AQ คือความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ AQ เป็นการวัดความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถ จัดการได้ดีจะเป็นผู้นำและเป็นผู้ชนะหรือเจ้าของกิจการในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะสามารถ เปลี่ยน วิกฤติเป็นโอกาส (Dr. Paul G stolt ) ใครที่ไม่สามารถควบคุม AQ ได้จะเป็นผู้พ่ายแพ้ และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน
เทคนิคการสร้าง AQ AQ ความสามารถในการแก้ปัญหา / อุปสรรคเป็นกลไกลของสมอง เกิดจากการได้ฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
9 ความคิดเห็น:
พญ. กมลพรรณ ชีวพันธุศรี เคยเขียนเรื่องนี้ไว้น่าสนใจ ขอคัดลอกมาลงเพิ่มเติมครับ
IQ คือความฉลาดทางสติปัญญา
วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 95-105เป็นการวัดความสามารถทางคิดวิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณแต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆ เช่น
- ความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะต่างๆด้านการทำงาน
- ทักษะชีวิตประจำวัน ฯลฯ
การพัฒนา IQ - 50% จากกรรมพันธุ์-50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น
- การเลี้ยงดู ความรัก ความอบอุ่น เพราะฉะนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน
- อาหาร ครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามิน บี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน
- ประสบการณ์ต่างๆจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬา ที่ชื่นชอบ
- ได้ ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก)
- การได้รับรับคำชมเชย
- มองเห็นคุณค่าตนเอง
- สัมผัสกับสังคม,ชีวิตประจำวัน ฯลฯ
- อารมณ์ดี ไม่เครียด
- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันจะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
- ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
ปัจจัยที่มีผลต่อลบสมอง ทำให้สมองไม่พัฒนาได้แก่
- ความเครียด, ความกดดันต่างๆเช่นการทำการบ้านมากมาย การบ้างานขาดการพักผ่อน,ออกกำลังกาย
- ขาดอาหารเช่นพวกโลหิตจาง
- สมองขาดการกระตุ้น หรือการใช้สมองฝึกคิดในสิ่งต่างๆ เช่นการฝึกการแก้ปัญหา ฝึกความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การใช้ไหวพริบ- มองตนเองในแง่ลบ มองตนเองไม่มีคุณค่า จากการถูกตำหนิทุกวัน หรือบ่อยๆ
- ซึมเศร้า,ทุกข์,โกรธ,วิตกกังวล นานๆ
- สารพิษ ยาเสพติด สารตะกั่ว ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเด็กให้เก่ง และฉลาดจะไม่ได้ยากเย็นใดๆเลย แต่ต้องให้มีวิธีการหลากหลายไม่ใช่ให้แต่ความรู้วิชาการอย่างเดียวที่มากมายเกินความจำเป็นจนขาดการพัฒนาด้านอื่นๆ ซึ่งเรียนรู้วิชาการแล้วก็ลืมได้ มีวิจัยพบว่า ความรู้ 25% ของวิชาการในโรงเรียน ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันจริง(รศ.พญ. ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์) แต่ดิฉันว่าจริงๆแล้วอาจจะไม่ถึง 10%
EQ คือความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดทางอารมณ์สำคัญอย่างไรมีวิจัยดังนี้
1)มหาเศรษฐี 400 คนของโลกที่ประสบความสำเร็จ มีสมบัติพันล้านเหรียญดอลล่า 50%% ไม่ได้จบปริญญาตรี
2)วิจัยในรัฐ แมซาซาซูแสท ติดตามเด็ก 450 คน นาน 40 ปี ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตไม่เกี่ยวกับ IQ แต่เป็น
- ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง AQ
- การคบคุมอารมณ์ ได้ดี EQ
- การเข้ากับคนอื่นได้ดี SQ
3)การวิจัยเก็บข้อมูล จากผู้จบปริญญาเอก 80 คน ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ขณะศึกษาถึง อายุ 70 ปี พบว่า EQ และความสามารถทางสังคมทำให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และมีชื่อเสียง มากกว่าความสามารถทาง IQ 4 เท่า
การพัฒนา EQคือ
- รู้อารมณ์ของตนเอง
- เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเมตตาอารี, ช่วยเหลือผู้อื่น, เอาใจเขามาใส่ใจเรา- ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ จะน่าเคารพนับถือ และจะมีคน กล้าให้คำแนะนำ
- มีระเบียบวินัยในตนเอง , เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อสังคม
- ขยันหมั่นเพียร อดทน , กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา
วิธีฝึก
-มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
-ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ หรือพี่น้อง
- การดุ , ลงโทษ ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง
-หาทางชมเชยเด็ก แม้นจะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่างเราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชมเพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
- เวลาลูกทะเลาะกันอย่ามีอารมณ์ร่วม
-ไม่ปกป้องมากเกินไปเพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
-ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
-ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
-เด็กอารมณ์ร้อน ต้องทำไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
- ฝึกหัดระเบียบวินัย ควรสร้างตั้งแต่เล็กๆเช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่งกับที่รับประทานอาหาร ดูทีวี ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
- ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับแต่ด้วยเหตุผล
- การดุ, การลงโทษ,ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไปเพราะเด็กจะต่อต้าน
AQ คือความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ
AQ เป็นการวัดความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถ จัดการได้ดีจะเป็นผู้นำและเป็นผู้ชนะหรือเจ้าของกิจการในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะสามารถ เปลี่ยน วิกฤติเป็นโอกาส (Dr. Paul G stolt ) ใครที่ไม่สามารถควบคุม AQ ได้จะเป็นผู้พ่ายแพ้ และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน
เทคนิคการสร้าง AQ
AQ ความสามารถในการแก้ปัญหา / อุปสรรคเป็นกลไกลของสมอง เกิดจากการได้ฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
การฝึกฝน
- การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
- การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
- สัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงาน ตามวัย
- ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
- เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ธุรกิจของพ่อแม่ หรือหรือแม้นแต่การรับจ้างทำงานใน ช่วงวัยรุ่น ฝึกหาประสบการณ์ตามที่ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
หลักการสร้าง AQ
- มองปัญหาเป็นโอกาส
1. CONTROL ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
2. OWNERSHIP ความเป็นเจ้าของ ปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
3. REACH คิดว่าทุกประเภท มีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
4. ENDURANCE มีความทนทาน อดทน ต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดีไม่วู่วาม
สรุปการเพิ่ม AQ
- มีสติ ตลอดเวลา ใช้สติปัญญาในการแก้ไข
- คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
- มองโลกในแง่ดี
- เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
MQ MORAL - จริยธรรม คุณธรรม
วิธีฝึกฝน
- มีตัวอย่างดีๆให้เห็น
- ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
- วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
- ประถมปลาย - มัธยม สอน หลักธรรม ตัวอย่างดีๆ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือช่วยดูแล รุ่นน้องๆ ช่วยงานคุณครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
- ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะ 0-5 ขวบ
SQ :SOCIAL QUOTIENT ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ได้เล่นกับเพื่อน ในวัยเด็กเล็กๆ
- เด็กโต ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆกับเพื่อน
- คบเพื่อนๆ ที่หลากหลาย
IQ ปรับเปลี่ยนยาก เริ่มพัฒนาตั้งแต่0- 5 ปี EQ และ MQ ปรับเปลี่ยนง่ายกว่า และได้ทุกอายุเพราะฉะนั้นคนที่จะประสบผลสำเร็จ ต้องมี
- มีวิสัยทัศน์ ( Vision = Dream and action)
- มองภาพรวมออก และคาดการณ์ข้างหน้าได้ค่อนข้างถูกต้อง
- IQ ,EQ, AQ, SQ, MQ ดี
- กระตือรือร้น , active มีไฟอยู่ตลอดเวลา
- กล้าเสี่ยง, กล้ารับผิดชอบ
- เชื่อมั่นในตนเอง แต่อย่ามากเกินไปจน ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น
- รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และพยายามปรับปรุงและรู้จักตนเองไม่มองตนเองในแง่ร้ายหรือไม่มีคุณค่า หรือเก่งกว่าคนอื่น หรือเลวเกินไป
- มีไหวพริบ รู้เท่าทัน มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี - มีคุณธรรม จริยธรรม
สืบเนื่องจากกระทู้นี้ อีกหนึ่ง ตัวอย่างของการมี IQ ดี แต่ขาด เรื่อง EQ นำข้อมูลมาแบ่งปั้น เพิ่มเติม
MQ ความฉลาดทางจริยธรรม
MQ ในระดับดีนั้น จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังให้มีพื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก
"ท่ามกลางสังคมที่อยู่ในสถานการณ์ของความเสื่อมถอยทางจริยธรรมในจิตใจคน สิ่งที่เราทำได้ง่ายที่สุดคือ การหยุดคิดและทบทวนการกระทำของเราเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เราหลงทาง และอ้างความชอบธรรมจากการกระทำที่ไม่ถูกไม่ควร"
ความฉลาดทางจริยธรรม หรือที่รู้จักในนาม MQ (Moral Oral Quotient) หมายถึง ความฉลาดทางจริยธรรมหรือศีลธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี นอกเหนือไปจาก IQ ความฉลาดทางสติปัญญา หรือ MQ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือความฉลาดในการเข้าใจและควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเอง
MQ นอกจากจะหมายถึงคุณธรรมที่ดี อีกมุมหนึ่งหมายถึง ระดับความเห็นแก่ตัวด้วย การมีความฉลาดทางจริยธรรม ย่อมส่งผลให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ ไม่เห็นแก่ตัว คิดดี ทำดี และพูดดีด้วย มีความเมตตาปรานีและรู้จักให้อภัย ลักษณะนิสัยดังกล่าว ไม่สามารถฝึกฝนได้ในช่วงเวลาสั้นๆ การที่บุคคลหนึ่งจะมี MQ ในระดับดีนั้น จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังให้มีพื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก หากเด็กได้รับการปลูกฝังด้านศีลธรรม การรู้จักให้ความรัก และการปลูกฝัง MQ ตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการสอน หรือ การปฏิบัติตนของผู้ใหญ่ให้เป็นตัวอย่าง จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้บุคคลสามารถพัฒนา MQ ได้ในระดับหนึ่ง ส่วนจะฝังลึกลงไปในจิตสำนึกมากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการำด้รับการปลูกฝัง ซึ่งจะรอการกระตุ้นอีกครั้งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้รับการอบรมพัฒนาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นในด้านการฟัง เช่น การฟังเทศน์ ฟังธรรม ฯลฯ การอ่านหนังสือธรรมะ เป็นต้น เพราะการปลูกฝังที่ไม่เท่ากันนี้เอง
ทำให้พบว่าเราทุกคนต่างมีเพื่อนที่มีระดับคุณธรรมจริยธรรมไม่เท่ากัน ทั้งๆที่ บางคนเรียนจบมาจากสถาบันเดียวกัน และยิ่งหากบุคคลใดไม่มีอยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้นอย่างไร ก็ไม่สามารถ ทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้
การพิจารณาบุคคลตามลักษณะของ 3 Q แบ่งเป็น 8 ประเภท
ประเภทที่ 1 IQ สูง EQ สูง MQ สูง เรียกว่าเลิศไปทุกด้าน เป็นบุคคลตัวอย่าง
ประเภทที่ 2 IQ สูง EQ สูง แต่ MQ ต่ำ เป็นบุคคลประเภทฉลาด ความรู้ดี แต่ขี้โกง ฉลาดแกมโกง อารมณ์ดี เก็บความรู้สึกเก่ง ไม่คำนึงถึงศีลธรรม
ประเภทที่ 3 IQ สูง EQ ต่ำ MQ สูง เป็นคนมีความรู้ดี แต่อารมณ์อ่อนไหว ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โกรธง่าย แต่เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ไม่ทำร้ายใคร เข้าตำราปากร้ายใจดี
ประเภทที่ 4 IQ ต่ำ แต่ EQ สูง และ MQ สูง เป็นประเภทมีความรู้น้อยแต่ก็สุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม
ประเภทที่ 5 IQ ต่ำ EQ ต่ำ แต่ MQ สูง เป็นคนมีความรู้น้อย ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ขี้โมโห แต่ก็เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ปากร้ายใจดี
ประเภทที่ 6 IQ ต่ำ EQ สูง MQ ต่ำ ประเภทนี้หายากแต่ก็พอมี ลักษณะเป็นคนที่มีสติปัญญาค่อนข้างต่ำ เรียนไม่เก่ง คิดไม่ค่อยทันชาวบ้าน มีนิสัยเป็นคนใจเย็น แต่อาจทำอะไรโดยขาดเหตุผล ไม่ค่อยใช้ความคิดจึงทำผิดศีลธรรมได้ง่าย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย หรืออาจเป็นคนปัญญาอ่อน ที่ทำอะไรผิดเพราะขาดความยั้งคิด
ประเภทที่ 7 IQ สูง แต่ EQ และ MQ ต่ำ มีความรู้ดี ฉลาด ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ทั้งยังไม่คำนึงถึงศีลธรรม เป็นตัวโกงในอุดมคติของลิเกไทย จอมวางแผนชั่วร้าย
ประเภทที่ 8 IQ EQ และ MQ ต่ำ แบบนี้คงหายาก เพราะไม่มีส่วนดีเลย ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ การควบคุมอารมณ์ และระดับจริยธรรมในใจ อาจจะเป็นคนที่มีปัญหาทางจิตหรือโรคจิต
เชื่อว่าต่อไปนี้..นอกจากท่านจะให้คำตอบแก่ตัวเองได้แล้ว...ท่านคงไม่สงสัยพฤติกรรมของคนที่รู้จัก/ใกล้ชิดกันอีก ....ที่สำคัญเมื่อรู้แล้วควรหมั่นนำมาใช้ตรวจสอบทบทวนตัวเองเป็นระยะๆ กันดีไหม....
"ที่มา...มุมจริยธรรม..จุลสารพัฒนาข้าราชการพลเรือน ฉบับเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2549"
หาก ย้อนไปในสมัยที่คุณพ่อคุณแม่ยุคนี้ยังเป็นเด็ก คำถามที่ผู้ใหญ่มักจะถามเราเมื่อปิดภาคเรียนก็คือ "สอบไล่ได้ที่เท่าไร-เรียนเก่งไหม" ฯลฯ ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะในยุคนั้น IQ หรือเชาวน์ด้านสติปัญญาเป็นสิ่งที่ถูกหยิบมาพิจารณาเป็นอับดับต้น ๆ แต่มาถึงยุคนี้ แนวคิด และข้อมูลทางวิชาการก็ได้พิสูจน์แล้วว่า เด็กที่มาพร้อม IQ เพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้คนหนึ่งคนกลายเป็นคนเต็มคน และมีความสุขได้
EQ (Emotional Quotient) หรือความฉลาดด้านอารมณ์ ได้ถูกหยิบขึ้นมากล่าวถึงเป็นตัวแรก ๆ หลังจากปล่อยให้ IQ นำโด่งโกยคะแนนความสำคัญมานาน EQ หมายถึงความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น มีความเห็นใจและเข้าอกเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนสามารถสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี การมีแต่ IQ แต่ไม่มี EQ นั้นอาจทำให้การทำงานร่วมกับผู้อื่นเกิดปัญหาได้ง่าย เพราะขาดความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์
ตัวต่อมาก็คือ AQ (Adversity Quotient) หรือความอึด ความอึดตัวนี้ช่วยเพิ่มพูนความสามารถของตัวเราได้อีกหลายทาง เด็กที่เก่งอยู่แล้ว ถ้ามีความอึดเวลาเจอโจทย์ยาก ๆ เขาก็อาจประสบความสำเร็จด้านการเรียนได้ดีกว่าคนที่เก่งกว่า แต่ไม่อึดเท่า ดังนั้น AQ จะมีความสำคัญมากเวลาที่เราเผชิญปัญหา โดยจะช่วยไม่ให้เราถอดใจง่าย ๆ แต่สามารถอดทน จนข้ามผ่านสภาวะนั้น ๆ ไปได้ในที่สุด
นอกจาก EQ และ AQ แล้ว เราก็ยังมี MQ (Morality Quotient) หรือเชาวน์ด้านจริยธรรม MQ สำคัญตรงที่ว่า จะเป็นแนวทางที่ช่วยในการดำเนินชีวิต ช่วยให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ทำให้คนรู้จักให้อภัยกันเมื่อเผลอทำผิด และยังช่วยลดความหวาดระแวงที่คนจะพึงมีต่อกันให้ลดน้อยลงได้ด้วย เปรียบเทียบได้กับ ถ้าทุกคนมีจริยธรรม โลกก็จะสงบสุข และยังช่วยลดภาระให้กับสังคมได้ด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องมีตำรวจ ศาล หรือคุกไว้ขังคนไม่ดีอีกต่อไป
ถัดจากนั้นก็มาถึง HQ (Health Quotient) ตัวนี้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กเอง เป็นความเข้มแข็งด้านสุขภาพกาย ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้มแข็งในด้านอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งแนวทางที่จะช่วยพัฒนา HQ ได้ดีก็คือ 6 อ. ประกอบด้วย อารมณ์ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อนามัย และงานอดิเรก
เชาวน์ด้านสุดท้ายที่มนุษย์สามารถค้นพบได้ในช่วงเวลานี้ก็คือ SQ (Spiritual Quotient) หรือเชาวน์ด้านจิตวิญญาณ เป็นความสามารถในการพัฒนาจิตวิญญาณเพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงใน ชีวิต และจะช่วยให้คนเราเข้าใจอัจฉริยภาพสูงสุดของตนเองจากการใช้สมองทุกส่วนในการ ทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ผศ. ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเชาวน์อัจฉริยภาพเปิดเผยถึงความเชื่อมโยง ระหว่างเชาวน์ทั้ง 6 ว่า "6Qs มีความสำคัญเท่า ๆ กัน เพราะมันต่อเนื่องและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่าง คนที่มีไอคิวสูง ๆ ถ้าขาด EQ ก็จะกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์เอาแต่ใจตัวเอง ขาดมนุษยสัมพันธ์ แต่คนที่ IQ ดี EQ ดี แต่ขาดเชาวน์ด้าน AQ หรือเชาวน์ความอึดในการเผชิญปัญหา เวลาเจอวิกฤติ ก็อาจถอดใจได้ง่าย ๆ"
"ถ้าเรามี IQ, EQ และ AQ พร้อมแล้ว แต่ถ้าเราขาด MQ (Morality Quotient) หรือก็คือขาดจริยธรรม เห็นแก่ได้ ไม่คิดถึงคนอื่น ไม่มีศีลธรรม ก็จะทำให้บ้านเมืองมีปัญหา ซึ่งวิกฤติที่มันเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ก็เพราะคนที่เกี่ยวข้องใน สังคมบ้านเราขาดความตระหนักใน MQ ร่วมด้วย"
เรื่องของสุขภาพ หรือ HQ (Health Quotient) ก็เช่นกัน ถ้า IQ, EQ, AQ และ MQ ดีหมด แต่สุขภาพไม่ดี ก็ไม่สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และสุดท้าย แต่ถ้าเชาวน์ทั้ง 5 ประการที่ผ่านมาดีทั้งหมดแล้ว แต่ขาด SQ (Spiritual Quotient) หรือเชาวน์ด้านจิตวิญญาณ ขาดการปฏิบัติธรรม เจริญสติ - สมาธิ ความดีที่เกิดขึ้นนั้นก็จะไม่ยั่งยืน
"คนที่นั่งสมาธิ มีการฝึกสติสม่ำเสมอ คนเหล่านี้ เวลาที่มีสิ่งไม่ดีเข้ามาเย้ายวนในชีวิต สติจะสามารถรับรู้ได้ และยับยั้งการกระทำที่ไม่ดีกับตัวเองและสังคมได้ คนที่มีเชาวน์ด้านนี้จะมีอายุยืนกว่าคนทั่วไป 20 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมีสุขภาพที่ดีกว่าด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า SQ คืออัจฉริยภาพขั้นสูงสุด"
เด็กไทยกับ 6Q
การพัฒนาเด็ก หรือสังคมไทยให้เห็นความสำคัญของเชาวน์ปัญญาด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากความเก่งฉกาจในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียวอาจเป็นสิ่งที่ทำได้ ยาก เนื่องจากตัวเลขล่าสุดที่มีการสำรวจพบว่า เด็กไทยมีไอคิวลดต่ำลงกว่าในอดีต
“การ ที่ไอคิวต่ำกว่าปกติ มันจะมีผลต่อส่วนอื่น ๆ เพราะไอคิวจะส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ ในเมื่อเชาวน์ด้านการเรียนรู้ไม่พร้อมเสียแล้ว ศักยภาพด้านอื่น ๆ ก็จะถดถอยลงไปด้วย ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว พ่อแม่สามารถกระตุ้นได้ ทั้งจากการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก ไม่ใช่ปล่อยให้ทีวีหรือพี่เลี้ยงเป็นฝ่ายเลี้ยงลูกแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับ 6Qs เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ได้ง่าย เพราะยังเป็นผ้าขาว แต่เขาอาจจะขาดประสบการณ์เปรียบเทียบ ส่วนผู้ใหญ่จะมีพร้อมทั้งวัยวุฒิ และประสบการณ์ ก็สามารถนำประสบการณ์มาเปรียบเทียบและทำความเข้าใจได้ง่ายมากกว่า แต่ถ้าผู้ใหญ่ที่ขาดการกล่อมเกลา ขาดสติ จากประสบการณ์ที่มีแต่ความละโมบ เห็นแก่ได้ ก็อาจจะกลายเป็นพลังต่อต้านในการเรียนรู้ได้เช่นกัน”
“การฝึก 6Qs ก็เหมือนเราสร้างแผนที่ที่ดีในสมอง (Mental Map) ไปที่ไหนก็สะดวกสบาย โอกาสที่จะไปถึงเป้าหมาย (คือความสุขนิรันดร์) ก็สูง แม้ว่าระหว่างทางเจอปัญหา อุปสรรค ก็สามารถฟันฝ่าไปได้ครับ”
ข้อมูลนี้เอามาจากเวบผู้จัดการค่ะ เห็นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีข้อมูลเสริม เลยเอามาเก็บไว้ด้วยกัน
แสดงความคิดเห็น