ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก สอนลูกให้ชนะโลก ให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้อย่างสนุกสนาน ในแบบที่ลูกเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราต้องการให้ลูกเป็น ด้วยพลังแห่งความรักความอบอุ่นของครอบครัว
เรื่องของปฎิภาณ หลวงวิจิตรฯ ท่านว่าไว้ ว่า มันแปลง่ายๆว่า ไหวพริบ หรือ Intuition ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชการลที่ 6 ได้ทรงให้ความหมายไว้ว่า"รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือน ว่าเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนั้น จะต้องปฎิบัติการอย่างนั้นๆ เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไป และรับทำการอันเห็นควรโดยฉับพลันทันท่วงที"เรื่องของไหวพริบ จึงเป็นเรื่องที่เกิดจากอุปนิสัยของบุคคล ยากที่จะสอนกันได้ จะหาตำราเรียนใดๆก็ยาก จะได้ก็แต่เพียงแนะนำหนทางให้ฝึกฝนตนเองได้เท่านั้น ซึ่งคนที่สอนนั้นจะเป็นใครได้ นอกจากพ่อแม่และคนที่เลี้ยงดูใกล้ชิด คอนแนะนำและให้เตือนให้ฝึกฝนทำจนเป็นนิสัย ทำเองได้โดยไม่ต้องคิด
โดยหลักๆ ปฎิภาณแบ่งเป็นสองชนิดคือ ปฎิภาณทางประสาท และปฎิภาณทางปัญญาปฎิภาณทางประสาท คือ ความเข้าใจที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องมีวิชาความรู้อะำไร รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ ควรพูด ไม่ควรพูด ไม่สามารถมีเหตุผลอธิบายได้ว่า ทำไมควร ไม่ควร แค่รู้สึกเฉยๆ อันนี้ที่เขาเรียกว่า Common Sense เช่น ไม่เดินใกล้หมาที่กำลังโกรธ หรือเ** เป็นต้นปฎิภาณทางปัญญาณ คือ การที่มีวิชาความรู้ และเกิดความคิดรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยวิชาความรู้นั้นเอง เช่น การขอบคุณและชื่นชมผู้อื่น ที่ทำความดีหรือให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเรา เป็นต้นเรื่องของปฎิภาณนั้น ในศาสนาชินโตของญี่ปุ่น มีหลักการว่า ก่อนทำอะไร ให้ถามความรู้สึกของตัวเองก่อน ว่า ควรทำหรือไม่ควรทำ และอย่าทำอะไรที่ฝืนความรู้สึก หากเราถามตัวเองเช่นนี้ทุกครั้ง ก็จะทำไม่ค่อยผิด เพราะความรู้สึกของตัวเรานั้น มักจะถูกต้องเสมอ ดังนั้น เรื่องของปฎิภาณมักเป็นเรื่องของความรู้สึกล้วนๆ สังเกตความรู้สึกภายในใจมากกว่า
นักปราชญ์ที่ศึกษาเรื่องความคิด มักจะยกย่องเรื่องปฎิภาณนี้ ว่าเป็นเลิศเหนือกว่าความรู้และความฉลาดใดๆ เพราะทำให้รู้เท่าทันคน มีอำนาจในการหยั่งรู้ความคิดและการกระทำของผู้อื่น ทันเหตุการณ์ ทำให้สามารถคิดวางแผนแก้ปัญหาได้ทันท่วงที และเมื่อมีปัญหา หรือ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็สามารถเอาตัวรอด ปฎิบัติได้เหมาะกับเหตุการณ์ โดยไม่ต้องมีเวลาคิด หรือเปิดตำรา หาเหตุผลแม้ว่า เรื่องการมีปฎิภาณ จะเป็นเรื่องของนิสัยส่วนตัว แต่ก็สามารถฝึกฝนให้เพิ่มพูนได้ีค่ะปฎิภาณทางกาย หรือ Common Sense นั้น ฝึกฝนโดยการ ฝึกเจริญสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จิจจดจ่อกับการกระทำทุกขณะจิต หากอ่านหนังสือ ก็รู้ว่าอ่านอะไร ประเด็นคืออะไร หากสวดมนต์ จิตก็ให้จดจ่ออยู่ที่บทสวด ไม่ล่องลอยเรื่อยเปื่อย ขณะที่ปากกำลังท่องบทสวด เป็นต้น อีกทั้งการฝึกประสาทที่เขียนมาแล้ว ก็ช่วยในการฝึกฝนปฎิภาณทางกายได้ด้วย
ปฎิภาณทางปัญญา นั้นฝึกฝนได้หลายทาง และควรฝึกทุกทางคือ- ฝึกการชั่งใจ หรือ ใช้ดุลยพินิจ กล่าวคือ เมื่อมีทางเลือกหลายๆทาง ก็ต้องนำข้อมูลที่ได้ มาพิจารณาขั่งนำ้หนักดู ข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก แล้วเลือกสิ่งที่เหมาะสม อย่าเลือกตามความเคยชิน หรือ เชื่อตามที่คนอื่นบอกโดยไม่ไตร่ตรอง ทำตามแฟชั่น ตามกระแส ว่าอย่างไรก็ว่าตามกัน ต้องฝึกใช้ปัญญาไตร่ตรอง ทั้งข้อดี ข้อเสีย ต่อตนเอง และส่วนรวม- หัดคิดให้ลึก กล่าวคือ อย่าฟัง หรือ อ่านแล้วเชื่อจากข้อมูลที่ได้รับเพียงผิวเผิน แต่ต้องคิดลึกลงไปด้วยถึงเจตนาที่ผู้พูด ผู้กระทำต้องการสื่อ สิ่งที่พูดหรือทำ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาคิดไว้ และต้องฝึกมองให้ออกว่า เจตนาที่ผู้กระทำนั้น มีความจริงใจ หรือหลอกลวง หรือมีเจตนาใดแอบแฝงหรือเปล่า แต่เรื่องนี้ ต้องระวังเหมือนกัน หากฝึกไม่ดี จะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เป็นคนขี้ระแวง ทำให้ไม่มีความสุขได้ ดังนั้น ต้องใช้ความรู้สึกภายในของเรามาช่วยด้วย สัญชาตญาณจะพอบอกได้ค่ะ หากไม่มีอคติ- พยายามคิดค้นหาหลักทั่วๆไป หรือ General Principle คือ การรู้เหตุ และผล ยิ่งเหตุการณ์ใด เกิดซำ้ๆ ก็ควรต้องมาลองคิดวิเคราะห์ดูว่า ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ซำ้ๆ เหตุคืออะไร และก่อให้เกิดผลอะไร- พยายามหัดให้ตัวเอง เป็นคนที่ชอบคิดอะไรผิดถูกเสมอ กล่าวคือ มีความรู้ผิดชอบชั่วดี คิดถึงความผิดถูกในแง่ ศีลธรรมจรรยา จริยธรรม กฎหมาย หรือ ผิด Common Sense ไม่เชื่อหรือเห็นชอบการกระทำของคนอื่นง่ายๆ แม้ว่าจะเป็นการกระทำของคนหมู่มาก
ในความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันในประเด็นนี้ เมื่อดิฉันได้อ่านเรื่องนี้ ทำให้ตกผลึกและต่อภาพอะไรได้หลายๆอย่างจากประสบการณ์ทำงานกับเด็กจำนวนมากพอควร ลูกน้องเข้าใหม่ และที่อยู่ก่อน ทั้งระดับความรู้น้อย จนความรู้สูง จนไม่กี่วันมานี้ ก็เจอกับลูกน้องระดับด๊ํอกเตอร์ ว่า คนจำนวนมากในปัจจุบัน มีปฎืภาณไหวพริบน้อยลงมาก ดิฉันเจอทั้งปัญหาว่า ลูกน้องคิดไม่เป็น คิดไม่ลึก แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ และไม่อดทนคนที่ไม่มีปฎิภาณไหวพริบ เมื่อเจอปัญหาเฉพาะหน้า ที่เกิดขึ้นมักจะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร ไม่มีตำรา ไม่มีคู่มือให้เปิดหาคำตอบ และเมื่อตัดสินใจ ก็มักจะเลือกทางที่ผิด เพราะไม่มีดุลยพินิจ ไม่ชั่งใจว่า ทางเลือกใดมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และมองไม่ออกว่า มีผลเสียหายในระยะยาวหรือไม่ เมื่อตัดสินใจผิด ก็เกิดข้อผิดพลาดเสียหาย ทำให้เขาหงุดหงิด และท้อแท้ บ้างก็ไม่อดทนเพราะคิดว่า งานซับซ้อนประเด็นคือ งานทุกงานในโลกนี้ ไม่มีงานใดสบาย ดีเลิศทุกประการ ทุกงานล้วนมีปัญหา และซับซ้อนในแบบของมัน ความทุกข์ที่เกิดของคนส่วนมาก ไม่ใช่งานซับซ้อน แต่เป็นเพราะความคิดของคนนั้น ไม่คิดซับซ้อน ไม่ฝึกฝนการคิด ทำให้ไม่มีไหวพริบปฎิภาณ ต้องรอเปิดตำรา ค้นหาสูตรก่อน จึงจะแก้ปัญหาได้
ดิฉันมาค้นหาสาเหตุที่คนสมัยนี้ ไม่ค่อยมีปฎิภาณ ก็ได้ข้อสรุปว่า เป็นเรื่องของการอบรมเลี้ยงดู ในยุคที่สามีภรรยาต้องช่วยกันทำมาหากิน คนสมัยนี้ไม่ค่อยสอนลูกค่ะ โดยเฉพาะเรื่องของมรรยาทนั้นมองผิวเผิน เหมือนการเสแสร้งดัดจริต แต่ที่จริงมันคือการปลูกฝังปฎิภาณในเด็ก ให้ปฎิบัติดี ปฎิบัติถูก ปฎิบัติควร โดยอัตโนมัติ เพราะการที่เราคอยสอนให้เด็กเล็กๆ รู้จักมรรยาท และทำจนเป็นนิสัย เมื่อโตขึ้น เขาก็ปฎิบัติเอง โดยไม่ต้องเตือน ไม่ต้องคิดเรื่องมรรยาทนี้ หากคิดดีๆ มันเป็นเรื่องของจิตสำนึกสาธารณะ ทำให้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เอื้อเฟื้อมีน้ำใจต่อผู้อื่น และรับผิดชอบต่อสังคม หากคิดเช่นนี้ เรื่องของการปลูกฝังมรรยาท เป็นเรื่องจำเป็น ละเลยไม่ได้ แต่พ่อแม่ปัจจุบันหลายคนมองเห็นเป็นเรื่องโบราณ ครำ่ครึ เป็นเรื่องของเจ้าขุนมูลนาย คนในสังคมชั้นสูง ไม่จำเป็นกับคนทุกคน ซึ่งไม่ใช่ เช่นเรื่องการสอนลูกให้รู้จักสวัสดีทักทายผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อการได้รับการชื่นชม ว่าเก่งอ่อนน้อมนะคะ แต่เป็นเรื่องการให้เกียรติ ให้กำลังใจผู้อื่น เพื่อนๆลองดูสิคะ หากเราไปทำงาน แล้วคนที่ทำงานไม่มีใครทักเราเลย ไม่คุยกับเรา ทำเหมือนเราไม่มีตัวตน เพื่อนๆจะรู้สึกอย่างไร แต่หากไปที่ใด มีแต่คนยิ้มแย้มทักทาย มันทำให้เราสดชื่น มีกำลังใจ รู้สึกเป็นที่ต้องการ รู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือไม่การกล่าวสวัสดีทักทายคนอื่น สำหรับดิฉัน มันคือการให้เกียรติค่ะ ทำให้คนๆนั้น มีกำลังใจ รู้สึกว่า เขาเองก็เป็นคนที่มีตัวตน ไม่ใช่คนไร้ค่า เพื่อนๆเคยสอนลูกกล่าวสวัสดียาม หรือคนทำความสะอาดที่คุณเดินผ่านหรือเปล่า หากไม่เคย ลองทำดูสิคะ คุณจะเห็นแววตาแปลกใจ ปนยินดี และหลังจากนั้น เขาจะเป็นมิตรของคุณ ที่กล่าวทักทายคุณ รอรอยยิ้มของคุณทุกครั้งที่เจอ เพราะเหล่านั้นมักถูกคนเดินผ่านโดยไม่มองหน้า ไม่สนใจจะรู้จักชื่อด้วยซำ้ คนทำงานตำแหน่งแบบนี้จึงไม่มีความสุขกับงาน เพราะเขาเห็นเป็นงานไม่มีเกียรติ คนดูถูก ไม่มีใครเห็นคุณค่า แต่หากคิดกลับกัน หากวันใดไม่มีคนทำงานเหล่านี้ ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไรดิฉันสอนลูกมากๆในเรื่องนี้ ดิฉันจะไม่บอกลูกว่า สวัสดีแล้วคนชื่นชมว่า เก่ง ดี เพราะนั่นไม่สำคัญ ไร้ความหมาย ดิฉันไม่อยากให้ลูกมายึดติดกับความเห็น ความคิดของคนอื่น ว่าคนอื่นเห็นลูกเป็นอย่างไร แต่ดิฉันจะสอนลูกให้ คิดถึงความรู้สึกของคนอื่น ที่เราทักทายว่า เขาดีใจเพียงใด ที่เราให้เกียรติ เห็นเขามีค่า เป็นคนๆหนึ่ง ไม่ใช่แค่เสา ที่เราเดินผ่าน
เรื่องการขอบคุณก็เช่นกัน มันไม่ใช่แค่เป็นมรรยาท แต่มันเป็นการชื่นชมผู้อื่นค่ะ ชื่นชมที่เขาทำความดี เอื้อเฟื้อต่อคนอื่น ทำให้คนทำมีกำลังใจและเห้นคุณค่าของตนเอง เรื่องการเดิน การนั่ง การกิน การแต่งกาย ที่สุภาพเรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ ก็เช่นกัน เป็นการให้เกียรติสถานที่ ให้เกียรติเพื่อนร่วมสังคม และคนที่เราร่วมโต๊ะ ร่วมห้อง ไม่ทำอะไรให้ดูน่าเกลียด หรือ รบกวนผู้อื่น ดิฉันเห็นพ่อแม่หลายคน ปล่อยลูกให้วิ่งเล่นในร้านอาหาร หรือ ร้องไห้โวบวาย โดยไม่สามารถสอนลูกได้ ซึ่งเป็นอันตรายและรบกวนผู้อื่น หากเกิดอุบัติเหตุ เพราะลูกซุกซน นอกจากลูกจะเจ็บเพราะความซุกซน คนที่โชคร้ายคือ คนเสริฟ และร้านที่เกิดเหตุ และอาจจะมีคนอื่นด้วย หากสังเกตเด็กฝรั่งจะไม่เป็นเช่นนี้ เพราะฝรั่งเลี้ยงลูกเองเป็นส่วนใหญ่ สอนเด็กนั่งโต๊ะ กินเป็นที่เป็นทางแต่เด็ก และสอนเรื่องมรรยาทบนโต๊ะอาหารเคร่งครัด หากเกิดอุบัติเหตุ พ่อแม่ต้องรับผิดชอบหนักมาก เพราะการกระทำที่ไม่เหมาะสมของลูกตัวเอง
นี่เป็นกระทู้เรื่อง มรรยาทค่ะ ดิฉันเขียนไว้ในห้องพ่อแม่เมือ่สัปดาห์ก่อน เอามาจากหนังสือ สมบัติผู้ดีค่ะhttp://board.raklukefamilygroup.com/viewtopic.php?t=394887&highlight=จะเห็นว่าคนเห็นหัวข้อแล้วไม่อยากอ่าน ไม่สนใจ คนอ่านน้อย เพราะคนคิดว่าไม่สำคัญแต่ืีที่จริงมันคือการปลูกฝังเรื่องปฎิภาณให้ลูก ให้รู้อะไรถูก อะไรควร ให้ลงไปในจิตใต้สำนึก และหากศึกษาดู เรื่องมรรยาททั้งหลายที่ยกมา ไม่มีอะไรเลยที่เป็นเรื่องของชนชั้น มีแต่ทำเพื่อส่วนรวม เป็นเรื่องศีลธรรมจรรยาทั้งสิ้น
โลกเราทุกวันนี้ เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร มีข้อมูลออกมามากมาย ที่เป็นทั้งเรื่องจริงและไม่จริง เรื่องที่ถูกต้อง และเป็นเรื่องของจินตนาการความเชื่อ ซึ่งหากไม่มีไหวพริบ ไม่มีวิจารณญาณ ก็จะทำให้แยกแยะไม่ออกว่า อะไรคือสิ่งที่ควร หรือไม่ควรทำ จะก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว ระยะสั้นอย่างไรคนบางคนเชื่อข้อมูล เพียงเพราะว่า คนที่เขียนมีชื่อเสียง มีประวัติดี น่าเชื่อถือ เป็นดารา เป็นนักร้อง คนรู้จัก ดิฉันเห็นหลายๆคน หลายๆข้อมูลที่ออกมา เป็นเรื่องที่ทำลายสังคมในระยะยาว ข้อมูลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง มีอยู่เกลื่อนตลาด คนบางคน ทำผิดพลาด ผิดศีลธรรมจรรยา ทำตัวไม่เหมาะสม แต่นักข่าวให้ความสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่นานๆมีที ไม่มีมาก่อน ทำให้คนทำไม่ถูก กลายเป็นฮีโร่ไปในพริบตาคนบางคนเชื่อข้อมูล เพียงเพราะคนที่เขียนเป็นคนเรียนมาสูง เป็นด๊อกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ เป็นหมอ ทำให้ดูน่าเชือถือว่า ข้อมูลนั้นถูกต้อง และมีความรู้เชิงวิชาการปัจจุบันมีการทำการตลาดแนวใหม่ คือการสร้างตัวเองเป็นจุดขาย ไม่ต้องลงทุนมาก ใช้แต่การสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเองเท่านั้น เช่น การเขียนบทความต่างๆลงกระทู้ หรือส่งไปตามนิตยสาร หาเรื่องราวน่าสนใจ เรื่องราวใหม่ๆ แนวคิดแปลกใหม่ มาเป็นตัวแสดงวิสัยทัศน์ เมื่อสังคมสนใจ ก็เป็นข่าว เหมือนที่ดิฉันทำอยู่นี้ ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน หากดิฉันมีเจตนาอื่น แอบแฝงก็ไม่ยากเลยหากคนไม่สนใจมาทาบทาม ดิฉันก็สามารถลงทุนพิมพ์หนังสือขายเองได้ ต้นทุนไม่มาก ขายบ้างแจกบ้างเป็นของขวัญปีใหม่ ตรุษจีน หากเหลือก็เก็บไว้เป็นหนังสือที่ระลึกงานศพได้ ใครจะรู้ แต่ข้อดีคือ ดิฉันกลายเป็นคนมีผลงานสู่สาธาณชน เมื่อเขียนอะไร เสนออะไร ก็มีนำ้หนัก น่าเชื่อถือ พวกบรรดาธุรกิจก็ย่อมอยากให้ดิฉันเป็นคนพูด โฆษณากล่าวถึงธุรกิจของเขา เพราะทำให้น่าเชื่อถือ ติดตลาดง่าย ใช้ทุนน้อย กว่าการโฆษณาอื่นๆกลยุทธ์นี้ ทำให้คนแห่กันออกหนังสือกันทั่วบ้าน ทั่วเมือง เพื่อสร้างตัวเอง ให้เป็นแบรนด์
เมื่อข้อมูลต่างๆ ออกมาสู่สาธารณะมากมายก่ายกองขนาดนี้ หากไม่มีไหวพริบ วิจารณญาณ ไม่มีดุลยพินิจ เชื่อตามกระแสสังคมที่ปั่นขึ้นโดยนักการตลาด สังคมก็จะเดินผิดทิศผิดทาง สู่ความพินาจอย่างรวดเร็ว
การสอนลูกให้มี ไหวพริบ มีปฎิภาณ รู้จักแยกแยะผิดถูก รู้ผิดชอบชั่วดี ผลดีผลเสีย ระยะสั้นระยะยาว จึงมีความสำคัญมาก ต่ออนาคตลูก และอนาคตของประเทศไทยโปรดช่วยกัน
เรื่องของเหตุผลนั้น ในหนังสือ กำลังความคิด ของหลวงวิจิตรวาทการ ท่านได้กล่าวไว้ ถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาว่า การดับมูลเหตุแห่งทุกข์ คือ หนทางดับทุกข์ พระพุทธองค์ตรัสสอนให้เราทุกคน คิดเหตุและผลก่อนที่จะเชื่อ การที่เราต้องรู้เหตุและผลก็เพื่อ- จะได้หลีกเลี่ยง หรือ ป้องกัน เหตุ อันจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต- จะได้คาดคะเนได้ว่า หากทำการสิ่งใด ผลจะออกมาอย่างไร จะได้วางแผนไม่ผิดพลาดเสียหายแต่การจะรู้จัก เหตุ และผลของมัน ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องที่เป็นสูตรสำเร็จว่าจะต้องคิดอย่างไร
ในหนังสือนี้ คุณหลวงท่านได้แนะนำวิธี ฝึกกำลังความคิดให้เข้าใจเหตุแลผล 3 วิธี- หัดตัวเราให้เป็นคนมีเหตุผลไว้เสมอ หากพบว่ามีอะไรเกิดขึ้น ก็อย่าคิดว่ามันเกิดขึ้นเอง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น และหากเห็นใครทำอะไร ก็ให้หัดคาดคะเนว่า ผลจะเป็นอย่างไร ฝึกคิดแบบนี้อยู่เสมอ เป็นการฝึกฝนทักษะนี้ค่ะ- สิ่งที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาว่า เป็นเหตุและผลของกันและกัน เราก็ควรนำมาพิจารณาไตร่ตรองว่าจริงหรือไม่ อย่าได้เชื่อถือตลอด ฝึกฝนนำมาพิจารณาดู จะทำให้กำลังความคิดของเราดีขึ้น- พยายามอ่านหรือ ศึกษาเรื่องราวต่างๆในทางเหตุผล เช่น ข้อมูลทางสถิตต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรม และผลของมัน ก็ลองมาพิจารณา หาดูว่า เหตุและผลของข้อมูลนั้น มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ยกตัวอย่างสถิติของเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัย มักจะมาจากสถาบันดังๆ นั้น จริงเท็จประการใด สาเหตุที่สรุปว่า การสอนดีกว่า หรือ การเรียนติว เป็นจริงหรือไม่ หรือว่า เนื้อแท้พื้นฐานเด็กที่โรงเรียนเหล่านั้น คัดเด็กเก่งมาเรียนอยู่แล้ว เป๋นต้นลองหัดนำเรื่องแบบนี้มาฝึกพืจารณา หาเหตุผล วิเคราะห์ ตรวจสอบเหตุผล อยู่ตลอดเวลา เป็นการลับสมองให้แหลมคมเสมอหากฝึกฝนเช่นนี้ จะเห็นว่า บทสรุปที่ว่าไปในหลายๆเรื่อง อาจจะไม่ใช่ความจริง อาจจะมีมุมอื่น ที่คาดเดาผิด ไม่เป็นดังสรุปก็มี ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในหนังสือ มีตัวอย่างเรื่องราวมากมาย ที่บทสรุป ไม่เป็นดังที่ควร น่าศึกษามากค่ะ แต่ขอไม่เล่าในที่นี้ เพราะยาวมาก
ท่านได้พูดถึง การฝึกฝนกำลังความคิด อีกวิธีหนึ่ง คือ การฝึกการตัดสินใจค่ะ ในบทนี้ท่านได้ให้ปัญหาต่างๆ 14 เรื่องราว ไม่ใช่โจทย์ทางคณิคศาสตร์ หรือเกมส์ ที่เราจะสามารถเปิดค้นหา คู่มือ ตำรา ในการทำให้ถูกต้อง แต่เป็นปัญหาที่เราต้องใช้ปัญญาตรึกตรอง คิดว่า หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเรา เป็นเรา เราจะคิดหาวิธีแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง แล้วเราจะตัดสินเลิอกที่จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะอะไร เป็นการฝึกฝนกำลังความคิดที่ดีมากๆ
ดิฉันมาพิจารณาดู คล้ายๆกับที่พวกเราทำๆกันในเวบบอร์ด อ่านเรื่องราวปัญหาของเพื่อนๆที่เขียนกระทู้ มาแบ่งปันประสบการณ์ จะมีเพื่อนๆหลายๆคน อ่านผ่านๆ แล้วดูว่าคนอื่นแนะนำอย่างไร หรือ เรื่องราวเป็นอย่างไร แต่ไม่มีความเห็น คิดว่าไม่ใช่เรื่องของเรา แค่รับรู้ หากเป็นแบบนี้ ก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ คนๆนั้นก็พลาดโอกาสในการฝึกฝน และเพิ่มกำลังความคิดแต่หากเพื่อนๆมีการนำมาพิจารณา แล้วคิดว่า เหตุการณ์นี้ หากเกิดกับเรา เราจะมีวิธีคิด หรือ แนวทางแก้ปัญหาอย่างไร เราจะตัดสินใจอย่างไร เพราะอะไร แม้จะไม่ได้เขียนความเห็นออกมาในกระทู้ หากได้ฝึกคิดและตัดสินใจ ก็จะเป็นการฝึกฝนกำลังสมองทีดีมาก หากทำเป็นประจำ จะมีกำลังสมองที่มีประสิทธิภาพสูง การทำงานจะมีประสิทธิภาพ เพราะจะมีไหวพริบปฎิภาณที่ดีขึ้น ไวขึ้น และ คิดแก้ปัญหาได้คล่องแคล่ว และกล้าตัดสินใจ อันเป็นคุณสมบัตืที่สำคัญมากของการเป็นผู้นำ และคนที่จะประสบความสำเร็จ ทำงานใหญ่ในอนาคตค่ะ
แสดงความคิดเห็น
15 ความคิดเห็น:
เรื่องของปฎิภาณ หลวงวิจิตรฯ ท่านว่าไว้ ว่า มันแปลง่ายๆว่า ไหวพริบ หรือ Intuition ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชการลที่ 6 ได้ทรงให้ความหมายไว้ว่า
"รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือน ว่าเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนั้น จะต้องปฎิบัติการอย่างนั้นๆ เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไป และรับทำการอันเห็นควรโดยฉับพลันทันท่วงที"
เรื่องของไหวพริบ จึงเป็นเรื่องที่เกิดจากอุปนิสัยของบุคคล ยากที่จะสอนกันได้ จะหาตำราเรียนใดๆก็ยาก จะได้ก็แต่เพียงแนะนำหนทางให้ฝึกฝนตนเองได้เท่านั้น ซึ่งคนที่สอนนั้นจะเป็นใครได้ นอกจากพ่อแม่และคนที่เลี้ยงดูใกล้ชิด คอนแนะนำและให้เตือนให้ฝึกฝนทำจนเป็นนิสัย ทำเองได้โดยไม่ต้องคิด
โดยหลักๆ ปฎิภาณแบ่งเป็นสองชนิดคือ ปฎิภาณทางประสาท และปฎิภาณทางปัญญา
ปฎิภาณทางประสาท คือ ความเข้าใจที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องมีวิชาความรู้อะำไร รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ ควรพูด ไม่ควรพูด ไม่สามารถมีเหตุผลอธิบายได้ว่า ทำไมควร ไม่ควร แค่รู้สึกเฉยๆ อันนี้ที่เขาเรียกว่า Common Sense เช่น ไม่เดินใกล้หมาที่กำลังโกรธ หรือเ** เป็นต้น
ปฎิภาณทางปัญญาณ คือ การที่มีวิชาความรู้ และเกิดความคิดรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยวิชาความรู้นั้นเอง เช่น การขอบคุณและชื่นชมผู้อื่น ที่ทำความดีหรือให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเรา เป็นต้น
เรื่องของปฎิภาณนั้น ในศาสนาชินโตของญี่ปุ่น มีหลักการว่า ก่อนทำอะไร ให้ถามความรู้สึกของตัวเองก่อน ว่า ควรทำหรือไม่ควรทำ และอย่าทำอะไรที่ฝืนความรู้สึก หากเราถามตัวเองเช่นนี้ทุกครั้ง ก็จะทำไม่ค่อยผิด เพราะความรู้สึกของตัวเรานั้น มักจะถูกต้องเสมอ ดังนั้น เรื่องของปฎิภาณมักเป็นเรื่องของความรู้สึกล้วนๆ สังเกตความรู้สึกภายในใจมากกว่า
นักปราชญ์ที่ศึกษาเรื่องความคิด มักจะยกย่องเรื่องปฎิภาณนี้ ว่าเป็นเลิศเหนือกว่าความรู้และความฉลาดใดๆ เพราะทำให้รู้เท่าทันคน มีอำนาจในการหยั่งรู้ความคิดและการกระทำของผู้อื่น ทันเหตุการณ์ ทำให้สามารถคิดวางแผนแก้ปัญหาได้ทันท่วงที และเมื่อมีปัญหา หรือ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็สามารถเอาตัวรอด ปฎิบัติได้เหมาะกับเหตุการณ์ โดยไม่ต้องมีเวลาคิด หรือเปิดตำรา หาเหตุผล
แม้ว่า เรื่องการมีปฎิภาณ จะเป็นเรื่องของนิสัยส่วนตัว แต่ก็สามารถฝึกฝนให้เพิ่มพูนได้ีค่ะ
ปฎิภาณทางกาย หรือ Common Sense นั้น ฝึกฝนโดยการ ฝึกเจริญสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จิจจดจ่อกับการกระทำทุกขณะจิต หากอ่านหนังสือ ก็รู้ว่าอ่านอะไร ประเด็นคืออะไร หากสวดมนต์ จิตก็ให้จดจ่ออยู่ที่บทสวด ไม่ล่องลอยเรื่อยเปื่อย ขณะที่ปากกำลังท่องบทสวด เป็นต้น อีกทั้งการฝึกประสาทที่เขียนมาแล้ว ก็ช่วยในการฝึกฝนปฎิภาณทางกายได้ด้วย
ปฎิภาณทางปัญญา นั้นฝึกฝนได้หลายทาง และควรฝึกทุกทางคือ
- ฝึกการชั่งใจ หรือ ใช้ดุลยพินิจ กล่าวคือ เมื่อมีทางเลือกหลายๆทาง ก็ต้องนำข้อมูลที่ได้ มาพิจารณาขั่งนำ้หนักดู ข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก แล้วเลือกสิ่งที่เหมาะสม อย่าเลือกตามความเคยชิน หรือ เชื่อตามที่คนอื่นบอกโดยไม่ไตร่ตรอง ทำตามแฟชั่น ตามกระแส ว่าอย่างไรก็ว่าตามกัน ต้องฝึกใช้ปัญญาไตร่ตรอง ทั้งข้อดี ข้อเสีย ต่อตนเอง และส่วนรวม
- หัดคิดให้ลึก กล่าวคือ อย่าฟัง หรือ อ่านแล้วเชื่อจากข้อมูลที่ได้รับเพียงผิวเผิน แต่ต้องคิดลึกลงไปด้วยถึงเจตนาที่ผู้พูด ผู้กระทำต้องการสื่อ สิ่งที่พูดหรือทำ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาคิดไว้ และต้องฝึกมองให้ออกว่า เจตนาที่ผู้กระทำนั้น มีความจริงใจ หรือหลอกลวง หรือมีเจตนาใดแอบแฝงหรือเปล่า แต่เรื่องนี้ ต้องระวังเหมือนกัน หากฝึกไม่ดี จะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เป็นคนขี้ระแวง ทำให้ไม่มีความสุขได้ ดังนั้น ต้องใช้ความรู้สึกภายในของเรามาช่วยด้วย สัญชาตญาณจะพอบอกได้ค่ะ หากไม่มีอคติ
- พยายามคิดค้นหาหลักทั่วๆไป หรือ General Principle คือ การรู้เหตุ และผล ยิ่งเหตุการณ์ใด เกิดซำ้ๆ ก็ควรต้องมาลองคิดวิเคราะห์ดูว่า ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ซำ้ๆ เหตุคืออะไร และก่อให้เกิดผลอะไร
- พยายามหัดให้ตัวเอง เป็นคนที่ชอบคิดอะไรผิดถูกเสมอ กล่าวคือ มีความรู้ผิดชอบชั่วดี คิดถึงความผิดถูกในแง่ ศีลธรรมจรรยา จริยธรรม กฎหมาย หรือ ผิด Common Sense ไม่เชื่อหรือเห็นชอบการกระทำของคนอื่นง่ายๆ แม้ว่าจะเป็นการกระทำของคนหมู่มาก
ในความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันในประเด็นนี้ เมื่อดิฉันได้อ่านเรื่องนี้ ทำให้ตกผลึกและต่อภาพอะไรได้หลายๆอย่าง
จากประสบการณ์ทำงานกับเด็กจำนวนมากพอควร ลูกน้องเข้าใหม่ และที่อยู่ก่อน ทั้งระดับความรู้น้อย จนความรู้สูง จนไม่กี่วันมานี้ ก็เจอกับลูกน้องระดับด๊ํอกเตอร์ ว่า คนจำนวนมากในปัจจุบัน มีปฎืภาณไหวพริบน้อยลงมาก ดิฉันเจอทั้งปัญหาว่า ลูกน้องคิดไม่เป็น คิดไม่ลึก แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ และไม่อดทน
คนที่ไม่มีปฎิภาณไหวพริบ เมื่อเจอปัญหาเฉพาะหน้า ที่เกิดขึ้นมักจะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร ไม่มีตำรา ไม่มีคู่มือให้เปิดหาคำตอบ และเมื่อตัดสินใจ ก็มักจะเลือกทางที่ผิด เพราะไม่มีดุลยพินิจ ไม่ชั่งใจว่า ทางเลือกใดมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และมองไม่ออกว่า มีผลเสียหายในระยะยาวหรือไม่ เมื่อตัดสินใจผิด ก็เกิดข้อผิดพลาดเสียหาย ทำให้เขาหงุดหงิด และท้อแท้ บ้างก็ไม่อดทนเพราะคิดว่า งานซับซ้อน
ประเด็นคือ งานทุกงานในโลกนี้ ไม่มีงานใดสบาย ดีเลิศทุกประการ ทุกงานล้วนมีปัญหา และซับซ้อนในแบบของมัน ความทุกข์ที่เกิดของคนส่วนมาก ไม่ใช่งานซับซ้อน แต่เป็นเพราะความคิดของคนนั้น ไม่คิดซับซ้อน ไม่ฝึกฝนการคิด ทำให้ไม่มีไหวพริบปฎิภาณ ต้องรอเปิดตำรา ค้นหาสูตรก่อน จึงจะแก้ปัญหาได้
ดิฉันมาค้นหาสาเหตุที่คนสมัยนี้ ไม่ค่อยมีปฎิภาณ ก็ได้ข้อสรุปว่า เป็นเรื่องของการอบรมเลี้ยงดู ในยุคที่สามีภรรยาต้องช่วยกันทำมาหากิน คนสมัยนี้ไม่ค่อยสอนลูกค่ะ โดยเฉพาะเรื่องของมรรยาทนั้นมองผิวเผิน เหมือนการเสแสร้งดัดจริต แต่ที่จริงมันคือการปลูกฝังปฎิภาณในเด็ก ให้ปฎิบัติดี ปฎิบัติถูก ปฎิบัติควร โดยอัตโนมัติ เพราะการที่เราคอยสอนให้เด็กเล็กๆ รู้จักมรรยาท และทำจนเป็นนิสัย เมื่อโตขึ้น เขาก็ปฎิบัติเอง โดยไม่ต้องเตือน ไม่ต้องคิด
เรื่องมรรยาทนี้ หากคิดดีๆ มันเป็นเรื่องของจิตสำนึกสาธารณะ ทำให้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เอื้อเฟื้อมีน้ำใจต่อผู้อื่น และรับผิดชอบต่อสังคม หากคิดเช่นนี้ เรื่องของการปลูกฝังมรรยาท เป็นเรื่องจำเป็น ละเลยไม่ได้ แต่พ่อแม่ปัจจุบันหลายคนมองเห็นเป็นเรื่องโบราณ ครำ่ครึ เป็นเรื่องของเจ้าขุนมูลนาย คนในสังคมชั้นสูง ไม่จำเป็นกับคนทุกคน ซึ่งไม่ใช่ เช่น
เรื่องการสอนลูกให้รู้จักสวัสดีทักทายผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อการได้รับการชื่นชม ว่าเก่งอ่อนน้อมนะคะ แต่เป็นเรื่องการให้เกียรติ ให้กำลังใจผู้อื่น เพื่อนๆลองดูสิคะ หากเราไปทำงาน แล้วคนที่ทำงานไม่มีใครทักเราเลย ไม่คุยกับเรา ทำเหมือนเราไม่มีตัวตน เพื่อนๆจะรู้สึกอย่างไร แต่หากไปที่ใด มีแต่คนยิ้มแย้มทักทาย มันทำให้เราสดชื่น มีกำลังใจ รู้สึกเป็นที่ต้องการ รู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือไม่
การกล่าวสวัสดีทักทายคนอื่น สำหรับดิฉัน มันคือการให้เกียรติค่ะ ทำให้คนๆนั้น มีกำลังใจ รู้สึกว่า เขาเองก็เป็นคนที่มีตัวตน ไม่ใช่คนไร้ค่า เพื่อนๆเคยสอนลูกกล่าวสวัสดียาม หรือคนทำความสะอาดที่คุณเดินผ่านหรือเปล่า หากไม่เคย ลองทำดูสิคะ คุณจะเห็นแววตาแปลกใจ ปนยินดี และหลังจากนั้น เขาจะเป็นมิตรของคุณ ที่กล่าวทักทายคุณ รอรอยยิ้มของคุณทุกครั้งที่เจอ เพราะเหล่านั้นมักถูกคนเดินผ่านโดยไม่มองหน้า ไม่สนใจจะรู้จักชื่อด้วยซำ้ คนทำงานตำแหน่งแบบนี้จึงไม่มีความสุขกับงาน เพราะเขาเห็นเป็นงานไม่มีเกียรติ คนดูถูก ไม่มีใครเห็นคุณค่า แต่หากคิดกลับกัน หากวันใดไม่มีคนทำงานเหล่านี้ ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร
ดิฉันสอนลูกมากๆในเรื่องนี้ ดิฉันจะไม่บอกลูกว่า สวัสดีแล้วคนชื่นชมว่า เก่ง ดี เพราะนั่นไม่สำคัญ ไร้ความหมาย ดิฉันไม่อยากให้ลูกมายึดติดกับความเห็น ความคิดของคนอื่น ว่าคนอื่นเห็นลูกเป็นอย่างไร แต่ดิฉันจะสอนลูกให้ คิดถึงความรู้สึกของคนอื่น ที่เราทักทายว่า เขาดีใจเพียงใด ที่เราให้เกียรติ เห็นเขามีค่า เป็นคนๆหนึ่ง ไม่ใช่แค่เสา ที่เราเดินผ่าน
เรื่องการขอบคุณก็เช่นกัน มันไม่ใช่แค่เป็นมรรยาท แต่มันเป็นการชื่นชมผู้อื่นค่ะ ชื่นชมที่เขาทำความดี เอื้อเฟื้อต่อคนอื่น ทำให้คนทำมีกำลังใจและเห้นคุณค่าของตนเอง เรื่องการเดิน การนั่ง การกิน การแต่งกาย ที่สุภาพเรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ ก็เช่นกัน เป็นการให้เกียรติสถานที่ ให้เกียรติเพื่อนร่วมสังคม และคนที่เราร่วมโต๊ะ ร่วมห้อง ไม่ทำอะไรให้ดูน่าเกลียด หรือ รบกวนผู้อื่น ดิฉันเห็นพ่อแม่หลายคน ปล่อยลูกให้วิ่งเล่นในร้านอาหาร หรือ ร้องไห้โวบวาย โดยไม่สามารถสอนลูกได้ ซึ่งเป็นอันตรายและรบกวนผู้อื่น หากเกิดอุบัติเหตุ เพราะลูกซุกซน นอกจากลูกจะเจ็บเพราะความซุกซน คนที่โชคร้ายคือ คนเสริฟ และร้านที่เกิดเหตุ และอาจจะมีคนอื่นด้วย หากสังเกตเด็กฝรั่งจะไม่เป็นเช่นนี้ เพราะฝรั่งเลี้ยงลูกเองเป็นส่วนใหญ่ สอนเด็กนั่งโต๊ะ กินเป็นที่เป็นทางแต่เด็ก และสอนเรื่องมรรยาทบนโต๊ะอาหารเคร่งครัด หากเกิดอุบัติเหตุ พ่อแม่ต้องรับผิดชอบหนักมาก เพราะการกระทำที่ไม่เหมาะสมของลูกตัวเอง
นี่เป็นกระทู้เรื่อง มรรยาทค่ะ ดิฉันเขียนไว้ในห้องพ่อแม่เมือ่สัปดาห์ก่อน เอามาจากหนังสือ สมบัติผู้ดีค่ะ
http://board.raklukefamilygroup.com/viewtopic.php?t=394887&highlight=
จะเห็นว่าคนเห็นหัวข้อแล้วไม่อยากอ่าน ไม่สนใจ คนอ่านน้อย เพราะคนคิดว่าไม่สำคัญ
แต่ืีที่จริงมันคือการปลูกฝังเรื่องปฎิภาณให้ลูก ให้รู้อะไรถูก อะไรควร ให้ลงไปในจิตใต้สำนึก และหากศึกษาดู เรื่องมรรยาททั้งหลายที่ยกมา ไม่มีอะไรเลยที่เป็นเรื่องของชนชั้น มีแต่ทำเพื่อส่วนรวม เป็นเรื่องศีลธรรมจรรยาทั้งสิ้น
โลกเราทุกวันนี้ เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร มีข้อมูลออกมามากมาย ที่เป็นทั้งเรื่องจริงและไม่จริง เรื่องที่ถูกต้อง และเป็นเรื่องของจินตนาการความเชื่อ ซึ่งหากไม่มีไหวพริบ ไม่มีวิจารณญาณ ก็จะทำให้แยกแยะไม่ออกว่า อะไรคือสิ่งที่ควร หรือไม่ควรทำ จะก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว ระยะสั้นอย่างไร
คนบางคนเชื่อข้อมูล เพียงเพราะว่า คนที่เขียนมีชื่อเสียง มีประวัติดี น่าเชื่อถือ เป็นดารา เป็นนักร้อง คนรู้จัก ดิฉันเห็นหลายๆคน หลายๆข้อมูลที่ออกมา เป็นเรื่องที่ทำลายสังคมในระยะยาว ข้อมูลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง มีอยู่เกลื่อนตลาด คนบางคน ทำผิดพลาด ผิดศีลธรรมจรรยา ทำตัวไม่เหมาะสม แต่นักข่าวให้ความสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่นานๆมีที ไม่มีมาก่อน ทำให้คนทำไม่ถูก กลายเป็นฮีโร่ไปในพริบตา
คนบางคนเชื่อข้อมูล เพียงเพราะคนที่เขียนเป็นคนเรียนมาสูง เป็นด๊อกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ เป็นหมอ ทำให้ดูน่าเชือถือว่า ข้อมูลนั้นถูกต้อง และมีความรู้เชิงวิชาการ
ปัจจุบันมีการทำการตลาดแนวใหม่ คือการสร้างตัวเองเป็นจุดขาย ไม่ต้องลงทุนมาก ใช้แต่การสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเองเท่านั้น เช่น การเขียนบทความต่างๆลงกระทู้ หรือส่งไปตามนิตยสาร หาเรื่องราวน่าสนใจ เรื่องราวใหม่ๆ แนวคิดแปลกใหม่ มาเป็นตัวแสดงวิสัยทัศน์ เมื่อสังคมสนใจ ก็เป็นข่าว เหมือนที่ดิฉันทำอยู่นี้ ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน หากดิฉันมีเจตนาอื่น แอบแฝงก็ไม่ยากเลย
หากคนไม่สนใจมาทาบทาม ดิฉันก็สามารถลงทุนพิมพ์หนังสือขายเองได้ ต้นทุนไม่มาก ขายบ้างแจกบ้างเป็นของขวัญปีใหม่ ตรุษจีน หากเหลือก็เก็บไว้เป็นหนังสือที่ระลึกงานศพได้ ใครจะรู้ แต่ข้อดีคือ ดิฉันกลายเป็นคนมีผลงานสู่สาธาณชน เมื่อเขียนอะไร เสนออะไร ก็มีนำ้หนัก น่าเชื่อถือ พวกบรรดาธุรกิจก็ย่อมอยากให้ดิฉันเป็นคนพูด โฆษณากล่าวถึงธุรกิจของเขา เพราะทำให้น่าเชื่อถือ ติดตลาดง่าย ใช้ทุนน้อย กว่าการโฆษณาอื่นๆ
กลยุทธ์นี้ ทำให้คนแห่กันออกหนังสือกันทั่วบ้าน ทั่วเมือง เพื่อสร้างตัวเอง ให้เป็นแบรนด์
เมื่อข้อมูลต่างๆ ออกมาสู่สาธารณะมากมายก่ายกองขนาดนี้ หากไม่มีไหวพริบ วิจารณญาณ ไม่มีดุลยพินิจ เชื่อตามกระแสสังคมที่ปั่นขึ้นโดยนักการตลาด สังคมก็จะเดินผิดทิศผิดทาง สู่ความพินาจอย่างรวดเร็ว
การสอนลูกให้มี ไหวพริบ มีปฎิภาณ รู้จักแยกแยะผิดถูก รู้ผิดชอบชั่วดี ผลดีผลเสีย ระยะสั้นระยะยาว จึงมีความสำคัญมาก ต่ออนาคตลูก และอนาคตของประเทศไทย
โปรดช่วยกัน
เรื่องของเหตุผลนั้น ในหนังสือ กำลังความคิด ของหลวงวิจิตรวาทการ ท่านได้กล่าวไว้ ถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาว่า การดับมูลเหตุแห่งทุกข์ คือ หนทางดับทุกข์ พระพุทธองค์ตรัสสอนให้เราทุกคน คิดเหตุและผลก่อนที่จะเชื่อ การที่เราต้องรู้เหตุและผลก็เพื่อ
- จะได้หลีกเลี่ยง หรือ ป้องกัน เหตุ อันจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต
- จะได้คาดคะเนได้ว่า หากทำการสิ่งใด ผลจะออกมาอย่างไร จะได้วางแผนไม่ผิดพลาดเสียหาย
แต่การจะรู้จัก เหตุ และผลของมัน ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องที่เป็นสูตรสำเร็จว่าจะต้องคิดอย่างไร
ในหนังสือนี้ คุณหลวงท่านได้แนะนำวิธี ฝึกกำลังความคิดให้เข้าใจเหตุแลผล 3 วิธี
- หัดตัวเราให้เป็นคนมีเหตุผลไว้เสมอ หากพบว่ามีอะไรเกิดขึ้น ก็อย่าคิดว่ามันเกิดขึ้นเอง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น และหากเห็นใครทำอะไร ก็ให้หัดคาดคะเนว่า ผลจะเป็นอย่างไร ฝึกคิดแบบนี้อยู่เสมอ เป็นการฝึกฝนทักษะนี้ค่ะ
- สิ่งที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาว่า เป็นเหตุและผลของกันและกัน เราก็ควรนำมาพิจารณาไตร่ตรองว่าจริงหรือไม่ อย่าได้เชื่อถือตลอด ฝึกฝนนำมาพิจารณาดู จะทำให้กำลังความคิดของเราดีขึ้น
- พยายามอ่านหรือ ศึกษาเรื่องราวต่างๆในทางเหตุผล เช่น ข้อมูลทางสถิตต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรม และผลของมัน ก็ลองมาพิจารณา หาดูว่า เหตุและผลของข้อมูลนั้น มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ยกตัวอย่างสถิติของเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัย มักจะมาจากสถาบันดังๆ นั้น จริงเท็จประการใด สาเหตุที่สรุปว่า การสอนดีกว่า หรือ การเรียนติว เป็นจริงหรือไม่ หรือว่า เนื้อแท้พื้นฐานเด็กที่โรงเรียนเหล่านั้น คัดเด็กเก่งมาเรียนอยู่แล้ว เป๋นต้น
ลองหัดนำเรื่องแบบนี้มาฝึกพืจารณา หาเหตุผล วิเคราะห์ ตรวจสอบเหตุผล อยู่ตลอดเวลา เป็นการลับสมองให้แหลมคมเสมอ
หากฝึกฝนเช่นนี้ จะเห็นว่า บทสรุปที่ว่าไปในหลายๆเรื่อง อาจจะไม่ใช่ความจริง อาจจะมีมุมอื่น ที่คาดเดาผิด ไม่เป็นดังสรุปก็มี ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในหนังสือ มีตัวอย่างเรื่องราวมากมาย ที่บทสรุป ไม่เป็นดังที่ควร น่าศึกษามากค่ะ แต่ขอไม่เล่าในที่นี้ เพราะยาวมาก
ท่านได้พูดถึง การฝึกฝนกำลังความคิด อีกวิธีหนึ่ง คือ การฝึกการตัดสินใจค่ะ ในบทนี้ท่านได้ให้ปัญหาต่างๆ 14 เรื่องราว ไม่ใช่โจทย์ทางคณิคศาสตร์ หรือเกมส์ ที่เราจะสามารถเปิดค้นหา คู่มือ ตำรา ในการทำให้ถูกต้อง แต่เป็นปัญหาที่เราต้องใช้ปัญญาตรึกตรอง คิดว่า หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเรา เป็นเรา เราจะคิดหาวิธีแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง แล้วเราจะตัดสินเลิอกที่จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะอะไร เป็นการฝึกฝนกำลังความคิดที่ดีมากๆ
ดิฉันมาพิจารณาดู คล้ายๆกับที่พวกเราทำๆกันในเวบบอร์ด อ่านเรื่องราวปัญหาของเพื่อนๆที่เขียนกระทู้ มาแบ่งปันประสบการณ์ จะมีเพื่อนๆหลายๆคน อ่านผ่านๆ แล้วดูว่าคนอื่นแนะนำอย่างไร หรือ เรื่องราวเป็นอย่างไร แต่ไม่มีความเห็น คิดว่าไม่ใช่เรื่องของเรา แค่รับรู้ หากเป็นแบบนี้ ก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ คนๆนั้นก็พลาดโอกาสในการฝึกฝน และเพิ่มกำลังความคิด
แต่หากเพื่อนๆมีการนำมาพิจารณา แล้วคิดว่า เหตุการณ์นี้ หากเกิดกับเรา เราจะมีวิธีคิด หรือ แนวทางแก้ปัญหาอย่างไร เราจะตัดสินใจอย่างไร เพราะอะไร แม้จะไม่ได้เขียนความเห็นออกมาในกระทู้ หากได้ฝึกคิดและตัดสินใจ ก็จะเป็นการฝึกฝนกำลังสมองทีดีมาก หากทำเป็นประจำ จะมีกำลังสมองที่มีประสิทธิภาพสูง การทำงานจะมีประสิทธิภาพ เพราะจะมีไหวพริบปฎิภาณที่ดีขึ้น ไวขึ้น และ คิดแก้ปัญหาได้คล่องแคล่ว และกล้าตัดสินใจ อันเป็นคุณสมบัตืที่สำคัญมากของการเป็นผู้นำ และคนที่จะประสบความสำเร็จ ทำงานใหญ่ในอนาคตค่ะ
แสดงความคิดเห็น