วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (3)

ขอบคุณข้อมูลจาก  

http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786

การเขียนไม่ใช่ว่าแค่สอนให้เด็กจับดินสอเขียนอย่างเดียว แล้วจะเขียนได้เลย การที่เด็กเขียนไม่ได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับทักษะใดทักษะหนึ่งเท่านั้น หากแต่มันมีทักษะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันประกอบกันอยู่ซึ่งแยกออกจากกันไม่ ได้
พัฒนาการด้านการเขียน
อายุ
ความสามารถ
10-12 เดือน ขีดเขียนเส้นขยุกขยิก
1-2 ปี พัฒนาจากเส้นขยุกขยิกเป็นการเลียนแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ให้ดูในขณะวาดแล้วให้วาดตาม)
2-3 ปี ลอกแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ไม่ต้องให้ดูในขณะวาด)
3 ปี ลอกแบบรูปวงกลม
3-4 ปี ลอกแบบเครื่องหมายบวกและกากบาท
4-5 ปี ลอกแบบเส้นเฉียงและสี่เหลี่ยมจัตุรัส
5-6 ปี ลอกแบบรูปสามเหลี่ยม,สี่เหลี่ยมผืนผ้า,สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน,ลอกชื่อตัวเอง(เขียนตัวใหญ่ขนาด 1.5-5 ซม.)
6-7 ปี ลอกแบบตัวอักษร,ตัวเลข (เขียนตัวหนังสือได้ในขนาดปกติ 0.5 ซม.)
ทักษะที่จำเป็นก่อนเด็กเริ่มเขียน
  • ความสามารถในการทำงานข้ามแนวกลางลำตัว ...คือ ?
      ความ สามารถในการข้ามแนวกลางลำตัวของร่างกายเป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานของสมองที่ เป็นการประสานสัมพันธ์กันภายในสมอง และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมองทั้งสองซีก ซึ่งสมองแต่ละซีกจะทำหน้าที่ควบคุมต่างกันแต่จะทำงานร่วมกันเมื่อมีการทำ กิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายในแนวข้ามลำตัว ดังนั้นทักษะนี้จึงจะต้องเกิดขึ้นก่อนเพื่อที่จะพัฒนาสหสัมพันธ์ระหว่างตา กับมือและการรับรู้ทางสายตาซึ่งสำคัญกับการอ่านออกเขียนได้ของเด็ก
  • ความสามารถในการใช้มือทั้งสองข้าง ...คือ?
         ทักษะการทำงานของมือทั้งสองข้างเป็นความสามารถในการใช้มือสองข้างทำงานร่วม กันให้สำเร็จ มือหนึ่งเป็นผู้นำอีกมือหนึ่งเป็นผู้ช่วย การพัฒนาของมือข้างที่ถนัด สังเกตได้จากการที่ชอบใช้มือข้างไหนมากกว่า ตัวอย่างของกิจกรรมที่แสดงถึงการใช้ทักษะนี้ คือ
    • การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับดินสอเขียน
    • การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับกรไกรตัด

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทาง ...คือ?
         การเรียนรู้เรื่องทิศทางเป็นสิ่งสำคัญและมีอยู่ในรูปแบบของการศึกษา ความเข้าใจของคำว่าทิศทางกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนซึ่งไม่ว่าจะขณะอ่าน หรือเขียนเด็กจะต้องเริ่มต้นจากทางซ้ายของกระดาษไปทางขวาของกระดาษ
  • ความสามารถในการจำแนกรูปแบบที่เหมือนและแตกต่าง ...คือ?
        การแยกแยะความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งของหรือรูปภาพ ซึ่งจะสัมพันธ์กับการรับรู้ เกี่ยวกับตำแหน่งและทิศทาง ของวัตถุ (ภาพหรือสิ่งของ)
  • มือข้างที่ถนัด ...คือ?
         นิสัยโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบใช้มือข้างหนึ่งมากกว่ามืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในมือที่จะต้องควบคุม เครื่องมือการเขียนให้เหมาะสม มือข้างที่ถนัดจะพัฒนาทักษะและความแม่นยำในการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในขณะที่มือข้างที่ไม่ถนัดจะคอยประคองและช่วยขณะทำงาน มือข้างที่ถนัดควรจะถูกกำหนดก่อนที่เด็กจะเริ่มเขียน ครูควรจะให้โอกาสเด็กได้สำรวจมือข้างที่ชอบมากกว่า เด็กจะต้องมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อช่วยให้เกิดทักษะการทำงาน ของกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี
  • ความถนัดมือซ้าย      พัฒนาการของมือข้างที่ถนัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการของเด็ก 10% ของประชากรในขณะนี้ถนัดมือซ้าย มีงานวิจัยเสนอแนะว่าครูควรจะแนะนำการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของกล้าม เนื้อมัดเล็กและสังเกตมือข้างที่ถนัดของเด็ก เมื่อเขียนบนพื้นราบหรือตามแนวขวาง เด็กที่ถนัดซ้ายควรจะมีการหมุนกระดาษมุมซ้ายด้านบนขึ้นสูงกว่าและใช้มือข้าง ที่ไม่ถนัดจับกระดาษไว้แทน การทำแบบนี้จะช่วยให้คนที่เขียนข้างซ้ายรักษาท่าทางของข้อมือให้อยู่ในแนว ตรงซึ่งจะเป็นการยับยั้งการเขียนในท่างอข้อมือ
  • ท่าทางการจับดินสอ ...คือ?
ก่อนที่เด็กจะสามารถจับและควบคุมเครื่องเขียนได้นั้น เด็กจะต้องมีสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดีและมีการควบคุมกล้ามเนื้อมัด เล็กภายในมือที่ดี
การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ

  • ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง ...คือ?
          ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง    เมื่อเด็กเริ่มมีการพัฒนาของสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและการจับดินสอ พวกเขาจะเริ่มใช้ทักษะนี้ในการเขียนแบบขีดไปขีดมา จนในที่สุดการขีดไปมาของเด็กจะรวมอยู่ในเส้นพื้นฐานที่ประกอบกันเป็นรูปทรง และรูปภาพ ก่อนที่จะได้รับการสอนตามรูปแบบเด็กจะต้องลากเส้นพื้นฐานได้ป็นอย่างดี มีทิศทางที่เหมาะสม ตัวอย่างของเส้นพื้นฐาน คือ
    • เส้นแนวตั้ง
    • เส้นแนวนอน
    • เส้นเฉียง
    • วงกลม
    • เส้นโค้ง

ไม่มีความคิดเห็น: