วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การทำบัตรคำสำหรับลูกน้อย

เห็นกระทู้ของคุณรักเรียนค่ะ ในเวบรักลูก เธอและเพื่อนๆได้แบ่งปันเรื่องการทำบัตรคำ ได้ชัดเจนดี ดิฉันจึงอยากนำมารวบรวมในบล็อกนี้ เผื่อเพื่อนๆ รุ่นหลังๆจะมาหาข้อมูลได้ง่าย

ขอบคุณคุณรักเรียนและเพื่อนๆนะคะ ที่ช่วยแบ่งปันข้อมูลที่มีค่านี้

6 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะเพื่อนๆทุกท่า รักเรียนอยากเชิญเพื่อนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำบัตรคำ เพื่อเพือนๆที่ลูกกำลังหัดอ่านจะได้เริ่มกันได้ง่ายขึ้น

รักเรียนเริ่มจากการsearch คำแล้วพบบล็อกนี้ค่ะ
คุณแม่ท่านนี้เริ่มสอนลูกตั้งแต่ยังเล็กรักเรียนเลยเอามาสอนลูกบ้างเชิญตามมาอ่านทางนี้ค่ะ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=malarncha&month=12-2007&date=22&group=10&gblog=2

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

พอเริ่มสอน รักเรียนเริ่มหานิทานมาเล่า วิธีเลือกนิทาน จะเลือกที่มุมขวามีบอกอายุเด็ก

รักเรียนเลือก3-5 ปี เนื่องจากตัวหนังสือมีขนาดใหญ๋ เพราะขนาดอักษรมีผลต่อการจำ ก่อนเล่านิทานรักเรียนจะถามก่อนในช่วงแรกใช้คำถามแค่หนึ่งถึงสองข้อพอ

อ่านนิทานจบถามคำถามที่เราถามไว้ทีแรกสาเหตุเพื่อ ดึงความสนใจ สองหัดให้เด็กฝึกการจับใจความข้อดีจะไปเห็นตอนเรียนประถมเค้าจะจับใจความใน ห้องเวลาคุณครูสอนได้ทำให้มีสมาธิดีในการฟังในห้องเรียน

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

หลังจากอ่านได้สักพัก รักเรียนเลือกหนังสือที่สอนคือมานะมานี เนื่องจากมีการใช้คำซ้ำช่วยให้จำง่ายแต่กลับมีการผูกเนื้อเรื่องให้เด็กที่ เริ่มอ่านหนังสือได้ อยากอ่านต่อเพราะเค้าอ่านได้เอง สมัยรักเรียนเรียนประถมอ่านเล่มนี้เหมือนกัน

หนังสือเลิกผลิตไปแล้วแต่มีคุณแม่ท่านหนึ่งใจดีมากมาโพสต์ไว้ในนี้เดี๋ยวหาลิงค์เจอจะมาแปะเพิ่ม

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

บทความนี้ตัดมาบางส่วนจากบล็อคคุณแม่น้องลูกไม้

มีเคล็ดที่พอจะสรุปหลักการสอนเด็กได้ง่าย ๆ อยู่ สองข้อค่ะ ก็คือ หนึ่ง ให้การเรียนรู้นั้น เป็นของสนุกยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น เด็กเกิดมาใหม่ ยังไม่รู้หรอกค่ะ ว่าของเล่นคืออะไร เราจะต้องทำให้ เขาเข้าใจว่า สิ่งที่เรากำลังสอนเขา คือการเล่นอย่างหนึ่ง สอง ในการเรียนแต่ละครั้ง ต้องจบก่อนที่เด็กอยากให้จบ

สิ่งที่ต้องเตรียมที่สำคัญคือสถานที่ค่ะ และอุปกรณ์ที่ใช้สอนนี้ง่ายที่สุดคือ
1. กระดาษแข็ง ขาว-เทา,
2. สีเมจิกหัวใหญ่สีแดง(เน้นว่าสีแดงเท่านั้นค่ะ)
3. กรรไกรตัดกระดาษ

วิธี ทำ.. ตัดกระดาษแข็งออกเป็นขนาดกว้าง 6 นิ้ว ยาว 24 นิ้ว แล้วใช้สีเมจิกเขียนเป็นตัวหนังสือตัวใหญ่ การเขียนต้องตัวงาม เป็นระเบียบ เรียบร้อย ชัดเจน เป็นแบบตัวพิมพ์ธรรมดา เหลือขอบบัตรคำอย่างน้อย ครึ่งนิ้ว

เราตกลงกันที่จะผลัดเวรกันสอนลูกไม้ เมื่อลูกไม้มีอายุ ได้ 6 เดือน กับอีก 3 สัปดาห์ พ่อน้อยเตรียมความพร้อมทันทีที่ รู้ว่าเรากำลังทำสิ่งดีๆ เพื่ออนาคตของลูกชายคนแรก เริ่มจาก จัดตารางเวลาที่ชัดเจน โดยแบ่งไว้เป็นวันละ 3 เวลา ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้ว ช่วงเวลาหลังอาหารเป็นช่วงที่ลูกไม้อารมณ์ดี และมีความสุขมากที่สุด

บัตรคำกลุ่มแรก มีคำว่า คุณพ่อ คุณแม่ ลูกไม้ ในบัตรคำแต่ละแผ่นเป็น ชื่อบุคคลในครอบครัว เช่น ตาต้า คุณยาย ยายหนู น้านุช ให้เป็นตัวบุคคลที่สามารถชี้ตัวได้
บัตรคำกลุ่มที่สอง เป็นคำที่เกี่ยวกับร่างกาย เช่น หู ตา แก้ม จมูก ปาก มือ ขา เท้า ฯลฯ
บัตรคำกลุ่มที่สาม เป็นคำที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น ประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ โทรทัศน์ ตู้เย็น ฯลฯ

เรา เริ่มต้นครั้งแรก ในวันนั้น เป็นเวลาที่ลูกไม้ พึ่งตื่นนอน เขามีอารมณ์ดี เราเริ่มต้นที่คำ 5 คำ คือ คุณพ่อ คุณแม่ ลูกไม้ ตาต้า และ คุณยาย โดยใช้มุมหนึ่งในห้องนอนที่จัดไว้เป็นคอกสี่เหลี่ยม ภายในคอกไม่มีเฟอร์นิเจอร์อื่นใด มีเพียง พ่อน้อย ลูกไม้ และบัตรคำ 5 คำนั้น วิธีสอนคือ ยกบัตรคำ “คุณแม่” ให้อยู่ในระยะห่างพอที่ลูกจะเอื้อมไม่ถึง เสร็จแล้วบอกให้เขาได้ยินอย่างชัดเจนว่า “นี่อ่านว่า คุณแม่” ไม่ต้องใช้คำอธิบายใด ๆ และให้เขามองดูเพียงวินาทีเดียว พูดซ้ำอีกครั้ง ให้เขามองดูอีก 1 วินาที แล้วเปลี่ยนบัตรคำใหม่ ต่อไปยกบัตรคำ “คุณพ่อ” และบอกว่า “นี่อ่านว่าคุณพ่อ” แล้วทำแบบเดิมกับบัตรคำคำว่าคุณแม่ เปลี่ยนบัตรจนครบ 5 คำที่เตรียมไว้ เมื่อครบทั้ง 5 คำแล้ว พ่อน้อยก็ก้มลงกอดและจูบลูกไม้ด้วยความรัก และความภาคภูมิใจ

ท่าที ในการสอนนั้นสำคัญมาก เราต้องทำให้เหมือนเป็นการเล่น น้ำเสียงที่ใช้ต้องเป็นเสียงของความสุข อารมณ์ที่ใช้ต้องดีเยี่ยม หน้าตาแจ่มใส และปากฉีกยิ้มกว้างที่สุด ลูกไม้ยิ้มตามเมื่อเห็นอารมณ์นี้ เขาตั้งใจมองบัตรคำ ท่าทางสงสัย และพยายามเอื้อมมือจะคว้า และเมื่อจบขั้นตอนในคำนั้น พ่อน้อยก็ยกไปซ่อนด้านหลังพร้อมกับหยิบคำใหม่ขึ้นมา .. 5 คำในวันแรกเราทำแบบเดียวกันนี้ 3 เวลา ทุกครั้งที่สอนเสร็จ เราจะบอกลูกว่า เขาเป็นเด็กดี เก่ง ฉลาด และโอบกอด


สุดท้ายนี้ขอบคุณคุณแม่ลูกไม้ที่เป็นคุณครูอีกท่านของรักเรียน Wink

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ
เห็นหัวข้อก็อยากจะร่วมแชร์ประสบการณ์ที่ตัวเองได้ทำให้กับลูกชายอยู่บ้าง (บางช่วงก็ละเลย)
ขอพูดถึงขนาดของบัตร ขนาดตัวอักษร สี และการเลือกคำนะค่ะ ส่วนวิธีการคิดว่าคุณแม่แต่ละทานก็มีเทคนิคแตกต่างกันไป

เริ่มทำบัตรคำให้โปรตอนตอน 1 ขวบ 8 เดือน
แต่เริ่มด้วยคำภาษาอังกฤษ เพราะแม่ไปอ่านหนังสือของ Glenn มา
เริ่มด้วยบัตรคำขนาด 6 * 20 เพราะใช้กระดาษแข็งขนาด 6 * 30 แล้วตัดได้ 5 แผ่นพอดี
ขนาดของตัวอักษรสีแดง สูง 2.25 นิ้ว แล้วค่อยๆ ลดลงทีละ 0.25 นิ้ว เมื่อเค้าโตขึ้น
ให้สัมพันธ์กับสายตาของลูก จนถึงขนาด 1 หรือ 7/8 นิ้ว ก็เปลี่ยนเป็นสีดำค่ะ

ขนาดของบัตรคำ จะสัมพันธ์กับตัวอักษรเริ่มต้นจากคำเดี่ยว แล้วก็คำผสม 2 คำ
เป็นรูปประโยค 3 คำ ถึง 5-6 คำ จะพบว่าต้องใช้บัตรคำที่มีขนาดยาวพอสมควร

การเลือกคำขึ้นอยู่กับวัยของลูกด้วย
แต่ควรเป็นคำที่ใกล้ตัวอย่างเช่น ครอบครัว อวัยวะ สิ่งของในบ้าน อาหาร ของเล่น สัตว์ สี กิริยา
ถ้าโตหน่อย ก็เริ่มจากสิ่งที่เค้าสนใจเป็นพิเศษ อย่างเด็กผู้ชายอาจเป็น รถสารพัดชนิด เครื่องมือ

ถึงช่วงรูปประโยคสั้นๆ เราอาจทำหนังสือที่บอกเรื่องราวกิจวัตรประจำวันของลูก (Diary)
พร้อมกับติดรูปด้วย โดยการใช้กระดาษขนาด 11 x 14 นิ้ว
โดยต้องมีประโยค 1 หน้า ติดรูป 1 หน้า โดยให้ประโยคมาก่อนรูปเสมอ
ใน 1 เล่มอาจมีซัก 5 ประโยค 5 รูปก็เป็น 10 หน้าพอดีค่ะ
อย่างเช่น Proton is eating , Proton is drinking, Proton is playing, Proton is sleeping.

พอลูกเริ่มคุ้นเคยกับรูปประโยค และพร้อมอ่านหนังสือก็สามารถใช้หนังสืออะไรก็ได้ที่ลูกสนใจ
สำหรับเด็กเล็กมากที่ปกติชอบดูหนังสือภาพ
เราอาจต้องยอมตัดรูปภาพออกมา แล้วแต่งประโยคใหม่ให้
พร้อมกับใช้ขนาดตัวอักษรที่เหมาะกับสายตาลูก
หรือบางทีหนังสือที่มีภาพน่าสนใจแต่รูปประโยคอาจยาวเกินไป
หรือขนาดตัวอักษรเล็กเกินไป
เราก็อาจต้องนำมาดัดแปลงเอีกครั้งค่ะ
แต่ยังคงวางประโยคไว้คนละหน้ากับรูปภาพนะค่ะ

ไม่ทราบว่ายิ่งเขียนยิ่งงงมั้ยค่ะ
ตอนนี้โปรตอนก็ทำท่าทางว่าจะอ่านหนังสือออก (ทำเนียนมานานแล้ว) อยู่บ้างบางเวลา
และก็บางเล่มที่โปรด ...วงเล็บในบางเวลาที่มีอารมณ์อ่าน...อย่ามาบังคับนะแม่)Evil or Very Mad

อันนี้เป็นข้อมูลของคุณ donnhapa ค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

กระบวนการใช้หนังสือสำหรับเด็ก 6 รายการ

ตัดมาให้อ่านบางส่วนนะคะ
ต้อง11

1. ต้องชักชวนลูกให้อ่านหนังสือ
การชักชวนที่ดีที่สุด และง่ายที่สุดคือ การที่พ่อแม่อ่านออกเสียงดัง ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจของลูก

2. ต้องแสดงท่าทางที่เป็นสุข
เพื่อทำให้ช่วงเวลาของการอ่านหนังสือร่วมกันประสาพ่อแม่ลูกให้เป็นช่วงเวลาหรรษาของ ครอบครัว

3. ต้องใช้เวลาที่เหมาะสม
การอ่านหนังสือให้ลูกฟังต้องเป็นระยะเวลาที่ไม่นานเกินไปจนลูกเบื่อ หรือสั้นเกินไปจนลูกหงุดหงิด

4. ต้องเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับวัยของลูก
เนื้อเรื่องต้องสนุกสนาน รูปภาพประกอบสวยงาม รูปเล่มแข็งแรงแต่ไม่เป็นอันตรายต่อลูก

5. ต้องลดวัย
ให้สอดคล้องกับวัยที่จะเป็นเพื่อนเล่นที่ดีของลูกได้

6. ต้องหากิจกรรมมาประกอบ
ต้องหากิจกรรมอื่น ๆ มาประกอบ อ่านไปร้องเพลงไป หรืออ่านไปเต้นไป ลูกจะได้ไม่เบื่อ

7. ต้องต่อยอดความคิด
พ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะตอบคำถามของลูก ไม่ปล่อยให้ลูกเคว้งคว้างทางความรู้สึก

8. ต้องจัดมุมหนังสือไว้ในบ้าน
จัดมุมหนังสือไว้ในบ้าน ลูกจะได้เรียนรู้ว่าถ้าต้องการหนังสือเมื่อไรจะมาที่มุมนี้

9. ต้องชื่นชมและชมเชยลูก
พ่อแม่ต้องชื่นชม และชมเชยทุกครั้งเมื่อลูกหยิบหรือจับหนังสือขึ้นมาอ่านหรือทำอะไรดี ๆ

10. ต้องจัดระเบียบชีวิต
การจัดระเบียบชีวิตให้เอื้อต่อการอ่านเช่น ปิดโทรทัศน์ตอน 1 ทุ่ม แล้วอ่านหนังสือร่วมกัน

11. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ถ้าต้องการให้ลูกรักการอ่าน พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างของนักอ่านที่ดี


7 อย่า

1. อย่ายัดเยียดหนังสือให้ลูก
การที่พ่อแม่เห็น ว่าการปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านเป็นสิ่งที่ดี จึงบังคับ ยัดยู้ และยัดเยียด หนังสือให้ลูก จะทำให้ลูกกดดัน เครียดและเกิดความรู้สึกเกลียดหนังสือได้

2. อย่าคาดหวังสูง
เมื่อลูกไม่สามารถเป็นได้ดังหวัง พ่อแม่ไม่ควรตีตราลูกว่า “โง่... สู้ลูกคนอื่นเขาไม่ได้” จะทำให้ลูกจะซึมซับรับความผิดหวังกระทั่งโตมา “โง่” สมหวังดั่งที่พ่อแม่หมั่นบอก

3. อย่าจ้องแต่จะสอน
พ่อแม่ไม่ควรใช้ เนื้อเรื่องและตัวละครในหนังสือที่สนุก ๆ มาเป็นช่องทางในการอบรมบ่มสอนลูกในทุกเรื่อง เพราะจะทำให้ลูกเบื่อการอ่านหนังสือ

4. อย่าตั้งคำถามมากเกินไป
การตั้งคำถามจาก หนังสือมากเกินไปจะทำให้ลูกเบื่อ และเกลียดหนังสือ เพราะลูกจะคิดว่าเมื่อแม่จับหนังสือ พ่อถือนิทานเมื่อไรเป็นต้องได้มานั่งคอยตอบคำถามมากมาย จนไม่ได้ฟังเรื่องสนุกสนาน

5. อย่าขัดคอหรือตำหนิ
พ่อแม่ไม่ควรตำหนิ ขัดคอ หรือแสดงความเอ็นดู ด้วยการหัวเราะขบขัน เมื่อลูกพยายามพูดเลียบแบบแต่ไม่ชัดหรือแสดงเป็นตัวละครในหนังสือแต่ไม่ เหมือน เพราะจะทำให้ลูกเกิดความไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตกับพ่อแม่

6. อย่าแสดงความเบื่อหน่าย
พ่อแม่พึงระวังท่า ที ไม่ให้แสดงความเบื่อหน่ายในขณะที่ลูกยื่นหนังสือให้อ่าน เพราะพฤติกรรมนี้จะทำให้ลูกผิดหวัง ถ้าเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ลูกจะปฏิเสธหนังสือ

7. อย่ากังวลใจ
อย่ากังวลใจถ้าลูก จะหยิบ จับ ตี ดึง ทุบ ทิ้ง แทะ หรือฉีกหนังสือ ปล่อยให้ลูกได้ขีดเขียนตามความต้องการของลูกบ้าง เรื่องการบ่มสอนควรเก็บไว้ภายหลัง ไม่ควรใช้เวลาที่ลูกมีความสนใจ และใจจดจ่ออยู่กับหนังสือเป็นช่วงเวลาในการสอนถึงพฤติกรรมที่เหมาะ ไม่เหมาะ ควร ไม่ควร

อ่านเพิ่มได้ที่นี่ค่ะ

กระบวนการใช้หนังสือสำหรับเด็ก 6 รายการ
http://www.thaibby.in.th/news.php?type=tip


อันนี้ของคุณรักเรียน