Thank you photo from Internet (Corbis)
เมื่อวันก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสไปรับประทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่ง และเผอิญได้ นั่งโต๊ะ ติดกับครอบครัว หนึ่ง ที่พ่อแม่ลูกมาด้วยกันสามคม ในขณะที่กำลังรออาหารอยู่นั้น ผู้เขียนก็ได้เห็นเหตุการณ์อย่างที่เกิดขึ้นกับ ครอบครัวคือ แม่หนูน้อยเอื้อม มือไปตักกับข้าว บังเอิญมือเล็กๆ ของเธอปัดถูกจานอาหาร ทำให้จานตกลงมาแตก คุณแม่ดุว่าแม่หนูน้อย ที่นั่งหน้าซีดด้วยความตกใจ แม่หนูน้อยเริ่มร้องไห้ คุณแม่ก็ยิ่งมีโทสะ และดุว่าลูกให้หยุดร้อง แต่แม่หนูก็ ไม่หยุด จนผู้เป็นพ่อต้องอุ้มลูกออกไปนอกร้านจนเด็กหยุดร้องไห้ จึงนำลูกกลับมานั่งรับประทานต่อ ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่เห็นนี้มักเกิดขึ้นอยู่เสมอในครอบครัว หลายครั้งที่เด็ก ทำเรื่องที่เป็น ความผิดพลาดและ เกิดการเสียหายโดยไม่ตั้งใจ และเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ใหญ่มักจะลงโทษเด็ก แต่จะมีใครสักคนที่รู้บ้างว่า การลงโทษนั้นได้ส่งผลถึงความรู้สึกมีคุณค่าในตัวของเด็กโดยตรง เด็กจะรู้ สึกผิดละอาย เกลียดชัง และหากความรู้สึกนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เด็กก็จะเติบโตเป็นบุคคล ที่ไม่เห็นคุณค่าของ ตัวเอง ขาดความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง
ผู้เขียนเคยอ่านเรื่องราว ที่เขาไปสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ของโลกท่านหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในด้านความคิด สร้างสรรค์ เมื่อนักข่าวถามว่าทำไมท่านจึงมีความคิดกว้างไกลเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้เล่าให้ฟังว่า เรื่องมันเกิดเมื่อสมัยท่านมีอายุได้ราวสองขวบท่านได้ไปเปิดตู้เย็นเพื่อ จะดื่มนม แต่เนื่องจากมือท่านเล็กเกินไป ขวดนมที่ใหญ่ จึงร่วงหล่นบนพื้นนมกระจายเต็มห้อง ขณะนั้นเองที่แม่ของท่านได้เดินเข้ามาในห้องพอดี และแทนการลงโทษ หรืออบรมสั่ง สอน ร่ายยาวเรื่อง ความซุ่มซ่ามของท่าน แม่ของท่านกลับพูดว่า" โอ้โฮ แม่ไม่เคยเห็นทะเลสีขาวอย่างนี้มาก่อนเลย แต่เอาละ ลูกทำมันหกแล้ว ลูกอยากจะลองเล่น กับมันดูไหม ก่อนที่เราจะทำความสะอาดบ้านกัน"
เด็ก ชายซึ่งต่อมาคือนักวิทยาศาสตร์ลือนามได้ทดลองสัมผัสกับน้ำนมที่เลอะเทอะอยู่ นั้น อย่างสนุกสนาน หลังจากนั้นสักพักแม่ก็ได้นั่งลงข้างๆ เขา พร้อมกับพูดกับเขาว่า
" ลูกรู้ไหมจ๊ะ เวลาลูกทำของหกเช่นนี้ ลูกต้องทำความสะอาดมัน เราจะช่วยกันทำนะลูกนะ ลูกอยาก ใช้ผ้าเช็ดหรือกวาดมันก่อนหรือจะใช้ม้อบจ๊ะ"
เด็กชายเลือกม้อบ และทั้งแม่และลูกก็ใช้เวลาล้างถูทำความสะอาดด้วยกันอย่างมีความสุข หลังจากนั้น แม่ของท่านได้พูดว่า " เมื่อกี้ สิ่งที่ลูกทำหกนั้น เป็นเพราะลูก พยายามทดลอง จับขวดที่ใหญ่ และลูกจับตรงกลางขวดมันทำให้ลูกจับไม่ถนัด ขวดจึงตกลงมา แม่จะพาลูกไปหลังบ้านเอาขวดใบเดิมที่ ลูกทำตกนี้แหละ เราจะใส่น้ำ และให้ลูกลองหัดถือดูใหม่ เพื่อลูกจะได้ค้นหาวิธีที่จะถือขวดนี้โดยไม่ ตกลงมาอีก"
ทั้งแม่และลูกชวนกันไปที่หลังบ้าน แม่ได้กรอกน้ำใส่ขวดใบเดิมจนเต็มและให้เด็กชายทดลอง หาวิธีการ ถือขวด เด็กชายค้นพบว่า ถ้าเขาถือขวดในลักษณะที่ใช้สองมือจับตรงคอขวดแล้ว จะทำให้เขาสามารถ ถือขวดได้โดยขวดไม่ตกลงมา เด็กชายรู้สึกดีใจและภูมิใจในสิ่งที่เขาค้นพบนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่า ณ วินาทีนั้นเอง เขาค้นพบว่า เขาไม่จำเป็นต้องกลัวความผิดพลาด แทน การถูกลงโทษในสิ่งที่เขาทำไปเพราะไม่รู้ เขากลับได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นและสามารถนำ ความผิดพลาดมาใช้เป็นบทเรียนแห่งการค้นคว้าได้ในที่สุด และนี่เองเป็นสาเหตุให้เขา ได้กลายเป็นนัก วิทยาศาสตร์เลื่องชื่อ เพราะการค้นพบทุกอย่างทางวิทยาศาสตร์จะต้องเกิดจาก การลองผิดลองถูกไป ก่อนเสมอ
เมื่อได้อ่านเรื่องนี้ ผู้เขียนรู้สึกประทับใจที่นักวิทยาศาสตร์มีแม่ที่เข้าใจในตัวลูก ทำให้อยากฝันเห็นพ่อแม่ ของเด็กไทยทุกคนให้โอกาสลูก ให้ลูกเรียนรู้จากความผิดพลาดได้บ้าง โดยมีพ่อหรือแม่คอยให้กำลังใจ ทุกขั้นตอน เด็กๆ ของเราจะมีความสุขเพียงใด
แต่ใช่ว่าพ่อแม่ จะไม่เข้าใจลูกเสมอไป มีพ่อแม่บางคนที่มองเห็นถึงความสำคัญ ของการประคับประคอง มองความผิดพลาดให้เป็นบทเรียนและไม่ซ้ำเติมลูก ดังครอบครัวของ "สกุลประทีป"
ในครอบครัวนี้ พ่อเป็นคนที่รักนกเป็นชีวิตจิตใจ จะมีนกเขาเสียงดีอยู่หลายตัวที่พ่อเลี้ยงดูอย่างดี เมื่อมี การประกวดนก พ่อจะคัดเลือดตัวที่เสียงดีที่สุดไปแข่งขัน ทุกคนในบ้านต่างก็รักนก โดยเฉพาะเด็กชาย อุดม จะมีหน้าที่ช่วยพ่อดูแลให้อาหารนก อยู่มาวันหนึ่ง ขณะกำลังให้อาหารนก เด็กชายก็ได้ทำนกหลุดออกจากกรงไปโดยบังเอิญ เด็กชายเต็มไป ด้วยความกลัวพ่อลงโทษ ไม่กล้าบอกพ่อ จนกระทั่งเดินไปหลังบ้าน เมื่อมองไม่เห็นนก ก็เดาเรื่องออก และเดินกลับมาที่ห้องด้วยความโกรธจัด เรียกหาเด็กชายที่เข้ามายืนตัวสั่นอยู่ข้างๆ แต่ก่อนที่พ่อจะแสดงความโกรธเป็นคำพูดหรือการกระทำที่ก้าวร้าวกับลูกนั่นเอง ผู้เป็นแม่ก็เข้าไปจับแขน พ่อ และพูดด้วยเสียงนุ่มนวลให้ผู้เป็นพ่อได้คิดว่า
" พ่อจ๊ะ ฉันรู้ว่าพ่อโกรธลูกมาก เพราะลูกเราเลินเล่อไม่ระวัง แต่พ่อคิดไหมว่านกมันหลุดไปแล้ว เรา เสียมันไปแล้วก็จริง แต่เรายังมีลูกอยู่ พ่ออย่าทำให้เราต้องสูญเสียลูกไปอีก ชีวิตหนึ่งเลย เราเลี้ยงลูก น่ะพ่อ เราไม่ได้เลี้ยงนก "
คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ ว่า เด็กๆ ที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความภาคภูมิใจในตนเองทุกคน ต้องการ พ่อแม่ที่ให้กำลังใจเขา ประคับประคองเขา
โปรดระลึก ไว้เสมอว่า พ่อแม่ไม่ควรให้วัตถุใดๆ ในโลกมามีความสำคัญยิ่งไปกว่า ความรู้สึกของลูก ว่า ตัวเองมีคุณค่าในสายตาของพ่อแม่ของเขา
หาก คุณพ่อคุณแม่จัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง เด็กๆ จะมีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความรู้สึกภาคภูมิ ใจในตนเอง เขาจะมีดวงใจที่เปี่ยมด้วยความรัก ทั้งกับตัวเขาเอง และบุคคลใกล้ตัว เขาทุกคน
ที่มา... หนังสือก่อนจะถึงวันนั้น โดย รศ.ดร.นวลศิริ เปาโรหิตย์
3 ความคิดเห็น:
ขอบคุณ mnpinpin ที่มาของเรื่อง ที่นำเรื่องนี้มาเล่าใน FB
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่มักเผลอดุ ลูกประจำ เวลาที่ลูกทำของหกเลอะ หรือตกแตก ยิ่งเวลาเตือนให้ระวังทีไร ลูกทำหลุดทุกที เพราะระวังเกินไป ที่จริงดิฉันเข้าใจดีว่า ไม่ควรทำเช่นนี้ แต่เวลาที่ "ขาดสติ" กำกับ ทำตามสัญชาตญาณอัตโนมัติมักเป็นเช่นนี้
สัญชาตญาณที่เห็นแก่ตัว คือ ไม่อยากเหนื่อย ไม่ชอบความสกปรก รังเกียจคนเลอะเทอะ มันมาอย่างรวดเร็ว จากกิเลส ร่างกาย ปาก ก็โต้ตอบตามกิเลสโดยอัตโนมัติ หลายๆครั้งทำไปนี่ โกรธตัวเองเหมือนกันที่ไม่ระวัง กิเลสให้ดี สรุปแล้ว เลี้ยงลูกนี่ต้องฝึกสติให้มากๆ ไม่งั้นสอนลูก "ด้วยกิเลส" แทน "สติ"นี่ก็ได้ "กิเลส" เป็นครูของลูกค่ะ แล้วลูกจะดีได้ไม๊นี่
ขอบคุณที่ช่วยเตือนสติค่ะ
แสดงความคิดเห็น