วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือเทอมละ 40 เล่ม ลูกก็ทำได้ (2)

ปัญหาในการศึกษาของเกาหลี VS ปัญหาการศึกษาของไทย

เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้ มีหลายๆตอนที่ผู้เขียนพูดถึง ปัญหาของเด็กในการศึกษาของเกาหลี ตอนที่อ่าน ดิฉันแทบจะนึกว่า มันเป็นประเทศไทย ในปัจจุบัน ปัญหาดูคล้ายคลึงกันมาก
หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย ดร.นัม มียอง ซึ่งท่านมีตำแหน่งเป็นถึง ผู้อำนวยการองค์กรพัฒนาการศึกษา ด้านการอ่านแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ท่านได้พูดถึงวงการการศึกษาของเกาหลีว่า


มี การสำรวจขององค์การพัฒนาการศึกษาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KEDI) ได้สำรวจสถานการณ์ การเรียนกวดวิชา ของนักเรียนทั่วประเทศจำนวน 5,000 คน และพ่อแม่ผู้ปกครอง 3,500 คน ระหว่างปี คศ. 1999-2001 สรุปได้ว่า ปัจจัยที่ทำให้การเรียนในโรงเรียนลดความสำคัญลงคือ การเรียนกวดวิชาในโรงเรียนสอนพิเศษนั่นเอง เพราะนอกจากโรงเรียนกวดวิชาจะสอนเนื้อหาที่เป็นภาคปฎิบัติแล้ว ยังแนะแนวและเฉลยคำตอบของข้อสอบให้ด้วย ซึ่งการเรียนในโรงเรียนปกติ ไม่สามารถทำหน้าที่นี้ให้สมบูรณ์ได้

ผลการวิจัยขององค์กรพัฒนาด้านการศึกษาด้านการอ่านแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KREDI) แสดงให้เห็นว่า ความทุกข์ของเด็กนักเรียนเกาหลี มีสาเหตุดังนี้

- ไม่มีโปรแกรมให้เตรียมตัวก่อนเข้าบทเรียน
- ครูกับนักเรียน และนักเรียนด้วยกันเอง พูดกันไม่รู้เรื่อง (เพราะปัญหาเรื่องทักษะการสื่อสารที่ด้อยลง ที่จะพูดถึงต่อไปในตอนหน้า)
- การเรียนการสอนดำเนินไป โดยไม่มีโปรแกรมที่ช่วยยกระดับความสามารถในการเรียนของนักเรียนที่เรียนอ่อน
- เคยเรียนกวดวิชาในเรื่องนั้นมาก่อน ทำให้การเรียนในโรงเรียนปกติลดความสำคัญลง
- ไม่มีโปรแกรมการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ไม่มีโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถเฉพาะตัว
- เพื่อนกลายเป็นคู่แข่งกันเอง (เพราะการแข่งขัน แย่งที่เรียนกัน ทำให้มองเพื่อนทุกคนคือ ศัตรู)
- ครูขาดความมั่นใจในตนเอง (เพราะนักเรียนไม่สนใจครูที่สอนในโรงเรียน ไม่สนใจการเรียนในโรงเรียน)
ดร.นัม มิยอง ผู้เขียน ได้กล่าวว่า การเรียนด้วยความเครียดเช่นนี้ ทำให้เด็กๆไม่มีความสุข และไม่มีเพื่อน จึงไปหาทางออกด้วยการคิดเกม เล่นเนต อ่านการ์ตูน หรือ ไม่ก็ฟังเพลง ศึ่งทำให้สมองส่วนที่ได้รับการกระตุ้น มีเพียงสมองซีกขวา ซึ่งเป็นสมองที่รับรู้เกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ การรับรู้สัมผัส จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่สมองซีกซ้ายซึ่งเป็นสมองด้านภาษา และการใช้เหตุผล ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

เด็กๆในยุคนี้ จึงมีปัญหาเรื่องทักษะการสื่อสาร พูดคุยไม่เป็น อารมณ์รุนแรง และไม่มีทักษะที่สำคัญของการเป็นผู้นำ คือ ไม่มีทักษะการโน้มน้าว ไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ เพราะมองเห็นเพื่อนๆเป็นศัตรูไปหมด การแข่งขันในการเรียนที่ผ่านมา ทำให้เด็กๆไม่มีความไว้วางใจใคร เมื่อออกมาทำงานจึงมีปัญหาในการทำงานร่วมกับทีมงาน มัปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์
ในหนังสือ 10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า สร้างลูกรักการอ่าน ยังเล่าถึงความเห็นของครูโรงเรียนประถมท่านหนึ่ง ว่า เด็กนักเรียนสมัยนี้ไม่ค่อยฟังคนอื่นพูด เด็กส่วนใหญ่ชอบพูดในสิ่งที่ตนอยากพูดอย่างเดียว ครูถามก็ไม่ตอบ เสียงพูดก็เบาลง ไม่ชัดถ้อยชัดคำเหมือนแต่ก่อน และพูดไม่เป็นเวลามีคนถาม จึงเงอะงะเวลาคุยกับคนอื่น เมื่อคุณครูวิเคราะห์ดู ก็มาจากการเลี้ยงดู ที่บ้าน เด็กๆไม่ค่อยมีโอกาสสนทนา ทักทาย พูดคุยกับคนในครอบครัวมากนัก เด็กๆอาจจะไม่มีพี่น้อง พ่อแม่ก็ทำงานหนัก กลับดึก เด็กๆก็ต้องเรียนและไปเรียนพิเศษทั้งวันทั้งคืน ไม่มีโอกาสเล่นกับเพื่อนๆในวัยเดียวกัน และพักผ่อนด้วยการเล่นเกม เล่นเนต ซึ่งยิ่งทำให้การพัฒนาด้านภาษาเป็นไปได้ยาก สมองส่วนนั้น ไม่ได้รับการพัฒนาตามวัย

วัฒนธรรม การเรียนกวดวิชาทั้งหลาย ความคิดที่อยากให้ลูกของตนได้ดีอยู่คนเดียว ไม่มีทางเป็นจริงได้ เพราะเด็กๆไม่อาจเก่งได้อยู่คนเดียว ใช้ชีวิตตามลำพังไม่ได้ พวกเขาต้องมีเพื่อนที่มีความสุข อยู่ในสังคมที่มีความสุข เด็กๆไม่มีทางจะมีความสุขอยู่คนเดียว ในขณะที่เพื่อนๆมีความทุกข์


หากมาดูสังคมการเรียนของเกาหลีในตอนนี้ ดูเหมือนจะไม่ต่างกับในกรุงเทพ และเมืองใหญ่ๆสักเท่าไหร่ เด็กๆชาวเกาหลี ต้องใช้ชม.ในการเรียนในโรงเรียน และกวดวิชาไม่ใช่น้อยๆ เด็กๆต่างก็ไม่มีความสุข ท่านเล่าว่า เด็กชั้นประถมเป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่คอยทำตามความต้องการของพ่อแม่ ส่วนเด็กๆมัธยมก็เหมือนเครื่องจักรที่ถูกไขลานให้คร่ำเคร่งอยู่กับการเรียน ดิฉันเอง ก็เคยคุยกับคุณแม่ชาวเกาหลี ซึ่งถือว่าเป็นเพื่อนสนิทของดิฉันที่ฮานอย เธอเล่าว่า ชิวิตที่สนุกที่สุดในชีวิตคือการเรียนในมหาวิทยาลัย คือ ไม่มีใครบังคับให้มาเรียน เด็กผู้ชายก็จะพากินติดเหล้า สูบบุหรี่ และใช้ชีวิตสนุกสุดเหวี่ยง ไม่ค่อยเรียนหนังสือ หลังจากสามารถผ่านเข้ารั้วมหาวิทยาลัยได้แล้ว และเมื่อเรียนจบออกมาก็มีความเครียดสูงอีกครั้ง เพราะหางานยาก และมีความกดดันในการทำงานสูงมาก

ไม่มีความคิดเห็น: