วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ในการฝึกลูกเรื่องจิตอาสา












มาเล่าต่อ เรื่องงานจิตอาสานี่ เป็นงานที่ต้องฝืนกิเลส พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความขี้เกียจ ความรักสบาย และเรื่องอัตตาต่างๆ สถานที่ทำงานจิตอาสา มักไม่ได้ มีึความสะดวกสบายมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องห้องน้ำ ห้องท่า อาหารการกิน หรือ ความร้อน ความสกปรก สิ่งที่ต้องฝึกทำใจยอมรับเรื่องแรกคือเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก กทม. ลูกหลานคนเมือง ชินกับห้องน้ำสะอาด แอร์เย็นฉ่ำ แค่คิดเรื่องนี้ก็ถอยแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเราได้มีโอกาสพาเด็กๆไปสัมผัสจริงๆ เด็กๆเค้ารับได้ค่ะ และได้มีโอกาสเรียนรู้อะไรมากมาย 


ดิฉันพาลูกเล็กๆไปช่วยงานจิตอาสาหลายงาน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตอนแรกๆในฐานะแม่ ดิฉันก็กังวลเหมือนกัน เรื่องความสะอาด เรื่องความปลอดภัย คนมากมาย ที่โกลาหน ลูกเล็กๆอาจจะพลัดหลงไปได้ จะทำงานจิตอาสา ไหนจะห่วงลูกเรื่องคนเยอะ เรื่องความปลอดภัย ทำให้ต้องเลือกงานพอสมควร โดยเฉพาะในสถานที่ ๆที่เป็นสถานที่ปิด ที่พอดูแลความปลอดภัยของลูกได้ 

ตอนที่มองหางานอาสาสมัครใน FB ดิฉันจึงเลือกงานที่เด็กๆ ทำได้ เช่น งาน แพ็กยาของสภากาชาด งานแพ็คเม็ดพริก หรือ งานแพ็คของบริจาคที่บ้านญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ซึ่งเป็นสถานที่คนไม่ชุลมุลมาก เป็นสถานที่ปิด และงานไม่ยากเกินไป สำหรับเด็กเล็กๆ ซึ่งก็ดีมากค่ะ ลูกๆได้เรียนรู้มากกว่าที่คิด 


สิ่งแรกที่ลูกเ็ห็น คือ คนจำนวนมากมาย พี่ๆตัวเล็ก ตัวใหญ่ ใส่ชุดนักเรียน นักศึกษา ช่วยกันยกของ แพ็คของ กันมากมาย ช่วยกันคนละไม้ละมือ ด้วยกิริยา ถ้อยทีถ้อยอาศัย ลูกๆไ้ด้เห็นความเือื้อเฟื้อ เต็มอกเต็มใจของเพื่อนร่วมสังคม ที่จะช่วยเหลือเกือ้...ลผู้อื่น ลูกชายสองคนของดิฉัน ถามตลอดว่า "ทำไมคนเยอะจัง ทำไมคนเยอะจัง พี่เค้าทำอะไรกัน" สายตาน้อยๆสอดส่าย มองดูผู้คนรอบข้างทำความดี ทำงานจิตอาสา ดิฉันเชื่อว่า สิ่งที่เค้าเห็นด้วยสายตาตนเอง ที่คนช่วยกันไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย จะประทับในความทรงจำของลูก เป็นความทรงจำที่ดีงาม สร้างทัศนคติที่ดี ให้รักคนอื่น รักและขอบคุณคนในสังคมที่มีเมตตาต่อกัน 

ทุกวันนี้ หากเราอยู่ในเมือง จะประสบเหตุการณ์มากมาย ที่แก่งแย่งกัน ทั้งแย่งกันซื้อของ ขับรถไม่เคารพกฎจราจร ทะเลาะเบาะแว้ง หมั่นไส้กัน แย่งของเล่น ไม่แบ่งปัน ประสบการณ์ร้ายๆเหล่านี้ จะสร้างความรู้สึกลบ ความรู้สึกเกลียดชังในจิตใจเด็ก ว่าจะอยู่รอดในสังคม เราต้องเหยียบข้ามผู้อื่นไป ต้องต่อสู้ ต้องแย่งชิงมา ดังนั้น ในการพาลูกไปทำงานจิตอาสานอกสถานที่ เป็นโอกาสให้เด็กๆได้เห็นอีกมุมหนึ่งที่ดีงาม ของคนในสังคม ที่ทุ่มเท ช่วยเหลือเกือ้...ลกัน แทนที่จะให้เด็กๆได้เห็นแต่เรื่องราว ลบๆ ในสังคมนะคะ 



ในการทำงาน แพ็คยา หรือ แพ็คเม็ดพริก หรือ แพ็คถุงยังชีพนั้น แม้จะเป็นงานที่ไม่ยากมากนัก แต่งานแต่ละงาน ก็มีหลายขั้นตอน ดังนั้น เด็กๆได้มีโอกาสเห็นการทำงานแบบ "อุตสาหกรรม" หรือ การทำงานจำวนมาก ซึ่งเป็นการพัฒนาความคิด อีกมุมหนึ่ง กล่าวคือ

ในการแพ็คยา หรือ แพ็คพริกนั้น จะมีขั้นตอน การเอาของนั้นๆ เช่น ยา หรือ พริก มาใส่ซอง ปิดเทป เพื่อปิดซอง และใส่กล่อง และนับจำนวน แม้ว่าขั้นตอนมีเพียงแค่นี้ แต่หากการทำงานเป็นร้อยๆ หรือเป็นพันชิ้น หากมีการตัดแบ่งงานให้ทำงานคนละขั้นตอน ทำแบบทีมเวิร์ค ก็จะทำงานได้เร็วกว่า ที่จะทำงานคนเดียวทุกขั้นตอน เพราะอาจจะทำให้เกิดความสับสน รอกัน แย่งทรัพยากรกัน และผิดพลาดในการทำงาน

ดิฉันจึงใช้โอกาสนี้ สอนลูกให้แบ่งงานออกมาแต่ละขั้นตอน และเปรียบเทียบให้ดูความเร็ว ของการทำงานหลายๆวิธี ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสอนลูกทำงานเป็นทีม และแบ่งงานไปด้วย ซึ่งถือว่า เป็นส่วนนึงของวิชา Operation Management ก็ว่าได้ การให้โอกาสเด็กๆได้มีโอกาสฝึกจากการทำงานจริงนั้น ทำให้เด็กได้มีโอกาสคิด เรื่องการทำงานให้มีประสิทธิภาพ การทำงานให้เร็ว และผิดพลาดให้น้อยที่สุด ซึ่งเป็นหัวใจของภาคธุรกิจ

หากไม่มีเหตุการณ์ที่ต้องทำงานจำนวนมากๆ จะหาโอกาสสอนลูกเรื่องนี้ก็ทำได้ยาก ยกเว้นทางบ้านจะทำงานด้านอุตสาหกรรม


มีเหมือนกันค่ะ ที่ลูกคนเล็ก สี่ขวบ บ่นเบื่อ หรือร้อน หรือ สกปรก เวลาต้องเจอสภาพที่คนแออัดเวลามาเข้าห้องน้ำ แต่เมื่อเห็นพี่ๆ ทุกคนก็เจอสภาพเดียวกัน ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส ช่วยกัน เค้าก็เรียนรู้เองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องธรรมชาติ คนอื่นรับได้ เค้าก็ทำได้ เป็นการฝึกนิสัยให้รู้จัก ปล่อยวาง อยู่ง่าย กินง่าย

สิ่งนึงที่สำคัญ คือ ลูกได้ฝึกเรื่องการยอมรับนับถือตนเอง ภาคภูมิใจในตนเองว่า แม้ว่า เค้ายังเล็ก แต่เค้าก็สามารถทำประโยชน์ให้ส่วนรวมได้ ทำให้ลูกเชื่อมั่น ว่าตนเองมีศักยภาพ และสามารถทำได้เหมือนพี่ๆคนอื่นเมื่อลูกโตขึ้น

ผลจากการทำงานจิตอาสามาในช่วงสองเดือนที่ผ่านมานี่ ก็รู้สึกว่าได้ผลดีนะคะ ในแง่ลูกมีความรับผิดชอบมากขึ้นที่บ้าน ยอมฝึกทำงานบ้าน เก็บของ ทานข้าว หรือรับผิดชอบกับชีวิตของตัวเอง เพราะการจะเป็นจิตอาสาที่ดีนั้น ต้องเริ่มต้นจากการดูแลตัวเองได้ รับผิดชอบกับหน้าที่ของตนเอง และรับผิดชอบต่อครอยครัว และช่วยเหลือพ่อแม่ และคนใกล้ชิดได้ จึงจะเผื่อแผ่ออกมาสังคมภายนอก เมื่อลูกตระหนักถึงหน้าที่ของตัวเองในอนาคต ที่ต้องช่วยเหลิอ เกื้อ...ลผู้อื่นยามเกิดภัยพิบัติ ลูกก็กระตือรือร้นที่จะฝึกหัดทักษะต่างๆ มากขึ้น โดยไม่เกี่ยงงอน เช่น หัดว่ายน้ำ ช่วยล้างจาน หัดงานบ้าน เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นผลที่ดีค่ะ

อยากเชิญชวนเพื่อนๆ ให้ใช้วิกฤตนี้ ฝึกฝนลูกเรื่องจิตอาสา ฝึกลูกให้แข็งแกร่งนะคะ แล้วผลที่ได้ จะคุ้มค่าอย่างคาดไม่ถึงทีเดียว

ให้กำลังใจทุกท่านค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มาฝึกลูกเรื่องจิตอาสาให้ถูกวิธีกันเถอะ

มาเล่าเรื่องการฝึกลูกเรื่องจิตอาสากันบ้าง   เรื่องจิตอาสานี่ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ได้ชื่อว่าช่วยคนนะคะ เพราะการทำงานจิตอาสา แบบ "สักแต่ว่าได้ทำ"  ไม่ได้ใช้สติปัญญาตรึกตรอง ว่าสิ่งใดควรทำ หรือ ไม่ควรทำ ไม่คำนึงที่วิธีการ  อาจจะทำให้เหตุการณ์นั้น ยิ่งเลวร้าย หรือก่อความเสียหายเป็นวงกว้าง   เช่นเราพบคนประสบอุบัติเหตุ  หากเรารีบร้อนเข้าไปช่วยเหลือ โดยไม่มีความรู้ในการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาจจะทำให้คนผู้นั้น เสียชีวิต หรือ พิการ จากการเคลื่อนย้าย หรือช่วยเหลือผิดวิธี   ดังนั้น การฝึกลูกเรื่องจิตอาสานั้น นอกจากเราจะต้องฝึกลูกให้เห็นอกเห็นใจ เมตตาต่อผู้อื่น เสียสละ แบ่งปัน และลงมือช่วยเหลือผู้อื่นในรูปแบบต่างๆที่เราถนัด  เรายังต้องฝึกลูกให้เข้าใจถึงวิธีการ ทำงานจิตอาสาที่ถูกต้อง  เพื่อป้องกันตัวของเราเอง ไม่ให้ได้รับอุบัติเหตุ ติดโรค หรือได้รับผลกระทบ หรืออันตราย จากงานจิตอาสาที่เราทำ   รวมทั้ง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตราย หรือ ทุกข์ภัย ดังเจตนารมย์ของการทำงานจิตอาสาด้วย

 คู่มือจิตอาสา  


จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากมายต่อประชาชน และเราก็ได้เห็นคนไทยออกมาเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงน้ำใจต่อคนไทยอย่างชัดเจน แต่การที่จะเป็นจิตอาสาที่ดีนั้น อาจจะไม่รู้จะต้องทำอย่างไร ครั้งนี้ได้นำคู่มือจิตอาสามาฝากกันนะครับ ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็จะทำให้เราออกไปเป็นจิตอาสาอย่างสมบูรณ์แบบ และจะไม่เกิดปัญหาต่างๆตามมา ทำให้งานที่เราได้ไปช่วยสำเร็จสมบูรณ์อย่างที่ต้องการนั่นเองครับ
 
คู่มือจิตอาสา 6 ขั้นตอนที่อาสาต้องรู้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงาน สำหรับทุกหัวใจที่มีจิตอาสา สำหรับทุกงานเพื่อการสร้างสรรค์โลกนี้ให้น่าอยู่และดูแลใจให้มั่นคง ยังประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่น
สำรวจตัวเองเพราะอะไร?
อะไรทำให้เราจะไปทำงานอาสา ? ต้องตอบตัวเองให้ได้ และระลึกถึงสิ่งนี้ไว้ในใจ เพราะมันเป็นพลังเติมใจให้เรามุ่งมั่นทำงานเพื่อสิ่งนี้ประเมินสุขภาพตัวเองวันนี้เราสบายดีใช่ไหม ? ทั้งกายและใจเต็ม 100% หรือไม่? นอกจากจิตใจที่มุ่งมั่น สุขภาพดีทั้งกายและใจ ย่อใมำให้เราดูแลตนเองได้ ไม่แพร่เชื้อ ไม่เป็นภาระแก่ใคร ก็เท่ากับได้ดูแลคนอื่น มีโรคประจำตัวก็ทำงานอาสาได้ แค่เลือกงานให้เหมาะสมมีความถนัด ความเชี่ยวชาญ หรือความสามารถพิเศษอะไรบ้างอาจเป็นทักษะในอาชีพของตนเอง หรืองานอดิเรกของเรา หรือความเชี่ยวชาญทางภาษา ความรู้เฉพาะด้าน ความชำนาญงานช่างฝีมือ รวมทั้งความสามารถเล็ก อย่างเช่นการรับโทรศัพท์ จดบันทึก พิมพ์ดีด ก็เป็นประโยชน์มาก
ศึกษากิจกรรมอาสาที่เหมาะกับเรารู้ข้อมูลล่วงหน้าว่าจะต้องเดินทางอย่างไร มีของอะไรต้องเตรียมไปเองบ้าง ต้องทำงานเวลาไหนนานเท่าไร และประเมินข้อจำกัดเงื่อนไขของตัวเอง จะลดภาระของคนจัดการ ผู้ประสานงาน และทำงานอาสาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เตรียมตัวก่อนมา·         แต่งกายให้เหมาะสมกับงาน·         พกเงินมาให้พอเหมาะสำหรับการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่อาจมี·         ทานข้าวให้เรียบร้อย เตรียมน้ำดื่มไปเอง (ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรฝากท้องไว้ว่าจะไปกินที่งาน)·         วางแผนเดินทาง ต้องไปให้ถึงตรงต่อเวลานัดหมาย·         แจ้งคนที่บ้านว่าจะไปไหน ไปทำอะไร และนัดแนะว่าจะติดต่อกันอย่างไร
เมื่อถึงงานอาสามองหาโต๊ะลงทะเบียน หรือคนจัดการ ผู้ประสานงานเพื่อให้ข้อมูลของเราที่จะเป็นประโยชน์ต่องาน และได้รู้สถานการณ์ว่ามีงานใด สำคัญ เร่งด่วน ต้องการกำลังคนหรือทักษะอะไร และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาฐานข้อมูลอีกด้วย #แต่ละงานมีลักษณะต่างกัน ถ้าเราลงมือลุยทำงานไปเลย อาจไม่ได้ทำประโยชน์ให้ได้เต็มที่ หรือบางทีกลับเป็นอุปสรรคด้วยซ้ำเลือกงานให้เหมาะสม ประเมินกำลัง ทักษะ และเวลาที่เรามีอย่าลืม! ต้องบอกคนจัดการ ผู้ประสานงานให้รู้ไว้ เพราะถ้าได้ใช้ความถนัดของเรา ก็ช่วยงานได้มาก แต่ถ้าหากเป็นงานเฉพาะหน้า ได้ทำสิ่งที่ไม่ถนัด ก็ต้องหัดวางใจ ขอให้นึกถึงเหตุผลที่ทำให้เรามาเป็นอาสาเอาไว้ (แม้ไม่ได้ทำงานก็ไม่เป็นไร สำคัญท่มุ่งมั่นตั้งใจ วันหลังมาใหม่ จิตอาสามีงานทุกที่ทุกเวลาถ้าเรามีใจ)
ขณะทำงานอาสา·         ต้องแน่ใจว่าเราเข้าใจขั้นตอน วิธีการได้ถูกต้องครบถ้วน·         พบปัญหามีข้อสงสัย รีบบอกให้คนจัดการ ผู้ประสานงานรู้ทันที ไม่ควรทึกทักจัดการเอง·         ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง หนักนิดเบาหน่อยก็อภัยให้กัน การมีมิตรไมตรีสามัคคีกันสำคัญเท่ากับงานสำเร็จ·         เมื่อเราได้ลงมือทำจริงๆ อาจจะมีความไม่ถูกใจ ความหงุดหงิด ที่เกิดจากการทำงาน ยิ่งบางงานที่เป็นงานเร่งด่วนหรืองานร้อน ก็อาจกระทบกระทั่งกันได้ ง่าย ขอให้เรามีท่าทีที่ดีเรื่องนี้ เพราะสิ่งสำคัญกว่าคือการได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือคนอื่น และยิ่งกว่านั้น จิตอาสาคือการขัดเกลาตัวเอง และละทิ้งอัตตาตัวตน บรรดาความไม่ถูกใจ ความหงุดหงิด นี่แหละ เป็นสิ่งที่จะพาให้เราได้ลดละตัวกูของกู·         ทำไม่ไหวต้องบอก อย่าฝืนจนเกินกำลังตัวเอง ไม่ใช่แค่ดูแลตัวเองเพื่อตัวเอง แต่เพื่อสามารถไปดูแลคนอื่นต่อได้ และไม่เป็นภาระให้คนอื่น 
ดูแลตัวเอง=ดูแลทุกคน 
หลังจากเสร็จงานหาเวลาทบทวนตัวเอง เราได้ทำสิ่งที่เราตั้งไว้ตั้งแต่แรกใช่ใหม มีอะไรประทับใจบ้าง อาจถามตัวเองว่าได้เรียนรู้อะไร มีหน้าที่อะไรที่ครั้งหน้าจะทำได้ดีกว่านี้อีกไหม หรือแม้กระทั่งข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตต่างๆที่มีต่องานที่ไปทำมา#การทบทวนตัวเองนั้นมีประโยชน์มาต่อการพัฒนาตัวเรา และจิตอาสาของเราทำให้เราไม่หลงทาง ไม่ยึดติดตัวบุคคลหรือผลงานแบ่งปันเรื่องราว ความประทับใจ บทเรียนของเรา รวมถึงข้อเสนอแนะและข้อสังเกตที่เราได้ การแบ่งปันเรื่องเหล่านี้ เป็นการส่งต่อความสุข และยังเป็นการสื่อสารเรื่องจิตอาสาให้สังคมได้รับรู้ จะบอกเล่าปากเปล่า เขียนถึงหน่วยงานผู้จัด เขียนบล๊อก หรือใช้ทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุคก็ได้ ล้วนเป็นประโยชน์ให้ได้พัฒนาจิตอาสาของทั้งสังคมไทยขอให้ทุกคนได้รับใช้เพื่อนมนุษย์ สังคมโลก ด้วยจิตที่เบิกบานนะครับคัดลอกโดย จาก Jittapanya.com  โดย armcreation
Read more: http://www.imarm.com/%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1/#ixzz1eFuq4dQj

ตั้งคำถามก่อนส่งลูกไปเรียนพิเศษ

      เรียนพิเศษช่วงปิดเทอมเป็นทางเลือกของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งสองคน และไม่มีคนดูแลลูกเป็นเหตุผลสำคัญที่คนเป็นพ่อแม่ในหัวเมืองใหญ่ ต้องหาทางออกด้วยการส่งลูกไปเรียนพิเศษ ก็ยังพอไหว เพราะส่วนใหญ่พ่อแม่กลุ่มนี้จะเลือกกิจกรรมผ่อนคลาย หรือกิจกรรมที่ลูกสนุกสนาน เช่น กิจกรรมศิลปะ ดนตรี กีฬา เข้าค่าย ฯลฯ
      
       แต่ก็มีพ่อแม่อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ต้องการให้ลูกอยู่เฉยๆ ที่บ้าน แม้จะมีคนดูแลก็ตาม ด้วยเหตุผลอยากให้ลูกเรียนพิเศษเพิ่มเติม โดยเฉพาะวิชาการ เพราะอยากให้ลูกเรียนล่วงหน้า หรืออยากให้ลูกเรียนเก่ง โดยใช้เหตุผลว่าดีกว่าอยู่บ้านเฉยๆ ล่ะก็ ลองเหลียวไปดูสภาพปัญหาในประเทศจีนกันหน่อยค่ะ
      
       ตอนนี้อาตี๋อาหมวยในประเทศจีนเรียนหนักจนไม่มีเวลาเล่นแล้ว เพราะสภาพการแข่งขันทางการศึกษาที่เต็มไปด้วยความคาดหวังสูง ทำให้ชีวิตวัยเด็กของชาวจีนในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย
      
       เด็กๆ ถูกเร่งในเรื่องการเรียนมากเกินไป ต้องเรียนหนังสือและทำกิจกรรมเสริมพิเศษอย่างหนักจนแทบจะไม่หลงเหลือเวลาสำหรับการเล่นสนุกประสาเด็กอีกต่อไป
      
       ผลสำรวจของบริษัททำวิจัยการตลาด ฮอริซอนคีย์ (Horizonkey) ในประเทศจีน ตอกย้ำเรื่องนี้ว่าเด็กๆ จำนวนมากเริ่มเหนื่อยและล้าจากการเรียนและการบ้านกองโต ซึ่งไม่เพียงเบียดบังเวลาเล่นสนุก แต่ยังทำให้เวลาพักผ่อนหดหายไปอีกด้วย
      
       ครอบครัวกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่มาจากเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางเจา อู่ฮั่น และซีอาน รวมจำนวน 1,400 ครอบครัว ซึ่งมีลูกอายุตั้งแต่ 4-12 ปี พบว่ายิ่งเด็กโตขึ้น เด็กก็ยิ่งมีภาระในการเรียนมากขึ้นจนไม่มีเวลาว่าง ซึ่งไม่ต่างจากผู้ใหญ่ที่ต้องทำงานหนัก เพราะผู้ปกครองต่างพยายามเคี่ยวเข็ญลูกโดยหวังว่าลูกจะได้เข้าโรงเรียนมัธยมที่ดี เพื่อกรุยทางสู่ระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
      
       นอกจากการเรียนในชั้นเรียนปกติแล้ว เด็ก 62% ต้องเรียนเสริมในวิชาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ โดย 10% ในจำนวนนี้บอกว่าสนุกที่ได้เรียนพิเศษ ส่วนที่เหลืออยากจะมีเวลาพักผ่อนและเล่นมากกว่า
      
       ข้อน่าสนใจคือ ในแต่ละวันเด็กๆ ส่วนใหญ่ ใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนนานถึง 9 ชั่วโมงซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานของผู้ใหญ่เสียอีก
      
       เป็นไงคะ ตัวเลขในจีนสะท้อนอะไรในบ้านเราหรือเปล่า
      
       การเตรียมลูกให้มีความพร้อมเพื่อการแข่งขันทางการศึกษาในอนาคตนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องไม่ลืมว่าเด็กก็คือเด็ก ที่ยังต้องการเวลาเล่นสนุกบ้าง ไม่ใช่ให้ตะบี้ตะบันเรียนเพียงอย่างเดียว
      
       ลองมองย้อนดูพฤติกรรมของพ่อแม่ในบ้านเราดูบ้าง
      
       นับวันพฤติกรรมที่เด็กต้องเรียนพิเศษนอกบ้านเพิ่มขึ้นทุกปี มีสถาบันกวดวิชา และสารพัดกิจกรรมเสริมทักษะที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ด
      
       จำได้ว่าสมัยเมื่อตัวเองยังเป็นเด็ก ก็ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป ที่พ่อแม่ก็ส่งไปเรียนพิเศษในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ และช่วงปิดเทอม ทั้งที่ไม่ได้ต้องการเลยแม้แต่น้อย แต่ก็ต้องไปด้วยเหตุผลที่เพื่อนๆ ก็ไปเรียนกันทั้งนั้น และที่หนักไปกว่านั้นก็คือ ยิ่งโตกลับยิ่งต้องกวดวิชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อถึงคราวตัวเองต้องมีลูก ดูเหมือนสถานการณ์จะยิ่งหนักเข้าไปอีก จนกลายเป็นค่านิยมของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องส่งลูกไปเรียนพิเศษซะแล้ว
      
       ตลาดรวมของธุรกิจสถาบันกวดวิชาหรือกิจกรรมพิเศษในช่วงปิดเทอมเติบโตขึ้นทุกปี นี่ยังไม่นับรวมเด็กที่ต้องเรียนพิเศษในช่วงเย็นหรือช่วงวันเสาร์อาทิตย์ของช่วงเปิดเทอม ส่วนสถาบันที่ล้มหายตายจากไปก็มีไม่น้อย แต่อีกไม่นานก็เปลี่ยนไปเปิดใหม่หรือย้ายแหล่งใหม่ เพื่อรองรับในย่านที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวออกไปตามชานเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ที่ดูเหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จของแหล่งสถาบันกวดวิชาที่จะเป็นแหล่งรวมกิจกรรมมากมาย เรียกว่าลูกเรียน พ่อแม่ชอปปิ้งรอลูกให้ห้างสรรพสินค้านั่นแหละ
      
       ไม่น่าแปลกใจหรอกค่ะ ที่เด็กๆ ในยุคปัจจุบันเติบโตขึ้นมาให้ห้างสรรพสินค้า และคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะต้องไปเรียนพิเศษเป็นประจำ เรียนเสร็จก็ชอปปิ้ง แล้วเราจะเรียกร้องให้เด็กอย่าเข้าห้างได้อย่างไร ก็ปลูกฝังให้เขาอยู่ในห้างกันตั้งแต่เด็ก
      
       ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะมองแต่ข้อดีตามค่านิยมส่วนใหญ่ที่ต้องการให้ลูกเรียนพิเศษ เพราะกลัวลูกเรียนไม่ทัน เพราะไม่มีคนดูแลลูก เพราะอยากให้ลูกเรียนเก่งมากขึ้น หรือเหตุผลอะไรก็ตาม แต่มักลงท้ายว่าทำเพื่อลูก
      
       คำถามก็คือ แท้จริงเป็นการทำเพื่อลูกจริงหรือ …!!
      
       ได้มีการถามลูกหรือไม่ว่าอยากเรียนหรือเปล่า ถ้าเป็นกิจกรรมที่ลูกชอบหรือร้องขอก็เป็นเรื่องดี เพราะเป็นกิจกรรมที่เขาหรือเธอตัวน้อยชอบ แต่ถ้าไม่ใช่ล่ะ และการเรียนก็เป็นเพราะพ่อแม่ให้เรียน
      
       แล้วผลที่ตามมาล่ะ...เราลองมาสำรวจลูกกันดีไหมว่าลูกอยากเรียนจริงหรือเปล่า ลองตั้งคำถามเหล่านี้ดูก่อนดีไหม
      
       หนึ่ง – ถามตัวเองก่อนว่าถ้าให้ลูกอยู่บ้านแล้วทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้หรือไม่ เพราะลูกเราก็เรียนมาตลอดทั้งปี เราเองทำงานยังเหนื่อยต้องการวันหยุดพักร้อน แล้วนับประสาอะไรกับเด็กๆ ถ้าสามารถทำได้จะวิเศษยิ่ง เพราะอาจจะสร้างกิจกรรมภายในบ้านให้ทำกิจกรรมร่วมกันได้ตั้งมากมาย
      
       สอง – ถามความรู้สึกของลูกดูก่อน ว่าแม่คิดอย่างไร แล้วลูกคิดอย่างไร เช่น แม่อยากให้ลูกเรียนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์นะ เพราะลูกเรียนไม่ทันเพื่อน ก็ควรจะต้องอธิบายให้ฟัง และให้เขาเต็มใจที่จะเรียนเอง เพราะป่วยการแน่ ถ้าหากลูกไม่ต้องการ แต่คุณบังคับ สุดท้ายลูกก็ไม่ตั้งใจเรียนอยู่ดี
      
       สาม – ถามว่าลูกชอบอะไร แล้วอยากเรียนพิเศษหรือไม่ เพราะลูกอาจชอบศิลปะการป้องกันตัว ก็อาจจะบอกเล่าให้ลูกฟังเบื้องต้นก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วลองให้เขาเรียนรู้จริงก็จะทำให้ได้ประโยชน์เต็มจากการเรียนพิเศษ
      
       เมื่อตั้งคำถามเหล่านี้แล้วต้องตอบแบบไม่เข้าข้างตัวเองด้วยนะ ก็จะทำให้การเรียนรู้ของลูกเกิดประโยชน์
      
       แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือการปรับทัศนคติของผู้ใหญ่ หรือพ่อแม่นั่นแหละที่จะบอกว่า การเรียนรู้ของลูกไม่ใช่อยู่เฉพาะในตำราเท่านั้น ไม่ใช่อยู่เฉพาะคะแนนในห้องเรียนเท่านั้น และไม่ใช่อยู่เฉพาะวิชาการเท่านั้น แต่การเรียนรู้อยู่รอบตัวเด็ก
      
       การเล่นก็คือการเรียนรู้ที่ดี ประสบการณ์ในชีวิตล้วนแล้วแต่เป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กชาวจีน โดยเฉพาะเมืองใหญ่เป็นปัญหาเรื่องการแข่งขัน เพราะความคาดหวังของคนเป็นพ่อแม่สูงเหลือเกิน ตอนนี้บ้านเราก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าบ้านเขา เท่าใดนัก
      
       คำถามที่สำคัญที่สุดน่าจะถามว่า เราอยากให้ลูกเราเป็นอย่างไร
       แล้วเราจะได้คำตอบว่า เราออกแบบชีวิตลูกได้ค่ะ


ที่มา