข่นฆ่าคนไทยด้วยกันเองจัดได้ว่าเป็น "ยุคทมิฬ" ยุคแห่งความ**มโหด ไร้ความปราณีและศีลธรรมอย่างแท้จริง
๙. ถิ่นตาขาว (ถิ่นกาขาว) ในยุคสมัยปัจจุบันแห่งองค์ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระภัทรมหาราชเจ้า มีชื่อเรียกยุคนี้ว่า "ถิ่นตาขาว" ซึ่งคงจะหมายถึงพวกฝรั่งตาน้ำข้าวละกระมัง เพราะเป็นยุคที่องค์พระประมุขของเรา พร้อมด้วยองค์พระราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะซีกโลกทางด้านตะวันตก นอกจากนั้นแล้วยังทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากประเทศต่าง ๆ ที่มาเยือนอย่างมากมายเช่นกัน ฝรั่งตาน้ำข้าวเองก็ "อะเมซิ่งไทยแลนด์" ไม่น้อย พากันมาเที่ยวเยี่ยมเยียน ไอ้ที่ติดใจสาวไทย รสอาหารแบบไทยๆ บรรยากาศแบบไทยๆ ก็ตั้งรกรากอยู่เมืองไทยซะเลย กลายเป็นถิ่นฐานของพวกเขาไปซะแล้ว เหตุนี้กระมังจึงเรียกยุคนี้ว่า "ถิ่นตาขาว" และอีกคำหนึ่งที่เพี้ยนเสียงไปเป็น "กาขาว" ล่ะ หมายความว่าอย่างไรดี ตอนแรกนะผมนึกเท่าไรก็นึกไม่ออก ว่า "ตา" จะเป็น "กา" ไปได้อย่างไร แต่พอมาระยะ ๕-๖ ปีให้หลังมานี้ผ** "บางอ้อ" ไม่ใช่พี่ไทยเลี้ยงอีกาสีขาวหรอกครับ เพราะกายังไงเสีย กาขนมันก็ดำวันยังค่ำ แต่ คนไทยเราไม่เจียมบอดี้ หรือไม่เจียมตนน่ะซิครับ ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนสมัยรัชกาลที่ ๖ ไม่ผิดเพี้ยนเลยคือมีการนิยมของนอก มีการใช้จ่ายที่เกินตัว ฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ขนาดลงทุนเป็นหนี้เป็นสินเขาดอกเบี้ยสูงขนาดไหนก็เอา เห็นผิดเป็นชอบ เห็นดำเป็นขาว เหมือนอีกาที่ขนดำก็อยากจะทำให้มันขาว คราวนี้แจ่มชัดหรือยังว่า ทำไมเมืองไทยถึงเป็น "ถิ่นกาขาว" หรือ"ถิ่นตาขาว" ไม่รู้ลองไปถามไอ้พวกฝรั่ง " IMF " ดู แล้วจะรู้ไปถึงก้นบี้งหัวใจ
๑๐. ชาวศิวิไลซ์ หมายถึงยุคที่ ๑๐ หรือรัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งยังมาไม่ถึง มีผู้ตีความกันต่าง ๆ นานาเมื่อดูจากความหมายแล้ว คำนี้มาจากภาษาอังกฤษ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สงบสุขร่มเย็น ดังนั้นก็เป็นอันเชื่อขนมกินกันได้เลยว่า ในรัชสมัยต่อไป ประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราจะต้องเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า มั่นคงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ประชาชนจะอยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข หน้าชื่นตาบานกันทุกถ้วนหน้า จริงเท็จประการใด กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
ได้ยินว่าพระมหาเถระองค์หนึ่งจึงเมตตาต่อคำพยากรณ์ให้อีก
11. ไทยมหารัฐ
12. จักรพรรดิราช
11.ไทยมหารัฐ คือยุคที่ประเทศไทยเข้าสู่ความรุ่งเรืองยิ่ง มีความเจริญทางเศรษฐกิจล้ำหน้าประเทศเพื่อนบ้านไปมาก จนทุกประเทศอยากเป็นมิตร บางเขตที่ติดต่อกันถึงกับขอมาผนวกด้วย
12.จักรพรรดิราช ด้วยพระบรมโพธิสมภารแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันที่ทรงปูพื้นฐานไว้ เมื่อถึงยุคนี้ คุณาปการเหลือคณานับก็ประจักษ์ชัดแก่นานาอารยะประเทศ ถึงกับบังเกิดกระแสนิยมในระบอบกษัตริย์ บางประเทศที่สิ้นวงศ์กษัตริย์ไปแล้วก็ถึงกับมาขอพระบรมวงศ์ของไทยไปยกขึ้นเป็นกษัตริย์ของเขา พระราชประเพณีของไทยจะได้รับการถ่ายทอดและยึดถือเป็นแบบอย่าง พระมหากษัตริย์ต่างๆจึงถวายสักการะ เคารพบูชาพระมหากษัตริย์ของไทยด้วยความเป็นราชวงศ์ต้นแบบ และเป็นพระราชทายาทตรงแห่งพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงทศพิธราชธรรมบริสุทธิ์อย่างไร้ข้อกังขา พระมหากษัตริย์ของไทยจึงทรงไว้ซึ่งพระราชศักดิ์สูงสุดในโลก ประดุจดังพระเจ้าจักรพรรดิราช
ขอบคุณ มนส้มจีน และ มนแก้มหอม สำหรับข้อมูลสองบทข้างต้นค่ะ
เอากลอนบทสำคัญของท่านสุนทรภู่มาฝากค่ะ
ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่กล้ำกลายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน "
บทพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6
ญ.) ความเอ๋ยความรัก
เริ่มสมัครชั้นต้น ณ.หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ
หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง
อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ถ้วนถี่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี
ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย...ฯ
ช.) ตอบเอ๋ยตอบถ้อย
เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้
เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร
เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน
ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย.. ฯ
แม่ไก่อยู่ในตะกร้า
... แม่ไก่อยู่ในตะกร้า ไข่ๆ มาสี่ห้าใบ อีแม่กาก็มาไล่ อีแม่ไก่ไล่ตีกา หมาใหญ่ก็ไล่เ** หมูในเล้าแลดูหมา ปูแสมแลปูนา และปูม้าปูทะเล เต่านาและเต่าดำ อยู่ในน้ำกับจรเข้ ปลาทูอยู่ทะเล ปลาขึ้เหร่ไม่สู้ดี...
ระฆังดังเหง่งหง่าง
... ระฆังดังเหง่งหง่าง ฆ้องใหญ่กว้างดังหึ่ง ๆ กลองหนังดังตึง ๆ ตึกระดึงดังกริ่ง ๆ นักเลงร้องเพลงพลาง ตรงหน้าต่างไขว่ห้างหยิ่ง เอาหลังนั่งเอนอิง มือถือฉิ่งตีดัง ดัง เด็ก เด็ก อย่าใหลหลง ดูเรื่อง กง กอ กา บ้าง ดูไปตั้งใจฟัง เบื้องหน้ายังจะว่ากฎ ...
ของสุนทรภู่ จากโคลงนิราศสุพรรณ
เสียงซออ๋ออ่ออ้อ เอื่อยเพลง
จับปี่เตร๋งเตร้งเตร๋ง เต่งต้อง
คลุยหนุยหนุ่ยหนุ้ยหนุย เหน่งเหน้ง ระนาดแฮ
ฆ้องหน่องน้องหน้องน่อง ผรึ่งผรึ้ง พึ่งตะโพน
องเจ้าฟ้ากุ้ง จากกาพย์ห่อโคลง นิราศธารทองแดง
ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู
หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู
ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู
หนูสู่รูงูงู สุดสู้
งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่
หนูรู้งูงูรู้ รูปทู้มูทู
กาพย์พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่
ขึ้นกดบทอัศจรรย์
เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง
นกหกตกรังรวง
สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง
แดนดินถิ่นมนุษย์
เสียงดังดุจเพลิงโพลง
ตึกกว้านบ้านเรือนโรง
โคลงคลอนเคลื่อนขะเยื่อนโยน
บ้านช่องคลองเล็กใหญ่
บ้างตื่นไฟตกใจโจน
ปลุกเพื่อนเตือนตะโกน
ลุกโลดโผนโดยกันเอง
พิณพาทย์ระนาดฆ้อง
ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง
ระฆังดังวังเวง
โหง่หง่างเหง่งเก่งก่างดัง
ขุนนางต่างลุกวิ่ง
ท่านผู้หญิงวิ่งยุดหลัง
พันละวันดันตึงตัง
พลั้งพลัดตกหกคะเมน
พระสงฆ์ลงจากกุฎิ(อ่าน-กุด)
วิ่งอุดตลุดฉุดมืเณร
หลวงชีหนีหลวงเถร
ลงโคลนเลนเผ่นผาดโผน
พวกวัดพลัดเข้าบ้าน
ล้านต่ล้านซานเซโดน
ต้นไม้ไกวเอนโอน
ลิงค่างโจนโผนหกหัน
พวกผีที่ปั้นลูก
ติดจมูกลูกตาพลัน
ขิกขิกรริกกัน
ปั้นไม่ทันมันเดือดใจ
สององค์ทรงสังวาศ
โลกธาตุหวาดหวั่นไหว
ตื่นนอนอ่อนนอกใจ
เดินไม่ได้ให้อาดูรฯ
(ท่องอันนี้ได้เนี่ย เทียบรุ่นกับคุณยายทวดสมัยร.๕ ได้เลยนะเนี่ย เพราะมันอยู่ในจินดามณี แบบเรียนรุ่นแรกของไทย)
แหวนนี้ท่านได้แต่ ใดมา
เจ้าพิภพโลกา ท่านให้
ทำสิ่งใดชอบหนา วานบอก
เราแต่งโคลงถวายไท้ ท่านให้ รางวัล
ธรณีนี่นี้เป็น พยาน
เราก็ศิษย์อาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง
ตอนศรีปราชญ์เขียนเพลงยาวให้นางในวัง แล้วรับโทษ
อันวิชาสารพัดจะคัดเลือก
ย่อมมีเปลือกขมขื่นกลืนไม่ไหว
ต้องค่อยแคะเปลือกนอกลอกทิ้งไป
ชิมเนื้อในหวานสนิทติดใจเอย
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤาริ้นพราย ลอบกล้ำ
ผิชนแต่จะกราย ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ ถามเผือ
อันของสูงแม้ปองต้องจิต
ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ
มิใช่ของตลาดที่อาจซื้อ
หรือแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม
ไม่คิดสอยมัวแต่คอยดอกไม้ร่วง
คงชวดดอกบุปผชาติสะอาดหอม
ดูแต่หมู่ภุมรินทร์เที่ยวบินตอม
จึงได้ออมอบกลิ่นสุมาลี"
เมื่อไม่เรียน แล้วใยเล่า เจ้าจะรู้
เมื่อไม่ดู แล้วใยเล่า เจ้าจะเห็น
เมื่อไม่ทำ แล้วใยเล่า เจ้าจะเป็น
เลยยากเข็ญ ขัดสน จนปัญญา
คนเห็นคน เป็นคน นั่นแหละคน
คนเห็นคน ไม่ใช่คน ใช่คนไม่
กำเนิดคน ต้องเป็นคน ทุกคนไป
จนหรือมี ผู้ดีไพร่ ไม่พ้นคน
อันดีชั่วสุดนิยมที่ลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
จะถูกผิดเป็นมนุษย์เพราะพูดจา
จะเจรจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
เมื่อมั่งมีหมู่มิตรมุ่งเมียงมอง
เมื่อไม่มีหมู่มิตรมองเหมือนหมูหมา
เมื่อไม่มีหมู่มิตรไม่มองมา
เมื่อมอดม้วยหมูหมาไม่มามอง
คนนี้แลแน่แล้วที่เราฝัน
รูปโฉมโนมพรรณหาผิดไม่
น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร
ถึงนางในกรุงศรีไม่มีเทียม
ดังพระจันทร์วันเพ็ญเมื่อผ่องผุด
บริสุทธิ์โอภาสสะอาดเอี่ยม
สองแก้มแย้มเหมือนจะยั่วเรียม
งามเสงี่ยมราศีผู้ดีจริง
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิสวาทมิคลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิสวาททุกชาติไป
จากพระอภัยมณี
ตนเตือนตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน
ตนแชเชือนใครจะเตือนให้ป่วยการ
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
อันอ้อยตาลหวานลิ้นก็สิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้เจ็บอื่นหมื่นแสนจะแค้นคลาย
เจ็บจนตายก็เพราะเหน็บให้เจ็บใจ
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน....
ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่รายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้ เสียพงศ์
แสดงความคิดเห็น