Thank you photo from Internet (Corbis)
เมื่อวันก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสไปรับประทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่ง และเผอิญได้ นั่งโต๊ะ ติดกับครอบครัว หนึ่ง ที่พ่อแม่ลูกมาด้วยกันสามคม ในขณะที่กำลังรออาหารอยู่นั้น ผู้เขียนก็ได้เห็นเหตุการณ์อย่างที่เกิดขึ้นกับ ครอบครัวคือ แม่หนูน้อยเอื้อม มือไปตักกับข้าว บังเอิญมือเล็กๆ ของเธอปัดถูกจานอาหาร ทำให้จานตกลงมาแตก คุณแม่ดุว่าแม่หนูน้อย ที่นั่งหน้าซีดด้วยความตกใจ แม่หนูน้อยเริ่มร้องไห้ คุณแม่ก็ยิ่งมีโทสะ และดุว่าลูกให้หยุดร้อง แต่แม่หนูก็ ไม่หยุด จนผู้เป็นพ่อต้องอุ้มลูกออกไปนอกร้านจนเด็กหยุดร้องไห้ จึงนำลูกกลับมานั่งรับประทานต่อ ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่เห็นนี้มักเกิดขึ้นอยู่เสมอในครอบครัว หลายครั้งที่เด็ก ทำเรื่องที่เป็น ความผิดพลาดและ เกิดการเสียหายโดยไม่ตั้งใจ และเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ใหญ่มักจะลงโทษเด็ก แต่จะมีใครสักคนที่รู้บ้างว่า การลงโทษนั้นได้ส่งผลถึงความรู้สึกมีคุณค่าในตัวของเด็กโดยตรง เด็กจะรู้ สึกผิดละอาย เกลียดชัง และหากความรู้สึกนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เด็กก็จะเติบโตเป็นบุคคล ที่ไม่เห็นคุณค่าของ ตัวเอง ขาดความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง
ผู้เขียนเคยอ่านเรื่องราว ที่เขาไปสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ของโลกท่านหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในด้านความคิด สร้างสรรค์ เมื่อนักข่าวถามว่าทำไมท่านจึงมีความคิดกว้างไกลเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้เล่าให้ฟังว่า เรื่องมันเกิดเมื่อสมัยท่านมีอายุได้ราวสองขวบท่านได้ไปเปิดตู้เย็นเพื่อ จะดื่มนม แต่เนื่องจากมือท่านเล็กเกินไป ขวดนมที่ใหญ่ จึงร่วงหล่นบนพื้นนมกระจายเต็มห้อง ขณะนั้นเองที่แม่ของท่านได้เดินเข้ามาในห้องพอดี และแทนการลงโทษ หรืออบรมสั่ง สอน ร่ายยาวเรื่อง ความซุ่มซ่ามของท่าน แม่ของท่านกลับพูดว่า" โอ้โฮ แม่ไม่เคยเห็นทะเลสีขาวอย่างนี้มาก่อนเลย แต่เอาละ ลูกทำมันหกแล้ว ลูกอยากจะลองเล่น กับมันดูไหม ก่อนที่เราจะทำความสะอาดบ้านกัน"
เด็ก ชายซึ่งต่อมาคือนักวิทยาศาสตร์ลือนามได้ทดลองสัมผัสกับน้ำนมที่เลอะเทอะอยู่ นั้น อย่างสนุกสนาน หลังจากนั้นสักพักแม่ก็ได้นั่งลงข้างๆ เขา พร้อมกับพูดกับเขาว่า
" ลูกรู้ไหมจ๊ะ เวลาลูกทำของหกเช่นนี้ ลูกต้องทำความสะอาดมัน เราจะช่วยกันทำนะลูกนะ ลูกอยาก ใช้ผ้าเช็ดหรือกวาดมันก่อนหรือจะใช้ม้อบจ๊ะ"
เด็กชายเลือกม้อบ และทั้งแม่และลูกก็ใช้เวลาล้างถูทำความสะอาดด้วยกันอย่างมีความสุข หลังจากนั้น แม่ของท่านได้พูดว่า " เมื่อกี้ สิ่งที่ลูกทำหกนั้น เป็นเพราะลูก พยายามทดลอง จับขวดที่ใหญ่ และลูกจับตรงกลางขวดมันทำให้ลูกจับไม่ถนัด ขวดจึงตกลงมา แม่จะพาลูกไปหลังบ้านเอาขวดใบเดิมที่ ลูกทำตกนี้แหละ เราจะใส่น้ำ และให้ลูกลองหัดถือดูใหม่ เพื่อลูกจะได้ค้นหาวิธีที่จะถือขวดนี้โดยไม่ ตกลงมาอีก"
ทั้งแม่และลูกชวนกันไปที่หลังบ้าน แม่ได้กรอกน้ำใส่ขวดใบเดิมจนเต็มและให้เด็กชายทดลอง หาวิธีการ ถือขวด เด็กชายค้นพบว่า ถ้าเขาถือขวดในลักษณะที่ใช้สองมือจับตรงคอขวดแล้ว จะทำให้เขาสามารถ ถือขวดได้โดยขวดไม่ตกลงมา เด็กชายรู้สึกดีใจและภูมิใจในสิ่งที่เขาค้นพบนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่า ณ วินาทีนั้นเอง เขาค้นพบว่า เขาไม่จำเป็นต้องกลัวความผิดพลาด แทน การถูกลงโทษในสิ่งที่เขาทำไปเพราะไม่รู้ เขากลับได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นและสามารถนำ ความผิดพลาดมาใช้เป็นบทเรียนแห่งการค้นคว้าได้ในที่สุด และนี่เองเป็นสาเหตุให้เขา ได้กลายเป็นนัก วิทยาศาสตร์เลื่องชื่อ เพราะการค้นพบทุกอย่างทางวิทยาศาสตร์จะต้องเกิดจาก การลองผิดลองถูกไป ก่อนเสมอ
เมื่อได้อ่านเรื่องนี้ ผู้เขียนรู้สึกประทับใจที่นักวิทยาศาสตร์มีแม่ที่เข้าใจในตัวลูก ทำให้อยากฝันเห็นพ่อแม่ ของเด็กไทยทุกคนให้โอกาสลูก ให้ลูกเรียนรู้จากความผิดพลาดได้บ้าง โดยมีพ่อหรือแม่คอยให้กำลังใจ ทุกขั้นตอน เด็กๆ ของเราจะมีความสุขเพียงใด
แต่ใช่ว่าพ่อแม่ จะไม่เข้าใจลูกเสมอไป มีพ่อแม่บางคนที่มองเห็นถึงความสำคัญ ของการประคับประคอง มองความผิดพลาดให้เป็นบทเรียนและไม่ซ้ำเติมลูก ดังครอบครัวของ "สกุลประทีป"
ในครอบครัวนี้ พ่อเป็นคนที่รักนกเป็นชีวิตจิตใจ จะมีนกเขาเสียงดีอยู่หลายตัวที่พ่อเลี้ยงดูอย่างดี เมื่อมี การประกวดนก พ่อจะคัดเลือดตัวที่เสียงดีที่สุดไปแข่งขัน ทุกคนในบ้านต่างก็รักนก โดยเฉพาะเด็กชาย อุดม จะมีหน้าที่ช่วยพ่อดูแลให้อาหารนก อยู่มาวันหนึ่ง ขณะกำลังให้อาหารนก เด็กชายก็ได้ทำนกหลุดออกจากกรงไปโดยบังเอิญ เด็กชายเต็มไป ด้วยความกลัวพ่อลงโทษ ไม่กล้าบอกพ่อ จนกระทั่งเดินไปหลังบ้าน เมื่อมองไม่เห็นนก ก็เดาเรื่องออก และเดินกลับมาที่ห้องด้วยความโกรธจัด เรียกหาเด็กชายที่เข้ามายืนตัวสั่นอยู่ข้างๆ แต่ก่อนที่พ่อจะแสดงความโกรธเป็นคำพูดหรือการกระทำที่ก้าวร้าวกับลูกนั่นเอง ผู้เป็นแม่ก็เข้าไปจับแขน พ่อ และพูดด้วยเสียงนุ่มนวลให้ผู้เป็นพ่อได้คิดว่า
" พ่อจ๊ะ ฉันรู้ว่าพ่อโกรธลูกมาก เพราะลูกเราเลินเล่อไม่ระวัง แต่พ่อคิดไหมว่านกมันหลุดไปแล้ว เรา เสียมันไปแล้วก็จริง แต่เรายังมีลูกอยู่ พ่ออย่าทำให้เราต้องสูญเสียลูกไปอีก ชีวิตหนึ่งเลย เราเลี้ยงลูก น่ะพ่อ เราไม่ได้เลี้ยงนก "
คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ ว่า เด็กๆ ที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความภาคภูมิใจในตนเองทุกคน ต้องการ พ่อแม่ที่ให้กำลังใจเขา ประคับประคองเขา
โปรดระลึก ไว้เสมอว่า พ่อแม่ไม่ควรให้วัตถุใดๆ ในโลกมามีความสำคัญยิ่งไปกว่า ความรู้สึกของลูก ว่า ตัวเองมีคุณค่าในสายตาของพ่อแม่ของเขา
หาก คุณพ่อคุณแม่จัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง เด็กๆ จะมีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความรู้สึกภาคภูมิ ใจในตนเอง เขาจะมีดวงใจที่เปี่ยมด้วยความรัก ทั้งกับตัวเขาเอง และบุคคลใกล้ตัว เขาทุกคน
ที่มา... หนังสือก่อนจะถึงวันนั้น โดย รศ.ดร.นวลศิริ เปาโรหิตย์
ปลุกพลังอัจฉริยภาพให้ลูก สอนลูกให้ชนะโลก ให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้อย่างสนุกสนาน ในแบบที่ลูกเป็น ไม่ใช่ในแบบที่เราต้องการให้ลูกเป็น ด้วยพลังแห่งความรักความอบอุ่นของครอบครัว
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
สร้างบทเรียนการเงินให้ลูก "จะใช้อย่างไร" สู่ "จะบริหารอย่างไร"
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต
เรื่อง ฝึกเด็กให้เข้าใจและรู้จักการ จัดการการเงินเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร โรงเรียนบางแห่งถึงกับจัดการเรียนการสอนเป็นเรื่องเป็นราว แต่ผู้รู้กล่าวว่า..ห้องเรียนที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านการ เงินของเด็ก คือที่ "บ้าน" ค่ะ
สอนโดยพ่อแม่ สอนโดยสภาพแวดล้อม
อย่าง ไรก็ดี การสอนให้ลูกบริหารเงินเป็นกลับกลายเป็นต้นเหตุที่ทำให้ "บางครอบครัว" ต้องทุ่มเถียงกัน เนื่องจากความเห็นของพ่อแม่นั้นไปคนละทาง คุณพ่อสอนทาง คุณแม่กลับเห็นไปอีกทาง เมื่อการสอนไม่ไปในทิศทางเดียวกัน สุดท้ายจึงเป็นการใช้อารมณ์เข้าต่อสู้กัน และจบลงด้วยความเบื่อหน่าย ส่วนเด็กก็ไม่ได้อะไรจากการโต้เถียงครั้งนั้นที่ไม่ได้รับการปูพื้นฐานที่ ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน
เด็กกลุ่มนี้จึงมีเพียงบทเรียนบทเดียวเกี่ยวกับเงิน ก็คือ "จะใช้มันอย่างไร"
Anne Ziff นักบำบัดปัญหาครอบครัวกล่าวว่า " การพูดเรื่องเงินในบางครอบครัวเป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งได้มาก สิ่งที่ควรจะพูดด้วยความสงบ กลับกลายเป็นการใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง พ่อแม่มักจะยืนกันคนละฟาก ให้ข้อมูลในฟากของตัวเอง แทนที่เด็กจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารเงินอย่างเต็มที่ จึงกลายเป็นว่า เด็กต้องคอยเป็นผู้ผสมแนวคิดของพ่อกับแม่เข้าด้วยกันแทน"
บทเรียนด้านการบริหารการเงินสำหรับเด็ก ๆ จึงควรเริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ด้วยการเรียนรู้พื้นฐาน 4 ประการดังต่อไปนี้ค่ะ ได้แก่ การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน, การออมเงิน และเมื่อลูกต้องขอยืมเงิน
การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน
เริ่ม แรกที่การได้มาซึ่งเงิน พ่อแม่ผู้ปกครองอาจจ่ายเงินค่าขนมเป็นรายสัปดาห์ให้เด็กฝึกบริหารเงินก้อน เล็ก ๆ นั้นด้วยตัวเอง เขาจะเริ่มเรียนรู้การบริหารเงิน การใช้จ่าย และการเก็บออม และเริ่มเข้าใจถึงขีดจำกัดเมื่อเขาไม่อาจได้ทุกอย่างที่ต้องการอีกต่อไป
จาก นี้ หากเขาอยากได้ของขวัญสักชิ้น จะไม่ใช่หน้าที่ของพ่อแม่อีกต่อไปที่จะจ่ายเงินค่าของขวัญชิ้นนั้น (คุณพ่อคุณแม่หลายอาจแอบยิ้มดีใจ) หากแต่ต้องเป็นเด็กที่จะนำเงินที่เขาเก็บออมมาใช้ด้วยตนเอง เด็กจะได้ฝึกถ่วงน้ำหนักระหว่างความอยากได้กับความจำเป็นในการใช้จ่ายเงิน ของเขามากขึ้น
สำหรับคำถามที่ว่าควรจะให้เงินเท่าไร ถึงจะเหมาะสม อาจพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุของเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็ก (อยู่ในโรงเรียนแบบไหน เดินทางไปโรงเรียนอย่างไร ฯลฯ) ตลอดจนเพื่อน ๆ ของเขา
เมื่อสอนให้เขารู้จักพิจารณาก่อนใช้จ่ายแล้ว ก็ควรมีการฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วย
ลอง นึกภาพลูกน้อยวัย 4 - 6 ขวบที่อยากได้ของเล่นสักชิ้น แทนที่จะบอกเด็กไปว่า คุณซื้อให้ไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นประโยคที่ว่า เราต้องมีการวางแผนกเก็บเงินซื้อกันแล้วล่ะ อาจหากระปุกออมสินสักใบ วางภาพของ ๆ เล่นที่อยากได้แปะสก็อตเทปติดไว้บนกระปุก และให้ลูกนำเงินเหรียญมาหยอดสะสมไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งเมื่อมันมีมากพอ ก็ได้ฤกษ์ทุบกระปุก นำเงินในกระปุกไปซื้อของเล่นที่ต้องการ ประสบการณ์ครั้งนี้จะสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของการเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินมากขึ้น
สร้างสมดุลระหว่างการออมและการใช้จ่ายเงิน
นอก จากจะกระตุ้นให้เด็กรู้จักออมเงินแล้ว การสอนให้เด็กรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างรู้คุณค่าก็เป็นสิ่งจำเป็น แผนในการใช้จ่ายเงินจะทำให้เด็กเข้าใจว่า ที่ออมเงินมาตลอดนี้ก็เพื่อจะได้มีใช้จ่ายในอนาคต และจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เมื่อต้องเอ่ยปากขอยืม
เมื่อ พูดถึงการขอยืม ทีมงาน Life & Family ได้มีการกล่าวถึงว่าควรทำอย่างไรเมื่อญาติ - เพื่อนเอ่ยปากขอยืมเงินไปหยก ๆ แล้วสำหรับเด็ก การสอนเรื่องการขอยืมเงินจะเหมาะสมหรือเปล่า ประเด็นนี้อาจตอบได้ไม่ยาก แต่ การสอนให้เด็กรู้จักการขอยืม ไม่ใช่เพื่อให้เด็กเตรียมตัวไปขอยืมเงินคนอื่น แต่เขาจะได้รู้เท่าทันเกี่ยวกับดอกเบี้ย และการจ่ายเงินคืน ไปในตัว เขาจะได้รู้ว่า ต่อให้จ่ายดอกเบี้ยเท่าไร หากไม่ยอมจ่ายส่วนของเงินต้นด้วย ยอดหนี้ของเขาก็จะไม่มีวันลดลง และเขาก็หมดโอกาสที่จะเก็บเงินไปซื้อของเล่นดี ๆ อย่างอื่นที่ต้องการ
เรียบเรียงจาก kidsmoney.org
แหล่งที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
เรื่อง ฝึกเด็กให้เข้าใจและรู้จักการ จัดการการเงินเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร โรงเรียนบางแห่งถึงกับจัดการเรียนการสอนเป็นเรื่องเป็นราว แต่ผู้รู้กล่าวว่า..ห้องเรียนที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านการ เงินของเด็ก คือที่ "บ้าน" ค่ะ
สอนโดยพ่อแม่ สอนโดยสภาพแวดล้อม
อย่าง ไรก็ดี การสอนให้ลูกบริหารเงินเป็นกลับกลายเป็นต้นเหตุที่ทำให้ "บางครอบครัว" ต้องทุ่มเถียงกัน เนื่องจากความเห็นของพ่อแม่นั้นไปคนละทาง คุณพ่อสอนทาง คุณแม่กลับเห็นไปอีกทาง เมื่อการสอนไม่ไปในทิศทางเดียวกัน สุดท้ายจึงเป็นการใช้อารมณ์เข้าต่อสู้กัน และจบลงด้วยความเบื่อหน่าย ส่วนเด็กก็ไม่ได้อะไรจากการโต้เถียงครั้งนั้นที่ไม่ได้รับการปูพื้นฐานที่ ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน
เด็กกลุ่มนี้จึงมีเพียงบทเรียนบทเดียวเกี่ยวกับเงิน ก็คือ "จะใช้มันอย่างไร"
Anne Ziff นักบำบัดปัญหาครอบครัวกล่าวว่า " การพูดเรื่องเงินในบางครอบครัวเป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งได้มาก สิ่งที่ควรจะพูดด้วยความสงบ กลับกลายเป็นการใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง พ่อแม่มักจะยืนกันคนละฟาก ให้ข้อมูลในฟากของตัวเอง แทนที่เด็กจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารเงินอย่างเต็มที่ จึงกลายเป็นว่า เด็กต้องคอยเป็นผู้ผสมแนวคิดของพ่อกับแม่เข้าด้วยกันแทน"
บทเรียนด้านการบริหารการเงินสำหรับเด็ก ๆ จึงควรเริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ด้วยการเรียนรู้พื้นฐาน 4 ประการดังต่อไปนี้ค่ะ ได้แก่ การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน, การออมเงิน และเมื่อลูกต้องขอยืมเงิน
การได้มาซึ่งเงิน - การใช้จ่ายเงิน
เริ่ม แรกที่การได้มาซึ่งเงิน พ่อแม่ผู้ปกครองอาจจ่ายเงินค่าขนมเป็นรายสัปดาห์ให้เด็กฝึกบริหารเงินก้อน เล็ก ๆ นั้นด้วยตัวเอง เขาจะเริ่มเรียนรู้การบริหารเงิน การใช้จ่าย และการเก็บออม และเริ่มเข้าใจถึงขีดจำกัดเมื่อเขาไม่อาจได้ทุกอย่างที่ต้องการอีกต่อไป
จาก นี้ หากเขาอยากได้ของขวัญสักชิ้น จะไม่ใช่หน้าที่ของพ่อแม่อีกต่อไปที่จะจ่ายเงินค่าของขวัญชิ้นนั้น (คุณพ่อคุณแม่หลายอาจแอบยิ้มดีใจ) หากแต่ต้องเป็นเด็กที่จะนำเงินที่เขาเก็บออมมาใช้ด้วยตนเอง เด็กจะได้ฝึกถ่วงน้ำหนักระหว่างความอยากได้กับความจำเป็นในการใช้จ่ายเงิน ของเขามากขึ้น
สำหรับคำถามที่ว่าควรจะให้เงินเท่าไร ถึงจะเหมาะสม อาจพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุของเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็ก (อยู่ในโรงเรียนแบบไหน เดินทางไปโรงเรียนอย่างไร ฯลฯ) ตลอดจนเพื่อน ๆ ของเขา
เมื่อสอนให้เขารู้จักพิจารณาก่อนใช้จ่ายแล้ว ก็ควรมีการฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วย
ลอง นึกภาพลูกน้อยวัย 4 - 6 ขวบที่อยากได้ของเล่นสักชิ้น แทนที่จะบอกเด็กไปว่า คุณซื้อให้ไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นประโยคที่ว่า เราต้องมีการวางแผนกเก็บเงินซื้อกันแล้วล่ะ อาจหากระปุกออมสินสักใบ วางภาพของ ๆ เล่นที่อยากได้แปะสก็อตเทปติดไว้บนกระปุก และให้ลูกนำเงินเหรียญมาหยอดสะสมไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งเมื่อมันมีมากพอ ก็ได้ฤกษ์ทุบกระปุก นำเงินในกระปุกไปซื้อของเล่นที่ต้องการ ประสบการณ์ครั้งนี้จะสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของการเก็บเงิน และการใช้จ่ายเงินมากขึ้น
สร้างสมดุลระหว่างการออมและการใช้จ่ายเงิน
นอก จากจะกระตุ้นให้เด็กรู้จักออมเงินแล้ว การสอนให้เด็กรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างรู้คุณค่าก็เป็นสิ่งจำเป็น แผนในการใช้จ่ายเงินจะทำให้เด็กเข้าใจว่า ที่ออมเงินมาตลอดนี้ก็เพื่อจะได้มีใช้จ่ายในอนาคต และจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เมื่อต้องเอ่ยปากขอยืม
เมื่อ พูดถึงการขอยืม ทีมงาน Life & Family ได้มีการกล่าวถึงว่าควรทำอย่างไรเมื่อญาติ - เพื่อนเอ่ยปากขอยืมเงินไปหยก ๆ แล้วสำหรับเด็ก การสอนเรื่องการขอยืมเงินจะเหมาะสมหรือเปล่า ประเด็นนี้อาจตอบได้ไม่ยาก แต่ การสอนให้เด็กรู้จักการขอยืม ไม่ใช่เพื่อให้เด็กเตรียมตัวไปขอยืมเงินคนอื่น แต่เขาจะได้รู้เท่าทันเกี่ยวกับดอกเบี้ย และการจ่ายเงินคืน ไปในตัว เขาจะได้รู้ว่า ต่อให้จ่ายดอกเบี้ยเท่าไร หากไม่ยอมจ่ายส่วนของเงินต้นด้วย ยอดหนี้ของเขาก็จะไม่มีวันลดลง และเขาก็หมดโอกาสที่จะเก็บเงินไปซื้อของเล่นดี ๆ อย่างอื่นที่ต้องการ
เรียบเรียงจาก kidsmoney.org
แหล่งที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
เทคนิคเด็ดติวเข้มก่อนสอบ
เดือน หน้าน้องฮักจะมีสอบเก็บคะแนนทั้งสัปดาห์เลยค่ะ น้องฮักเรียนอยู่ ป.2 แล้วค่ะ ก็ต้องมีเตรียมตัวอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบบ้างเป็นธรรมดา แต่คุณแม่อยากได้เทคนิคการติวเข้มให้ลูกว่าควรเริ่มอย่างไร ช่วงเวลาไหนเหมาะที่สุด ทบทวนครั้งละกี่ชั่วโมง หรือจะมีเทคนิคอื่นๆ อีกไหมคะ
คุณแม่น้องฮัก / นนทบุรี
จาก คำถามข้างต้นรู้สึกได้ว่าคุณแม่มีเวลาเอาใจใส่การเรียนของลูกและพร้อมที่จะ ช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ คราวนี้เรามาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรกันต่อดีกว่าค่ะ
คุณ แม่คงเห็นด้วยนะคะว่าความสำเร็จในการเรียนระยะยาวนั้น ลูกต้องมีความสุขกับการเรียน รู้สึกว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ และหากเขาได้ประสบความสำเร็จไปทีละขั้นตอน เขาจะมีแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อไปอย่างไม่รู้จบ
ดัง นั้น มาเปลี่ยน ‘ติวเข้มแบบเดิมๆ’ สู่การติวเข้มแบบใหม่ไฉไลกว่าเดิมกันดีกว่าค่ะ หากเราเอาใจใส่กับการเรียนของลูกบนทัศนคติและท่าทีที่ดี ผลที่ตามมาคือแม่ลูกจะเบิกบานและสนุกไปด้วยกันกับการเรียนของลูก แทนที่จะเป็นการติวเข้มแบบเชิงลบ ที่ลูกจะรับรู้ถึงความเข้มงวดกวดขันที่อาจส่งผลให้ลูกเบื่อหน่าย เป็นไม้เบื่อไม้เมากับคุณแม่ แล้วก็ไม่ได้รับประกันว่าการเรียนจะดีขึ้นในระยะยาว แม้บางครอบครัวอาจได้ลูกที่เรียนเก่ง แต่ผลข้างเคียงคือความกังวลกับการสอบและผลสอบ ควบคู่กับบรรยากาศในบ้านที่เคร่งเครียดค่ะ
แนว ทางที่คุยกันต่อไปนี้จะส่งผลระยะยาวต่อการรับผิดชอบและการสร้างแรงจูงใจใน การเรียนรู้ด้วยตนเองของลูก โดยมีคุณแม่อยู่เคียงข้างความสำเร็จและเป็นผู้ส่งเสริมให้เขามีแนวทางการ จัดการกับการเรียนด้วยตนเองค่ะ
1. แสดงความใส่ใจและสนุกไปกับสิ่งที่ลูกเรียนรู้มา ความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่ลูกเรียนจะทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นอยากบอกเล่าให้ เราฟัง คุณแม่ก็มีหน้าที่ต่อยอดจากสิ่งที่ลูกเรียนในห้องเรียนสู่โลกและสังคมรอบตัว ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น พาไปดูของจริง ช่วยกันค้นคว้าเพิ่มเติม ลองเอาความรู้มาทดลองใช้ เป็นต้น ลูกจะรู้สึกว่าการเรียนของเขาสร้างสัมพันธภาพที่ดี มีเรื่องคุยมีเรื่องทำร่วมกันกับคุณแม่ค่ะ
2. กำหนด ‘เวลาเรียนรู้ด้วยตนเอง’ กำหนดเวลาและสถานที่ที่แน่นอนทุกวัน สำหรับการทำการบ้าน และทบทวนบทเรียน เป็นการสร้างวินัยและความรับผิดชอบของลูกไปพร้อมๆ กันค่ะ แรกๆ ต้องฝึกและกำกับลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เขาเกิดความเคยชิน รู้เวลารู้หน้าที่ ในที่สุดเขาจะทำโดยอัตโนมัติค่ะ
ส่วน ระยะเวลาขึ้นกับการเรียนในแต่ละโรงเรียน ถ้าโรงเรียนไหนให้การบ้านมากแล้ว ก็อาจเหลือเวลาทบทวนเรื่องอื่นประมาณ 15 นาทีก็พอ ระหว่างที่ลูกทำงานคุณแม่ควรแวะเวียนมาให้กำลังใจและชื่นชมความตั้งใจในการ ทำงานของเขาบ่อยๆ จะได้สังเกตว่าลูกติดขัดหรือต้องการความช่วยเหลือหรือไม่
3. ฝึกลูกวางเป้าหมาย และจัดการกับเวลา ลองถามเขาดูว่าวันนี้ สัปดาห์นี้เขาต้องทำอะไรบ้าง ฝึกให้เขาทำรายการสิ่งที่ต้องทำพร้อมกับลงตารางเวลาและติดไว้บนบอร์ด ให้เขาเช็กสิ่งที่ทำแล้ว คุณแม่ก็มีบทบาทคอยชมเชยการวางแผนงานของเขา ขอดูผลงานที่ทำสำเร็จแล้ว และให้กำลังใจในสิ่งที่เขายังทำไม่สำเร็จ อาจสอบถามหรือชี้แนะแนวทางเพื่อให้เขาประสบความสำเร็จกับงานตามที่วางแผนไว้
4. ช่วงใกล้สอบ ทำให้การติวเข้มเป็นเกมที่สนุกสนาน ลูกวัยนี้ชอบความท้าทาย เรามาชวนลูกเล่นเกมถามตอบ เกมต่อคำศัพท์ แข่งคิดเลขเร็ว เป็นต้น ลูกจะได้ความรู้และความสนุกไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ในชีวิตประจำวัน เวลานั่งรถไปไหนด้วยกันคุณแม่อาจชวนลูกเล่นเกมเหล่านี้ก็จะทำให้เวลาในรถ ทั้งสนุกทั้งได้ฝึกคิดไปด้วยค่ะ
เทคนิคง่ายๆ แค่ 4 ข้อ ก็จะช่วยให้น้องติวข้อสอบอย่างสนุก และได้ความรู้ค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณแม่ และขอให้น้องสอบผ่านฉลุยนะคะ
โดย: อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)