ในอุทยานร. ๒ นี้ ยังมีอีกเรือนหนึ่งที่เป็นพิพิธภัณฑ์ เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย ซึ่งเราสามารถชมได้ตามสบาย แต่ห้่่ามถ่ายรูป เนื่องจาก ทางพิพิธภัณฑ์ เกรงว่าจะเป็นภาพที่ทำให้ผู้ที่สะสมของเก่า จะ "สั่งออร์เดอร์" ซึ่งอาจทำให้เกิดการโจรกรรมได้ ดังนั้น ดิฉันจึงไม่สามารถถ่ายภาพจริงๆมาให้ชมได้ ได้แต่เล่า เรื่องราว ที่เพื่อนๆสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมพร้อมในการสอนลูกไป เที่ยวไปได้
ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะแสดงเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญ เช่น ซอสามสายที่ทำเลียนแบบ “ซอสายฟ้าฟาด” ซึ่งเป็น ซอสามสายคู่พระทัยของรัชกาลที่ 2 ที่เป็นต้นกำเนิดเพลง “บุหลันลอยเลื่อน” เพลงนี้มีต้นกำเนิดจากพระสุบินของพระองค์เอง (โดยเล่ากันว่า หลังจากพระองค์ได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวงสวรรค์ ณ ที่นั้น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นจากบรรทมก็ยังทรงจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงาน ดนตรี มาแต่งเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแผ่ ซึ่งเคย ใช้ เพลงทรงพระสุบินนี้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกด้วย) และตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นซอที่มีความสวยงามและมีเสียงไพเราะ ถึงกับเป็นต้นแบบซอสามสายในปัจจุบัน
ซอสายฟ้าฟาด อันเลื่องชื่อ ที่สูญหายไปตั้งแต่ครั้งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซอองค์ใหม่นี้ เป็นของพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เป็นซอที่แกะสลักจากช้างงดงามมากค่ะ และในพิพิธภัณฑ์ ยังแสดงเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ของจริงๆ เพื่อให้เด็กๆได้มีโอกาสรู้จัก เช่น ซออู้ ซอด้วง ฆ้องวง ระนาดเอก กลอง จะเข้
หากลูกเป็นเด็กโต ก็อาจจะสอนให้รู้จัก วงมโหรี วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ หรือแยกประเภทเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า ได้อีกค่ะ สอนเพิ่มขึ้นตามวัยของลูก และลองดูหลักสูตรการศึกษาของเด็ก ที่แยกว่า เด็กในแต่ละชั้นปี ควรเรียนรู้มากเพียงใด ดิฉันจำได้ว่าตอนชั้นมัธยมปีที่ ๔ ต้องเรียนและำรายงานเรื่องประวัตินักประพันธ์เอก เช่น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ และต้องทำรายงานเืรื่อง เพลงไทยเดิมประเภทต่างๆ ที่นี่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้แรงบันดาลใจในการค้นคว้าศึกษามากเลยค่ะ
|
ซออู้ |
|
ซอด้วง |
|
ซอสามสาย |
|
จะเข้ |
|
ฆ้องวง |
|
ระนาดเอก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น