วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Baby can Read

ช่วงนี้ ดิฉันกำลังสนใจเรื่องการอ่านค่ะ ดิฉันได้ข้อมูลจากเวบพ่อธีร์ ที่ดิฉันถือว่าเป็นอาจารย์ที่ดิฉันชื่นชมเป็นการส่วนตัว ว่ามีแนวทางสอนลูกที่ไม่ธรรมดา และยึดทฤษฎีเดียวกัน คือ รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว ท่านได้กล่าวถึง Speed Reading ว่าเป็นเทคนิคการเรียนที่สำคัญมากๆของเด็กโต ซึ่งต้องรีบฝึกตั้งแต่เด็กเริ่มอ่านหนังสือเป็น ต่อไปการเรียนของเด็ก จะมีตำรา มีข้อมูลที่ต้องศึกษาค้นคว้ามาก ยิ่งเรียนในระดับสูง ยิ่งต้องอ่านข้อมูลเยอะ ดังนั้น หากเด็กอ่านหนังสือช้า หรือ อ่านไม่เข้าใจ ไม่แตกฉาน ก็จะทำให้การเรียนของเด็กไม่ได้ผล หรือ เสียเปรียบ รวมทั้งหากอ่านโจทย์ช้า หรือไม่เข้าใจ ก็จะทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน

(มีต่อ)

12 ความคิดเห็น:

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันและสามี เป็นคนชอบอ่าน และอ่านหนังสือเยอะและหลากหลาย ดิฉันเองก็ได้ดิบได้ดี เพราะการอ่าน ทำให้ดิฉันก็เห็นด้วยว่า การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญที่เราต้องฝึกฝนลูก นอกจากให้ลูกรักการอ่านแล้ว เรายังต้องพิจารณาถึงวิธีการสอนให้ลูกอ่านได้เข้าใจ และอ่านได้รวดเร็ว เชื่อมโยงเรื่องราวได้ ทำให้ดิฉันต้องกลับไปค้นหาหนังสือ และข้อมูลเกี่ยวกับการสอนเด็กอ่าน ซึ่งได้มามากพอควร จะค่อยๆศึกษาและนำมาเล่าในเวบบล็อคแห่งนี้ต่อไป ใครสนใจก็ติดตามต่อไปนะคะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

สำหรับเรื่อง Baby can read นี้ น่าจะเป็นขั้นตอนแรกๆที่เราใช้สอนเด็กเล็กๆ ประมาณก่อน หนึ่งขวบ จนถึงก่อนเข้าโรงเรียนได้ดี ส่วนเรื่อง Phonics ก็เป็นทักษะ ที่เราจะสอนเด็กได้ตั้งแต่ เด็กเริ่มพูดได้ เพราะเป็นเรื่องการออกเสียง นี้คือขั้นต่อไป และเมื่อเด็กเริ่มอ่านได้แล้ว เป็นประโยค เป็นย่อหน้า ก็ฝึกเรื่องความเข้าใจ อ่านเอาเรื่อง และจับความเร็ว แบบ Speed Reading ต่อไป

เรื่องของ Phonic ดิฉันจะเว้นไว้ก่อน จะเริ่มจาก Baby can read นี้ก่อน หาข้อมูลมาเล่าให้ฟัง เผื่อเพื่อนๆที่ยังไม่รู้ จะได้ลองศึกษาดู แต่ในเวบรักลูก ก็เห็นมีเพื่อนหลายๆท่าน มีความสามารถและสอนลูกอยู่ ไว้จะเอามาบอกค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

เรื่องการสอนเด็กเล็กให้อ่านหนังสือ Baby can read นี้ ดิฉันศึกษาเอาจากเทคนิคของ Glenn Doman ตามที่เพื่อนๆในเวบรักลูกแนะนำค่ะ ต้องขอบคุณ คุณ PS325 คุณ Babyploy ที่เป็นผู้จุดประกายความสนใจในเรื่องนี้ ซึ่งทั้งสองท่านและเพื่อนๆท่านอี่นๆ ได้ตั้งคำถามเรื่องนี้ในกระทู้ และมีการตอบกระทู้ที่ชัดเจนพอควร ทำให้ดิฉันอดต้นหาข้อมูลของ Glenn Doman จนกระทั่งมาพบเรื่อง Baby can Read นี้ไม่ได้ และเมื่อได้ลองศึกษาดู และมาปะติดปะต่อกับข้อมูลในหนังสือที่พ่อธีร์แนะนำ ก็เห็นเป็นภาพที่เข้ากันลงตัวพอดี ต้องขอบคุณเพื่อนๆมากค่ะ

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

Glenn Doman ได้ใช้เทคนิคที่เธอเขียนนี้ในการสอนลูกวัยแปดเดือนให้อ่านหนังสือ โดยที่เธอได้กล่าวไว้ว่า เทคนิคนี้สามารถใช้สอนเด็กตั้งแต่ 10 เดือนเป็นต้นไป แต่เทคนิคที่สำคัญที่สุด คือ ให้สอนลูกเหมือนการเล่น อย่าไปเคร่งเครียดกดดัน เล่นให้สนุก และจบการเล่นก่อนที่เด็กจะเบื่อ

Doman highlights the importance of the parents’ attitudes in respect to the activity to be developed, which must be one that this is a good game and not a job like any other. He explains that the sessions must end prior to the child’s loss of interest.

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

He turns next to a description of how to develop seven steps which he considers essential:
1. Visual differentiation (way of making the cards);
2. Proper vocabulary;
3. Vocabulary of the family environment;
4. Vocabulary to build sentence’s structure;
5. Structured phrases and sentences;
6. Reading of a real book (i.e., the first book);
7. The alphabet.

เจ็ดขั้นตอนในการสอนลูกเล็กให้อ่านหนังสือ คือ

- การทำการ์ดคำ
- การเลือกคำศัพท์ที่จะเริ่มสอน
- การเลือกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของครอบครัว
- การเลือกคำศัพท์ที่ใช้สร้างประโยค
- โครงสร้างของประโยค
- การอ่านหนังสือจริงๆ
- การรู้จักตัวอักษร อักขระ ABC

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

จะเห็นว่า เทคนิคของ Glenn Doman นั้นจะสวนทางกับการเรียนแบบธรรมดา ที่เรามักจะเริ่มสอนเด็กเล็กๆ ให้ท่อง พยัญชนะ ABC กขค ก่อน แล้วจึงจะมาสอนสะกด คำศัพท์ การสอนรูปประโยค หรือการอ่านเรื่องนิทานเอง จะเป็นขั้นสุดท้าย

ในขณะที่ของ Glenn Doman จะสอนเด็กเล็กให้อ่านคำที่ใช้บ่อยๆก่อน โดยเริ่มจากการทำการ์ดคำ ของคำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆ เช่น คำิกิริยา ดื่ม กิน นอน เดิน วิ่ง ดิฉันจำได้ว่า แม่ภุชงค์ เคยเล่าว่า คุณรักเรียน และเพื่อนๆ เคยแนะนว่า มีคำศัพท์แรก ประมาณ 20 คำ ที่เราจะนำมาสอนเด็กเล็กได้

พอให้ลูกดื่ม ก็เอาการ์ดคำว่าดื่ม มาชูให้ลูกดู สอนไปดื่มไป ลูกได้ยินจากเสียง เห็นตัวอักษรจากการ์ดคำ และได้กระทำด้วย ทำไปเรื่อยๆ ก็จะจำได้เอง แบบทีละเล็กละน้อย

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

อีกคำศัพท์ที่เราสามารถนำมาสอนเด็กเล็กได้ คือ คำที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ย่า ยาย พี่น้อง หรือ ชื่อต่างๆ ที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กต้องเจอทุกๆวัน

และหลังจากนั้น ก็อาจจะเพิ่มคำต่างๆที่ใช้สร้างประโยค เช่น ฉัน เธอ มัน เขา เป็นต้น ที่ใช้เป็นประธานของประโยค หรือ พวกคำนามต่างๆ เช่น นำ้ นม ดอกไม้ เป็นต้น

คำเหล่านี้ ให้นำมาเขียนใส่กระดาษแข็ง ด้วยปากกาหัวใหญ่ๆ สีสดๆ ขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป แล้วใช้ชูให้เด็กดู เวลาเรากล่าว หรือชี้ หรือทำอะไร เพื่อให้เด็กเห็นภาพ ได้ยินเสียง และเห็นอักษรไปในเวลาเดียวกัน

Rattana MNSHANG กล่าวว่า...

ในขั้นตอนต่อไป เราก็สามารถนำการ์ดคำเหล่านี้ มาเชื่อมต่อเป็นประโยคได้ เวลาคุยกับลูก หรือบอกกล่าวเรื่องราวต่างๆ

และสิ่งที่เราสามารถส่งเสริมลูกเล็กๆ ให้รักการอ่าน และฝึกอ่านได้ ก็คือ การชี้ชวนให้ลูกอ่านป้าย อ่านนิตยสาร หรือกล่องของเล่น เป็นต้น ทำให้เด็กๆได้ฝึกสังเกต คำและอักษรต่างๆได้

ในหนังสือกล่าวไว้ว่า เด็กเล็กๆ ก่อนสองขวบนั้น สามารถเรียนรู้ คำต่างๆที่เห็นได้ เพราะเขาเห็นภาพและจำคำต่างๆบนการ์ดคำ ในลักษณะรูปสัญญลักษณ์ หรือรูปภาพ กล่าวคือ เด็กเห็นคำว่า ดื่ม ไม่ได้เป็นแบบตัวอักษร ด-ื-ม เป็นต้น แต่เห็นเป็นสัญญลักษณ์ เหมือนเห็นป้าย

เดี๋ยวมาเขียนต่อ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ในการสอนเด็กเล็กๆอ่านการ์ดคำนั้น ต้องทำบ่อยๆ และ ทำซำ้ๆ สักระยะหนึ่ง เทคนิคหนึ่งที่อาจจะนำไปใช้ได้ คือการเลือก คำต่างๆที่ใช้ประจำ ประมาณสัปดาห์ละ 5 คำ เช่น ดื่ม กิน นอน เดิน นั่ง เป็นต้น เน้นสอนคำเล่านี้ทุกวัน และบ่อยๆ ตลอดสัปดาห์ เมื่อนำอาหารให้ลูกกิน ก็เอาการ์ดนี้มาสอน เป็นต้น หรือ เมื่ออ่านนิทาน หรือ เห็นรูปต่างๆที่เกี่ยวกับการกิน ก็มาเล่าให้น้องฟัง และแสดงการ์ดคำด้วย

เมื่อสัปดาห์ถัดมา ก็เปลี่ยน 5 คำใหม่ แต่ก็ทบทวนของเดิมด้วย ที่สำคัญ คือ ทำซำ้ๆ เล่นบ่อยๆ และอย่าเล่นนานเกิน 10-15 นาทีต่อครั้ง อย่าเล่นจนลูกเบื่อ เพราะเขาจะไม่อยากเล่นอีก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ในเรื่องการสอน Baby can Read นี้สามารถสอนลูกเล็กๆ ให้เขียนเช่นกัน โดยเริ่มจากการสอนลูก เรื่องรูปทรงต่างๆ สีต่างๆ และสอนลูกวาดรูปทรง และอ่านการ์ดคำไีปด้วย อีกทั้ง เราสามารถจับมือำ ลูกเขียนบนทราย หรือบนอากาศ หรือ บนการ์ดคำ แต่ทั้งหมดนี้ หากลูกยังเป็นเบบี้ ก็ไม่จำเป็นต้องจับแท่งสี หรือดินสอ เพียงแต่ให้ลูกชินกับตัวอักษร จากการเห็น การอ่าน และการเขียน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อีกเทคนิคหนึ่งที่อยากเขียนถึง คือการเล่นเกมส์จับคู่ ให้ลองทำการ์ด 2-3 ชุด แต่ละชุดมีอักษรที่เขียนเหมือนกัน แต่หนึ่งชุด เป็นขนาดใหญ่ อีกหนึ่งชุดเป็นขนาดเล็ก อีกหนึ่งชุดอาจจะเป็นคนละสี แต่ที่สำตัญคืออักษรต้องเขียนด้วยอักษรแบบเดียวกัน (Font)

และเล่นเกมส์จับคู่ ให้ลูกเลือกคำเหมือนกัน มาจับคู่กัน ก็จะเห็นว่าลูกอ่านได้จริงๆ

หรืออาจจะให้ลูกหาการ์ดคำ ที่ตรงกับรูปภาพ หรือการกระทำ เช่น จับคู่รูปผีเสื้อ กับการ์ดคำ คำว่าผีเสื้อ เป็นต้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถูกใจมากๆ ค่ะ

ภุชงค์กำลังสนุกสนานกับการอ่านชื่อคนในครอบครัว

ลองให้อ่านศัพท์ชุดเดียวกับน้องชาย (ของน้องชายเป็น อวัยวะ)แต่ภุชงค์ไม่ชอบ

ชอบอ่านคนละชุดกับน้อง
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะกำลังหวงของหรือเปล่า เลยไม่ชอบเล่นของที่เหมือนกัน

สำหรับภุชงค์ บัตรคำที่ใช้ จะใช้ตาม request คือ
"ตามคำขอลูกค่ะ"