เด็กในช่วงวัยนี้เป็นช่วงเดียวกับอายุปัจจุบันของแชงลูกคนโต ส่วนตอนที่แล้วเป็นวัยน้องเชียร์ลูกคนเล็กค่ะ ซึ่งถือว่า เป็นช่วง Early School Year เด็กในวัยเหล่านี้ โดยมากยังไม่เข้าโรงเรียน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทางร่างกาย ให้ช่วยตัวเองได้ในชีวิตประจำวันต้องทำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการกับเรื่องอารมณ์ การสอนเรื่องมรรยาท การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และ ทักษะเรื่องการพูด การสื่อสาร การเข้าใจในความหมายของคำต่างๆ สิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์ คืองานหลักของเรา
(อ่านต่อในหน้าความเห็นนะคะ)
11 ความคิดเห็น:
เด็กในวัยนี้จะมีความพร้อมทางร่างกายมากขึ้น เดินคล่อง วิ่งได้บ้าง และเริ่มสนใจใคร่รู้ จะเห็นจากแววตา สีหน้า เขาจะเข้าใจความหมายของคำต่างๆมากขึ้นค่ะ ฟังเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการแสดงออกที่ชัดเจนขึ้น สิ่งที่ควรปลูกฝังต่อ ก็คือการอ่านนิทาน ที่เราเองก็สนับสนุนให้เล่าตั้งแต่แรก การร้องเพลง การฟังเพลง การเคาะหรือตบมือตามจังหวะ เพื่อฝึกเรื่องการฟัง การหัดกินให้หลากหลาย การช่วยตัวเอง กินเอง การเข้าห้องนำ้ขับถ่าย การเล่นแป้งโดว์ การระบายสี การควบคุมอารมณ์ ระเบียบวินัย ตลอดจนการเล่นบล็อก การเล่นเลโก้ ตลอดจนการเล่นบอล แต่ก็มีสิ่งที่เราสอนลูกให้ลึกซึ้งมากขึ้น และมากขึ้น เพื่อให้เกิดกระบวนการทางความคิด และกระบวนการทางการเรียนรู้ของลูก ซึ่งเป็นพื้นฐานทางการศึกษา และนิสัยของเด็กในอนาคต
ดิฉันดูจาก ใบรายงานผลการเรียนรู้ของโรงเรียนน้องแชง ในชั้นเรียนของน้องแชง วัยนี้ เขาจะประเมินดังนี้
- ความพร้อมในการแยกกับพ่อแม่
- การร่วมกิจกรรมกับครูและเพื่อนๆ
- การช่วยเหลือ หรือ ความให้ความร่วมมือกับเพื่อน
- การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน
- การใส่ถุงเท้า
- การใส่รองเท้า
- การถอดเสื้อผ้า
- การสวมเสื้อผ้่า
- การเข้าห้องนำ้
- การทานอาหารเอง
- การเดินขึ้นบันได
- การปีน
- การเตะบอลที่เคลื่อนไหวช้าๆ
- การควบคุมทิศทางและความเร็วในการวิ่ง
- การเล่นบล็อก การต่อเลโก้
- ทำงานศิลปะ
- การระบายสีเทียน
- การบอกรูปทรงได้
- การบอกสีได้
- การนับ 1-10
- การรู้จักขนาดเล็ก ใหญ่ ใกล้ ไกล เป็นต้น
- การทำตามคำสั่ง หรือ คำแนะนำ
- การพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษ
- การร้องเพลง
- การสนใจและสนุกกับหนังสือ
จากใบประเมินของน้องแชง เราจะเห็นแนวทางว่าในเด็กวัยนี้คือ 1.6-3 ปีนี้ เราจะสอนและฝึกอะไรลูกได้บ้าง จะเห็นว่า ในเรื่องการช่วยเหลือตนเอง เราต้องพยายามฝึกลูกให้สามารถถอดเสื้อผ้า แต่งตัว ทานเอง เข้าห้องนำเองได้ กินเองได้ รวมถึงการอาบนำ้ แปรงฟัน การเก็บของเล่น การจัดของใช้ส่วนตัว ในกระเป๋า หรือ ห้องของตัวเอง
ในส่วนของกิจกรรม การฝึกปั้นแป้งเป็นรูปทรงง่ายๆ การระบายสีให้ได้นำ้หนัก อยู่ในกรอบ เป็นเป้าหมายของวัยนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานของการเขียน การต่อบล็อก เลโก้ เสริมสร้างจิตนาการและช่วยการหยิบจับให้คล่องตัว การเข้าใจขนาดเล็กใหญ่ สูงตำ่ คำตรงข้าม และการรู้จักสี รูปทรง ทำให้มีการเชื่อมโยงของมิติ เสริมสร้างการสังเกตรายละเอียดมากขึ้น
การร้องเพลงง่ายๆ เป็นการฝึกการฟังทำนอง โน๊ตและจังหวะ และภาษาง่ายๆ การอ่านหนังสือนิทาน ฟังนิทาน เป็นการเสริมทักษะการฟัง และความเข้าใจเรื่องราว และสร้างสมาธิ
ส่วนเรื่องการเข้าสังคม การอยู่ร่วมกับเด็กอื่น ผู้อื่นก็ต้องหัดให้ได้เช่นกัน ให้ไม่รังแกเพื่อน เล่นด้วยกัน แบ่งปัน และหากให้ดีคือ การช่วยเหลือคนอื่น และเป็นตัวของตัวเอง ไม่ขี้กลัว หรือติดพ่อแม่มากไป เป็นสิ่งที่ต้องฝึกเช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเข้าโรงเรียนต่อไป
เท่าที่ดิฉันสังเกตจากลูก สิ่งที่หนักใจของพ่อแม่ที่มีลูกวัยนี้ คือ การต่อต้าน การเอาแต่ใจตัวเอง งอแง ก้าวร้าว ไม่ยอมกิน เป็นต้น ซึ่งพ่อแม่และคนดูแล ต้องจัดการแก้ไข ปรับเปลี่ยน นิสัยแบบนี้จะโผล่ออกมาตลอดเวลา และหากไม่ได้รับการแก้ไขเนิ่น จะแก้ยาก พ่อแม่ผู้ใหญ่บางตน เช่นปู่ย่าตายาย มักโอ๋เด็ก คิดว่ายังเล็ก ไม่เป็นไร ปล่อยไปก่อน เดี๋ยวเข้าโรงเรียนแล้วค่อยมาฝึก ซึ่งทำให้นิสัยนี้ติดเป็นความเคยชิน แก้ไขยากมากๆค่ะ แต่หากเราใกล้ แล้วจัดการถูกวิธีก็จะทำได้เร็วและได้ผล
การพัฒนาเด็กในวัยนี้ คือการปลูกฝังนิสัยที่ดีงามต่างๆ และแก้ไขนิสัยที่ไม่ดี เด็กวัยนี้รักที่จะเรียนรู้และทดลองลงมือทำ อีกทั้งยังมีความยึดมั่นในพ่อแม่อยู่ ดังนั้นจึงเหมาะที่สอนให้เด็กรับผิดชอบหน้าที่บางอย่าง ในครอบครัว เช่น ช่วยรดนำ้ต้นไม้ ช่วยหยิบไม้หนีบผ้าตอนที่แม่ตากผ้า เก็บของเล่น ช่วยขัดพื้นเล็กๆน้อยๆ กล่าวคือหากพ่อแม่ทำงานอะไร ก็สามารถมอบหมายหน้าที่เล็กๆน้อยให้ลูกช่วยได้ เพราะเขาอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมของพ่อและแม่ และทำให้เขาได้เรียนรู้การงานจากการปฎิบัติจริง แม้การที่ให้เด็กลองทำ อาจจะทำให้งานล่าช้า หรือ เสี่ยงสกปรก เสียเวลา แต่ก็คุ้มค่าที่จะฝึกนิสัยรับผิดชอบและทักษะอื่นๆให้เด็ก เมื่อเขาเติบโตขึ้น ก็สามารถรับผิดชอบหน้าที่ ช่วยตัวเองและข่วยครอบครัวได้
เมื่อถึงวัยนี้ พ่อและแม่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับลูก หากเราต้องการปลูกฝังลูกในเรื่องใด เราต้องทำเป็นตัวอย่าง และเป็นเพื่อนทำไปกับลูก เช่น อยากให้ลูกเก่งกีฬา เราก็ต้องเล่นกับลูก เล่นเป็นเื่พื่อนลูกเป็นประจำ จะำทำให้เขารู้สึกอบอุ่นและรู้สึกดีกับกิจกรรมนั้น และชอบกิจกรรมนั้นๆ เมื่อทำได้คล่องแคล่วขึ้น หรืออยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ หรือคณิต ก็ต้องชวนลูกเล่น และทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งนั้น เพื่อปลูกฝังความทรงจำและทัศนคติต่อวิชานั้นๆ หากพ่อแม่ไม่เล่น ไม่ทำ ก็ยากที่จะเชิญชวนให้ลูกชอบ ต่อให้ส่งไปเรียน ก็อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ในการปลูกฝังความชอบในวิชาต่างๆ เราสามารถเริ่มต้นในวัยนี้ แม้เด็กจะยังไม่รู้จัก ABC ไม่รู้จักการบวกลบคูณหาร แต่ก็สามารถสอนเด็กทางอ้อมผ่านการเล่น ัเด็กเล็กๆแม้อ่านหนังสือไม่เป็น ไม่รู้จักตัวอักษร แต่เขาจะมองตัวอักษร ตัวเลข เหมือนดูรูป คือดูเป็นสัญญลักษณ์ ซึ่งเราสามารถสอนเด็กอ่านหนังสือได้ แม้เด็กจะไม่รู้จักอักษร
มีเทคนิคของการเรียนการสอนแบบ มอนเตสเซอรี่ ที่แนะนำให้สอนเด็กอ่าน แบบใหม่ กล่าวคือ เมื่อเราสอนเด็กกิน เราก็เขียนอักษร "กิน" และบอกเด็ก "กิน" เด็กเห็นตัวอักษร ได้ยินคำว่ากิน และได้กิน ก็จะเกิดการจำได้
เมื่อพูดคำว่า ข้าว ก็แสดงอักษรคำว่า "ข้าว" และได้กินข้าว เห็นข้าว สัมผัสข้าว ก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ รู้จักข้าว และจำตัวอักษรได้
การสอนอ่านและพูด สามารถใช้วิธีนี่ควบคู่ไปด้วย และสามารถสอนได้ตั้งแต่ทารกเลยค่ะ แต่จะได้ผลดีเมื่อเด็กอยู่ในวัย 8 เดือนขึ้นไป
ในการสอนคณิต บวกและลบ เราก็สามารถสอนเด็กให้เข้าใจผ่านการเล่น
วันก่อนดิฉันได้เล่นระบายสีกับน้องแชง เมื่อระบายเสร็จ น้องแชง ไม่ยอมเก็บสี ปล่อยให้กองไว้ ดิฉันจึงชวนเล่น ด้วยการ
วางสีแท่งแรก เราบอกว่า "นี่คือ หนึ่ง"
เอาแท่งที่สองมาวางดวยกัน้ เราบอกว่า "แม่เอามาอีกอันหนึ่ง มาวางด้วยกัน นี่เป็น สอง"
เอาแท่งที่สามมาวางด้วยกัน "แล้วบอกว่า มาอีกอันหนึ่ง นี่คือสาม"
สอนไปเรื่อยๆ แค่ 5 แท่ง ตามคำแนะนำของแม่ภุชงค์ เพื่อนในเวบ
หลังจากนั้นก็ชวนเขามาเล่นใหม่ และถามเขาทีละอัน เล่นไปสักพัก เขาก็จะพอจำได้และเข้าใจเรื่องการบวก และตอบได้
ตอนสอนเรื่องลบก็ใช้แบบเดียวกัน แต่เอาออกทีละหนึ่ง เขาก็จะเริ่มมีความคิดและเข้าใจเรืื่องการบวก และลบ
เราต้องเล่นคล้ายๆแบบนี้ทุกวัน วันละ 5-15 นาที ก็จะช่วยให้เด็ก เกิดความเข้าใจการบวกลบได้ จากการเห็น และสัมผัสของจริง
อีกกิจกรรมหนึ่งที่ดิฉันเองพยายามเล่นกับลูก คือการจับคู่ค่ะ จับคู่ตัวเลข จับคู่ตัวอักษร โดยเริ่มจากการทำตาราง 1-10 และ หากระดุมใหญ่ๆ ติดเลข 1-10 แล้วให้ลูกหากระดุมที่มีตัวเลข ไปวางให้ตัวเลขตรงกัน
และทำตาราง A-Z และให้ลูกตัวอักษรบนกระดุม แล้วเอาไปวางบนกระดาน พร้อมทั้งอ่านไปด้วย แรกๆลูกก็ทำไม่ได้นะคะ ทำไปเรื่อยๆก็จะเร็วขึ้น และถูกต้องขึ้น และลูกจะมีวิธีจำ จำตำแหน่งของช่อง จำลักษณะของตัวอักษรแต่ละตัว ว่าต่างกันอย่างไร เช่น
M หยักๆ หัวทิ่ม
W หยักๆ หัวตั้ง เป็นต้น
ดิฉันสังเกตว่าลูกจะมองตัวอักษร เหมือนสัญญลักษณ์ หรือ รูปภาพ เขาจะมีวิธีจำ วิธีเข้าใจในแบบของเขาเอง
วันนี้ดิฉันก็ได้เทคหนิคใหม่ คือ ให้เขาวางการ์ดอักษร อย่างกระจัดกระจายบนพื้น และให้เขาหาอักษรที่ดิฉันบอก แล้วเอาไปสอนให้น้องชายอ่าน เขาต้องหาให้เจอ และนำไปแสดงและอ่านให้น้องชายฟังค่ะ เป็นการสอนน้องไปด้วย ดิฉันก็สบายไป
ลืมให้เครดิต ขอบคุณคนสอนเทคนิคดีๆเหล่านี้ คือ พ่อธีร์ และขอบคุณคุณภุชงค์ที่เป็นจุดยืนและให้คำแนะนำในการนำไปใช้กับน้องแชง
เอามาเผยแพร่ต่อไปให้เพืือนรุ่นหลังซะเลย
ติดตามอ่านเรื่องราวของมน.แชงมาเรื่อย ๆ เท่าที่มีโอกาส ดีใจมากๆเลยค่ะ ที่มีคนเสียสละหาข้อมูล ความรู้ดี ๆ มาฝากกัน และได้ข้อมูลไปใช้กับลูกอายุ 3 ปี เท่าที่ทำได้
ตอนนี้ยังหาเพลงของ teacher อะไรประมาณนี้ยังไม่ได้เลยค่ะ จะแวะมาบ่อย ๆ นะค่ะ
มาถึงวันนี้ น้องแชงอายุ 2 ปี 9 เดือนแล้ว เรียนชั้นอนุบาล 1 เทอม 1 ของโรงเรียนอินเตอร์ที่เวียดนาม พัฒนาการของลูกตอนนี้ ก็ไปได้ดีทีเดียว ลูกสามารถจำตัวอักษร A-Z ได้หมด แม้จะวางกลับหัว กลับหาง สลับอย่างไรก็อ่านได้ ออกเสียงโฟนิค ได้ถูกต้อง จำตัวเลข และจำนวนนับ 1-10 ได้ดี แต่กำลังฝึกถึงจำนวน 20 ค่ะ เรื่องรูปทรง สีต่างๆ และเรื่องสัตว์ ข้าวของเครื่องใช้ ก็จะสอนในเชิงลึกขึ้นด้วย
ที่โรงเรียนยังไม่เน้นการเขียน เพราะเกรงว่าจะเบื่อตอนอ.2 จึงให้เน้นงานศิลปะ ขับร้อง และเรื่องชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตกับเพื่อน การช่วยตัวเอง ระเบียบวินัย การแบ่งปัน การรับผิดชอบแบ่งงานกัน และมีการให้เริ่มเรียนคอมพิวเตอร์ ฝึกโฟนิก แต่เพิ่งฝึกค่ะ ลูกก็ยังใช้คอมไม่เป็น
เพื่อนๆที่ยังไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียน ก็สามารถใช้เป็นแนวในการพัฒนาฝึกลูกได้นะคะ
แสดงความคิดเห็น