วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

เรื่องของเทคนิคการเรียนเก่ง (3)

ยังเป็นเรื่องเทคนิคการเรียนเก่ง ที่เขียนไว้ในกระทู้ ในห้องเรียนของลูกค่ะ

15 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ก่อนที่จะเขียนถึงประเด็นอื่นของอดัม คู อยากย้อนเขียนถึง Speed Reading สักหน่อย ในเวบบล็อคของพ่อธีร์ จะเน้นว่า เราต้องสอนลูกตั้งแต่เล็ก เรื่องการอ่านเร็ว Speed Reading ทำให้คนอ่านที่มีลูกโต อาจจะท้อถอยสักนิด คิดว่า ไม่มีความเป็นไปได้ ที่ลูกของเราจะสามารถปรับปรุงเทคนิคการอ่านให้เร็วขึ้น

ในหนังสือ Speed Reading หรือ ภาษาไทยคือ ใช้หัวอ่านเร็ว ที่เขียนโดย โทนี่ บูซาน ได้กล่าวไว้ว่า เทคนิคนี้สามารถพัฒนาการอ่านเฉลี่ยของคนทั่วไป จาก 200 คำต่อนาที เป็น 400 คำต่อนาที หรือเร็วขึ้นเป็นสองเท่า อย่างง่ายดาย และสามารถทำได้มากขึ้นเกินกว่า 400 คำต่อนาที เป็นเรื่องธรรมดามากๆ แค่ลองฝึกฝนตามแบบที่เขาแนะนำเท่านั้น เท่าที่ดู ก็คล้ายๆกับที่พ่อธีร์ แปะไว้ในเวบบล็อคค่ะ ใครสนใจก็ไปตามหาดู เพราะในหนังสือของเขา จะมีแบบฝึกหัด ให้ทำตาม และเราจะวัดผลได้ด้วย ลองทำตามไปเรื่อยๆ เราจะอ่านได้เร็วขึ้น และเข้าใจมากขึ้นด้วยค่ะ

เชื่อหรือไม่คะ ปัจจุบันคนที่อ่านเร็วที่สุดในโลก คือ อ่านได้ 3,850 คำต่อนาที และ 10 อันดับท็อป 10 เป็นคนอเมริกันและยุโรป เรื่องนี้มีนัยสำคัญ ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา มีเทคนิคการเรียนรู้ที่ไม่ธรรมดา มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ แทนที่จะเป็นการท่องจำ ทำให้คุณภาพของประชากรของเขา มีศักยภาพเหนือกว่าเรา แบบก้าวกระโดด เขาติดอาวุธทางปัญญา สร้างทัศนคติให้ประชาชนของเขา แบบติดพลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่บ้านเรายังใช้เครื่องจักรไอน้ำอยู่เลย หรือเปล่า?

สิ่งที่อยากเล่าคือ เทคโนโลยีของ Landmark Forum ที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่อดัม คูเขียน ซึ่งปฎิรูปความคิด และมุมมองของชีวิตนั้น เกิดขึ้นและอบรมต่อเนื่องยาวนานมากว่า 20 ปีที่สหรัฐอเมริกา และทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป แปลว่า แนวความคิด วิธีการเรียนรู้ นั้น ได้เปลี่ยนแปลงมานานแบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ในประเทศไทย เพิ่งเริ่มไม่กี่ปี และมีคนเรียน ไม่กี่หมื่นคน เพราะค่าใช้จ่ายสูง ช่องว่างระหว่างการศึกษา การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ของประเทศของเรา ก้าวห่างประเทศอื่น คู่แข่งมากแล้ว โดยที่เราไม่รู้ตัว

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

พูดถึงเรื่อง Mind Mapping ดิฉันคิดว่า คนเราแต่ละคนจะพัฒนาวิธีเขียนออกมาไม่เหมือนกันหรอกค่ะ แล้วแต่ความถนัด บางคนวาดรูป บางคนใช้เขียน บางคนทำสัญญลักษณ์ ด้วยวิธีการจำและเรียนรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

พ่อแม่บางคน วิตกจริต เอา Mind Mapping ของลูกที่ทบทวนบทเรียน ไปเทียบกับของเพื่อนลูก แล้วกังวลว่าใครถูกหรือผิด ซึ่งไม่ต้องวิตกขนาดนั้น ลองให้ลูกบรรยาย Mind Mapping ที่เขาวาดดูว่า สิ่งที่วาดนี้คืออะไร หมายถึงอะไร ก็จะรู้ว่าลูกเรียนเข้าใจครบถ้วนหรือไม่

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

จำได้ไม๊คะ ตอนต้นๆ ที่เราพูดถึง 3 ขั้นตอนของการเรียนรู้ ในขั้นตอนที่สอง คือการเดินทางสู่ความสำเร็จ ยังไม่จบนะคะ ประเด็นที่ดิฉันจะเล่าต่อไปนี้ คือประเด็นที่ว่า การกำจัดนิสัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ นิสัยที่ทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมาย ในที่นี้คือการเรียนเก่ง นิสัยเสียๆที่สำคัญ ที่เราต้องกำจัด คือ การผัดวันประกันพรุ่ง เรื่องนี้ ดิฉันอยากอธิบายในแบบที่ไม่เหมือน อดัม คู แต่ก็สรุปเหมือนกัน ว่า มันเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เราไม่ถึงเป้าหมาย

คนเรามักจะมีการวางแผนล่วงหน้าในชีวิต ว่า เรามีเป้าหมายในชีวิต เป็นอย่างไร ตอนเกษียณ อยากมีเงินเท่าไหร่ มีชีวิตอย่างไร ตอน 10 ปีจะเป็นอย่างไร อีก 20 ปีจะเป็นอย่างไร ทุกคนวาดฝัน วางแผนไว้ยาวไกล คนที่มีความรู้ มีวิสัยทัศน์ ก็จะกำหนดว่า อีก 5 ปี จะทำอะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 10 ปี ที่วางไว้ ต่อมา ก็วางแผน รายปี รายเดือน รายวัน ว่า เราจะตื่นกี่โมง จะนัดกับใคร ทำอะไร ทำงานภารกิจใด ในเวลาใด เผื่อให้ทุกอย่างลงตัว ตามแผนที่วาง เพื่อให้เป้าหมายเป็นจริง

หากใครมีตารางเวลา ตารางนัด อะไรแบบนี้ ลองไปย้อนดูสิคะ ว่า ในแต่ละวัน แต่ละวัน ที่ผ่านมา เราทำได้ตามตารางสักกี่ % ทำได้ทุกอย่างหรือไม่ หากคุณพบว่า คุณทำไม่ครบ พลาดตารางเป็นประจำ มันไม่แปลกหรอกค่ะ ใครๆก็เป็นแบบนี้กันทั้งนั้น อะไรที่วางแผนไว้มันไม่เป็นไปตามแผน มันมักจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเสมอ เช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม รถติด เพื่อนมาเยี่ยมโดยไม่คาดหวัง ป่วย ญาติป่วย ลูกน้องไม่มา สารพัด เราโทษว่า คนอื่น หรือความโชคร้าย ทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมาย เราไม่ต้องรับผิดชอบอะไรที่ทำให้ชีวิตของเรา ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หากลองย้อนไปดู ตารางเวลาที่ผิดพลาดมาตลอดในอดีต หากมันพลาดไปจากที่วางไว้สัก 30 % อะไรก็ตามที่เราวางแผนไว้ ว่าจะทำให้ได้ใน 10 ปี อาจจะต้องใช้เวลากว่า 13 ปี หรือ มากกว่านั้น ที่จะทำได้ตามเป้าหมาย หากเราวางไว้ว่า 20 ปี เราจะเป็นอะไร อาจจะต้องใช้เวลา กว่า 26 ปี ที่จะทำได้ตามฝัน

แต่หากเราเปลี่ยนแนวคิด ว่า เราคือคนที่ต้องรับผิดชอบต่อสถานการณ์ หรือ เหตุการณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรา ไม่ว่า ฝนจะตก น้ำจะท่วม เราก็ต้องทำให้ได้ ตามที่เราวางไว้ หากเพื่อนมาเยี่ยม ในตอนที่เราต้องทำงานให้เสร็จ ก็ต้องปล่อยวางการดูดี ด้วยการไล่เพื่อนอย่างสุภาพ ว่า เราไม่ว่าง มีงานต้องทำ ขอนัดวันอื่น หากลูกน้องป่วย หรือเกิดเหตุการณ์ใดๆ ก็ต้องมองหาทางอื่น หาวิธีอื่นที่จะแก้ไขปัญหา แม้จะยากลำบาก เหนื่อยกว่าเดิม ก็ต้องยอม ต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อให้ได้ ตามเป้าหมาย ไม่ใช่เจออุปสรรคก็ท้อถอย หรือผัดวันประกันพรุ่งไปวันอื่น เวลาอื่น

ในประเด็นนี้ อดัม คู มีเทคนิคและวิธีการกำจัดจุดอ่อนที่ต่างไปจากดิฉัน คือ

- สร้างข้อผูกมัดให้กับตัวเอง
- ประกาศข้อผูกพันนี้ให้รู้โดยทั่วกัน
- ทบทวนเป้าหมายเสมอ
- ให้รางวัลตัวเองเป็นระยะ
ซึ่งสำหรับขิงแก่ อย่างดิฉันจะไม่เวิร์ค เพราะดิฉันเป็นนักผัดวันรุ่นเก๋า ชอบให้รางวัลแก่ตัวเองเสมอ แม้ไม่มีผลงานใดๆ ดิฉันจึงต้องหาวิธีคิดแบบใหม่ ที่แทงใจคนฝันกลางอากาศแบบตัวเอง

ทุกวันนี้ ดิฉันก็ยังมีนิสัยเสียๆนี้อยู่ แต่ดิฉันสามารถเลือกได้ ว่า จะมีความสุขเล็กๆน้อยๆ แบบขมๆ ที่ได้ทำตามใจตัวเอง และรอรับผลกรรมที่จะเกืิดขึ้น หรือ ดิฉันจะเลือกที่จะลำบาก ยอมก้มหน้าผ่าความลำบาก เพื่อเป้าหมาย แต่อย่างน้อยดิฉันก็ได้เลือกเอง ว่าจะเลือกทำอะไร ไม่ต้องถูกชะตากรรมบังคับ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ประเด็นต่อมาที่อดัม คู พูดถึง คือสูตรสำเร็จ 3 สูตรสำหรับเด็กเรียนเก่ง

สูตร 1 คือ ทำโดยสมำ่เสมอ

- อ่านล่วงหน้าก่อนครูสอน
- ตั้งใจระหว่างเรียนและถามคำถาม ในที่นี้ ดิฉันสังเกตว่าเด็กจำนวนมาก ไม่กล้าถาม อายที่จะถาม กลัวครูโกรธ แล้วบ่นว่าครูสอนไม่รู้เรื่อง ครูอยากให้ไปเรียนพิเศษกับครู ความคิดแบบนี้ ไม่ Work หรอกค่ะ เพราะ เราเป็นนักเรียน เราจ่ายค่าเล่าเรียน และเราเรียนเพื่อรู้ ไม่ไใช่เพื่อจำ และเชื่อ ดังนั้น เราต้องเข้าใจ หากครูไม่ตอบ ก็ถามท่านว่าจะหาข้อมูลคำตอบได้จากแหล่งใด และเสาะหามาให้รู้
- ทำการบ้านให้เสร็จก่อนเข้าชั้นเรียน
- ทำความเข้าใจกับการบ้านข้อ ที่ผิดพลาด



สูตร 2 เรียนรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองแต่เนิ่นๆ

เรื่องนี้เคยพูดไปก่อนแล้วค่ะ

สูตร 3 ใช้ประโยชน์จากการสอบย่อย และงานที่ครูมอบหมายอย่างแต็มที่

- ทำข้อสอบให้เต็มฝีมือ
- ตรวจสอบและวิเคราะห์ผลสอบ และผลของการกระทำของคุณให้เต็มที่ เพื่อหาจุดอ่อน และปรับปรุงในครั้งต่อไป
- ลงมือลุยข้อผิดพลาด ต้องดูว่า เราผิดจากประมาทเลินเล่อ หรือ ไม่มีความสามารถเรื่องนั้นจริงๆ หรือ ไร้สมรรถนะอย่างไม่น่าให้อภัย เช่น ไม่ดูหนังสือ ไม่เตรียมพร้อม ขี้เกียจ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อีกประเด็นหนึ่งที่ดิฉันก็ไม่รู้จะเสียบไว้ตรงไหน เอามันตรงนี้แหละ คือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเล่าเรียน อดัม คู ได้บอกไว้ว่า มีผลวิจัยออกมาว่า เราไม่ควรอ่านหรือท่องหนังสือ หรือ ทำการบ้าน ติดต่อกันเกินสองชั่วโมง และสองชั่วโมงนี้ต้อง แตกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 25-30 นาที และแต่ละช่วงต้องมีเวลาพัก 2-5 นาที เพราะประสิทธิภาำพในการเรียนรู้จะลดลงมาก จนแทบจะเสียเวลาเปล่า

ในช่วงเวลาพัก ต้องออกกำลัง ยืดเส้นสาย ผ่อนคลาย จึงจะเริ่มช่วงต่อไป หลังจากครบสองชั่วโมง จึงต้องพักผ่อนอย่างน้อย 30 นาที ก่อนที่จะเริ่มทำการบ้านรอบใหม่

และหากยิ่งยัดเยียด หรือ อึดอัด เร่งอ่านตอนใกล้สอบ หรือ ทุ่มตัวท่องหนังสือ จะยิ่งทำให้ เรียนไม่รู้เรื่องและจำได้น้อย

กลยุทธ์ การเรียนที่เน้นมาก ก็คือการทบทวนภายใน 24 ชม.หลังการเรียน

ดิฉันมาลองพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กไทย จำนวนมากตอนนี้ ที่หลังเลิกเรียนต้องไปเรียนพิเศษ และ ทำกิจกรรมสารพัด มีเด็กสักกี่คน ที่สามารถทำไ้ด้แบบนี้ นอกจากเขาและครอบครัว จะปฎิรูปวิธีการเรียนอย่างจริงจัง

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ยังมีประเด็นอื่นที่ดืฉันจะไม่กล่าวถึง เพราะเป็นเรื่องที่เราก็รู้กันอยู่ เช่น การตั้งเป้าหมาย การทำตารางเวลาเรียน เวลาทบทวน และเตรียมตัวสอบ (ชนิดทำบนปฏิทิน)

จะมาบอกเรื่องวิธีการเผด็จศึก พิชิตข้อสอบดีกว่า ดูๆก็ไม่ลับหรอกค่ะ แต่เผื่อใครไม่รู้

- ให้ไปถึงก่อนเวลาสอบ ไปเช้าๆ จะได้ไม่รีบเร่ง เครียด สมองของเราทำงานดี จำได้ดี เวลาเราผ่อนคลาย เป็นคลื่นสมอง แอลฟา

- อย่าคุยกับเพื่อนๆเรื่องสอบ คุยเรื่องสบายๆ หรือมาติววิชากัน มันเครียด

- ดิฉันอยากเสริมว่า เตรียมอาวุธไปให้ครบ ปากกา ดินสอ ยางลบ บัตรสอบ และอื่นๆ

- พอไปสอบ กวาดตาอ่านข้อสอบทั้งหมดให้ครบรอบหนึ่งก่อน กวาดตานะคะ ไม่ใช่ค่อยๆอ่าน จะได้วางแผนว่าจะทำตรงไหนก่อนหลัง เหลือเวลาทำข้อยากไว้เท่าไหร่ดี

- อย่าลืมเผื่อเวลาตรวจทาน 15 นาที

- ลุยข้อง่ายก่อน ข้อยากไว้ทีหลัง

- อย่าติดลม เวลาเจอคำถามที่ทำได้ ไม่ต้องพยายามตอบเกิน เสียเวลาเปล่าๆ ตอบให้ตรงประเด็นและถูกๆก็พอ

- อย่ายอมแพ้ หากเจอข้อยากก่อน ก็อย่าเพื่งเสียกำลังใจ หรือถอดใจ ให้ปล่อยวาง และผ่านไปทำข้อง่ายก่อน

- อย่าส่งกระดาษเปล่า

- อ่านข้อสอบอย่างระมัดระวัง บรรจง และให้เข้าใจ จะมีหลุมพรางเช่น "ข้อใด ไม่ เป็นความจรืง หรือ ข้อใดเป็นความจริง เป็นต้น

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

การสรุป หนังสือ "เรียนเก่ง เรื่องกล้วยๆ " ของอดัม คู Version ของดิฉันก็จบลงด้วยประการฉนี้แล

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เท่าที่ดิฉันอ่านหนังสืออดัม คู ดิฉันคิดว่า คงใช้ได้ กับเด็กที่โตแล้ว เพราะเด็กโต มักจะมีความเป็นตัวของตัวเอง และเริ่ม ติดกับดักความ คิดของตัวเอง เริ่มที่จะเห็นว่า "ฉันไม่ใช่แบบนี้ ฉันเป็นแบบนั้น นี่ใช่เรา นี่ไม่ใช่เรา " การติดกับดัก ความคิดแบบนี้ ทำให้ เขาเริ่มเห็นว่า อะไรเป็นไปไม่ได้สำหรับเขา และหากเขาคิดว่า การเรียนเก่ง เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ เขาก็จะติดอยู่แบบนั้น จนกว่า เขาจะเห็นความหวังริบรี่ ที่โรงเรียนกวดวิชา แล้วเด็กๆและครอบครัว ก็จะไปโรงเรียนกวดวิชา หาครูติว เป็นทางรอดสุดท้าย ก่อนที่จะตกขบวนรถไฟ กลายเป็นเด็กสอบตก
ดังนั้น เทคโนโลยีนี้ น่าจะมีประโยชน์กับเด็กโต โดยเฉพาะวัยรุ่น วัยประถมปลายถึงมัธยม อาจจะพลิกวิธีกคิดและมุมมองให้เด็กได้

ส่วนเรื่องการเรียนเก่งของเด็กเล็ก สามารถศึกษาได้จะกระทู้รออนุบาลฯ ของพ่อธีร์ และ เวบบล็อคของดิฉันเอง ที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้พอสมควรทีเดียว ในการใช้ เล่นเรียนกับลูกๆ สำหรับเด็กประถม ก็ศึกษาได้จากกระทู้ประถมไม่สาย ของพ่อธีร์ และเวบบล็อคของท่านค่ะ แม้ท่านจะเขียนแบบกระโดดไปกระโดดมา แต่ก็เร้าใจดี ชวนให้คิดและค้นหา จะยกตัวอย่างที่ท่านเขียนไว้ในบล็อคว่า

อ้างอิงจาก:
ผมมักจะบอกหลายคนในวัยที่เลยอนุบาลแล้วขึ้น ป.1 แล้วว่า

สิ่งที่ต้องรีบเร่งที่จะทำมันมี 4 เรื่อง

1. รีบพัฒนาการอ่านของลูกให้ได้ โดยเร็วที่สุด อ่านได้ต้องอ่านรู้เรื่องด้วยนะ

2. พยายามให้เขาคิดในใจให้ได้ 3 หลัก ไม่ได้ 3 หลัก 2 หลักก็ยังดี โดยหัดผ่าน ตาราง 100 ช่องก็พอ

และ

3 รีบพัฒนาการวาดการ์ตูน เพื่อเขียน Mindmap

4 หัดลูกเล่นหมากกระดาน ไม่ว่าจะเป็น หมากฮอส โซโดกุ Amath โกะ หมากรุก เอามาซักอย่าง

4 ข้อนี้ พอครับ แน่นอน ผลมันไม่ได้เห็นเร็วนัก แต่มันจะเห็นในทุกทุกวิชา

สิ่งที่เราต้องสร้างคือ ทัศนคติต่อการเรียนรู้

แปลกไหมครับ พ่อแม่มักจะหาโรงเรียนดีที่สุด ที่ทำให้ลูกอยากไปโรงเรียนในวัยอนุบาล ดูกันไปถึง ห้องน้ำ ความปลอดภัย มีวงจรปิดให้ดูผ่าน อินเตอร์เนต

แต่พอ ป.1 หายหมดครับ เรื่องเหล่านี้ มัธยม ไม่ต้องพูดถึง ขอโรงเรียนดังๆก็พอ เหตุเพราะคิดว่า น่าจะเพิ่มโอกาศให้ลูกในอนาคต

ทัศนคติ ไม่ค่อยเสียหรอกครับ ตอน อนุบาล เพราะผมคิดว่า โรงเรียนอนุบาล ไม่ว่าจะแบบไหน ครูจะรักเด็ก ไม่ว่าจะเทอม ละ แสน หรือ เรียนฟรี

ทัศนคติ รักการเรียนรู้ นี่ ผมคิดว่ามันติดตัวเด็กทุกคนมาครับ และไม่ใช่หายไปง่ายๆ เด็กทุกคนมีความอยากรู้อยากเห็นหมด ถ้ามีสิ่งเร้าที่พอเหมาะ

ทัษนคติ จะเริ่มเสียไป ในวัยที่ เขาเริ่มรู้ว่าชอบ ไม่ชอบ หรือ เริ่มมีจริตเยอะ ยิ่งมีจริตเยอะ ยิ่งมีที่ชอบและไม่ชอบเยอะ จนกลายเป็นเลือกที่จะชอบ ยิ่งรู้เรื่องเยอะรู้มาก ก็ยิ่งเลือกมาก

ตอนไหนล่ะ ที่เราเรียกว่าลูกไม่ชอบ รร.

ตอนลูกร้องให้ ในตอน อ.1 เมื่อจากอ้อมอกของคุณ

ไม่น่าใช่

ตอนลูก อ.1 ทะเลาะกับเพื่อน ในห้อง ถูกตีมาจนหัวโน กลายเป็น คุณ กับ อีกครอบครัว ไปทะเลาะกัน ที่ รร แทนลูก แบบนี้ก็มีให้เห็นให้อ่าน

ก็ไม่น่าใช่ เพราะเด็กทะเลาะกันแปปเดียว

ตอนลูก อ.2 โดนครูดุ ตวาดเสียงดัง ลูกไม่ชอบครู และคุณ รู้นะว่าบางครั้ง ลูกก็ไม่ชอบคุณเหมือนกัน แต่แป๊ปเดียวก็หาย คุณก็ออกไปปกป้องลูกอีก

บางทีเรื่องนี้บางคนมักบอกว่า ไม่เจอกับตัวไม่รู้หรอก ผมก็มักบอกว่า มันไม่ได้เป็นเรื่องที่เจอง่ายนักหรอก ถ้าคุณยึดอุเบกขา และหิริโอตัปปะ

มันเพิ่มพูน จริต ให้กับลูก ในการเรียนนะ

แต่ส่วนใหญ่ ที่จะเจอ กันเลย ก็คือ ป.1 ตอนนี้ คุณเปลี่ยนบทบาทที่ไปจุ้นที่โรงเรียนไม่ได้แล้ว ก็เลยมาจี้กับลูกแทน กลายเป็น ยักษ์ทันที เป็นยักษ์ แบบที่เขาบอกกันว่า อนุบาลไม่ทำ มาทำ ตอนประถม

จริตที่เพิ่มขึ้น ของลูก ทำให้คุณไม่เท่าทัน ลูก ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่าไร ลูกก็สามารถหลอกคุณได้มากเท่านั้น ยิ่งลูกโตมากขึ้นเท่าไร ยิ่งมีเรื่องปิดบังคุณมากขึ้น

ประถมต้นนี่แหละครับ จุดเริ่มต้น ที่จะควบคุมจริต ในการเรียนรู้ และต้องไม่ให้ท้ายลูก

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องทักษะ ที่จะเสริมการเรียนเก่ง หากใครสนใจที่จะเพิ่มพูนและติดเทอร์โบ เรื่องการจำ ก็มีหนังสือ "ใช้หัวจำ" ของโทนี บูซาน ภาษาอังกฤษชื่อ Use your Memory ในหนังสือ จะจับมือสอน เรื่องการจำ สารพัดอย่าง น่าสนใจมากค่ะ ดิัฉันยังไม่ได้อ่าน และก็ไม่รู้จะย่อยอย่างไร มันเป็นเรื่องเทคนิค เอาไว้ศึกษาหมดแล้ว อาจจะมาเล่าทีหลัง แต่คงอีกนาน หลายปี ดิฉันไม่รีบ ลูกยังเล็ก

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

วันนี้ได้อ่านเวบบล็อคของพ่อธีร์ ท่านพูดถึงโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเอง ทำให้ดิฉันคิดถึงเทคนิคการเรียนเก่ง อีกประเด็นหนึ่ง อดัม คู ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ชัดนัก แต่เขาพูดรวมๆ อยู่ในการตั้งเป้าหมาย ดิฉันดูมันคล้ายๆกัน จึงเอามาฝาก

อ้างอิงจาก:
ป ร แ ก ร ม ก า ร ฝึ ก ทั ก ษ ะ ก า ร พู ด กั บ ต น เ อ ง (S e l f T a l k)

ทักษะการพูดกับตนเอง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ซึ่งในการฝึก จะต้องฝึกทีละขั้นตอน จนสามารถใช้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดีก่อน แล้วจึงนำทั้ง 3 ขั้นตอนมาฝึกรวมกัน ระยะเวลาในการฝึกขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละเด็ก การฝึกในช่วงแรกอาจจำเป็นต้องมีโปรแกรมการฝึกแยกจากการทำแบบฝึกหัด หลังจากนั้นจึงนำไปฝึกกับสถานการณ์การทำแบบฝึกหัดในทุก ๆ ครั้งที่ต้องการ

ความเชื่อมั่นในขณะปฏิบัติ และจำเป็นต้องฝึกจนเป็นอัตโนมัติ หมายความว่าเมื่อมีความรู้สึกต้องการความเชื่อมั่นในตนเอง ทักษะการพูดกับตนเองเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คิดว่าจะต้องใช้ทักษะดังกล่าว เมื่อฝึกได้จนถึงขั้นเป็นอัตโนมัติ ในสถานการณ์ที่เราต้องใช้เราจะมีความเชื่อมั่นในตนเองตลอดเวลาที่เราต้องการ

ทักษะการพูดกับตนเอง ประกอบด้วย
1. ระยะผ่อนคลายด้วยด้วยการหายใจ (Relax)
2. ระยะหยุดความคิดด้วยการตามลมหายใจ (Stop)
3. ระยะพูดกับตนเองโดยใช้คำว่า “ฉันรู้ว่าฉันสามารถ..

ในโรงเรียนบางโรงเรียน หัดกันไว้ตั้งแต่อนุบาลเลยนะครับเพราะฉะนั้นใครว่ายาก นี่ลืมได้เลย อนุบาล 1 เขาก็ฝึกกันแล้ว และฝึกมาทุกวันด้วยครับ แต่อาจไม่เหมือน อาจเป็นการเรียกแบบอื่นๆ แต่ทำนองเดียวกัน เช่นอาจเรียกว่า ทำสมาธิ ใน โรงเรียนวิถีพุทธ หรือ การแผ่ความรักในโรงเรียน นีโอฮิวแมนิสต์

แต่มาดูวิธีนี้ดีกว่าแล้วกัน เพราะแบบนั้น อาจหนักไปนิด

KEY WORD : Relax, Stop, Talk

ระยะผ่อนคลายด้วยการหายใจ (Relax) โดยการหายใจอย่างสมบูรณ์แบบ

1. จะต้องให้นักกีฬานึกจินตนาการว่าปอดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามระดับบน กลาง และล่าง


2. ให้นักกีฬาพยายามหายใจจนลมเต็มส่วนล่างก่อน โดยการดึงกระบังลมลงและดันท้องพองออก

3. จากนั้นให้หายใจจนเต็มส่วนกลาง โดยการขยายช่องอกด้วยการยกส่วนซี่โครงและหน้าอกขึ้นสูงกว่าเดิม

4. จากนั้นให้นักกีฬาพยายามหายใจให้ลมเต็มส่วนบน โดยการยกอกและยกไหล่

5. ทั้ง 3 ขั้นตอนนั้นจะต้องต่อเนื่องเป็นจังหวะเดียวกัน สำหรับการฝึกช่วงแรกอาจจะแบ่งเป็นส่วน ๆ ได้

6. เมื่อเด็กสามารถทำได้ทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ควรรีบฝึกทั้ง 3 ส่วนให้เป็นขั้นตอนเดียวกันโดยเร็วหลังจากนั้น ควรให้นักกีฬากลั้นลมหายใจไว้สัก 2-3 วินาที แล้วจึงหายใจออกโดยการหดท้อง ว่าให้นักกีฬาปล่อยกล้ามเนื้อทั้งหมดตามสบาย หลังจากไล่ลมหายใจออกจนหมดแล้ว

ระยะหยุดความคิดด้วยการตามลมหายใจ (Stop)


ให้ เด็ก มีความสนใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจ เริ่มจากเมื่อลมหายใจแตะที่ปลายจมูกไหลผ่านหลอดลม ปอด ท้อง จนถึงสะดือ และไหลออกเริ่มจากสะดือ ท้อง ปอด หลอดลม และปลายจมูก พยายามให้นักกีฬารู้สึกถึงลมอุ่น ๆ ไหลผ่านในตัว ในกรณี ที่เด็ก สูญเสียความสนใจและเผลอไปคิดเรื่องอื่น ให้หยุดและกลับมานึกถึงลมหายใจต่อไป ในขั้นตอนนี้คือให้นักกีฬาคิดกับเรื่องลมหายใจเท่านั้น ไม่คิดถึงเรื่องอื่น ๆ เป็นการหยุดความคิด

ระยะพูดกับตนเอง (Talk)


ในขณะที่เราพูดกับตนเอง เด็กต้องใช้การจินตนาการภาพด้วยว่า เรากำลังทำทักษะนั้น ๆ อยู่เพื่อให้เราสามารถรับรู้ว่าเราสามารถทำได้จริง ๆ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อกสารอ้างอิง
วิมลมาศ ประชากุล. (2547). ผลของการฝึกทักษะการพูดกับตนเองที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเอง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบันฑิต. (วิทยาศาสตร์การกีฬา: จิตวิทยาการกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

*นิสิตปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา (จิตวิทยาการกีฬา)

พอดีเมื่อ 2 วันก่อน คุยกับคุณ NK และ คุณ MMTH การฝึกมาแนวเดียวกัน แต่ต่างกัน

จุดหนึ่งอาจเป็นเพราะ วุฒิภาวะ เพราะอยู่ชั้นเดียวกัน แต่อายุ ต่างกัน รอบหนึ่ง แต่อีกจุดหนึ่ง การปล่อยวาง ที่ทำได้ต่างกัน การพยายาม Guide จนเกินไปไม่ได้ทำให้ดีขึ้น เพราะ ไปไปมามามันก็เหมือน กับเราไป ชี้นำ ยิ่งในจังหวะ +4+5

มาอิงทฤษฎีกันนิดดีกว่า ไม่ค่อยอยากพูด ทฤษฎี เพราะรู้สึกว่าหนักไป แต่น่าเป็นประโยชน์

เพราะ มันเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องนี้



บ่อยครั้งที่ เรา มักจะมองข้ามวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก โดยมองบางพฤติกรรม เป็นเรื่องไร้สาระ เข่น การเชื่อมโยงองค์ความรู้ จากการพูด 1-100 ทุกวัน

อย่างไรก็ตามถ้าเรา สามารถจินตนาการเรื่องของการพูดกับตนเองของเด็กว่า

เป็นการกระทำที่สร้างสรรค์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง

เป็นการกระทำที่มุ่งสู่การเรียนรู้วิธีการคิดของตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง เขาก็จะสามารถใช้การพูดออกมานี้เป็นเครื่องมือช่วยให้ เด็ก สามารถควบคุมการคิดของตนเอง และเกิดเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ทางปัญญาเพิ่มขึ้นได้ การพูดในสิ่งที่คิดกับตนเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ วิก็อทสกี้ แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ของตนเองและ

การได้รับการสอนโดยการศึกษาด้วยตนเองเหมาะสำหรับผู้เรียนทุกๆ รูปแบบ

วิก็อทสกี้ (1962) เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย วิจัย ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการเชาวน์ปัญญา เน้นความสำคัญของวัฒนธรรมและสังคมที่มีต่อพัฒนาการเชาวน์ปัญญา โดยมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสถาบันสังคมต่าง ๆ นอกจากนี้ วิก็อทสกีได้พูดถึงบทบาทของภาษาที่มีต่อพัฒนาการเชาวน์ปัญญา และ

การพูดกับตนเองในใจ (inner speech) มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาวิก็อทสกี้ ได้ทำการวิจัย เกี่ยวกับการรู้คิด การคิด (คนคิดอย่างไร)

และสอนหรือสอนเด็กให้มีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ ของแต่ละบุคคล การวิจัยของ วิก็อทสกี้ เรื่อง inner speech และการคิดแก้ปัญหา มีนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยมหลายท่านได้นำมาทำการวิจัยต่อ

วิก็อทสกี้ มีความเชื่อและหลักการพื้นฐาน คือ พัฒนาการทางภาษาของเด็กนั้น มิได้ช่วยเหลือเด็กให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้ดีขึ้น แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ว่าจะช่วยเด็กให้คิดวางแผน แนะนำ และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของตนเอง

วิก็อทสกี้ กล่าวว่า “inner speech” หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยว่า “ภาษาคิด” เป็นขบวนการที่ช่วยให้มนุษย์อธิบายจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายในการทำงานและวางแผนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองต้องการ “ภาษาคิด” ช่วยให้มนุษย์เราแก้ปัญหาด้วยการคิดก่อนที่จะลงมือกระทำจริง ๆ

การวิจัย (Palincsar & Brown, 1989) พบว่า “ภาษาคิด” เกิดขึ้นมาตั้งแต่วัยเด็กและจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเด็กมีพุทธิปัญญาที่จะแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นดังนั้น การช่วยสอนให้เด็กใช้ “ภาษาคิด” ในการแก้ปัญหา ก็จะช่วยให้เด็กแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการเรียนแบบ (modeling) จากผู้ใหญ่

การศึกษาการพูดกับตนเองในใจเป็นการสืบเสาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เป็นบทบาทที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญ

สำหรับยุทธศาสตร์การเรียนการสอนวิธีการเรียนรู้ความคิดของตนเอง โดยเฉพาะในการเสาะแสวงเพื่อมุ่งศึกษาวิชาศิลปะ คณิตศาสตร์การคำนวณ และความสามารถในการอ่านและเขียน เหล่านี้ต้องใช้ทักษะการพูดกับตนเองบ่อย

และมักพบว่า การพูดกับตัวเองในใจหรือใช้ภาษาคิดสามารถช่วย

ผู้เรียนในการเรียนรู้ของตนเองให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ทางปัญญาและการพัฒนาทางการคิดขึ้น

ในการศึกษาวิชาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สิ่งที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ ก็คือ

การให้ความสำคัญในบทบาทและคำตอบที่ถูกมากกว่า

การใส่ใจกับการคิดและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

นักการศึกษาทางคณิตศาสตร์ผู้ที่ได้ศึกษาปัญหาพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์ วิชาคริตศาสตร์พบว่า ควรจัดให้ใช้การแก้ปัญหาและวิธีการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจริง สนับสนุนการคิดแล้วพูดออกมาดังๆ (Think a loud)

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

พอดีเห็นเวบหนึ่งเขียนเรื่อง ครูหนูดี :เลี้ยงลูกอย่างไรให้เก่ง มีประเด็นที่เพิ่มมา เป็นเทคนิคการเรียนเก่ง เหมือนกัน คือเรื่องอาหารและนำ้ที่เราทาน และอากาศค่ะ เอามาฝากเลยก็แล้วกัน ไหนๆก็ยำรวมมิตร เรียนเก่งแล้ว

อ้างอิงจาก:
อุปกรณ์ที่สำำคัญอยู่ 10 อย่าง ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ได้แก่


1. อาหารสมอง ช่วยสร้างพลังงานให้สมอง เด็กๆ ต้องได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยเรียงจากปริมาณที่ต้องการมากที่สุดคือกลุ่มธัญพืช รองลงมาคือผักผลไม้ โปรตีน และอื่นๆ ต้องกินทุกมื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าสำคัญมาก และไม่ควรกินก่อนนอน หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป ฟาสต์ฟู้ด ลดปริมาณเกลือ ไขมัน โดยเฉพาะน้ำตาลที่ทำให้เด็กมีพลังงานมากจนไม่อยู่นิ่ง ขาดสมาธิ


2. ออกซิเจน ให้ชีวิตแก่เซลล์สมอง สมองที่มีออกซิเจนมากเพียงพอจะทำให้มีสารเคมีที่ทำให้เครียดลดน้อยลง ทำได้โดยการหายใจที่ถูกต้อง หายใจลึกๆ ให้ทั่วปอด หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องแฟบ รวมทั้งการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย หัวเราะ ร้องเพลงและพูดคุย ก็เป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้สมองได้ดีอีกด้วย


3. น้ำเปล่า มีส่วนสำคัญในการส่งข้อมูลในสมอง ถ้าเราไม่ได้ดื่มน้ำแค่ครึ่งชั่วโมง สมองก็ขาดน้ำแล้ว เพราะทำให้ก้านสมองหด เซลล์สมองส่งข้อความถึงกันไม่ราบรื่น อาจทำให้รู้สึกสับสน และเหตุผลที่น้ำเปล่าดีต่อสมองก็เพราะดูดซึมสู่สมองได้ทันที ถ้าเครื่องดื่มอื่นๆ ร่างกายจะคิดว่าเป็นอาหาร แล้วส่งไปย่อยก่อนถึงจะดูดซึมไปที่สมอง ควรปลูกฝังให้เด็กรู้ว่าน้ำเปล่าเป็นน้ำผลไม้ของสมอง (Brainjuice) ดังนั้นในห้องเรียนหือโต๊ะทำการบ้านควรมีน้ำไว้ดื่มได้สะดวก


4. การผ่อนคลาย เริ่มจากการนอนหลับเพียงพอ ตอนหลับร่างกายพักแต่สมองตื่น สมองจะสร้างจุดเชื่อมต่อใหม่ๆ ระหว่าง 2 ซีก สมองจะแยกประเภทและเก็บประสบการณ์ที่ได้ในแต่ละวัน โดยที่เราควบคุมไม่ได้ ซึ่งประสบการณ์ที่เรารู้สึกกับมันมากๆ จะจำได้ง่าย ดังนั้นถ้านอนไม่พอ สมองยังจัดระบบไม่เรียบร้อย จึงตื่นมางงๆ เบลอๆ นอกจากนี้ยังผ่อนคลายได้ด้วยการเคลื่อนไหวในท่าบริหารสมอง (Brain Gym) ฟังเพลงจังหวะเบาๆ ช้าๆ ออกกำลังกายเบาๆ การพูดคุย ร้องเพลง ยิ้ม นั่งสมาธิ การเรียนรู้จากภาพ และการพักช่วงสั้นๆ ระหว่างการทำกิจกรรม


5. ความสมดุลของร่างกายและสมอง อาจลองให้เด็กๆ ถือห่วงฮูลาฮูบขึ้น-ลง และไปข้างหน้าเพื่อฝึกการทรงตัวหรือฝึกไขว้ร่างกายในท่าต่างๆ การหายใจที่ถูกต้อง บุคลิกท่าทางที่เหมาะสม ใช้เพลงจังหวะเบาๆ มาประกอบการทำกิจกรรม ลดพฤติกรรมที่นำไปสู่ความเครียด


6. รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน คนแต่ละคนมีสมองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นเด็กๆ แต่ละคนจึงตอบรับรูปแบบการเรียนการสอนที่ต่างกันไป ซึ่งที่จริงกระบวนการเข้าถึงการเรียนรู้มีหลากหลายวิธี ทั้งการเรียนรู้ผ่านการเห็น การฟัง การเคลื่อนไหว การเรียนแบบ เป็นขั้นตอน เรียนแบบองค์รวม และเรียนผ่านกระบวนการทางสังคม ซึ่งในห้องเรียนควรเลือกใช้ให้หลากหลายที่สุด


7. การสร้างแรงบันดาลใจ โดยให้เด็กๆ มีเป้าหมายในการเรียนรู้ ได้คิด ได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง


8. ความเป็นตัวของตัวเอง และเชื่อมั่นในตัวเอง การรู้จักควบคุมตัวเอง มีวินัย มั่นใจในตัวเอง และมีความรู้สึกชื่นชมในสิ่งที่ทำ เป็นพื้นฐานให้เด็กมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้


9. ผิดเป็นครู เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากความผิดพลาด


10. การสร้างทัศนคติในเชิงบวก คิด ใช้ภาษาท่าทางและการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยให้สมองของเด็กจดจำแต่สิ่งที่ดีๆ และงดงาม ฝึกให้เด็กมองว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ

หากใช้อุปกรณ์ทั้ง 10 ประการอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สมองของเด็กเรียนรู้ได้ดีมีประสิทธิภาพ เด็กทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติในเงื่อนไขที่เหมาะสม ทั้งเงื่อนไขภายใน คือ Brainfitness ที่กล่าวมา และเงื่อนไขภายนอก (Brainfriendly) ซึ่งก็คือสภาพแวดล้อมทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก ที่เราสามารถจัดการให้เป็นมิตรกับสมองของเขาได้
อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตคนเมืองซึ่งเต็มไปด้วยมลภาวะทั้งทางด้านเสียง ลดทอนประสิทธิภาพการฟัง ทำให้เกิดความเครียด อารมณ์สับสน มลภาวะทางอากาศ ที่แม้หายใจถูกวิธีแต่ก็รับควันพิษเข้าไป หรือจากแสงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คลื่นแสงกะพริบๆ จากจอทีวี คอมพิวเตอร์ แสงไฟนีออน สามารถทำลายเซลล์สมองได้ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมที่ลดความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กๆ ทั้งสิ้น จึงควรหลีกเลี่ยง



ขอบคุณเวบนี้ค่ะ ที่ให้ยืมมาแปะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องนี้ คุณหนูดีก็เขียนไว้น่าสนใจ แม้จะไม่ค่อยโน้มน้าวก็เหอะนะคะ


อ้างอิงจาก:
ทิปส์ในการพัฒนาสมอง

1. จิบน้ำบ่อย ๆ
สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ

2. กินไขมันดี
คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น

3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน

4. ใส่ความตั้งใจ
การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรม เราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็น เสมือนสิ่งเดียวกัน

5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ และฝึกทัศนคติเชิงบวก
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไป เรื่อยๆ

6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน เพื่อสร้างเส้นใยสมอง
สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน
ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง

8. เขียนบันทึก Graceful Journal
ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี
ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์

9. ฝึกหายใจลึก ๆ
สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง
ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่สามารถหายใจเอาออกชิ เจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %

10. นอนหลับลึกอย่างเพียงพอ (สำคัญมาก)

11. ใช้การเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมการทำงานของสมอง

การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ทักษะส่งเสริมการเรียน

การคิดเชิงบวก การมโนภาพเป้าหมาย

การสำรวจขอบข่ายเนื้อหาวิชา การค้นคว้า

การสร้างสัมพันธภาพ การรักษาระดับการจดจ่อ - ท่าบริหารสมอง

การฟังอย่างลึกซึ้ง การอ่านเร็ว

การจดบันทึกแบบ Active/ การใช้ Mind Maps การใช้เทคนิคการจำ

การคิดลักษณะต่าง ๆ การเขียนรายงาน

การสื่อสารและการนำเสนองาน การวางแผนเพื่อจัดการเวลาชีวิตและการเรียน

การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียน

ย้อนกลับไปพูดถึงอัฉริยภาพอีกซักครั้งนะคะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำ "อัจฉริยภาพ" ว่า ความเป็นผู้มีปัญญาความสามารถเกินกว่าระดับปกติมาก
คนมักบอกว่า หาตัวเองไม่เจอ หนูดีบอกว่า เพราะเป็นคนที่ไม่มีเวลาให้ตัวเอง ไม่เคยหยุดคิดและฟังตัวเองว่าต้องการอะไร ชอบอะไร ซึ่งการสำรวจตัวเองตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นอัจฉริยภาพด้านการเข้า ใจตนเอง ที่หมายถึงการกำหนดว่าจะเอาพลังที่เรามีอยู่ไปใช้ได้อย่างไรบ้าง และหากมีอัจฉริยภาพด้านนี้แล้วความเป็นอัจฉริยภาพด้านอื่นๆ ก็จะตามมาในไม่ช้า



http://www.thaimob.com/forum/topic/show?id=2262420%3ATopic%3A253


_________________