วัยรุ่นกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (1) ตอน 20 คุณสมบัติของวัยรุ่นแห่งอาเซียน นั้นเป็นไฉน?
รับมือแบบไหนจะมีโอกาสชนะได้มากกว่ากัน ระหว่าง แบบตั้งรับ กับ แบบเชิงรุก
คมคิด: คนหยั่งรู้เห็นอันตรายและสร้างกลยุทธ์ ส่วนคนเขลาเดินเรื่อยไปและรับอันตรายนั้น (Adapted from Proverbs 22:3, 2012)
Q: คุณหมอครับ ช่วงนี้มีข่าวปัญหาของเด็กวัยรุ่นบ่อยนะครับ บ้างก็ปัญหาเรื่องมั่วสุมทางเพศ บ้างก็ปัญหาหนีเรียน บ้างก็ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เราจะมีทางออกเรื่องนี้อย่างไรดีครับ
A: คุณหมอยุทธนา...ผมเคยอ่านแนวคิดของต่างประเทศ เขาใช้แนวทางของ Positive Youth Development คือ สร้างวัยรุ่นเชิงบวกขึ้นครับ หมายถึงว่า แทนที่จะแก้ไขปัญหาเชิงตั้งรับ ก็เปลี่ยนเป็นปฏิบัติการเชิงรุกแบบ “สร้างนำซ่อม” อย่างโครงการ To Be Number One ก็เป็นตัวอย่างที่ดีมากในเรื่องนี้ครับ
ครั้งหนึ่งผมไปพูดเรื่อง “ก้าวสู่โลกชีวิตการทำงาน นักศึกษาต้องเตรียมพร้อมอย่างไร” ผมยกตัวอย่างปัญหาการเปลี่ยนงานบ่อย ของพนักงานใหม่ ทำให้เจ้าของบริษัทหนักใจ เพราะบางแห่งเพิ่งฝึกอบรมพนักงานไปไม่กี่เดือน ยังไม่ทันได้สร้างผลงาน มูลค่าเพิ่มให้บริษัท ก็ลาออกซะแล้ว
ผมจึงย้ำว่าแม้นักศึกษาจะจบด้วยเกรดสูงๆ หรือมีไอคิวดี (IQ) มีเพื่อนฝูงเยอะ หรืออีคิวก็มี (EQ) แต่หากขาดแรงอึด ฮึด สู้ หรือขาดเอคิว (AQ: Adversity Quotient) ก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้เลย |
เพื่อสร้างให้ครบทั้ง IQ, EQ, AQ ผมขอเสนอว่าวัยรุ่นเชิงบวก ควรจะฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีทักษะชีวิต (Targeting Life Skills) อย่างน้อย 8 หมวดด้วยกัน ได้แก่ หมวดการคิดเป็น หมวดการบริหารตนเองเป็น หมวดการสร้างสัมพันธ์เป็น หมวดการเข้าใจห่วงใยคนอื่นเป็น หมวดการเป็นผู้นำ หมวดการทำงานเป็นทีม หมวดการดูแลชีวิตและสุขภาพ หมวดการมีวินัยรับผิดชอบ เป็นต้น (Adapted from Hendricks, A. Patricia. 1996)
เพื่อพัฒนาวัยรุ่นเชิงบวกให้พร้อมต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผมจึงบูรณาการ คุณลักษณะบุคคลที่พร้อมต่อเรื่องนี้ เข้ากับ ทักษะชีวิต 8 หมวด ออกมาเป็นแบบสำรวจ คนแถวหน้าที่พึงประสงค์ (Desirable Employee Character Check) ลองใช้สำรวจตนเองและวัยรุ่นในความดูแลของท่านได้นะครับ (ดัดแปลงจาก ผ่านพบ ปลั่งประยูร. 2555)
แบบสำรวจคนแถวหน้าที่พึงประสงค์ (Desirable Employee Character Check)
ช่วงที่ผ่านมา ท่านพบตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง ? (กรุณา √ ข้อที่ตรงกับท่าน)
1.คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
2.ใฝ่รู้ ช่างสังเกต อยากรู้อยากเห็น
3.มักมีทางออกหลายทางเมื่อเจอปัญหา
4.มักมีไอเดียแปลกๆ ใหม่ๆ และริเริ่มทำก่อนใคร
5.มีความใฝ่ฝัน เห็นภาพในอนาคต
6.เป็นนักปฏิบัติการแบบมุ่งผลลัพธ์
7.มีความยืดหยุ่นทางความคิด
8.ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
9.สามารถพูดคุยหาข้อตกลงที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ
10.พร้อมรับฟังคำวิพากษ์เตือนสติ
11.มักแบ่งปันความรู้ & จัดสรรประโยชน์ที่ได้รับอย่างทั่วถึง
12.เลือกใช้ชีวิตอย่างสมดุลมีคุณค่า
13.ผูกพันอุทิศตัวกับองค์กร
14.มีน้ำใจ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
15.เห็นโอกาสทางการตลาดได้ก่อนใคร
16.กล้าเสี่ยง กล้ารับผิดชอบ
17.มุ่งมั่น เต็มที่กับงานจนสำเร็จ
18.รัก เห็นคุณค่าสิ่งที่ทำ งานที่ทำ
19.มีอารมณ์ดี ยิ้มให้กับปัญหาได้
20.พัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จเสมอ
แปลผล & ข้อเสนอแนะ: ยิ่งมีมาก ยิ่งเป็นคนที่พร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีทักษะชีวิตที่ครบด้าน โดย…
• ข้อ 1-4 แสดงถึงความพร้อมอันเกิดจากด้านทักษะชีวิตหมวดการคิดเป็น
• ข้อ 5-7 แสดงถึงความพร้อมอันเกิดจากด้านทักษะชีวิตหมวดการบริหารตนเองเป็น
• ข้อ 8-10 แสดงถึงความพร้อมอันเกิดจากด้านทักษะชีวิตหมวดการสร้างสัมพันธ์เป็น
• ข้อ 11 แสดงถึงความพร้อมอันเกิดจากด้านทักษะชีวิตหมวดการเข้าใจห่วงใยคนอื่นเป็น
• ข้อ 12-14 แสดงถึงความพร้อมอันเกิดจากด้านทักษะชีวิตหมวดการเป็นผู้นำ
• ข้อ 15-17 แสดงถึงความพร้อมอันเกิดจากด้านทักษะชีวิตหมวดการทำงานเป็นทีม
• ข้อ 18-20 แสดงถึงความพร้อมอันเกิดจากด้านทักษะชีวิตหมวดการดูแลชีวิตและสุขภาพ และหมวดการมีวินัยรับผิดชอบ
เพื่อพัฒนาเรื่องดังกล่าว ลองเรียนรู้ผ่านคลิปวีดีโอข้างล่างนี้ (กรุณาเปิดจากคลิปวิดีโอ Give Help 2) แล้วตอบคำถามต่อไปนี้
ก) หากในชีวิตและการทำงาน มีบรรยากาศดังกล่าว ท่านจะรู้สึกอย่างไร ผู้อื่นจะรู้สึกอย่างไร
ข) หากวัยรุ่นไทย และอาเซียนเห็นคุณค่าและมีอุปนิสัยดังกล่าว จะเกิดสิ่งดีๆ อะไรขึ้นบ้างในสังคม
ค) เพื่อสร้างฝันให้เป็นจริง เราจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดี
เพื่อพัฒนาเรื่องดังกล่าวได้อย่างเต็มรูปแบบ ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ 7 Habits plus…กุญแจไขพลังคิดบวก คิดสร้างสรรค์ (7 Habits plus Cresitive), สู่ความเป็นเลิศ...ด้วยพลังทีมคิดบวก (Positive thinking team), ทักษะหัวหน้างานยุคใหม่ สนใจกรุณาติดต่อ yparanan@gmail.com
“วันหน้าของเด็ก สร้างได้วันนี้ด้วยมือเรา” ท่านจะเริ่มอย่างไรดี?
ข้อมูลอ้างอิง
Hendricks, A.Patricia. (1996). Iowa State University Extension: Targeting Life Skills Model Retrieved Jan 12, 2010. from http://www.oces.okstate.edu/delaware/about-4h-1/skills-vs-life-skills
ผ่านพบ ปลั่งประยูร.(2555). การเตรียมความพร้อมไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558. Retrieved Mar22,2012. from kkuinter.kku.ac.th/2010_th/documents/documents/parnpob_ppt.ppt
Proverbs 22:3 (2012). Biblica. Retrieved 28 May 2012. From http://www.biblica.com/bibles/chapter/?verse=Proverbs+22&version=niv
บทความโดย ดร.นพ.ยุทธนา ภาระนันท์ MD., FP., Ed.D.
yparanan@gmail.com
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและเวชศาสตร์ครอบครัว
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000080814
|
|