อันนี้เป็นของฝากของคุณ myson711
"วันนี้ เจอสรุปของลูก ที่ แม่+ลูก เคยช่วยกันทำไว้ นำมาฝากทุกๆท่านค่ะ
เป็นหลักภาษาไทย น่าจะเทียบได้ประมาณ ชั้น ป.1
วิธีการใช้ ให้สนุก เน้นเข้าใจ (ไม่เน้นท่องจำ) เกี่ยวกับอักษร 3 หมู่ "
ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ของดีๆ เอามาเก็บไว้ในนี้ เผื่อเพื่อนๆคนไหนหาอ่าน จะได้ใช้ได้ เป็นประโยชน์กับส่วนรวม
6 ความคิดเห็น:
1. เริ่มจากอักษรกลางก่อน
เล่นเกม ให้น้อง ไล่เสียงให้ครบ เช่น
เราบอกว่า
กา --> ให้น้อง ตอบว่า "กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า"
ปา --> ให้น้อง ตอบว่า "ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า"
เล่นให้ครบ ให้คล่อง ช่วงแรกๆ อาจจะ วันละครั้ง
ถ้าตอบได้ 90% ต่อเนื่อง ได้ประมาณ 1 สัปดาห์
เราก็เริ่ม ระดับต่อไป
(ระหว่างสอนอักษรกลาง ก็จะเล่าให้น้องฟังด้วยว่า
ที่เราเรียก อักษรกลาง เพราะผันได้ครบเลย เห็นมั้ย
เป็นเสียงดนตรีได้เลยนะ)
2. อักษร สูง
ที่เลือกต่อด้วยอักษรสูง
เพราะอักษรสูงจะผันง่ายกว่าอักษรต่ำ
ซึ่ง จะมีเสียงที่สูงอยู่แล้ว เช่น "สา"
เมื่อน้อง ไล่เสียงอักษรกลาง คล่องแล้ว
อักษร สูง จะไล่เสียงไม่ยากเลยค่ะ
เล่นเกม เช่นกัน
เราบอกว่า
สา --> ให้น้องตอบว่า "สา ส่า ส้า"
จะสังเกตว่า คำว่า "สา"
จะไม่สามารถ ไล่ 5 เสียงได้ด้วยตัวเอง
แบบ ที่ไม่ถูก เช่น "ซา ส่า ส้า/ซ่า ซ้า สา"
หรือแบบ ที่ไม่ถูก เช่น "สา ส่า ส้า/ซ่า ซ้า สา"
เพราะเสียงแรกของการผันอักษรสูง
จะแตกต่างจากอักษรกลางอย่างชัดเจน
ดังนั้น เราจึงเลือก อักษร สูง เล่นเกมต่อจากอักษรกลาง
เล่นให้ครบ เช่น วันละครั้ง
โดยเน้นอักษรสูงให้คล่องก่อน เมื่อคล่องแล้ว
ให้ทวน อักษร กลาง และ อักษรสูง
จากนั้น ให้ทวน แบบผสมกัน
(ในระหว่างนี้ เราจะพยายามทำเสียงสูง ให้ฟังแบบเสียงใหญ่ๆ
เช่น "เสือ" ทำเสียงสูงๆ ตาโตๆ เมื่อพูดคำว่า "เสือ"
--> ให้น้องตอบว่า "เสือ เสื่อ เสื้อ"
คือ พยายามตอกย้ำ ว่า เรียกอักษรสูง เพราะเสียงมันสูงกว่า
อักษรกลางน่ะค่ะ"
3. อักษรต่ำ
การนำเข้าอักษรต่ำ
ก็จะพยายาม เลือก อักษรสูง ที่มีคู่กับอักษรต่ำก่อน
เช่น
"ขอ" คู่กับ "คอ, ฅอ, ฆอ"
"ฉอ" คู่กับ "ชอ, ฌอ"
"ศอ, ษอ, สอ," คู่กับ "ซอ"
"หอ" คู่กับ "ฮอ"
เป็นต้น
อักษรต่ำ เสียงสามัญจะเหมือนกับ อักษรกลาง
ดังนั้น ถ้าน้อง ผันอักษรกลางได้คล่อง
อักษรต่ำ เราก็บอกว่า
"คอ" --> "คอ ค่อ ค้อ"
ตรงอักษรต่ำนี้ ใช้เวลานิดนึง
และมีจำนวนมากด้วย
แต่ถ้าน้อง มั่นใจ กับอักษรกลาง และอักษรสูงแล้ว
ที่เหลือ อักษรต่ำ ก็ผันแบบนี้หมดเลย
ไม่นานก็ได้ค่ะ
ให้อักษรต่ำคล่องแล้ว
ก็ทวน อักษรต่ำ และ อักษรกลาง (เพราะมักจะสับสน)
จากนั้น ก็ทวน ผสม หมดเลยค่ะ
(ในระหว่าง เล่นเกม อักษรต่ำนี้
ก็พยายาม อธิบายน้องว่า อักษรต่ำ กับอักษรสูง
เวลาผัน จะทำให้ผันได้ครบเสียง
อย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ครบ
นอกจากนี้ พวกอักษรต่ำ ที่ไม่มีคู่
เราก็ค่อยๆ บอกน้องว่า อยากให้กลางเป็นเสียงสูง
ก็ใช้ "หอ" นำ เช่น
"นอ" กลายเป็น "หนอ" เป็นต้น
สำหรับ "อ.อ่าง" นำแค่ 4 คำ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
ที่เหลือก็เป็น พวกสระอะกึ่งเสียง)
4. หลังจากนั้น ก็ผสมอักษร สูง กลาง ต่ำ
เล่นเกม เหมือน ยอดมนุษย์ ก็ได้ค่ะ
วางมือบนตักด้านล่าง
วางมือไขว้กันตรงกลาง และ
วางมือกำหมัดเหนือศีรษะ
เป็นต้น
ไล่ ตั้งแต่ ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก
เช่น ก.ไก่ ก็ให้วางมือตรงกลาง (อักษรกลาง)
ข.ไข่ ก็ให้วางมือ เหนือศีรษะ (อักษรสูง)
..... ไปเรื่อยๆ
อาจจะให้ลูก ทาย แล้วเราตอบ
หรือเล่นกันระหว่าง เด็กๆ เพื่อนๆ ลูกก็ได้ค่ะ
5. กิจกรรมข้างต้น สามารถปรับ หรือประยุกต์ตามความเหมาะสม
ตอบถูก แจกการ์ด หรือ นับแต้ม เป็นต้น
จากนั้น พอน้องคล่องแล้ว
ก็จะเข้าใจ อักษร สูง กลาง ต่ำ
โดยไม่ต้องท่องจำ แต่ใช้ความเข้าใจ และความเคยชิน
เวลาน้อง สะกดคำ
สมมติ คำว่า "วิ่ง" อาจจะไม่แน่ใจว่าอ่าน "วิ่ง" หรือ "วิ้ง"
น้องก็จะใช้วิธี "วิง วิ่ง วิ้ง" แล้วจะทำให้อ่านหนังสือได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
และ ช่วยให้เห็นคำที่เขียนผิด แก้ไขให้ถูกได้ง่ายขึ้น
เช่น คำว่า "เล๊าไก่" --> อักษรต่ำ จะไม่ใช้ ไม้ตรี
ก็สามารถ แก้ไข เป็น "เล้าไก่" เป็นต้น
สำหรับ ท่านที่ใช้วิธีท่อง ไก่จิกเด็กตาย ฯลฯ ก็สามารถใช้เสริมได้ค่ะ
แต่ความเข้าใจ จะทำให้น้อง ต่อยอด ได้เร็วขึ้น
6. กระดาษที่สรุปไว้ เรามาพิมพ์ (แล้วเคลือบก็ได้)
แปะไว้ที่ใดก็ได้ ที่สะดวก มองเห็น หรือหยิบได้ง่าย
ในตาราง ก็จะแยกสี อักษรสูงกลางต่ำ แบ่งกลุ่มไว้ค่ะ
ส่วนด้านล่าง ก็จะสรุปที่สำคัญ เกี่ยวกับการสะกดคำ (แจกลูกคำ)
ก็ช่วยกับรวบรวมกับน้องค่ะ
ว่าคำไหน สะกดแตกต่างกันบ้าง อย่างไร
แล้วเราก็เปิดตำรา ดูเพิ่ม
เพิ่มทีละนิด ทีละหน่อย พอสรุปได้
ก็มารวบรวมไว้ในแผ่นเดียว ที่ส่งมาให้
ท่านใด ต้องการไฟล์เป็น ms-word เพื่อไปต่อยอด ก็ยินดีค่ะ
ส่งเมล์มาได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม... การอ่านหนังสือบ่อยๆ สะสมคำศัพท์ให้มาก
เพิ่มคลังคำศัพท์ ย่อมช่วยให้การอ่านดีขึ้น และจับใจความได้ดีด้วยค่ะ
ท่านใด เพิ่มเติม แนะนำ จักเป็นพระคุณยิ่งค่ะ
หวังว่า จะให้เด็กๆ ได้สนุกกับภาษาไทย ไม่มากก็น้อยค่ะ
แสดงความคิดเห็น