ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก สอนลูกให้ชนะโลก ให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้อย่างสนุกสนาน ในแบบที่ลูกเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราต้องการให้ลูกเป็น ด้วยพลังแห่งความรักความอบอุ่นของครอบครัว
วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553
มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (6)
Special Thanks to
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรมส่งเสริมความมั่นคงของร่างกาย ( Body Stability )
- กิจกรรมไถนา,เดินปู,กิจกรรมผลัก ดัน
- เล่นของเล่นต่างๆ เช่น ดินน้ำมันอ่อนๆและเล่นปีนป่าย ไต่
กิจกรรมส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Skills )
- ติดกระดาษวาดเขียนแผ่นใหญ่ไว้บนผนังให้เด็กใช้ปากกา มาร์คเกอร์อันใหญ่เขียนบนกระดาษ ลากเส้นให้เด็กลากตามครู โดยลากเส้นจากซ้ายไปขวาอย่างน้อย 10 ครั้ง ให้เด็กลากตามทีละเส้นหรือลากจากบนลงล่าง
- เล่นเกมต่อจุดโดยการลากเส้นต่อจุดจากซ้ายไปขวาหรือบนลงล่าง
- วางแผ่นฉลุบนกระดาษแล้วใช้มือข้างที่ไม่ถนัดกดแผ่นฉลุไว้อย่าให้เลื่อนได้ แล้วเอามือข้างที่ถนัดจับดินสอลากไปตามขอบของแผ่นฉลุ
- ติดผ้าสักหลาดไว้ที่ผนังหรือเอากระดานสักหลาดหรือกระดานแม่เหล็กติดไว้ที่ผนัง แล้วให้เด็กเอารูปทรงหรือภาพต่างๆไปติดไว้บนกระดาน
- ให้เด็กเขียนบนกระดานดำโดยใช้ชอล์กแทนปากกา ลากเส้นจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา
- ระบายสีบนกระดาษที่วางบนขาตั้งภาพ
กิจกรรมส่งเสริมการควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา ( Ocular Motor Control )
- ใช้ไฟฉายส่องบนเพดาน โดยให้เด็กนอนหงายแล้วมองตามการเคลื่อนไหวของแสงไฟจาก ซ้ายไปขวา บนลงล่างและทิศทางเฉียง
- หาภาพที่ซ่อนอยู่ในหนังสือ
- เล่นเกมเขาวงกต
กิจกรรมส่งเสริมสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ( Eye-hand Coordination )
- โยนลูกบอลหรือของเล่นเข้าไปในห่วงฮูล่าฮูบที่วางอยูบนพื้น เพิ่มความยากโดยการเพิ่มระยะทางในการโยน
- โยนบอลแล้วรับโดยเริ่มจากการใช้บอลลูกใหญ่แล้วลดขนาดลูกบอลลงเพื่อเพิ่มความยาก
- โยนโบว์ลิ่งโดยใช้ลูกบอลแทนลูกโบว์ลิ่งแล้วใช้ขวดโซดาแทนพินโบว์ลิ่ง
- เล่นตีลูกโป่งโดยใช้ลูกโป่งขนาดกลาง
มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (5)
Special Thanks to
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
กิจกรรมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
กิจกรรมกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Activities )
กิจกรรมตัดด้วยกรรไกร ( Scissor Activities )
- ม้วนและกลิ้งแป้งโดเป็นบอลโดยใช้ฝ่ามือและงอนิ้วมือเล็กน้อย
- กลิ้งลูกบอลให้เป็นลูกบอลจิ๋วโดยใช้ปลายนิ้ว
- ใช้หมุดหรือไม้จิ้มฟันในการเล่นกับแป้งโด เช่น ปั้นแป้งเป็นลูกชิ้นแล้วเอาไม้จิ้มฟันเสียบเป็นไม้ลูกชิ้น
- ตัดแป้งโดด้วยมีดพลาสติดหรือที่ตัดพิซซ่าโดยจับในท่าจับมีดหั่นเนื้อ
- ฉีกหนังสือพิมพ์ให้เป็นชิ้นยาวๆและขยำให้เป็นลูกบอล
- ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์หนึ่งหน้าด้วยมือเดียวซึ่งจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ
- ใช้สเปรย์ฉีดน้ำผสมสี ฉีดไปบนภาพวาดเพื่อระบายสี
- ใช้คีมหนีบขนาดใหญ่ หนีบเก็บของ เช่น คีบถั่ว คีบเหรียญ คีบลูกบาศก์
- ประกบมือสองข้างแล้วเขย่าลูกเต๋าที่อยู่ในมือ
- กิจกรรมการร้อยและการเย็บ เช่น ร้อยลูกปัด ร้อยมักกะโรนี
- ใช้ที่หยอดตา ดูดน้ำผสมสีแล้วหยดใส่กระดาษให้เป็นภาพ
- เล่นพลิกการ์ด,เหรียญ,หมากฮอสหรือกระดุม โดยห้ามลากมาที่ขอบโต๊ะแล้วพลิก
- เล่นหุ่นนิ้วมือ ใส่ที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง สมมติให้หุ่นเล่าเรื่องคุยกันหรือร้องเพลง
กิจกรรมกระตุ้นการรับความรู้สึก ( Sensory Activities )
- ตัดจดหมายที่ไม่ใช้แล้ว,ตัดกระดาษนิตยสารทำเป็นการ์ด
- ตัดแป้งโดด้วยกรรไกร
- ตัดหลอดหรือกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ
กิจกรรมข้ามแนวกลางลำตัว ( Midline Crossing )
- เดินท่าปู (นั่งบนพื้น เอามือวางบนพื้นไว้ข้างหลังแล้วยกก้นขึ้น),เล่นไถนา
- เล่นเกมตบมือทั้งแบบมีเสียงและไม่มีเสียง หรือตบมือสลับกับตบเข่าด้วย
- เล่นไล่ตบฟองสบู่โดยใช้มือสองข้างตบเข้าหากัน
- ดึงดินน้ำมันออกด้วยนิ้วต่างๆกับนิ้วหัวแม่มือ ดึงทีละสองนิ้ว
- วาดรูปบนทรายเปียก,เกลือ,ข้าวสาร หรือผสมแป้งข้าวโพดกับน้ำให้มีความหนืดคล้ายกับยาสีฟัน ลากมือไปบนแป้งที่ผสมแล้วซึ่งจะเป็นการส่งความรู้สึกกลับไปที่กล้ามเนื้อและ ข้อต่อด้วย
- หยิบของชิ้นเล็กๆ เช่น หมุด,เหรียญ หรืออื่นๆออกจากถาดเกลือ,ทราย,ข้าวสารหรือดินน้ำมัน หรือหยิบออกขณะปิดตาจะเป็นการช่วยพัฒนาในด้านการรับรู้ที่มือ
ส่งเสริมการเอื้อมข้ามแนวกลางลำตัวของมือแต่ละข้าง เช่น หยิบบล็อคจากซ้ายมือไปใส่กล่องทางขวามือ
เลิกห้ามเด็กใช้มือซ้ายในการทำกิจกรรมถ้าเด็กถนัดมือซ้าย ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมในแนวกลางลำตัวแล้วให้เด็กเลือกที่จะใช้มือเอง
เริ่มสอนเด็กให้รู้จักซ้ายขวาผ่านการเล่น เช่น เตะบอลด้วยขาขวาหรือซ้าย,เลียนแบบท่าทางคล้ายเกมไซม่อมเซย์ บอกคำสั่งให้มีการเคลื่อนไหวข้ามลำตัว
ระบายสีภาพที่วางบนขาตั้งภาพ ให้เด็กระบายเป็นเส้นต่อเนื่องข้ามหน้ากระดาษและระบายในแนวเฉียงจากบนลงล่าง
มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (4)
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
ทักษะที่จำเป็นเมื่อเด็กเริ่มเขียนทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills ) คือ
- ทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการ มองเห็นและการควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills and Visual Motor Control ) ...คือ ?
การควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Control ) คือ ความสามารถด้านสหสัมพันธ์ของตา,แขนและมือ เช่น การลากเส้นหรือระบายสีให้อยู่ในรูปภาพ
- ความสามารถในการลอกรูปทรง,ตัวหนังสือหรือตัวเลขโดยใช้การมองเห็น
- ความสามารถในการจำแนกตัวหนังสือกับตัวเลข
- ความสามารถในการเขียนตัวหนังสือหรือตัวเลขให้อยู่ในเส้นบรรทัด
- การรับรู้ทางสายตา ( Visual Perception ) ...คือ ?
การรับรู้ทางสายตา (Visual Perception)หมายถึง ความสามารถในการแปลผลข้อมูลและรู้ความหมายของสิ่งที่เห็น เด็กจะต้องมีความสามารถในการจดจำตัวหนังสือและแยกแยะตัวหนังสือที่คล้ายกัน เช่น ด กับ ค หรือ ถ กับ ภ
การรับรู้ทางสายตาแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
- สหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ( Eye-hand coordination ) คือ สหสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อมือและตา เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวเล็ก หรือใหญ่เกินเส้นบรรทัด
- การแยกภาพออกจากพื้น ( Figure-Ground Discrimination ) คือ ความสามารถในการแยกแยะวัตถุหรือรูปทรงออกจากพื้นของรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำ ที่เขียนได้
- ความคงที่ของวัตถุ ( Form Constancy ) คือ ความสามารถในการรับรู้รูปทรงที่มีความแตกต่างกันด้าน ขนาด แสงเงา พื้นผิว และทิศทางการจัดวางรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กไม่สามารถจำตัว หนังสือที่เขียนในขนาดหรือสีที่ต่างกัน
- ตำแหน่งในที่ว่าง ( Position in Space ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่ง ทิศทางของภาพที่เหมือนหรือต่างกัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวหนังสือ กลับด้าน
- มิติสัมพันธ์ ( Spatial Relations ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายสัมพันธ์กับที่ว่างและสามารถที่จะ รับรู้ตำแหน่งของวัตถุสัมพันธ์กับตนเองหรือสัมพันธ์กับวัตถุอื่น เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะมีปัญหาในการ เรียงลำดับตัวอักษรในคำต่างๆ
- การเติมเต็มของภาพที่ขาดหายไป ( Visual Closure ) คือ ความสามารถในการบอกว่ารูปทรงหรือรูบภาพนั้นเป็นอะไรเมื่อมองเห็นรูปภาพที่ ไม่สมบูรณ์ของมัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถเติมเต็มตัวอักษร หรือคำที่ขาดหายไปบางส่วนได้
- ความจำทางสายตา ( Visual Memory ) คือ ความสามารถในการจำลักษณะเด่นของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งๆหรือสามารถจำการเรียง ลำดับของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งที่มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำหรือตัว อักษรได้
เด็กที่มีความบกพร่องในด้านการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็กจะมีความยากลำบากใน การติดกระดุมหรือดีดนิ้ว,จับดินสอไม่ถูก(จับในท่ากำทั้งมือ) และขาดความสามารถในการทำงานที่ละเอียด เช่น การร้อยลูกปัดหรือการต่อเลโก้
- ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Skills ) ...คือ ?
หมายถึง ความแข็งแรงและความมั่นคงของลำตัว แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
- การควบคุมการทรงท่าของลำตัว ( Trunk Control ) ...คือ ?
จะรู้ได้อย่างไรว่า..... เด็กมีปัญหาด้านการควบคุมการทรงท่าของลำตัว
- Posture and Balance คือ การทรงท่าและการทรงตัว เด็กจะต้องนั่งตัวตรง ศีรษะตั้งตรงบนเก้าอี้ โดยไม่มีการประคองด้วยแขน ถ้าเด็กใช้แขนในการนั่งจะทำให้การจับดินสอไม่มีประสิทธิภาพ
- Upper Extremity Control คือ การควบคุมการทำงานตั้งแต่ไหล่ถึงนิ้วมือให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำทั้งใน เรื่องของทิศทาง ระยะทางและการกะแรง เช่น การออกแรงในการดึงเชือกลากของ กับการดึงทิชชู่
สังเกตได้จากในระหว่างที่เด็กระบายสีหรือเขียน ตัวเด็กหรือแขนจะค่อยๆเอียงหรือเอนพิงโต๊ะ หรือเอาหัวนอนบนมือ
หมายถึง การทำงานพร้อมกันของกล้ามเนื้อต่างๆรอบไหล่ เพื่อพยุงให้ข้อต่อมั่นคง เมื่อมีการเขียนมันจะทำงานอย่างช้าๆเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของไหล่ ถ้าเด็กมีความบกพร่องด้านนี้จะทำให้ไม่สามารถควบคุมข้อต่อให้มั่นคงได้ ถ้าข้อต่อนี้หลวมการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กในการเขียนก็จะเป็นไปได้ยากซึ่ง ย่อมส่งผลกระทบกับทักษะการเขียนอย่างแน่นอน
- ความมั่นคงของข้อไหล่ ( Shoulder Stability ) ...คือ ?
ถ้าไม่มีทักษะเหล่านี้เด็กก็ไม่พร้อมที่จะเขียน เราควรช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานนี้ได้อย่างไร....
มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (3)
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786
การเขียนไม่ใช่ว่าแค่สอนให้เด็กจับดินสอเขียนอย่างเดียว แล้วจะเขียนได้เลย การที่เด็กเขียนไม่ได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับทักษะใดทักษะหนึ่งเท่านั้น หากแต่มันมีทักษะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันประกอบกันอยู่ซึ่งแยกออกจากกันไม่ ได้
พัฒนาการด้านการเขียน
ทักษะที่จำเป็นก่อนเด็กเริ่มเขียน
อายุ ความสามารถ10-12 เดือน ขีดเขียนเส้นขยุกขยิก 1-2 ปี พัฒนาจากเส้นขยุกขยิกเป็นการเลียนแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ให้ดูในขณะวาดแล้วให้วาดตาม) 2-3 ปี ลอกแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ไม่ต้องให้ดูในขณะวาด) 3 ปี ลอกแบบรูปวงกลม 3-4 ปี ลอกแบบเครื่องหมายบวกและกากบาท 4-5 ปี ลอกแบบเส้นเฉียงและสี่เหลี่ยมจัตุรัส 5-6 ปี ลอกแบบรูปสามเหลี่ยม,สี่เหลี่ยมผืนผ้า,สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน,ลอกชื่อตัวเอง(เขียนตัวใหญ่ขนาด 1.5-5 ซม.) 6-7 ปี ลอกแบบตัวอักษร,ตัวเลข (เขียนตัวหนังสือได้ในขนาดปกติ 0.5 ซม.)
ความ สามารถในการข้ามแนวกลางลำตัวของร่างกายเป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานของสมองที่ เป็นการประสานสัมพันธ์กันภายในสมอง และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมองทั้งสองซีก ซึ่งสมองแต่ละซีกจะทำหน้าที่ควบคุมต่างกันแต่จะทำงานร่วมกันเมื่อมีการทำ กิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายในแนวข้ามลำตัว ดังนั้นทักษะนี้จึงจะต้องเกิดขึ้นก่อนเพื่อที่จะพัฒนาสหสัมพันธ์ระหว่างตา กับมือและการรับรู้ทางสายตาซึ่งสำคัญกับการอ่านออกเขียนได้ของเด็ก
- ความสามารถในการทำงานข้ามแนวกลางลำตัว ...คือ ?
ทักษะการทำงานของมือทั้งสองข้างเป็นความสามารถในการใช้มือสองข้างทำงานร่วม กันให้สำเร็จ มือหนึ่งเป็นผู้นำอีกมือหนึ่งเป็นผู้ช่วย การพัฒนาของมือข้างที่ถนัด สังเกตได้จากการที่ชอบใช้มือข้างไหนมากกว่า ตัวอย่างของกิจกรรมที่แสดงถึงการใช้ทักษะนี้ คือ
- ความสามารถในการใช้มือทั้งสองข้าง ...คือ?
การเรียนรู้เรื่องทิศทางเป็นสิ่งสำคัญและมีอยู่ในรูปแบบของการศึกษา ความเข้าใจของคำว่าทิศทางกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนซึ่งไม่ว่าจะขณะอ่าน หรือเขียนเด็กจะต้องเริ่มต้นจากทางซ้ายของกระดาษไปทางขวาของกระดาษ
- การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับดินสอเขียน
- การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับกรไกรตัด
- ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทาง ...คือ?
การแยกแยะความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งของหรือรูปภาพ ซึ่งจะสัมพันธ์กับการรับรู้ เกี่ยวกับตำแหน่งและทิศทาง ของวัตถุ (ภาพหรือสิ่งของ)
- ความสามารถในการจำแนกรูปแบบที่เหมือนและแตกต่าง ...คือ?
นิสัยโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบใช้มือข้างหนึ่งมากกว่ามืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในมือที่จะต้องควบคุม เครื่องมือการเขียนให้เหมาะสม มือข้างที่ถนัดจะพัฒนาทักษะและความแม่นยำในการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในขณะที่มือข้างที่ไม่ถนัดจะคอยประคองและช่วยขณะทำงาน มือข้างที่ถนัดควรจะถูกกำหนดก่อนที่เด็กจะเริ่มเขียน ครูควรจะให้โอกาสเด็กได้สำรวจมือข้างที่ชอบมากกว่า เด็กจะต้องมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อช่วยให้เกิดทักษะการทำงาน ของกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี
- มือข้างที่ถนัด ...คือ?
ก่อนที่เด็กจะสามารถจับและควบคุมเครื่องเขียนได้นั้น เด็กจะต้องมีสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดีและมีการควบคุมกล้ามเนื้อมัด เล็กภายในมือที่ดี
- ความถนัดมือซ้าย พัฒนาการของมือข้างที่ถนัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการของเด็ก 10% ของประชากรในขณะนี้ถนัดมือซ้าย มีงานวิจัยเสนอแนะว่าครูควรจะแนะนำการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของกล้าม เนื้อมัดเล็กและสังเกตมือข้างที่ถนัดของเด็ก เมื่อเขียนบนพื้นราบหรือตามแนวขวาง เด็กที่ถนัดซ้ายควรจะมีการหมุนกระดาษมุมซ้ายด้านบนขึ้นสูงกว่าและใช้มือข้าง ที่ไม่ถนัดจับกระดาษไว้แทน การทำแบบนี้จะช่วยให้คนที่เขียนข้างซ้ายรักษาท่าทางของข้อมือให้อยู่ในแนว ตรงซึ่งจะเป็นการยับยั้งการเขียนในท่างอข้อมือ
- ท่าทางการจับดินสอ ...คือ?
การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
- เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
- ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
- นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ
ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง เมื่อเด็กเริ่มมีการพัฒนาของสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและการจับดินสอ พวกเขาจะเริ่มใช้ทักษะนี้ในการเขียนแบบขีดไปขีดมา จนในที่สุดการขีดไปมาของเด็กจะรวมอยู่ในเส้นพื้นฐานที่ประกอบกันเป็นรูปทรง และรูปภาพ ก่อนที่จะได้รับการสอนตามรูปแบบเด็กจะต้องลากเส้นพื้นฐานได้ป็นอย่างดี มีทิศทางที่เหมาะสม ตัวอย่างของเส้นพื้นฐาน คือ
- ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง ...คือ?
- เส้นแนวตั้ง
- เส้นแนวนอน
- เส้นเฉียง
- วงกลม
- เส้นโค้ง
มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (2)
ตามท้องตลาดจะมีผู้ช่วยคุณพ่อคุณแม่ คือ ยางฝึกจับดินสอ
วิธีจับดินสอจะมี 2 แบบคะ คือ แบบที่ 1
แบบวิธีที่ 1 จับแบบสามเหลี่ยม จับดินสอแบบทั้งสามนิ้ว เหมาะกับเด็กโตมากกว่า แบบต้องเกร็งนิ้วมือทั้ง 3 พอสมควร
แบบที่ 2 จับ แบบวงกลม คือ ใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับดินสอ กลางรองรับน้ำหนักด้านล่าง แบบนี้ฝึกได้ทุกวัย สำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาเจ็บนิ้ว อาจเกิดจากน้องกดหรือเกร็งกับการเขียนมากเกินไป
สำหรับน้องเล็กคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแบบที่ 2 คะ
การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ
การจับในลักษณะนี้มีประสิทธิภาพเพราะ ใช้แรงในการเขียนน้อยซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่ายและทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก
วิธีจับดินสอจะมี 2 แบบคะ คือ แบบที่ 1
แบบวิธีที่ 1 จับแบบสามเหลี่ยม จับดินสอแบบทั้งสามนิ้ว เหมาะกับเด็กโตมากกว่า แบบต้องเกร็งนิ้วมือทั้ง 3 พอสมควร
แบบที่ 2 จับ แบบวงกลม คือ ใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับดินสอ กลางรองรับน้ำหนักด้านล่าง แบบนี้ฝึกได้ทุกวัย สำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาเจ็บนิ้ว อาจเกิดจากน้องกดหรือเกร็งกับการเขียนมากเกินไป
สำหรับน้องเล็กคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแบบที่ 2 คะ
การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
การจับในลักษณะนี้มีประสิทธิภาพเพราะ ใช้แรงในการเขียนน้อยซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่ายและทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก
มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน (1)
ทำไมลูกยังเขียนไม่ได้
เด็กจะเริ่มต้นการจับดินสอแบบกำทั้งมือ ซึ่งจะช่วยให้มีกำลังมาก เมื่อใช้การกำเด็กจะใช้ไหล่ในการเคลื่อนไหว การจับดินสอที่ผิดจะทำให้การเขียนไม่มีประสิทธิภาพเพราะเด็กจะใช้แรงมากใน การจับเป็นเหตุให้มือและแขนจะล้าง่าย
เมื่ออายุ 4 ปี เด็กจะเริ่มวางนิ้วมือบนดินสอในทิศทางที่แตกต่างกัน จนกระทั่งมีการพัฒนาไปสู่การจับดินสอที่ดีขึ้น การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
รูปแบบของการจับดินสอ
Supinate grasp (Fist grasp ) คือ การกำดินสอไว้ทั้งมือ การกำในลักษณะนี้จะพบในเด็กที่ยังไม่เข้าโรงเรียน
Pronate grasp (Digital pronate ) คือ แบบฉบับที่ต่อมาจาก supinate grasp เป็นการคว่ำฝ่ามือลงซึ่งนิ้วจะงออยู่รอบดินสอและนิ้วชี้ ชี้ไปข้างหน้า
Dynamic tripod (Digital tripod ) คือ การจับในลักษณะสามนิ้ว การจับในลักษณะนี้ตามปกติสัณนิษฐานว่าจะพบตอนอายุ 7 ขวบ ซึ่งอายุประมาณนี้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ได้เจริญเติบโตเต็มที่แล้วที่จะจับแบบสามนิ้วได้
โดย จิราวรรณ พุ่มศรีอินทร์ (ครูเจน)
http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1217786ท่าทางการจับดินสอ
ก่อนที่เด็กจะสามารถจับและควบคุมเครื่องเขียนได้ นั้น เด็กจะต้องมีสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดีและมีการควบคุมกล้ามเนื้อมัด เล็กภายในมือที่ดี เด็กจะเริ่มต้นการจับดินสอแบบกำทั้งมือ ซึ่งจะช่วยให้มีกำลังมาก เมื่อใช้การกำเด็กจะใช้ไหล่ในการเคลื่อนไหว การจับดินสอที่ผิดจะทำให้การเขียนไม่มีประสิทธิภาพเพราะเด็กจะใช้แรงมากใน การจับเป็นเหตุให้มือและแขนจะล้าง่าย
เมื่ออายุ 4 ปี เด็กจะเริ่มวางนิ้วมือบนดินสอในทิศทางที่แตกต่างกัน จนกระทั่งมีการพัฒนาไปสู่การจับดินสอที่ดีขึ้น การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย
- เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
- ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
- นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ
รูปแบบของการจับดินสอ
Supinate grasp (Fist grasp ) คือ การกำดินสอไว้ทั้งมือ การกำในลักษณะนี้จะพบในเด็กที่ยังไม่เข้าโรงเรียน
Pronate grasp (Digital pronate ) คือ แบบฉบับที่ต่อมาจาก supinate grasp เป็นการคว่ำฝ่ามือลงซึ่งนิ้วจะงออยู่รอบดินสอและนิ้วชี้ ชี้ไปข้างหน้า
Dynamic tripod (Digital tripod ) คือ การจับในลักษณะสามนิ้ว การจับในลักษณะนี้ตามปกติสัณนิษฐานว่าจะพบตอนอายุ 7 ขวบ ซึ่งอายุประมาณนี้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ได้เจริญเติบโตเต็มที่แล้วที่จะจับแบบสามนิ้วได้
ท่าทางในการจับดินสอที่ผิด
| ||||||
Smart kids All right reserved. | ||||||
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.iamsmartkids.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)