ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก สอนลูกให้ชนะโลก ให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้อย่างสนุกสนาน ในแบบที่ลูกเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราต้องการให้ลูกเป็น ด้วยพลังแห่งความรักความอบอุ่นของครอบครัว
การล้างจมูก เป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัส หรือคราบสะเก็ดแข็งของเยื่อบุจมูกหลังการผ่าตัดจมูกและไซนัส หรือหลังการฉายแสงออก ด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ทำให้บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ทั้งที่ไหลออกมาข้างนอก และไหลลงคอ การล้างจมูกจึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ หวัด, โรคไซนัสอักเสบ, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, โรคจมูกอักเสบเหี่ยวฝ่อ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจมูกและไซนัส
การล้างจมูกในเด็ก นพ.เฉลิมไทย เอกศิลป์ การล้างจมูกในเด็กเล็ก มี 2 วิธี ดังนี้ 1. วิธีใช้น้ำเกลือหยอดด้วย หลอดฉีดยา 1.1 จับเด็กจัดอยู่ในท่านอนหงายคนจับ รวบแขนเด็กแนบหูทั้งสองข้างคนหยอด ดูดน้ำเกลือ ด้วยหลอดฉีดยาประมาณ 1-2cc 1.2 หยอดน้ำเกลือ ในจมูกข้างละ 3-5 หยด ทั้ง สองข้างของจมูก 1.3 ใช้ลูกยางแดง บีบลมออกก่อน แล้วนำลูกยางแดงจ่อไว้บริเวณรูจมูก แล้วปล่อยมือที่บีบลูกยาง ให้ดูดน้ำมูกออกมา แล้วนำไปบีบทิ้ง 1.4 แนะนำให้ทำ 3 เวลา คือ เช้า-เย็น-ก่อนนอน หรือ เมื่อมีน้ำมูกคั่งในจมูก อุปกรณ์ น้ำเกลือหลอดฉีดยาลูกยางแดง แนะนำใช้ เบอร์ 3 หรือเบอร์ 4 หมายเหตุ เพื่อให้แรงดูดมากพอ ปลายที่ใช้ดูดใหญ่ทำให้ไม่สามารถสอดเข้าในจมูกลึกๆได้ ลดการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูก 2. วิธีใช้พ่นน้ำเกลือโดยใช้ 2.1 น้ำยา Mar Plus (น้ำเกลือที่เข้มข้นสูง) 0.5% นอร์มอลซาลีน 2.2 เมื่อน้ำยา Mar Plus หมดให้ใช้น้ำเกลือ เติมเข้าไปในขวด Mar Plus หรือขวด Nasacort ที่ใช้หมดแล้ว วิธีการ และ ขั้นตอน จัดเด็กอยู่ในท่านั่งใช้ขวดพ่นจมูก ที่มีน้ำเกลือ/น้ำยา Mar Plus อยู่จ่อบริเวณรูจมูกบีบพ่นเข้าข้างละ 5-10 บีบ/ข้าง/ครั้ง (ไม่ต้องกลัวสำลัก)กรณีเด็กร่วมมือ บอกให้เด็กสั่งน้ำมูกออกมาเองเบาๆ จนหมดน้ำมูก หรือมีแค่น้ำใสๆ ไหลออกมาในกรณีเด็กไม่ร่วมมือ จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงาย และใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกทำซ้ำข้อที่ 1-4 จนกว่าน้ำมูกที่เด็กสั่งออกมาใสดีไม่มีน้ำมูก หรือไม่มีเมือกปนแนะนำให้ทำ 3 เวลา คือ เช้า- บ่าย/เย็น-ก่อนนอน หรือเมื่อมีน้ำมูกคั่งในจมูก การล้างจมูกในเด็กโต พ่นน้ำเกลือด้วย Mar Plus / ขวด Nasacort เหมือนกับในเด็กเล็กล้างจมูกโดยใช้น้ำเกลือกับหลอดฉีดยา วิธีการ จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งใช้หลอดฉีดยา ขนาด 5-10 ซี.ซี ดูดน้ำเกลือ 0.9% นอร์มอลซาลีน สอดปลายหลอดฉีดยา เข้าในจมูกเล็กน้อย กะจังหวะช่วงเด็กกลั้นหายใจ แล้วพ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกให้เด็กสั่งน้ำมูกออกเบาๆทำขั้นตอนที่ 1-3 จนกว่าสั่งน้ำมูกแล้วไม่มีน้ำมูก และเมือก ออกมาจึงหยุดล้าง ในกรณีที่ใช้ยาต่อไปนี้ร่วมด้วยต้องมีการปรับขั้นตอนให้เหมาะสม 1. ยาพ่นจมูก เช่น Rhinocort. Nasacort. Nasonex. Flixonase และ Beconase ควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือให้เสร็จ แล้วจึนพ่นยาพ่นจมูก ต่อไปเลย 2. ยาหยอดจมูกเพื่อลดการบวมของช่องจมูก เช่น liadine (0.025%) Ephedine Solution สามารถหยอดยา กลุ่มนี้ได้ 2 ช่วง 2.1 หยอดจมูกก่อนการล้างจมูก เพื่อลดการบวมของช่องจมูก 2.2 หยอดในจมูกเฉพาะก่อนนอนวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดการคัดจมูก หมายเหตุ การใช้ยา I liadine, Ephedine ใช้ต่อเนื่องไม่เกิน 5 วัน ต่อการเป็นหวัด 1 ครั้ง คำแนะนำการดูดน้ำมูกและเสมหะด้วยลูกยางแดงในเด็กทารก กลุ่มงานเภสัชกรรม การดูดน้ำมูกและเสมหะด้วยลูกยางแดง อุปกรณ์ ลูกยางแดงภาชนะเพื่อใช้รองน้ำมุกและเสมหะที่จะบีบทิ้งจากลูกยางแดงผ้าห่อตัวเด็ก เพื่อป้องกันเด็กดิ้น เอามือปัด การเตรียมตัวเด็กก่อนดูดน้ำมูกหรือเสมหะ · ใช้ผ้าห่อตัวเด็กให้แน่น จับเด็กให้นอนตะแคงเอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันเด็กสำลักน้ำลาย หรือ อาหารเข้าปอด หากเด็กอาเจียนขณะดูดน้ำมูกหรือเสมหะ · ไม่ควรดูดน้ำมูกหรือเสมหะตอนเด็กอิ่มนม หรือรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ วิธีการดูดน้ำมูกด้วยลูกยางแดง บีบลูกยางแดงให้แฟบ เตรียมพร้อมที่จะดูดสอดปลายลูกยางแดงเข้าในรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง โดยสอดเข้าไปตื้นๆ (ประมาณ 1-1.5 ซม.) แล้วปล่อยมือช้าๆ ขณะที่ปล่อยมือลูกยางแดงจะค่อยๆ โป่งออกพร้อมๆ กับน้ำมูกจะถูกดูดเข้าไปในลูกยางแดงดึงลูกยางแดงออกจากรูจมูกบีบลูกยางแดงเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดน้ำมูกสะบัดให้แห้งทำซ้ำแบบเดิม และดูดน้ำมูกออกจนหมดในจมูกแต่ละข้าง วิธีดูดเสมหะด้วยลูกยางแดง บีบลูกยางแดงให้แฟบ เตรียมพร้อมที่จะดูดสอดปลายลูกยางแดงเข้าไปในปากประมาณโคนลิ้น แล้วปล่อยมือช้าๆ ขณะที่ปล่อยมือ ลูกยางแดงจะค่อยๆ โป่งออกพร้อมๆ กับเสมหะจะถูกดูดเข้าไปในลูกยางแดงดึงลูกยางแดงออกจากปากบีบลูกยางแดงเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดเสมหะแล้วสะบัดให้แห้งทำซ้ำแบบเดิมจนไม่มีเสมหะ วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ 1. ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้งด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง 2. ลูกยางแดงให้บีบเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดน้ำมูก หรือเสมหะ แล้วบีบเข้าบีบออกใน 3. น้ำอุ่นอีกครั้งหนึ่ง สะบัดให้แห้ง แล้วเช็ดลูกยางแดงให้แห้ง คำแนะนำการล้างจมูกสำหรับเด็กเล็ก กลุ่มงานเภสัชกรรม ประโยชน์ของการล้างจมูก 1. เมื่อล้างจมูกแล้วจะทำให้เด็กหายใจสบายขึ้น ดูดนมและรับประทานอาหารได้ดีขึ้น 2. น้ำเกลือที่ไหลลงคออาจกลืนลงไปไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย วิธีล้างจมูกในเด็กเล็ก อุปกรณ์ 1. น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 % 2. ถ้วยหรือแก้วสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ (น้ำเกลือที่ใช้เหลือ ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดเดิม) 3. กระบอกฉีดยาพลาสติก 4. ลูกยากแดงสำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะ วิธีล้างจมูก สำหรับเด็กเล็กยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้ 1. ล้างมือให้สะอาด 2. เทน้ำเกลือใส่ถ้วยหรือแก้วที่เตรียมไว้ใช้กระบอกแดยาดูดน้ำเกลือจนเต็มกระบอก 3. ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูงพอควรเพื่อป้องกันการสำลัก (ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กดิ้นมาก) 4. จับหน้าเด็กให้นิ่งสอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกให้ปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของรูจมูก ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5-1 ซีซี 5. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออกโดย · บีบลูกยางจนสุดเพื่อไล่ลมออก · ค่อยๆ สอดเข้าไปในรูจมูกตื้นๆ ประมาร 1-1.5 ซม. · ค่อยๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้าๆ เพื่อดูด น้ำมูกเข้ามาในลูกยาง · ดึงลูกยางแดงออกจากรูจมุกแล้วบีบน้ำมูกในลูกยางทิ้งน้ำ โดยบีบเข้า-บีบออกในน้ำ สะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วสะบัดให้แห้ง 6. ทำขั้นตอนที่ 5 ซ้ำหลายๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก สำหรับเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือและสั่งน้ำมูกเองได้ 1. ให้เด็กนั่งหรือยืน แหงนหน้าเล็กน้อย (ถ้ากลัวเด็กสำลักอาจใช้วิธีก้มหน้า) ค่อยๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกให้ปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของจมูก 2. ค่อยๆฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5-1 ซีซี หรือในปริมาณเท่าที่เด็กทนได้ ขณะฉีดน้ำเกลือ อาจจะมีน้ำเกลือไหลลงคอให้บ้วนทิ้ง 3. สั่งน้ำมูกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูก อีกข้างหนึ่ง) 4. ทำซ้ำหลายๆครังในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ 1. ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจนหมดน้ำสบู่ แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง 2. การล้างลูกยางแดง ให้บีบลูกยางเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้ง จนหมดน้ำมูกหรือเสมหะ แล้วบีบเข้า-ออกในน้ำอุ่นอีกครั้งหนึ่ง สะบัดน้ำให้หมด แล้วเช็ดลูกยางแดงให้แห้ง เก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป คำแนะนำการล้างจมูกสำหรับเด็กโต กลุ่มงานเภสัชกรรม ประโยชน์ของการล้างจมูก · โพรงจมูกสะอาด · อาการไอเรื้อรังดีขึ้น · ลดเชื้อโรคในโพรงจมูก · บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก · บรรเทาอาการคันจมูก · การล้างจมูกก่อนพ่นจมูกทำให้ยาพ่นจมูก มีประสิทธิภาพดีขึ้น การล้างจมูกมีอันตรายหรือไม่ การล้างจมูกนั้นอาจจะดูว่าน่ากลัวฉีดน้ำเกลือเข้าไปน่าจะแสบ แต่ความจริงแล้วการล้างจมูกไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและไม่รู้สึกแสบแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามการล้างจมูก จะทำให้เด็กรู้สึกสบายหายใจได้สะดวกขึ้นกว่าก่อนล้างมาก การล้างจมูกสำหรับเด็กโต อุปกรณ์ 1. น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% 2. ถ้วยหรือแก้วสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ (น้ำเกลือที่ใช้เหลือ ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดเดิม) 3. กระบอกฉีดยาพลาสติก 4. ภาชนะรองน้ำมูกและเสมหะ 5. กระดาษทิชชู่ วิธีล้างจมูก 1. ล้างมือให้สะอาด 2. เทน้ำเกลือใส่ถ้วยหรือแก้วสะอาดที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็มกระบอก 3. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก วิธีฉีดน้ำเกลือมี 2 วิธี วิธีที่ 1 1. แหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย 2. กลั้นหายใจหรือหายใจทางปาก (ป้องกันการสำลัก) 3. ฉีดน้ำเกลือในรูจมูกข้างที่จะล้างช้าๆ เพื่อ ไม่ให้สำลักประมาณ 5-10 ซีซี หรือในปริมาณเท่าที่จะทนได้ 4. สั่งน้ำมูกพร้อมกันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) บ้วนน้ำเกลือและเสมหะในลำคอทิ้งไป 5. ทำซ้ำหลายๆครั้งในจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา ข้อดีของวิธีนี้ ใช้น้ำเกลือน้อย ล้างโพรงจมูกได้ทั่วถึงกว่า ข้อเสียของวิธีนี้ อาจสำลักได้ วิธีที่2 1. ก้มหน้าเล็กน้อย เอนศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย 2. กลั้นหายใจหรือหายใจทางปาก (ป้องกันการสำลัก) 3. ฉีดน้ำเกลือประมาณ 5-10 ซีซี เข้าไปทางรูจมูกที่อยู่ด้านบนเพื่อให้น้ำมูกและน้ำเกลือไหลออกทางรูจมูกอีกข้างหนึ่ง 4. สั่งน้ำมูกพร้อมกันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) บ้วนน้ำเกลือและเสมหะใน ลำคอทิ้งไป 5. ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา ข้อดีของวิธีนี้ โอกาสสำลักน้อยกว่า ข้อเสียของวิธีนี้ ต้องใช้น้ำเกลือล้างจมูกปริมาณมาก การล้างทำความสะอาด ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกทุกครั้งด้วยน้ำสะอาด โดยล้างซ้ำหลายๆ ครั้งจนสะอาด แล้วผึ่งให้แห้ง
แสดงความคิดเห็น
2 ความคิดเห็น:
การล้างจมูก เป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัส หรือคราบสะเก็ดแข็งของเยื่อบุจมูกหลังการผ่าตัดจมูกและไซนัส หรือหลังการฉายแสงออก ด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ทำให้บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ทั้งที่ไหลออกมาข้างนอก และไหลลงคอ การล้างจมูกจึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ หวัด, โรคไซนัสอักเสบ, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, โรคจมูกอักเสบเหี่ยวฝ่อ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจมูกและไซนัส
การล้างจมูกในเด็ก นพ.เฉลิมไทย เอกศิลป์ การล้างจมูกในเด็กเล็ก มี 2 วิธี ดังนี้ 1. วิธีใช้น้ำเกลือหยอดด้วย หลอดฉีดยา 1.1 จับเด็กจัดอยู่ในท่านอนหงายคนจับ รวบแขนเด็กแนบหูทั้งสองข้างคนหยอด ดูดน้ำเกลือ ด้วยหลอดฉีดยาประมาณ 1-2cc 1.2 หยอดน้ำเกลือ ในจมูกข้างละ 3-5 หยด ทั้ง สองข้างของจมูก 1.3 ใช้ลูกยางแดง บีบลมออกก่อน แล้วนำลูกยางแดงจ่อไว้บริเวณรูจมูก แล้วปล่อยมือที่บีบลูกยาง ให้ดูดน้ำมูกออกมา แล้วนำไปบีบทิ้ง 1.4 แนะนำให้ทำ 3 เวลา คือ เช้า-เย็น-ก่อนนอน หรือ เมื่อมีน้ำมูกคั่งในจมูก อุปกรณ์ น้ำเกลือหลอดฉีดยาลูกยางแดง แนะนำใช้ เบอร์ 3 หรือเบอร์ 4 หมายเหตุ เพื่อให้แรงดูดมากพอ ปลายที่ใช้ดูดใหญ่ทำให้ไม่สามารถสอดเข้าในจมูกลึกๆได้ ลดการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูก 2. วิธีใช้พ่นน้ำเกลือโดยใช้ 2.1 น้ำยา Mar Plus (น้ำเกลือที่เข้มข้นสูง) 0.5% นอร์มอลซาลีน 2.2 เมื่อน้ำยา Mar Plus หมดให้ใช้น้ำเกลือ เติมเข้าไปในขวด Mar Plus หรือขวด Nasacort ที่ใช้หมดแล้ว วิธีการ และ ขั้นตอน จัดเด็กอยู่ในท่านั่งใช้ขวดพ่นจมูก ที่มีน้ำเกลือ/น้ำยา Mar Plus อยู่จ่อบริเวณรูจมูกบีบพ่นเข้าข้างละ 5-10 บีบ/ข้าง/ครั้ง (ไม่ต้องกลัวสำลัก)กรณีเด็กร่วมมือ บอกให้เด็กสั่งน้ำมูกออกมาเองเบาๆ จนหมดน้ำมูก หรือมีแค่น้ำใสๆ ไหลออกมาในกรณีเด็กไม่ร่วมมือ จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงาย และใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกทำซ้ำข้อที่ 1-4 จนกว่าน้ำมูกที่เด็กสั่งออกมาใสดีไม่มีน้ำมูก หรือไม่มีเมือกปนแนะนำให้ทำ 3 เวลา คือ เช้า- บ่าย/เย็น-ก่อนนอน หรือเมื่อมีน้ำมูกคั่งในจมูก การล้างจมูกในเด็กโต พ่นน้ำเกลือด้วย Mar Plus / ขวด Nasacort เหมือนกับในเด็กเล็กล้างจมูกโดยใช้น้ำเกลือกับหลอดฉีดยา วิธีการ จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งใช้หลอดฉีดยา ขนาด 5-10 ซี.ซี ดูดน้ำเกลือ 0.9% นอร์มอลซาลีน สอดปลายหลอดฉีดยา เข้าในจมูกเล็กน้อย กะจังหวะช่วงเด็กกลั้นหายใจ แล้วพ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกให้เด็กสั่งน้ำมูกออกเบาๆทำขั้นตอนที่ 1-3 จนกว่าสั่งน้ำมูกแล้วไม่มีน้ำมูก และเมือก ออกมาจึงหยุดล้าง ในกรณีที่ใช้ยาต่อไปนี้ร่วมด้วยต้องมีการปรับขั้นตอนให้เหมาะสม 1. ยาพ่นจมูก เช่น Rhinocort. Nasacort. Nasonex. Flixonase และ Beconase ควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือให้เสร็จ แล้วจึนพ่นยาพ่นจมูก ต่อไปเลย 2. ยาหยอดจมูกเพื่อลดการบวมของช่องจมูก เช่น liadine (0.025%) Ephedine Solution สามารถหยอดยา กลุ่มนี้ได้ 2 ช่วง 2.1 หยอดจมูกก่อนการล้างจมูก เพื่อลดการบวมของช่องจมูก 2.2 หยอดในจมูกเฉพาะก่อนนอนวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดการคัดจมูก หมายเหตุ การใช้ยา I liadine, Ephedine ใช้ต่อเนื่องไม่เกิน 5 วัน ต่อการเป็นหวัด 1 ครั้ง คำแนะนำการดูดน้ำมูกและเสมหะด้วยลูกยางแดงในเด็กทารก กลุ่มงานเภสัชกรรม การดูดน้ำมูกและเสมหะด้วยลูกยางแดง อุปกรณ์ ลูกยางแดงภาชนะเพื่อใช้รองน้ำมุกและเสมหะที่จะบีบทิ้งจากลูกยางแดงผ้าห่อตัวเด็ก เพื่อป้องกันเด็กดิ้น เอามือปัด การเตรียมตัวเด็กก่อนดูดน้ำมูกหรือเสมหะ · ใช้ผ้าห่อตัวเด็กให้แน่น จับเด็กให้นอนตะแคงเอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันเด็กสำลักน้ำลาย หรือ อาหารเข้าปอด หากเด็กอาเจียนขณะดูดน้ำมูกหรือเสมหะ · ไม่ควรดูดน้ำมูกหรือเสมหะตอนเด็กอิ่มนม หรือรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ วิธีการดูดน้ำมูกด้วยลูกยางแดง บีบลูกยางแดงให้แฟบ เตรียมพร้อมที่จะดูดสอดปลายลูกยางแดงเข้าในรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง โดยสอดเข้าไปตื้นๆ (ประมาณ 1-1.5 ซม.) แล้วปล่อยมือช้าๆ ขณะที่ปล่อยมือลูกยางแดงจะค่อยๆ โป่งออกพร้อมๆ กับน้ำมูกจะถูกดูดเข้าไปในลูกยางแดงดึงลูกยางแดงออกจากรูจมูกบีบลูกยางแดงเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดน้ำมูกสะบัดให้แห้งทำซ้ำแบบเดิม และดูดน้ำมูกออกจนหมดในจมูกแต่ละข้าง วิธีดูดเสมหะด้วยลูกยางแดง บีบลูกยางแดงให้แฟบ เตรียมพร้อมที่จะดูดสอดปลายลูกยางแดงเข้าไปในปากประมาณโคนลิ้น แล้วปล่อยมือช้าๆ ขณะที่ปล่อยมือ ลูกยางแดงจะค่อยๆ โป่งออกพร้อมๆ กับเสมหะจะถูกดูดเข้าไปในลูกยางแดงดึงลูกยางแดงออกจากปากบีบลูกยางแดงเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดเสมหะแล้วสะบัดให้แห้งทำซ้ำแบบเดิมจนไม่มีเสมหะ วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ 1. ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้งด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง 2. ลูกยางแดงให้บีบเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้งจนหมดน้ำมูก หรือเสมหะ แล้วบีบเข้าบีบออกใน 3. น้ำอุ่นอีกครั้งหนึ่ง สะบัดให้แห้ง แล้วเช็ดลูกยางแดงให้แห้ง คำแนะนำการล้างจมูกสำหรับเด็กเล็ก กลุ่มงานเภสัชกรรม ประโยชน์ของการล้างจมูก 1. เมื่อล้างจมูกแล้วจะทำให้เด็กหายใจสบายขึ้น ดูดนมและรับประทานอาหารได้ดีขึ้น 2. น้ำเกลือที่ไหลลงคออาจกลืนลงไปไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย วิธีล้างจมูกในเด็กเล็ก อุปกรณ์ 1. น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 % 2. ถ้วยหรือแก้วสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ (น้ำเกลือที่ใช้เหลือ ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดเดิม) 3. กระบอกฉีดยาพลาสติก 4. ลูกยากแดงสำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะ วิธีล้างจมูก สำหรับเด็กเล็กยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้ 1. ล้างมือให้สะอาด 2. เทน้ำเกลือใส่ถ้วยหรือแก้วที่เตรียมไว้ใช้กระบอกแดยาดูดน้ำเกลือจนเต็มกระบอก 3. ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูงพอควรเพื่อป้องกันการสำลัก (ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กดิ้นมาก) 4. จับหน้าเด็กให้นิ่งสอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกให้ปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของรูจมูก ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5-1 ซีซี 5. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออกโดย · บีบลูกยางจนสุดเพื่อไล่ลมออก · ค่อยๆ สอดเข้าไปในรูจมูกตื้นๆ ประมาร 1-1.5 ซม. · ค่อยๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้าๆ เพื่อดูด น้ำมูกเข้ามาในลูกยาง · ดึงลูกยางแดงออกจากรูจมุกแล้วบีบน้ำมูกในลูกยางทิ้งน้ำ โดยบีบเข้า-บีบออกในน้ำ สะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วสะบัดให้แห้ง 6. ทำขั้นตอนที่ 5 ซ้ำหลายๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก สำหรับเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือและสั่งน้ำมูกเองได้ 1. ให้เด็กนั่งหรือยืน แหงนหน้าเล็กน้อย (ถ้ากลัวเด็กสำลักอาจใช้วิธีก้มหน้า) ค่อยๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกให้ปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของจมูก 2. ค่อยๆฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5-1 ซีซี หรือในปริมาณเท่าที่เด็กทนได้ ขณะฉีดน้ำเกลือ อาจจะมีน้ำเกลือไหลลงคอให้บ้วนทิ้ง 3. สั่งน้ำมูกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูก อีกข้างหนึ่ง) 4. ทำซ้ำหลายๆครังในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ 1. ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจนหมดน้ำสบู่ แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง 2. การล้างลูกยางแดง ให้บีบลูกยางเข้า-ออกในน้ำที่สะอาดหลายๆ ครั้ง จนหมดน้ำมูกหรือเสมหะ แล้วบีบเข้า-ออกในน้ำอุ่นอีกครั้งหนึ่ง สะบัดน้ำให้หมด แล้วเช็ดลูกยางแดงให้แห้ง เก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป คำแนะนำการล้างจมูกสำหรับเด็กโต กลุ่มงานเภสัชกรรม ประโยชน์ของการล้างจมูก · โพรงจมูกสะอาด · อาการไอเรื้อรังดีขึ้น · ลดเชื้อโรคในโพรงจมูก · บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก · บรรเทาอาการคันจมูก · การล้างจมูกก่อนพ่นจมูกทำให้ยาพ่นจมูก มีประสิทธิภาพดีขึ้น การล้างจมูกมีอันตรายหรือไม่ การล้างจมูกนั้นอาจจะดูว่าน่ากลัวฉีดน้ำเกลือเข้าไปน่าจะแสบ แต่ความจริงแล้วการล้างจมูกไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและไม่รู้สึกแสบแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามการล้างจมูก จะทำให้เด็กรู้สึกสบายหายใจได้สะดวกขึ้นกว่าก่อนล้างมาก การล้างจมูกสำหรับเด็กโต อุปกรณ์ 1. น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% 2. ถ้วยหรือแก้วสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ (น้ำเกลือที่ใช้เหลือ ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดเดิม) 3. กระบอกฉีดยาพลาสติก 4. ภาชนะรองน้ำมูกและเสมหะ 5. กระดาษทิชชู่ วิธีล้างจมูก 1. ล้างมือให้สะอาด 2. เทน้ำเกลือใส่ถ้วยหรือแก้วสะอาดที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็มกระบอก 3. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก วิธีฉีดน้ำเกลือมี 2 วิธี วิธีที่ 1 1. แหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย 2. กลั้นหายใจหรือหายใจทางปาก (ป้องกันการสำลัก) 3. ฉีดน้ำเกลือในรูจมูกข้างที่จะล้างช้าๆ เพื่อ ไม่ให้สำลักประมาณ 5-10 ซีซี หรือในปริมาณเท่าที่จะทนได้ 4. สั่งน้ำมูกพร้อมกันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) บ้วนน้ำเกลือและเสมหะในลำคอทิ้งไป 5. ทำซ้ำหลายๆครั้งในจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา ข้อดีของวิธีนี้ ใช้น้ำเกลือน้อย ล้างโพรงจมูกได้ทั่วถึงกว่า ข้อเสียของวิธีนี้ อาจสำลักได้ วิธีที่2 1. ก้มหน้าเล็กน้อย เอนศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย 2. กลั้นหายใจหรือหายใจทางปาก (ป้องกันการสำลัก) 3. ฉีดน้ำเกลือประมาณ 5-10 ซีซี เข้าไปทางรูจมูกที่อยู่ด้านบนเพื่อให้น้ำมูกและน้ำเกลือไหลออกทางรูจมูกอีกข้างหนึ่ง 4. สั่งน้ำมูกพร้อมกันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) บ้วนน้ำเกลือและเสมหะใน ลำคอทิ้งไป 5. ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา ข้อดีของวิธีนี้ โอกาสสำลักน้อยกว่า ข้อเสียของวิธีนี้ ต้องใช้น้ำเกลือล้างจมูกปริมาณมาก การล้างทำความสะอาด ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกทุกครั้งด้วยน้ำสะอาด โดยล้างซ้ำหลายๆ ครั้งจนสะอาด แล้วผึ่งให้แห้ง
แสดงความคิดเห็น