วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

เรื่องของเทคนิคการเรียนเก่ง (7)

ตอนนี้ยังเป็นเรื่อง การสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลในหนังสือเรื่อง กำลังความคิด อยู่ค่ะ

15 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องการตัดสินใจนี้ หลวงวิจิตรฯ ท่านว่า มีความสำคัญสองประการ คือ

- การไม่ตัดสินใจ คือ ความลังเลสงสัย เป็นเครื่องกั้นความเจริญตามหลักพระพุทธศาสนา อยู่ใน นิวรณ์ 5 การไม่ตัดสินใจ ลังเล ทำให้คนหลายๆคน ตลอดชีวิตไม่กล้าทำอะไรที่เป็นประโยชน์เลย

- การตัดสินใจผิด ทำให้การกระทำผิดไปด้วย เป็นการทำให้ชีวิตพินาจไปได้

สรุปคืก

อ้างอิงจาก:
การไม่ตัดสินใจ คือ ความล้มเหลว การตัดสินใจผิด คือเป็นการล้มละลาย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

การแก้ไขฝึกฝนเรื่องการตัดสินใจนี้ หลวงวิจิตรท่านแนะนำไว้ว่า ทำได้โดยการ หัดตัวเองให้กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ ไม่ลังเล เมื่อวิเคราะห์ถี่ถ้วย และ คิดรอบคอบทุกแง่มุม แล้วก็ตัดสินใจ

เรื่องการตัดสินใจถูกต้องนั้น อาจจะฝึกยากหน่อย ต้องฝึกฝนเรื่องเหตุและผล คิดลึก ฝึกไหวพริบปฎิภาณ ตามที่เล่าไปแล้ว เมื่อคิดแล้ว ก็จะพอเห็นหนทางว่า ควรตัดสินใจอย่างไร

พระพุทธเจ้าเคยตรัสสอนไว้ ว่า หากคิดแล้ว ไตรตรองแล้ว อยู่บนทางสองแพร่ง ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ท่านให้ เลือกตัดสินใจทางที่ ทำแล้ว จะไม่เสียใจภายหลัง ถ้าเกิดผิดพลาด หรือล้มเหลว

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมากๆ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ดิฉันเจอคนหลายคน ที่หมดเนื้อหมดตัว จากการตัดสินใจลงทุน หรือ เสี่ยงทำอะไร มีคนบางคน ก็ผิดหวังจนสิ้นคิด เพราะทุ่มเทแรงกายแรงใจ ความรัก ในการตัดสินใจมีครอบครัว แล้วเกิดความผิดพลาด เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ คนเหล่านี้ มักจะมาเสียใจภายหลังที่ตัดสินใจผิด

ประเด็นคือ เมื่อก่อนที่เขาตัดสินใจ เขาก็อยู่ทางสองแพร่ง ที่จะเลือกว่า จะำทำหรือไม่ทำ หากเขาใช้หลักที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ คงไม่มีบาดเจ็บหนักจากการตัดสินใจผิดพลาด และหากเขาใช้สติ วิเคราะห์ เหตุและผล ไตร่ตรองข้อดี ข้อเสีย มองการณ์ใกล้ การณ์ไกล เขาใช้แต่อารมณ์ ก็จะคาดคะเนผลผิดพลาด และนำพาสู่การตัดสินใจที่ผิดในที่สุด

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

มีอีกประเด็นหนึ่งที่หลวงวิตรฯ ท่านได้พูดในบทนี้ น่าสนใจดี คือเรื่องวิธีค้นหาความจริง กล่าวคือ การตัดสินใจที่ถูกต้อง ต้องมาจากการที่เรารู้ว่า ความจริงของปัญหา ของเรื่องราวคืออะไร เมื่อเรารู้ความจริง เราก็จะหาทางออกได้ และตัดสินใจได้ถูกต้อง

แต่เนื่องจากการค้นหาความจริงเป็นเรื่องยาก และยิ่งสมัยนี้ มีข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือเต็มไปหมด แต่ขัดแย้งกันไปหมด จริงเป็นเท็จ เท็จเป็นจริง คนทำผิด ทำไม่เหมาะสม กลับได้รับความสนใจ ได้รับการยกย่อง เหนือคนที่ทำถูกต้อง ผู้ร้ายกลับตัว กลายเป็นคนสำคัญมีค่าของสังคม ในขณะที่คนที่ระมัดระวัง ทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีงาม กลับกลายเป็นคนธรรมดา ไม่น่าสนใจ ไม่ให้ความสำคัญ แปลกแต่จริง!

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

วิธีการค้นหาความจริงที่ หลวงวิจิตรฯ ค้นคว้ามาได้ มีหลัก 3 ประการกล่าวคือ

- ให้เปิดหัวใจเราไว้กว้าง ที่จะรับความจริง อย่าทำตัวใจแคบ ยึดมั่นถือมั่นในความคิด ความเชื่อของตัวเอง ไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น ใครเห็นไม่ตรงกับตัวก็ไม่พอใจ คิดว่าตัวเองเก่งทุกอย่าง รู้ทุกเรื่อง ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว คนลักษณะนี้ดูง่ายค่ะ คนที่ชอบตำหนิเรื่องนั้น เรื่องนี้ตลอด คนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่เก่ง ระบบแบบนี้ไม่ดี คนที่สมบูรณ์แบบมักจะเป็นแบบนี้ คนที่ทะนงตัวว่า ตัวเองมีดีก็จะเป็นแบบนี้ เช่นตัวดิฉันเองนี่ เวลาไร้สติ เป็นจริตเดิม ก็เป็นคนแบบนี้เหมือนกัน ว่าคนอื่นโง่ งี่เง่า คิดได้ไงแบบนี้ แต่ที่แท้ ดิฉันโง่กว่าอีก

ดิฉันเพิ่งมาเจอจุดอ่อนตัวเองไม่กี่ปีนี้เอง ตอนเห็นตัวเองนี่อายมากเลย Embarassed แต่ตอนนี้มีสติมากขึ้น ทำให้เข้มแข็งใจกว้่างมากขึ้น สามารถควบคุมการกระทำของตัวเองได้ ว่าเมื่อไหร่จะลุย เมือ่ไหร่จะถอย เพื่ออะไร เมื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ รู้สึกว่า การวิเคราะห์ข้อมูล การเห็นภาพต่างๆชัดเจน และแม่นยำขึ้นมาก

- อย่าปล่อยให้ผลประโยชน์ หรือ ความได้เสียส่วนตัวเป็นเหตุให้เอนเอียง ในการตัดสิยใจวินิจฉัยความจริง ในเรื่องนี้ ไม่ใช่แต่ในเรื่องเงิน หรือวัตถุอย่างเดียว แต่หมายถึงการเสียหน้า อีโก้ต่างๆด้วย คนบางคนได้ทำผิดพลาดไปแล้ว แต่เมื่อไ้ดรับรู้ความจริง ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นไม่ถูกต้อง หรือ มีความเสียหาย เพราะเข้าใจความจริงไม่ถูก ก็ไม่กล้ายอมรับ เพราะเกรงคนอื่นจะดูถูกว่า ทำผิด ซึ่งคนลักษณะนี้ก็ดูไม่ยาก เพราะจะเถียงตลอด แก้ตัวตลอด เพื่อปกป้องความคิด และมุมมองของตน ไม่ยอมรับเหตุผล หรือ ความจริงที่ปรากฎ


หากเป็นแบบนี้ก็มีวิธีแก้ไม่ยาก ก็แค่ปล่อยวางมุมมอง และยอมรับว่า คนเราไม่สมบูรณ์แบบ เราสามารถทำผิด คิดผิดได้เช่นกัน เพราะข้อมูลไม่ครบ เป็นธรรมดา ไม่ต้องคิดเชื่อมโยงว่า คิดผิดทำผิด แปลว่า เราไม่เก่ง ไม่ดี ล้มเหลว มันเป็นคนละเรื่องกัน ไม่ใช่เรื่องจริง


- ฝึกฝนนิสัยให้เป็นคนปรารถนาที่จะค้นหาความจริงอยู่เสมอ หากมีนิสัยแบบนี้ จิตใจก็จะกว้างขวาง สนใจใผ่รู้ ทำตัวไม่เป็นนำ้เต็มแก้ว คำแนะนำ ความเห็น ข้อมูลของผู้อื่นๆ ล้วนมีประโยชน์ที่เราจะนำมาประกอบในการพิจารณาหาความจริงเสมอ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

รื่องต่อมาที่หนังสือกำลังความคิด ได้บอกไว้ว่า ควรฝึกฝน เพื่อเพิ่มกำลังความคิด คือ ลักษณะของศิลปิน กล่าวคือ สามารถเลียนแบบท่าทาง คำพูด การกระทำ ของคนอื่นได้เหมือน สมบทบาท จะเป็นเช่นนี้ได้ คือต้องรู้จักฝึกสังเกตรายละเอียด บุคลืกการเดิน ท่าทาง คำพูดจา ความคิด และแสดงออกให้เหมือน หรือ แม้แต่การฝึกเต้นรำ ฟ้อนรำให้งดงามอ่อนช้อย หรือ การฝึกวาดภาพให้มีองค์ประกอบสมดุล การระบายสีให้งดงาม

การฝึกลักษณะของศิลปิน ยังมีอีกเช่น การคิดสร้างสรรค์ผลงานจากเศษวัสดุ ทำของสวยงามมีประโยชน์ หรือ การทำอาหารที่อร่อยประหยัดและสร้างสรรค์ หรือ การฝึกรสนิยม เช่นเสื้อผ้า การแต่งตัว หรือ งานศิลปะต่างๆ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

การฝึกมโนคติ ก็สามารถช่วยเสริมสร้างกำลังความคิดได้ การฝึกมโนคติ ดิฉันเรียนว่าฝันกลางวัน มโนคติเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆในโลกนี้ การที่สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ความเจริญทางวิวัฒนาการ เิกิดขึ้นไ้ด้ เพราะการที่ผู้ประดิษฐ์ มีมโนคติ

การฝึกมโนคติยังมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น

- ทำให้ตัวผู้ฝึกเองมีความสุขได้ หากคิดดี คิดในสิ่งที่สวยงานรื่นรมย์ ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องหา คิดเองจินตนาการเอง ก็สุขได้

- ไม่ต้องเสียเงิืน เสียแรงมากเกินไป เช่น ก่อนจะลงมือทำอะไร ลองใช้มโนคติ จินตนาการดู หากทำแบบนี้ จะเป็นอย่างไร หากเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร แล้วเลือกลงมือทำ สิ่งที่ดีที่สุด

- ทำให้มีสายตายาวไกล เห็นการณ์ไกล เพราะต้องจินตนาการผลที่จะเกิดขึ้น หากตัดสินใจในแบบต่างๆ

- สร้่างนิสัยการวางแผนล่วงหน้า ไม่ปล่อยให้ชีวิตไปตามบุญตามกรรม เพราะคนที่ฝึกจินตนาการ ฝึกคิดบ่อยๆ มักจะวางแผน คาดการณ์เก่งไปด้วย

- ทำให้ชำนาญชำ่ชองในงานศิลปะได้ คนที่จะเขียนเก่ง พูดเก่งวาดเก่ง ต้องมีการคิด การจินตนาการล่วงหน้าก่อนลงมือทำ หากไม่คิดล่วงหน้า งานทีออกมาจะเปะปะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อีกทักษะหนึ่งที่แสดงถึง กำลังความคิด คือเรื่องความจำ คนที่มีความจำดี ก็ถือว่า เป็นคนที่มีกำลังความคิด ดีเช่นกัน ในหนังสือกำลังความคิด ของ หลวงวิจิตรวาทการ ได้บอกไว้ว่า

อ้างอิงจาก:
“ผู้ ที่สร้างอำนาจที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ตนเองได้ เช่น มุสโสลินี สามารถจดนำหน้าตา ชื่อเสียง และประวัติส่วนตัวของคน ได้เป็นจำนวนล้านด้วยการฝึกฝนตัวเองให้หัดจำเรื่อยไป พบใครเพียงครั้งเดียวก็พยายามจำ พยายามรู้เรื่องราว ความเป็นไปในส่วนตัวของเขา จำแล้วไม่ลืม”


ดิฉันอดนึกถึงเรื่องราวประวัติของผู้ประสบความสำเร็จจำนวนมาก ที่ดิฉันเคยอ่าน เช่น คุณเทียม โชควัฒนา คนใกล้ชิดท่าน เคยเล่าถึงท่านในหนังสือ เกี่ยวกับความสำเร็จของสหพัฒนพิบูลย์ และของ คุณเทียม ว่า คุณเทียม เป็นคนที่จดจำ พนักงานได้ทุกคน และทักทายได้ไม่พลาด ซึ่งทำให้ลูกน้องบริวาร คนใกล้ชิด มีความรู้สึกว่า ตนเองเป็นคนสำคัญ มีค่า มีเกียรติที่เจ้านายยังจดจำได้ แม้แต่เรื่องเล็กน้อย ทำให้ทุกคนทุ่มเททำงาน สร้างผลงาน จนนำพาบริษัท ยิ่งใหญ่จนถึงทุกวันนี้

เรื่องของการจดจำ สำหรับดิฉัน ซึ่งเป็นคนขี้ลืม ดิฉันได้เรียนรู้ว่า หากข้อมูลใด หรือ ใคร ที่ดิฉันเห็นความสำคัญ สนใจ ดิฉันจะจำได้แม่นยำ และมีความปรารถนาในการศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้ง แต่หากข้อมูลใด ที่ดิฉันไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้เกียรติ ไม่สนใจ ก็จะจำไม่ได้เลย ไม่คิดจะจำ เรื่องของความจำ จึงเป็นเรื่องของการให้เกียรติคน หรือ ข้อมูล เหมือนกัน อันนี้เป็นความคิดส่วนตัวนะคะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

การฝึกความจำ ที่ หลวงวิจิตรฯ ว่าไว้ในหนังสือ คือ

- หัดนิสัยเป็นคนสร้างมโนภาพเสมอ (เล่าไว้ก่อนหน้านี้แล้วค่ะ ไปอ่านได้)
- หัดนิสัยให้เป็นคนใจเย็น และรอบคอบ
- หัดนิสัยให้เป็นคนจดหมายเหตุ ภาษาปัจจุบัน เรียกว่า จนบันทึก หรือ จดไดอารี่

ในหนังสือมีรายละเอียดมากพอควร ใครสนใจไปหาอ่านได้

ใครที่สนใจ เรื่องนี้ ไปหาอ่านเทคนิคได้ ที่หนังสือ อดัม เล่มแรกที่เล่าไป และ หนังสือ ใช้หัวจำ ของ โทนี่ บูซาน นะคะ เทคนิคจะต่างกัน กับหลวงวิจิตร ฯ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อีกทักษะหนึ่ง ที่หลวงวิจิตร ฯ ท่านได้กล่าวไว้ คือ ความเฉียบแหลมคมคาย หมายถึง คำพูด คารมเฉียบแหลมคมคาย และเป็นเครื่องบันดาลความสำเร็จได้ การพูด ต้องพูดให้ถูกต้อง ถูกกาลเทศะด้วย ท่านได้กล่าวว่า คำพูดที่เฉียบแหลมคมคายนั้น จะมีลักษณะ 5 ประการ คือ

- คำที่จูงใจให้ผู้ฟังคิดต่อไป
- คำที่กลับกัน
- คำที่สกัดหน้าสกัดหลัง
- คำที่พันหลัก
- เรื่องที่ไม่นึกไม่หวัง

งงไม๊คะเนี่ย หากงง ก็คงไม่แปลก ดิฉันก็งงเหมือนกัน

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

รื่องของคำที่จูงใจให้ผู้ฟังคิดต่อไป มีตัวอย่างค่ะ เช่น

อ้างอิงจาก:
"แม้ทุกสิ่งทุกอย่างจะเสียไปแล้ว อนาคตก็ยังอยู่"
" กาลเวลาเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุด"
"ผู้เชี่ยวชาญนั้น คือ ผู้ที่รู้สึกว่าตัวรู้น้อยลงทุกที"

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เอามาฝากอีกสักสองเรื่อง ตลกดี

"การแต่งงานคือเรื่องนิยาย
ที่พระเอกตายตั้งแต่เริ่มแรก "

สุภาษิตฝรั่ง


"สตรีร้องไห้เมื่อวันก่อนแต่งงาน
บุรุษร้องไห้ภายหลังวันแต่งงาน"

สุภาษิตโปแลนด์

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องคำที่ทิ้งไว้ให้คนฟังคิด นี่ ก็คือ คำพูดที่ไม่ชัดแจ้งในตัวเอง ชวนให้คิดต่อไปว่า หมายความว่าอย่างไร และเมื่อไปลองคิดตามในความหมาย ก็เข้าใจได้ และเห็นจริง เราจะเห็นเรื่องแบบนี้ในสุภาษิตต่างๆ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ตัวอย่างของคำที่กลับกัน เช่น

"ต้องเป็นคนปากช้า ตาไว"
"ปกครองนรกดีกว่ารับใช้บนสวรรค์"

หรือ อีกอันที่ดิฉันชอบมาก เพราะสามีทำบ่อย

"ก่อนแต่งงานให้ลืมตาให้กว้าง
เมื่อแต่งงานแล้วให้หลับตาเสีย"

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ตัวอย่างของคำพูดที่สกัดหน้าสกัดหลัง คมคายคือ

"คนเขลา กลัวอันตรายก่อนที่จะมาถึง
คนขลาด กลัวเมื่ออันตรายเกิดขึ้น
แต่คนกล้า กลัวเมื่อภายหลัง"

หรือ

"การแต่งงานครั้งเดียว เป็นการทำหน้าที่
แต่งงานสองครั้งเป็นความโง่
แต่งงานสามครั้งเป็นความบ้า"