เรียนพิเศษช่วงปิดเทอมเป็นทางเลือกของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งสองคน และไม่มีคนดูแลลูกเป็นเหตุผลสำคัญที่คนเป็นพ่อแม่ในหัวเมืองใหญ่ ต้องหาทางออกด้วยการส่งลูกไปเรียนพิเศษ ก็ยังพอไหว เพราะส่วนใหญ่พ่อแม่กลุ่มนี้จะเลือกกิจกรรมผ่อนคลาย หรือกิจกรรมที่ลูกสนุกสนาน เช่น กิจกรรมศิลปะ ดนตรี กีฬา เข้าค่าย ฯลฯ
แต่ก็มีพ่อแม่อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ต้องการให้ลูกอยู่เฉยๆ ที่บ้าน แม้จะมีคนดูแลก็ตาม ด้วยเหตุผลอยากให้ลูกเรียนพิเศษเพิ่มเติม โดยเฉพาะวิชาการ เพราะอยากให้ลูกเรียนล่วงหน้า หรืออยากให้ลูกเรียนเก่ง โดยใช้เหตุผลว่าดีกว่าอยู่บ้านเฉยๆ ล่ะก็ ลองเหลียวไปดูสภาพปัญหาในประเทศจีนกันหน่อยค่ะ
ตอนนี้อาตี๋อาหมวยในประเทศจีนเรียนหนักจนไม่มีเวลาเล่นแล้ว เพราะสภาพการแข่งขันทางการศึกษาที่เต็มไปด้วยความคาดหวังสูง ทำให้ชีวิตวัยเด็กของชาวจีนในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย
เด็กๆ ถูกเร่งในเรื่องการเรียนมากเกินไป ต้องเรียนหนังสือและทำกิจกรรมเสริมพิเศษอย่างหนักจนแทบจะไม่หลงเหลือเวลาสำหรับการเล่นสนุกประสาเด็กอีกต่อไป
ผลสำรวจของบริษัททำวิจัยการตลาด ฮอริซอนคีย์ (Horizonkey) ในประเทศจีน ตอกย้ำเรื่องนี้ว่าเด็กๆ จำนวนมากเริ่มเหนื่อยและล้าจากการเรียนและการบ้านกองโต ซึ่งไม่เพียงเบียดบังเวลาเล่นสนุก แต่ยังทำให้เวลาพักผ่อนหดหายไปอีกด้วย
ครอบครัวกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่มาจากเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางเจา อู่ฮั่น และซีอาน รวมจำนวน 1,400 ครอบครัว ซึ่งมีลูกอายุตั้งแต่ 4-12 ปี พบว่ายิ่งเด็กโตขึ้น เด็กก็ยิ่งมีภาระในการเรียนมากขึ้นจนไม่มีเวลาว่าง ซึ่งไม่ต่างจากผู้ใหญ่ที่ต้องทำงานหนัก เพราะผู้ปกครองต่างพยายามเคี่ยวเข็ญลูกโดยหวังว่าลูกจะได้เข้าโรงเรียนมัธยมที่ดี เพื่อกรุยทางสู่ระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
นอกจากการเรียนในชั้นเรียนปกติแล้ว เด็ก 62% ต้องเรียนเสริมในวิชาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ โดย 10% ในจำนวนนี้บอกว่าสนุกที่ได้เรียนพิเศษ ส่วนที่เหลืออยากจะมีเวลาพักผ่อนและเล่นมากกว่า
ข้อน่าสนใจคือ ในแต่ละวันเด็กๆ ส่วนใหญ่ ใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนนานถึง 9 ชั่วโมงซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานของผู้ใหญ่เสียอีก
เป็นไงคะ ตัวเลขในจีนสะท้อนอะไรในบ้านเราหรือเปล่า
การเตรียมลูกให้มีความพร้อมเพื่อการแข่งขันทางการศึกษาในอนาคตนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องไม่ลืมว่าเด็กก็คือเด็ก ที่ยังต้องการเวลาเล่นสนุกบ้าง ไม่ใช่ให้ตะบี้ตะบันเรียนเพียงอย่างเดียว
ลองมองย้อนดูพฤติกรรมของพ่อแม่ในบ้านเราดูบ้าง
นับวันพฤติกรรมที่เด็กต้องเรียนพิเศษนอกบ้านเพิ่มขึ้นทุกปี มีสถาบันกวดวิชา และสารพัดกิจกรรมเสริมทักษะที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ด
จำได้ว่าสมัยเมื่อตัวเองยังเป็นเด็ก ก็ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป ที่พ่อแม่ก็ส่งไปเรียนพิเศษในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ และช่วงปิดเทอม ทั้งที่ไม่ได้ต้องการเลยแม้แต่น้อย แต่ก็ต้องไปด้วยเหตุผลที่เพื่อนๆ ก็ไปเรียนกันทั้งนั้น และที่หนักไปกว่านั้นก็คือ ยิ่งโตกลับยิ่งต้องกวดวิชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อถึงคราวตัวเองต้องมีลูก ดูเหมือนสถานการณ์จะยิ่งหนักเข้าไปอีก จนกลายเป็นค่านิยมของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องส่งลูกไปเรียนพิเศษซะแล้ว
ตลาดรวมของธุรกิจสถาบันกวดวิชาหรือกิจกรรมพิเศษในช่วงปิดเทอมเติบโตขึ้นทุกปี นี่ยังไม่นับรวมเด็กที่ต้องเรียนพิเศษในช่วงเย็นหรือช่วงวันเสาร์อาทิตย์ของช่วงเปิดเทอม ส่วนสถาบันที่ล้มหายตายจากไปก็มีไม่น้อย แต่อีกไม่นานก็เปลี่ยนไปเปิดใหม่หรือย้ายแหล่งใหม่ เพื่อรองรับในย่านที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวออกไปตามชานเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ที่ดูเหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จของแหล่งสถาบันกวดวิชาที่จะเป็นแหล่งรวมกิจกรรมมากมาย เรียกว่าลูกเรียน พ่อแม่ชอปปิ้งรอลูกให้ห้างสรรพสินค้านั่นแหละ
ไม่น่าแปลกใจหรอกค่ะ ที่เด็กๆ ในยุคปัจจุบันเติบโตขึ้นมาให้ห้างสรรพสินค้า และคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะต้องไปเรียนพิเศษเป็นประจำ เรียนเสร็จก็ชอปปิ้ง แล้วเราจะเรียกร้องให้เด็กอย่าเข้าห้างได้อย่างไร ก็ปลูกฝังให้เขาอยู่ในห้างกันตั้งแต่เด็ก
ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะมองแต่ข้อดีตามค่านิยมส่วนใหญ่ที่ต้องการให้ลูกเรียนพิเศษ เพราะกลัวลูกเรียนไม่ทัน เพราะไม่มีคนดูแลลูก เพราะอยากให้ลูกเรียนเก่งมากขึ้น หรือเหตุผลอะไรก็ตาม แต่มักลงท้ายว่าทำเพื่อลูก
คำถามก็คือ แท้จริงเป็นการทำเพื่อลูกจริงหรือ …!!
ได้มีการถามลูกหรือไม่ว่าอยากเรียนหรือเปล่า ถ้าเป็นกิจกรรมที่ลูกชอบหรือร้องขอก็เป็นเรื่องดี เพราะเป็นกิจกรรมที่เขาหรือเธอตัวน้อยชอบ แต่ถ้าไม่ใช่ล่ะ และการเรียนก็เป็นเพราะพ่อแม่ให้เรียน
แล้วผลที่ตามมาล่ะ...เราลองมาสำรวจลูกกันดีไหมว่าลูกอยากเรียนจริงหรือเปล่า ลองตั้งคำถามเหล่านี้ดูก่อนดีไหม
หนึ่ง – ถามตัวเองก่อนว่าถ้าให้ลูกอยู่บ้านแล้วทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้หรือไม่ เพราะลูกเราก็เรียนมาตลอดทั้งปี เราเองทำงานยังเหนื่อยต้องการวันหยุดพักร้อน แล้วนับประสาอะไรกับเด็กๆ ถ้าสามารถทำได้จะวิเศษยิ่ง เพราะอาจจะสร้างกิจกรรมภายในบ้านให้ทำกิจกรรมร่วมกันได้ตั้งมากมาย
สอง – ถามความรู้สึกของลูกดูก่อน ว่าแม่คิดอย่างไร แล้วลูกคิดอย่างไร เช่น แม่อยากให้ลูกเรียนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์นะ เพราะลูกเรียนไม่ทันเพื่อน ก็ควรจะต้องอธิบายให้ฟัง และให้เขาเต็มใจที่จะเรียนเอง เพราะป่วยการแน่ ถ้าหากลูกไม่ต้องการ แต่คุณบังคับ สุดท้ายลูกก็ไม่ตั้งใจเรียนอยู่ดี
สาม – ถามว่าลูกชอบอะไร แล้วอยากเรียนพิเศษหรือไม่ เพราะลูกอาจชอบศิลปะการป้องกันตัว ก็อาจจะบอกเล่าให้ลูกฟังเบื้องต้นก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วลองให้เขาเรียนรู้จริงก็จะทำให้ได้ประโยชน์เต็มจากการเรียนพิเศษ
เมื่อตั้งคำถามเหล่านี้แล้วต้องตอบแบบไม่เข้าข้างตัวเองด้วยนะ ก็จะทำให้การเรียนรู้ของลูกเกิดประโยชน์
แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือการปรับทัศนคติของผู้ใหญ่ หรือพ่อแม่นั่นแหละที่จะบอกว่า การเรียนรู้ของลูกไม่ใช่อยู่เฉพาะในตำราเท่านั้น ไม่ใช่อยู่เฉพาะคะแนนในห้องเรียนเท่านั้น และไม่ใช่อยู่เฉพาะวิชาการเท่านั้น แต่การเรียนรู้อยู่รอบตัวเด็ก
การเล่นก็คือการเรียนรู้ที่ดี ประสบการณ์ในชีวิตล้วนแล้วแต่เป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กชาวจีน โดยเฉพาะเมืองใหญ่เป็นปัญหาเรื่องการแข่งขัน เพราะความคาดหวังของคนเป็นพ่อแม่สูงเหลือเกิน ตอนนี้บ้านเราก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าบ้านเขา เท่าใดนัก
คำถามที่สำคัญที่สุดน่าจะถามว่า เราอยากให้ลูกเราเป็นอย่างไร
แล้วเราจะได้คำตอบว่า เราออกแบบชีวิตลูกได้ค่ะ
แต่ก็มีพ่อแม่อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ต้องการให้ลูกอยู่เฉยๆ ที่บ้าน แม้จะมีคนดูแลก็ตาม ด้วยเหตุผลอยากให้ลูกเรียนพิเศษเพิ่มเติม โดยเฉพาะวิชาการ เพราะอยากให้ลูกเรียนล่วงหน้า หรืออยากให้ลูกเรียนเก่ง โดยใช้เหตุผลว่าดีกว่าอยู่บ้านเฉยๆ ล่ะก็ ลองเหลียวไปดูสภาพปัญหาในประเทศจีนกันหน่อยค่ะ
ตอนนี้อาตี๋อาหมวยในประเทศจีนเรียนหนักจนไม่มีเวลาเล่นแล้ว เพราะสภาพการแข่งขันทางการศึกษาที่เต็มไปด้วยความคาดหวังสูง ทำให้ชีวิตวัยเด็กของชาวจีนในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย
เด็กๆ ถูกเร่งในเรื่องการเรียนมากเกินไป ต้องเรียนหนังสือและทำกิจกรรมเสริมพิเศษอย่างหนักจนแทบจะไม่หลงเหลือเวลาสำหรับการเล่นสนุกประสาเด็กอีกต่อไป
ผลสำรวจของบริษัททำวิจัยการตลาด ฮอริซอนคีย์ (Horizonkey) ในประเทศจีน ตอกย้ำเรื่องนี้ว่าเด็กๆ จำนวนมากเริ่มเหนื่อยและล้าจากการเรียนและการบ้านกองโต ซึ่งไม่เพียงเบียดบังเวลาเล่นสนุก แต่ยังทำให้เวลาพักผ่อนหดหายไปอีกด้วย
ครอบครัวกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่มาจากเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางเจา อู่ฮั่น และซีอาน รวมจำนวน 1,400 ครอบครัว ซึ่งมีลูกอายุตั้งแต่ 4-12 ปี พบว่ายิ่งเด็กโตขึ้น เด็กก็ยิ่งมีภาระในการเรียนมากขึ้นจนไม่มีเวลาว่าง ซึ่งไม่ต่างจากผู้ใหญ่ที่ต้องทำงานหนัก เพราะผู้ปกครองต่างพยายามเคี่ยวเข็ญลูกโดยหวังว่าลูกจะได้เข้าโรงเรียนมัธยมที่ดี เพื่อกรุยทางสู่ระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
นอกจากการเรียนในชั้นเรียนปกติแล้ว เด็ก 62% ต้องเรียนเสริมในวิชาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ โดย 10% ในจำนวนนี้บอกว่าสนุกที่ได้เรียนพิเศษ ส่วนที่เหลืออยากจะมีเวลาพักผ่อนและเล่นมากกว่า
ข้อน่าสนใจคือ ในแต่ละวันเด็กๆ ส่วนใหญ่ ใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนนานถึง 9 ชั่วโมงซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานของผู้ใหญ่เสียอีก
เป็นไงคะ ตัวเลขในจีนสะท้อนอะไรในบ้านเราหรือเปล่า
การเตรียมลูกให้มีความพร้อมเพื่อการแข่งขันทางการศึกษาในอนาคตนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องไม่ลืมว่าเด็กก็คือเด็ก ที่ยังต้องการเวลาเล่นสนุกบ้าง ไม่ใช่ให้ตะบี้ตะบันเรียนเพียงอย่างเดียว
ลองมองย้อนดูพฤติกรรมของพ่อแม่ในบ้านเราดูบ้าง
นับวันพฤติกรรมที่เด็กต้องเรียนพิเศษนอกบ้านเพิ่มขึ้นทุกปี มีสถาบันกวดวิชา และสารพัดกิจกรรมเสริมทักษะที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ด
จำได้ว่าสมัยเมื่อตัวเองยังเป็นเด็ก ก็ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป ที่พ่อแม่ก็ส่งไปเรียนพิเศษในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ และช่วงปิดเทอม ทั้งที่ไม่ได้ต้องการเลยแม้แต่น้อย แต่ก็ต้องไปด้วยเหตุผลที่เพื่อนๆ ก็ไปเรียนกันทั้งนั้น และที่หนักไปกว่านั้นก็คือ ยิ่งโตกลับยิ่งต้องกวดวิชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อถึงคราวตัวเองต้องมีลูก ดูเหมือนสถานการณ์จะยิ่งหนักเข้าไปอีก จนกลายเป็นค่านิยมของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องส่งลูกไปเรียนพิเศษซะแล้ว
ตลาดรวมของธุรกิจสถาบันกวดวิชาหรือกิจกรรมพิเศษในช่วงปิดเทอมเติบโตขึ้นทุกปี นี่ยังไม่นับรวมเด็กที่ต้องเรียนพิเศษในช่วงเย็นหรือช่วงวันเสาร์อาทิตย์ของช่วงเปิดเทอม ส่วนสถาบันที่ล้มหายตายจากไปก็มีไม่น้อย แต่อีกไม่นานก็เปลี่ยนไปเปิดใหม่หรือย้ายแหล่งใหม่ เพื่อรองรับในย่านที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวออกไปตามชานเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ที่ดูเหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จของแหล่งสถาบันกวดวิชาที่จะเป็นแหล่งรวมกิจกรรมมากมาย เรียกว่าลูกเรียน พ่อแม่ชอปปิ้งรอลูกให้ห้างสรรพสินค้านั่นแหละ
ไม่น่าแปลกใจหรอกค่ะ ที่เด็กๆ ในยุคปัจจุบันเติบโตขึ้นมาให้ห้างสรรพสินค้า และคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะต้องไปเรียนพิเศษเป็นประจำ เรียนเสร็จก็ชอปปิ้ง แล้วเราจะเรียกร้องให้เด็กอย่าเข้าห้างได้อย่างไร ก็ปลูกฝังให้เขาอยู่ในห้างกันตั้งแต่เด็ก
ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะมองแต่ข้อดีตามค่านิยมส่วนใหญ่ที่ต้องการให้ลูกเรียนพิเศษ เพราะกลัวลูกเรียนไม่ทัน เพราะไม่มีคนดูแลลูก เพราะอยากให้ลูกเรียนเก่งมากขึ้น หรือเหตุผลอะไรก็ตาม แต่มักลงท้ายว่าทำเพื่อลูก
คำถามก็คือ แท้จริงเป็นการทำเพื่อลูกจริงหรือ …!!
ได้มีการถามลูกหรือไม่ว่าอยากเรียนหรือเปล่า ถ้าเป็นกิจกรรมที่ลูกชอบหรือร้องขอก็เป็นเรื่องดี เพราะเป็นกิจกรรมที่เขาหรือเธอตัวน้อยชอบ แต่ถ้าไม่ใช่ล่ะ และการเรียนก็เป็นเพราะพ่อแม่ให้เรียน
แล้วผลที่ตามมาล่ะ...เราลองมาสำรวจลูกกันดีไหมว่าลูกอยากเรียนจริงหรือเปล่า ลองตั้งคำถามเหล่านี้ดูก่อนดีไหม
หนึ่ง – ถามตัวเองก่อนว่าถ้าให้ลูกอยู่บ้านแล้วทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้หรือไม่ เพราะลูกเราก็เรียนมาตลอดทั้งปี เราเองทำงานยังเหนื่อยต้องการวันหยุดพักร้อน แล้วนับประสาอะไรกับเด็กๆ ถ้าสามารถทำได้จะวิเศษยิ่ง เพราะอาจจะสร้างกิจกรรมภายในบ้านให้ทำกิจกรรมร่วมกันได้ตั้งมากมาย
สอง – ถามความรู้สึกของลูกดูก่อน ว่าแม่คิดอย่างไร แล้วลูกคิดอย่างไร เช่น แม่อยากให้ลูกเรียนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์นะ เพราะลูกเรียนไม่ทันเพื่อน ก็ควรจะต้องอธิบายให้ฟัง และให้เขาเต็มใจที่จะเรียนเอง เพราะป่วยการแน่ ถ้าหากลูกไม่ต้องการ แต่คุณบังคับ สุดท้ายลูกก็ไม่ตั้งใจเรียนอยู่ดี
สาม – ถามว่าลูกชอบอะไร แล้วอยากเรียนพิเศษหรือไม่ เพราะลูกอาจชอบศิลปะการป้องกันตัว ก็อาจจะบอกเล่าให้ลูกฟังเบื้องต้นก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วลองให้เขาเรียนรู้จริงก็จะทำให้ได้ประโยชน์เต็มจากการเรียนพิเศษ
เมื่อตั้งคำถามเหล่านี้แล้วต้องตอบแบบไม่เข้าข้างตัวเองด้วยนะ ก็จะทำให้การเรียนรู้ของลูกเกิดประโยชน์
แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือการปรับทัศนคติของผู้ใหญ่ หรือพ่อแม่นั่นแหละที่จะบอกว่า การเรียนรู้ของลูกไม่ใช่อยู่เฉพาะในตำราเท่านั้น ไม่ใช่อยู่เฉพาะคะแนนในห้องเรียนเท่านั้น และไม่ใช่อยู่เฉพาะวิชาการเท่านั้น แต่การเรียนรู้อยู่รอบตัวเด็ก
การเล่นก็คือการเรียนรู้ที่ดี ประสบการณ์ในชีวิตล้วนแล้วแต่เป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กชาวจีน โดยเฉพาะเมืองใหญ่เป็นปัญหาเรื่องการแข่งขัน เพราะความคาดหวังของคนเป็นพ่อแม่สูงเหลือเกิน ตอนนี้บ้านเราก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าบ้านเขา เท่าใดนัก
คำถามที่สำคัญที่สุดน่าจะถามว่า เราอยากให้ลูกเราเป็นอย่างไร
แล้วเราจะได้คำตอบว่า เราออกแบบชีวิตลูกได้ค่ะ
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น